เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 ... 14 15 [16] 17 18 ... 23
  พิมพ์  
อ่าน: 207996 คำไทยที่ไม่ค่อยจะรู้จักกันแล้ว
CrazyHOrse
แขกเรือน
นิลพัท
*******
ตอบ: 1899



เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 225  เมื่อ 11 พ.ค. 08, 10:25

หวย ผมไม่รู้เหมือนกันว่ามาจากไหนครับ ที่คุณ Hotacunus ว่ามาจาก 好壞 ก็น่าสนใจ เพราะแต้จิ๋วออกเสียงว่า หอหวย ครับ

ส่วนคำว่า ห่วย นี่ยังข้องใจครับ ไม่รู้จาก หวย กลายเป็น ห่วย ได้ไงนะครับ

ส่วนโชวห่วย อันนี้ไม่มีปัญหา เป็นคำแต้จิ๋วครับ ออกเสียงโชวห่วยนี่แหละครับ

ชำเรา นี่เข้าใจว่าคำเดียวกับ เชรา หรือ เทรา ในชื่อฉะเชิงเทราครับ
บันทึกการเข้า

"Postel's Law": "be conservative in what you do, be liberal in what you accept from others"
Hotacunus
องคต
*****
ตอบ: 613


AD FRANCIAM


ความคิดเห็นที่ 226  เมื่อ 11 พ.ค. 08, 19:58

ขอบคุณครับ คุณ CrazyHOrse

ชื่อจังหวัดฉะเชิงเทรา นี้ ผมคิดว่าสำเนียงไทยที่ว่า "ชำ-เรา" น่าจะตรงกับ "เชิง-เทรา" ครับ ทราบมาว่า ชื่อจังหวัดนี้แปลว่า "คลองลึก"

=================

 อายจัง อ่านที่คุณพิพัฒน์ถามผิดไป จาก "ฉำ" เป็น "จำ" อิอิ  แลบลิ้น

คือ FireFox ของผมนี้ เวลาอยู่หน้าตอบ font มันจะเล็กมาก ตัว ฉ จะดูคล้ายตัว จ  ลังเล

"ฉำ" นี้ ถ้าใช้เดี่ยวๆ เห็นจะไม่มี แต่ก็คุ้นๆ ว่าตอนเด็กเคยได้ยินวลีว่า "...ให้ฉำไปเลย" หมายถึง กระทำสิ่งใดสิ่งหนึ่งให้หนำใจ

ข้อนี้ ผมไม่แน่ใจว่า "ฉำ" จะเพี้ยนมาจาก "ฉ่ำ" หรือไม่ (คือ ทำจนเกิดความชุ่มฉ่ำในหัวใจ  ยิงฟันยิ้ม) และก็ไม่แน่ใจอีกว่า "หนำ" ก็เพี้ยนมาจาก "ฉ่ำ" ด้วยหรือไม่  ขยิบตา มีวลีที่ยังได้ยินบ่อยๆ ว่า "อิ่มหนำสำราญ"

คำว่า "หนำใจ" เดี๋ยวนี้ก็ไม่ค่อยได้ยินแล้วเหมือนกันครับ คำที่ให้ความหมายทำนองเดียวกัน แต่ดูออกจากรุนแรงหน่อยคือ "สะใจ" "สาแก่ใจ" ซึ่งพิจารณาแล้วคิดว่า "สะใจ" คงเพี้ยนมาจาก "สาแก่ใจ"

สา ก็น่าจะแปลว่า พอ, เหมาะสม เพราะ มีศัพท์ซ้อนความหมายว่า "สาสม"

น่าแปลกที่ราชบัณฑิตยสถานจะหลุด "สา" ในความหมายนี้ไป คงเป็นเพราะไม่นิยมใช้เดี่ยวๆ แต่มักใช้คู่กับ "สม" เป็น "สาสม"

สาสม    [สา–สม] ว. เหมาะ, สมควร, เช่น ต้องลงโทษให้สาสมแก่ความผิด.

