เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: [1] 2 3 ... 5
  พิมพ์  
อ่าน: 18610 ขอถามบ้างครับ จีบพลูเป็นอย่างไรครับ
สุรัชน์
บุคคลทั่วไป
 เมื่อ 12 ม.ค. 01, 13:01

หมายถึงพลูที่จัดไว้เป็นมัดเล็กๆ พร้อมเคี้ยวใช่หรือไม่ครับ
คำกริยาที่ใช้ คือ จีบ ใช่ไหมครับ แล้วลักษณะนามของพล฿ที่จีบแล้วนี่เป็น ชิ้น อัน จีบ หรือว่าอย่างไรครับ
เรียนถามผู้ที่เคยเคี้ยวหมากครับ :-) ต้นฉบับภาษาอังกฤษเขาว่า jeebing the ploos
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 1  เมื่อ 02 ม.ค. 01, 19:44

ป้ายปูนลงบนใบพลูแล้วม้วนเข้าเป็นหลอด เรียกว่าจีบพลูค่ะ   ทำทีละใบไม่ใช่ทีละมัด
เวลากินก็กัดพลูที่ม้วนไว้ ทีละคำ  ไม่ใช่ใส่เข้าปากทีเดียวหมดม้วน
ลักษณะนาม คิดว่าน่าจะเป็น "ใบ" นะคะ
jeebing the ploos เป็นการทับศัพท์มากกว่าจะแปล  เพราะไม่มีคำนี้ในภาษาอังกฤษ
จีบพลู= to roll the betal leaf
บันทึกการเข้า
สุรัชน์
บุคคลทั่วไป
ความคิดเห็นที่ 2  เมื่อ 02 ม.ค. 01, 21:20

นึกออกแล้วครับ เคยเห็นครับ
เพราะฉะนั้น คำว่า จีบพลู ก็เป็นคำกริยา
to jeeb ก็คือ to roll นั่นเอง
แล้วพลูที่จีบแล้ว คือ หลังจากป้ายปูนลงบนใบพลูแล้วม้วนเข้าเป็นหลอดแล้ว
ใบพลูนั้นยังเรียกว่า ใบพลู อยู่เหมือนเดิม หรือว่ามีชื่อเรียกเป็นอื่นครับ

jeebing the ploos นั้นหม่อมหลวงปิ่น มาลากุล ท่านเขียนไว้ในหนังสือเล่มหนึ่งของท่านครับ
กำลังเขียนบทความถึงท่านอยู่ครับ ขอถามท่านผู้รู้อีกนิกครับ ท่านเสียเมื่อปีไหนครับ
ผมทราบเพียงว่าท่านเกิดเมื่อพ.ศ. 2446  เอกสารที่ผมมีอยู่คงจะเขียนในขณะที่ท่านยังอยู่
จึงไม่มีข้อมูล คงจะใช้คำผิดแน่เลย หม่อมหลวงเมื่อเสีย ต้องใช้คำใดจึงจะถูดต้องครับ

ขอบคุณครับ
บันทึกการเข้า
พวงร้อย
สุครีพ
******
ตอบ: 904


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 3  เมื่อ 03 ม.ค. 01, 07:51

ตอนเด็กมียายข้างบ้านทานหมาก  ก็ชอบไปนั่งดูเค้าน่ะค่ะ  หาได้ยากมากแล้วค่ะ คนที่ทานพลูเนี่ยะ  ไม่แน่ใจว่า เค้าจะมีกรรมวิธีเหมือนกันทุกคนรึเปล่านะคะ

ใบพลูนี่ไม่ทราบภาษาอังกฤษเรียกว่าอะไรนะคะ  แต่หมากนี่คิดว่าเรียกว่า betel nut นะคะ  ต้นและใบหมากก็คล้ายๆมะพร้าวน่ะค่ะ  betel leaf นี่คงไม่ใช่ใบพลูมังคะ

