เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 2 [3] 4 5 6
  พิมพ์  
อ่าน: 26676 What is "ICONOGRAPHY"
pipat
แขกเรือน
นิลพัท
*******
ตอบ: 1802


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 30  เมื่อ 07 มี.ค. 08, 10:08

เจอบทความเข้ากับหัวข้อนี้พอดี ลองอ่านดูครับ ผมตัดตอนเอาที่เด็ดๆ มา ตามไปอ่านฉบับเต็มได้ครับ
--------
ถอดรหัส “ลึงค์” ด้วยทฤษฎีสัญญะวิทยา

ทฤษฎีสัญญะวิทยา (Semiology) สามารถถอดความหมายจากรากศัพท์เดิมได้ว่าเป็น “ศาสตร์แห่งสัญญะ” (Science of sign)
ที่พยายามจะอธิบายถึงวัฏสงสารของสัญญะ คือการเกิดขึ้น การพัฒนา การแปรเปลี่ยน รวมทั้งการเสื่อมโทรม ตลอดจนการสูญสลายของสัญญะหนึ่งๆ
ที่ปรากฏออกมาอย่างเป็นแบบแผนและระบบระเบียบ ทฤษฎีนี้กำเนิดมาจากการคิดค้นของนักภาษาศาสตร์เมื่อคริตศตวรรษที่ 19 โซซูร์(Saussure)
นักภาษาศาสตร์ชาวสวิส ผู้บุกเบิกวางรากฐานทฤษฎีสัญญะวิทยาได้นิยามวิชา Semiology ใหม่ว่า เป็นศาสตร์ที่ศึกษาวิถีชีวิตของสัญญะที่อยู่ในปริบทหนึ่งๆ (life of sign)

สัญญะ (Sign) หมายถึง สิ่งที่ถูกสร้างขึ้นมาเพื่อให้มีความหมาย (meaning) แทนของจริง/ตัวจริง(object)
ในตัวบท (text) และในบริบท (context)หนึ่งๆ ตัวอย่างเช่น “แหวนหมั้น” เป็นสัญญะใช้แทนความหมายที่แสดงถึงความผูกพันระหว่างหญิงชายคู่หนึ่ง
ในบริบทของสังคมตะวันตก หากเป็นบริบทของสังคมอื่นก็อาจใช้หมู ใช้กำไล ใช้อย่างอื่นๆเป็นสัญญะแทน เป็นต้น
อาจกล่าวได้ว่าสัญญะเป็นสิ่งที่มีความหมายมากกว่าตัวของมันเอง เป็นตัวแทนความหมายของความเป็นจริง สัญญะที่เรารู้จักกันมากที่สุดก็คือ ภาษา

ในสัญญะหนึ่งๆจะมีองค์ประกอบ 2 ส่วน คือ ส่วนที่เป็นตัวหมาย (Signifier) และตัวหมายถึง (Signified) ยกตัวอย่างแสดงความสัมพันธ์ระหว่างของจริง ตัวหมาย และตัวหมายถึง
เช่น สัตว์ปีกชนิดหนึ่งเป็นของจริง (Reference) ในบริบทของสังคมไทยได้สร้างสัญญะเขียนเป็นตัวอักษรว่า “ไก่” สังคมอังกฤษเขียนว่า “ chicken”
เมื่อใส่เสียง(sound) โดยเปล่งออกมาเป็นถ้อยคำว่า “ไก่” ส่วนนี้เรียกว่า “ตัวหมาย” (Signifier) เมื่อคนในแต่ละวัฒนธรรมได้ผ่านกระบวนการเรียนรู้สัญญะ
(เช่นอ่านออก) เมื่อเห็นสัญญะ “ไก่” หรือ “chicken” ในหัวสมองหรือความคิดคำนึงของเขาก็จะเกิดแนวคิดจินตนาการของภาพ “ไก่” ขึ้นมา ที่เราเข้าใจกันว่า
“เป็นภาพในใจหรือภาพในความคิด” (concept) ซึ่งก็คือตัวหมายถึง (Signified) เพราะฉะนั้นอักษร “ไก่” จึงหมายถึงสิ่งอื่นที่ไม่ใช่ตัวมัน แต่ถูกสร้างขึ้นมา
เพื่อให้มีความหมายแทนของจริง ซึ่งก็คือการสร้างระบบสัญลักษณ์ (symbol)
นอกจากนี้ยังมีความสัมพันธ์อีกรูปแบบหนึ่งที่เป็นสิ่งที่สัญญะวิทยาสนใจวิเคราะห์ คือความสัมพันธ์ระหว่าง “ตัวบท” (text) กับปริบท (context)
คำว่า “con” หรือ “บริ” มีความหมายถึงสิ่งที่อยู่รอบๆ ดังนั้น context หรือบริบท จึงหมายถึงสิ่งที่อยู่รอบๆตัวบทนั่นเอง

เมื่อนำทฤษฎีสัญญะวิทยามาถอดรหัส “ลึงค์และโยนิ” จึงมองได้ว่าสิ่งที่เห็นคือ “ตัวหมาย” ตัวมันเองแทนสิ่งที่เป็นของจริง และมีความหมายมากกว่าตัวของมัน
ความสัมพันธ์ของลึงค์และโยนิ เป็นความสัมพันธ์ตามกฎของธรรมชาติซึ่งเป็นความสัมพันธ์ในเชิงสังวาส (เพราะกำลังอยู่ในห้วงแห่งการกระทำระหว่างกัน)
อากาศที่อยู่โดยรอบในห้องและตัวห้องแสดงความสัมพันธ์ระหว่างตัวบทและบริบท ซึ่งคนโบราณได้กำหนดเป็นตัวหมายถึง จึงเรียกว่า “ห้องครรภ์หรือครรภคฤหะ”
ภาพในความคิดจึงเป็นลึงค์ที่กำลังอยู่ในห้องครรภ์ และมีความหมายโดยนัย (Connotative meaning) ที่สัมพันธ์ระหว่างโลกและจักรวาล ตามความเชื่อทางอุดมคติ
ของศาสนาฮินดู ระหว่างมนุษย์ โลก และจักรภพที่เป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน กลมกลืนไปตามกฎของธรรมชาติ

