เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: [1]
  พิมพ์  
อ่าน: 22105 หลักกฎหมายของพระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550
Bookmark
อสุรผัด
*
ตอบ: 14


 เมื่อ 02 มี.ค. 08, 16:51

เนื่องจากในกระทู้ "กฎหมายเรื่องจำเลยวิกลจริต"  คุณหมูอ้วนได้ post เข้ามาอธิบายหลักกฎหมายของพระราชบัญญัติฉบับนี้ไว้ว่า

"พรบ. คอมพิวเตอร์ ฉบับใหม่นี้ มุ่งเน้นในการระบุตัวผู้รับผิดชอบและร่วมรับผิดชอบในการกระทำความผิดให้ชัดเจนและรัดกุมยิ่งขึ้น"

(รายละเอียดกรุณาตามอ่านได้ที่กระทู้ดังกล่าวค่ะ)

Bookmark จึงขออธิบายต่อยอดจากคุณหมูอ้วนนะคะ ซึ่งถ้าขาดเหลือเพิ่มเติมยังไง รบกวนคุณหมูอ้วนช่วยอธิบายเสริมด้วยค่ะ

พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550 มีสาระสำคัญแบ่งได้เป็น 2 ส่วนใหญ่ๆ คือ
1. กำหนดความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์
2. กำหนดตัวพนักงานหน้าที่ผู้มีอำนาจปฏิบัติการตามพระราชบัญญัตินี้

ส่วนที่สำคัญก็คือเรื่องความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์นี่แหล่ะค่ะ  Bookmark จะขออธิบายเฉพาะในส่วนนี้เท่านั้น เพราะเป็นเรื่องที่เกี่ยวพันกับชีวิตประจำวันของเราๆ ท่านๆ กันเสียเป็นส่วนใหญ่

กฎหมายฉบับนี้ได้กำหนดลักษณะของการกระทำว่า การกระทำใดบ้างที่เป็นความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์อันจะต้องรับโทษตามพระราชบัญญัตินี้ ซึ่งมีดังนี้นะคะ

1. การเข้าถึงระบบคอมพิวเตอร์หรือข้อมูลคอมพิวเตอร์ที่มีมาตรการป้องกันการเข้าถึงโดยเฉพาะโดยมาตรการป้องกันดังกล่าวนั้นมิได้มีไว้สำหรับผู้เข้าถึง
อันนี้ก็คือพวก Hacker ที่พยายามหาวิธีการหรือหาช่องโหว่ของระบบคอมพิวเตอร์ เพื่อแอบลักลอบเข้าสู่ระบบ/ล้วงความลับ/แอบดูข้อมูลข่าวสาร โดยในบางครั้งมีการทำลายข้อมูลข่าวสารหรือทำความเสียหายให้กับองค์กรเจ้าของระบบคอมพิวเตอร์นี่แหล่ะค่ะ 
(เครดิต http://web.ku.ac.th/schoolnet/snet1/network/hager.htm)

บทบัญญัติที่ใช้ลงโทษพวก Hacker นี่ก็จะมีมาตรา 5 ที่กำหนดว่าการแฮกเข้าไปในระบบคอมพิวเตอร์ที่มีมาตรการป้องกันมิให้คนภายนอกเข้าถึงได้เป็นความผิด และมาตรา 7 ที่กำหนดว่าการแฮกเข้าไปถึงข้อมูลคอมพิวเตอร์ที่มีมาตรการการป้องกันมิให้คนภายนอกเข้าถึงได้ เป็นความผิดค่ะ 

2. การใช้วิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ดักข้อมูลคอมพิวเตอร์ของผู้อื่นที่อยู่ในระหว่างการส่งระบบคอมพิวเตอร์ โดยข้อมูลดังกล่าวไม่เกี่ยวข้องกับประโยชน์สาธารณะหรือเป็นข้อมูลให้บุคคลทั่วไปใช้ประโยชน์ตามมาตรา 8 (ภาษากฎหมายค่ะ อ่านแล้วอาจจะทำให้งงๆ อยู่บ้าง)

