เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 2 [3]
  พิมพ์  
อ่าน: 12754 สมาชิกใหม่มาขออนุญาตเข้าห้องเรียน "เรือนไทย" ครับ
ติบอ
นิลพัท
*******
ตอบ: 1906


Smile though your heart is aching.


ความคิดเห็นที่ 30  เมื่อ 28 ก.พ. 08, 22:48

สมาชิกหลายท่านในเรือนไทยไม่ได้เข้าเรือนมาบ่อยๆหรอกครับ
เพราะแต่ละท่านก็มีเรื่องปากท้องให้หาเลี้ยงกันอยู่ทุกท่าน เผลอๆต้องเลี้ยงอีกหลายปาก หลายท้องด้วย
จะมีบางท่านที่อาจจะพอว่างบ้างตามอัตภาพมาช่วยกันแต้มแต่งสีสันให้เรือนได้บ้าง
บางครั้ง เรื่องไม่เหลือบ่ากว่าแรงอะไร ลองหาดูใน google น่าจะสะดวกกว่าครับ
พิมพ์คำค้นไม่กี่คำ ยังไม่ทันจะกระพริบตาเสร็จอินเตอร์เนตความเร็วสูง ก็ให้คำตอบออกมาแล้วล่ะครับ



งั้นเป็นอันว่า.... เรื่องหอจดหมายเหตุผมขออนุญาตไม่ตอบนะครับ หิหิ แลบลิ้น
บันทึกการเข้า
chai1960
มัจฉานุ
**
ตอบ: 67



ความคิดเห็นที่ 31  เมื่อ 28 ก.พ. 08, 23:04

สมาชิกหลายท่านในเรือนไทยไม่ได้เข้าเรือนมาบ่อยๆหรอกครับ
เพราะแต่ละท่านก็มีเรื่องปากท้องให้หาเลี้ยงกันอยู่ทุกท่าน เผลอๆต้องเลี้ยงอีกหลายปาก หลายท้องด้วย
จะมีบางท่านที่อาจจะพอว่างบ้างตามอัตภาพมาช่วยกันแต้มแต่งสีสันให้เรือนได้บ้าง
บางครั้ง เรื่องไม่เหลือบ่ากว่าแรงอะไร ลองหาดูใน google น่าจะสะดวกกว่าครับ
พิมพ์คำค้นไม่กี่คำ ยังไม่ทันจะกระพริบตาเสร็จอินเตอร์เนตความเร็วสูง ก็ให้คำตอบออกมาแล้วล่ะครับ

งั้นเป็นอันว่า.... เรื่องหอจดหมายเหตุผมขออนุญาตไม่ตอบนะครับ หิหิ แลบลิ้น


ฮืมม...
นี่แหละเวลาได้อะไรมาโดยง่าย มีคนป้อนให้ก็ติดนิสัย...อ้าปากรอให้ป้อน...เลิกขวนขวายค้นหาเอง...ผมผิดไปแล้ว... ยิงฟันยิ้ม ยิงฟันยิ้ม ยิงฟันยิ้ม
ขออภัยด้วยครับ...คุณ ติบอ
บันทึกการเข้า

ประวัติศาสตร์เหมือนสายน้ำมีทั้งช่วงที่ไหลรินฉ่ำใสและช่วงที่ถาโถมทำลาย
chai1960
มัจฉานุ
**
ตอบ: 67



ความคิดเห็นที่ 32  เมื่อ 29 ก.พ. 08, 12:05

บ่ายนี้ขอแนะนำ....ให้ชิม...ส้มตำหัวปลี ไข่ต้ม
ทานอาหารให้ตรงเวลา ดูแลสุขภาพด้วยครับ




หัวปลีมักจะเป็นผักแกล้มกับอาหาร แต่คราวนี้ลองนำหัวปลีมาตำส้มตำ รสฝาดนิดๆ ของหัวปลี เมื่ออยู่รวมกับน้ำส้มตำรสเปรี้ยวหวาน
กินแกล้มกับไข่ต้มยางมะตูม เมนูนี้ก็กลายเป็นอาหารถูกปากคนไทยไปอีกจาน

ส่วนผสม

1. หัวปลีหั่นเป็นเส้นตามยาว 1.5 ถ้วย
2. ถั่วฝักยาวหั่นเป็นท่อน 1 ฝัก
3. มะเขือเทศสีดา 3 - 5 ลูก
4. กระเทียม 5 กลีบ
5. น้ำมะนาว 2 ช้อนโต๊ะ
6. น้ำตาลปี๊บ 1/2 ช้อนโต๊ะ
7. น้ำปลา 1.5 ช้อนโต๊ะ
8. พริกขี้หนู 3 - 5 เม็ด
9. กุ้งแห้ง 1.5 ช้อนโต๊ะ