=========================

ส่วนศัพท์ที่ว่าด้วย "ฉำ" เท่าที่ค้นได้มีอยู่ ๓ คำครับ

1) ฉำฉา ๑    น. ชื่อเรียกไม้เนื้ออ่อน โดยมากเป็นพวกไม้สนที่ใช้ทําหีบบรรจุของมา จากต่างประเทศ.
          ๒  (ถิ่น-พายัพ) น. ต้นก้ามปู. (ดู ก้ามปู).

2) ฉำเฉง น. มูลฝิ่นครั้งที่ ๓. (จ. ซำเฉง).

3) ฉำแฉะ ว. เฉอะแฉะ; อืดอาดล่าช้า.


ฉำฉา คำนี้เดาว่ามาจากภาษาจีนครับ ยังไม่เคยค้น จะเก็บไว้เป็นการบ้าน  เจ๋ง

ฉำเฉง ราชบัณฑิตยสถาน บอกว่ามาจากคำจีน แต่ไม่ได้ระบุไว้ว่ามาจากตัวใด

ฉำแฉะ ฉำ ในที่นี้ก็คือ "ฉ่ำ" นั่นเองครับ เพราะให้ความหมายในทำนองเดียวกันหมด ฉ่ำ ช้ำ ชุม ชื้น เฉอะ แฉะ แถมเป็นศัพท์กลุ่ม ฉ-ช อีกต่างหาก

คำว่า "ฉำแฉะ" นี้ ผมไม่เคยไ้ด้ยินเลยครับ ปัจจุบันคงไม่นิยมแล้ว จะได้ยินแต่ เฉอะแฉะ เปียกเฉอะแฉะ ถ้าในความหมาย อืดอาดล่าช้า ก็จะได้ยินว่า "เฉื่อยแฉะ" มากกว่า หรือแม้แต่ "อืดอาดล่าช้า" เอง ก็ไม่ค่อยได้ยิน แต่จะได้ยิน "อืดอาดยืดยาด" มากกว่า

บันทึกการเข้า
pipat
แขกเรือน
นิลพัท
*******
ตอบ: 1802


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 227  เมื่อ 11 พ.ค. 08, 23:09

นึกไ้ด้เรื่อง
(ทำตัวใหญ่ เอาใจคนอักขระเล็กหน่อย ฮิฮิ)

ทราบมาว่า เดิมออกเสียงยาว
เช่น ฉามมม.... แทนที่จะเป็น ฉำ
เป็นเช่นนั้นหรือไม่ครับ ลุงโฮ
บันทึกการเข้า
Hotacunus
องคต
*****
ตอบ: 613


AD FRANCIAM


ความคิดเห็นที่ 228  เมื่อ 12 พ.ค. 08, 00:06

เรื่อง "ฉ" ออกเสียงยาวนี้ ไม่เคยได้ยินครับ

ฉาม เป็น ฉำ
ฉาน เป็น ฉัน ?

ผมว่า ออกสำเนียงอาบังนะครับ อิอิ  ยิงฟันยิ้ม อีนีฉานว่ามันแปล้กๆ  ยิงฟันยิ้ม

แต่ถ้าเป็นคำๆ ก็เป็นไปได้มั้งครับ กรณี ฉ นี่ผมไม่ทราบ แต่พอมีตัวอย่างอยู่

เดิมเสียงสั้น ปัจจุบันเสียงยาว
เข้า ปัจจุบันเป็น ข้าว (คำนี้ ภาษาลาวยังเขียน เข้า ในจารึกสุโขทัยก็เขียน เข้า)
น้ำ ปัจจุบันออกเสียง น้าม
ไม้ ปัจจุบันออกเสียง ม้าย
ใต้ ปัจจุบันออกเสียง ต้าย


บันทึกการเข้า
กุ้งแห้งเยอรมัน
แขกเรือน
สุครีพ
******
ตอบ: 1573



ความคิดเห็นที่ 229  เมื่อ 12 พ.ค. 08, 00:24

เรื่อง "ฉ" ออกเสียงยาวนี้ ไม่เคยได้ยินครับ

ฉาม เป็น ฉำ
ฉาน เป็น ฉัน ?