สรุปก็คือ ไปดักข้อมูลทางคอมพิวเตอร์ในเรื่องที่ไม่เกี่ยวกับสาธารณะประโยชน์ หรือเป็นข้อมูลสาธารณะนั่นแหล่ะค่ะ

3. การทำลายข้อมูลคอมพิวเตอร์ของผู้อื่นให้เสียหาย แก้ไข เปลี่ยนแปลง หรือเพิ่มเติมข้อมูลคอมพิวเตอร์ของผู้อื่นโดยมิชอบ (มาตรา 9)
ตัวอย่างที่ยกขึ้นเพื่อใช้อธิบายการกระทำความผิดในลักษณะนี้ เชื่อว่าเพื่อนๆ สมาชิกเวบเรือนไทยคงรู้เห็นด้วยตาตัวเองมาพอควรแล้วนะคะว่าเป็นยังไง ลังเล Bookmark ก็ได้อธิบายไว้ในกระทู้ที่แล้วด้วย  ดังนั้น จะไม่อธิบายเพิ่มเติมเน้อ ยิงฟันยิ้ม (เพราะไม่ใช่ลักษณะการกระทำความผิดที่ท่านอาจารย์ได้ประสบกับตนเอง)

4. การทำให้การทำงานของระบบคอมพิวเตอร์ของผู้อื่นถูกระงับ ชะลอ ขัดขวาง หรือรบกวนจนไม่สามารถทำงานได้ตามปกติ (มาตรา10)

5. การส่งข้อมูลคอมพิวเตอร์หรือ Email ให้กับคนอื่นโดยปกปิด/ปลอมแปลงแหล่งที่มาของการส่งข้อมูลดังกล่าว ซึ่งเป็นการรบกวนการใช้ระบบคอมพิวเตอร์ของผู้อื่นตามปกติ (มาตรา 11)

6. การนำข้อมูลคอมพิวเตอร์ปลอมเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ (มาตรา 14)

7. การนำข้อมูลคอมพิวเตอร์ที่เป็นภาพของผู้อื่น ซึ่งเป็นภาพที่เกิดจากการสร้าง ตัดต่อ เติม/ดัดแปลง
และภาพนั้นอาจทำให้คนในภาพเสียชื่อเสียง ถูกดูหมิ่น หรือถูกเกลียดชัง (มาตรา 16)
อันนี้ก็พวก "คลิป" เด็ดๆ ทั้งหลายที่แพร่กันอยู่ทั่วไปนั่นแหล่ะค่ะ  ดังนั้น เวลาที่ได้รับ Forward mail อะไรที่แนบ "คลิปเด็ด" พวกนี้มาด้วย Bookmark แนะนำว่าอย่าส่งต่อเลย delete ทิ้งจะปลอดภัยที่สุด เพราะแค่ปลายนิ้วคุณคลิ๊กไปครั้งเดียว คุณก็ได้ทำความผิดตามมาตรานี้โดยสมบูรณ์แล้วนะคะ

ใช่ค่ะ Bookmark ขอย้ำอีกครั้งว่า พระราชบัญญัติฉบับนี้ไม่สามารถนำมาใช้พิจารณากับคดีของอาจารย์ท่านได้ เป็นดังที่คุณหมูอ้วนท้วงติงไว้
แต่ Bookmark คิดว่า เป็นเรื่องที่อยู่ใกล้ตัวเรา ดังนั้น รู้ไว้ไม่เสียหายค่ะ อายจัง

สำหรับคนที่สนใจอยากอ่านกฎหมายฉบับนี้ทั้งฉบับ  Bookmark ขอแนะนำให้ไปสืบค้นได้ที่เวบไซต์ราชกิจจานุเบกษาตาม link ข้างล่างนี้ค่ะ

www.ratchakitcha.soc.go.th
บันทึกการเข้า
pakun2k1d
พาลี
****
ตอบ: 285


ความคิดเห็นที่ 1  เมื่อ 02 มี.ค. 08, 21:01

คุณBookmarkค่ะ  รบกวนถามเพื่อความเข้าใจที่ชัดเจน และมั่นใจนิดนะคะว่า  อย่างกรณีเราไปนำรูป หรือข้อความจากwebอื่นมาอ้างอิง เป็นสื่อในการแลกเปลี่ยนความเห็นกัน อย่างที่เราใช้กันอยู่ในกระทู้  โดยไม่ได้มีวัตถุประสงค์ทางการค้า และหารายได้  เป็นไปเพื่อความรู้ หรือความบันเทิงเฉพาะกลุ่ม อย่างนี้จะมีความผิดไหมค่ะ
บันทึกการเข้า
Bookmark
อสุรผัด
*
ตอบ: 14