วิธีทำ

1. ตำกระเทียม พริกขี้หนูให้แหลก ใส่กุ้งแห้งลงตำ
2. ปรุงรสด้วยน้ำตาลปี๊บ น้ำปลา มะนาวชิมรสตามชอบ
3. ใส่ถั่วฝักยาว มะเขือเทศลงบุบให้พอแตก
4. ใส่หัวปลีที่ซอยไว้ลงคลุกให้เข้ากัน


Tips
ควรเลือกหัวปลีอ่อน เพราะจะไม่ฝาดมาก และเมื่อซอยหัวปลีแล้วควรนำมาตำทันที เพราะเมื่อทิ้งไว้จะดำ วิธีแก้ คือ แช่หัวปลีในน้ำมะนาวก่อนนำมาทำอาหาร


ที่มา: นิตยสาร Health & Cuisine ฉบับเดือนกันยายน 2549
บันทึกการเข้า

ประวัติศาสตร์เหมือนสายน้ำมีทั้งช่วงที่ไหลรินฉ่ำใสและช่วงที่ถาโถมทำลาย
V_Mee
สุครีพ
******
ตอบ: 1436


ความคิดเห็นที่ 33  เมื่อ 29 ก.พ. 08, 16:55

อ่านคำถามคุณชัย ว่าจะค้นเรื่อง กรมวัง
งงครับ  เพราะกรมวังนี้มีคำตอบหลายอย่าง  กรมวังในความหมายส่วนราชการในพระราชสำนัก  ซึ่งยังแยกย่อยเป็น  กรมตำรวจวัง  กรมวังนอก กรมล้อมพระราชวัง  ฯลฯ  หรือกรมวังซึ่งเป็นกรมหนึ่งในจตุสดมภ์  หรือกรมวังในชุดเสนาหกตำแหน่งของล้านนาครับ  กรุณาเฉลยหน่อยครับ  เผื่ออสมาชิกท่านใดจะพอชี้แจงได้
บันทึกการเข้า
chai1960
มัจฉานุ
**
ตอบ: 67



ความคิดเห็นที่ 34  เมื่อ 29 ก.พ. 08, 22:05

ขอบคุณครับคุณ V_Mee ที่เมตตา
ผมค้นหาข้อมูลมาเป็นเดือนแล้ว จนเข้ามาที่บอร์ดแห่งนี้
ผมพยายามศึกษาสัมฤทธิ์ผลในการหาคำตอบเมื่อสมาชิกเข้ามาถาม
ผมพบว่าหลายคนได้รับคำตอบให้ไปค้นใน google
ลองทดลองค้นคำว่า "google" ในบอร์ดนี้ก็พบว่า
มีกระทู้อ้างอิงถึง google ถึง ๕ หน้าซึ่งหมายถึงกว่า ๑๕๐ กระทู้
นั่นเกิดจากถามคำถามที่ง่ายเกินไป หรือเป็นคำถามที่ไม่ฉลาดนัก
ผมทราบว่าควรตั้งคำถามให้ฉลาด และผู้ถามต้องมีพื้นฐานความเข้าใจพอควรเมื่อจะถามผู้มีภูมิรู้
ความข้อนี้ไม่ได้ว่ากระทบคุณ ติบอ นะครับ เพราะผมชอบความมีอารมณ์ขันของคุณ ติบอ
ผมรู้สึกเป็นมิตรกับหลาย ๆ ท่านในบอร์ดทั้งที่ไม่ได้คุยตรง ๆ
ผมอ่านจากที่แต่ละท่านเขียนหรือตอบครับ

อ้อมมาไกล... ขอเข้าเรื่องดีกว่า
เรื่องมันก็พื้น ๆ คือผมต้องการทำผังเชื้อสายของบรรพบุรุษของผม
แต่เนื่องจากค้นแล้วก็ได้ลึกที่สุดได้แค่รุ่นปู่ ซึ่งผมต้องการหาปู่ทวดและเหนือกว่านั้น
แต่ด้วยผมเป็นบุตรคนที่ ๗ กับภรรยาคนที่ ๓ ของคุณพ่อ
โดยที่คุณพ่อ เป็น บุตรชายคนโตของคุณ ปู่ อันเกิดกับภรรยาคนที่ ๔
ทำให้เกิดช่วงห่างของเวลา จนทำให้คำบอกเล่าต่าง ๆ ลบเลือนไปเหลือแต่เรื่องเล่าขาน

