เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 [2] 3 4 ... 6
  พิมพ์  
อ่าน: 26743 What is "ICONOGRAPHY"
pipat
แขกเรือน
นิลพัท
*******
ตอบ: 1802


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 15  เมื่อ 06 มี.ค. 08, 16:11

ย้ำให้ชัดอีกหน่อยนะครับ
คุณอ่านงานผ่านเสมิโอติค ผลที่ได้ออกมาไม่มีความแน่นอน ขึ้นอยู่กับว่าคุณรู้เรื่องอะไรแค่ใหน
คุณจะเน้นสาระไปทางใหนก็ได้ ไม่มีขีดจำกัด

แต่เมื่อคุณอ่านงานชิ้นหนึ่งผ่านอิโขโนกราฟี่
ผลที่ได้ออกมา ต้องเหมือนเดิมในหลักใหญ่ๆ เว้นแต่คุณอ่านผิด

เช่นคุณอ่านสามส่วนของศิวลึงค์เป็นหลักเมือง นั่นเพราะคุณไม่รู้จักประติมานวิทยาของฮินดู
แต่คุณอาจจะอ่านเป็นความยึดถือเพศชายเป็นใหญ่ นั่นเป็นเสมิโอติค
คุณอาจจะอ่านป้ายรถเมล์ด้วยเสมิโอติดได้ แต่เอาอีโคโนกราฟี่มาอ่าน....หึหึ

เล่มใหนครับ บอกหน่อย
บันทึกการเข้า
ติบอ
นิลพัท
*******
ตอบ: 1906


Smile though your heart is aching.


ความคิดเห็นที่ 16  เมื่อ 06 มี.ค. 08, 17:12

อิอิ กำลังมันส์.....



เอาเป็นว่าตอนนี้นายติบอขอเดาเอาว่าประติมานวิทยาของกูรูแต่ละท่านไม่เหมือนกันซะละ

ประติมานวิทยาของกูรูกุลุกุลา มีส่วนประกอบได้แก่
- สื่อ
- สาร
- ผู้รับสาร



ส่วนประติมานวิทยาของทั่นศาสตราภิชาญพิพัฒน์ มีส่วนประกอบได้แก่
- สื่อ (ที่เป็นรูปเคารพ)
- สารที่สื่อจากรูปเคารพ
- ตำราที่ใช้เทียบเคียงในการสร้างสาร
- ผู้รับสาร
- เวลา



ผมเดาพลาดตรงไหนบ้างครับ หิหิ
บันทึกการเข้า
pipat
แขกเรือน
นิลพัท
*******
ตอบ: 1802


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 17  เมื่อ 06 มี.ค. 08, 18:29

อย่างนี้ ไม่เรียกว่าเดาอะ เรียกว่าอวิชา

ผมเคยเห็นเมื่อก่อนนู้น มีนักเขียนคนหนึ่ง ได้รับการสังกะเสิง ราวกะไอสะตายปนค้านท์ อ้อ แถมแมคไกเว่อร์อีกหน่อย
ที่บอกว่าเป็นคนคิดค้นวิธีศึกษามนุษย์แบบใหม่ เรียกว่า archeology of อโนเนะ ว่าเป็นยอดของการตีแผ่มนุษย์
พี่ไทยเป็นนักเลียนอยู่แล้ว...อ้าวขอโทษนักเรียน
ก็ตามหลังต้อยๆ ทั้งๆ ที่ไม่ได้เป็นนักร้องชื่อเศษฐา เขาโบราณคดี เราก็โบราณคดีมี่ง

ผมถามน้องตีบอบ้างดีกว่า
ผมเป็นมือปืนรับจ้าง และตีรันฟันแทงตามใบสั่ง ผมเรียกตัวเองว่าเป็นนักกายภาพบำบัด น้องว่าเท่แมะ
ผมเป็นพวกขุดของเก่าขาย ปลอมมากกว่าจริง และฉ้อเขามาขายก็ทำ แต่เรียกตัวเองว่าเป็นนักประวัติศาสตร์ศิลป์
น้องว่าเหมาะไม้

