เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 2 3 [4] 5 6 ... 10
  พิมพ์  
อ่าน: 40039 "รุ่งเรือง.. เมืองศิลป ๓"
กุ้งแห้งเยอรมัน
แขกเรือน
สุครีพ
******
ตอบ: 1573



ความคิดเห็นที่ 45  เมื่อ 04 มี.ค. 08, 19:43

อื้อฮือ เรื่องคิดเลข ดิฉันเก่งมากเสียด้วย รบกวนคุณโอม หรือคุณพพ.ช่วยดูสูตรดังกล่าวแล้วกัน
เอ้อ..เอ..นี่เรากำลังดูเรื่องศิลปะอยู่ไม่ใช่หรือคะ คุณชาย๑๙๖๐
...
เดี๋ยวนี้มีทัวร์ไปอินเดีย เนปาล ไปชมสถานที่ประสูติ ตรัสรู้ กันคึกคัก
ขอบคุณคุณเอลวิสภู น่าจะบินไปอินเดีย เนปาลถ่ายมาให้ชมนะคะ ยิงฟันยิ้ม
..
ขอพาไปชมจิตรกรรมอีกภาพหนึ่ง ที่พระพุทธเจ้าฉันข้าวมธุปายาสแล้ว ตำราบอกว่า ท่านเอิบอิ่มมาก
ทรงลอยถาดนั้นในแม่น้ำเนรัญชรา อธิษฐานเสี่ยงบารมีว่า แม้ตรัสรู้ ขอให้ถาดลอยทวนกระแสน้ำ
.. ถาดก็ได้ลอยทวนกระแสน้ำไปด้วยแรงอธิษฐาน และได้จมลงสู่นาคพิภพ
รวมกับถาดอีก 3 ใบ ของอดีตพระพุทธเจ้าในภัททกัปป์นี้

ภัททกัปป์ ค้นแล้วแปลว่ากัปป์ที่มีพระพุทธเจ้าห้าพระองค์ พระองค์เป็นองค์ที่สี่



บันทึกการเข้า
pipat
แขกเรือน
นิลพัท
*******
ตอบ: 1802


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 46  เมื่อ 04 มี.ค. 08, 20:29

ปฐมสมโพธิไม่ใช่ตำราคณิตศาสตร์ครับ
บันทึกการเข้า
chai1960
มัจฉานุ
**
ตอบ: 67



ความคิดเห็นที่ 47  เมื่อ 04 มี.ค. 08, 20:46

ปฐมสมโพธิไม่ใช่ตำราคณิตศาสตร์ครับ

ฮืมม...อึ้งครับ...อึ้ง... รูดซิบปาก รูดซิบปาก รูดซิบปาก
บันทึกการเข้า

ประวัติศาสตร์เหมือนสายน้ำมีทั้งช่วงที่ไหลรินฉ่ำใสและช่วงที่ถาโถมทำลาย
Kurukula
สุครีพ
******
ตอบ: 1303



ความคิดเห็นที่ 48  เมื่อ 04 มี.ค. 08, 21:11

โอย ไปเร็วจังเลยครับ ตามไม่ทัน

ยังไม่ได้ชื่นชมธรณีวัดชมพูเวกเลย เคยไปครั้งเดียวก็มิได้ติดกล้องไปด้วย จะไปอีกครั้งก็ลำบาก ด้วยอยู่ก้นซอย

เข้ามาดูพระเจ้าลอยถาดครับ
บันทึกการเข้า
Oam
แขกเรือน
ชมพูพาน
***
ตอบ: 168



ความคิดเห็นที่ 49  เมื่อ 04 มี.ค. 08, 21:14

คุณ chai1960 ช่างคิดดีครับ ขอชื่นชม

ถึงจะแบ่งไม่ลงตัวพอดี แต่คนสมัยก่อนคงมองเป็นภาพรวมว่าน้ำนมจากวัว ๑๐๐๐ ตัว
ผมเดาว่าพอเหลือ ๑๒๕ ตัว เขาจะแบ่งไว้ ๖๒ สำหรับกินน้ำนม แล้วก็แบ่งครึ่งเป็น ๓๑
พอมาถึงตอนนี้ ก็ทำไม่รู้ไม่ชี้ แบ่งไว้ ๑๖ ตัว รอกินนมจาก ๑๕ ตัว จะไปยากอะไร

