เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 ... 4 5 [6] 7 8 ... 10
  พิมพ์  
อ่าน: 40088 "รุ่งเรือง.. เมืองศิลป ๓"
กุ้งแห้งเยอรมัน
แขกเรือน
สุครีพ
******
ตอบ: 1573



ความคิดเห็นที่ 75  เมื่อ 09 มี.ค. 08, 17:04

พระที่นั่งพุทไธสวรรย์ ไม่ใช่ที่ๆมาแล้วกราบพระ แล้วจากไปง่ายๆ เป็นเหมือนจักรวาลความงาม ความรุ่งเรือง และฝีมือทั้งทางจิตรกรรม  การตกแต่ง และสถาปัตยกรรม
เงยดูเพดานที่มีทั้งดาว และเทวดาล้อมรอบหรือเปล่าคะ


บันทึกการเข้า
กุ้งแห้งเยอรมัน
แขกเรือน
สุครีพ
******
ตอบ: 1573



ความคิดเห็นที่ 76  เมื่อ 09 มี.ค. 08, 17:07

ด้านหลังมีตู้พระไตรปิฎก ให้เราชมอย่างพินิจพิจารณา .. เป็นตู้ลายรดน้ำค่ะ


บันทึกการเข้า
กุ้งแห้งเยอรมัน
แขกเรือน
สุครีพ
******
ตอบ: 1573



ความคิดเห็นที่ 77  เมื่อ 09 มี.ค. 08, 17:08

 ยิ้มกว้างๆ


บันทึกการเข้า
กุ้งแห้งเยอรมัน
แขกเรือน
สุครีพ
******
ตอบ: 1573



ความคิดเห็นที่ 78  เมื่อ 10 มี.ค. 08, 09:04

น ณ ปากน้ำ ได้เขียนเรื่องราวของลายรดน้ำบนตู้พระธรรมที่เราควรมีโอกาสไปดู ดิฉันอ่านแล้วก็ขวนขวายไปดู เฉพาะที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติพระนครและเจ้าสามพระยานี่ก็เหลือแหล่แล้วค่ะ
จากที่ดูว่าสวย ว่างาม ได้อ่านหนังสือลายรดน้ำของท่าน ก็พอเข้าใจขึ้นมาบ้าง และดูลึกซึ้งได้ไปอีกระดับ
การดูศิลปะ เป็นเรื่องของใครของมัน เราฟังปราชญ์ท่านว่านั่นงามนี่สวย นี่สุดยอดไว้
ดูเองอาจจะไปเห็นอะไรที่คิดว่างามและสุดยอดไม่แพ้ที่ท่านเห็นก็ได้
ศิลปะไม่ผูกขาดหรือจำกัดค่ะ.. คุณติบอ คุณกุรุกุลา คุณเอลวิสภู คุณพพ คุณโอมและท่านอื่นๆเห็นเป็นอย่างไรคะ
บันทึกการเข้า
กุ้งแห้งเยอรมัน
แขกเรือน
สุครีพ
******
ตอบ: 1573



ความคิดเห็นที่ 79  เมื่อ 10 มี.ค. 08, 10:08

ขอบคุณคุณเอลวิสภูที่ส่งบทความนี้มาให้ทางอีเมล์เมื่อวานนี้ค่ะ

‘ตู้พระไตรปิฏกลายรดน้ำ’ หนึ่งในสยาม
โดย ภุชชงค์ จันทวิช
ที่มา http://www.dailynews.co.th/