จากการใช้ google พบว่าคุณ ปู่ ของผมท่านเป็นนายอำเภอ รับราชกาลก่อนที่จะมีการสร้างอำเภอ
ตามลิ้งนี้ครับ

http://www.chachoengsao.go.th/ccsdb/index.php?option=com_content&task=view&id=257&Itemid=66

ความว่า
"...4.  ประวัติความเป็นมา
อำเภอบางน้ำเปรี้ยว จัดตั้งเมื่อ พ.ศ. 2448  เดิมอำเภอบางน้ำเปรี้ยว ตั้งอยู่ที่บ้านต้นสำโรง ตำบลบางขนาก
ห่างจากที่ว่าการอำเภอในปัจจุบันไปทางทิศตะวันออก  ประมาณ  4  กิโลเมตร 
โดยมีหลวงพิศาลเกษตรสมบูรณ์ (เกตุ เกษสมบูรณ์) เป็นนายอำเภอคนแรก และใช้บ้านพักเป็นที่ว่าการอำเภอ
     ต่อมาในปี พ.ศ. 2448  ทางราชการได้ปลูกสร้างที่ว่าการอำเภอขึ้นเป็นครั้งแรกที่บ้าน หมู่ที่ 2 ตำบลบางน้ำเปรี้ยว เป็นอาคารชั้นเดียว…"
           
ข้อความข้างบนไม่ได้บอกอะไรมากไปกว่า ในปี พ.ศ.๒๔๔๘ ซึ่งเป็นช่วงปลายรัชสมัยรัชกาลที่ ๕ คุณ ปู่ ก็เป็นนายอำเภออยู่แล้ว
อีกทั้งการใช้ชื่อ เกตุ เกษสมบูรณ์ ก็ต้องเกิดขึ้นในรัชสมัยรัชกาลที่ ๖ นั่นคืดท่านมีอายุอย่างน้อย ๒ รัชกาล
แต่คงเป็นเพราะทางอำเภอคงไม่มีรายละเอียดจึงใส่ไปเช่นนั้น ซึ่งอ่านแล้วตล้ายกับท่านใช้ชื่อสกุลตั้งแต่รัชกาลที่ ๕
ที่หลายท่านให้ความเห็นว่าเป็นไปได้เฉพาะบางกรณีเท่านั้น

แผนงานการสืบค้นของผมที่ตั้งใจไว้และที่อ่านพบในบอร์ดนี้พอสรุปได้ดังนี้
๑. ค้นจาก กพ. ขณะนี้รอคำตอบอยู่
๒. ค้นจากหนังสือ "การแต่งตั้งขุนนางไทยในสมัยรัชกาลที่ ๕" ของ กองจดหมายเหตุแห่งชาติ กรมศิลปากร
๓. ถ้าว่างจะไปค้นที่ว่าการอำเภอ บางน้ำเปรี้ยว
4. ฝ่ายบริการค้นคว้า หอสมุด มศว.ประสานมิตร ตามคำแนะนำของคุณ pakun2k1d

ขณะเดียวกัน มีวัตถุพยานที่ตกทอดมาจากคุณ ปู่ เป็น "งาประทับ" ผมพบว่าต้องไปค้นที่ "กรมวัง"
จากการค้นใน google คำว่า "'งาประทับ" ตามลิ้งนี้ครับ

http://intranet.m-culture.go.th/phuket/boran.html

พบว่ามีลักษณะต่างกันที่รูปทรง ที่ผมมีเป็นรูปคล้าย ระฆังคว่ำ และบริเวณดวงตราที่ประทับจะนูน ครับ
หลังจากค้นต่อไปผมได้อ่าน "...ข้อบัญญัติข้อ ๙  พระราชบัญญัติใช้ตราแผ่นดิน ร.ศ.๑๐๘…"
ตามลิ้งนี้ครับ


