เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
    
ตอบ: 33479
ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม
|
ความคิดเห็นที่ 45 เมื่อ 08 ม.ค. 01, 11:48
|
|
คุณสอบวาเล่าเรื่องเก่งมากค่ะ อ่านแล้วเพลิน แล้วเห็นภาพได้ชัดเจน มีชีวิตชีวามากทีเดียว
ตอบคุณอ้อยขวั้น
เจ้าลืมนอนซ่อนพุ่มกระทุ่มต่ำ เด็ดใบบอนช้อนน้ำที่ไร่ฝ้าย พี่เคี้ยวหมากเจ้าอยากพี่ยังคาย แขนซ้ายคอดแล้วเพราะหนุนนอน
เป็นบทโรแมนติคสุดๆของคู่รัก สมัยยังไม่มีคอฟฟี่เมท คู่รักคู่รสค่ะ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
อักกา
บุคคลทั่วไป
|
ความคิดเห็นที่ 46 เมื่อ 09 ม.ค. 01, 10:32
|
|
ไม่แน่ใจว่าผมเข้าใจถูกหรือเปล่าว่าเวลาขุนแผนคายหมากให้นางพิมด้วยการจูบแทนที่จะคายใส่มือแล้วป้อน หรือผมคิดมากไปเอง
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
    
ตอบ: 33479
ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม
|
ความคิดเห็นที่ 47 เมื่อ 09 ม.ค. 01, 11:24
|
|
เอ ไม่รู้จะไปตามตัวขุนแผนจากที่ไหนมาตอบเสียด้วย
คุณอักกาเข้าใจคิด ดิฉันไม่เคยคิดละเอียดถึงขั้นนี้เลยค่ะ แต่อยากวิเคราะห์ตามไปด้วย
ใครเคยเห็นคนกินหมาก ช่วยตอบหน่อยนะคะ คิดว่าเป็นไปได้ไหมคะที่จะคายจากปากต่อปาก คงต้องบ้วนน้ำหมากเสียก่อนมั้ง ไม่งั้นคงเลอะหน้านางพิม
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
พวงร้อย
|
ความคิดเห็นที่ 48 เมื่อ 09 ม.ค. 01, 13:45
|
|
โห คุณอักกา ชั่งคิดดีจั๊ง ทำเอาหายหิวเลยค่ะ (โอ้ก)
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
    
ตอบ: 33479
ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม
|
ความคิดเห็นที่ 49 เมื่อ 09 ม.ค. 01, 15:07
|
|
แหม คุณพวงร้อยขา ดิฉันอุตส่าห์กลั้นไว้ได้แล้วเชียวนา คุณจะทำให้ดิฉันแย่เสียแล้ว เพิ่งทานข้าวไปหยกๆ
คิดว่าคนโบราณคงไม่รังเกียจน้ำหมากน้ำลายกันค่ะ เพราะเพิ่งจำได้ว่าอิเหนาเคยใช้ให้สียะตราไปขอชานหมากจากนางบุษบามาให้ สียะตราซึ่งยังเด็กมากก็เอาใจพระเอก วิ่งไปหาพี่สาวอ้อนขอหมากกิน หยิบหมากใส่เครื่องให้เยอะป้อนใส่ปากพี่ แล้วให้พี่สาวคายใส่มือ แต่ไม่เอาใส่ปากตัวเอง กำหมากที่เคี้ยวแล้ววิ่งเอาไปให้อิเหนากิน อิเหนาก็ชื่นชมชานหมากนั้นเป็นการใหญ่ อย่างในบทความ ชานพระศรี ร. ๒ ท่านก็ทรงเคี้ยวหมากเสร็จแล้วก็พระราชทานให้เจ้าฟ้ามงกุฎ
ยุคนี้ใครเคี้ยวหมากฝรั่งแล้วส่งให้แฟนกิน คงเลิกเป็นแฟนกันวันนั้นเอง
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
ก.แก้ว
บุคคลทั่วไป
|
ความคิดเห็นที่ 50 เมื่อ 09 ม.ค. 01, 18:12
|
|
