เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 ... 9 10 [11] 12 13 ... 23
  พิมพ์  
อ่าน: 207997 คำไทยที่ไม่ค่อยจะรู้จักกันแล้ว
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 150  เมื่อ 01 เม.ย. 08, 09:00

ทีนี้พูดถึงไหปลาร้า บนร่างกาย  บ้างค่ะ
ส่วนที่เรียกว่า ไหปลาร้า ไม่ใช่กระดูกนะคะ  แต่เป็นส่วนที่เป็นหลุม   กระดูกตรงนั้นเรียกว่า "กระดูก(ของ)ไหปลาร้า"
ส่วนที่บุ๋มเป็นหลุมนั่นแหละค่ะคือไหปลาร้าของจริง    ชวนให้นึกถึงปากไหปลาร้าหรือยังไงก็นึกไม่ออก  ต้องตามรอยกันต่อไป

พจนานุกรมฯ รอยอิน ให้ความหมายว่า

ไหปลาร้า  น. ชื่อไหชนิดหนึ่ง มีขอบรอบปากสําหรับหล่อนํ้าและมีฝาปิด 
ใช้หมักปลาร้า, หลุมข้างคอถัดกระดูกไหปลาร้าขึ้นไป, เรียกกระดูกทั้งคู่
ที่อยู่ต้นคอข้างหน้าว่า กระดูกไหปลาร้า.

ผู้หญิงไทยสมัยห่มผ้าแถบ  รูปร่างสมบูรณ์ไม่ผอมแห้งอย่างสาวสมัยนี้   จะไม่ค่อยเห็นไหปลาร้า   
ใครมีไหปลาร้าให้เห็น แสดงว่าผอมมาก   ไม่งามตามมาตรฐานความงามยุคนั้น
จะเห็นได้ว่า ในการชมนางงามตั้งแต่หัวถึงเท้า อย่างชมนางสีดา  และนางอื่นๆในฝันของกวี  ไม่มีการเอ่ยชมไหปลาร้าเอาเลยสักครั้ง
บันทึกการเข้า
Hotacunus
องคต
*****
ตอบ: 613


AD FRANCIAM


ความคิดเห็นที่ 151  เมื่อ 01 เม.ย. 08, 09:38

ผมเข้าใจว่า พจนานุกรมคงเรียกชื่อหลุมตามชื่อกระดูกครับ ไม่น่าที่จะเรียกชื่อกระดูกตามหลุม

ตัวไหปลาร้า นี่ผมเคยเห็นครับ ดูอย่างไรก็ไม่เป็นหลุมเหมือนไหปลาร้าบนตัวคน

ผมกำลังสงสัยว่า พจนานุกรมอาจอธิบายความหมายตามศัพท์ที่เพี้ยนไปแล้วหรือเปล่า ฮืม ไปจับเอาคำว่า "ไหปลาร้าจริงๆ" มาอธิบาย เพราะไม่ได้หาความหมายที่แท้จริงว่า คำนี้มาจากไหน ?

มูลเหตุที่ทำให้ผมสงสัยมีอยู่สามประการคือ หนึ่ง ความหมายในภาษาเขมร "ด้ามมีดพร้า" สอง คำแปลที่มีกล่าวถึงอยู่ในตำนานอุรังคธาตุว่า "พระรากขวัญ" หมายถึง "กระดูกด้ามมีด" และสาม คำว่า "พร้า" กับ "ปลาร้า" ในทางสัทธศาสตร์ และที่สำคัญคือ คิดไ่ม่ออกว่า ไหปลาร้า มันจะเกี่ยวอะไรกับร่างกาย หรือ หลุมตรงนั้น  ยิงฟันยิ้ม

ผมเคยอ่านตำนานเกี่ยวกับการสร้างกรุงศรีอยุธยา โดยมีการอธิบายที่ classic มากๆ  ยิงฟันยิ้ม ว่า ทำไมถึงชื่อ ศรีอยุธยา คำตอบคือ เมื่อก่อนมี "ตาศรี" กับ "ยายยุธยา" (อะไรประมาณนี้แหละครับ) เป็นเจ้าของที่ตรงนั้น ก็เลยเรียกตาม ชื่อตายาย  ลังเล

