เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: [1] 2 3 ... 6
  พิมพ์  
อ่าน: 26675 What is "ICONOGRAPHY"
ติบอ
นิลพัท
*******
ตอบ: 1906


Smile though your heart is aching.


 เมื่อ 05 มี.ค. 08, 03:17

เห็นทั่นพิพัฒน์ร่ำๆมาว่าอยากเปิดกระทู้เรื่อง "ประติมานวิทยา"
แต่นายติบอดันไม่มีความรู้เสียด้วย..... ทำไงดี

เอางี้ มาถามเพื่อนๆชาวเรือนไทยกันก่อนดีกว่า
ว่า "ประติมานวิทยาคืออะไร" ?
ใครตอบได้ถูกใจมีรางวัลตั๋วเครื่องบินกรุงเทพ-รังสิต ครึ่งที่นั่งมาแจกเด้อ





ปล. ใครรู้ตัวว่าทำสาระ(แน)นิพนธ์เรื่องนี้อยู่น่ะ
มาเล่าซะโดยดี มิฉะนั้นจะโดนดี เข้าใจ๊ ฮืม
บันทึกการเข้า
Hotacunus
องคต
*****
ตอบ: 613


AD FRANCIAM


ความคิดเห็นที่ 1  เมื่อ 05 มี.ค. 08, 08:00

ดีครับ คุณน้องติบอ (ไม่ได้เจอกันนาน  เจ๋ง)

บางท่านอาจสงสัยว่าทำไมไม่เขียนว่า "ปฏิมานวิทยา" หรือ "ปฏิมาวิทยา" นั่นก็เพราะว่า "ประติมา" นี้ เขียนตามภาษาสันสกฤตครับ ส่วนวิทยา ก็สันสกฤตเช่นกัน ถ้าจะเขียนรูปบาลี คงต้องเป็น ปฏิมาวิชา ....

สันสกฤต: ปฺรติมา
บาลี: ปฏิมา

"ประติมากรรม" ก็เขียนด้วยรูปคำสันสกฤตเช่นเดียวกัน (บาลี: ปฏิมากัมม์) ส่วน "ปฏิมา" นั้น ในภาษาไทยเราจะใช้หมายถึงพระพุทธรูปโดยเฉพาะครับ

ปฏิมา, ปฏิมากร    น. รูปเปรียบหรือรูปแทนองค์พระพุทธเจ้า คือ พระพุทธรูป, เรียก
   ย่อมาจาก พุทธปฏิมา หรือ พุทธปฏิมากร. (ป. ปฏิมา).

ที่มา: http://rirs3.royin.go.th/dictionary.asp

प्रतिमान prati-mān (ปฺรติมาน) = Counterpart, match; model, pattern; image, picture
विद्या vidyā (วิทฺยา), vulg. bidyā (พิทฺยา), s.f. Knowledge, learning, scholarship; science, philosophy
ที่มา: http://dsal.uchicago.edu/dictionaries/platts/
      Platts, John T. (John Thompson). A dictionary of Urdu, classical Hindi, and English. London: W. H. Allen & Co., 1884.

ดังนั้น ประติมานวิทยา ก็น่าจะตรงกับคำนี้ ถ้าเขียนด้วยตัวเทวนาครีครับ प्रतिमानविद्या (ปฺรติมาวิทฺยา)

แต่อย่างไรก็ตาม เท่าที่ผมไปค้นดูจาก google ไม่พบว่ามีคำนี้ ใช้ในภาษาฮินดีครับ คำว่า "ประติมานวิทยา" คงมีใช้แต่ในภาษาไทยเท่านั้น (ไม่รู้เหมือนกันว่า ลาว และ เขมรจะถอดคำว่า iconography ว่าอย่างไร ฮืม)

ค้นดูคร่าวๆ รู้สึกว่าทางภาษาฮินดีจะใช้คำว่า pratimān-vigyān (ปฺรติมานฺวิคฺยานฺ)

คำว่า วิคฺยาน นี้ ใน PLATTS (1884) อธิบายไว้ว่า "สันสกฤต:  विज्ञान vi-jṅān (วิ-ชฺงานฺ), vulg.(ปรากิต) vi-gyān (วิ-คฺยานฺ), s.m. Distinguishing, perceiving, recognizing, discerning, understanding; distinction, perception, discernment, intelligence, knowledge, comprehension; science, learning.