นั่งอมหมาก เอ๊ย! อมยิ้มตั้งแต่กระทู้ที่ 46-49 เลยค่ะ จินตนาการกันยอดจริง ๆ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
ก.แก้ว
บุคคลทั่วไป
|
ความคิดเห็นที่ 51 เมื่อ 09 ม.ค. 01, 18:23
|
|
อุ๊บ ขอโทษค่ะ ขอเปลี่ยนคำว่ากระทู้ที่46-49 เป็นความเห็นที่ 46-49 ค่ะ เพลินไปหน่อย เรื่องคุณยายเลือดกบปาก ทำให้ดิฉันคิดถึงอีกเรื่องนึงค่ะ เมื่อปีก่อนดิฉันไปร่วมงานทำบุญที่วัดเสมียนนารี ในขณะที่พระท่านสวดมนตร์อยู่ก็เกิดโกลาหลขึ้น พระรูปหนึ่งเป็นลมล้มตึงลงนอนเลยค่ะ มีสีเหมือนเลือดสีแดงไหลเลอะเทอะนองไปหมด ทุกคนตกใจมาก คิดว่าเลือดออก ก็เตรียมตัวจะนำไปโรงพยาบาล ปรากฏว่าท่านล้มทับกระป๋องน้ำหมากหก ปฐมพยาบาลกันฟื้นแล้วก็โล่งใจกันไป
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
สอบวา
บุคคลทั่วไป
|
ความคิดเห็นที่ 52 เมื่อ 09 ม.ค. 01, 19:56
|
|
ไหนๆ ก็เข้ามาแล้ว ผมช่วยเพิ่มเติมให้แล้วกันครับ จะได้รวมไว้ในเรื่องนี้ซะเลยทีเดียว ปริศนาคำทายที่เกี่ยวกับการกินหมากของล้านนานั้น บอกว่าการกินหมากของล้านนานั้นมีมานานมาก ทั้งหมดผมใช้การเขียนแบบล้านนาดั้งเดิมแล้วกันครับ แต่จะกำกับคำแปลไว้ให้ด้วย ไม้เต้เข้ ปักกลางหนอง คนใดมากค็ถอด (ไม้ปักอยู่กลางสระ คนใดมาถึงก็ถอด) ไม้หลักต้นหน้อย อยู่กลางหนอง คนใดมาค็ถอด ไม้หลักปักอยู่กลางหนอง ไผมาก็ต้อง ไผมาค็ต้อง(ผู้ไปก็แตะต้อง) ไม้หน้อยหน้อย ปักอยู่กลางหนอง คนใดไปค็ถอด คนใดมาค็ถอด ทั้งสี่ข้อนี้แปลว่า “ไม้ควักปูน”
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
สอบวา
บุคคลทั่วไป
|
ความคิดเห็นที่ 53 เมื่อ 09 ม.ค. 01, 19:57
|
|
ไก่แม่แดง แทงลงช่อง ไก่แม่แดง แทงรูช่อง สองปริศนานี้แปลว่าน้ำหมากที่บ้วนผ่านร่องกระดานหรือร่องฟากสับ(คำว่าไก่แม่แดงนี้อยู่ในคำทายของทางล้านนาหลายอย่าง แล้วแต่ที่ที่จะนำไปใช้ มีบางปริศนาคำทายที่ใช้ไก่แม่แดงในเรื่องอาหารและการครัวจะใช้ในความหมายที่แปลว่าปลาไหล) อุ้มลุ้มเท่าไข่เป็ด กินเจ็ดวันบ่เสี้ยง แปลว่าสีเสียดที่กินกับหมาก
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
สอบวา
บุคคลทั่วไป
|
ความคิดเห็นที่ 54 เมื่อ 09 ม.ค. 01, 19:58
|
|
ปริศนาคำทายชุดนี้ของทางล้านนา เป็นเรื่องที่เกี่ยวกับกริยาอาการที่เกี่ยวข้องกับการเคี้ยวหมาก โดยเน้นที่รูปคำและความหมายที่สองแง่สองง่าม พระห้าตน ล่นเข้ารู คำออกมามีตนเดียว(พระห้ารูปวิ่งเข้ารู ออกมารูปเดียว) แปลว่า “คนเคี้ยวหมาก” (คำหมากของทางเหนือประกอบด้วยพลู ปูน สีเสียด ยาเส้น และหมากดิบหรือหมากแห้ง) ทุเข้าถ้ำเจ็ดตน ออกมาตนเดียว(ภิกษุเข้าถ้ำเจ็ดรูป ออกมารูปเดียว) แปลว่า”คำหมาก” ที่เพิ่มเครื่องปรุงที่เพิ่มผิวหมากดิบหรือแห้งและเปลือกไม้ก่อที่ทุบ และนำไปตากให้แห้ง เพื่อเพิ่มรสอร่อย ห่อแท้บแพ้บ โช่งเข้าจ้อก ห่มย้อกย้อก เปนน้ำแซะแฟะ (ห่อแบนๆ โยนเข้ามุม ขยับๆ น้ำแฉะๆ) แปลว่า” คนเคี้ยวหมาก” เอายำยุไฟใส่ยำยะ เอายำยะไพใส่รูหนัง – คนตำหมาก คนเคี้ยวหมาก
