เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 ... 7 8 [9] 10 11 ... 23
  พิมพ์  
อ่าน: 208439 คำไทยที่ไม่ค่อยจะรู้จักกันแล้ว
Hotacunus
องคต
*****
ตอบ: 613


AD FRANCIAM


ความคิดเห็นที่ 120  เมื่อ 24 มี.ค. 08, 08:37

"ปั๊กกะตู" หรือ "เปิดปั๊กกะตู" นี้ ผมเคยได้ยินครับ แต่นานมากแล้ว ตั้งแต่ยังเป็นเด็ก ไม่แน่ใจว่าจะเป็นศัพท์ที่ผู้ใหญ่ชอบใช้กับเด็กเล็กๆ หรือเปล่า คือให้ฟังแล้วดูตลกๆ

จริงๆ แล้ว ผมก็ไม่แน่ว่า เป็นการเล่นเสียง "ป" หรือไม่ คือ "เปิดประตู" ก็เล่นเสียงเป็น "เปิดปั๊กกะตู" เหมือนคำว่า "ตกใจ" ก็เป็น "ต๊กกะใจ" มีคำไหนอีก  ฮืม นึกไม่ออกแล้วครับ  ยิ้มกว้างๆ

คำว่า "ปากประตู" นี้ มีปรากฎอยู่ในศิลาจารึกของพ่อขุนรามคำแหงมหาราชด้วยครับ  ยิงฟันยิ้ม

ด้านที่ ๑ บรรทัดที่ ๓๑ - ๓๓
ใน ปากปตู มี กดีง อนน ณื่ง แขวน ไว๋ ห๋นน ไพร่ ฝ๋า หน๋า ปก

จะเห็นได้ว่า รูปคำเดิมนั้นสะกดว่า "ปตู" ถ้ายึดตามการเขียนแบบเดิมก็ต้องเป็น "ปตู" หรือ "ปะตู" แต่ว่าสมัยก่อนยังไม่มีมาตรฐานในการสะกดคำ ทางไทลพบุรี-อโยธยา อาจพูดด้วยเสียง "ร" ด้วยก็เป็นได้ตามความนิยมสำเนียงเขมรกลายๆ จึงมาเป็น "ประตู"

แต่ผมสงสัยว่า "ปตู" นี้ จริงๆ แล้วกร่อนมาจาก "ปากตู" หรือเปล่า  ฮืม
ความสงสัยนี้มีมานานแล้วครับ แต่ยังไม่มีเวลาค้นจริงๆ จังๆ เสียที เพราะคำศัพท์ที่เรียกโครงสร้างของบ้านบางคำ จะเป็นคำที่เปรียบเทียบกับอวัยวะของร่างกายคนเรา เช่น "ปากตู" "หน้าต่าง" "หลังคา" ก็เลยสงสัยว่า "ตู" คืออะไร ? "ต่าง" คืออะไร ? "คา" คืออะไร ? คำว่า "คา" นี้ เคยอ่านคำอธิบายของ ศ.ดร.ประเสริฐ ณ นคร ที่ไหนจำไม่ได้แล้ว ท่านอธิบายว่า คา ก็คือหญ้าคา นัยว่า สมัยก่อนใช้ หญ้าคามัดรวมกันแล้วมุงเป็นหลังคา

==================================

ส่วนเรื่องเสียง "ฟักกะตู" หรือ ปั๊กกะตู" นั้น ก็น่าจะเป็นตัวอย่างเรื่องของการเพี้ยนไปมาระหว่าง ตัว "ฟ (F)" กับ "ป (P)" ได้ครับ

เช่น Persi (คำอินโดยุโรเปียน) = Farsi (คำอาหรับ) ทั้งสองคำหมายถึง อิหร่าน หรือ เปอร์เซีย นั่นเอง
Father (ภาษาอังกฤษ) = Pater (ภาษาละติน) = پدر (เปอร์เซีย: เปดาร์) = पिता (ฮินดี: ปิตา เทียบไทย: บิดา)
บันทึกการเข้า
Hotacunus
องคต
*****
ตอบ: 613