แต่เรื่องนี้ ผมก็คงต้องค้นต่อไปครับ  ยิงฟันยิ้ม โดยเฉพาะเรื่องสำเนียงถิ่นต่างๆ ที่เรียกคำว่า "มีด" ว่ามันมีโอกาสเพี้ยนกันมากน้อยเพียงใด  เจ๋ง ที่น่าสนใจคือ ข้อความจากตำราแพทย์แผนโบราณว่าเค้าบันทึกคำนี้ไว้ว่าอย่างไร แต่คงอีกนานครับ เพราะตอนนี้ต้องทำภารกิจ "สำคัญ" ให้สำเร็จเสียก่อน  ยิงฟันยิ้ม

===============================

เรื่องความงามสมัยนี้ กลายเป็นใครผอมจนเห็นไหปลาร้านี่ หุ่นดีครับ อิอิ และถ้าผอมด้วย "ซิลิโคนด้วย" นี่ กำลังเป็นที่นิยม ดูได้จากดาราสาวๆ บ้านเรานี่เอง  ยิงฟันยิ้ม

บันทึกการเข้า
ติบอ
นิลพัท
*******
ตอบ: 1906


Smile though your heart is aching.


ความคิดเห็นที่ 152  เมื่อ 01 เม.ย. 08, 10:05

ผมเคยอ่านตำนานเกี่ยวกับการสร้างกรุงศรีอยุธยา โดยมีการอธิบายที่ classic มากๆ  ยิงฟันยิ้ม ว่า ทำไมถึงชื่อ ศรีอยุธยา คำตอบคือ เมื่อก่อนมี "ตาศรี" กับ "ยายยุธยา" (อะไรประมาณนี้แหละครับ) เป็นเจ้าของที่ตรงนั้น ก็เลยเรียกตาม ชื่อตายาย  ลังเล


เนื้อเรื่องชวนให้คิดถึงตำนานรุ่นหลังๆ ที่คนแต่งไม่รู้ที่มาของชื่อ
ก็เลยแต่งอะไรเข้าไปใหม่เหมือนตำนานเมือง "จะทิ้งพระ"
ที่ถูกแต่งขึ้นมาตอนชื่อเมือง สะทิงปุระ กลายเป็นเมือง จะทิ้งพระ ไปแล้วนะครับ



ปล. อ่านที่อาจารย์เขียนแล้วแอบงงครับ
กระดูกด้านหลังของไหปลาร้า.... นี่มันกระดูกอะไรอ่า.....
สะบักไม่ใช่หรอ ฮืม แง่ง..... อยากถามคนแต่งพจนานุกรม
บันทึกการเข้า
Playrung
อสุรผัด
*
ตอบ: 5



ความคิดเห็นที่ 153  เมื่อ 01 เม.ย. 08, 11:14

มาถึงเรื่อง สี กันบ้าง

(ถ้าหากเคยสนทนากันไปแล้วก็ขออภัยนะคะ)

คนรุ่นก่อน บางคน มักเรียน สีฟ้า หรือ น้ำเงิน  ว่า "สีเขียว"
สมัยนี้ บางคนก็ยังคงเรียกแบบนี้อยู่

สร้างความงุนงง ให้ลูกหลานในบางครั้ง ต้องอาศัยความเคยชินเข้าช่วย

ทำไม? จึงเรียกเช่นนี้คะ

แบบว่า สงสัยค่ะ

 ตกใจ

บันทึกการเข้า
pipat
แขกเรือน
นิลพัท
*******
ตอบ: 1802


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 154  เมื่อ 01 เม.ย. 08, 12:20

คนอีสานเขาฉลาดกว่าคนภาคกลางครับ
ที่เรียกกระดูกด้ามมีด ก็เพราะเขาไม่รู้จักปลาร้า

เขารู้จักแต่ปลาแดก
ไหปลาแดกเป็นความสำเร็จทางเทคโนโลยี่เครื่องเคลือบครั้งสำคัญ
ภาคกลางทำเป็นแต่ถ้วยชามกระลาแตก
เอาใส่ปลาแดกมีหวังเหม็นไปทั้งบาง
บันทึกการเข้า
Hotacunus
องคต
*****
ตอบ: 613


AD FRANCIAM


ความคิดเห็นที่ 155  เมื่อ 01 เม.ย. 08, 16:56

ตอบคุณ Playrung

เรื่องนี้เมื่อก่อนผมก็ยังงง อยู่เหมือนกัน จะว่าสีเดียวกันก็ไม่ใช่ แต่ทำไม่เรียกต่างกันแบบนั้น  ฮืม