คำว่า "วิชฺงาน" นี้ ตรงกับคำบาลีว่า "ญาณ" ในพจนานุกรมฉบับราชบัญฑิตยสถาน (๒๕๔๒) อธิบายว่า "ญาณ [ยาน, ยานะ-, ยานนะ-] น. ปรีชาหยั่งรู้หรือกําหนดรู้ที่เกิดจาก อํานาจสมาธิ, ความสามารถหยั่งรู้เป็นพิเศษ"

ก็ค้นมาเล่าสู่กันฟังครับ อิอิ  ยิงฟันยิ้ม

ส่วนวิชานี้ศึกษาเกี่ยวกับอะไร ผมขอรออ่านดีกว่า  อายจัง
บันทึกการเข้า
pipat
แขกเรือน
นิลพัท
*******
ตอบ: 1802


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 2  เมื่อ 05 มี.ค. 08, 09:49

คนที่คิดคำนี้มาใช้คือพระยาอนุมานราชธน
แต่ตัววิชานั้น เกิดมาก่อนชื่อภาษาไทยหลายร้อยปี

สมัยแรกๆ พระยาอนุมานฯ ท่านยังใช้ว่าปฏิมาณวิทยา
แต่เมื่อพจนานุกรมเก็บคำว่าปฏิมาไว้ว่าเป็นรูปของพระพุทธองค์ ท่านเจ้าคุณจึงเลี่ยงไปใช้ประติมา
ผมคิดว่าท่านอาจจะคิดชื่อวิชานี้ เพื่อใช้กับคำอธิบายของอาจารย์ศิลป์
สมัยที่ขอให้อาจารย์ฝรั่งเขียนอภิธานศิลปะให้ อาจารย์ฝรั่งก็เขียนไล่ไปตั้งแต่อักษร A
เจ้าคุณก็แปลแล้วเอาไปลงวารสารศิลปากร(ไม่ใช่นิตยสารศิลปากรที่ยังเผยแพร่อยู่ในปัจจุบันนะครับ)

ในความหมายของอาจารย์ศิลป์ Iconography เป็นวิชาหนึ่งในการทำความเข้าใจศิลปะโบราณของยุโรป
กล่าวอย่างจำเพาะเจาะจงก็คือการอ่านรูปเคารพ ที่เรียกกันว่า ICON ซึ่งเป็นของยอดนิยมในสมัยกลาง
เป็นการเขียนรูปพระผู้เป็นเจ้า พระไครสต์ หรือแม้แต่กษัตริย์ในตำนาน
โดยมีเครื่องหมายการค้าของผู้นั้นรายล้อมประกอบ

เราต้องถอดรหัสว่า รูปย่อยๆเหล่านั้น มาจากพระคัมภีร์ตอนใหน
เหมือนที่คุณกุ้งแห้งยกปฐมสมโพธิ์มาประกอบเขียนที่พระที่นั่งพุทไธสวรรย์ ยังไงยังงั้นแหละครับ
จิตรกร(คริสเตียน)ตั้งแต่ครั้งโน้น มาจนถึงครั้งนี้...ล้วนต้องอ่านคัมภีร์
เพื่อเขียนรูปเคารพให้ถูกต้อง

สำหรับตัววิชานั้น เข้าใจว่าจะเกิดประมาณ 1700 ปลาย
ผมเคยจำชื่อปรมาจารย์วิชานี้ได้ เป็นชาวเยอรมัน แต่ไม่ได้ใช้มานาน ลืมซะแระ
ถ้าค้นเจอจะมาเล่าต่อครับ
บันทึกการเข้า
chai1960
มัจฉานุ
**
ตอบ: 67



ความคิดเห็นที่ 3  เมื่อ 05 มี.ค. 08, 11:33

     รากพฤกษ์ลึกหยั่งพื้น...พสุธา
แก้วแขนงฝอยย้อยมา...จึ่งมั่น
ปัญญาจักกว้างไกลสรรเสก...เสวนา
ยาวเยื้อยรากเลื้อยได้ต้นนั้น...จึ่งคง

     ภาษากำหนดด้วย...กลุ่มคน
นิยามความงามได้...ดั่งฝัน
งานศิลป์เกิดแต่จิตปรุงแต่ง...สวรรยา
มีใครถึงแล้วบ้างหลุดพ้น...กดเกน... ยิงฟันยิ้ม ยิงฟันยิ้ม ยิงฟันยิ้ม


บันทึกการเข้า

ประวัติศาสตร์เหมือนสายน้ำมีทั้งช่วงที่ไหลรินฉ่ำใสและช่วงที่ถาโถมทำลาย
Kurukula
สุครีพ
******
ตอบ: 1303



ความคิดเห็นที่ 4  เมื่อ 05 มี.ค. 08, 12:13

อิอิอิอิ คุณพิพัฒน์ อธิบายได้แจ่มแจ้งชัดเจนยิ่งนัก จนผู้น้อยไม่มีอะไรจะกล่าวแล้วครับ ขอคารวะจากใจจริง

