เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: [1] 2 3 ... 23
  พิมพ์  
อ่าน: 208569 คำไทยที่ไม่ค่อยจะรู้จักกันแล้ว
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
 เมื่อ 05 มี.ค. 08, 07:35

สืบเนื่องมาจากค.ห.ที่ ๒๓ ของคุณ  Kurukula  ในกระทู้ รุ่งเรือง เมืองศิลป ๓
http://www.reurnthai.com/index.php?topic=2557.15
--
อ้างถึง
อิอิ มีคุณพิพัฒน์มาแย้งนี่สนุกขึ้นเยอะเลยครับ

หลายคนก็คิดแบบนี้เหมือนกัน ว่าพระเจ้าหย่อนตีนคือพระประทับนั่งห้อยพระบาท แต่ผมคิดว่า ในเมื่อจารึกของวัดสรศักดิ์อยู่ในสมัยสุโขทัย แล้วอีกด้านหนึ่งของจารึก (จารึกมี 2 ด้านครับ เขียนด้านหนึ่ง จารด้านหนึ่ง)

ด้านที่จาร จารเป็นรูป พระพุทธเจ้าลีลาเสด็จลงจากดาวดึงส์ ครับ


เลยเกิดข้อสังเกตขึ้นมาว่า มีคำไทยจำนวนมาก ที่เดี๋ยวนี้ดูเหมือนว่า คนไทยไม่ค่อยจะรู้แล้วว่าแปลว่าอะไร
จึงขอตั้งกระทู้  รวบรวมคำพวกนี้โดยเฉพาะ    ขอความร่วมมือท่านทั้งหลายด้วยค่ะ
หรือใครสงสัยคำไทยคำไหน จะเข้ามาถาม ก็ได้เช่นกัน

ขอเริ่มจากคำว่า "หย่อน" ในคำ พระเจ้าหย่อนตีน  หมายถึงอะไร
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 1  เมื่อ 05 มี.ค. 08, 07:41

ดูจากพจนานุกรม


บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 2  เมื่อ 05 มี.ค. 08, 08:01

นึกถึงคำว่า หย่อนเบ็ด  คือ  ลงไปในแนวดิ่ง
แต่ถ้าของนั้น ลงไปแบบรวดเร็ว เราใช้คำว่า "ทิ้ง"

ทิ้งลงในน้ำ กับ หย่อนลงในน้ำ   ความเร็วผิดกัน แต่ลงในแนวดิ่ง ทั้งคู่

พระพุทธรูปปางลีลา แสดงอาการเคลื่อนไหวในแนวระนาบ ไม่ใช่ต่ำลงในแนวดิ่ง
ส่วนรูปที่คุณกุรุกุลายกมา ในรูปนี้ แสดงถึงการเสด็จลงจากดาวดึงส์    เป็นการยืนบนขั้นบันไดแก้ว  ไม่มีอิริยาบถทั้งลีลาหรือหย่อนตีน


บันทึกการเข้า
Hotacunus
องคต
*****
ตอบ: 613


AD FRANCIAM


ความคิดเห็นที่ 3  เมื่อ 05 มี.ค. 08, 08:53

สวัสดีครับอาจารย์เทาชมพู

คำนี้ ถ้าไม่บอกว่าเป็นคำไทยโบราณ ผมนึกถึงคำลาวไปเลยครับ  ยิงฟันยิ้ม

คำไทยแท้ดั่งเดิมต้องสั้นๆ ตรงๆ แบบนี้ อิอิ

"หย่อนตีน" นี้ ถ้าใช้ในเหตุการณ์เสด็จลงจากดาวดึงส์ ก็คงแปลด้วยคำปัจจุบันได้ว่า "ก้าวเท้าลง" (จากดาวดึงส์)