ความคิดเห็นที่ 2  เมื่อ 03 มี.ค. 08, 10:39


คัดลอกมาตรา 9 มาให้อ่านกันนะคะ

"มาตรา 9  ผู้ใดทำให้เสียหาย ทำลาย แก้ไข เปลี่ยนแปลง หรือเพิ่มเติมไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วน ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ของผู้อื่นโดยมิชอบ  ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินห้าปี หรือปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ"

Bookmark เน้นข้อความ "โดยมิชอบ" ไว้นะคะ เพื่ออธิบายว่าการกระทำความผิดตามมาตรา 9 ข้างต้นนี้ ต้องเป็นการกระทำโดยมีเจตนาที่ไม่ชอบเป็นสำคัญค่ะ จึงจะเป็นความผิด
 
ดังนั้น การ code ข้อความหรือ copy รูปภาพจากเวบอื่นมาอ้างอิงเพื่อใช้เป็นสื่อในการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกันโดยสุจริตแล้ว ไม่เป็นความผิดค่ะ 

แต่ถ้าจะให้ดีและถูกต้องตามมารยาท ก็ควรให้เครดิตแก่เจ้าของข้อความ/ภาพที่เรา code หรือ copy มาด้วยนะคะ หรือไม่ก็อ้างอิง link ที่มาของข้อความ/ภาพด้วยจะดีที่สุดค่ะ  ไม่ใช่ไปตู่เอาภาพของคนอื่นที่เราไม่รู้จักมาแล้วมาเขียนบรรยายเรื่องราวใต้ภาพซะจนเจ้าของภาพตัวจริงยังงง???ว่า "ตกลงเกิดเรื่องนี้ขึ้นกับเราด้วยหรือหว่าเนี่ย ทำไมเราไม่รู้เรื่องเลย"  อันนี้ก็ no comment นะคะ ยิงฟันยิ้ม
บันทึกการเข้า
ธิดา
อสุรผัด
*
ตอบ: 11


ความคิดเห็นที่ 3  เมื่อ 03 มี.ค. 08, 11:20

การคัดลอกข้อมูลหรือรูปภาพจากเว็บอื่นมาใช้โดยไม่ได้ขออนุญาต ต้องพิจารณาด้วย พรบ.คุ้มครองลิขสิทธิ์ ไม่ใช่ พรบ.ว่าด้วยการกระทำความผิดทางคอมพิวเตอร์ ค่ะ

ตาม พรบ. ลิขสิทธิ์ การคัดลอก ทำสำเนา และเผยแพร่ โดยไม่ได้รับอนุญาตจากเจ้าของลิขสิทธิ์ ถือเป็นความผิดทั้งสิ้น แต่มีข้อยกเว้นอยู่เจ็ดแปดกรณี ไว้มีเวลาจะหาฉบับเต็มๆ มาให้ดู

ข้อยกเว้นที่ว่า ก็อย่างเช่น ทำเพื่อประโยชน์เฉพาะตนและไม่ได้เป็นการค้า (เช่นเซฟเก็บเอาไว้อ่านเอง ดูเอง) ทำเพื่อประโยชน์ทางการศึกษา (เช่นยกมาเพื่อประกอบการเรียนการสอน) ฯลฯ โดยมีหมายเหตุว่า ไม่ว่าจะเป็นเหตุยกเว้นอย่างไรก็ตาม "ต้องไม่กระทบหรือทำให้เกิดความเสียหายต่อความเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์" ค่ะ นั่นคือต้องระบุชื่อเจ้าของลิขสิทธิ์และที่มาให้ชัดเจน
บันทึกการเข้า
Bookmark
อสุรผัด
*
ตอบ: 14