ก่อนเอามาจีบ คุณยายจะตัดขั้วใบออก  และเจียนให้ได้รูป  เวลาจีบจะได้พอดีๆคำ  แล้วป้ายปูน  เอาหมากที่ฝานเป็นแว่นใส่  ดูเหมือนจะมีเครื่องอย่างอื่นด้วยนะคะ  ไม่แน่ใจว่าจะเป็นไม้สีเสียดหรือเปล่า แล้วจีบให้เป็นกรวยค่ะ  ไม่ได้เป็นหลอด  ถ้าทำเป็นหลอดคงจะเรียกว่า ม้วนมากกว่าค่ะ  อย่างม้วนใบยา หรือ roll tobacco น่ะค่ะ  หลังๆพอยายอายุมากขึ้นก็ต้องตะบันหมากแล้ว  แปลกที่ที่ตะบันหมากนี่  เป็นกระบอกทองเหลืองเล็กๆ  ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณเซ็นต์ครึ่ง  และด้ามตะบันก็ปีปลายเหมือนใบไขควงมากกว่า  พอตะบันแหลกแล้ว  คำหมากมันจะอัดตัวกันเหมือนจุกคอร์ก  อ้อ ที่ปลายตะบันดูเหมือนจะมีจุกปิดอยู่  จำไม่ได้ว่าเป็นจุกทำด้วยไม้คอร์กหรือเปล่า  ท่านจะดึงจุกออก  แล้วดันคำหมากออกทางท้ายตะบันใส่ปากได้เลย

ต้นฉบับที่คุณสุรัชน์แปลอยู่นี่เล่าถึงการกินหมากรึเปล่าคะ  ถ้ามีบรรยายละเอียด  อยากรบกวนให้เล่าให้ฟังหน่อยได้มั้ยคะ  พี่ก็จำไม่ค่อยได้แล้วค่ะ  ตอนนั้นยังเด็กมาก  คุณยายนั้นเสียเมื่อตอนพี่ยังอายุไม่ถึงสิบขวบดีเลยค่ะ  ก็นานโขมาแล้ว เหอๆๆ
บันทึกการเข้า
สุรัชน์
บุคคลทั่วไป
ความคิดเห็นที่ 4  เมื่อ 03 ม.ค. 01, 08:45

ขอบคุณครับ ได้คำมาอีกคำ .เจียน. ที่ไม่ค่อยมีคนใช้แล้ว
ใช่แล้วครับ เคยเห็นเป็นกรวย หลอดของคุณเทาชมพู คงจะหมายถึงกรวยนั่นละครับ
เอ๊ะ หรือว่าเขาทำกันหลายแบบ แล้วแต่ภูมิภาค ... แล้วประเทศไทยไหนเขากินหมากเหมือนเราบ้างครับ

เห็นคนกินหมากอีกครั้ง ก็จากหนังบางระจันครับ

ไม่มีเรื่องการกินหมากหรอกครับ ในหนังสือผมพยายามจับเอาตอนที่เกี่ยวกับความสามารถทางคณิตศาสตร์
ของท่าน มล.ปิ่น มาลากุลครับ  ยกมาให้อ่านกัน ดังนี้ครับ

My First Problem. However, theres is a problem that I do not remember even vaguely.
It was my first problem-a practical problem my mother gave me before I could read or write-very likely before I could count numbers.
Simple division it was. This is what my mother told me years afterwards. One day a person had been jeebing the ploos (จีบพลู) and
left them on the floor of the room in a pile of about 50 or 60. My mother asked me to bring them for her.
"Shall I bring the whole lot, mother?"
"No, I want only half of it."
There I was. How should I do it? Some minutes later my mother followed me into the room to see why it took me so long to
perform the act of bringing the ploos. Quietly she watched me using my two hands picking up one ploo in each hand at a time and
putting them down separately to make two new piles of ploos of equal numbers. In doing so, my first problem was slowly but correctly solved.

จะเห็นว่าท่านไม่ธรรมดาครับ
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 5  เมื่อ 03 ม.ค. 01, 11:52