ศูนย์วัฒนธรรมที่กำลังจะสูญ

คนไทยกับเครื่องแต่งเรือนดูจะเป็นของคู่กัน
เราเคยพบโต๊ะสำริดปิดทองแบบจีนอยู่ในกรุพระปรางค์
วัดราชบูรณะ
ซึ่งมีความเก่าแก่ถึงสมัยอยุธยาเป็นที่วางตั้งประดิษฐานเครื่องราชูปโภคต่าง
ๆ ของพระมหากษัตริย์ เช่น พัดโบก จามร พระแส้จามรี
(จำลองด้วยทองคำ) ฉลองพระบาท พระเต้าทักษิโณทกทองคำ
ยอดเป็นพรหมพักตร์ พระแสงขรรค์ฝักทองคำประดับรัตนชาติ
เมื่อภาคต้นพุทธศตวรรษที่ ๒๐
ตอนต้นและข้าวของเครื่องใช้อีกมากมาย
สิ่งของเหล่านี้ล้วนวางตั้งและประดิษฐานอยู่บนโต๊ะสำริดดังกล่าวทั้งสิ้น
จึงมีผู้รู้ตั้งคำถามขึ้นมาว่าคนไทยมีตู้ใส่เสื้อผ้าบ้างหรือเปล่าและหน้าตาตู้เป็นอย่างไร
คำตอบก็คือ น่าเชื่อว่ามี แต่คงไม่มีครบทุกบ้าน
อาจจะมีบ้างเฉพาะผู้มีฐานะดี พวกเจ้าขุนมูลนาย เจ้าพระยา
ท้าวพญา พระมหากษัตริย์ และถามต่อไปว่า
แล้วของเหล่านี้อยู่ที่ไหน
จึงหายไปหมดเกลี้ยงไม่ส่อเค้ามูลให้เห็นบ้าง



เรื่องนี้ท่านผู้รู้บางท่านอธิบายว่าข้าวของเครื่องใช้เหล่านั้นอาจจะนำไปถวายวัด
เพื่อจะเป็นอานิสงส์เพื่อชาติหน้าจะได้มีของใช้ดี ๆ
อันความเป็นจริงเครื่องเรือนจำพวกตู้ โต๊ะ หีบใส่ผ้า
จากจีน ญี่ปุ่นและฝรั่ง รวมทั้งพรมปูพื้นจากอินเดีย ด้าย
ผ้าไหม จากจีน ดาบจากญี่ปุ่น กริชจากชวามลายู
จานชามจากจีนและญี่ปุ่น เครื่องเทศจากอินเดีย เปอร์เซีย
ซึ่งเอาเข้าจริงแล้วน้ำพริกปลาทูก็อาจจะไม่ใช่อาหารประจำชาติไทยดั้งเดิมแท้จริงเพราะพริกขี้หนู
พริกชี้ฟ้าอาจจะมาจากส่วนอื่น ๆ
ของโลกที่ติดตามมากับพวกหมอสอนศาสนา นักบวชต่าง ๆ
ก็เป็นได้

สำหรับตู้ของพระสงฆ์ เราเรียกว่า ตู้พระธรรม
อาจใช้ได้อเนกประสงค์ ตู้พระธรรม ต้องแยกจากหีบพระธรรม
เพราะของสองอย่างลักษณะแตกต่างกัน
ลวดลายภาพเล่าเรื่องชาดกและพระพุทธประวัติ
วรรณกรรมรามเกียรติ์
รวมทั้งภาพเกร็ดในวิถีชีวิตและขนบธรรมเนียมในชีวิตประจำวันที่ไม่มีจารึกอักษรและเราก็สามารถเข้าใจด้วยอักษรภาพที่ปรากฏเหล่านั้นได้แจ่มแจ้งชัดเจนยิ่งขึ้น
จึงนับได้ว่าเป็นการบันทึกด้วยภาพ
เล่าเรื่องที่ดีและชาญฉลาด ประณีตพิเศษ



ตู้ลายรดน้ำ ของไทยอาจมีเค้ารูปมาจากญี่ปุ่นหรือตู้จีน
ตู้ฝรั่ง
ที่เรียกว่าตู้ลายรดน้ำก็เนื่องมาจากกรรมวิธีและวิถีของช่างรักนั่นเอง
เริ่มต้นขั้นตอนต้องหาไม้สักอย่างดีมาต่อเป็นตัวตู้อย่างสวยงามสง่า
แข็งแรง มั่นคง จากนั้นก็ใช้ช่างรักดำเนินการผลิต
ซึ่งมีกรรมวิธีเชิงช่างที่มีความละเอียดอ่อนสวยงามขั้นตอนพิถีพิถันมาก
ช่างรัก
ช่างปิดทองและช่างเขียนอาจเป็นช่างคนเดียวกันหรือต่างกันก็ได้
นอกจากนี้ยังมี ตู้เขียนลายกำมะลอ
คือวิธีทำคล้ายลายรดน้ำแต่ใช้สีที่ได้จากสนิมของโลหะหรือส่วนผสมโลหะมาเขียนเติมให้เกิดสี
น้ำหนัก
รูปลักษณ์ของตัวภาพและลักษณะของแสงเงาตามความเหมาะสมเพื่อออกมาเป็นภาพที่ผสมกลมกลืนตามที่ใจปรารถนาและตามที่ต้องการปัจจุบันก็เหลือตัวน้อยเต็มทีที่จะทำได้อย่างงานสมัย
โบราณ จึงอาจจะเป็นงานที่ขาดตอนสูญหายต่อไป
ซึ่งดูไปแล้วตู้พระธรรม
ตู้ลายรดน้ำมักเป็นเอกลักษณ์ของชาติอย่างหนึ่ง