หรือแบ่งอย่างไรก็ได้ให้สุดท้ายเหลือวัว ๘ ตัว เป็นใช้ได้  ยิงฟันยิ้ม

สมัยนี้คนที่จะทำได้อาจจะต้องเป็นเจ้าของฟาร์ม อย่างฟาร์มโชคชัยนั่น
บันทึกการเข้า
หมีใหญ่
แขกเรือน
มัจฉานุ
**
ตอบ: 86

ดูแลกิจการของทางครอบครัวเกี่ยวกับการปลูกป่ายูคา และอื่นๆ


ความคิดเห็นที่ 50  เมื่อ 04 มี.ค. 08, 22:10

มาขอร่วมออกความเห็นด้วยครับ
การลอยทวนน้ำนั้น จะมองปริศนาธรรมก็คือการทวนกิเลสครับ
ส่วนพญามาร ตามภพภูมิพญามารนั้นไม่ได้อยู่นรกนะครับ อยู่บนสวรรค์เหมือนกัน ชั้นสูงกว่าเทวดาทั่วๆ ไปด้วยครับ ฤทธาระดับเดียวกับชั้นพรมเลยทีเดียว การหลุดจากกิเลสนั้นจะว่าไปกิเลสหยาบที่เห็นได้ง่ายเช่นโลภ หยาบคาย นั้นยังหลุดได้ง่ายกว่ากิเลสแบบละเอียดครับครูบาอาจารย์ใช้คำว่าติดดี  ท่านพุทธทาสท่านใช้คำว่า ติดดีติดชั่วก็อัปรีย์เหมือนกัน นั้นคือแม้แต่ทำดีก็อย่าไปยึดติดนั่นเอง
บันทึกการเข้า
กุ้งแห้งเยอรมัน
แขกเรือน
สุครีพ
******
ตอบ: 1573



ความคิดเห็นที่ 51  เมื่อ 05 มี.ค. 08, 01:00

สวัสดีคุณหมีใหญ่..ยินดีค่ะที่มาร่วมวงด้วย
ขอบคุณคุณโอมที่ซอยตัวเลขจนเข้าใจ ..
ขอบคุณคุณพพ.เช่นกันค่ะ
คุณชาย๑๙๖๐..คะ อ่านเอาอารมณ์ค่ะ มีอึ้งบ้าง ทึ่งบ้าง นี่แหละเรือนไทย ขยิบตา
...
เราไปเร็วค่ะ มีอีกสองภาพอยากจะให้ชม ต้องขอแรงผู้ใดก็ได้ช่วยบอกว่า ทั้งสองภาพ ต่างกันอย่างไรค่ะ





บันทึกการเข้า
กุ้งแห้งเยอรมัน
แขกเรือน
สุครีพ
******
ตอบ: 1573



ความคิดเห็นที่ 52  เมื่อ 05 มี.ค. 08, 01:34

ภาพล่างเป็นพระราหุลนิพพาน

พระราหุลสามเณร องค์แรกในพระศาสนา.....
เป็นผู้เลิศในทางใฝ่การศึกษา เมื่อพระราหุลมีพระชนมายุได้ยี่สิบพรรษา ก็ได้รับการอุปสมบท เป็นพระภิกษุ
ต่อมาได้ฟังพระธรรมเทศนาพิจารณา รูปกัมมัฏฐานให้เห็นเป็นอนัตตา ก็ได้บรรลุพระอรหัตผล และได้เสด็จไปดับขันธปรินิพพานในดาวดึงส์
บันทึกการเข้า
ติบอ
นิลพัท
*******
ตอบ: 1906


Smile though your heart is aching.