ตอบคุณพวงร้อย
คำว่า จีบพลู  to roll a betal leaf  ที่แปลไว้  มาจาก Thai-English Dictionary ของGeorge Bradley McFarland M.D.หรือ อำมาตย์เอก พระอาจวิทยาคม ค่ะ
เมื่อคุณพวงร้อยสงสัย  ดิฉันก็เกิดสงสัยขึ้นมาเหมือนกัน  เลยไปค้นว่าคำว่า"พลู" เพิ่มอีกในพจนานุกรมไทยเป็นอังกฤษ ๒ เล่ม คือพจนานุกรมไทย-อังกฤษของสอ เสถบุตร และพจนานุกรมไทย-อังกฤษของดำเนิน การเด่น และเสฐียรพงษ์ วรรณปก
ก็ให้ความหมายตรงกันว่า betal leaf  แต่เล่มหลังให้เพิ่มมาอีกคำว่า betal vine
ในพจานุกรมของแม็คฟาร์แลนด์ เรียกหมากว่า betal fruit  แต่ของอ.ดำเนินและอ.เสฐียรพงษ์ เรียก ๓ อย่างคือ betal palm, areca nut, betal nut
พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตฯ  อธิบายว่าหมากอยู่ในวงศ์ Palmae โดยเฉพาะชนิด Areca catechu Linn.ค่ะ

ตอบคุณสุรัชน์
จีบพลู เป็นกรวย ถูกแล้วค่ะ   มานึกคำนี้ออกหลังจากตอบไปแล้วหลายชั่วโมง
กรรมวิธีการเตรียมหมากพลูไว้กิน กับวิธีการกินหมากของไทย  มีขั้นตอนประณีต  ถือเป็นวัฒนธรรมการกินที่สลายไปแล้วอีกอย่างหนึ่งในสังคมไทย
ผู้ที่บรรยายไว้ได้ดีมากคือม.ร.ว. คึกฤทธิ์ ปราโมช ใน "สี่แผ่นดิน" ค่ะ  ถ้าสนใจลองไปหาอ่านดูในแผ่นดินที่ ๑

พณฯม.ล.ปิ่น มาลากุล ถึงแก่อสัญกรรมเมื่อวันที่ ๔ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๓๘
ท่านเป็นบุคคล "ไม่ธรรมดา" จริงๆละค่ะ
ได้ทุนของกระทรวงธรรมการ(ศึกษาธิการ)ไปเรียนที่อังกฤษ  เข้าเรียนที่Brasenose College , Oxford U. เอกสันสกฤต โทบาลี  จนได้เกียรตินิยม B.A. สาขาภาษาโบราณตะวันออก
ได้เป็นร.ม.ต. ว่าการกระทรวงศึกษาธิการตั้งแต่พ.ศ. ๒๕๐๐ ถึง ๒๕๑๒
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 6  เมื่อ 03 ม.ค. 01, 11:53

ชาวต่างชาติที่กินหมาก เท่าที่ทราบก็มีอินเดีย ไม่แน่ใจว่าจีนกินด้วยหรือเปล่า
บันทึกการเข้า
สุรัชน์
บุคคลทั่วไป
ความคิดเห็นที่ 7  เมื่อ 03 ม.ค. 01, 13:18

ขอบคุณมากครับ

http://triamudom.moe.go.th/min/as/pin.html' target='_blank'>http://triamudom.moe.go.th/min/as/pin.html

พบเรื่องของท่านที่นี่ครับ ผู้สนใจอ่านเพิ่มเติมได้
บันทึกการเข้า
อ้อยขวั้น
บุคคลทั่วไป
ความคิดเห็นที่ 8  เมื่อ 03 ม.ค. 01, 13:55

เคยได้อ่านและได้ชมทางทีวีว่าไต้หวันนิยมเคี้ยวหมากกันอยู่นะคะ  มีสาวๆ หน้าตาดี  แต่งตัวจ๊าบๆ นั่งขายให้ลูกค้าที่มาจอดรถซื้อ  ทำนองว่าเป็นของขบเคี้ยวแทนบุหรี่
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 9  เมื่อ 03 ม.ค. 01, 19:26

เคยอ่านพบใน "ถกเขมร" ว่าคนเขมรกินหมากแบบเคี้ยวแล้วอมน้ำหมากไว้  จนชานจืด เวลาออกเสียงบางคำ อย่าง ศรี  ก็ต้องห่อปากไม่ให้น้ำหมากกระจาย
ผิดกับคนไทยที่กินหมากไปบ้วนน้ำหมากลงกระโถนไป ก็เลยออกเสียงได้น้ำหมากไม่เลอะเทอะ
พยายามนึกว่าชาวไต้หวันกินหมากแบบไหนค่ะ จึงจะสอดคล้องกับวิธีออกเสียงของเขา
บันทึกการเข้า
สุรัชน์
บุคคลทั่วไป
ความคิดเห็นที่ 10  เมื่อ 03 ม.ค. 01, 19:58