http://www.bpp.go.th/e-book/1406.doc

ความว่า

"...พระราชบัญญัติใช้ตราแผ่นดิน ร.ศ.108
            ข้อ 9 ให้เจ้ากรมกองตระเวนซ้ายขวาในกรมพระนครบาล และกรมการผู้ใหญ่ในหัวเมือง คอยระวังตรวจตราตาม
ท้องตลาดและห้างร้านทั้งปวง คอยระวังตรวจตราตามท้องตลาดและห้างร้านทั้งปวง ห้ามอย่าให้ลูกค้าซื้อขายใช้สอย สิ่งของ
ซึ่งมีตราแผ่นดิน ที่มิใช้เป็นของสำหรับใช้ราชการหรือที่เจ้าพนักงานอนุญาตให้ทำหรือสั่งตั้งเป็นร้านตามบ้านตามเรือน ที่มิได้รับ
อนุญาต หรือเป็นของใช้ราชการ  หรือของที่ได้รับพระราชทานแล้ว ก็ให้บอกให้เจ้าของทำลายดวงตราแผ่นดินนั้นเสีย  และห้าม
อย่าให้ซื้อขายใช้สอยสืบไป..."

ค้นมาถึงตรงนี้ก็มืดแปดด้านเพราะ...คำสั่งให้ทำลาย ผมทำลายไม่ลงครับ เพราะสวยงามมาก ขอเก็บไว้บูชาต่อไป
ผมจึงพยายามสืบค้นด้านอื่น ๆ ไปก่อน ดังกล่าวแล้วข้างต้น

หากท่านใดมีวิธีสืบค้นที่ดี หรือมีคำแนะนำใด ๆ กรุณาชี้แนะด้วยครับ
บันทึกการเข้า

ประวัติศาสตร์เหมือนสายน้ำมีทั้งช่วงที่ไหลรินฉ่ำใสและช่วงที่ถาโถมทำลาย
V_Mee
สุครีพ
******
ตอบ: 1436


ความคิดเห็นที่ 35  เมื่อ 29 ก.พ. 08, 23:14

ผมว่า "งาประทับ" ที่คุณชัยบอกไว้ในความเห็นข้างต้นน่าจะเป็นตรางา  ซึ่งเป็นตราตำแหน่งมากกว่าครับ
ตราพวกนี้จะใช้วิธีแกะลาย  เวลาประทับใช้ชาดสีแดงๆ ทาบนตรา  แล้วจึงนำไปประทับบนเอกสาร 
ทีนี้ถ้าแกะรอยที่มาของตรานี้ลองดูหนังสือเรื่องตราที่กรมศิลปากรพิมพ์เผยพร่ในงาน ๑๕๐ ปี พระบรมราชสมภพพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว

ส่วนการที่จะค้นประวัติของคุณหลวงพิศาลเกษตรสมบูรณ์นั้น  เนื่องจากท่านรับราชการกรทรวงมหาดไทย  และการที่มีตำแหน่งเป็นถึงนายอำเภอนั้น  แสดงว่าท่านต้องเป็นข้าราชการชั้นสัญญาบัตร  จึงสามารถสืบค้นข้อมูลชั้นต้นจากหนังสือ "การแต่งตั้งขุนนางไทยในสมัยรัชกาลที่ ๕" ของ กองจดหมายเหตุแห่งชาติ กรมศิลปากรได้  และถ้าท่านมีชีวิตอยู่และรับราชการต่อมาจนถึงปลายรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวหรือไม่  ถ้าคงรับราชการมาจนถึงปลายรัชกาลที่ ๖  สามารถสอบค้นได้จากสมุดทะเบียนประวัติที่กองการเจ้าหน้าที่ สำนักงานปลัดกระทรวงมหาดไทย  (ไม่ทราบว่าทำลายไปแล้วหรือยัง)  เพราะการจัดทำประวัติข้าราชการนั้นมาเริ่มทำกันในตอนปลายรัชกาลที่ ๖ ครับ  และเมื่อเกษียณอายุราชการแล้ว  กรมต้นสังกัดจะต้องส่งสมุดทะเบียนประวัติไปรวมไว้ที่สำนักงานปลัดกระทรวงเพื่อทำเรื่องเบิกจ่ายบำเหน็จบำนาญต่อไปจนท่านผู้นั้นวายชนม์  หรือไปค้นจากเอกสารจดหมายเหตุที่หอจดหมายเหตุแห่งชาติ  สำหรับวิธีหลังนี้ต้องใช้ความสามารถในการอ่านไมโครฟิล์มมากหน่อยครับ  เพราะเอกสารสมัยรัชกาลที่ ๕ นั้นเก็บในรูปไมโครฟิล์ม  หรือถ้าท่านเสียชีวิตก่อนสงครามโลกครั้งที่ ๑  ให้ลองเสิร์ชจากเวบ www.ratchakitcha.soc.go.th  ซึ่งถ้าทราบปีที่เสียชีวิต  ก็สามารถค้นได้ง่ายขึ้นโดยหาจาก "ข่าวตาย" หรือ "ประวัติ" ซึ่งบางคราวจะลงประวัติของผู้วายชนม์ไว้ 