กล่าวโดยสรุปทฤษฎีสัญญะวิทยา เป็นเครื่องมือในการหาความหมายที่อยู่ภายใต้สัญญะหนึ่งๆ ทฤษฎีสัญญะวิทยาเสนอว่าอย่าอ่านความหมายลงไปที่ตัวอักษร (alphabet)
เพราะตัวอักษรเองไม่มีความหมายอะไรในตัวจนกว่าจะมาอยู่ในบริบททางวัฒนธรรมหนึ่งๆที่มีรหัสกำหนดความหมายเอาไว้ เมื่อนำทฤษฎีสัญญะวิทยามาถอดรหัส
ประติมากรรมหรือสถาปัตยกรรม จึงหมายความว่าอย่าเพียงแค่อ่านลงไปบนตัววัตถุ(ที่อาจถูกตีความทางประติมาณวิทยาไว้แล้ว) แต่ให้อ่านบริบทของวัตถุ
จึงจะเห็นรหัสที่ตัววัตถุไม่ได้บอก หรือความหมายที่ซ่อนอยู่ข้างใน รหัสเป็นแบบแผนขั้นสูงที่ซับซ้อนของความสัมพันธ์ระหว่างสัญญะต่างๆ หรือพูดง่ายๆก็คือ
เราจะนำเอาสัญญะย่อยๆต่างๆมาสัมพันธ์กัน แบบแผนนี้จะทำหน้าที่เป็นโครงสร้างที่อยู่ในหัวสมองของเรา และจะทำงานในการรับรู้และตีความเมื่อเราเปิดรับสัญญะต่างๆ
และในกระบวนการถอดรหัส (Decoding) ผู้รับและผู้ส่งไม่จำเป็นต้องถือรหัสเล่มเดียวกัน การถอดรหัสเพี้ยนเป็นกฎของการสื่อสารมิใช่เป็นข้อยกเว้น เนื่องจากฝ่ายผู้รับ
เองก็มีกรอบอ้างอิง (Reference) ที่นำมา สร้างรหัสต่างๆมากมาย เพราะฉะนั้นจึงไม่มีการถอดรหัสที่ผิดพลาด มีเพียงการถอดรหัสที่แตกต่างไปจากผู้ส่งเท่านั้น
วิธีการถอดรหัสให้ใกล้เคียงกับผู้ส่งมากที่สุดก็จำเป็นต้องคิดแบบผู้ส่ง เข้าไปนั่งในหัวใจของผู้ส่ง ศึกษาวัฒนธรรมของผู้ส่ง ดังนั้นการใช้ทฤษฎีสัญญะวิทยานำมา
อธิบายหลักฐานทางโบราณคดีจึงเป็นการทลายกรอบทางประติมาณวิทยาซึ่งอนาคตข้างหน้ามีโอกาสที่จะเดินไปถึงทางตัน

จาก คุยเฟื่องเรื่องลึงค์  โดยนงคราญ สุขสม
http://www.artgazine.com/shoutouts/viewtopic.php?t=2207
บันทึกการเข้า
pipat
แขกเรือน
นิลพัท
*******
ตอบ: 1802


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 31  เมื่อ 07 มี.ค. 08, 10:25

เมื่อถอดรหัส “ลึงค์และโยนิ” จึงมองได้ว่า ความสัมพันธ์ของลึงค์และโยนิ เป็นความสัมพันธ์เชิงสังวาส
อากาศที่อยู่โดยรอบในห้องและตัวห้องแสดงความสัมพันธ์ระหว่างตัวบทและบริบท
ซึ่งคนโบราณได้กำหนดเป็นตัวหมายถึง จึงเรียกว่า “ห้องครรภ์หรือครรภคฤหะ”

ภาพในความคิดจึงเป็นลึงค์ที่กำลังอยู่ในห้องครรภ์
และมีความหมายโดยนัย (Connotative meaning) ที่สัมพันธ์ระหว่างโลกและจักรวาล ตามความเชื่อทางอุดมคติของศาสนาฮินดู
ระหว่างมนุษย์ โลก และจักรภพที่เป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน กลมกลืนไปตามกฎของธรรมชาติ
----------------
ที่ยกมาเน้นตรงนี้ คือสิ่งที่ต่างกันระหว่าประติมาณวิทยาและสัญญะวิทยาครับ
เราใช้ประติมาณวิทยาเพื่อทดสอบว่า วัตถุนั้น คืออะไร ไม่ใช่ว่าเจอเสาตอม่อปุ๊ป ก็บอกว่าเป็นลึงค์
แล้วบอกว่าตอม่อนั้นปักลงในน้ำ แสดงความสัมพันธ์กลมกลืนอันชุ่มฉ่ำ
เห็นเชือกผูกเรือควั่นติดอยู่ ก็บอกว่าแสดงความเกี่ยวกระหวัดแห่งสัมพันธ์ภาพของสองสิ่ง
บ้าหยินและหยางก็บอกว่าเป็นดุลยภาพของโลกด้านที่แย้งกัน แต่มาผนึกรวมกันเพื่อผดุงรักษาสมดุลย์แห่งจักรวาล
บ้าเซ็น ก็บอกว่า เป็นสัญลักษณ์ของปัญญาอันนิราออกจากความรุ่มรวยแห่งรูป
บ้าวัชรญานก็บอกว่า เป็นสังขารที่รอวันดับสูญ แต่ระหว่างยังไม่ดับสูญก็สังวาสกับบริบทรอเวลาอันเป็นอนันตภาวะนั้น
เฮ้อ.....