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
สอบวา
บุคคลทั่วไป
|
ความคิดเห็นที่ 55 เมื่อ 09 ม.ค. 01, 19:59
|
|
คำกล่าวที่ว่าข้าวยากหมากแพงนั้น เป็นความหมายที่ใช้เหมือนกันทั่วทุกถิ่น หมายถึงบ้านเมืองเดือนร้อน ประชาชนเดือดร้อน เพราะสมัยก่อนคนไทยผูกพันกับข้าวและหมากมาก การรบหรือสงครามต้องหลบซ่อนหรือต้องย้ายที่อยู่บ่อยๆ ฝนฟ้าไม่ตกต้องตามฤดูกาล หรือการเก็บส่วนอากรจังกอบที่สูงเกินไป จะกระทบต่อข้าวและหมากเป็นเบื้องต้น ดังนั้นหมากในความหมายนี้ก็คือหมากที่ใช้เคี้ยวร่วมกับพลูนั้นเอง ไม่ได้หมายถึงหมากที่นำหน้าผลไม้ หรือหมากที่เแปลว่าลูกไม้แบบทางอีสาน แจกหมากนั้นเป็นสำนวนเก่า มาจากสำนวนเต็มที่กล่าวว่า “แจกหมาก แจกแว่น” สำนวนนี้มาเฟื่องฟูสมัยพระนครและถนนราชวงศ์มาก จะเห็นสำนวนนี้เช่นว่า “เจ้าพลนั้นออกหมัดแจกหมากแจกแว่นอย่างรวดเร็ว ทั้งซ้ายและขวา ส่วนนิกรนั้นอาศัยความไวในการแจกหมากของสิงห์สำอางฝั่งตรงข้าม ส่วนดิเรกนั้นมัวแต่งุ่มง่าม เลยได้รับแว่นเข้าเต็มเปา” สำนวนนี้ใช้ในเรื่องพล นิกร กิมหงวนเยอะมาก(เท่าที่เคยอ่านเจอ) แจกหมากเนื่องจากการกินหมากจะให้น้ำหมากสีแดงเขรอะอยู่ที่มุมปากและริมฝีปาก ซึ่งต้องมีผ้าคอยซับน้ำหมากอยู่บ่อยๆ แต่คราบน้ำหมากก็ยังคงจับอยู่ตามรอยย่นอยู่บ้าง การแจกหมากจึงมีที่มาด้วยเหตุนี้ครับ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
สอบวา
บุคคลทั่วไป
|
ความคิดเห็นที่ 56 เมื่อ 09 ม.ค. 01, 20:00
|
|
ส่วนเรื่องการเคี้ยวหมากและคายหมากให้อีกฝ่ายหนึ่ง และเป็นการมอบความไว้วางใจให้อีกฝ่ายหนึ่ง ถ้าเป็นชายกับหญิงก็เพื่อเป็นการแสดงความรักกันอย่างที่สุด แบบที่มอบใจให้กันนิรันดร แต่ถ้าเป็นชายกับชายนั้น เพื่อแสดงเจตนาบริสุทธิ์และไว้วางใจกันมาก เนื่องจากสมัยก่อนคนไทยมีการใช้อาคมและไสยเวทกันเยอะ ทุกวันนี้คนลัวะในดอยสูงเหนือขุนแม่แจ่มนั้น ฝ่ายหญิงก็ยังคงแสดงความรักต่อชายที่หมายใจด้วยการจุดบุหรี่ให้เช่นเดียวกันครับ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
สุรัชน์
บุคคลทั่วไป
|
ความคิดเห็นที่ 57 เมื่อ 09 ม.ค. 01, 21:36
|
|
มายาวถึงนี่กันแล้วหรือครับ ไม่ได้มาอ่านแป๊บเดียว ชอบปริศนาที่ยกมาครับ ไม่ทราบว่าปกติเขาเคี้ยวหมากแต่ละครั้งนานเท่าไรครับ รสชาดมันจะจางลงใช่หรือไม่ หรือเมื่อยปากเมื่อไร เมื่อนั้นจึงหยุดครับ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
นกข.