AD FRANCIAM


ความคิดเห็นที่ 121  เมื่อ 24 มี.ค. 08, 09:16

จากข้อความที่คุณ Wandee โพสไว้ครับ

ณ วัน ๑ เดือน๙ ขึ้น ๓ ค่ำ
เพลา(๑) บ่ายสี่โมง(๒) หมื่นแม่นให้หมื่นจรเจนชลา ล่ามมาบอกว่า
น้ำยังขึ้นไม่เต็มที่ ยังเข้าไปไม่ได้ ต้นหนไม่ฟัง ขืน (๓) แล่นข้ามสันดอนมา
กำปั้น (๔) ลำใหญ่ ครือ (๕) ดิน จักร (๖) พัดโคลนฟุ้งขึ้นมาเต็มกรอบจักร (๗)
จักรไม่เดินพอถึงปีกรั้ว (๘) กำปั้นติดตื้นอยู่ตั้งแต่เพลาสองทุ่ม
น้ำลง กำ่ปั่ั้น ตีแปลง (๙) ดินมูน (๑๐) ข้างกำปั้นสูงขึ้นประมาณศอก (๑๑) เศษ(๑๒)


คำต่างๆ นี้ ถ้านำมาพูดในปัจจุบันนี้ก็คงแปลกๆ  ยิงฟันยิ้ม
๑. เพลา = เวลา
๒. บ่ายสี่โมง = สี่โมงเย็น     ผมไม่แน่ใจว่าเดี๋ยวนี้ยังมีคนพูดบ่ายสี่โมงอยู่หรือเปล่า  ฮืม
๓. ขืน = ฝืน                  ถ้าพูดคำเดี่ยวๆ เดี๋ยวนี้ เห็นจะนิยมใช้ฝืนมากกว่า  ฮืม
๔. กำปั้น (กำปั่น) = เรือ     ปัจจุบันนี้ เรียก "เรือ" หมด
๕. ครือ - คำนี้ ในพจนานุกรมบอกว่า "ไม่คับไม่หลวม เช่น เสื้อครือตัว" ปัจจุบันก็น่าจะตรงกับคำว่า "พอดี" เช่น เสื้อพอดีตัว
                               แต่จากเนื้อหาของเรื่องนี้ ผมว่าน่าจะตรงกับ "ครูด" มากกว่า ครือดิน = ครูดดิน ?
๖. จักร = ใบพัด, ใบพัดเรือ
๗. กรอบจักร = ?            คำนี้ น่าจะเป็นศัพท์เฉพาะ ผมไม่รู้ปัจจุบันจะเรียกอะไร ยังคงเรียกกรอบจักรหรือเปล่า  ฮืม หรือ ก็คือ ใบจักร นั่นเอง ฮืม
๘. ปีกรั้ว = ?                 ไม่แน่ใจว่าหมายถึงอะไร
๙. ตีแปลง = กวน, ตีให้กระจาย
๑๐. ดินมูน (ดินมูล) = โคลน, ตะกอนดิน, ขี้โคลน, ขี้เลน, ตะกอนท้องแม่น้ำ, โคลนท้องแม่น้ำ
๑๑. ศอก => เมตร             อันนี้ ไม่ได้แปลตรงๆ นะครับ แต่ปัจจุบันมาตราวัดต่างๆ นิยมระบบเมตริก (ซม., ซม., กม,) เป็นส่วนใหญ่
                                 แต่ในบริบทนี้ ถ้าเป็นข่าวปัจจุบันก็คงใช้คำว่า เมตร แทน ว่าสูงเท่านี้เท่านั้นเมตร
๑๒. เศษ = กว่าๆ             เดี๋ยวนี้ รู้สึกว่าจะพูด "กว่าๆ" กันเยอะ "เศษ" ก็ยังคงได้ยินอยู่ แต่ไม่มากเท่า

ผมลองแปลงประโยคนี้เป็นภาษาปัจจุบันดูครับ เลือกใช้คำยากอยู่เหมือนกันที่จะเขียนแทนคำว่า "กำปั่นตีแปลง"