บ้าสัญญะวิทยา พอเห็นเสาปักอยู่ในน้ำ ก็ใช้วิชาประติมาณวิทยาวิเคราะห์หาว่า
เสาแบบนี้ ปักตรงๆ แบบนี้ โผล่พ้นน้ำแค่นี้ ทนแดดทนฝนมานานปีแบบนี้ แสดงถึง
"สิ่งที่ถูกสร้างขึ้นมาเพื่อให้มีความหมาย (meaning) แทนของจริง/ตัวจริง(object) ในตัวบท (text) และในบริบท (context)หนึ่งๆ
มีองค์ประกอบ 2 ส่วน คือ ส่วนที่เป็นตัวหมาย (Signifier) และตัวหมายถึง (Signified)"
ตอม่อต้นนี้จึงแสดงถึงผลจากวิถีชีวิตของสัญญะที่อยู่ในปริบทหนึ่งๆ (life of sign)
เฮ้อ.....เฮ้อ.....เฮ้อ.....

ส่วนที่ผู้เขียนตีความลึงค์ในครรภคฤหะว่าเป็นอย่างนู้นอย่างนี้ ก็เป็นการตีความตามตัวอักษร
จะเป็นไปตามนั้นจริงหรือไม่ ใครกล้ารับรองครับ
บันทึกการเข้า
pipat
แขกเรือน
นิลพัท
*******
ตอบ: 1802


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 32  เมื่อ 07 มี.ค. 08, 11:44

กลับมาต่อเรื่องสร้างรูป

เอาละ สรุปว่าช่างสลักรับงานแล้ว สร้างสำเร็จ เฉลิมฉลองมีพิธีครบถ้วน รูปนั้นก็ตั้งเป็นประธานต่อมาอีกหลายชั่วคน
แต่พระท่านว่าอนิจจังไม่เที่ยง อากาศวิปริต น้ำเปลี่ยนทางเดิน แล้งเข็ญ สงคราม อาณาจักรล่มสลาย....ฯลฯ
นักโบราณคดีไปขุดเจอรูปนี้ในซากเมืองร้างกลางทะเลทราย
จะทำไงดีล่ะ

เนื่องจากเป็นเรื่องเมื่อ 2000 ปีมาแล้ว เก่าก่อนมีภาษาใช้ หรือถ้ามีก็คงเป็นภาษาที่ต่างจากปัจจุบันมากพอดู
รูปลักษณะของประติมากรรม ก็ไม่ตรงกับที่นิยมในปัจจุบัน เราจะใช้อะไรช่วยในการบ่งชี้วัตถุนี้ล่ะครับ

semiotics .........รึ
บันทึกการเข้า
pipat
แขกเรือน
นิลพัท
*******
ตอบ: 1802


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 33  เมื่อ 07 มี.ค. 08, 16:04

แล้ว Semiotics หรือ Semiology มันคืออารัยง่ะ ต้องถามวิกิดู....ได้คำตอบว่า
the study of sign processes (semiosis), or signification and communication, signs and symbols,
both individually and grouped into sign systems.
It includes the study of how meaning is constructed and understood.
http://en.wikipedia.org/wiki/Semiotics

สรุปง่ายๆ ก็คือวิชาแปลความ เช่นเห็นอีหนูนอร์มาจีน ยืนกางขากระโปรงบานอย่างนั้น แปลว่าอะไร
กระโปรงบานที่มีจีบละเอียดแปลว่าอะไร
รอยยิ้มฉีกไปถึงข้างแก้มแปลว่าอะไร ....เรื่อยไปถึงว่า ความกำกวมกับความโจ่งแจ้งสามารถเอามาทำมาหากินได้อย่างไร
เรียกว่าคู่มือบริโภคสื่อก็เห็นจะไม่ผิด ถ้าจะมีผิดก็เห็นจะเป็นการแปล หรือแปรความผิด
แต่ไม่เป็นไร ชีวิตสมัยใหม่ ชอบกำกวมอยู่แล้ว

เอาเป็นว่า วิกิเขาสรุปอีกครั้งว่า
In general, semiotic theories take signs or sign systems as their object of study:
the communication of information in living organisms is covered in biosemiotics or zoosemiosis.

คราวนี้ ผมขอลอกตำราเบื้องต้นของวิชานี้ มาให้พิจารณา เขาแบ่งหัวข้อไว้
วานคุณกุรุกุลา ลองใช้มันศึกษารูปประกอบข้างล่างด้วยเท๊อะ
Signs
Modality and Representation   
Paradigms and Syntagms
Syntagmatic Analysis 
Paradigmatic Analysis 
Denotation, Connotation and Myth
Rhetorical Tropes
Codes   
Modes of Address 
Encoding/Decoding
Articulation 
Intertextuality 
Criticisms of Semiotic Analysis 
Strengths of Semiotic Analysis 


บันทึกการเข้า
Oam
แขกเรือน
ชมพูพาน
***
ตอบ: 168



ความคิดเห็นที่ 34  เมื่อ 07 มี.ค. 08, 16:35

อืมมมมมมมมมมมมมมมมมมมมม


คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
Hotacunus
องคต
*****
ตอบ: 613


AD FRANCIAM


ความคิดเห็นที่ 35  เมื่อ 07 มี.ค. 08, 18:53


ประติมาวิทยา( ไม่ใช่ ประติมาวิทยา)เป็นหนึ่งในสาขาวิชาศิลปะ  ศึกษาการจำลองรูปต่างๆ แต่ไม่ใช่ว่ารูปอะไรก็ได้ แต่เป็นรูปเคารพ  ทั้งงานวาด งานปั้น งานแกะสลัก ดูที่จุดมุ่งหมายของคนสร้าง ว่าเขาสร้างงานเหล่านี้ด้วยแรงศรัทธา หรือความเชื่อมั่นในศาสนา เป็นพื้นหลัง