"หย่อน" นี้ มีความหมายในทำนองเดียวกับ ลด, ผ่อน ซึ่งยังมีพูดกันอยู่ในวลี

ลดหย่อน ผ่อนโทษ
พักผ่อน หย่อนใจ

แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น ก็ต้องขึ้นอยู่กับบริบทของการใช้คำนี้ด้วยครับ ถ้าไม่มีภาพจิตรกรรมมายืนยัน จะแปลว่า "นั่งห้อยพระบาท" ก็คงได้เหมือนกัน แต่ถ้ามีฉากก้าวลงจากบันไดสวรรค์แล้ว หย่อนตีน ก็น่าจะหมายถึง "พระพุทธเจ้าค่อยๆ เสด็จก้าวย่างพระบาทลงบันไดมาอย่างช้าๆ"

พูดถึงคำสั้นๆ ตรงๆ แบบนี้ คำว่า "โดนใจ" กับ "ได้ใจ" น่าจะเป็นคำใหม่หรือเปล่าครับ ไม่น่ามีอายุคำเกินสิบปี  ฮืม

ส่วนคำเ่ก่าๆ ตามกระทู้ของอาจารย์นั้น ผมคุ้นๆ ว่าในจารึกสุโขทัยมีอยู่เยอะเลยครับคำประเภทนี้ มีโอกาสแล้วจะไปสกัดมาเล่าสู่กันฟังครับ หรือ ท่านใดที่สนใจ ก็เชิญไปช่วยสกัดคำมาเล่าสู่กันได้เลยนะครับที่ ฐานข้อมูลจารึกในประเทศไทย ( http://www4.sac.or.th/jaruk2008/ )


ปล. เพิ่งนึกได้ครับว่า ไม่รู้ว่าเมื่อก่อนนี้ คนโบราณจะพูดว่า "หย่อนตีนลงบันได" หรือเปล่า ?
บันทึกการเข้า
pipat
แขกเรือน
นิลพัท
*******
ตอบ: 1802


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 4  เมื่อ 05 มี.ค. 08, 09:04

ไม่แน่ใจว่าในคัมภีร์จะเล่าว่า พระพุทธองค์ประทับยืนนิ่งๆ
แล้วบันไดเลื่อนลงเหมือนเกริน หรือเปล่า
เกรินนี่ก็คำที่ไม่ใช้กันแล้ว เคยเจอใครเรียก elavator ว่าเกรินไฟฟ้าด้วยแหละ

แต่พระพุทธรูปปางลีลานี่เป็นการคิดสร้างของศิลปินสุโขทัยโดยแท้ครับ
มีอีกคำที่ผมเพิ่งไปเจอมาจากแก้วเก้าดอทคอม
"เป็นงานเยี่ยมเยี่ยมโลกไว้"...
ฮิฮิ ไม่บอกว่าใครแต่งนะครับ แต่สนใจที่คนแต่งใช้ศัพท์สูงเหลือเกิน(สำหรับการรับรู้ของผม)
คือคำว่า "เยี่ยม"

คำประกอบก็อย่างเช่นเยี่ยมวิมาน หรือเยี่ยมโลก
ซึ่งไม่ได้แปลว่าไปเยี่ยมเยียนนะครับ แต่เป็นการตรงกันข้าม
และไม่น่าจะใช้ในความหมายว่าอาจารย์ท่านสร้างงานไว้แล้วงานนั้นมาเยี่ยมโลก

ในความเข้าใจของผม การเยี่ยมโลก เป็นคำสูงหมายถึงพระเจ้าลงมาสู่โลก
ท่านอื่นๆ คิดว่าไงครับ
บันทึกการเข้า
Oam
แขกเรือน
ชมพูพาน
***
ตอบ: 168



ความคิดเห็นที่ 5  เมื่อ 05 มี.ค. 08, 09:07

ยังคิดไม่ออกครับ ต้องรอให้เปิดเทอม สอนเด็ก แล้วคอยดูการตอบสนองของเด็กๆ เวลาอาจารย์เผลอพูดคำโบราณเมื่อไร เด็กก็จะทำหน้าเหลอ