อีกกรณีหนึ่ง การที่คุณหลวงเป็นนายอำเภอในปี ๒๔๔๘ จึงอาจจะเป็นไปได้ว่า ท่านผู้นี้อาจจะเคยเป็นศิษย์ในสำนักฝึกหัดราชการกระทรวงมหาดไทย  หรือโรงเรียนมหาดเล็กที่ต่อมาพัฒนามาเป็นโรงเรียนข้าราชการพลเรือน จ.ป.ร. และจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยตามลำดับ  จึงน่าจะลองไปสอบถามที่หอประวัติ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย  ที่ตึกจักรพงษ์  ใกล้หอประชุมจุฬาฯ  หรือถ้าพื้นเพเดิมท่านเป็นชาวกรุงเทพฯ  ลองไปค้นที่โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัยได้อีกที่หนึ่งครับ  เพราะคนที่จะออกไปรับราชการจนเป็นนายอำเภอในยุคนั้น  อย่างน้อยต้องจบการศึกษาชั้นประถมเป็นอย่างน้อยและในเวลานั้นมีอยู่ไม่กี่โรงเรียนหรอกครับ  หรือค้นจากรายงานขงกรมศึกษาธิการที่หอจดหมายเหตุครับ  น่าจะต้องมีชื่อท่านอยู่ในบาญชีนักเรียนที่สอบไล่ได้ในช่วงต้นๆ ของการจัดการศึกษาครับ

หวังว่าข้อมูลที่กล่าวมานี้น่าจะพอเป็นแนวทางสืบค้นได้ใกล้เคียงที่สุดนะครับ  แต่ไม่ต้องไปที่สำนักพระราชวังเลยครับ  ไม่มีข้อมูลแน่นอนครับ 
บันทึกการเข้า
chai1960
มัจฉานุ
**
ตอบ: 67



ความคิดเห็นที่ 36  เมื่อ 29 ก.พ. 08, 23:38

คุณ V_Mee ตอบไก้กระจ่างชัดจริง ๆ
แนวสืบค้นค่อนข้างจะเห็นเป็นรูปร่างขึ้นแล้ว
เหลือแต่การดำเนินการ และจังหวะเวลาที่เหมาะสม

เรื่องตราประทับ หากผมทราบว่าเป็นของกรมกองไหนแน่ชัด
มีหลักฐานอ้างอิงแน่นอนก็อาจจะมอบให้กรมกองนั้น ๆ เพื่อประโยชน์ทางประวัติศาสตร์
โดยจะหล่อแบบเรซิ่นเก็บไว้แทน
เพราะผมทราบว่าคุณ พ่อ ท่านภูมิใจที่คุณ ปู่ เป็นผู้นำเงินใส่เรือจัดส่งมาภวายรัชกาลที่ ๕
คุณ พ่อ เล่าว่า คุณ ปู่ มีส่วนร่วมในการสร้างความเจริญในสมัยนั้นด้วย
ท่านเล่าติดตลกว่า "...คุณ ปู่ท่านช่วยรัชกาลที่ ๕ สร้างถนนราชดำเนิน..."

พล่ามเสียยาวเลย...ขอขอบคุณครับคุณ  V_Mee

ท่านอื่น ๆ หากมีอะไรจะช่วยเพิ่มเติมก็จักขอขอบคุณยิ่ง
บันทึกการเข้า

ประวัติศาสตร์เหมือนสายน้ำมีทั้งช่วงที่ไหลรินฉ่ำใสและช่วงที่ถาโถมทำลาย
chai1960
มัจฉานุ
**
ตอบ: 67



ความคิดเห็นที่ 37  เมื่อ 01 มี.ค. 08, 13:06



จานนี้ปรุงพิเศษ ...ตำส้มปูดอง...