สวัสดีครับ อาจารย์เทาชมพู และขอบคุณคุณพิพัฒน์ที่ช่วยขยายความเกี่ยวกับที่มาของคำนี้ครับ

เท่าที่เคยผ่านตามา เห็นใช้ "น" ครับ เช่น

ผาสุข อินทราวุธ. พุทธศาสนาและประติมานวิทยา. กรุงเทพฯ : ภาควิชาโบราณคดี คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร , 2530

แต่เรื่อง "ณ" หรือ "น" นี้ ผมเข้าใจว่า ที่ใช้ ณ เพราะเขียนแบบเก่าหรือเปล่าครับ ? คือ นิยมใช้กันในสมัยแรกๆ ที่คิดศัพท์นี้ขึ้นมา ตามที่คุณพิพัฒน์ได้กล่าวถึงไปแล้วในความเห็นที่ ๒

ส่วนที่เปลี่ยนเป็น "น" นั้น เห็นจะแก้ไขตามรูปคำสันสกฤตครับ

प्रतिमाविद्या (ปฺรติมาวิทฺยา) ........... ในความเห็นที่ ๑ ผมพิมพ์ตก "น" ท่านใดเติมได้ ช่วยด้วยนะครับ  ยิงฟันยิ้ม

पुराpurāṇa (ปุราณ) = โบราณ

=
=

แต่ผมไม่ทราบว่า ราชบัณฑิตยสถาน ท่านได้บัญญัติคำนี้ว่าให้ใช้ตัวไหน ? ในพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน ฉบับ ๒๕๔๒ ไม่ได้เก็บคำนี้ไว้ ทั้งนี้อาจเป็นเพราะว่าเป็นศัพท์เฉพาะทาง ยังไม่ได้ค้นพจนานุกรมศัพท์เฉพาะด้านครับ

ถ้าเป็นอย่างที่ผมคิด เรื่องนี้ก็คงคล้ายๆ กับคำว่า ภูฐาน - ภูฏาน

==============================

ส่วนนิยามนั้น ผมเห็นด้วยกับอาจารย์ครับ เพราะเท่าที่เคยเรียนมา เห็นจะเน้นศึกษาการสร้าง "หลักปรัญชา" หรือ "เหตุการณ์สำคัญ" ทางศาสนา ซึ่งเป็นนามธรรม ให้ออกมาเป็นรูปธรรม ซึ่งส่วนใหญ่ก็จะเป็นงานประติมากรรม เหตุที่ Iconography ของอินเดีย เขมร และไทย มีแต่งานศึกษาประติมากรรมเป็นส่วนใหญ่ คงอาจเป็นเพราะว่า งานจิตรกรรมไม่เหลือให้ศึกษาครับ หรือ มีเหลือให้ศึกษาน้อย

ตำราที่เคยอ่าน ส่วนใหญ่ก็จะอิงกับศาสนา เช่น Buddhist Iconography, Hindu Iconography

ส่วนถ้าจะไปตีความป้ายโฆษณา หรืออะไรก็ตามที่ไม่เกี่ยวข้องกับศรัทธา หรือ ความเชื่อทางศาสนา ผมมองว่าคงไม่ใช่วิชา Iconography น่าจะเป็นศาสตร์อื่น

อย่างไรก็ตาม นี่ก็เป็นเพียงมุมหนึ่งที่ผมได้เคยสัมผัสเกี่ยวกับวิชาประติมานวิทยา ซึ่งก็คงมีมุมอื่นๆ อีกที่ผมไม่ทราบ ก็ต้องรออ่านท่านอื่นๆ มาเพิ่มเติมครับ 

บันทึกการเข้า
Hotacunus
องคต
*****
ตอบ: 613


AD FRANCIAM


ความคิดเห็นที่ 36  เมื่อ 07 มี.ค. 08, 19:09


Iconography มิได้เจาะจงอยู่กับประวัติศาสตร์ศิลปะเพียงอย่างเดียวแล้วครับ ทุกวันนี้ ประติมานวิทยา มีบทบาทต่อศาสตร์หลายๆแขนง เช่น สัญณวิทยา (Semiotics) มานุษยวิทยา แม้กระทั่ง การศึกษาภาพยนต์ โดยเฉพาะการค้นหาความหมายทางวัฒนธรรมจากสัญลักษณ์ ซึ่งปรากฏออกมาจากภาษาท่าทาง

อันนี้ ผมโนไอเดียครับ  ยิงฟันยิ้ม เพราะไม่ได้สัมผัสงานประวัติศาสตร์ศิลปะ แต่อย่างไรก็ตาม จากคำอธิบายของคุณ Kurukula ทำให้ผมนึกถึงงานในวงการพิพิธภัณฑ์ขึ้นมาตะหงิด ตะหงิด  ยิงฟันยิ้ม

คือว่า คำว่า พิพิธภัณฑ์ แต่เดิมหมายถึงแต่ สถานที่เก็บโบราณวัตถุ หรือ ศิลปะวัตถุ ที่มีคุณค่าทางการศึกษา

ต่อมา ก็ขยายนิยามออกมาเป็น สถานที่จัดเก็บวัตถุต่างๆ ที่ให้ความรู้ สังเกตได้ว่า เป็นวัตถุอะไรก็ได้

ต่อมา ก็ขยายออกไปอีกว่า ไม่จำเป็นต้องเป็นโกดังเก็บของ เป็นอุทยานประวัติศาสตร์ก็ได้ รวมไปถึงสวนสัตว์ และพิพิธภัณฑ์สัตว์น้ำ (Aquarium) ซึ่งก็เป็นสวนสัตว์ชนิดหนึ่ง