ตอนนี้ พอเห็นอะไรแปลกๆ อยู่เหมือนกันครับ คือเคยไปค้นคำเขมรเกี่ยวกับสี ก็พบว่า

เขมร     ไทย
แบตง      เขียว
เขยว      น้ำเงิน
เลือง       เหลือง

เรื่องนี้ ผมยังไม่กล้าฟันธงครับว่าใครเอาของใครไปใช้ เพราะตอนนี้ตำรามีไม่พอค้น  ยิงฟันยิ้ม

แต่พอเข้าใจได้ว่า เหตุที่คนไทยบางคนเรียกสีน้ำเงินว่าเขียว ก็อาจเป็นเพราะว่า ภาษาของคนแถวนั้นเรียกได้รับอิทธิพลของภาษาเขมรมาแต่เดิม (ในกรณีที่ เรารับคำเขมรมาใช้)

ในทางกลับกัน คำว่า เขียว หมายถึง สีน้ำเงิน มาแต่เิดิม แต่ภาษาปัจจุบันได้เปลี่ยนความหมายไป ความหมายเดิมจึงถูกเก็บไว้ในภาษาถิ่น และภาษาเขมร ที่ยืมไป เรื่องนี้ ต้องคำว่าเขียวในตระกูลภาษาไท-กะได ครับ
บันทึกการเข้า
pipat
แขกเรือน
นิลพัท
*******
ตอบ: 1802


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 156  เมื่อ 01 เม.ย. 08, 19:04

เพิ่งเจอมาเมื่อกี้
ไปที่ตลาด บอกกับร้านชำ
(เอ ร้านชำ มาจากอารัยหว่า....ติ๊กต็อกๆๆๆๆ งง)

กาลักน้ำ ตัวนึง

คนขายเป็นเด็กสาว อายุต่ำกว่า 20 ถามกันวุ่นทั้งร้าน ม่ายรู้จักฮ่า........

เซ็ง
บันทึกการเข้า
กุ้งแห้งเยอรมัน
แขกเรือน
สุครีพ
******
ตอบ: 1573



ความคิดเห็นที่ 157  เมื่อ 02 เม.ย. 08, 15:15

คนสมัยนี้เพี้ยนแล้วมีคนยอมรับก็ดีไป เจอคำอะไรแปลไม่ออกก็ไปจับคำใกล้ๆมามั่ว แก้จนยุ่ง ทั้งที่ตัวเองไม่ได้เกิดยุคนั้นเสียหน่อย ที่ภูเก็ตมีอ่าวๆหนึ่ง ดิฉันงง ว่าชื่อจริงๆ อ่าวยน หรืออ่าวยนต์ ไม่ทราบจะถามใคร เพราะคำง่ายๆอย่างนี้บางทีมันก็ไม่มีที่มา
แต่เป็นอ่าวเล็กๆที่สวยงาม
มีเรือยอทจอดพอสมควร
สมัยก่อนเป็นที่เรือยนต์มาจอดหรือเปล่าไม่แน่ใจ
ฤาคำว่ายน มีคำแปลในภาษาของชาวใต้ก็ไม่ทราบ
จะยนต์หรือยน พอมันสวยขึ้นมา
ดิฉันก็อยากจะเขียนตามที่เห็นว่า อ่าวยล
บันทึกการเข้า
Bana
องคต
*****
ตอบ: 439



ความคิดเห็นที่ 158  เมื่อ 03 เม.ย. 08, 00:33

อ่าวยนต์-เขาขาด  สวยน่าเที่ยวมากครับ 

เหมือนผมเคยได้ยินว่าลักษณะจะคล้าย"บอกยนต์"  ซึ่งแปลว่าตะบันหมากในภาษาใต้  อันนี้ไม่ทราบแน่ชัดครับ  แต่ถ้าคิดในแง่คุณกุ้งว่างามน่ายล  ก็น่ายลจริงๆครับ

กระดูกแถวบนสุดของซี่โครง(ส่วนมากจะเป็นของสัตว์)  คนโบราณจะนำมาทำเป็นด้ามพร้าหรือเล็กลงมาเป็นด้ามมีดครับ  "พร้ากับมีด"  เวลาตีแล้วจะเป็นสองลักษณะ  เป็นแบบด้ามด้ามแหลมๆ  กับเป็นแบบห่วง  ซึ่งแบบห่วงจะเรียกว่า "บ่อง"  มักจะนำไม้เนื้อแข็ง  กระดูกสัตว์  มาทำเป็นด้ามครับ(ปัจจุบันไม่นิยมแล้ว)  ดังนั้นในตำนานอุรังคนิทาน  เชื่อว่าเป็นกระดูกบนสุดของซี่โครงที่เรียกกันว่า "กระดูกด้ามพร้า"  อุรังคธาตุ   คือที่บรรจุพระบรมอัฐิส่วนที่เรียกว่าด้ามพร้าหรือด้ามมีดครับ.........