สงสัยเหมือนกันครับว่ามันมีสารเสพติดตัวไหนอยู่ครับ มีโทษต่อร่างกายอย่างบุหรี่ไหมครับ
สงสัยจะผิดห้องอีกแล้วละครับ ใครมีรูป เอามาลงให้ชมหน่อยนะครับ
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 11  เมื่อ 03 ม.ค. 01, 21:12

เคยอ่านพบจากบันทึกของฝรั่ง ที่เข้ามาในประเทศไทย แต่เป็นใครลืมชื่อไปแล้ว
บอกว่าหมาก มีสารอย่างหนึ่งลักษณะคล้ายสารเสพย์ติดอ่อนๆ  เมื่อเคี้ยวเข้าไปแล้ว จะกล่อมอารมณ์ให้เพลิดเพลิน อารมณ์ดี   รสชาติของหมากจึงทำให้คนกินหมาก ติดหมาก  ไม่ได้กินก็หาวเรอน้ำหูน้ำตาไหลแทบทนไม่ได้
แต่ไม่พบว่ามีผลเสียหายต่อสุขภาพอย่างยาเสพย์ติด อย่างบุหรี่
อ้อ มีกรณีที่แพทย์พบเหมือนกันค่ะว่าทำให้เกิดมะเร็งในช่องปากได้  จากการที่หมากหรือปูนก็ไม่ทราบ กัดปากซ้ำซากจนเป็นแผลและเนื้อร้าย
แต่ก็ไม่ใช่เป็นกันเกือบทุกคนอย่างคนติดบุหรี่ ที่จะต้องเจอถุงลมปอดพอง หรือมะเร็งปอด ไม่ช้าก็เร็ว
ทั้งหมดนี้ตอบแบบคนภายนอก ใครเรียนสายวิทย์ เรียนเรื่องนี้มาบ้างช่วยชี้แจงด้วยค่ะ
บันทึกการเข้า
นกข.
บุคคลทั่วไป
ความคิดเห็นที่ 12  เมื่อ 03 ม.ค. 01, 23:17

คนจีนบางภูมิภาคกินหมากครับ เช่นที่ไต้หวันดังที่กล่าวมาแล้ว (ผมมีความรู้สึกว่าอาจจะเป็นพวกชาวเกาะไต้หวัน คือคนเผ่าพื้นถิ่นของไต้หวันเอง อาจจะไม่ใช่คนจีนที่อพยพไปจากแผ่นดินใหญ่จีน)
คนจีนเรียกหมากว่า ปินหนัง เสียงวรรณยุกต์อาจจะไม่แม่นครับแต่ทำนองนี้แหละ เป็นไปได้ว่าจีนอาจจะรับคำนี้ไปจากภาษามลายู หรือไม่มลายูก็รับไปจากจีนเพราะ 2 ภาษานี้เรียกหมากคล้ายๆ กัน แต่ผมค่อนข้างเชื่อว่าคนจีน แต่เดิมมา โดยเฉพาะอย่างยิ่งคนจีนทางจีนเหนือ ไม่กินหมากและไม่รู้จักต้นหมาก ต่อเมื่อล่องเรือมาทางใต้ (ใต้ของจีน) แล้วจึงรู้จักต้นหมากที่ขึ้นอยู่แถวบ้านเรานี้ ดังนั้น คำว่าปินหนังน่าจะเป็นคำที่จีนได้ไปจากมาเลย์
ภาษามลายูเรียกหมากว่าอะไรผมไม่แน่ใจนัก รู้แต่ว่า เกาะปีนัง ในมาเลเซีย แปลว่า เกาะหมาก และแต่ก่อนนี้คนไทยเก่าๆ ท่านก็เรียกปีนังว่า เกาะหมาก เกาะพลูจะมีคู่กับเกาะหมากไหม และถ้ามีอยู่ไหน ผมก็ไม่ทราบ มีบางกระแสว่า "เกาะพลู" คือภูเก็ต ?
บันทึกการเข้า
นกข.
บุคคลทั่วไป
ความคิดเห็นที่ 13  เมื่อ 04 ม.ค. 01, 01:23