ความคิดเห็นที่ 4  เมื่อ 03 มี.ค. 08, 11:46

การคัดลอกข้อมูลหรือรูปภาพจากเว็บอื่นมาใช้โดยไม่ได้ขออนุญาต ต้องพิจารณาด้วย พรบ.คุ้มครองลิขสิทธิ์ ไม่ใช่ พรบ.ว่าด้วยการกระทำความผิดทางคอมพิวเตอร์ ค่ะ

ตาม พรบ. ลิขสิทธิ์ การคัดลอก ทำสำเนา และเผยแพร่ โดยไม่ได้รับอนุญาตจากเจ้าของลิขสิทธิ์ ถือเป็นความผิดทั้งสิ้น แต่มีข้อยกเว้นอยู่เจ็ดแปดกรณี ไว้มีเวลาจะหาฉบับเต็มๆ มาให้ดู

ข้อยกเว้นที่ว่า ก็อย่างเช่น ทำเพื่อประโยชน์เฉพาะตนและไม่ได้เป็นการค้า (เช่นเซฟเก็บเอาไว้อ่านเอง ดูเอง) ทำเพื่อประโยชน์ทางการศึกษา (เช่นยกมาเพื่อประกอบการเรียนการสอน) ฯลฯ โดยมีหมายเหตุว่า ไม่ว่าจะเป็นเหตุยกเว้นอย่างไรก็ตาม "ต้องไม่กระทบหรือทำให้เกิดความเสียหายต่อความเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์" ค่ะ นั่นคือต้องระบุชื่อเจ้าของลิขสิทธิ์และที่มาให้ชัดเจน

จำได้ว่า ถ้ามีวัตถุประสงค์ในทางการศึกษาที่มิใช่เพื่อการแสวงหากำไรแล้ว ได้รับการยกเว้นค่ะ แต่จำไม่ได้แน่นอนว่ามาตราอะไร
บันทึกการเข้า
AntiSpam
อสุรผัด
*
ตอบ: 3



ความคิดเห็นที่ 5  เมื่อ 03 มี.ค. 08, 14:00

คคห. ที่สองของคุณ Bookmark น่าจะขาดประเด็นสำคัญไป คือเรื่องการบ่งชี้ให้รับรู้ถึงเจ้าของลิขสิทธิ์

กรณีการเอารูปแต่งงานของผู้อื่นโดยที่เจ้าของภาพมิได้ยินยอม ทั้งโดยวาจาและลายลักษณ์อักษรนั้น เข้าข่ายความผิดเรื่องกฎหมายลิขสิทธิ์ตามที่คุณธิดาว่ามานั้น ถูกต้องแล้ว

กฎหมายก็เกิดจากสามัญสำนึกง่ายๆ หากการยกข้อความหรือเนื้อหาบางส่วนของสิ่งตีพิมพ์อื่นมาใช้เพื่อการวิพากษ์วิจารณ์เพื่อประโยชน์แก่สาธารณะและเพื่อการศึกษานั่นย่อมสามารถกระทำได้ ประเด็นสำคัญที่สุดในการพิจารณาว่า ละเมิดหรือมิได้ละเมิดลิขสิทธิ์นั้นอยู่ที่ เป็นไปเพื่อการแสวงหากำไรหรือไม่ และมีการบ่งชี้ให้ผู้รับสารรับรู้ถึงผู้เป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ที่แท้จริงหรือไม่

ทั้งหมดที่กล่าวมานั้น มีการระบุไว้ชัดเจนใน "ข้อยกเว้นการละเมิดลิขสิทธิ์"
ยกตัวอย่างง่ายๆ

กรณีที่ 1
น. ได้คัดลอกข้อความจากเว็บไซต์และหนังสือไปใส่ไว้ในเว็บของตนเอง โดยทำเสมือนว่าตนเองเป็นผู้เขียนโดยปราศจากการอ้างอิง เมื่อดูบริบทแวดล้อม เชื่อได้ว่า น. พยายามบอกให้สาธารณชนเข้าใจว่าตนคือผู้ประพันธ์งานเขียนชิ้นนั้น กรณีนี้ ถึงแม้จะไม่ได้เป็นไปเพื่อแสวงหาผลกำไร แต่ น. ได้กระทำการเข้าข่ายความผิดตามกฎหมายลิขสิทธิ์

