ตอบคุณ Oam ครับ
ี่ที่โกยผง ที่เรียกว่า กุ้นเต้า หรือ บุ้งเต้า (ปุ้งเต้า) นี้ ผมไม่เคยได้ยินเลยครับ คงเพราะที่บ้านไม่ได้เกี่ยวข้องกับทางจีน
เข้าใจว่า ถ้าบ้านไหนมีเชื้อสายจีน ผู้ใหญ่ในบ้านคงเรียกของใช้ในบ้านตามภาษาจีนแต้จิ๋ว (คิดว่า บ้านคุณน้องติบอ ก็คงเข้ากรณีนี้

เห็นมียกตัวอย่าง)
ถ้าเป็นปุ้งกี๋ ผมหาจากคำที่เคยค้นไว้ เขียนแบบนี้
畚箕 (จีนกลาง: ben3 ji1, กวางตุ้ง: bun2 gei1 - ปุ๋นเก็ย)
คำว่า "ปุ้ง" (畚 กวางตุ้ง: ปุ๋น bun2) คงเป็นคำเดียวกันครับ แต่คำว่า "เต้า" นี้ ผมไม่ทราบ แต่คิดว่าอาจเป็นตัว 土 (กวางตุ้ง: โถว tou2) ที่แปลว่าดิน หรือ ฝุ่นดิน คงต้องให้คุณ CrazyHOrse มาช่วยอีกแรงครับบ
畚土 (กวางตุ้ง: ปุ๋นโถว)

อันนี้มั่วครับ รอคำแนะนำ

================
เย็บกี่ นี่ผมก็ไม่ค่อยได้ยินครับ ในชีวิตอาจเคยได้ยินไม่เกินสองหน อิอิ

ราชบัณฑิตยสถานท่านว่า
เย็บกี่ ก. ใช้ด้ายเย็บแผ่นกระดาษด้วยวิธีร้อยทีละปึกเล็ก ๆ เพื่อประกอบ
เข้าเป็นเล่มในลักษณะที่ทําให้เปิดเล่มได้เต็มที่.
กี่ ๑ น. เครื่องทอผ้า, เครื่องเย็บสมุด; ที่ตั้งพระกลดหรือ
พระแสงง้าวเป็นต้น.
กี่กระตุก น. เครื่องทอผ้าชนิดหนึ่งที่มีสายกระตุกเพื่อให้กระสวย
พุ่งไปได้เอง.============================
เย็บพ้ง นี่ไม่ทราบครับ "พ้ง" น่าจะเป็นคำจีนหรือเปล่าครับ ? อาจเป็นชื่อของวิธีการเย็บ ?
ลองค้นๆ ดูไม่รู้จะเกี่ยวกับคำนี้คือเปล่า
縫 กวางตุ้ง: fung4 (ฟ่ง), fung6 (ฟง) แปลว่า เย็บ
============================
กุ๊น นี่ก็ไม่เคยได้ยิน สรุปว่า ที่ถามมา ผมไม่เคยได้ยินเลย อิอิ

ก็ต้องพึ่ง ราชบัณฑิตยสถาน ท่านว่าไว้ว่า
กุ๊น ก. ขลิบเย็บหุ้มริมผ้าหรือของอื่น ๆ ใช้แถบผ้าย้วยหรือเฉลียง
เย็บหุ้ม ๒ ข้างเม้มเข้าเป็นตะเข็บกลมบ้างแบนบ้าง มักใช้ที่
คอเสื้อหรือชายเสื้อเป็นต้น.แต่ท่านไม่ได้บอกว่ามาจากภาษาอะไร เดาว่า คงมาจากภาษาจีนตามเคย

เดาว่า ตัวนี้ครับ
滾 กวางตุ้ง: gwan2 (กวั๋น) หรือ kwan2 (ขวัน) แปลว่า ม้วน หรือ กลับด้าน (turn, roll, rotate; boil)
ปล. เนื่องจากผมไม่ทราบว่า แต้จิ๋วออกเสียงอย่างไร จึงลงคำกวางตุ้งไว้ให้อ่านครับ (มีเว็บให้ฟังว่าออกอย่างไร

)
ที่มา:
http://www.mdbg.net/chindict/chindict.php?page=main