โบราณ2393: กำ่ปั่ั้นตีแปลงดินมูนข้างกำปั้นสูงขึ้นประมาณศอกเศษ

ปัจจุบัน 2551: ใบพัดเรือหมุนตีโคลนที่อยู่ข้างๆ พุ่งขึ้นมาสูงประมาณเมตรกว่าๆ   
   


เพิ่งเห็น ว่า "ณ วัน ๑ เดือน ๙ ขึ้น ๓ ค่ำ" เดี๋ยวนี้ก็ไม่ใช้กันแล้ว ในชีวิตประจำวัน จะมีใช้ก็เป็นงานพิธีธรรมต่างๆ ทางความเชื่อศาสนา

ณ = เมื่อ เช่น เมื่อวันที่ ๒ ตุลาคม
วัน ๑ = วันอาทิตย์
เดือน ๙ = กันยายน ? ไม่แน่ใจว่าในเอกสารนี้นับแบบไทยโบราณหรือเปล่า ?
ขึ้น ๓ ค่ำ = วันที่
บันทึกการเข้า
Hotacunus
องคต
*****
ตอบ: 613


AD FRANCIAM


ความคิดเห็นที่ 122  เมื่อ 24 มี.ค. 08, 09:53

กลัก    [กฺลัก] น. สิ่งที่ทําเป็นรูปคล้ายกระบอกสําหรับบรรจุของเล็ก ๆ
   น้อย ๆ หรือของขนาดเล็ก มีฝาสวมปาก เช่น กลักพริก กลักเกลือ,
   ซองยาสูบทําด้วยเมล็ดตาล มีฝาสวมปาก, สิ่งที่ทําเป็นรูปสี่เหลี่ยม
   ผืนผ้าขนาดเล็ก มีลิ้นชักเข้าออกได้ สําหรับบรรจุไม้ขีดไฟ เรียกว่า
   กลักไม้ขีดไฟ, กล่องไม้ขีดไฟ ก็เรียก.


คำนี้ ที่บ้านผม ยังเรียกอยู่ แต่เห็นจะเรียกแต่ "กลักไม้ขีดไฟ" ไม่เคยใช้เรียกเครื่องใช้อย่างอื่นเลย
ยิ่ง กลักพริก - กลักเกลือ ไม่เคยเรียกเลยครับ เพราะที่บ้านใส่ขวดเล็กๆ ก็เลยเรียก ขวดพริก - ขวดเกลือ  ยิงฟันยิ้ม
สำหรับ "กลักไม้ขีด" นั้น ส่วนตัวแล้ว มักจะเรียกกล่องไม้ขีดอยู่บ่อยๆ  อายจัง
บันทึกการเข้า
pipat
แขกเรือน
นิลพัท
*******
ตอบ: 1802


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 123  เมื่อ 24 มี.ค. 08, 16:26

ขอแปลไทยเป็นไทยว่า
เพลา(๑) บ่ายสี่โมง(๒) หมื่นแม่นให้หมื่นจรเจนชลา ล่ามมาบอกว่า
เวลาบ่ายสี่โมง(ผมยังใช้อยู่ครับ คำนี้) หมื่นแม่นให้หมื่นจรเจนชลา ล่าม มาบอกว่า

น้ำยังขึ้นไม่เต็มที่ ยังเข้าไปไม่ได้ ต้นหนไม่ฟัง ขืน (๓) แล่นข้ามสันดอนมา
(ประโยคนี้ รู้เรื่องหมด ไม่ต้องแปล)

กำปั้น (๔) ลำใหญ่ ครือ (๕) ดิน จักร (๖) พัดโคลนฟุ้งขึ้นมาเต็มกรอบจักร (๗)
เรือกำปั่นกินน้ำลึกเกินไป ลำเรือครูดลงถึงท้องน้ำ ใบจักรเรือตีดินจนโคลนฟุ้งขึ้นมาเต็มกรอบใบจักรข้าง
(เรือสมัยนั้น เป็นแบบใขจักรข้างครับ เรือใบจักรท้าย อีกหลายปีจึงเข้ามา)