กรณีที่ 2
ม. ได้นำข้อความจากเว็บไซต์บางแห่งมาใช้ประกอบการวิพากษ์วิจารณ์และงานเขียนของตน โดยมีการแสดงไว้ชัดเจนว่า ข้อความนั้น ม. มิได้เป็นผู้ประพันธ์ขึ้น ผู้อ่านก็รับรู้โดยทั่วกันว่า ข้อความเดิมนั้น ม. มิได้เป็นผู้ประพันธ์ขึ้น การกระทำของ ม. จึงเข้าข่ายข้อยกเว้นตามกฎหมายลิขสิทธิ์


ถึงแม้จะมีหรือไม่มีกฎหมายใหม่ กฎหมายว่าด้วยสิ่งตีพิมพ์และการโฆษณาก็ยังครอบคลุมอยู่ดี ไม่เกี่ยวกับเรื่องกฎหมายใหม่หรือกฎหมายเก่าเลย โดยเฉพาะอย่างยิ่ง จากคำถามที่คุณ pakun2k1d ถามนั้น ไม่จำเป็นต้องไปอ้างถึง พ.ร.บ. ความผิดคอมพิวเตอร์ ปี พ.ศ. 2550 เลยแม้แต่น้อย
บันทึกการเข้า
AntiSpam
อสุรผัด
*
ตอบ: 3



ความคิดเห็นที่ 6  เมื่อ 03 มี.ค. 08, 14:01

ส่วนคำว่า "โดยมิชอบ" ที่คุณ Bookmark ตีความเกินกฎหมายไปว่า โดยสุจริตนั้น ดิฉันไม่เห็นด้วย
คำว่าโดยสุจริตนั้นคงต้องตีความอีกยาวว่า แล้วแบบไหนคือสุจริต

จริงๆ จะสุจริตหรือไม่สุจริตก็ทำไม่ได้นะคะ คุณ Bookmark ข้อนี้ คนที่ต้องอาศัยกฎหมายคอมพิวเตอร์ฉบับนี้คงตระหนักแก่ใจดี

ที่สำคัญ กฎหมายข้อนี้ไม่ได้ออกมาซ้ำซ้อนกับกฎหมายลิขสิทธิ์ แต่เป็นการปกป้องคุ้มครองการใช้คอมพิวเตอร์ในสถานการณ์จำเพาะต่างหาก ซึ่งเป็นส่วนที่กฎหมายเดิมมิได้คุ้มครองไว้โดยชัดเจนมากกว่านะคะ

บันทึกการเข้า
CrazyHOrse
แขกเรือน
นิลพัท
*******
ตอบ: 1899



เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 7  เมื่อ 03 มี.ค. 08, 14:49

เจตนารมณ์ของมาตรา ๙ คือ เอาผิดคนที่แฮ็คข้อมูลของผู้อื่น เช่นการแฮ็คเข้าไปแล้วเปลี่ยนแปลงหน้าเว็บเพจ หรือลบข้อมูลในเว็บไซต์(หรือเซิร์ฟเวอร์)

ถ้ากฎหมายลิขสิทธิ์คือการคุ้มครอง "สาร" พรบ.ความผิดทางคอมพิวเตอร์ก็คือการคุ้มครองการใช้ "สื่อ" ใหม่ที่กฎหมายเก่าไม่ครอบคลุมครับ

แต่ก็น่าคิดนะ ว่าเมื่อผู้ใช้กฎหมาย (ที่ไม่ได้เป็นผู้ออกกฎหมาย) จะเป็นผู้ตีความ จะมีอะไรที่ผิดเพี้ยนไปจากเจตนารมณ์เดิมหรือไม่ เพราะความก็กำกวมอยู่พอควร คนที่ไม่คุ้นเคยกับระบบคอมพิวเตอร์อ่านแล้วอาจไม่เข้าใจว่าต้องการสื่อถึงอะไรและตีความผิดไปจากเจตนารมณ์ของผู้ออกกฎหมายได้ครับ