ความคิดเห็นที่ 53  เมื่อ 05 มี.ค. 08, 03:13

ถึงคุณหมีใหญ่ครับ พญาวัสวดีมาราธิราช เป็นเทพผู้ครองสวรรค์ชั้น ปรนิมวัตสวดีครับ
อยู่สูงที่สุดในบรรดา 6 สวรรค์ชั้นที่ยังเสพกามกันอยู่ หรือ ฉกามาพจร
พระโพธิสัตว์ก่อนจะจุติลงมาเป็นเจ้าชายสิตทัตถะ และพระนางสิริมหามายา
พักอยู่ที่สวรรค์ชั้นดุสิต ซึ่งต่ำกว่าพญาวัสวดี 1 ชั้น
ส่วนพรหม์อีก 16 ชั้น เขาไม่มีกาม ไม่มีเพศ ไปจนถึงไม่มีรูปไม่มีร่างครับ



ปล. พี่กุ้งแห้งครับ ทำไมสามเณรราหุลบรรลุอรหันตผลแล้วยังต้องไปอยู่สวรรค์ชั้นดาวดึงส์อ่ะคับ ??
ผมนึกว่าจะนิพพานเลยซะอีก แหะๆ
บันทึกการเข้า
กุ้งแห้งเยอรมัน
แขกเรือน
สุครีพ
******
ตอบ: 1573



ความคิดเห็นที่ 54  เมื่อ 05 มี.ค. 08, 06:48

ว้า.. คุณกุ้งแห้งเยอรมันทำไมถึงทำน้องติบอมึน หา..
ดับขันธ์ แต่ดันไปดาวดึงส์ ดับขันธ์ ก็ไม่น่าจะเกิดอีก
แต่.. ลองอ่านตรงนี้ค่ะ
.................
พระพุทธเจ้าไม่เคยทรงอธิบายว่า พระอรหันต์ผู้บรรลุนิพพานเมื่อดับขันธ์แล้วจะอยู่ในสภาพเช่นใด การอธิบายทำได้ในลักษณะเพียงว่า นิพพานคือการดับทุกข์ สิ้นตัณหา เหมือนไฟที่ดับจนสิ้นเชื้อไม่สามารถที่จะลุกลามขึ้นมาได้อีก สำหรับพระอรหันต์ที่ปรินิพพานแล้วนั้น พระพุทธองค์ไม่ทรงตรัสยืนยันถึงความมีอยู่หรือความดับสูญ พระองค์ตรัสแต่เพียงว่า เมื่อพระองค์ปรินิพพานแล้ว ทั้งเทวดาและมนุษย์จะไม่สามารถเห็นพระองค์อีกต่อไป "ดูกร ภิกษุทั้งหลาย กายของตถาคต มีตัณหาอันนำไปสู่ภพขาดแล้ว ยังดำรงอยู่ เทวดาและมนุษย์ทั้งหลายจักเห็นตถาคตชั่วเวลาที่กายของตถาคตยังดำรงอยู่ เมื่อกายแตกสิ้นชีพแล้ว เทวดาและมนุษย์ทั้งหลายจักไม่เห็นตถาคต" (ที.สี.14/90) ในคำสอนพระพุทธศาสนา ไม่มีอัตตาใดเข้าสู่นิพพาน และไม่มีอัตตาดับสูญในภาวะแห่งนิพพาน แม้ในโลกแห่งปรากฏการณ์ เบื้องหลังเบญจขันธ์อันไม่เที่ยงนั้น ก็มิได้มีอัตตาซึ่งเป็นผู้รับรู้หรือเป็นพื้นฐานแห่งตัวตนที่เที่ยงแท้อยู่ ทุกสิ่งทุกอย่างในโลกอยู่ในรูปของกระบวนการที่เกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป ทั้งรูปธรรมและนามธรรม กระบวนการแห่งนามรูปที่สมมติว่าเป็น ตัวตน สัตว์ บุคคล เราเขา นี้ เมื่อวิวัฒนาการไปจนกระทั่งถึงที่สุด ความเกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไปก็เป็นอันยุติลง สภาพความสิ้นสุดกระบวนการแห่งนามรูปที่ไม่เที่ยงแปรปรวนอยู่ทุกขณะนี้ เรียกว่านิพพาน เมื่อรูปและนามดับ นิพพานจึงไม่ใช่ทั้งจิตและสสารซึ่งต้องอาศัยเหตุปัจจัยในการดำรงอยู่ พระนิพพานตั้งอยู่โดยไม่ต้องอาศัยเหตุปัจจัย จึงเรียกว่า อสังขตธรรมในพระไตรปิฎกมักเปรียบนิพพานว่าเหมือนกับไฟที่ดับแล้ว ไม่สามารถบอกได้ว่าไฟที่ดับไปนั้นหายไปไหนหรืออยู่ในสภาพใด