มอบแทนคำขอบคุณสำหรับคำแนะนำอันทรงประโยชน์
บันทึกการเข้า

ประวัติศาสตร์เหมือนสายน้ำมีทั้งช่วงที่ไหลรินฉ่ำใสและช่วงที่ถาโถมทำลาย
Cynthy
อสุรผัด
*
ตอบ: 4



ความคิดเห็นที่ 38  เมื่อ 03 มี.ค. 08, 14:40


แวะเข้ามา " สวัสดีค่ะ " ขอบคุณมากค่ะ ที่เข้าไปต้อนรับน้องใหม่ ที่ผ่านมาได้เข้ามาอ่านเพื่อเก็บเกี่ยวความรู้ ไม่กล้าแสดงความคิดเห็น ที่มีเท่าหางอึ่งของตัวเอง

(เห็นส้มตำ แล้วอยากทานมากๆค่ะ)


บันทึกการเข้า
chai1960
มัจฉานุ
**
ตอบ: 67



ความคิดเห็นที่ 39  เมื่อ 03 มี.ค. 08, 17:20

รู้สึกว่ามีความรู้เท่าหางอึ่งเช่นเดียวกับคุณ Cynthy เลยครับ... ยิงฟันยิ้ม ยิงฟันยิ้ม ยิงฟันยิ้ม
เลยต้องหาความรู้เพิ่มเติมจากในบอร์ดนี้แหละ
บทความดี ๆ ที่นี่มีมากมาย ประเภทอ่านแล้ววางไม่ลงจริง ๆ ตั้งใจว่าจะอ่านไปเรื่อย ๆ ทุกบทความ

หลายบทความอ่านแล้วรู้สึก...สมองกลวง... ยิงฟันยิ้ม ยิงฟันยิ้ม ยิงฟันยิ้ม
ยิ่งเรื่องการก่อสร้างที่คุ้นชิน ทั้งที่ปลูกเรือนสร้างอาคารมาก็หลายหลัง ใครก็ว่าสวย...ว่าดี
แต่เมื่อได้ความรู้จากในบอร์ดนี้ รับรองอาคารหลังต่อไปช่างคงต้องร้องระงมเป็นแน่
ไม่น่าเชื่อว่าพอมองงานช่างฝีมือเก่า ๆ กลับมีแนวความคิดใหม่ ๆ ผุดขึ้นในสมองกลวง ๆ นี้มากมาย... ยิงฟันยิ้ม ยิงฟันยิ้ม ยิงฟันยิ้ม
บันทึกการเข้า

ประวัติศาสตร์เหมือนสายน้ำมีทั้งช่วงที่ไหลรินฉ่ำใสและช่วงที่ถาโถมทำลาย
Hotacunus
องคต
*****
ตอบ: 613


AD FRANCIAM


ความคิดเห็นที่ 40  เมื่อ 05 มี.ค. 08, 09:05

สวัสดีครับคุณ chai 1960

มาทักทายช้าไปหน่อย คงไม่ว่ากันครับ  ยิงฟันยิ้ม

ตอนนี้ ผมมีอาการมาๆ หายๆ อยู่ คาดว่า อีกปีสองปี ก็คงกลับมาเป็นปกติครับ  เจ๋ง

ยินดีที่ได้รู้จักครับ
บันทึกการเข้า
chai1960
มัจฉานุ
**
ตอบ: 67



ความคิดเห็นที่ 41  เมื่อ 05 มี.ค. 08, 09:54

สวัสดีครับคุณ Hotacunus
อ่านที่คุณ Hotacunus ตอบกระทู้หลายเรื่องแล้ว
(เฉพาะตั้งแต่ หน้า ๑๕ มาถึงหน้า ๑๓ เพราะเพิ่งอ่านย้อนได้เท่านั้น)
ขอขอบคุณคุณ Hotacunus ที่เข้ามาทักทายและขอบคุณในความรู้ที่ได้รับ

ที่ว่า "...มาๆ หายๆ..." คงเป็นเพราะภาระกิจสำคัญ อย่างไรก็ขอให้ดูแลสุขภาพด้วยครับ
ยินดีที่ได้รู้จักเช่นกันครับ
บันทึกการเข้า

ประวัติศาสตร์เหมือนสายน้ำมีทั้งช่วงที่ไหลรินฉ่ำใสและช่วงที่ถาโถมทำลาย
kindness
อสุรผัด
*
ตอบ: 4


ความคิดเห็นที่ 42  เมื่อ 10 มี.ค. 08, 13:05

แวะมาลงชื่อด้วยคนค่ะ ว่าเพิ่งเป็นสมาชิกใหม่ที่นี่เช่นกัน  ยิงฟันยิ้ม 
มีอะไรตักเตือนข้าพเจ้าด้วยนะคะ
บันทึกการเข้า
หน้า: 1 2 [3]
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.064 วินาที กับ 19 คำสั่ง