จักรไม่เดินพอถึงปีกรั้ว (๘)
(อันนี้จนด้วยเกล้า แปลไม่ออก ต้องเดาควบประโยคล่างว่า โคลนเข้าไปเต็มกรอบ ใบจักรก็ฝืดเดินไม่ได้ เรือเท้งเต้งตีแปลงอยู่อย่างนั้น

กำปั้นติดตื้นอยู่ตั้งแต่เพลาสองทุ่ม น้ำลง กำ่ปั่ั้น ตีแปลง (๙) ดินมูน (๑๐) ข้างกำปั้นสูงขึ้นประมาณศอก (๑๑) เศษ(๑๒)
รวมเวลาตั้งแต่บ่ายสี่ไปถึงสองทุ่ม.....ก็ต้องรอน้ำขึ้นตอนดึกแหละครับ น้ำอาจจะหนุนจนลอยสูงขยับหลุดจากปลัก
-------------
ผมยังเรียกกล่องเล็กๆ ว่ากลักครับ
แต่ในสาส์นสมเด็จ ท่านเรียกนมกระป๋องว่า นมกลักด้วยแหละ....
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 124  เมื่อ 24 มี.ค. 08, 21:20

ก่อนยุคที่มีขวดใส่พริกใส่เกลือ   ของแห้งต่างๆเขาใส่กลักกัน โดยเฉพาะเวลาพกติดตัวไปในการเดินทาง

ในมหาเวสสันดรชาดก  ตอนชูชกเข้าป่า ไปเจอพรานเจตบุตร    แกก็ทำอุบายว่าตัวเองเป็นมหาปุโรหิตของพระเจ้าสญชัยจะมาตามพระเวสสันดรกลับเมือง
พกกลักพริกกลักขิงมาในย่าม กระทบกันกรุกกริก   พรานป่าถามว่าอะไร แกก็แสร้งตอบว่าเป็นกล่องสารตราพระราชสีห์   พรานก็พาซื่อนึกว่าจริง  ไหว้กลักพริกกลักขิงไม่สงสัย

ปั๊กกะตู เคยได้ยินค่ะ  ไม่ใช่คำตลกค่ะ  เป็นภาษาปาก
บันทึกการเข้า
ติบอ
นิลพัท
*******
ตอบ: 1906


Smile though your heart is aching.


ความคิดเห็นที่ 125  เมื่อ 25 มี.ค. 08, 00:53

ปัสะตู   ผ้าขนสัตว์ย้อมสีแดง เนื้อหยาบกว่าสักหลาด



อ่านคำแปลนี้ของคุณวันดี ที่นายติบอก็เคยเข้าใจมาตามนั้น
ส่วนผ้าขนสัตว์เนื้อดีขึ้นมาเหมือนจะเรียกว่า "ส่าน" และดีที่สุดเรียกว่า "กำพล"

แต่พอเทียบกับการปริวรรตเสียงของคุณพี่ hotacunus แล้วชอคครับ
ถ้าปัสตู..... คือพาชตู (ที่แขกอาฟกันเดี๋ยวนี้มักจะออกเสียงคล้ายๆคำว่า "พ์ชัสตูส" หรือบางทีก็ "พ์ชาสตูส")
นั่น..... เป็นอย่างเดียวกับกำพลที่เป็นผ้าขนสัตว์ที่เลิศที่สุด และชั่วที่สุดเท่าที่โลกจะเคยรู้จักครับ

ที่ว่าเลิศที่สุด เพราะผ้าชนิดนี้บางจนเมื่อม้วนเป็นเส้นแล้วผ้าทั้งผืนสามารถดึงลอดแหวนวงเล็กๆได้จนหมดผืน.....
อธิบายมาถึงตรงนี้ ผมคิดว่าสมาชิกหลายๆท่านในเวบคงพอจะนึกถึงผ้าขนสัตว์จากแคว้นแคชเมียร์ออก
ที่นี่เป็นแหล่งผลิตผ้าขนสัตว์เนื้อดีลักษณะนี้มานานหลายร้อยปีแล้วครับ....
แล้วราชสำนักสยามก็รู้จักมามากกว่าครึ่งศตวรรษแล้วล่ะครับ