บันทึกการเข้า
Hotacunus
องคต
*****
ตอบ: 613


AD FRANCIAM


ความคิดเห็นที่ 159  เมื่อ 03 เม.ย. 08, 02:06

เรื่องชื่อสถานที่ต่างๆ ทางภาคใต้ รู้สึกว่าจะเป็นคำมาเลย์เยอะอยู่พอควรครับ

ไม่แน่ว่า "อ่าวยน" หรือ "อ่าวยนต์" นี้ อาจมาจากคำมาเลย์ก็ได้  ยิงฟันยิ้ม

อย่างชื่อของจังหวัดภูเก็ตเอง ก็มาจากภาษามาเลย์ คือ บูกิต (Bukit) แปลว่า เนินเขา (hill)

ลองไปค้นคำมาเลย์ดูคร่าวๆ พบคำที่น่าสนใจสองคำ คือ Joran แปลว่า คันเบ็ดตกปลา กับ Jong แปลว่า เรือสำเภาจีน ฝรั่งว่า Junk

คำ junk นี้ ฝรั่งเอามาผูกกับคำว่า Ceylon เป็น Junk-Ceylon ใช้เรียกเกาะภูเก็ตในสมัยโบราณ
บันทึกการเข้า
กุ้งแห้งเยอรมัน
แขกเรือน
สุครีพ
******
ตอบ: 1573



ความคิดเห็นที่ 160  เมื่อ 03 เม.ย. 08, 06:36

ถ้าดิฉันจะคิดกลับกันล่ะคะ คุณHotacunusว่าบูกิตมาจากคำว่าภูเก็ต
ภู แปลว่าเขา
เก็ต ก็มาจากอัญมณี เก็จ
มันก็มีความหมายในตัวเองอยู่แล้ว ...
บันทึกการเข้า
CrazyHOrse
แขกเรือน
นิลพัท
*******
ตอบ: 1899



เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 161  เมื่อ 03 เม.ย. 08, 09:36

จะตีความว่า ภูเก็ต มาจาก ภู + เก็จ อย่างคุณกุ้งแห้งฯว่านั้นก็ได้อยู่ครับ แต่ต้องฝ่าด่านสำคัญอย่างหนึ่งไปก่อน คือคำ ภู นี้ใช้เรียกภูเขาในภาคอีสานครับ ทางเหนือใช้ ดอย ทางภาคกลางคงไปถึงใต้ใช้ เขา เป็นภาษาคนละถิ่นกันครับ

ขอย้อนกลับไปที่ไหปลาร้าหน่อยครับ อ่านที่รอยอินว่าไว้ ผมเข้าใจว่าท่านมองกระดูกสองชิ้นด้านหน้านี้ต่อกันเป็นครึ่งวงกลมเหมือนปากไห ดังนั้นช่องที่คอตั้งอยู่นี้ก็เป็นหลุมของไห ฟังดูคล้ายๆจะเข้าที เป็นเป็นจินตนาการที่สยดสยองมากครับ  ลังเล

เชื่อตามรอยอิน กระดูกไหปลาร้าก็คือกระดูกปากไหปลาร้านั่นเอง
บันทึกการเข้า

"Postel's Law": "be conservative in what you do, be liberal in what you accept from others"
elvisbhu
แขกเรือน
พาลี
****
ตอบ: 215

เป็นคนเขียนรูป


ความคิดเห็นที่ 162  เมื่อ 03 เม.ย. 08, 13:00

ภู เป็นภาษาไทยครับ คุณเครซี่ฮอร์ส
เราเรียกภูเขา หรือเขา หรือภู
ส่วนภาษาถิ่นของใครก็ของมัน
ภูที่เป็นบาลี เป็นชื่อผม แปลว่าผู้เป็นใหญ่
เก็ต ก็มาจากเพชร หรือสิ่งที่แวววาว
อันนี้ไม่ชอบพึ่งรอยอินฮะ เมืองภูเก็ตเป็นเกาะมาแต่ไหนแต่ไร ชื่อเก่าไม่มี ถ้าภูเก็ตมาจากบูกิตจริง มันก็ไม่น่าจะใช่
เพราะนี่เป็นเกาะครับ
ไม่ใช่เขา
หรือถ้าเป็นเขาก็ต้องเขาในน้ำทะเล
บันทึกการเข้า
Hotacunus
องคต
*****
ตอบ: 613