บุคคลทั่วไป
|
ความคิดเห็นที่ 58 เมื่อ 10 ม.ค. 01, 22:02
|
|
เรื่องบุหรี่สาวจุดให้ของคุณสอบวา ทำให้นึกขึ้นได้อีกเรื่องหนึ่ง
ผมไม่สูบบุหรี่นะครับ เมื่อไปเมืองจีนก็อึดอัดหน่อย เพราะคนเอเชียตะวันออกเฉียงเหนือ ทั้งจีน เกาหลี และญี่ปุ่น สูบบุหรี่กันมากเหลือเกิน จนกระทั่งอดีต รมต.สาธารณสุขจีนท่านหนึ่ง (นพ. เฉิน หมิ่น จาง- เสียไปแล้ว) ต้องออกมารณรงค์อย่างจริงจังให้คนจีนเลิกบุหรี่ หรือเพลาๆ บุหรี่ลงบ้าง งานการรณรงค์ตลอดชีวิตท่านงานนั้น ทำให้ท่านได้รับพระราชทานรางวัลมหิดลจากในหลวงอยู่ปีหนึ่ง จะราว 5-6 ปีมาแล้วกระมัง เพราะเป็นผลงานสาธารณสุขที่ส่งผลกระทบคนเป็นพันล้าน และยากเย็นแสนเข็ญยิ่งกว่าเข็นภูเขาลงครกอีก
นอกเรื่องไปหน่อย ผมได้รับเชิญจากคนจีนที่ขับรถสถานทูตให้ไปงานแต่งงานญาติเขา ก็ไปในฐานะแขกผู้มีเกียรติครับ นั่งโต๊ะประธานเลย งานแต่งงานคนจีนนี่เราเคยได้ยินในหนังกำลังภายในว่ามีสุรามงคลใช่ไหมครับ สุรามงคลผมมก็พอจะดื่มได้ แต่งานนี้มีบุหรี่มงคลด้วย เจ้าสาวจุดให้นะครับ ผมก็ขอตัวว่า ทำงานด้วยกันก็รู้อยู่แล้วว่าผมไม่สูบบุหรี่ คนขับรถก็มาคะยั้นคะยอ สูบให้เป็นเกียรติหน่อยน่า นี่บุหรี่มงคลเจ้าสาวจุดให้เชียวนา สูบแล้วไม่เป็นพิษเป็นภัยหรอก - ว่าไปโน่น
ผมก็เลยต้องทำตามประธานาธิบดีคลินตัน คือยอมให้เขาจุดให้พ่นควัน แล้วก็ I didn't inhale...
เห็นจะไม่ไหวครับ ด้วยรักและมะเร็งนี่
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
อ้อยขวั้น
บุคคลทั่วไป
|
ความคิดเห็นที่ 59 เมื่อ 11 ม.ค. 01, 16:13
|
|
นึกขึ้นมาได้อีกอย่างค่ะ สลาเหินที่ปู่เจ้าสมิงพรายเสกส่งไปให้พระลอ ถ้าคนอื่นเกิดเอาไปเคี้ยวแทนจะเป็นยังไงคะนี่
ส่วนที่ว่าคายหมากให้คนที่รัก น่าจะให้แบบปากต่อปากล่ะมังคะ คิดสภาพดูแล้วว่าถ้าคายใส่มือก่อนแล้วส่งให้อีกฝ่ายรับเอาไปใส่ปากเคี้ยวต่อ มันจั๊กกึ๋ยยังไงไม่รู้ จากปากเข้าปากยังไม่ค่อยพะอืดพะอมเท่า หมายเหตุว่าคงบ้วนน้ำหมากที่ท่วมอยู่ทิ้งไปก่อนแหละ อ้อ สมัยเด็กๆ เคยได้ไปนมัสการหลวงปู่ขาวที่อุดร ท่านเคี้ยวหมาก มีคนขอชานหมากของท่านไปบูชา ผู้ใหญ่ที่ไปด้วยก็ได้มาขยุ้มหนึ่ง ดีอกดีใจใหญ่เลย
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
|