ขอลองเอามุมมอง ที่"คล้ายๆ" ประติมานวิทยา จากทางเอเชีย มาเสนอให้ชมกันบ้าง


ในอินเดีย วิษณุธรรมโมตตรปุราณะได้กล่าวถึงการจำแนกวัตถุด้วยชนิด ความจำเพาะเจาะจงทางสัญลักษณ์ หรือ ลักษณะ(laksana) ซึ่งผู้ชมจะสามารถจดจำและแยกแยะได้ด้วย”ลักษณะ” ดังกล่าว ในศตานกะ (การวาด 6 สาขา) ยกย่องความเหมือน “ภายใน” มากกว่าความเหมือนภายนอกและความเหมือนไม่ได้ตั้งอยู่บนความเที่ยงตรงบนพื้นผิวเพียงอย่างเดียว ความเหมือนภายในนี้ก็คือสัญญะที่ทำให้คนจดจำภาพเหมือนได้ทันที


ในกระบวนการสร้างภาพเหมือนนั้น ต้องอาศัยสื่อสัมพันธ์ระหว่างตัวแบบกับศิลปินในระดับที่ลึกกว่าตาเห็น ภาพเหมือนจึงเชิญชวนผู้ชมให้เข้าไปมีปฏิสัมพันธ์และมีการติดต่ออีกครั้ง แม้ว่าที่จริงแล้วจะมีระยะที่ห่างไกล (ไม่ว่าจะเป็นเวลาหรือพื้นที่) ระหว่างวัตถุจริงกับผู้ชมก็ตาม

การติดต่อปฏิสัมพันธ์นี้เกิดขึ้นในทุกกระบวนการของปฏิบัติการ ตั้งแต่ศิลปินกับต้นแบบ และตัวบทกับผู้ชม ประสบการณ์เกี่ยวกับภาพเหมือนจึงเป็นเรื่องของปฏิสัมพันธ์ทางสังคมและเป็นความสัมพันธ์ระหว่างวัฒนธรรมกับวัฒนธรรมโดยแท้


ดังนั้นจึงดูเหมือนว่าการขาดแคลนภาพเหมือนทำให้เอเชียใต้และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ถูกกล่าวหาว่าไม่มีประสิทธิภาพในการเผชิญหน้ากับชีวิตจริงและมีแต่อุดมคติ ต้นเหตุนี้อาจมาจากข้อห้ามบางประการทางศาสนา ความเชื่อและฝังรากต่อกันมา เช่นในคัมภีร์สุกรานิติสาร อันเป็นคัมภีร์ที่เกี่ยวข้องกับการสร้างภาพ


“ฉายาของพระเจ้าย่อมอำนวยความสุขสวัสดิ์แก่มนุษย์และนำไปสู่สรวงสวรรค์ แต่ภาพของมนุษย์จะทำให้สวรรค์ออกห่างและนำมาซึ่งความโทมนัส ฉายาของพระเจ้าแม้จะผิดรูปร่างไปก็ยังเป็นสิ่งประเสริฐสำหรับมนุษย์ แต่ภาพของมนุษย์แม้ว่าจะงดงามเพียงใดก็ไม่เป็นสิ่งที่ดีเลย”

ซึ่งเห็นได้ชัดว่าเป็นทัศนะตรงข้ามกับตะวันตก ที่ให้ค่าของมนุษย์ในฐานะ “พระฉายาของพระเป็นเจ้า” (in the image and likeness of God)


การวาดภาพเหมือนถูกจำกัดจำเขี่ยในสมัยโบราณ (ไม่ว่าจะเป็นยุโรปหรือเอเชีย) อย่างไรก็ตาม การแสดงออกด้วยภาพเล่าเรื่อง (Narrative painting) ย่อมทดแทนกันได้ เพราะเหตุการณ์หรือวีรกรรมย่อมจำกัดอยู่ในตัวบุคคลที่ทำให้มันเกิดขึ้นมา


ภาพเล่าเรื่องนี้แหละทำให้ ประติมานวิทยา มีประโยชน์ขึ้นมา


ซึ่งในศิลปะเล่าเรื่อง เป็นการแบ่งปันประสบการณ์ระหว่างผู้ส่งสารคือศิลปินกับผู้รับสารคือผู้ชม แต่มีข้อแม้ก็คือ ผู้ชมจะต้องเข้าใจความหมายแฝงหรือ”กติกา” ซึ่งก็คือรหัสทางวัฒนธรรมที่จะทำให้เข้าใจงานศิลปะอย่างครบถ้วนสมบูรณ์

ผู้ชมเข้าใจสิ่งเหล่านั้นได้ด้วยสัญญะ (sign)  ซึ่งการเรียนรู้ของผู้ชมนั้นก็เหมือนกับการละเล่นบางอย่างที่จำเป็นต้องมีกติกา และถ้าหากกติกานั้นเปลี่ยนไป ผู้ที่ไม่รู้กติกาย่อมไม่เข้าใจ การเรียนรู้ภาษาทางศิลปะคือการเรียนรู้รหัสของศิลปิน ซึ่งอาจจะต้องตีความ


ซึ่งกติกาเหล่านี้ เกิดจากประสบการณ์ที่แตกต่างกัน รวมทั้ง การเรียนรู้ที่สั่งสมมาตั้งแต่เด็ก เป็นการขัดเกลาทางวัฒนธรรม ผู้อยู่นอกวัฒนธรรมย่อมไม่เข้าใจ เหมือนที่เราไม่เข้าใจวัฒนธรรมของประเทศอูกันดา หรือลิกเตนสไตน์ หรือเราไม่ได้ดู "ปิ๊งรักสลับขั้ว" เราก็ไปคุยกับคนที่ดูไม่รู้เรื่อง

นอกจากจะศึกษา เป็นระบอบเดียวกับการศึกษาประติมานวิทยานั่นเอง


ยกตัวอย่างงง ที่รู้จักกันดี.............