เพราะในรายชื่อเครื่องเบญจราชกกุธภัณฑ์ในสมัยก่อน ร.7 (ที่ใช้อยู่ทุกวันนี้พี่ราชบัณฑิตย์แกยึดตาม ร.7 นะครับ)
บางครั้งจะพบว่ามีชื่อของ "ฉลองพระองค์รัตกำพล" รวมอยู่ในนั้นด้วย.....
เนื่องจากว่าผ้าชนิดนี้เป็นผ้าขนสัตว์ที่บาง และนิ่มมาก เมื่อสวมใส่ในฤดูร้อนจะไม่รู้สึกร้อนและคัน
ในขณะที่ถ้าสวมใส่ในฤดูหนาวก็จะให้ความอบอุ่นแก่ร่างกาย......
เกือบจะเป็นผ้าวิเศษซะขนาดนั้นแล้วจะม่ะดีได้งัย...จิงป่ะ




แต่ที่ว่าชั่วที่สุด..... เพราะ ผ้าชนิดนี้ทอจากขนของเลียงผาหิมะครับ
เลียงผาพวกนี้อยู่ในเขตตอนเหนือของอินเดียจนถึงธิเบต
ใช้ชีวิตอยู่ตามหน้าผาที่ปกคลุมด้วยหิมะเกือบตลอดปี....
ขนของเขาก็เลยต้องทั้งหนาและนุ่มเพื่อกันป้องกันความหนาว
แต่ที่น่าสงสารสำหรับเจ้าสัตว์พวกนี้คือ..... คนยังหาวิธีเพาะเลี้ยงพวกเขาเป็นอุตสาหกรรมไม่ได้ครับ
การจะได้ขนสัตว์มาทอผ้าชนิดนี้ซักผืนจึงต้องใช้พรานป่าเข้าไปยิงเจ้าเลียงผาหิมะ ให้ล้มลง...
แล้วค่อยๆเก็บเอาขนนุ่มๆที่ห่อหุ้มร่างกายเขาอยู่ส่วนที่ไม่เปื้อนเลือดมาปั่นทอเป็นผืนผ้า

กว่าจะได้พัสตูงามๆมาสวมใส่กันซักผืนนึง..... ต้องใช้ชีวิตมากกว่า 1 ชีวิตครับ
เพราะแน่นอนว่าขนจากเลียงผา 1 ตัว.... ไม่พอสำหรับผ้า 1 ผืน
แต่ที่น่าเศร้ากว่านั้นคือพรานวัยหนุ่มฉกรรจ์ผู้เป็นหัวหน้าครอบครัวอาจจะตายในพายุหิมะได้........





การใช้พัสตูเลยถือเป็นเรื่องน่าอดสูครับ.... ผืนนึงจะราคาเรือนพันเรือนหมื่น หรือเรือนแสน
(อย่างที่พวกร้านค้าที่ตกแต่งหรูๆจะเอามาติดตราเตารีด และคันไถ โก่งราคาสาวสังคมที่ซื้อไปใช้)
หรือต่อให้แพงซะขนาดไหน........ การใช้พัสตูก็ไม่ต่างอะไรกับการแปะตราบาปบนหน้าผากเราครับ....






(นอกเรื่องไปเยอะเลย สมาชิกท่านถัดไปที่มาตอบอย่าถือสานะครับ แหะๆ)
บันทึกการเข้า
กุ้งแห้งเยอรมัน
แขกเรือน
สุครีพ
******
ตอบ: 1573