AD FRANCIAM


ความคิดเห็นที่ 163  เมื่อ 03 เม.ย. 08, 18:35

เรื่องชื่อบ้านนามเมืองของจังหวัด และอำเภอทางภาคใต้นี่น่าสนใจครับ และคิดว่าน่าจะมีคนศึกษารวบรวมไว้บ้างแล้ว แต่คงยังไม่เป็นที่แพร่หลายออกสู่วงกว้าง (ผมไม่เคยเห็นหนังสือ แต่อ่านเจอบ่อยๆ ในบทความบ้าง จดหมายถึงบรรณาธิการ (ศิลปวัฒนธรรม) บ้าง)

นอกจากภูเก็ตแล้ว ก็ยังมี พังงา สตูล ที่ได้รับการตีความว่าเป็นคำมาเลย์มาก่อน

ส่วนที่ผมสงสัยก็มีอย่าง อำเภอในจังหวัดชุมพร เช่น หลังสวน (อันนี้ผมสงสัยว่า เป็นการลากเสียงแขกมาเลย์ เป็นเสียงไทย  ขยิบตา) ประทิว ท่าแซะ ละแม พะโต๊ะ สวี ส่วน "ทุ่งตะโก" นี่น่าจะเป็นชื่อไทยตั้ง (ถ้าไม่ลากเสียงให้เป็นภาษาไทย)

ส่วนคำว่า "ภู" ที่แปลว่า "เขา" นั้น เป็นคำไทเดิมครับ (คำร่วมไท-จ้วง) ปัจจุบันภาษาไทยภาคกลาง (มาตรฐาน) ใช้คู่กันเป็น "ภูเขา" (เขมรเรียก "พนม")
ถ้าเป็นทางภาคกลาง-ใต้ นิยมเรียกชื่อภูเขาขึ้นด้วย "เขา" แต่ถ้าเป็นทางภาคเหนือ-อีสาน นิยมเรียกขึ้นด้วย "ภู" หรือ "ดอย" (คำนี้ก็เป็นคำไทเดิม)

หลังจากที่ไปค้นมาก็ได้มาว่า คำว่า "ภู" น่าจะมีรากร่วมกันมาแต่เดิมกับคำกวางตุ้งว่า "เฟา" 阜 (fau6) จีนกลางว่า ฟู่ (fu4) (ตามหลักการเพี้ยนเสียงกันไปมาระหว่าง P, Ph, F  ยิงฟันยิ้ม )

เคยเจอคำฮินดีว่า "ภูวิทยา" ซึ่งหมายถึง "ธรณีวิทยา" ในภาษาไทย  ยิงฟันยิ้ม

==============================

Zhuang-Tai etymology: http://starling.rinet.ru/cgi-bin/query.cgi?root=config&morpho=0&basename=\data\thai\zhtaet

บันทึกการเข้า
Hotacunus
องคต
*****
ตอบ: 613


AD FRANCIAM


ความคิดเห็นที่ 164  เมื่อ 03 เม.ย. 08, 19:34

ส่วนคำว่า "เก็จ" นี้ ราชบัณฑิตยฯ ให้ความหมายไว้ว่า

เก็จ ๑ น. แก้วประดับ. ซึ่งไม่ได้บอกว่ามาจากภาษาอะไร แต่ดูจากรูปอักษรแล้วน่าจะเป็นคำต่างชาติครับ เพราะสะกดด้วย "จ" ซึ่งทำนองเดียวกับคำว่า กระดาษ ที่สะกดด้วย "ษ"

คำนี้น่าสนใจครับ ต้องขอบคุณ คุณกุ้งแห้งเยอรมัน ครับที่กล่าวถึง เพราะผมรู้จักคำสันสกฤตว่า "กาจ" (เทวนาครี: काच ; โรมัน: kāć แปลว่า แก้ว) มาได้พักหนึ่งแล้วในคราวที่ค้นคำว่า "กระจก" แต่ก็ไม่เคยเฉลียวใจว่า "กาจ" กับ "เก็จ" นี้ เป็นคำเดียวกัน