ชิ้นหนึ่งทรงครรภ์กัลยา           คลอดลูกออกมาเป็นหอยสังข์
ชิ้นสองต้องทัณฑ์เที่ยวเซซัง    อุ้มลูกไปยังพนาลัย
ชิ้นสามเมื่ออยุ่ด้วยยายตา        ลูกยาออกช่วยขับไก่
ชิ้นสี่กัลยามาแต่ไพร               ทุบสังข์ป่นไปกับนอกชาน
ชิ้นห้าบิตุรงค์ทรงศักดิ์              ให้จับตัวลูกรักมาจากบ้าน
ชิ้นหกจองจำทำประจาน           ให้ประหารฆ่าฟันไม่บรรลัย
ชิ้นเจ็ดเพชฌฆาตเอาลูกยา       ไปถ่วงลงคงคาน้ำไหล
เป็นเจ็ดชิ้นสิ้นเรื่องอรไท           ใครใครไม่ทันจะสงกา


เป็น Narrative art เรื่องยาวในหม้อแกง และให้ความหมายของประติมานวิทยา ที่จำเป็นต้องอาศัยประสบการณ์ในการเข้าถึงได้ดี เพราะ

"ใครใครไม่ทันจะสงกา"   และ

หลากใจหนักหนาน่าอัศจรรย์      พระทรงธรรม์"ไม่บอกให้ใครฟัง"
จึงเอาน้ำมาล้างแล้วางราย         เห็นเป็นเรื่องนิยายหอยสังข์
พระมารดามาตามแล้วกระมัง      "คนอื่นทั้งเมืองเราไม่เข้าใจ"
บันทึกการเข้า
Bana
องคต
*****
ตอบ: 439



ความคิดเห็นที่ 5  เมื่อ 06 มี.ค. 08, 00:51

คือการเล่าด้วยภาพใช่ไม๊ครับ  งานเล่าด้วยภาพหรือแสดงเรื่องราวด้วยภาพ  เป็นการอ่านจิตนาการของศิลปิน  โดยมีสัญลักษณ์ไฮไลท์หรืออะไรก็ตาม  ตามแต่ที่ศิลปินจะสร้างจากจินตนาการโดยมีเรื่องอาจจะจากคัมภีร์เป็นมูลฐาน  พระพุทธรูปของท้องถิ่นต่างๆจึงมีลักษณะต่างกันแต่ก็มีความพิเศษกว่ามนุษย์ธรรมดาเหมือนกัน  การอ่านประติมากรรมต่างๆแม้มาจากคัมภีร์เดียวกัน  แต่คงต้องมีพื้นฐานจากมนุษย์ในท้องถิ่นนั้นซ่อนอยู่ในงานนั้นๆด้วย  ใช่ไม๊ครับ

ท่านโฮต้า  เก่งภาษาพรามหณมินทร์และสันสกฤตมากครับ  ขอบคุณครับสำหรับการวิเคราะห์ศัพท์ที่ละเอียดครอบคลุม.... ยิ้มกว้างๆ
บันทึกการเข้า
pipat
แขกเรือน
นิลพัท
*******
ตอบ: 1802


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 6  เมื่อ 06 มี.ค. 08, 02:11

มาแตะเบรค กล้ววิ่งเร็ว บางระเบิด ตายสยอง
ไอขะโนกราฟี่นี่ ไม่ใช่เล่าเรื่องด้วยรูปนะครับ
ไม่ใช่อิลัสเตรท ซึ่งเป็นการแปรความเอาตามใชจ้อบ...อุป ใจชอบ

ประติมานวิทยานี่ ต้องเห็นพ้องต้องกัน จนเป็นสูตร
ขอยกตัวอย่าง อย่างง่ายๆ พอเพียงกับสมองผมจะเข้าใจ
คือพระพุทธรูป ปางอ้างธรณีเป็นพยาน
ตำรามาตรฐานหนึ่ง จะทำนิ้วพระหัตถ์ยาวสั้น มิเท่ากัน เหมือนนิ้วมนุษย์จริงๆ
แต่ก็มีตำราที่เดินอีกแนว คือนิ้วยาวเท่ากันทั้งหมด

เอาละซี อิหยั่งนี้มะช่ายแทงหยวกตามใจฉัน เล่าเรื่องตามที่ชอบเหมือนแกะฟัก ซึ่งมีแต่ผัวชั่ว-เมียแสนดีเท่านั้น
จะรู้ความนัย
แขกที่นั่งร่วมโต๊ะ มะมีใครรู้เรื่อง
อย่างนี้มิใช่ไอขะโนฯ นะคะรับคุณกะรุกุรา
บันทึกการเข้า
ติบอ
นิลพัท
*******
ตอบ: 1906


Smile though your heart is aching.