แต่รู้สึกว่าหลายสำบัดสำนวนจะหดหายไปจากคำพูดในชีวิตประจำวัน อย่างคำพวก กะล่อยกะหลิบ กะลิ้มกะเหลี่ย ตะขิดตะขวง อย่างคำหลังสุดที่หายไป คงเพราะไม่มีการใช้ในสังคมปัจจุบันแล้วครับ สภาพสังคมเปลี่ยนไป ทำให้คำบางคำหายไป และมีคำประหลาดเกิดใหม่หลายคำ
บันทึกการเข้า
pipat
แขกเรือน
นิลพัท
*******
ตอบ: 1802


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 6  เมื่อ 05 มี.ค. 08, 09:30

จ๋อย
นี่ก็คำเก่าแก่ที่อายุยืนชะมัด

ชะมัดก็น่าจะเป็นคำเก่าที่อายุไม่(ค่อย)ยืน
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 7  เมื่อ 05 มี.ค. 08, 10:18

นึกแล้วค่ะ   ว่ากระทู้นี้ คุณโฮ คงสนใจ 
ผ่านไปครู่เดียว สมาชิกเข้ามาร่วมวง  จนตอบไม่ทัน 

โดนใจ เป็นภาษารุ่นหลัง เห็นครั้งแรกในอินเทอร์เน็ต    ความหมายแบบเดียวกับ "ถูกใจ"  แต่โดนใจนี่อาจจะมีความเข้มข้น กว่า  ออกไปทำนอง"ถูกใจมาก"
ได้ใจ  เมื่อก่อนใช้ในความหมายในทางลบ  ใกล้ไปทาง"กำเริบ" แต่ไม่ถึงกับเลวร้ายเท่ากำเริบ  พ่อแม่มักเตือนกันว่า  "พ่ออย่าไปให้ท้ายลูกบ่อยนัก   เดี๋ยวมันจะได้ใจ"
เดี๋ยวนี้ไปในทางเชียร์    นักร้องดาราให้สัมภาษณ์ดี  ก็"ได้ใจ" แฟนคลับ ไปเต็มๆ

มาถึงคำที่คุณพิพัฒน์ พูดถึง คือ เยี่ยม
ไปหาจากเว็บรอยอิน
เยี่ยม
๑  ก. ไปถามข่าวทุกข์สุข, ไปหา, เช่น ไปเยี่ยมญาติ มาเยี่ยมบ้าน; ชะโงก
 หน้าออกไป เช่น เยี่ยมหน้าต่าง; โผล่ออก เช่น พระจันทร์เยี่ยมขอบฟ้า.
 
เยี่ยม ๆ มอง ๆ  ก. โผล่มองบ่อย ๆ (เพื่อให้เห็น หรือเพื่อให้รู้ว่ามีใครหรือ
 อะไรอยู่ข้างใน). ว. อาการที่ด้อมแอบดูบ่อย ๆ เช่น มีคนแปลกหน้ามา
 เยี่ยม ๆ มอง ๆ.

เยี่ยม ๒  ว. ยิ่ง, เด่น, เลิศ, เช่น ดีเยี่ยม เขาเยี่ยมทางคำนวณ.

นึกไม่ออกว่า "เป็นงานเยี่ยมเยี่ยมโลกไว้"...มาจากกระทู้ไหนในเว็บแก้วเก้า 
แต่อ่านแค่นี้  นึกถึงงานศิลปะชิ้นเยี่ยม   ระดับโลก  อาจจะมีชิ้นเดียว ใครอื่นทำให้ตายก็ไม่เหมือน  และไม่บังอาจทำด้วย   
นึกถึงงานของดาวินชี ไมเคิลแอนเจโล  บานประตูไม้สลักวัดสุทัศน์   ตู้พระธรรมวัดเซิงหวาย  ฯลฯ พวกนี้ละค่ะ
บันทึกการเข้า
Kurukula
สุครีพ
******
ตอบ: 1303



ความคิดเห็นที่ 8  เมื่อ 05 มี.ค. 08, 10:50

สวัสดีครับ อาจารย์เทาชมพู กระทู้นี้ไปเร็วจังครับ กำลังหารูปพระเจ้าหย่อนตีนที่วัดสรศักดิ์ ปรากฏว่าไปเรื่องอื่นไกลเสียแล้ว