ดังนั้นท่าจะว่ากันตามเจตนารมณ์ของผู้ออกกฎหมาย กรณี copy รูปจากเว็บไซต์อื่นก็จะต้องพิจารณาด้วยกฎหมายลิขสิทธิ์ ยกเว้นเสียแต่ว่ากระบวนการได้มาซึ่งรูปภาพนั้นคือการแฮ็ค ซึ่งก็จะมีความผิดในชั้นการแฮ็ค เป็นคนละเรื่องกับการละเมิดลิขสิทธิ์ครับ
บันทึกการเข้า

"Postel's Law": "be conservative in what you do, be liberal in what you accept from others"
Bookmark
อสุรผัด
*
ตอบ: 14


ความคิดเห็นที่ 8  เมื่อ 03 มี.ค. 08, 15:09

เจตนารมณ์ของมาตรา ๙ คือ เอาผิดคนที่แฮ็คข้อมูลของผู้อื่น เช่นการแฮ็คเข้าไปแล้วเปลี่ยนแปลงหน้าเว็บเพจ หรือลบข้อมูลในเว็บไซต์(หรือเซิร์ฟเวอร์)

ถ้ากฎหมายลิขสิทธิ์คือการคุ้มครอง "สาร" พรบ.ความผิดทางคอมพิวเตอร์ก็คือการคุ้มครองการใช้ "สื่อ" ใหม่ที่กฎหมายเก่าไม่ครอบคลุมครับ

แต่ก็น่าคิดนะ ว่าเมื่อผู้ใช้กฎหมาย (ที่ไม่ได้เป็นผู้ออกกฎหมาย) จะเป็นผู้ตีความ จะมีอะไรที่ผิดเพี้ยนไปจากเจตนารมณ์เดิมหรือไม่ เพราะความก็กำกวมอยู่พอควร คนที่ไม่คุ้นเคยกับระบบคอมพิวเตอร์อ่านแล้วอาจไม่เข้าใจว่าต้องการสื่อถึงอะไรและตีความผิดไปจากเจตนารมณ์ของผู้ออกกฎหมายได้ครับ

ดังนั้นท่าจะว่ากันตามเจตนารมณ์ของผู้ออกกฎหมาย กรณี copy รูปจากเว็บไซต์อื่นก็จะต้องพิจารณาด้วยกฎหมายลิขสิทธิ์ ยกเว้นเสียแต่ว่ากระบวนการได้มาซึ่งรูปภาพนั้นคือการแฮ็ค ซึ่งก็จะมีความผิดในชั้นการแฮ็ค เป็นคนละเรื่องกับการละเมิดลิขสิทธิ์ครับ

ใช่ค่ะ น่าคิดจริงๆ เพราะ Bookmark อ่านตัวบทมาตรา 9 แล้วก็จับมาวิเคราะห์กับ case โด่งดังที่รู้ๆ กันแล้ว คิดว่าน่าจะนำมาปรับใช้ได้นะ เพราะการ copy รูปภาพมา post แปะไว้ในเวบของตัวเอง  จริงอยู่ว่าคนที่ copy เค้าไม่ได้ดัดแปลงรูปภาพอะไรให้เปลี่ยนแปลงไปจากเดิมเลย แต่เค้าได้ post คำบรรยายใต้ภาพประกอบด้วยนะคะ แล้วไอ้ข้อความที่บรรยายเนี่ย มันทำให้คนอื่นที่อ่านเวบของคน copy เค้าเข้าใจได้ว่าเป็นการบรรยายการกระทำของเจ้าของภาพตัวจริงน่ะค่ะ

Bookmark ถึงมองว่าน่าจะถือได้ว่า "เป็นการเพิ่มเติมข้อมูลคอมพิวเตอร์ของผู้อื่นโดยมิชอบ" ตามมาตรา 9 นะคะ