ความคิดเห็นที่ 126  เมื่อ 25 มี.ค. 08, 10:12

นึกหน้าคุณยายออกแล้ว คำเก่าๆเลยมาอีกคำค่ะ
ไม้สักกะเท้า...ค่ะ
...
เดี๋ยวนี้หาไม่เจอแล้ว ทำจากไม้อะไรไม่รู้ มีปุ่มๆ จากหัวโตๆข้างบนแล้วก็เรียวลงมาเรื่อย
ช่วยคนแก่ทรงตัวได้ดีนัก
เท่มาก ..คุณยายถือยามเดินออกนอกบ้านไปทำบุญที่วัด
ใส่โจงกระเบนสีหมาก เสื้อขาวคอกลมผ่าหน้า แขนยาว มีสไบบางๆสีขาวทับอีกที
ไม้สักกะเท้ามีทั้งแบบหัวเลี่ยมเงิน และเป็นไม้จริงๆไม่เลี่ยม

บันทึกการเข้า
SILA
หนุมาน
********
ตอบ: 6362


ความคิดเห็นที่ 127  เมื่อ 25 มี.ค. 08, 11:20

        วันนี้อ่านข่าวนสพ. ไทยรัฐ ว่า
         องค์การอวกาศสหรัฐฯแจ้งว่าได้ตรวจจับพบการระเบิดอันทรงพลังยิ่งในจักรวาล ที่ระยะห่างไกลโพ้น
ถึง 7.5 พันล้านปีแสง
        เป็นการระเบิดของรังสีแกมมาจากดาวฤกษ์ยักษ์ชรา ที่มีขนาดโตกว่าดวงอาทิตย์ของเราประมาณ 40 เท่า
หลังจากเผาผลาญตัวเองจนหมดเชื้อ และแกนของมันได้ถล่มทลายลง เกิดเป็นหลุมดำยักษ์หรือดาวนิวตรอน
ปล่อยพ่นรังสีแกมมา และพ่นอนุภาคออกมาด้วยความเร็วเท่ากับความเร็วของแสง และ ก่อให้เกิดปรากฏการณ์แสง
ที่เรียกว่า “ผีตากผ้าอ้อม”.

       จากพจนานุกรม - ผีตากผ้าอ้อม น. แสงแดดที่สะท้อนกลับมาสว่างในเวลาจวนพลบในบางคราว.

       เรียงร้อย ถ้อยไทย ไทยทีวีสาม - ผีตากผ้าอ้อม เป็นปรากฏการณ์ทางธรรมชาติ หมายถึง
ท้องฟ้าทางทิศตะวันตก โดยมากหลังฝนตกใหม่ๆ แสงตะวันตกดินจะสะท้อนกลับมาสว่างเป็นแสงสีแดงอมเหลือง
คนโบราณเปรียบภาพที่เห็นนั้นเหมือนผ้าอ้อมที่ผีนำออกมาตาก จึงเรียกกันว่า ผีตากผ้าอ้อม
 
ภาพของไดฟ์บลูซีครับ


บันทึกการเข้า
CrazyHOrse
แขกเรือน
นิลพัท
*******
ตอบ: 1899



เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 128  เมื่อ 25 มี.ค. 08, 12:36

ไม้สักกะเท้า คำนี้ไม่เคยได้ยินเลยครับ ความรู้ใหม่ๆสดๆเลย

ส่วนเรื่องแคชเมียร์ เขาว่าเจาะจงทำจากขนส่วนใต้คอของแพะภูเขานะครับ แต่ข้อมูลคุณติบอเก่าไปหน่อย เพราะจีนทำเป็นอุตสาหกรรมมาหลายปีแล้ว ถึงคุณภาพไม่เต็มร้อยแต่ก็พอสูสีล่ะครับ ลอดแหวนได้เหมือนกัน เวลาจะเอาขน เจ้าแพะภูเขาไม่ต้องถึงตาย แค่ตัดขนส่วนใต้คอมาใช้ ตัวนึงได้แค่ปีละสิบกว่ากรัมเท่านั้นครับ

ที่ขายๆอยู่มักผสมกับไหม ถ้าเป็นแคชเมียร์ 100% ราคาก็ขาดลอยเลย
บันทึกการเข้า

"Postel's Law": "be conservative in what you do, be liberal in what you accept from others"
Wandee
หนุมาน
********
ตอบ: 4006


ความคิดเห็นที่ 129  เมื่อ 25 มี.ค. 08, 13:35

ปลายอ้อปลายแขม    แปลว่าที่ยังอยู่ที่ไหนก็ไม่รู้่ีู้   ที่ยังอยู่ห่างไกล(พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน ๒๕๔๒)


สมัยนี้ได้ยินว่า  หนูยังเป็นวุ้นอยู่เลยค่า....