ขออนุญาตนำรูปมาลงไว้กันลืมก่อนแล้วกันครับ เป็นภาพจาก หนังสือ ศิลปะสุโขทัย : บทวิเคราะห์หลักฐานโบราณคดี จารึกและศิลปกรรม ของศักดิ์ชัย สายสิงห์ รูปนี้อยู่ด้านหน้าของจารึก ด้านหลังเป็นจารึกที่มีข้อความ "พระเจ้าหย่อนตีน"ครับ


ส่วนเรื่องเยี่ยมโลกนั้น นึกถึงอีกคำหนึ่ง คือ "ตำนานพระเจ้าเลียบโลก" เป็นคัมภีร์ของมอญที่แพร่หลายในเอเชียอาคเนย์ กล่าวถึงพระพุทธองค์เสด็จมาเยี่ยมเยียนดินแดนต่างๆ แล้วประดิษฐานรอยพระพุทธบาท รวมทั้งประทานพระเกศาไว้ นึกถึงศัพท์ไทยๆที่คล้ายๆกัน คือ เลียบพระนคร คิดว่าคงมีความหมายคล้ายๆกัน


บันทึกการเข้า
pipat
แขกเรือน
นิลพัท
*******
ตอบ: 1802


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 9  เมื่อ 05 มี.ค. 08, 10:59

คำสูง ใช้บ่อยๆ เข้า ก็กลายเป็นคำตลาดได้เสมอ
ผมติดใจคำว่าเยี่ยม ในความหมายที่สูงครับ
เจอมาตั้งแต่พระเจ้าเยี่ยมโลก มาถึงเยี่ยมวิมาน ล้วนแต่ใช้กับสิ่งสูง

พอนำคำนี้มาในความหมายสามัญเช่นเยียมเยือนบ้านเก่า ก็รู้สึกว่าน่าสนใจ
ในรูปประติมากรรมโบราณ สูรยะเทพท่านก็เยี่ยมวิมานลงมายังโลกเหมือนกัน


บันทึกการเข้า
pipat
แขกเรือน
นิลพัท
*******
ตอบ: 1802


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 10  เมื่อ 05 มี.ค. 08, 11:32

ดูแล่วเป็นเขย่ง ไม่หย่อน
ตามเนื้อความในจารึก ท่านบอกว่าสร้างเจดีย์แล้วสร้างพระเจ้าหย่อนตีน
ผมไม่คิดว่าพระเจ้าหย่อนตีนจะเป็นลายเส้นหลังจารึกอย่างนี้ครับ
น่าจะเป็นชิ้นเป็นอัน (เล็กหรือใหญ่ไม่ทราบแน่)
เพราะธรรมเนียมสร้างวัดแล้วมีจารึกประกอบอย่างนี้ ท่านจะบอกว่ากระทำจารึกสถาบกไว้ชัดเจน
ไม่ใช่สร้างรูปลายเส้น(ซึ่งไม่นับเป็นกิริยาบุญอันใหญ่อันราม ไม่นับเสียละมากกว่า)ประกอบจารึก
แล้วเรียกจารึกเป็นพระเจ้าครับ
บันทึกการเข้า
กุ้งแห้งเยอรมัน
แขกเรือน
สุครีพ
******
ตอบ: 1573