ตอนที่เพียรส คิดวิชาเสมิโอคิคขึ้นมา เขาไม่ได้ต้องการรู้เรื่องเทพเจ้า เขาต้องการรู้เรื่องมนุษย์ ผ่านการสร้างสัญลักษณ์
ฟังใหม่นะครับ จะทวนอีกครั้งหนึ่ง
ประติมานวิทยา ต้องการรู้ว่า มนุษย์สร้างรูปอะไร
แต่สัญญะวิทยา ต้องการรู้ว่า รูปที่มนุษย์สร้างต่างจากสัตว์สร้างที่ตรงใหน
ทำไปทำมา สัญญะวิทยา อาจจะบอกว่า แม้แต่รูปที่สัตว์สร้าง ฉันก็บอกได้ว่ามันคิดอะไร
มันต่างกันมากครับ ระหว่างจิตวิทยาแห่งการคิดสร้าง กับภาววิทยาแห่งการสร้างสิ่งที่คิด
พูดแบบนี้งงใหมล่า

กลับไปอ่านอีกหลายรอบครับ แล้วค่อยมาอัดกัน

หรือเอางี้ คุณอยากศึกษาเรื่องป้ายแดงของโค้ก ไปเปิดกราทู้สัญญศาสตร์ หรืออะไรก็ได้ ที่อยากจะชื่อ
ส่วนกราทู้นี้ ว่ากันด้วยเรื่องตื้นๆ เรียกว่า "ลักษณะของรูปเคารพ"

แล้วอย่ามาบอกว่า ICON หมายถึงรูปอะไรก็ได้ เพื่อจะประเสว่า ICONO+GRAPH แปลว่า ศึกษารูป(อะไรก็ได้)
นั่นน่ะคณะนิเทศน์ ไม่ใช่คณะมนุษย์ศาสตร์ เป็นการเรียนเพื่อประยุกต์ใช้ หาใช่ LOGOS ไม่
ไปอยู่กะดู๋เขาเลย ชิ่ว ชิ่ว ....พ่อนี่ใช่ใหมที่จัดรายการ ดิไอค่อน อวดคนดัง

แล้วใครวะ บอกว่ารูปมาริลีน เป็นไอค่อน เท่ากะเซเลปคือไอค่อน  โอย ตูจะบ้าตาย

ไปถามรัสเซียสิ ว่า ICON คืออะไร
บันทึกการเข้า
chai1960
มัจฉานุ
**
ตอบ: 67



ความคิดเห็นที่ 18  เมื่อ 06 มี.ค. 08, 20:46

วิชานี้มีการบ้านยาก ๆ ด้วย... ฮืม ฮืม ฮืม

ต้องหาคำจำกัดความและความหมายของของคำว่า...

"อิโคโนกราฟฟี่"...คำนี้ท่านกรุณาให้ตัวสะกดมาด้วย.........."Iconography"
"อิลัสเตรท"........เดาว่าสะกดแบบนี้........................."Illastrate"
"เสมิโอติค"........เดาว่าสะกดแบบนี้........................."Semiotic"
"โป๊สต์มอแดร์น"...เดาว่าสะกดแบบนี้........................."Post modern"
"ICON"...โชคดีคำนี้ไม่ต้องหาตัวสะกด แต่เป็นอักษรตัวใหญ่ทั้งหมด เป็นตัวย่อหรือเปล่า... ฮืม ฮืม ฮืม

ใครค้นเจอก่อนเอามาเฉลยด้วยครับ...ขอลอกการบ้านหน่อยครับ...ไม่สันทัดกรณีจริง ๆ... ยิงฟันยิ้ม ยิงฟันยิ้ม ยิงฟันยิ้ม
บันทึกการเข้า

ประวัติศาสตร์เหมือนสายน้ำมีทั้งช่วงที่ไหลรินฉ่ำใสและช่วงที่ถาโถมทำลาย
pipat
แขกเรือน
นิลพัท
*******
ตอบ: 1802


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 19  เมื่อ 06 มี.ค. 08, 21:49