อักขราภิธานศรับท์ ๒๔๑๖     บอกว่า  กาละที่ตัวยังไม่ได้เกิดมา,  ว่าที่เรายังอยู่ที่ปลายอ้อปลายแขม






















บันทึกการเข้า
lakmom
อสุรผัด
*
ตอบ: 2


ความคิดเห็นที่ 130  เมื่อ 25 มี.ค. 08, 13:42

สวัสดีค่ะ....อ่านกระทูแล้วก็นึกถึงคุณยาย น่ะค่ะ  ซึ่งดิฉํนเรียกว่า แม่แก่ ก็ไม่รู้ว่าทำไมไม่ให้เรียกยายเหมือนคนอื่น  แม่แก่จะชอบพูดว่าโบราณเยอะค่ะ
แต่ที่จำได้จะมีคำว่า จงระวังให้จงหนัก  ซึ่งดิฉันฟังจนใม่คิดว่าเป็นคำโบราณเลยนะคะจนได้ดูหนังเรื่องสมเด็จพระเนรศวร  แล้วได้ยินคำนี้ด้วยน่ะค่ะก็ไม่รู้แน่ว่าความหมายเป็นอย่างไร
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 131  เมื่อ 25 มี.ค. 08, 14:15

ระวังให้จงหนัก  = ระวังให้มาก ค่ะ
บันทึกการเข้า
pipat
แขกเรือน
นิลพัท
*******
ตอบ: 1802


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 132  เมื่อ 26 มี.ค. 08, 23:39

เพิ่งไปเจอมาอีกคำครับ

สำมะหาอะไร....
ตอนเด็กใช้กันบ่อย เดี๋ยวนี้คงเข้ากรุแล้ว
บันทึกการเข้า
Bana
องคต
*****
ตอบ: 439



ความคิดเห็นที่ 133  เมื่อ 27 มี.ค. 08, 00:57

คล้ายกับ "ระวังให้จงดี" หรือเปล่าครับ

"ลูกไล่"
"ลูกแอ้"
"ลูกล่อลูกชน"

คำเหล่านี้มีความหมายและมาจากมูลเหตุใดครับ........ ฮืม
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 134  เมื่อ 29 มี.ค. 08, 21:31

คำนี้ ไม่เห็นใครใช้กันอีกแล้ว คือยักเยื้อง 
พจนานุกรมราชบัณฑิต ให้ควาหมายว่า  เลี่ยงไป, ไม่ตรงไปตรงมา, เช่น ถามเรื่องหนึ่ง แต่พูดยักเยื้อง  ไปตอบอีกเรื่องหนึ่ง, ดัดแปลง เช่น ทํายักเยื้อง, เยื้องยัก ก็ว่า.
 
ขอออกนอกเรื่องหน่อยค่ะ  เพิ่งเปิดเข้าไปที่เว็บราชบัณฑิต   เห็นกลอนบทนี้ที่ลงไว้หน้าเว็บ  ถวายสักการะ แล้วแทบช็อค
ถ้าเป็นเว็บส่วนตัวก็ยังพอเข้าใจได้ว่า    คนแต่งอาจจะมือใหม่   แต่งผิดๆถูกๆ

แต่เว็บราชบัณฑิตฯ ปล่อยปละละเลยแบบนี้ไม่ได้     ขนาดกลอนแปดแท้ๆ ถือว่าง่ายสุดสำหรับคนแต่งบทร้อยกรอง
ยังแต่งผิดได้ลงคอ

คำว่า หาย ยังไงๆ  ก็สัมผัสกับ ลัย และ ไทย ไม่ได้   สระเสียงยาวไม่สัมผัสกับสระเสียงสั้นค่ะ


บันทึกการเข้า
หน้า: 1 ... 7 8 [9] 10 11 ... 23
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.121 วินาที กับ 19 คำสั่ง