ผมว่า ออกสำเนียงอาบังนะครับ อิอิ  ยิงฟันยิ้ม อีนีฉานว่ามันแปล้กๆ  ยิงฟันยิ้ม



ฉาน ในบทกลอนเก่าๆมีค่ะ
บันทึกการเข้า
Hotacunus
องคต
*****
ตอบ: 613


AD FRANCIAM


ความคิดเห็นที่ 230  เมื่อ 12 พ.ค. 08, 07:35

ผมลองไปหาในพจนานุกรมราชบัณฑิตยสถาน อธิบายว่า

ฉาน ๒    (ถิ่น-ปักษ์ใต้) ส. ฉัน, เป็นสรรพนามบุรุษที่ ๑.

ส่วน "ฉัน" ที่แปลว่ากิน (คำสำหรับภิกษุสามเณร) ทางเขมรใช้ "ฉาน"

น่าสนใจครับคุณกุ้งแห้งเยอรมัน ที่มีคำว่า "ฉาน" ใช้อยู่เหมือนกันในบทกลอนเก่าๆ
บันทึกการเข้า
pipat
แขกเรือน
นิลพัท
*******
ตอบ: 1802


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 231  เมื่อ 12 พ.ค. 08, 09:23

บางคำผมก็พอทราบเหตุอยู่
ราชบัณฑิตท่านเอง เป็นคนทำเสียงสั้นยาว ตามตำราที่ท่านคิดว่ามี

คำว่าเข้า และข้าว
คำนี้ จิตร ภูมิศักดิ์เคยบ่นไว้นานแล้วว่า ไม่ได้เรื่อง
ภาษาไต ท่านใช้เสียงสั้นกันมานานนม แปลว่าปี ได้ด้วย
มีหลักแหล่งให้หาอยู่ในสำนวนที่เก่าถึงในกฏหมายตราสามดวงว่า
"เด็กเจ็ดเข้า เฒ่าเจ็ดสิบ"(เชื่อไม่ได้)

อยู่มาวันหนึ่ง หลังปี 2475 ขุนชั่งตวงวัด วิจิตรมาตรา
ท่านได้เป็นราชบัณฑิตอัตโนมัติเพราะท่านชนะประกวดแต่งหนังสือ จากเรื่องหลักไทย
นึกยังงัยไม่ทราบ คุยกับพระยาอนุมานราชธนถึงคำนี้
บอกว่า น่าจะแยกเป็นสองคำ คือ "เข้า" ที่แปลว่าอาหาร กับ "เข้า" ที่ตรงข้ามกับออก
และน่าจะออกเสียงต่างกัน

พระยาอนุมานเห็นชอบ ก็จึงเลยมีคำว่า "ข้าวววววววว"
เกิดขึ้นในภาษาไทย

ส่วนการที่ "เปน" กลายเป็น "เป็น"
อันนี้ท่านเจ้าคุณคิดเองครับ
บันทึกการเข้า
CrazyHOrse
แขกเรือน
นิลพัท
*******
ตอบ: 1899



เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 232  เมื่อ 12 พ.ค. 08, 11:52

ผมเคยอ่านเจอคำว่า "อีฉาน" ในบทกลอนเก่าๆครับ แต่ยังนึกไม่ออกว่าเรื่องไหน แต่น่าจะเป็นยุครัตนโกสินทร์นี่แหละครับ ใช้แทนตัวกวีที่เป็น "ชาย"

แต่ "ฉาน" เฉยๆในความหมายนี้ยังนึกไม่ออกว่าเคยเจอครับ

เรื่อง เข้า -> ข้าว, เปน->เป็น นี่ผมยังคิดว่าผู้บัญญัติคำเขียนใหม่กำหนดตามการออกเสียงที่เปลี่ยนไปครับ จะว่าคนกรุงออกเสียง เป็น, ข้าว ตามรูปคำเขียนก็แปลกไปหน่อย เชื่อว่าสมัยท่านขุนฯสองคำนี้น่าจะออกเสียงแบบนี้ ไม่ตรงกับคำเขียนเดิมอยู่แล้ว