ไปเจอคำว่า kāć-maṇi (กาจมณิ = เก็จมณี), s.m. Crystal; quartz.
ไม่ทราบว่าในภาษาไทยจะมีใช้ "เก็จมณี" หรือเปล่านะครับ  ฮืม

"กระจก" ในภาษามาเลย์เรียกว่า "Kaca" ส่วนทางเขมรเรียก "กญฺจก่" ในภาษาทมิฬ คือ kācam

ไม่ว่าจะเป็นสำเนียงของชาติไหน ต้นคำก็ล้วนมาแต่คำสันสกฤต แต่คำไทย "กระจก" (สายเขมร) กับ "เก็จ" (สายทมิฬ) น่าจะมีที่มาคนละสาย เลยทำให้ปลายทางมีรูปคำแตกต่างกัน แต่ก็ยังคงเห็นร่องรอยอยู่คือ "ก" กับ "จ"

================================

กลับมาที่ภูเก็ตครับ เคยทราบมาเหมือนกันว่าในเอกสารเก่าๆ จะเขียนว่า "ภูเก็จ" (ถ้าจำไม่ผิดนะครับ เพราะอ่านมานานร่วมสิบปีแล้วในศิลปวัฒนธรรม) ถ้าเป็นเช่นนั้นจริง ผมก็สงสัยว่า เหตุที่เขียน ภูเก็จ นี้ เป็นการลากเสียงมาเลย์ "บูกิต" ให้เป็นเสียงไทยว่า "ภูเก็จ" หรือไม่ เพราะสังเกตได้ว่า เมื่อก่อน ภาษาไทยมักลากเอาเสียงต่างชาติแปลงให้เป็นคำไทย หรือ เป็นเสียงง่ายๆ เช่น จะทิ้งพระ หันแตร

ส่วนมูลเหตุว่าทำไมเรียก Bukit (เนินเขา) หรือ ภูเก็จ (เขาแก้ว) นั้นก็สุดจะเดาครับ  ยิงฟันยิ้ม แต่ถ้าจะอธิบายว่าทำไม เป็น "เกาะ" แต่เรียก "เนินเขา" ก็อาจบอกได้ว่า ชาวเรือนั้น ตั้งชื่อเรียกสถานที่โดยเอาชัยภูมิเด่นๆ ครับ ผมคิดว่า ชาวเรือมาเลย์ คงเรียกเต็มๆ ว่า "เกาะเนินเขา" คือ ให้รู้ว่า เมื่อมาถึงเกาะที่เห็นเนินเขา หรือ ภูเขาแล้ว ก็ใกล้ถึงจุดหมายแล้ว คงไม่เรียก bukit เฉยๆ ครับ แต่เนื่องด้วยไม่สามารถเข้าถึงเอกสารภาษามาเลย์ได้ (เพราะอ่านไม่ออก  ยิงฟันยิ้ม ) ผมก็เลยไม่ทราบเหมือนกันว่า ทางมาเลย์โบราณเรียกสถานที่ต่างๆ แถวๆ บ้านเราว่าอย่างไรบ้าง (เกาะสมุยก็เป็นอีกกรณีหนึ่ง ที่ถูกเสนอชื่อว่า เป็นคำที่เพี้ยนมาจากภาษามาเลย์)

อย่างไรก็ตาม ภูเก็ตเองก็มีอีกชื่อคือ "ถลาง" ซึ่งผมเชื่อว่าชื่อนี้น่าจะเป็นชื่อจริงของเกาะมาแต่เดิม ก่อนที่จะถูกแทนที่โดย "ภูเก็ต"

คำว่าถลางนี้ ผมเข้าใจว่าจะมาจากคำมาเลย์ว่า "Selang" แปลว่า "หยุดพัก" หรือ "ระหว่างช่วงเวลา" (การเดินทาง) นัยว่าเป็นเกาะที่ไว้สำหรับหยุดพักระหว่างการเดินทางไปมาระหว่าง ช่องแคบมะละกา - ถลาง - หมู่เกาะอันดามัน-นิโคบาร์ - อินเดียใต้ - ศรีลังกา
บันทึกการเข้า
หน้า: 1 ... 9 10 [11] 12 13 ... 23
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.05 วินาที กับ 19 คำสั่ง