จะเห็นว่า คำว่า "พิพิธภัณฑ์" ปัจจุบัน ครอบคลุม เอามากๆ ถึงกับบางคนจัดให้สวนสัตว์เป็นพิพิธภัณฑ์ไปแล้ว

นั่นเป็นเรื่องวงการพิพิธภัณฑ์ ซึ่งสามารถติดตามข่าวสารได้ที่ ICOM http://icom.museum

"A museum is a non-profit making, permanent institution in the service of society and of its development, and open to the public, which acquires, conserves, researches, communicates and exhibits, for purposes of study, education and enjoyment, material evidence of people and their environment. (...)"
ที่มา http://icom.museum/definition.html

ส่วนเรื่อง Iconography ขอนั่งฟังต่อครับ

บันทึกการเข้า
Hotacunus
องคต
*****
ตอบ: 613


AD FRANCIAM


ความคิดเห็นที่ 37  เมื่อ 07 มี.ค. 08, 19:15

สำหรับผู้ที่ต้องการทราบเกี่ยวกับพัฒนาการของนิยามสำหรับคำว่า "พิพิธภัณฑ์" ครับ

Development of the Museum Definition according to ICOM Statutes (1946-2001):
http://icom.museum/hist_def_eng.html

The Definition of the Museum:
http://icom.museum/definition_museum.html
บันทึกการเข้า
Hotacunus
องคต
*****
ตอบ: 613


AD FRANCIAM


ความคิดเห็นที่ 38  เมื่อ 07 มี.ค. 08, 19:20


"ICON"...โชคดีคำนี้ไม่ต้องหาตัวสะกด แต่เป็นอักษรตัวใหญ่ทั้งหมด เป็นตัวย่อหรือเปล่า... ฮืม ฮืม ฮืม


ICON ไม่ใช่ตัวย่อครับ เป็นคำศัพท์ในภาษาอังกฤษที่มีรากมาจากคำกรีกโบราณครับ

ICON: 1572, "image, figure, representation," from L.L.(ภาษาละตินระยะสุดท้าย) icon, from Gk.(ภาษากรีกโบราณ) eikon "likeness, image, portrait," related to eikenai "be like, look like." Eastern Church sense is attested from 1833. Computing sense first recorded 1982.

ที่มา: Online Etymology Dictionary: http://www.etymonline.com/index.php?term=icon
บันทึกการเข้า
pipat
แขกเรือน
นิลพัท
*******
ตอบ: 1802


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 39  เมื่อ 07 มี.ค. 08, 20:54

คุณโฮฯ เล่าเรื่องมิวเซียม ทำผมนึกถึงการกลายพันธุ์อีกคำหนึ่ง
กุเรเตอร์ ครับ

ปัจจุบันนี้ วงการศิลปะร่วมสมัย ร่วงสมัย หรือล้าสมัย ชอบคำนี้นัก
ทำท่าจะใหญ่กว่าศิลปินซะอีก
เช่นมีน้องที่รู้จักคนหนึ่ง แกเป็นศิลปิน แกไปอยู่เจียงใหม่ สอนหนังสือ
วันดีคืนดี แกกลายเป็นกุเรเตอร์ไปซะแระ เป็นได้งัย
เป็นด้ายยย...ศิลปินบ้านเราเป็นได้ทุกอย่างแหละ
แกเอางานเด็กที่แกสอน เอามาจัดกลุ่ม เลือกแล้วพาเข้ากอทอมอ....มาเปิดนิทรรศการศิลปะ
โดยพะยี่ห้อว่า curated by xxxxx หมายความว่าฉันเป็นคิวเรเคอร์นะ(ยะ) ฉันเป็นคนเลือกศิลปินอีกที
แล้วแกก็อธิบายตบท้าย(ใครก็ไม่รู้) ว่าการสร้างนิทรรศการเป็นการสร้างงานศิลปะเหมือนกัลลล์

ผมก็งงอะดิ
ในแวดวงพิพิธภัณฑ์(รุ่นเก่า) ตำแหน่งกุเรเตอร์ (อันนี้เรียกเพื่อให้เกียรติกุเรเตอร์ทัต คนไทยคนแรกในอาชีพนี้ครับ)
เทียบแปลมาจาก curator เป็นวิชาชีพที่จำเพาะมากๆ นะครับ ไม่ใช่แค่หมุนตัวก็บอกว่าฉันเป็นกุเรเตอร์
หมุนอีกที อ้าวฉันเป็นศิลปิน หมุนอีกทีตกกระไดหงายเก๋ง...ฮ่าๆๆๆๆ

ผมรู้จักกุเรเตอร์อยู่คน (ความจริงพูดให้โก้เอง รู้จักอยู่คนเดียว) เธอเป็นพี่สาวที่แสนดี สอนผมในหลายเรื่อง
เธอเป็นภัณฑารักษ์ประจำพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติพระนคร เรียนจบมาเพื่อจะเป็นกุเรเตอร์แท้จริง
จบซอร์บอน เรียนกับบวสเซลิเย่ร์ และ เลอ บอเนอห์ ใช้สี่ภาษา แต่ที่เป็นโล้เป็นพายก็ฝรั่งเศษ
เธอมีหน้าที่หลักๆ สองประการ คือวิเคราะห์งานที่อยู่ในครอบครองของพิพิธภัณฑ์
เพื่อเขียน แคตะล๊อค
กับคิดเรื่องคิดประเด็น เพื่อจัดแสดง