คำลักษณะนี้ นอกจากที่คุณ Hotacunus ยกมาคือ น้ำ ไม้ ใต้ ยังมีคำที่ภาษาถิ่นออกเสียงกลายไป อย่างคำว่า ถ้ำ คนใต้เขาออกเสียงว่า ถ้าม ครับ

น่าคิดเหมือนกันว่า เราควรคงรูปไว้ หรือจะเปลี่ยนตามความนิยมดีนะครับ
บันทึกการเข้า

"Postel's Law": "be conservative in what you do, be liberal in what you accept from others"
กุ้งแห้งเยอรมัน
แขกเรือน
สุครีพ
******
ตอบ: 1573



ความคิดเห็นที่ 233  เมื่อ 12 พ.ค. 08, 12:07

คุณยายดิฉัน เมื่อท่านยังมีชีวิตอยู่ เรียกหลานกินข้าว ท่านไม่เคยพูด กินข้าวนะคะ ท่านเรียกเรามากินเข้า.. จนดิฉันงงว่า เอ๋.. แล้วที่เราเรียกว่าข้าวนี่ มาด้วยเหตุอันใดนะ ในเมื่อคุณยายเป็นคนภาคกลาง พูดไทยเปรี๊ยะ ชัดแจ๋ว..คำควบกล้ำไม่มีเพี้ยน ความเป็นความ ไม่ใช่ควำ หรือฟาม..
จนเมื่อได้อ่านศิลาจารึก ก็ถึงบางอ้อ
แม้กระทั่งตำบลที่ดิฉันเกิด ท่านก็ไม่เคยเรียกว่า บางกอบัว ท่านเรียก บางกะบัว..บางกะบัว
คนสมัยหลังๆนี่เอะอะอะไรก็จะสรรหาคำที่แปลออกกันไปหมด ไม่รู้ที่มาที่ไป จนอีกหน่อย บางกะเจ้าที่แปลไม่ออกยุคเรานี่ ก็อาจจะกลายเป็นบางกับเจ้าหรืออะไรก็สุดคาดเดา

บันทึกการเข้า
SILA
หนุมาน
********
ตอบ: 6362


ความคิดเห็นที่ 234  เมื่อ 12 พ.ค. 08, 12:18


อ้างถึง
ชื่อจังหวัดฉะเชิงเทรา นี้ ผมคิดว่าสำเนียงไทยที่ว่า "ชำ-เรา" น่าจะตรงกับ "เชิง-เทรา" ครับ ทราบมาว่า ชื่อจังหวัดนี้แปลว่า "คลองลึก"

      คุณสุจิตต์ วงษ์เทศ เคยเขียนลงนสพ. มติชน เมื่อไม่นานมานี้ แสดงความเห็นดังนี้ ครับ

ฉะเชิงเทรา มาจากภาษาเขมร 2 คำ คือ ฉทึง แปลว่า แม่น้ำ, ลำน้ำ ฯลฯ ออกเสียงเพี้ยนเป็นฉะเชิง
                                      ส่วน เทรา มีผู้อธิบาย แปลว่า ลึก
       
บันทึกการเข้า
pipat
แขกเรือน
นิลพัท
*******
ตอบ: 1802


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 235  เมื่อ 12 พ.ค. 08, 13:50

ใครสักคนเคยเล่าเรื่องพระเจ้าอยู่หัวกับภาษาไทย
ทำนองว่า มีชาวบ้านนอก บอกว่า พระเจ้าอยู่หัวตรัสภาษาไทยเพี้ยน
ทรงเห็นด้วย และโปรดให้สนใจภาษาถิ่น
แต่ดูเหมือนไม่มีนักภาษาคนใดจะสนใจ