นิพพานเป็นธรรมที่พ้นไปจากโลก การอธิบายนิพพานโดยอาศัยพื้นฐานในทางโลกตลอดจนภาษาทางตรรกวิทยาจึงไม่อาจกระทำได้้ การจำกัดความจึงมักใช้การปฏิเสธทุกสิ่งทุกอย่าง เช่น ไม่ใช่ทั้งสิ่งนั้นและสิ่งนี้ ไม่มีการอุบัติ ไม่มีการจุติ ไม่มีองค์ประกอบ ไม่มีการสร้างสรรค์ ไม่มีการแตกทำลาย ไม่ใช่ดิน น้ำ ไฟ ลม เป็นต้น ดังปรากฏในพาหิยสูตร ความว่า "ดิน น้ำ ไฟ และลม ย่อมไม่หยั่งลงในนิพพานธาตุใด ในนิพพานธาตุนั้น ดาวทั้งหลายย่อมไม่สว่าง พระอาทิตย์ย่อมไม่ปรากฏ พระจันทร์ย่อมไม่สว่าง ความมืดย่อมไม่มี ก็เมื่อใดพราหมณ์ชื่อว่าเป็นมุนีเพราะรู้ (สัจจะ 4) รู้แล้วด้วยตนเอง เมื่อนั้นพราหมณ์ย่อมหลุดพ้นแล้วจากรูปและอรูป จากความสุขและความทุกข์..." (ขุ.ขุ.อ.25/50)

เมื่อนิพพานพ้นไปจากบัญญัติในทางโลก การอธิบายถึงนิพพานจึงเป็นเพียงการเปรียบเทียบ เช่น เปรียบเทียบกับความว่างเปล่า หรือไฟที่ดับไป เป็นต้น ในวิสุทธิมรรคกล่าวว่า "เพราะพระนิพพานเป็นคำสุขุมนัก...เป็นธรรมที่ต้องเห็นด้วยอริยจักษุ เป็นธรรมอันบุคคลผู้เพียบพร้อมด้วยมรรค (เท่านั้น) จะพึงถึงได้"
นิพพานจึงมิใช่เรื่องของการเข้าใจ แต่อยู่ที่การเข้าถึง อันเป็นผลจากการปฏิบัติธรรมของตนเอง
บันทึกการเข้า
Oam
แขกเรือน
ชมพูพาน
***
ตอบ: 168



ความคิดเห็นที่ 55  เมื่อ 05 มี.ค. 08, 08:29

นึกว่าท่านทวนกระแสสังคมสมัยนั้นซะอีกครับ คุณหมีใหญ่ ยิงฟันยิ้ม
บันทึกการเข้า
หมีใหญ่
แขกเรือน
มัจฉานุ
**
ตอบ: 86

ดูแลกิจการของทางครอบครัวเกี่ยวกับการปลูกป่ายูคา และอื่นๆ


ความคิดเห็นที่ 56  เมื่อ 05 มี.ค. 08, 08:48

คุณโอม ทวนกระแสสังคม ผมว่าหลายคนก็ทำอยู่ ในปัจจุบันก็มีคนทวนกระแสสังคมเยอะเยอะ แต่การทวนกิเลส ลอยกิเลสทวนน้ำไปนั้นยากกว่าทวนกระแสมากครับ ปริศนาธรรมนาคนั้นจะนอนอยู่ใต้บาดาล นั่นคือกิเลสละเอียดที่นอดก้นอยู่ต้องใช้กำลังสูงมากถึงจะปลุกให้ตื่นไม่ใช่กิเลสผิวๆ แค่ทำดี ไม่ทำชั่วเท่านั้น
คุณติบอ ที่ผมว่าพญามารมีฤทธาระดับเดียวกับพรม ไม่ได้หมายถึงว่าอาศัยชั้นเดียวกับพรมครับ ถ้าตีความปริศนาธรรม มารหมายถึงมิจฉาทิฐิ ถือตัวถือตนเป็นใหญ่ และยังมีขันท์ครบทั้ง 5 ขันท์ (รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ)  พรม หมายถึงความข่มจนไม่มีรูป หรือไม่มีนาม ถ้าทางพุทธเรียกว่ามิจฉาทิฐิอีกแบบหนึ่ง เช่นเมื่อพระพุทธองค์แรกตรัสรู้พระองค์ทรงคิดจะเผยแพร่ธรรม และหาคนที่มีอิทรีย์แก่กล้าพอจะรับธรรมได้ นึกถึงพระอาจารย์ของพระองค์ในสมัยก่อนที่จะตรัสรู้แล้วก็ทราบว่าได้ถึงกาลแล้ว ไปเป็นพรมแล้ว พระองค์ยังทรงสังเวชใจที่อาจารย์พระองค์หมดโอกาสที่จะตรัสรู้ เพราะว่าติดอยู่ในขั้นพรมทั้งสององค์และจะอยู่เป็นพรมแบบนั้นไปอีกนานหลายกัปป์
รูปพรมนั้นหมายถึง พรมที่ไม่มีนาม (เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ)  มีแต่รูป คือมีขันท์ 1 ขันท์ ที่เรียกว่าพรมลูกฟัก ส่วนอรูปพรมนั้น มีแต่นาม ไม่มีรูปคือมีขันท์ 4 ครับ
บันทึกการเข้า
chai1960
มัจฉานุ
**
ตอบ: 67