งานอื่นๆ เช่นเซ็นชื่ออนุมัติของปลอมออกนอกประเทศ หรือชงกาแฟเลี้ยงผม เป็นของแถม
งานทำทะเบียนหรือเขียนแคตตะล๊อคนั้น เป็นขุนเขามหึมาของวิชาชีพนี้
สมัยก่อน เขียนสำเร็จหนึ่งห้อง ก็ได้ดอกเตอร์หนึ่งใบทีเดียว

เอ....แล้วมันต่างกับกุเรเตอร์ศิลปะยังไงละท่าน
ในความเห็นของผม ต่างกันแยะครับ

เพราะผมเชื่ออย่างดักดานมานานแล้วว่า คำว่า MoMa หรือ Museum of Modrn Art น่ะ ตั้งผิด
มิวเซียมไม่ควรเก็บงานสมัยใหม่ แถมโมม่าน่ะโมเม ไม่ได้เก็บงานสมัยใหม่เสียซักกะหน่อย
เก็บงานหลังสมัยใหม่เสียละมากกว่า
(เรื่องความหมายที่บิดเบี้ยวของ modern art มีจังหวะค่อยถกกัน)

คืองานศิลปะสมัยใหม่น่ะ เขาไม่ได้ทำมาสำหรับเก็บในพิพิธภัณฑ์ เหมือนหมาป่าไม่ควรอยู่ในกรง
พิพิธภัณฑ์ ควรเป็นสถานที่ชุมนุมของสิ่งที่ผ่านเลย ไม่ใช่ที่แช่แข็งชีวิตอันมีจลภาวะ

แต่คนนิวหยอกเขาไม่ค่อยคิดอะไรเหมือนผม เขาก้อเลยสร้างคุกคุมขังศิลปะ แล้วเรียกผู้คุมว่า
คิวเรเตอร์
มันก็ยุ่งอะดิท่าน พี่ไทยเราเป็นนักเรียน เอ้ยเลียนแบบ ก็นิวหยอกน่ะเป็นเมืองหลวงของอาณาจักรที่พวกเขาเป็นอาณานิคม
ก็รับมาสิครับ จักนิทรรศการที คนจัดเดินโก้ อวดชาวประชาว่าฉันเป็นคนคิวเหรทงานนะยะ ไม่ใช่ธรรมดา
ผมไม่เห็นจะทำตัวสมกับคำนี้เลย ทะเบียนก็ไม่ทำ คำอธิบายก็ไม่เขียน บทนำก็ซ้ำซาก แถมไม่มีอีก
งานจบก็นับเงินอย่างเดียว
นั่นมันเสมียนครับ ไม่ใช่คิวเรเตอร์

ผมขอแนะนำคิวเรเตอร์ที่ควรเอาอย่างสักคน อานันท กุมารสวามี
นี่ละของน่าเอาอย่าง ....ส่วนพวกกุลี เอ้ยกุเรเตอร์ปลอมๆ ในบางกอก ขอไม่รับประทาน
ทั้งหมดคือวิวัฒนาการของเพี้ยนศาสตร์ทางวัฒนธรรม เป็นอย่างเดียวกับที่เกิดกันประติมานวิทยา ยังไงยังงั้น

อ้อ ผมเลยมึน จะใช้น หนู หรือ ณ เณร ดีละเนี่ยะ
บันทึกการเข้า
Bana
องคต
*****
ตอบ: 439



ความคิดเห็นที่ 40  เมื่อ 07 มี.ค. 08, 23:21

ถ้าอย่างนี้ต้องขอให้ท่านกูรูช่วยอธิบายคำว่า  สัญลักษณ์ (Symbol) กับ สัญลักษณ์นิยม (Symbolism)  แล้วล่ะครับ คงจะประกอบสัญวิทยาได้ดี  ขอบพระคุณมากครับ  ได้ความรู้เยอะเลย........... ยิ้มกว้างๆ
บันทึกการเข้า
ติบอ
นิลพัท
*******
ตอบ: 1906


Smile though your heart is aching.


ความคิดเห็นที่ 41  เมื่อ 08 มี.ค. 08, 03:02

แหะๆ... ถึงคุณพี่Hota อ.pipat และ อ.เทาฯ ครับ


วันก่อนนายติบอแชตกะเพื่อนคนหนึ่ง อยู่แดนออสซี่
ถามไปถามมาได้ข่าวว่าสาวเจ้าแกอายุ 35 ทำงานโคอะล่าแบร์พาร์ค
ถามแล้วก็ถามเลย ไม่ได้ใส่ใจอะไร........


จนกระทั่งเขามาถามนายติบอว่านายติบออยากทำงานอะไร
นายติบอเลยตอบไปว่า curator เป็นงานในฝันของนายติบอ
เพราะนายติบออยากดูแลพิพิธภัณฑ์ซักที่ แล้วก็จัดแสดงสิ่งของที่รวบรวมมา

แกก็ว่าฉานก็คิวเรเตอร์นะ..... พาเอานายติบออึ้ง!!!
อารายว๊า.... ถ้าอยู่สวนสัตว์ คอยควบคุมการดูแลสัตว์ การขอยืมสัตว์ แลกเปลี่ยนสัตว์ระหว่างสวนสัตว์
บอกมาว่าเป็นคิวเรเตอร์นี่.... นายติบออาจจะพอเข้าใจ

แต่อยู่สวนโคอะล่า ที่มีแต่หมีโคอะล่า
แล้วมาบอกว่าเป็นคิ้วเรเทอร์นี่.... งงเต๊กครับ แหะๆ




ปล. แกอ้างตัวแกว่าแกต้องดูแลสัตว์สิบกว่าชนิดในสวน ทั้งนก ทั้งหนู
ต้องคอยทำนิทรรศการปีละสองสามหน เรื่องต้นยูคาลิปส์มั่ง เรื่องพัฒนาการของน้องหมีมั่ง
แล้วก็คอยเลือกหมีมาให้คนที่เข้าชมสวนสัตว์อุ้มเล่น.... แค่นั้นฉานก็เปงคิวเรเทอร์แร๊วโว๊ย.......
ม่ะเหมือนเหมือนตาอินเดีย หน้าโจรเลยอ่ะ แหงะ!!!
บันทึกการเข้า
Hotacunus
องคต
*****
ตอบ: 613