ความคิดเห็นที่ 11  เมื่อ 05 มี.ค. 08, 15:36

" เพ่ๆ ได้การ์ดปีใหม่บริษัทผมหรือเปล่า.. "
คำแรกเลยค่ะ ส.ค.ส. น้อยลง.. และกำลังหายไป
ส.ค.ส เป็นคำนาม มาจากคำว่า ส่งความสุข ซึ่งที่มาแสนจะสร้างสรรค์สุดยอด
ไม่ค่อยจะใช้กันเลย
ส่งการ์ดปีใหม่กลายเป็นคำที่ใช้กันในปัจจุบันแล้ว
จากนั้นก็ ...บัตรอวยพร
"เออ ตัวได้การ์ดเบิร์ธเดย์ที่เค้าส่งให้หรือยัง"
และบัตรเชิญงานแต่งงาน งานอุปสมบท งานฌาปนกิจ  ก็กลายเป็นการ์ดแต่งงาน การ์ดบวช การ์ดงานศพ
"หนูปอกับเจ้าปาร์คเกอร์ตอนนี้ ยุ่งแจกการ์ด(แต่งงาน)กันจัง"
"ได้การ์ดงานบวชนายตือบะไหม จะบวชแล้วเบียดเลย"
ฯลฯ


บันทึกการเข้า
Oam
แขกเรือน
ชมพูพาน
***
ตอบ: 168



ความคิดเห็นที่ 12  เมื่อ 05 มี.ค. 08, 16:09

ถ้าคำว่า เก-ริน เลิกใช้แล้ว
ตะเฆ่ ก็คงสูญพันธุ์ไปเช่นกัน
แต่ radio flyer กลับอยู่ยงคงกระพัน


บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 13  เมื่อ 05 มี.ค. 08, 17:08

รอยอินบอกว่า
 
เลียบ ๒  ก. ไปตามริม, ไปตามขอบ, เช่น เรือแล่นเลียบชายฝั่ง เดินเลียบ
 ริมคลอง. 
 
เลียบเคียง, เลียบ ๆ เคียง ๆ  ก. หาทางใช้คำพูดหรือแสดงอาการกรายเข้าไปใกล้ ๆ 
 เพื่อหยั่งเชิงเขาดู เช่น เลียบ ๆ เคียง ๆ เพื่อจะขอยืมเงิน.

พระเจ้าเลียบโลก คือเสด็จไปตามเมืองต่างๆ   ก็เมืองต่างๆในโลกสมัยโน้นก็อยู่ตามชายขอบทะเลและอ่าวทั้งนั้น    ใช้คำว่าเลียบก็น่าจะถูกแล้ว

คุณกุ้งแห้งแวะมารำลึกคำว่าส.ค.ส. ทำให้นึกขึ้นมาได้ค่ะ    เรามีการ์ดปีใหม่แทนส.ค.ส.เสียแล้ว

เก-ริน ของคุณโอมทำให้นึกถึงอีกคำ คือเสวก   เมื่อนายกฯคนปัจจุบันของเราได้รับตำแหน่ง  มีการอ่านประวัติของท่าน บอกว่าเป็นบุตร "เสวก" เอก พระยา....
ผู้อ่านข่าวอ่าน "สะเหวก" กันเป็นแถว       ไม่ยักมีใครไปตรวจสอบเสียก่อนว่าคำนี้อ่านว่า "เส-วก" หมายถึงขุนนางฝ่ายราชสำนัก  ถ้าเป็นขุนนางในกระทรวงกรมอื่นๆ ไม่เรียกว่า เสวก  เรียกว่าอำมาตย์
บันทึกการเข้า
ภูมิ
แขกเรือน
ชมพูพาน
***
ตอบ: 196


ความคิดเห็นที่ 14  เมื่อ 05 มี.ค. 08, 17:20

เห็นคำว่าเลียบแล้วก็เลยนึกถึงคำว่า ด้อม
เช่น ด้อมค่าย  ด้อมๆมองๆ
เอามาลงไว้ไม่ให้สูญพันธ์

เก-ริน ไม่รู้จักครับ แต่  ตะเฆ่ ยังใช้อยู่ครับ

คำหนึ่งที่อยากถามคือ ซิ กับ ดิ ท่านทั้งหลายใช้อะไรมากกว่ากันครับ
เมื่อก่อน ผมไม่เคยใช้ ดิ เลย พึ่งได้มาใช้เมื่อไม่กี่ปีนี่เอง
บันทึกการเข้า
หน้า: [1] 2 3 ... 23
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.069 วินาที กับ 19 คำสั่ง