ตู้พระไตรปิฎกลายรดน้ำนี้ ท่านศาสตราจารย์ศิลป์ พีระศรี ได้เขียนกล่าวไว้ว่า

ตู้พระธรรม ที่แท้จริงนั้นมีทรงเป็นสี่เหลี่ยมลูกบาศก์
ส่วนบนสอบมีขาตั้งตรงมุม ๔ ขา ยาวจากมุมของตู้ลงไปประมาณ
๑๕ หรือ ๒๐ นิ้ว
โดยทั่วไปนั้นขาของตู้พระธรรมจะมีขนาดต่างกันอยู่มากก็ตาม
ขนาดเฉลี่ยโดยทั่วไปพอกำหนดได้ดังนี้ สูง ๔๐ นิ้ว กว้าง ๔๐ นิ้ว และลึก ๓๐ นิ้ว ขาตู้ยาว ๑๕ หรือ ๒๐ นิ้ว
ภายในตู้มีหลายชั้นสำหรับวางห่อพระคัมภีร์
ซึ่งได้กล่าวจารลงใบลานแล้วมัดเป็นผูก ผูกละ ๒๕ ใบ

เรื่องตู้ลายรดน้ำ
นี้เป็นเรื่องใหญ่ที่สำคัญทางวัฒนธรรมและงานช่างศิลป์
เนื่องด้วยชาวต่างประเทศเห็นเป็นศิลปะที่หายากและมีอยู่แห่งเดียวแสดงความเป็นเอกลักษณ์ไทยแท้จริงจึงแย่งกันสะสม
ถึงแม้นจะมีกำเนิดเกิดมาจากหลายเชื้อชาติแต่ก็ได้รวมหลากหลายฝีมือช่างหลากหลายวัฒนธรรมหล่อหลอมรวมด้วยอุณหภูมิแห่งศิลปะและวัฒนธรรมสืบต่อเนื่องยาวนานกลั่นกรองมาเป็นหนึ่งเดียว
คือ ตู้ลายรดน้ำ
ซึ่งสร้างด้วยฝีมือช่างที่ก่อด้วยศรัทธาต่อพระพุทธศาสนาอันประเสริฐนับวันตู้แบบตู้ลายรดน้ำสมัยรัตนโกสินทร์นี้ก็จะเลือนรางสูญหายไปจากลมหายใจสุดท้ายของสังคมไทยในปัจจุบัน
ซึ่งน่าเสียดายเป็นอย่างยิ่งเพราะตู้หลังเดียวบอกอะไรมากกว่าที่เราคิดโดยเฉพาะภาพเหตุการณ์ประวัติศาสตร์สำคัญของไทยที่นับวันแต่จะเลือนหายไปพร้อมกับน้ำจิตน้ำใจของใครบางคน
ตู้เหล่านี้กลับไปอยู่ในต่างประเทศมากกว่าอยู่ ณ
ถิ่นกำเนิด

ตู้พระธรรม
ถูกสถาปนาขึ้นเพื่อเก็บรักษาคัมภีร์พระไตรปิฎกและคัมภีร์อื่น
ตลอดจนสมุดไทยที่สำคัญสัมพันธ์เกี่ยวเนื่องด้วยพระศาสนาและมักเก็บรักษาอยู่ในที่ซึ่งมีความปลอดภัยสูง
เช่นที่หอไตรซึ่งมักจะมีเสาสูงปลูกสร้างอยู่กลางสระน้ำเพื่อป้องกันอัคคีภัย
ภัยจากมอด มด ปลวก และหนอนหนังสือ
ตลอดจนเหล่าแมงและแมลงทั้งหลาย จากสารเคมีจากความแห้ง
ตลอดจนน้ำมูกน้ำลายจากเหล่าพระภิกษุทั้งหลาย
ตู้พระไตรปิฎกจึงออกแบบให้แข็งแรงทนทานสวยงามเล่าเรื่องได้ บอกประวัติได้
มีความเป็นเอกลักษณ์สูงส่งไม่เหมือนใครและไม่มีใครเหมือน
สมควรอย่างยิ่งที่จะจัดให้เป็นหมวดหมู่ให้ดูได้ศึกษาได้.................
บันทึกการเข้า
กุ้งแห้งเยอรมัน
แขกเรือน
สุครีพ
******
ตอบ: 1573