AD FRANCIAM


ความคิดเห็นที่ 42  เมื่อ 08 มี.ค. 08, 05:33

555  ยิ้มกว้างๆ

คุณน้องติบอก็ คุณพี่ออสซี่ท่านนั้น อาจนิยามตาม ICOM ก็ได้นะครับ อิอิ  ยิงฟันยิ้ม

ถ้า Curator คือผู้ที่ดูแล Museum
และ Zoo เป็น Museum ประเภทหนึ่ง
ดังนั้น ผู้ที่ดูแล Zoo ก็คือ Curator อิอิ  เจ๋ง

เอาเถอะ ผมเองก็งงเหมือนกัน ใจหนึ่งก็ยังทำใจไม่ได้ แต่อีกใจหนึ่ง เหตุผลของ ICOM มันก็พอฟังได้ สรุปว่า เอ้า จะว่าไงก็ว่าตามกัน เรามันคนส่วนน้อย  ร้องไห้




บันทึกการเข้า
กุ้งแห้งเยอรมัน
แขกเรือน
สุครีพ
******
ตอบ: 1573



ความคิดเห็นที่ 43  เมื่อ 08 มี.ค. 08, 06:40


เพราะผมเชื่ออย่างดักดานมานานแล้วว่า คำว่า MoMa หรือ Museum of Modrn Art น่ะ ตั้งผิด
มิวเซียมไม่ควรเก็บงานสมัยใหม่ แถมโมม่าน่ะโมเม ไม่ได้เก็บงานสมัยใหม่เสียซักกะหน่อย
เก็บงานหลังสมัยใหม่เสียละมากกว่า
(เรื่องความหมายที่บิดเบี้ยวของ modern art มีจังหวะค่อยถกกัน)

คืองานศิลปะสมัยใหม่น่ะ เขาไม่ได้ทำมาสำหรับเก็บในพิพิธภัณฑ์ เหมือนหมาป่าไม่ควรอยู่ในกรง
พิพิธภัณฑ์ ควรเป็นสถานที่ชุมนุมของสิ่งที่ผ่านเลย ไม่ใช่ที่แช่แข็งชีวิตอันมีจลภาวะ

คุณpipatกรุณาขยายความคิดหน่อย ว่าทำไมมิวเซียม มีศิลปะสมัยใหม่ไม่ได้
บันทึกการเข้า
pipat
แขกเรือน
นิลพัท
*******
ตอบ: 1802


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 44  เมื่อ 09 มี.ค. 08, 12:08

ติดค้างคำถามของคุณกุ้งแห้ง ได้เวลาตอบแล้ว เป็นความเห็นส่วนตัวนะครับ

ผมเห็นว่า museum ควรเป็นสถานสาธารณะ ก็ในเมื่อมันเป็นองค์กรสนับสนุนทางวัฒนธรรม มันมิควรค้ากำไรครับ
เพราะวัฒนธรรมหมายถึงมรดก(....ด้วย) แต่เป็นมรดกอดีตทุกคนเป็นเจ้าของร่วมกัน
การแสวงหาผลกำไรจากการทำ museum จึงเป็นบาป สำหรับผม
ผมยังเห็นต่อไปด้วยซ้ำว่า  museum เป็นโครงสร้างพื้นฐานของสังคม ที่ต้องมี
เหมือนไฟฟ้า โทรศัพท์ ปะปา โรงเรียน วัด หรือสุสาน...พวกนี้ มิพึงทำมาหารับประทาน
ถ้าผมเป็นนายก ผมก็จะทำให้ของพวกนี้ ราคาต่ำที่สุด....เย้ และมีมากที่สุดด้วยแหละ

ปัจจุบัน เราแปลคำว่า museum เป็นพิพิธภัณฑ์ เราจะใช้ตามความหมายนี้ไปก่อนนะครับ
ทีนี้คุณสมบัติอีกข้อหนึ่งของพิพิธภัณฑ์ก็คือ มันเป็นสุสาน มันเก็บของที่ตายแล้ว
จะทำให้มีชีวิตยังไง มันก็เป็นชีวิตที่ตายแล้ว
การที่เราเอาของที่ตายแล้วมาทำให้มีชีวิต ก็เพื่อเหตุผลเดียว คือเพื่อส่องอดีต
อย่างที่คุณธนิต อยู่โพธิ์ท่านเรียกว่า  อตีสังคตญาณ
(อาจจะจำมาผิด หนังสือก็ไม่ได้อยู่กับตัว ผู้รู้ ช่วยหน่อยนะครับ)

ผมชอบคำเรียกอยู่คำหนึ่ง ศาลาเครื่องราชย์....ที่จัดแสดงอยู่หลังวัดพระแก้วน่ะ
(พูดอย่างนี้ ต้องอธิบายอีก ว่าทุกวันนี้เราเข้าวัดทางท้าย ไม่ยักเข้าทางประธาน ที่มีศาลาเปลื้องเครื่องอยู่งัยครับ)
ชอบเพราะเขาตั้งแสดงสิ่งของคล้ายพิพิธภัณฑ์ แต่ของที่แสดง ยังไม่ตาย เขาใช้คำว่าศาลา จึงดูเท่มาก
คำว่าศาลานี้ ยังใช้ในอีกหลายที่นะครับ คำดีๆ ทั้งนั้น
ที่บ่นอย่างนี้ เพราะเห็นว่าเรารวย ฝรั่งมันกันดารคำกว่าเรา จึงใช้คำว่า MUSEUM ครอบจักรวาล
ผมจะเล่นตาหลกให้ดู