ความคิดเห็นที่ 57  เมื่อ 05 มี.ค. 08, 10:32

อยากฟัง...ความเห็นความเข้าใจส่วนตัวเรื่อง "นิพพาน" จากทุก ๆ ท่านผู้ร่วมเสวนา

"...ดูกร ภิกษุทั้งหลาย กายของตถาคต มีตัณหาอันนำไปสู่ภพขาดแล้ว ยังดำรงอยู่
เทวดาและมนุษย์ทั้งหลายจักเห็นตถาคตชั่วเวลาที่กายของตถาคตยังดำรงอยู่
เมื่อกายแตกสิ้นชีพแล้ว เทวดาและมนุษย์ทั้งหลายจักไม่เห็นตถาคต..."

ถ้าเป็นเช่นนั้น...ใครเล่าจะเห็นพระพุทธองค์ ในสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ ใครเล่าจะเห็นท่านเสด็จลงจากสวรรค์
ภาพใน ความคิดเห็นที่ 17 จักไม่เกิด


นอกจากศิลปินจะรังสรรค์ผลงานขึ้นจากจินตนาการโดยคำนึงถึงพระกตัญญุตาของพระพุทธองค์

หรือคำว่า "...เทวดาและมนุษย์ทั้งหลายจักไม่เห็นตถาคต..." นั้นมิได้รวมพระอรหันต์ในคำว่ามนุษย์...ภาพนี้จึงเกิดจากการถ่ายทอดของพระอรหันต์

เรียนเชิญแสดงความคิดเห็นมาด้วยความเคารพ
ด้วยยังมีทั้งผู้เบาปัญญาเช่นผม และเด็ก ๆ ที่จะต้องเข้ามาอ่านแล้วเกิดสงสัย... ฮืม ฮืม ฮืม
บันทึกการเข้า

ประวัติศาสตร์เหมือนสายน้ำมีทั้งช่วงที่ไหลรินฉ่ำใสและช่วงที่ถาโถมทำลาย
Kurukula
สุครีพ
******
ตอบ: 1303



ความคิดเห็นที่ 58  เมื่อ 05 มี.ค. 08, 11:33

ตอบคุณกุ้งแห้งก่อนละกันครับ คิดว่ารูปแรกเป็นการปลงอายุสังขารของพระพุทธองค์ มีพญามารมาทูลเชิญให้เข้านิพพาน พระพุทธองค์ก็ตอบตกลง ในอีก 3 เดือน

สัญญะของพระพุทธองค์ คือมีรัศมีเป็นเปลวครับ (อิอิ เดี๋ยวค่อยกล่าวกันต่อนะครับเรื่องสัญญะ)


งง กับคุณชัย1960ครับ เข้าใจว่าคงหมายถึง ทำไมในเมื่อพระเจ้าเข้านิพพานแล้ว เรายังเห็นพระพุทธเจ้าในจิตรกรรมหรือประติมากรรมอยู่

ใช่หรือเปล่าครับ?