แต่อย่างไรก็ตามที เนื่องจากกฎหมายฉบับนี้เป็นกฎหมายใหม่ และยังไม่มีคำพิพากษาของศาลยุติธรรมที่วางหลักการพิจารณาความผิดตามพระราชบัญญัตินี้ ก็เลยยังมีการอภิปรายความเห็นทางกฎหมายที่แตกต่างกันไป คงต้องรอแหล่ะค่ะว่าเมื่อมีคดีลักษณะนี้เกิดขึ้นมา ศาลยุติธรรมจะมีคำพิพากษาอย่างไร เพื่อเป็นการวางแนวบรรทัดฐานต่อไป

ปล. ชอบบรรยากาศที่ถกกันเรื่องความเห็นทางวิชาการแบบนี้จังเลยค่ะ ขอบพระคุณท่านอื่นที่เข้ามาถกความเห็นเพิ่มเติมหรือแย้ง Bookmark นะคะ ยินดีที่ได้เรียนรู้อะไรเพิ่มขึ้นและยินดีที่ได้รู้จักค่ะ
บันทึกการเข้า
AntiSpam
อสุรผัด
*
ตอบ: 3



ความคิดเห็นที่ 9  เมื่อ 03 มี.ค. 08, 22:34


ใช่ค่ะ น่าคิดจริงๆ เพราะ Bookmark อ่านตัวบทมาตรา 9 แล้วก็จับมาวิเคราะห์กับ case โด่งดังที่รู้ๆ กันแล้ว คิดว่าน่าจะนำมาปรับใช้ได้นะ เพราะการ copy รูปภาพมา post แปะไว้ในเวบของตัวเอง  จริงอยู่ว่าคนที่ copy เค้าไม่ได้ดัดแปลงรูปภาพอะไรให้เปลี่ยนแปลงไปจากเดิมเลย แต่เค้าได้ post คำบรรยายใต้ภาพประกอบด้วยนะคะ แล้วไอ้ข้อความที่บรรยายเนี่ย มันทำให้คนอื่นที่อ่านเวบของคน copy เค้าเข้าใจได้ว่าเป็นการบรรยายการกระทำของเจ้าของภาพตัวจริงน่ะค่ะ

Bookmark ถึงมองว่าน่าจะถือได้ว่า "เป็นการเพิ่มเติมข้อมูลคอมพิวเตอร์ของผู้อื่นโดยมิชอบ" ตามมาตรา 9 นะคะ


มองต่างมุมกับคุณ Bookmark
เอาเข้าจริง ศาลจะตัดสินอย่างไรนั้น ดิฉันไม่อาจคิดแทน แต่ด้วยความที่ต้องอาศัยใบบุญ พ.ร.บ.ฉบับนี้ ไม่ในทางใดก็ทางหนึ่ง เข้าใจว่า ข้อความในมาตราทั้งมาตราว่านี้ตราขึ้นเพื่อคุ้มครองข้อมูลคอมพิวเตอร์จากการถูกดัดแปลงให้เป็นอื่น

ข้อนี้เป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่ง

ในการเผยแพร่ การเพิ่มข้อความต่อท้าย image นั้นไม่ทำให้ image ต้นฉบับเสียหาย……แต่อาจก่อให้เกิดความผิดอื่นสืบเนื่อง ซึ่งก็ต้องพิจารณาต่อไป

แต่กับข้อมูลคอมพิวเตอร์ การเพิ่มสิ่งที่ไม่ควรเพิ่ม จะด้วยเจตนาสุจริตหรือไม่ก็ตาม สามารถเป็นเหตุให้ตัว data ซึ่งเป็น asset เสียหายได้

ด้วยความเคารพ นึกไม่ออกค่ะว่า จะนำ มาตรา 9 ตาม พ.ร.บ. ความผิดที่เกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550 มาใช้กับกรณีภาพงานแต่งงานที่พูดถึงกันในที่นี้ได้อย่างไร
บันทึกการเข้า
ภูมิ
แขกเรือน
ชมพูพาน
***
ตอบ: 196