โลกเปลี่ยน สังคมเปลี่ยน ภาษาก็เปลี่ยน คำกริยา จีบพลู เจียนพลู กลายเป็นเรื่องที่ต้องมาโพสต์ถามกันแล้ว
ถามเล่นๆ ลองภูมิอีกคำครับ คำนี้ผมได้มาจากคุณยาย (เสียไปแล้ว) สมัยรุ่นคุณแม่ผมก็ยังพูดกันอยู่ คำว่า เกรียก แปลว่าอะไรครับ และใช้กริยานี้กับอะไร
สมัยนี้มีเตาแก๊สเตาไฟฟ้า คำนี้เลยหายไปเสียแล้ว
บันทึกการเข้า
พวงร้อย
สุครีพ
******
ตอบ: 904


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 14  เมื่อ 04 ม.ค. 01, 02:48

ที่กินหมากนี่  มีคนลาว โดยเฉพาะทางอีสาน และลาวภาคใต้ คนมอญ  คนพม่าเข้าใจว่าคงจะทานด้วยมังคะ  เคยไปที่เจดีย์ชะเวดากอง  มีร้านของของเก่ารอบๆเจดีย์  จำได้ว่าเห็นเชียนหมากเก่าๆด้วย  แต่คนพม่าคงสูบยา(สูบ) มากด้วย  เพราะคนไทยใหญ่ มักจะสูบยามากกว่าทั้งผู้หญิงผู้ชาย  และยังมีอมเมี่ยงอีก  คนเมืองกับคนลาวทางเหนือ และคนพม่าทางเหนือแถวนั้น  ก็เลยสูบยา อมเมี่ยงกันมังคะ  ส่วนพม่าทางใต้ใกล้คนมอญ  ก็คงเคี้ยวหมากเหมือนกัน

คุณยายที่ว่าจะซื้อหมากมาทีละเครือ(ไม่ทราบเค้าเรียกเครือรึเปล่านะคะ)  เป็นหมากสดเปลือกยังเขียวอยู่  แล้วฝานปอกเอาเมล็ดออก  ส่วนเปลือกนั้นดิฉันชอบเอามาเล่นหม้อข้าวหม้อแกง  สมมติว่าเป็นกะลามะพร้าว  คิดว่าต้นหมากนี่  คนละต้นกับต้นพลูเลยค่ะ  ไม่ใช่ต้นเดียวกัน    แต่ฝรั่งสมัยก่อนไม่รู้ก็เรียกเป็นคำเดียวกันว่า betel ไปเลย  ในดิคฯของเว็บสเต้อร์ให้คำจำกัดความไว้ว่า

betel  fr. Tamil verrilai(1553)  : a climbing pepper (Piper betel) whose leaves are chewed together with betel nut  and mineral lime as a stimulant masticatory esp. by southeastern Asians.

betel nut (fr. its being chewed with the betel leaves)(1681)  the astringent seed of the betel palm

betel palm n (1875)  an Asian pinnate-leaved palm (Areca catechu)  that has an orange-colored drupe with an outer fibrous husk.

จะเห็นว่า  คำว่า betel ที่ใช้คำเดียวกัน ใน betel leaves กับที่ใช้ใน betel palm หรือ nut  ทำให้สับสน  ทั้งๆที่เป็นคนละต้นกัน  ต้นหมากนี่ดิฉันเคยเห็นค่ะ  เหมือนต้นมะพร้าว  เป็นปาล์มแน่ๆเลย  ส่วนพลูเคยได้ยินว่าเป็นไม้เลื้อย  แต่ไม่เคยเห็นต้นค่ะ

คำว่า เกรียก ของคุณ นกข.  นี่คลับคล้ายคลับคลา  มาจากเตาถ่านส่วนที่เป็นตะแกรงรองถ่านที่มีรูให้ขี้เถ้าตกไปข้างล่างรึเปล่าคะ  ไม่ค่อยแน่ใจเหมือนกันค่ะ  ตอนเด็กๆนี่ดิฉันมีหน้าที่ติดไฟเตาถ่านหุงข้าว  แล้วพี่สาวเป็นคนทำกับข้าว  เค้าโตกว่าหลายปีก็เลยเหมือนกับเป็นแม่อีกคนน่ะค่ะ หึหึ
บันทึกการเข้า
หน้า: [1] 2 3 ... 5
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.059 วินาที กับ 19 คำสั่ง