ดีครับ คุณน้องติบอ (ไม่ได้เจอกันนาน

)
บางท่านอาจสงสัยว่าทำไมไม่เขียนว่า "ปฏิมานวิทยา" หรือ "ปฏิมาวิทยา" นั่นก็เพราะว่า "ประติมา" นี้ เขียนตามภาษาสันสกฤตครับ ส่วนวิทยา ก็สันสกฤตเช่นกัน ถ้าจะเขียนรูปบาลี คงต้องเป็น ปฏิมาวิชา ....
สันสกฤต: ปฺรติมา
บาลี: ปฏิมา
"ประติมากรรม" ก็เขียนด้วยรูปคำสันสกฤตเช่นเดียวกัน (บาลี: ปฏิมากัมม์) ส่วน "ปฏิมา" นั้น ในภาษาไทยเราจะใช้หมายถึงพระพุทธรูปโดยเฉพาะครับ
ปฏิมา, ปฏิมากร น. รูปเปรียบหรือรูปแทนองค์พระพุทธเจ้า คือ พระพุทธรูป, เรียก
ย่อมาจาก พุทธปฏิมา หรือ พุทธปฏิมากร. (ป. ปฏิมา).ที่มา:
http://rirs3.royin.go.th/dictionary.aspप्रतिमान prati-mān (ปฺรติมาน) = Counterpart, match; model, pattern; image, picture
विद्या vidyā (วิทฺยา), vulg. bidyā (พิทฺยา), s.f. Knowledge, learning, scholarship; science, philosophy
ที่มา:
http://dsal.uchicago.edu/dictionaries/platts/ Platts, John T. (John Thompson). A dictionary of Urdu, classical Hindi, and English. London: W. H. Allen & Co., 1884.ดังนั้น ประติมานวิทยา ก็น่าจะตรงกับคำนี้ ถ้าเขียนด้วยตัวเทวนาครีครับ
प्रतिमानविद्या (ปฺรติมาวิทฺยา)
แต่อย่างไรก็ตาม เท่าที่ผมไปค้นดูจาก google ไม่พบว่ามีคำนี้ ใช้ในภาษาฮินดีครับ คำว่า "ประติมานวิทยา" คงมีใช้แต่ในภาษาไทยเท่านั้น (ไม่รู้เหมือนกันว่า ลาว และ เขมรจะถอดคำว่า iconography ว่าอย่างไร

)
ค้นดูคร่าวๆ รู้สึกว่าทางภาษาฮินดีจะใช้คำว่า pratimān-vigyān (ปฺรติมานฺวิคฺยานฺ)
คำว่า วิคฺยาน นี้ ใน PLATTS (1884) อธิบายไว้ว่า "สันสกฤต: विज्ञान vi-jṅān (วิ-ชฺงานฺ), vulg.(ปรากิต) vi-gyān (วิ-คฺยานฺ), s.m. Distinguishing, perceiving, recognizing, discerning, understanding; distinction, perception, discernment, intelligence, knowledge, comprehension; science, learning.
คำว่า "วิชฺงาน" นี้ ตรงกับคำบาลีว่า "ญาณ" ในพจนานุกรมฉบับราชบัญฑิตยสถาน (๒๕๔๒) อธิบายว่า
"ญาณ [ยาน, ยานะ-, ยานนะ-] น. ปรีชาหยั่งรู้หรือกําหนดรู้ที่เกิดจาก อํานาจสมาธิ, ความสามารถหยั่งรู้เป็นพิเศษ"ก็ค้นมาเล่าสู่กันฟังครับ อิอิ

ส่วนวิชานี้ศึกษาเกี่ยวกับอะไร ผมขอรออ่านดีกว่า