ความคิดเห็นที่ 10  เมื่อ 05 มี.ค. 08, 17:43

ลองถามเล่นๆ
ถ้าเอาภาพ (ไฟล์) มาพิมพ์ลงกระดาษแล้ว สแกนกลับเข้าไปใหม่ แล้วตัดต่อ ผิดไหมครับ :-)
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 11  เมื่อ 07 มี.ค. 08, 15:03

ข่าวนี้น่าสนใจ
http://www.manager.co.th/Crime/ViewNews.aspx?NewsID=9510000028366&Keyword=%c9%b3%cd%b9%a7%a4%ec
จับ “เจ้านางเครือคำแสนหวี” แอบอ้างเบื้องสูง
 
โดย ทีมข่าวอาชญากรรม ผู้จัดการออนไลน์ 7 มีนาคม 2551 13:51 น.
   
  ตำรวจกองปราบปราม จับกุม “เจ้านางเครือคำแสนหวี” แอบอ้างเป็นเชื้อพระวงศ์จากประเทศเพื่อนบ้าน และได้รับพระราชทานชื่อจากในหลวง สำนักพระราชวัง ตรวจสอบแล้วเป็นเท็จ จึงแจ้งตำรวจกองปราบปรามจับกุมตัวไว้ได้
       
       วันนี้ (7 มี.ค.) เมื่อเวลา 10.30 น.นางษณอนงค์ วันเกิด หรือ อาจารย์เจ้านางษณอนงค์ เครือคำแสนหวี อายุ 54 อยู่บ้านเลขที่ 16/426 ซอยเสือใหญ่อุทิศ แขวงจันทรเกษม เขตจตุจักร กทม.พร้อมด้วย นายชยุตม์ วันเกิด อายุ 38 ปี เข้าพบ พ.ต.ท.อธิป ฉิมอร่าม พนักงานสอบสวน กลุ่มงานสอบสวน บก.ป. เพื่อรับทราบข้อกล่าวหา ร่วมกันนำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลอันเป็นเท็จ โดยประการที่น่าจะเกิดความเสียหายแก่ผู้อื่น หรือประชาชน และร่วมกันเผยแพร่หรือส่งต่อข้อมูลคอมพิวเตอร์โดยรู้อยู่แล้วว่าเป็นข้อมูลคอมพิวเตอร์
       
       ทั้งนี้ เมื่อวันที่ 5 ก.ย.2550 เจ้าหน้าที่สำนักงานราชเลขาธิการ เข้าพบ พล.ต.ต.พงศ์พัฒน์ ฉายาพันธุ์ รอง ผบก.ป.ว่ามีกลุ่มบุคคลจัดทำเว็ปไซต์ www.ajarnann.com พิมพ์ข้อความเนื้อหาว่า “อาจารย์เจ้านางษณอนงค์ เครือคำแสนหวี เป็นเชื้อพระวงศ์มาจากประเทศเพื่อนบ้าน ซึ่งชื่อได้รับพระราชทานจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว” ต่อมาทางสำนักพระราชวังได้ตรวจสอบแล้วไม่พบว่าเป็นชื่อพระราชทานแต่อย่างใด ทั้งนี้เป็นการแอบอ้างทำให้เกิดความเสียหาย ประชาชนทั่วไปเข้าใจผิดว่าเป็นผู้มีชาติตระกูลอาจนำไปสู่การแสวงหาประโยชน์อันมิชอบได้ จึงเข้าแจ้งความดังกล่าว
บันทึกการเข้า
elvisbhu
แขกเรือน
พาลี
****
ตอบ: 215

เป็นคนเขียนรูป


ความคิดเห็นที่ 12  เมื่อ 07 มี.ค. 08, 15:13

เจ้านางยังโดน..
นับประสาอะไรกับคนที่คุณรู้ว่าใคร
ขีดเส้นใต้คำต่างๆให้ตำรวจนครปฐมดีๆเถอะครับ อาจารย์
บันทึกการเข้า
diggier
อสุรผัด
*
ตอบ: 1


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 13  เมื่อ 15 ม.ค. 10, 15:49

กฎหมาย it เดี๋ยวนี้แรงนะครับ
บันทึกการเข้า

หน้า: [1]
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.082 วินาที กับ 20 คำสั่ง