การบ้าน
กรุณาอธิบายสองรูปนี้ด้วยประติมานวิทยาทีดิ....พลีสส


บันทึกการเข้า
chai1960
มัจฉานุ
**
ตอบ: 67



ความคิดเห็นที่ 20  เมื่อ 06 มี.ค. 08, 22:37

การบ้านของเก่าก็ยังทำไม่ทันเลยครับคุณ pipat
ยังแยกไม่ออกเลยครับว่าอะไรเป็นอะไรเลยครับ
ผมเข้าใจไปเองว่า...ตราบใดที่ยังไม่เข้าใจศัพท์เหล่านั้น การจะอ่านบทความนี้ให้เข้าใจจักเป็นเรื่องยากยิ่ง
ผมไม่ได้เรียนมาสายศิลปจึงเป็นเรื่องที่มืดแปดด้าน...ยากที่จะค้นได้ในเวลาอันสั้น
ความเข้าในในศิลป์ของผมคงใกล้เคียงกับเด็กมัธยมต้น...คงได้แค่ประมาณนั้น... ยิงฟันยิ้ม ยิงฟันยิ้ม ยิงฟันยิ้ม
แต่ผมพยายามทำความเข้าใจบทความที่ทุกท่านร่วมเสวนา

ไม่รู้ว่าจะใช้วิธีตอนเด็ก ๆ โดยปล่อยส่วนที่ไม่เข้าใจในหนังสือเล่มยากส่วนนั้นไว้ก่อน แล้วอ่านให้จบเล่มจึงย้อนมาส่วนที่ข้ามไป
เพราะบางทีอ่านต่อไปอาจทำให้เข้าในสิ่งที่ข้ามไปนั้นได้เอง เช่นเดียวกับบทความมากมายใน เรือนไทยนี้
 
ยิ่งอ่านยิ่งสนุก ได้ความรู้ ทำให้ผมเข้าใจในภาพที่ผมเคยมองผ่าน
ผมเสียดายที่ไม่ได้พิจารณาภาพเหล่าในทัศนะตามที่หลายท่านพรรณา
เกิดความอยากที่จะกลับไปเสพความงามอย่างมีคุณค่าอีกครั้งครับ
สัญญาว่าจะตามกระทู้นี้ทุกตัวอักษร ถ้าไม่โดนไล่ออกไปนอกห้องเสียก่อน... ฮืม ฮืม ฮืม

ด้วยความเคารพครับ


บันทึกการเข้า

ประวัติศาสตร์เหมือนสายน้ำมีทั้งช่วงที่ไหลรินฉ่ำใสและช่วงที่ถาโถมทำลาย
pipat
แขกเรือน
นิลพัท
*******
ตอบ: 1802


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 21  เมื่อ 06 มี.ค. 08, 22:52

คราวนี้เป็นภาคอธิบายวิชา

ลองสมมติว่าเราเป็นช่างเมื่อสองพันปีที่แล้ว เรามีหินก้อนหนึ่ง เรามีความต้องการจากผู้อุปถัมภ์
ต้องการให้มีรูปเคารพของพระพุทธองค์ไว้เคารพบูชา
ความต้องการก็ดูจะง่ายดายใช่ใหมครับ เราก็นึกว่าพระพุทธเจ้าเป็นใคร แล้วสร้างรูปไปตามที่เราเข้าใจ
แต่....
ปัญหาก็คือ ในปีนั้น พระพุทธเจ้าปรินิพพานไปตั้ง 500 ปีแล้ว คนที่เคยเห็นก็ตายหมดแล้ว
หากจะมีเหลืออยู่ ก็คือรูปประติมาที่ครูช่างรุ่นก่อนสร้างไว้ และมีคนมาเคารพนบนอบตามกาละโอกาส
เอาละซี....ถ้าอย่างนั้น ก๊อปปี้ของครูช่างเลย ดีใหม

ปรากฏว่าท่านผู้สร้าง ท่านบอกว่า ครั้งนี้อยากได้ท่าประทับนั่ง ไม่เอาท่าประทับยืน
อาจจะเป็นได้ว่า ท่านเคยได้ยินกิติศัพท์ว่ามีรูปที่เป็นท่านั่ง และมีชื่อมาก
หรืออาจจะเป็นเพราะหินที่ได้มา ทำพระยืนไม่สวย
หรืออาจจะเพราะท่านอยากได้รูปปางที่ท่านศรัทธาเป็นพิเศษ คือปางปฐมเทศนา

เอาละ สรุปว่าช่างจำหลักของเรา ต้องสร้างพระพุทธรูปปางปฐมเทศนาขึ้นมาตามความประสงค์ของพระราชา
ตรงนี้แหละครับ ที่วิชาประติมานวิทยาเข้ามามีบทบาท
แต่ในวันนั้น เขาไม่ได้เรียกชื่อเท่ๆ อย่างนี้ เขาอาจจะเรียกว่ามหาปุริสลักษณะ
หรือพฤหัสสัมหิตา หรือเทวรูปาประดิษฐ....ใครจะไปรู้ อาจจะมีตั้งหลายเล่มก็ได้