ในทางทฤษฎีแล้ว ภาษาทางการน่าจะเพี้ยนมากกว่าภาษาท้องถิ่น
เพราะมีอำนาจปกครองรองรับ
คนเมืองหลวงพูดอย่างไร ก็จะกลายเป็นแบบฉบับ
เมื่อแถมด้วยการที่เป็นคนออกกฏ เรื่องก็ไปกันใหญ่

ดร.ประเสริฐเคยยกตัวอย่างว่า ภาคใต้ของจีน และแถบรอยต่อพม่า ลาว ไทย
แค่ข้ามหุบเขา สำเนียงก็เปลี่ยน
แต่ที่สหรัฐอเมริกา นั่งรถข้ามทวีป ใช้สำเนียงและภาษาเกือบจะเหมือนกัน
แสดงว่าแหล่งกำเนิดภาษา จะมีความอุดมสมบูรณ์ทางสำเนียงมากกว่าประเทศเกิดใหม่

คล้ายกันก็คือ คนเหนือ คนอีสาน แม้แต่คนาวหรือไปทางอาหม
อ่านจารึกพ่อขุนรามเข้าใจ
แต่คนจบตรี จบโททางภาคกลาง อ่านไม่เข้าใจ
บันทึกการเข้า
Hotacunus
องคต
*****
ตอบ: 613


AD FRANCIAM


ความคิดเห็นที่ 236  เมื่อ 12 พ.ค. 08, 14:42

ขอบคุณคุณ SILA มากครับ ที่หาคำแปลของ ฉะเชิงเทรา มาให้ ก็น่าจะเป็นเช่นนั้นครับ ชำเรา ตรงกับ เทรา พึ่งนึกได้เหมือนกันว่า สทิงพระ ก็เป็นคำในทำนองเดียวกัน คือ สทิง - ฉะเชิง แปลว่า คลอง

พอดีไปเจอคำว่า "ฉำฉา" ในภาษาเขมรก็เีรียก "ฉำฉา" เหมือนกัน
บันทึกการเข้า
SILA
หนุมาน
********
ตอบ: 6362


ความคิดเห็นที่ 237  เมื่อ 12 พ.ค. 08, 17:26

อ้างถึง
ผมเคยอ่านเจอคำว่า "อีฉาน" ในบทกลอนเก่าๆครับ แต่ยังนึกไม่ออกว่าเรื่องไหน แต่น่าจะเป็นยุครัตนโกสินทร์นี่แหละครับ
ใช้แทนตัวกวีที่เป็น "ชาย"

      เคยอ่านบทความเกี่ยวกับคำ ดิฉัน คิดว่ามีประโยชน์สำหรับผู้สนใจ ครับ

สรรพนามบุรุษที่ ๑ ‘ดิฉัน’ หรือ ‘ดีฉัน’   โดย  จุลลดา ภักดีภูมินทร์

             - ละครย้อนยุคหลายเรื่อง ผู้ชายเรียกตัวเองว่า ‘ดิฉัน’ หรือ ‘ดีฉัน’ ทำให้สงสัย เพราะปัจจุบันเคยได้ยินแต่ผู้หญิงพูด -

            สรรพนามบุรุษที่ ๑ ‘ดิฉัน’ หรือ ‘ดีฉัน’ (ในวรรณคดีบางทีก็ลากเสียงเป็น  ‘ดิฉาน’ นั้น) เคยทราบจากท่านผู้ใหญ่
ซึ่งนับเป็นปราชญ์ทางภาษาว่า

               แรกเริ่มทีเดียวเป็นสรรพนามของคนทั่วไปใช้พูดกับพระสงฆ์ ผู้เป็นที่นับถืออย่างสูง มาจากคำว่า ‘ดิรัจฉาน’

              คือยกย่องพระสงฆ์ว่าเป็นผู้ประเสริฐกว่าสัตว์ทั้งปวง (มนุษย์ก็นับว่าเป็นสัตว์เหมือนกัน แต่เป็นสัตว์ประเสริฐกว่าสัตว์ทั้งหลาย)
ขณะเดียวกันผู้พูดก็ถ่อมตัวว่า ตนนั้นหากเปรียบกับพระสงฆ์ ก็ยังเป็นเพียงดิรัจฉาน จึงเรียกตัวเองว่า ‘ดิรัจฉาน’
             ต่อมากร่อนไป เหลือแต่พยางค์ต้นกับท้ายกลายเป็น ‘ดิฉัน’