ความคิดเห็นที่ 7  เมื่อ 06 มี.ค. 08, 02:40

ไม่ใช่ครับคุณกล้วย (ผมจะกลายเป็นคนค้านคุณกล้วย กับคุณเอลวิสมั้ยเนี่ยะ หิหิ)



รูปแบบของประติมานวิทยา โดยมากเป็นแบบแผนที่ใช้สืบๆกันมา
พบการเปลี่ยนแปลงในตัวรูปแบบได้บางครับ แต่น้อยมาก (เท่าที่พบส่วนมาก คือการแก้ไขรายละเอียดเล็กๆน้อยๆ)
แต่บางครั้งอาจจะเกิดการปฏิวัติรูปแบบในวงการได้ ซึ่งไอ้การปฏิวัติที่ว่านั่นจะอยู่สืบมาหรือไม่..... ขึ้นกับการยอมรับของสังคมครับ

ยกตัวอย่าง พระพุทธรูปปาง "ป่าเลไลยก์" เดิมประติมานสำคัญอยู่ที่พระพุทธองค์รับบาตรจากพญาวานร
แต่ในพุทธศิลป์พุกาม ที่นิยมทำพระ 8 ปาง หรือ 14 ปาง มักนิยมทำรูปช้างเล็กๆเอาไว้อีกฝั่งหนึ่ง
เพื่อแสดงความเป็น "ป่า" ของฉาก เนื่องจากพระมักมีขนาดเล็กมาก...... และทำให้ดูสมมาตรกับพระปาง "ปราบช้างฯ" ด้วย
แบบนี้นายติบอขออนุญาตเรียกว่าเป็นการปฏิวัติ...... อย่างหนึ่ง
เพราะเขายกเอาของที่ไม่มี ใส่เข้าไปให้มีขึ้นมาในประติมานวิทยา

และการปฏิวัติครั้งนี้ "สำเร็จลุล่วงไปได้ด้วยดี" ครับ
เพราะคนเอเชียตะวันออกเฉียงใต้อีกหลายชนชาติรับเอาประติมานวิทยานี้เข้าไป
แต่รับอย่างเดียวไม่พอ แต่งตำรามารับประติมานจนตำราบางเล่มยกช้างมาเป็นพระเอกไปแทนลิงซะแหล่ว




แต่การปฏิวัติในอีกหลายครั้ง..... อย่างพระพุทธรูปลักษณะแปลกๆที่นิยมสร้างกันในรัชสมัยพระบาทสมเด็จฯ พระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวนั่น.....
ก็เป็นตัวอย่างที่ดีของการปฏิวัติทางประติมานวิทยาที่สังคมไม่ยอมรับครับ......
ไม่เชื่อคุณกล้วยลองไปหาคนที่คิดจะลุกขึ้นมาสร้างพระพุทธรูปปางนาคปรกแบบเหลือแต่เศียรพระโผล่พ้นขนดนาคออกมาสิครับ..... ผมว่าหาไม่เจออ่ะ
บันทึกการเข้า
Kurukula
สุครีพ
******
ตอบ: 1303



ความคิดเห็นที่ 8  เมื่อ 06 มี.ค. 08, 09:07

อิอิอิ สวัสดีครับ คุณติบอจ๋า ฟังดูงงๆอะ ปางปราบช้างปราบลิง มีรูปไหมจ๊ะ ลงให้หน่อย


ยกตัวอย่างเรื่องสังข์ทองนี่มีจุดมุ่งหมายถึง กระบวนการเข้าใจและรับรู้ของคนในวัฒนธรรมเดียวกันที่มีต่อสัญลักษณ์ในศิลปะครับ

บใจ้เรื่องของคนนอกวัฒนธรรมที่เอาสายตาปัจจุบันเข้าไปจับ หรือนักศึกษาที่เรียนลัดด้วยการอ่านตำรา

นึกถึงตัวอย่างของราชทูตลังกาที่เข้ามาสมัยพระเจ้าบรมโกศ

เห็นพระทรงเครื่องเข้า ก็นึกว่าเป็นรูปเทวดา จนต้องอธิบายกันเป็นฉากๆว่าเป็นพระพุทธรูป เขาก็ว่าบ้านเขาไม่มีนี่นา