(เดี๋ยวมาต่อ)....หัวหน้าห้องปายใหนอ่ะ เพื่อนๆ โดดเรียนหมดเลี้ยว
บันทึกการเข้า
chai1960
มัจฉานุ
**
ตอบ: 67



ความคิดเห็นที่ 22  เมื่อ 07 มี.ค. 08, 01:02

ยังอยู่ครับไม่ได้หนีเรียนภาคดึกพิเศษ...แม้ว่าจะง่วงเต็มที...ตาจะปิดแง้ว

งั้นไปต้มมาม่ามาซดร้อน ๆ สักชาม ตาจะได้สว่าง... เจ๋ง เจ๋ง เจ๋ง
บันทึกการเข้า

ประวัติศาสตร์เหมือนสายน้ำมีทั้งช่วงที่ไหลรินฉ่ำใสและช่วงที่ถาโถมทำลาย
Bana
องคต
*****
ตอบ: 439



ความคิดเห็นที่ 23  เมื่อ 07 มี.ค. 08, 02:13

ขอต้มยำกุ้งเผื่อสักชามสิครับ  แก้มึนเรื่อง semiology กับ ประติมานวิทยา

อิอิ  ภาพของคุณนอร์มา คงต้องว่ากันในแนวสัญวิทยา  เพราะคุณเธอเป็นสัญลักษณ์ของเซ็กส์ซิมโบล  หูตาท่าทางและมรดกเดิมทางสรีระ  เพอร์เฟ็คในการล่อแมลงจริงๆ.........ง่ะตอบปัญหาท่านพิพัฒน์ไปทางไหนเนี่ย

ถ้าผมว่าสัญวิทยา  เป็นส่วนหนึ่งในการวิเคราะห์ของประติมานวิทยา  จะได้ไหมครับท่านพิพัฒน์........ ฮืม  ฮืม  ฮืม (ท่านติบอค้านอีกแหง)
บันทึกการเข้า
Oam
แขกเรือน
ชมพูพาน
***
ตอบ: 168



ความคิดเห็นที่ 24  เมื่อ 07 มี.ค. 08, 08:52

อ่านแล้วงง ขออ่านอีกหลายๆ รอบ แล้วค่อยเข้ามาถก(เขมร)
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 25  เมื่อ 07 มี.ค. 08, 09:07

ขออนุญาตค่ะ  นักเรียนคนนี้เข้ามาช้า    มัวไปสถานีตำรวจ ก่อนจะมาติวเข้มนอกเรือน

ขอยกมือถามครู ว่าเข้าใจถูกไหม

ประติมาวิทยา( ไม่ใช่ ประติมาวิทยา)เป็นหนึ่งในสาขาวิชาศิลปะ  ศึกษาการจำลองรูปต่างๆ แต่ไม่ใช่ว่ารูปอะไรก็ได้
แต่เป็นรูปเคารพ  ทั้งงานวาด งานปั้น งานแกะสลัก
ดูที่จุดมุ่งหมายของคนสร้าง ว่าเขาสร้างงานเหล่านี้ด้วยแรงศรัทธา หรือความเชื่อมั่นในศาสนา เป็นพื้นหลัง

รูปหล่อพระพุทธรูป   รูปปั้นพระเยซู     รูปสลักพระแม่มารี   ภาพวาดนักบุญต่างๆ  รูปโลหะพระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวร  อยู่ในประติมาณวิทยา
ศิวลึงค์ ก็เป็น
แต่ถ้าไปเจอหินศักดิ์สิทธิ์ รักษาโรคภัยได้  ก็เลยเอามาบูชา  ตั้งไว้บนแท่นในวิหาร  หินก้อนนี้ไม่ใช่ประติมาณ

นอกจากนี้
รูปเคารพที่สร้างก็ไม่ใช่สร้างลอยๆ ประเภทนึกอะไรขึ้นมาได้ก็สร้าง   คือไม่ใช่เห็นเสาไม้ต้นหนึ่งก็เอามาถากพอให้หายขรุขระ    แล้วปักไว้   ถือว่าเป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์
แต่ว่าสร้างอย่างมีเอกลักษณ์เฉพาะตัวในตัวรูปเคารพนั้น    เพื่อ "สื่อ"ให้เห็นชัดว่า พวกเขาต้องการกราบไหว้บุคคลศักดิ์สิทธิ์คนไหน