"เมื่อกายแตกสิ้นชีพแล้ว เทวดาและมนุษย์ทั้งหลายจักไม่เห็นตถาคต"

แต่ในจิตรกรรม สิ่งที่เราเห็นก็มิใช่ตถาคตองค์จริงนี่ครับ เป็นเพียงมายาภาพ หรือ "การสร้างภาพแทนความจริง" (Representation)

 เราทราบได้ทันทีว่าอุษณียษะและรัศมีรอบพระเศียร เป็นสัญลักษณ์ของพระพุทธเจ้า การปรากฏอุษณียษะแสดงว่าประติมากรรมนั้นเป็นพระพุทธรูป ขณะที่ผู้ชมที่ไม่เข้าใจรหัสทางวัฒนธรรมหรือเป็นคนนอกวัฒนธรรมก็จะไม่เข้าใจความหมายสัญญะ (signified)


ในศิลปะเล่าเรื่อง เป็นการแบ่งปันประสบการณ์ระหว่างผู้ส่งสารคือศิลปินกับผู้รับสารคือผู้ชม แต่มีข้อแม้ก็คือ ผู้ชมจะต้องเข้าใจความหมายแฝงหรือ”กติกา” ซึ่งก็คือรหัสทางวัฒนธรรมที่จะทำให้เข้าใจงานศิลปะอย่างครบถ้วนสมบูรณ์


 พระพุทธรูปนั้นจึงทำหน้าที่เป็นสารที่เป็นภาพและมีรหัสอยู่ด้วยในตัว (a coded iconic message)

เป็น ภาพแสดงแทนที่บริสุทธิ์ (Purely representative image) ที่แยกออกอย่างชัดเจนระหว่างรูปเคารพที่อยู่ในฐานะของสิ่งที่ทำให้ระลึกถึง กับของที่เชื่อว่ามีคุณวิเศษด้วยตัวของมันเอง (Idol) ที่สามารถให้คุณให้โทษอย่างควบคุมไม่ได้

เราเคารพพระพุทธเจ้าผ่านทางพระพุทธรูป โดยที่พระพุทธรูปไม่มีวันเป็นพระพุทธเจ้าเองได้ 

เหมือนที่เราเก็บรูปพ่อแม่ไว้ในกระเป๋าสตางค์เพื่อระลึกถึง แต่รูปเหล่านั้นก็ไม่มีวันเป็นพ่อแม่"จริงๆ"ได้

แต่ในสังคมไทย เส้นที่ขีดคั่นระหว่าง ภาพแสดงแทนที่บริสุทธิ์ กับ ของที่มีคุณวิเศษในตัวเอง (Idol) ยังไม่ชัดเจนนักในสำนึกของผู้คน จึงเห็นได้ว่า มีคนอีกจำนวนมากมายที่บูชา "ตัวรูปเคารพ" ราวกับเป็นของจริง

โดยเฉพาะในสังคมที่ยังคงมีความเชื่อทางไสยศาสตร์ปะปนอยู่


แม้ว่าในระดับเจตนาของการผลิตแล้ว ศิลปินอาจตั้งใจวาดขึ้นสำหรับการระลึกถึง แต่เมื่อผ่านกระบวนการของสิ่งเหนือธรรมชาติ (ซึ่งแน่นอนว่าไม่สามารถควบคุมได้) ภาพเพื่อการแสดงแทนก็อาจเปลี่ยนแปลงสภาพให้กลายเป็นภาพที่มีคุณวิเศษ (Magical image) ในตัวเองได้เช่นกัน เรื่องราวเช่นนี้ปรากฏในวรรณกรรมไทยมานักต่อนักแล้ว

คงจำเรื่องนางอดูลปีศาจสิงรูปทศกัณฐ์ที่สีดาวาดกันได้ครับ
บันทึกการเข้า
chai1960
มัจฉานุ
**
ตอบ: 67



ความคิดเห็นที่ 59  เมื่อ 05 มี.ค. 08, 11:45

น่าอัศจรรรย์ ...คุณ  Kurukula... ได้แก้ปัญหาด้วยปฏิภาณอันวิจิตรยิ่งถูกต้องดีแล้ว
บันทึกการเข้า

ประวัติศาสตร์เหมือนสายน้ำมีทั้งช่วงที่ไหลรินฉ่ำใสและช่วงที่ถาโถมทำลาย
หน้า: 1 2 3 [4] 5 6 ... 10
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.07 วินาที กับ 20 คำสั่ง