             เดิมใช้คำนี้ทั้งผู้ชาย ผู้หญิง แต่ต่อมาใช้กันแต่ในหมู่พวกผู้ชาย ส่วนผู้หญิงนั้นในวรรณคดี และจดหมายเหตุ เห็นใช้ว่า ‘ฉัน’ บ้าง
‘อีฉัน’ บ้าง ไม่ทราบว่าเริ่มใช้กันมาตั้งแต่เมื่อใด

             คำว่า ‘อีฉัน’ นี้ หากสันนิษฐานแบบลากเข้าศัพท์ เห็นจะมาจากคำว่า อี + ฉัน กระมัง เพราะในสมัยก่อนผู้หญิงทั่วไปมักเรียกกันว่า
อีนั่น อีนี่ เวลาพูดกับมูลนาย จะใช้ว่า ‘ฉัน’ ก็ดูไม่เป็นการนับถือยกย่อง จึงเลยเรียกตัวเองว่า ‘อี’ เสียก่อน จึงตามด้วย ‘ฉัน’

            นี่เป็นการสันนิษฐานโดยไม่จริงจังนัก ด้วยเหตุผลที่ออกจะข้างๆ คูๆ อยู่

            เมื่อผู้เล่ายังเด็ก ผู้ใหญ่ขนาดย่า ป้า อา เรียกตัวเองว่า ‘อีฉัน’ หรือ ‘อิฉัน’ กันทั้งนั้น ไม่เห็นเคยได้ยินเรียก ‘ดิฉัน’
จนกระทั่งเริ่มเป็นสาวในสมัยประชาธิปไตย จึงได้ยินผู้หญิงเรียกตัวเองว่า ‘ดิฉัน’ บางทีก็ ‘อะฮั้น’ บางทีพูดเร็วๆเป็น ‘เดี๊ยน’ บ้าง
‘ดั๊น’ บ้าง ก็มี
   
บันทึกการเข้า
SILA
หนุมาน
********
ตอบ: 6362


ความคิดเห็นที่ 238  เมื่อ 12 พ.ค. 08, 17:30

          ส่วน ‘ดิฉัน’ ของผู้ชาย จากการพูดกับพระสงฆ์ ต่อมาเลยกลายเป็นสรรพนามบุรุษที่ ๑ ใช้สำหรับผู้มีอาวุโสน้อยพูดกับผู้มีอาวุโสมากกว่า
แม้บ่าวพูดกับนาย บางทีก็ใช้ว่า ‘ดิฉัน’

            เช่นในวรรณคดี ‘ขุนช้างขุนแผน’ ตอนขุนช้างพาบริวารบ่าวไพร่ไปแอบดูนางพิมอาบน้ำที่ท่าน้ำกับพวกบ่าวไพร่ อ้ายโห้ง บอกนายว่า
ติดใจบ่าวของนางพิมคนหนึ่งอยู่

     “อ้ายโห้งฟังนายสบายจิต
ดีฉันคิดไว้แต่แรกลงมาถึง
ความรักไม่ชั่วจนตัวตึง
ค่าตัวชั่งหนึ่งอีคนนี้”

           เมื่อทองประศรีนำพลายงามไปหาขุนแผนที่ในคุก ขุนแผนสั่งสอนพลายงามว่าจะพาไปฝากพระหมื่นศรีให้ช่วยนำถวายตัว

      “พลายงามน้อยสร้อยเศร้ารับเจ้าคะ
ดิฉันจะพากเพียรเรียนให้ได้”

            และเมื่อพลายงามรับปากพระพิจิตรนางบุษบา พ่อแม่ของนางศรีมาลาว่าจะไม่นอกใจ นั้นก็ว่า