ผมมีร้านอยู่ในโบ๊เบ๊ ผมเก็บสินค้าไว้มากมาย บางอย่างก็เพราะขายไม่ออก
บางอย่างก็เพราะเหลือ บ้างก็เพราะเป็นตัวอย่าง บ้างก็เพราะชอบ เอาว่าแยะละกัน
ผมทำทะเบียน จดบัญชีไว้ทุกตัว ร้านผมมีที่ทางกว้างขวาง ผมก็เอาชุดพวกนี้แสดงไว้อะดิ
ใส่ตู้บ้าง แขวนบ้าง เอาไฟส่องสวยๆ ใครมาเห็นก็ชื่นชม
ลูกค้าจะมาทั้งขอซื้อ ทั้งขอลอก บ้างก็เช่าไปใช้ ผมก็ตามไปจัดงานให้เขาอีก ทำเอกสารแจกอย่างดี
ทั้งหมดนี่ผมเป็นกุเรเตอร์หรือยังครับ คุณติบอ



ผมขายชุดชั้นในอะครับ

ย้อนมาที่คำว่าพิพิธภัณฑ์ ที่ไม่ใช่ museum
คนไม่น้อยย่อมทราบว่า คำนี้ใครตั้ง แต่ทราบต่อหรือไม่ว่าตั้งเพื่ออะไร
จริงอยู่พระจอมเกล้า ทรงตั้งเพื่อรองรับคำว่า museum แต่ภาระกิจของพิพิธภัณฑ์ของพระองค์ ไม่เหมือน museum ครับ
ทรงเก็บของที่ "มีชีวิต" คือบันดาเครื่องราชบรรณาการทั้งมวลที่นานาประเทศถวายเข้ามา
ทรงเห็นว่า สมควรมีที่ตั้งแสดง ให้เขารู้ว่าทรงรู้ว่าของพวกนี้เป็นอะไร เราไม่โง่ขนาดเอาที่ดินแลกลูกปัดดอกนะ
พี่คอ...คอเคซอย

แล้วทำไมศิลปะสมัยใหม่ จึงไม่ควรไปอยู่ใน museum
เรื่องนี้ เป็นบาปของคุณนายทั้งสี่ฮ่า.....

กาลครั้งหนึ่ง นิวหยอกยังเถื่อนนัก ขนาดสตีกลิตส์ ยอดช่างภาพ Alfred Stieglitz (1864–1946) มาเปิดกิจการที่เลขที่ 291 ถนนสายที่ 5
ทั้งๆ ที่เป็นคนดัง เป็นที่นับหน้าถือตา แกก็ยังร่ำๆ จะถอดใจ กลับไปเล่นศิลปะที่ยุโรป เพราะนิวหยอกเกี้ยน มะรู้เรื่องศินลาปะฮ่า
กริ๊ก กริ๊ก
หลังจากนั้นมาอีกร่วม 30 ปี สี่สาวไฮโซ ก็มาคบคิดกันเรื่องเปิดโมม่า
(ในวิกี้เขาให้ไว้ สามสาว แต่หนังสือประวัติโมมา มีสี่ครับ พร้อมรูปด้วยแหละ)
http://en.wikipedia.org/wiki/Museum_of_Modern_Art
การมีชื่อว่าเป็นพิพิธภัณฑ์ศิลปะสมัยใหม่ ทำให้กลายเป็นเรื่องตลกต่อมาในทุกวันนี้
ในปีที่เปิด คำว่า modern art เป็นคำเฉพาะครับ เฉพาะเหมือนหน้าตาของตึกที่พวกเขาไปตั้งอยู่นั่นแหละ
modern art หมายถึงศิลปะตั้งแต่หลังเซซานมาจนถึงแอปสะแตรค....เท่านั้น จากนั้นเขาเรียกหลังสมัยใหม่ หรืออื่นๆ
เอางี้ละกัน ตึกที่โมม่าสร้างเอง หลังรุ่งเรือง เป็นฝีมือออกแบบของฟิลิปส์ จอห์นสั้น
คนนี้เขาเป็นวิเศษนิยม เอ้ยมะช่าย เขาเป็นสมัยใหม่นิยม ออกแบบอะไรใช้แค่สองเส้น คือตั้งและนอน นานๆ จึงโค้งซะที

ตึกที่เป็นเครื่องหมายการค้าของคตินี้ ก็ตึกสหประชาชาติงัย ทื่อมะลื่อซะไม่มี
เป็นแท่งซื่อบื้อ ตั้งทิ่มท้องฟ้า ดูๆ ไปเหมือนคนสิ้นคิด บังแดดบังลมชาวบ้าน บังเมฆด้วยแหละ
ปิดทึบทั้งตึก กินไฟน่าดู ไฟไหม้ทีจะทำงัย แดดสะท้อนใส่ตาชาวบ้าน ข้าไม่สน
คือว่าไปแล้ว คติศิลปะสมัยใหม่นี่อะนะ คืออภิสิทธิ์ชนของแท้เลยแหละ
เธอจะชอบชั้น เธอต้องปีนกระไดมาหา ชั้นไม่โน้มตัวลงไปหากระดุมพีดอก ชั้นไฮโซฮ่า.....
เจ้าวาร์ฮอล (Andrew Warhola 1928–1987) ถึงได้ทำรูปกระป๋องซูป ตบหน้าไฮโซงัย

ตาหลกก็คือ โมม่า ซื้องานที่ดูถูกตัวเองเข้าในคลังสะสมแฮะ
(เหนื่อย ขอพักก่อนครับ)
บันทึกการเข้า
หน้า: 1 2 [3] 4 5 6
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.054 วินาที กับ 19 คำสั่ง