พระสังข์และครอบครัว เป็นตัวแทนของคนกลุ่มเดียวกัน ขณะที่ชาวบ้านชาวเมืองมาทีหลัง ไม่ทันได้ดูละครช่อง 7 (ตอนนี้มีสังข์ทองฉายพอดี ที่พระเอกเป็นตุ๊ด)

ก็เลยไม่อินครับ...
บันทึกการเข้า
chai1960
มัจฉานุ
**
ตอบ: 67



ความคิดเห็นที่ 9  เมื่อ 06 มี.ค. 08, 09:36

อรุณสวัสดิ์ครับคุณ ติบอ คุณ Kurukula... ยิ้ม ยิ้ม ยิ้ม

ขอเรียนถามเพิ่มเติมหน่อยครับ

๑.หากปฎิวัติไม่สำเร็จจะเรียกว่า ขบถหรือไม่ครับ (ขบถ...คำนี้เลิกใช้หรือยัง...ต้องถามผู้รู้อีกแล้ว)... ยิงฟันยิ้ม ยิงฟันยิ้ม ยิงฟันยิ้ม

ตัวอย่างเช่น ผมสั่งช่างปั้นให้ปั้นช้างขนาดสมจริง นอนตะแคงชูอ้อยยืนให้แก่บุรุษผู้ ๑
โดยมีบุรุษนั้นนั่งที่ขาหน้าของช้าง ใบหน้าอิ่มเอิบเป็นสุข
ปลายหางช้างมีลิงตัว ๑ ดึงหางช้างอยู่ ในอีกมือหนึ่งของลิงนั้นถือกล้วย
ประหนึ่งว่า...ช้างและลิงหมายแย่งกันมอบอ้อยและกล้วยให้บุรุษผู้นั้น
รูปปั้นเยี่ยงนี้จะกลายเป็นพระพุทธรูปปาง "ป่าเลไลย์" หรือไม่


๒. ชาย ๑ หมายจะสร้างรูปปั้นในที่ดินของตน
หวังจะให้เป็นอุทยานเพื่อการท่องเที่ยวให้ลูกของตนได้เก็บเกี่ยวผลประโยชน์
มากกว่าจะเป็นการเพื่อจำเริญพระพุทธศาสนา(จำเริญ...คำนี้เลิกใช้หรือยัง...ต้องถามผู้รู้อีกแล้ว)... ยิงฟันยิ้ม ยิงฟันยิ้ม ยิงฟันยิ้ม
โดยงานปั้นปูนอย่างหยาบนั้น พินิจดูแล้วก็ดูไม่งาม ไม่สมส่วน ไม่มีหลักการและสัดส่วนที่สวยงาม
เงินที่ใช้เป็นทุนในการปั้นก็ขอเรี่ยไรจากผู้คน อ้างเพื่อสะเดาะเคราะห์ แล้วแบ่งส่วนหนึ่งมาใช้จ่ายเอง
มีผู้คนเข้าไปเคารพรูปปั้นนั้นบ้าง แต่ไม่มากนัก
หากเวลาล่วงไปสักอีก ๒๐๐ ปี จนเมื่อไม่มีใครทราบจุดประสงค์แท้จริงของผู้ปั้นนั้นแล้ว
รูปปั้นนั้นจะเรียกว่าประติมาน ที่ผ่านการ ปฎิวัติด้วยหรือไม่




ปล.๑  คุณ ติบอ จะอ่านที่เขียนในทุกกระทู้ครบไหมนะ...ครบไหมนะ...ครบไหมนะ...   ยิงฟันยิ้ม ยิงฟันยิ้ม ยิงฟันยิ้ม
บันทึกการเข้า

ประวัติศาสตร์เหมือนสายน้ำมีทั้งช่วงที่ไหลรินฉ่ำใสและช่วงที่ถาโถมทำลาย
pipat
แขกเรือน
นิลพัท
*******
ตอบ: 1802


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 10  เมื่อ 06 มี.ค. 08, 10:25

จะว่าไปแล้ว ผมยังไม่เคยเห็นมีใครศึกษา หรือยกตัวอย่าง iconography ที่ไม่ใช่รูปเคารพเลยนะครับ

อย่างเช่นรูปเจ้าเตี้ยฝรั่งเศษ ยืนพักขานิดหน่อย เอาแขนทิ่มเข้าในอกเสื้อ และใส่หมวกกลับทางเสียงั้น
เราก็ไม่เสียเวลาไปหาว่า ท่านคิดอย่างไร เกี่ยวกะประวัติการณ์ตอนใหนของท่าน
เช่นเดียวกัน ฟักสลักเป็นแากชีวิต ก็ไม่เข้าข่ายเป็นประติมานวิทยาแน่นอน
ขอยืนยัน