       “ครานั้นจึงโฉมเจ้าพลายงาม
คิดแล้วกล่าวความตามประสงค์
ถ้าหากท่านผู้ใหญ่ได้ตกลง
ที่ตรงดีฉันนั้นอย่าแคลง”

           นี่เป็นเรื่องในวรรณคดี แต่วรรณคดีเรื่องขุนช้างขุนแผนนั้น เป็นเรื่องอันแสดงถึงชีวิตและสังคมชาวบ้านตลอดจนการพูดจา
ของชาวบ้านในยุคปลายอยุธยา และต้นรัตนโกสินทร์ เรื่องราวในยุคนั้นที่นำมาแต่งเป็นนิยายอิงพงศาวดารหลายเรื่องมักอาศัยความรู้
อันได้มาจากวรรณคดีเรื่องขุนช้างขุนแผนนี่เอง
บันทึกการเข้า
SILA
หนุมาน
********
ตอบ: 6362


ความคิดเห็นที่ 239  เมื่อ 12 พ.ค. 08, 17:35

ทีนี้ที่ท่านใช้สรรพนาม ‘ดิฉัน’ โดยปรากฏเป็นหลักฐานอยู่นั้น คือ

            เมื่อ พ.ศ.๒๓๗๖ เวลานั้นเจ้าพระยาบดินทรเดชาเป็นสมุหนายก (ที่จักรี) เจ้าพระยาพระคลัง (ดิศ) ว่าที่สมุหพระกลาโหม
พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าฯ ทรงมีพระบรมราชโองการให้ท่านทั้งสองยกทัพไปตีเขมรและญวน เจ้าพระยาบดินทรเดชา เป็นแม่ทัพบก
เจ้าพระยาพระคลังเป็นแม่ทัพเรือ
            (เวลานั้นนักองจันทร์เจ้าแผ่นดินเขมรเข้าข้างญวน ส่วนน้องชายคือนักองอิ่ม นักองด้วง เข้าข้างไทย)

           แม่ทัพทั้งสองท่าน ต่างคนต่างยกไปรบกับญวน เขมร จนกระทั่งยกมาพบกันที่เมืองโจฎก (หรือโชฎก) ซึ่งเจ้าพระยาพระคลัง
ตั้งทัพอยู่ ปรึกษากันว่าจะยกไปทางเรือด้วยกัน

             “เจ้าพระยาพระคลังเห็นชอบด้วย จึงเรียนเจ้าพระยาบดินทรเดชาว่า ครัวญวนจับไว้ได้มาก แต่ชายฉกรรจ์ถึง ๘๐ คนเศษ
การข้างหน้ายังมีต่อไปอีกมากอยู่ จะจำไว้ที่เมืองโจฎกก็ไม่ไว้ใจ จะส่งเข้าไปกรุงเรือใหญ่ก็ไม่มี มีแต่เรือรบจะทำประการใดดี
             
              เจ้าพระยาบดินทรเดชาจึงว่า เจ้าคุณกลัวบาปอยู่ก็ไว้ธุระดิฉัน จึงเรียกพระสุรินทรามาตย์มาสั่งว่า
อ้ายญวนผู้ชายฉกรรจ์มีอยู่เท่าไร ให้แจกเหล้าไปสำเร็จโทษเสียให้หมด แต่ครอบครัวของมันนั้นให้กวาดส่งลงไปเมืองบันทายมาสให้สิ้น”

            เจ้าพระยาบดินทรฯ และเจ้าพระยาพระคลังนั้นว่าที่จริง ตำแหน่ง และเกียรติยศของท่านเสมอกัน เจ้าพระยาบดินทรฯ อายุสูงกว่า
เจ้าพระยาพระคลัง ๑๑ ปี ด้วยซ้ำ  ‘ดิฉัน’ ในที่นี้จึงเป็นการพูดอย่างคนเสมอกันค่อนข้างถ่อมตัวนิดๆ
บันทึกการเข้า
หน้า: 1 ... 14 15 [16] 17 18 ... 23
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.081 วินาที กับ 19 คำสั่ง