ความคิดเห็นที่ 80  เมื่อ 10 มี.ค. 08, 16:59

 ยิ้ม


บันทึกการเข้า
กุ้งแห้งเยอรมัน
แขกเรือน
สุครีพ
******
ตอบ: 1573



ความคิดเห็นที่ 81  เมื่อ 10 มี.ค. 08, 17:00

 ยิ้ม


บันทึกการเข้า
Kurukula
สุครีพ
******
ตอบ: 1303



ความคิดเห็นที่ 82  เมื่อ 10 มี.ค. 08, 19:01

สวัสดีครับ คุณกุ้ง ช่วงนี้กำลังยุ่งเลยไม่มีเวลามาตอบกระทู้ ขอโทษด้วยนะครับ
บันทึกการเข้า
chai1960
มัจฉานุ
**
ตอบ: 67



ความคิดเห็นที่ 83  เมื่อ 11 มี.ค. 08, 00:06

ดั่งหัตถ์เทพ...บรรจงขีด...เส้นสาย
สลับลาย...บรรจง....สร้างสรรค์
งานวิจิตร...ปฏิมาร์...จึ่งงามพลัน
เสกสรรค์...นิรมิต...ตามคัมภีร์

ฝนศิลา...หรดาล...เป็นฝุ่นผง
รักษาลาย...สีดำด้วย...ฝุ่นเหลือง
ทาทาบรัก...สีนิลกาฬ...เสร็จครัน
จึ่งปิดทอง...รักนอกนั้น...ด้วยทองเปลว

แล้วตักน้ำ...มหามนต์...ใสสะอาด
ราดรดลาย...วาดหรดาล...เพื่อล้างออก
ลายสีเหลือง...หรดาล...จักหายพลัน
รักที่ติด...ทองเปลวนั้น...ทองยังคง

ผงหรดาล...กั้นทอง...มิให้ติด
เนรมิต...ลวยลายดั่ง...เทพประสิทธิ์
งานชั้นครู...เชิงช่างไทย...งามเหนือชั้น
จึงเสกสรรค์...ทิพย์วิมาน...ตามตำรา...ศิลป์ไทย...เอย










...ถ้าไม่ไพเราะหรือไม่เหมาะสมก็ขอกรุณาลบทิ้ง
ประเภทด้อยปัญญาแต่อยาก...แจม...ครับ... ยิงฟันยิ้ม ยิงฟันยิ้ม ยิงฟันยิ้ม
บันทึกการเข้า

ประวัติศาสตร์เหมือนสายน้ำมีทั้งช่วงที่ไหลรินฉ่ำใสและช่วงที่ถาโถมทำลาย
กุ้งแห้งเยอรมัน
แขกเรือน
สุครีพ
******
ตอบ: 1573



ความคิดเห็นที่ 84  เมื่อ 11 มี.ค. 08, 00:59

ฉากในพระที่นั่งพุทไธสวรรย์นี่ น. ณ ปากน้ำว่าเป็นศิลปะสมัยรัชกาลที่ ๑ ฝีมือช่างตกค้างสมัยกรุงศรีอยุธยา.. ซึ่งนับว่างามเลิศ


บันทึกการเข้า
elvisbhu
แขกเรือน
พาลี
****
ตอบ: 215

เป็นคนเขียนรูป


ความคิดเห็นที่ 85  เมื่อ 11 มี.ค. 08, 12:21

ในพิพิธภัณฑ์ฯ ยังมีตู้พระไตรปิฏก ลายรดน้ำล้ำค่าอีกชิ้นหนึ่ง...
ไม่ดูไม่ได้  เป็นของวัดวัดเซิงหวายฝีมือช่างอยุธยาตอนปลาย ด้วยลีลาของกนกเปลวสะบัดพริ้วเหมือนเปลวไฟ
ในตัวลายประกอบด้วยลายกระหนก และดอกไม้กิ่งไม้ใบไม้ ผสมกับกาบแซมตามช่อ
ในช่องไฟที่ว่างก็จะแซมด้วยนกต่างๆบินบ้างโผบ้างให้อาหารบ้าง
ดูแล้วเพลินไม่มีที่สิ้นสุด นี่ละ ..รสชาติของงานศิลป