ทีนี้จะถามน้องติบอบ้างว่า การสร้างรูปประติมานแห่งพระพุทธองค์ให้มีรายละเอียดตรงตามพระคัมภีร์นั้น
เป็นการปฏิวัติตรงใหนหรือ
ถ้ารูปแบบที่แหวกแนวออกจากความเคยชิน ถือเป็นการปฏิวัติ
รูปที่พบกันมามากมาย ก็ล้วนปฏฺวัติมากหรือน้อยเท่านั้นเอง ยิ่งแวะไปฝั่งมหายาน คงปฏิวัติกันทั้งวันทั้งคืน

ประเด็นสำคัญในวิชาประติมานวิทยาก็คือ เราสามารถหาเรื่องราวในคัมภีร์ มารองรับลักษณะรูปเคารพได้หรือไม่
ถ้าหาได้ ลักษณะเหล่านั้น เคร่งครัด หรือผ่อนคลายจากเนื้อหาทางอักษรศาสตร์มากน้อยเพียงใด
ถ้ามีการยึดถือที่เคร่งครัด นักประวัติศาสตร์ศิลป์จะได้ใช้รูปนั้น เป็นมาตรฐานเพื่อนำชิ้นอื่นมาเทียบ

ถ้าเป็นรูปแบบที่แปลกตา เราจะต้องรอบคอบในการวินิจฉัย
เพราะอาจจะมาจากคัมภีร์ที่ต่างออกไป หรือจากฉบับที่ไม่รู้จักกัน ยิ่งสืบก็ยิ่งได้ความเข้าใจอดีต
เข้าใจแล้วจะเอามาเล่นเป็นโจ๊ก ก็ไม่ว่ากัน แต่อย่าเพิ่งโจ๊กก่อนเข้าถึงเนื้อแท้ มันจาไม่อาหร่อยครับ

เรื่องสวนสนุกอุทยานการท่องเที่ยวนั้น เป็นเรื่องสมัยเรา
ประติมานวิทยาเป็นสาขาหนึ่งของประวัติศาสตร์ศิลป์
ประวัติศาสตร์ หมายถึงเรื่องก่อนเกิด
เรื่องปัจจุบัน หรืออนาคตน หรือสมมติเรียกอนาคตศาสตร์ หรือโมเมศาสตร์
ศิลป์ หมายถึงเรื่องที่ยกจิตใจไปทางสุนทรีย์
เรื่องไม่เป็นเรื่อง เราไม่จัดเข้าในหมวดศิลปะ ซึ่งบังเอิญว่าเป็นหนึ่งในมงคลสูตร
คงไม่มีใครจัด อุตริ พิเรนทร์ พิลึก หรือวิกลจริต เป็นมงคลกระมัง
บันทึกการเข้า
หนูหมุด
มัจฉานุ
**
ตอบ: 88


ความคิดเห็นที่ 11  เมื่อ 06 มี.ค. 08, 10:28

เพิ่งเคยได้ยินคำนี้เป็นครั้งแรก อ่านที่ทุกท่านอธิบายแล้วยังไม่ค่อยเข้าใจอยู่ดีค่ะ ฮืม

อย่างเช่นเราไปดูภาพจิตรกรรมฝาผนังในโบสถ์วัดที่หนึ่ง แล้วเราก็สังเกตจากรูปมีภาพชายคนหนึ่งยกรถ เราก็สามารถรู้ได้ว่านี่คือภาพจากชาดกเรื่องพระเตมีย์ใบ้
อย่างนี้ใช่หรือเปล่าคะ

หรืออย่างพระพุทธรูปปางไสยาสน์ ต้องตะแคงขวา เท้าเสมอกัน ถ้าตะแคงซ้าย หรือเท้าไม่เท่ากัน ก็คือเป็นปางอื่น อย่างนี้รึเปล่า

ระหว่างพิมพ์เห็นคุณ pipat บอกว่าส่วนมากจะเป็นรูปเคารพ ก็แปลว่าจิตรกรรมฝาผนังนี่ไม่นับใช่มั้ยคะ
รบกวนขอความรู้ด้วยนะคะ ขอบพระคุณค่ะ
บันทึกการเข้า
Kurukula
สุครีพ
******
ตอบ: 1303



ความคิดเห็นที่ 12  เมื่อ 06 มี.ค. 08, 11:17

จะว่าไปแล้ว ผมยังไม่เคยเห็นมีใครศึกษา หรือยกตัวอย่าง iconography ที่ไม่ใช่รูปเคารพเลยนะครับ


Iconography มิได้เจาะจงอยู่กับประวัติศาสตร์ศิลปะเพียงอย่างเดียวแล้วครับ ทุกวันนี้ ประติมานวิทยา มีบทบาทต่อศาสตร์หลายๆแขนง เช่น สัญณวิทยา (Semiotics) มานุษยวิทยา แม้กระทั่ง การศึกษาภาพยนต์ โดยเฉพาะการค้นหาความหมายทางวัฒนธรรมจากสัญลักษณ์ ซึ่งปรากฏออกมาจากภาษาท่าทาง