ถ้าเห็นรูปเคารพเป็นผู้ชายนั่งบนดอกบัว  มีสี่หน้า   ก็รู้ว่าคนสร้างต้องการ "สื่อ" ถึงพระพรหมของฮินดู   ไม่ใช่เทวดาองค์ไหนก็ได้

แต่รูปเทวดานางฟ้าองค์น้อยๆสวมชุดขาวมีปีก ประดับอยู่บนต้นคริสต์มาส ไม่ใช่  เพราะไม่ได้มีไว้เคารพ และขาดเอกลักษณ์เฉพาะตัวอีกด้วย

เขียนผิดเขียนถูกประการใด โปรดแก้การบ้านให้ด้วยนะคะ
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 26  เมื่อ 07 มี.ค. 08, 09:37

มาแถมให้
http://www.yannisstavrou.gr/art-glossary.htm
icon
An image or symbolic representation often with sacred significance.

iconography
The symbolic meanings of subjects and signs used to convey ideas important to particular cultures or religions, and the conventions governing the use of such forms.

ด้วยความรู้เล็กน้อยที่กระหืดกระหอบไล่หลัง  ตามชั้นเรียนมา  ถ้าครูถามว่ารูปข้างล่างนี้ อยู่ในประติมาณวิทยาได้ไหม  ก็ตอบว่า..ไม่ได้ค่ะ
แต่จะอยู่ในสัญวิทยาหรือไม่...ยังเรียนไม่ถึง




บันทึกการเข้า
หนูหมุด
มัจฉานุ
**
ตอบ: 88


ความคิดเห็นที่ 27  เมื่อ 07 มี.ค. 08, 09:46

อ่าน3รอบแล้ว ก็ยังมึนงงอยู่เลยค่ะ  ฮืม เป็นเพราะไม่ได้เรียนมาทางสายศิลป์ด้วย
เห็นที่แต่ละท่านอธิบายกันก็เหมือนจะพอทราบๆกันอยู่แล้ว
หรือว่าเคยมีคุยถึงเรื่องนี้แบบพื้นฐานมาแล้ว   ลังเล
พื้นความรู้ทางด้านนี้ด้อยมาก มีท่านไหนพอจะแนะนำ link ให้ไปอ่านก่อนมั้ยคะ
ระหว่างนี้ขอตัวไปปรับพื้นก่อนค่ะ
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 28  เมื่อ 07 มี.ค. 08, 09:52

ขอส่งการบ้านอีกรูป

รูปหล่อหลวงปู่ทวด  อยู่ในประติมาณวิทยา
ถูกไหมคะ


บันทึกการเข้า
pipat
แขกเรือน
นิลพัท
*******
ตอบ: 1802


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 29  เมื่อ 07 มี.ค. 08, 10:04

รูปหลวงพ่อทวด เป็นเช่นเดียวกับรูปนักร้องครับ คือเป็นรูปเหมือน
ต่างกันแต่เป็นรูปของผู้ใด นักร้องหรือนักบวช

รูปใดเป็นประติมาณวิทยาหรือไม่ ต้องถามย้อนกลับว่ามาแต่คัมภีร์เล่มใด
ถ้าไม่มีคัมภีร์ ก็ต้องเปรียบจากรูปในคติเดียวกันที่มีอยู่ก่อน หรือต่อเนื่องกัน
นอกจากนี้ รูปหลวงพ่อทวดเอง ก็ไม่มีเอกสารรองรับลักษณะและบุคลิกภาพของท่าน
จะเอาตำราอะไรมารองรับครับ ว่าทำไมท่านจึงวางมือในท่านั้น
ห่มจีวรอย่างนั้น หรือขัดสมาธิในท่านั้น

ดังนั้นรูปของท่าน หรือท่านนักร้อง จึงไม่มีข้อมูลทางประติมาณวิทยา แต่สามารถใช้สัญญะวิทยาศึกษา
แล้วจึงตีความต่อว่า รูปดังกล่าวแปลว่าอะไร
บันทึกการเข้า
หน้า: 1 [2] 3 4 ... 6
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.059 วินาที กับ 20 คำสั่ง