บันทึกการเข้า
กุ้งแห้งเยอรมัน
แขกเรือน
สุครีพ
******
ตอบ: 1573



ความคิดเห็นที่ 86  เมื่อ 11 มี.ค. 08, 12:37

ดูแล้วไม่เบื่อค่ะ ยิ้ม ยิ้มกว้างๆ ยิงฟันยิ้ม


บันทึกการเข้า
กุ้งแห้งเยอรมัน
แขกเรือน
สุครีพ
******
ตอบ: 1573



ความคิดเห็นที่ 87  เมื่อ 11 มี.ค. 08, 13:23

ลงตัว ความเคลื่อนไหวสมบูรณื มีชิวิตชีวา


บันทึกการเข้า
pakun2k1d
พาลี
****
ตอบ: 285


ความคิดเห็นที่ 88  เมื่อ 11 มี.ค. 08, 13:33

เพิ่งได้มีเวลามาตามอ่านค่ะ  ได้อ่านที่คุณกุ้งแห้งฯ พูดถึงการสวดมนต์แล้วเสียดายค่ะ  เมื่อสมัยดิฉันเรียนประถมศึกษา  โรงเรียนจะให้นักเรียนเข้าห้องประชุมสวดมนต์ทำนองสรภัญญะ(หากเขียนผิดรบกวนตักเตือนด้วยนะคะ)ฉบับยาวทุกเย็นวันศุกร์  เป็นเรื่องน่าเบื่อสำหรับนักเรียน  ด้วยทฤษฎีทางการศึกษายุคใหม่ที่ต้องการให้เด็กคิด ไม่ต้องการให้เด็กจำ  การสวดมนต์ก็ถูกยกเลิกไป  ทั้ง ๆ ที่แม้จะเป็นเรื่องน่าเบื่อ เป็นเรื่องที่ครูส่วนใหญ่สอนได้แค่ให้เด็กจำ แต่โดยไม่รู้ตัว  การสวดมนต์ก็เหมือนการฝึกการเปล่งเสียง ฝึกร้องเพลง เป็นการสร้างความคุ้นเคยกับคำสัมผัส ฉันทลักษณ์ต่าง ๆ ถึงแม้จะไม่เข้าใจ ไม่ซาบซึ้ง แต่การกระทำซ้ำ ๆ ก็เป็นการบังคับจำไปในตัว  พอยกเลิกไป  จำก็ไม่ได้ คิดก็ไม่เป็น  เฮ้อ..... 
บันทึกการเข้า
กุ้งแห้งเยอรมัน
แขกเรือน
สุครีพ
******
ตอบ: 1573



ความคิดเห็นที่ 89  เมื่อ 12 มี.ค. 08, 00:58

รูปงามต้องดูกันใหญ่ๆ..
นี่ก็อีกชิ้นค่ะสำหรับคนที่ไม่ค่อยมีเวลาไปพิพิธภัณฑ์ เป็นลายดอกไม้ใบไม้และกระหนกเปลว ฝีมือจิตรกรวัดเซิงหวาย ลำต้น กิ่งก้านสาขาของต้นไม้จะมีเหล่านก บ้างกระพือปีกบิน เกาะคาคบไม้ ปะปนไปกับกระรอก กระแต และนกกระยาง
ที่จริงถ่ายภาพด้านข้างตู้ไว้เต็ม แต่ตัดมาให้ชมครึ่งหนึ่งค่ะ จะได้เห็นและสัมผัสเนื้อหาของภาพ และรสชาติทางศิลปะ ช่องว่าง อากาศ และแน่นอนที่สุด..
อารมณ์
ใครไม่เห็นก็ต้องดูดีๆ


บันทึกการเข้า
หน้า: 1 ... 4 5 [6] 7 8 ... 10
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.081 วินาที กับ 19 คำสั่ง