บางครั้ง ในภาพยนต์ เรายังเห็น"ลูกเล่น" หลายๆอย่างที่แฝงเข้ามา บางอย่างก็ย้อนกลับไปใช้"ประติมานวิทยา" ในอดีต (simulacrum) โดยไม่ได้เกี่ยวข้องกับการเคารพบูชาเลย มันทำให้เห็นความตั้งใจของคนสร้าง และรู้สึกว่าหนังมีสาระขึ้นมากมาย

แม้กระทั่งใน Academic art ซึ่งเต็มไปด้วยหลักวิชาการอันสูงส่ง เกี่ยวกับการสร้างสรรค์ออกมาให้ได้สมจริงสมจัง กล้ามเนื้อต้องถูกต้อง รายละเอียด การจัดองค์ประกอบ แสงเงาตกกระทบยังไง ยังจำเป็นต้องใช้หลักการของประติมานวิทยา

Lomazzo ได้กล่าวไว้ในหนังสือ Trattato dell’ Arte della Pittura Scultura ed Archittettura ว่า

“แม้ว่าภาพเหมือนจะมีพื้นฐานบนความเหมือนจริงและทำให้ผู้ชมจดจำผู้ที่ถูกแสดงแทนได้ทันที แต่ศิลปินจำเป็นจะต้องใช้องค์ประกอบอื่นๆ(ที่ใช้จำแนกแยกแยะ)ด้วย เช่นระดับของผู้ถูกแสดงแทนหรือสัญลักษณ์ เช่นมงกุฎสำหรับจักรพรรดิ์ ท่าทางอันสง่างามและรายละเอียดจะต้องมีพร้อม ขณะที่อาจต้องแก้ไขความอัปลักษณ์บางประการออกไป"[/size]
บันทึกการเข้า
Kurukula
สุครีพ
******
ตอบ: 1303



ความคิดเห็นที่ 13  เมื่อ 06 มี.ค. 08, 11:23

คุณหนูหมุดเข้าใจถูกต้องแล้วครับ

ประติมานวิทยามีผลต่อคนในวัฒนธรรมเดียวกันไปในทางเดียวกัน เกิดจากการขัดเกลาและประสบการณ์ของคุณหนูหมุด ที่ตอนเด็กๆอาจจะตามคุณแม่คุณยายไปวัด ท่านก็เล่าเรื่องให้ฟังว่า ถ้าเห็นคนยกรถ ก็ควรจะเป็นพระเตมีย์

เป็นกระบวนการของประติมานวิทยาอย่างง่ายๆที่ไม่จำเป็นต้องอาศัยตำราหรือคัมภีร์อันซับซ้อน
บันทึกการเข้า
pipat
แขกเรือน
นิลพัท
*******
ตอบ: 1802


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 14  เมื่อ 06 มี.ค. 08, 13:30

โอ....น้องเราเป็นโป๊สต์มอแดร์นมากไปแล้ว
การใช้ประติมานวิทยาในชีวิตสมัยใหม่นั้น เป็นคนละอย่างกับการใช้ประติมานวิทยาในวิชาประวัติศาสตร์ศิลป์ครับ

คือคุณจะเอาไปใช้ก็ได้ ข้างรถตุ๊กๆ ข้างรถสองแถว ป้ายฉายหนังกลางแปลง หรือฉลากยา
ล้วนแต่มีชิ้นส่วนให้โยงเข้าหาวิธีการทางประติมานวิทยาทั้งนั้น
แต่มีน มิใช่เอนดึ ใช่ใหม

คุณเอาพระพุทธรูปไปเป็นฐานโคมไฟ ก็เป็นประติมานวิทยาหรือ
ถ้าอย่างนั้น หนังแมททริกส์ 3 ภาค ก้อเป็นตำราประติมานวิทยาสิ
เบลด 3 ภาคก็เป็น
ยอดมนุษย์ ซุปเป้อร์แมน แรมโบ้ แม้แต่จาพนม วนแต่เป็นตำราประติมานวิทยาเดินได้ หมุนได้ งั้นรึ

ผมไม่เอาด้วยครับนา.....

เสมิโอติค ทำคนละอย่างกับอิโคโนกราฟฟี่ครับ
อย่าเอามาปนกัน
หรือถ้าจะปนกัน ก็ต้องรู้ว่ากำลังทำเรื่องอะไร
เราอาจจะทำเสมิโอติด สะตั๊ดดี้ในพระพุทธรูปทวารวดี
อาจจะได้ผลลัพทธ์น่ามหัศจรรย์ใจ แต่นั่นไม่ใช่อิโคโนกราฟฟี่ สะตั๊ดดี้ครับ ไม่เกี่ยวกัน
บันทึกการเข้า
หน้า: [1] 2 3 ... 6
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.057 วินาที กับ 20 คำสั่ง