เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 ... 4 5 [6] 7
  พิมพ์  
อ่าน: 35779 เริ่มต้นเป็นนักเขียน
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 75  เมื่อ 20 พ.ค. 10, 16:04

         พอเราเปิดเรื่องได้ ฉากต่อไปคือการเดินเรื่อง ต้องทำให้การเดินเรื่อง หรือทำให้เหตุการณ์ขัดแย้งของเรื่อง พัฒนาเรื่องให้ไปเรื่อยๆ ต้องสร้างความขัดแย้งก่อน อย่างเรื่องรักต้องมีขัดแย้ง ถ้ารักกันดีๆ แต่มีคนที่สามเข้ามาก็เริ่มต้นคนที่สาม เป็นปมที่หนึ่ง แล้วค่อยขยายความขัดแย้ง แต่ไม่ต้องขยายปมไปถึง 20 ครั้ง เอาหนึ่งถึงสองครั้งก็ได้ ต้องสร้างเหตุการณ์ขึ้นมาให้เห็น เหมือนหนังโฆษณาแว่น  ที่ผู้หญิงไปเจอพ่อ แต่ความจริงมากับแม่ มีปมเรื่องที่1 ปูพื้นว่าเธอตาสั้น อารมณ์ร้อน คิดว่าแฟนเธอนั่งกับคนอื่น ปมที่ 2 ก็เข้าไปด่า พระเอกเข้ามาคือจุดคลี่คลาย เรียบร้อยสมบูรณ์ครบ
        เรื่องสั้นไม่ได้มีแบบเดียว มาดูว่ามีอะไรบ้าง 1. เรื่องสะท้อนตามความเป็นจริง เรียกว่าอัตถนิยม อย่างพี่จินต์ ปัญจพรรค์ เขียน เขาจะเขียนเรื่องที่ไม่ใช่อัตถนิยมไม่ได้เลย พี่อาจินต์เขียนเรื่องพระเจ้าอยู่หัว พ่อ และลุง เนื้อหาแน่นมากๆ เราเห็นภาพ เห็นยุคสมัย นักเลงสมัยก่อนเขามีคุณธรรม นี่คือตัวอย่างเรื่องสั้นที่สะท้อนตามความเป็นจริง
       แต่บางคนไม่ได้เขียนเป็นเรื่องจริง แต่จะเขียนเป็นเรื่องสัญลักษณ์เอาสิ่งหนึ่งมาแทนสิ่งหนึ่ง อย่างเสนีย์ เสาวพงศ์ เรื่องทานตะวันดอกหนึ่ง ดอกทานตะวันไม่ใช่ทานตะวัน แต่เป็นเรื่องรัธรรมนูญ เรื่องประชาธิปไตย เรื่องการเมือง สังคม ได้ของใหม่มาแล้วไม่สนใจอะไร นี่คือสัญลักษณ์ เรื่องสวรรยา ของลาว คำหอม มันมีสัญลักษณ์ มีซ่อนคำด่าไว้มากมาย แกะรอยย้อนหลัง เอาส้วมสกปรกสุดขีดมาเขียนเป็นวิมาน พออ่านแล้วมันขำหัวเราะ สนุกสุดขีด ถ้าต้องการเขียนเรื่องสัญลักษณ์ ต้องทำแบบนี้
      ประเภทที่สามที่นิรันศักดิ์ บุญจันทร์ ชอบเขียน คือนิยายวิทยาศาสตร์ เวลาเป็นเรื่องสั้นคุณกำลังทำอะไรที่เป็นส่วนหนึ่งของสังคมสิ่งแวดล้อม การเมือง เอาความพัฒนาการก้าวหน้าเทคโนโลยีสมัยใหม่ เข้ามาเป็นเครื่องมือในการการนำเสนอ    นิรันศักดิ์ เขียนเรื่องยาชนิดหนึ่ง ที่กินแล้วสามารถจิตนาการได้ คือกำลังด่าคนที่สมัยนี้ไม่มีจินตนาการ ใช้เพื่อกระตุกคนก็ได้
       เรื่องเหนือจริง เรื่องสยองขวัญ เรื่องลึกลับตื่นเต้น หลวงเมืองในมติชน เขียนเรื่องสยองขวัญเหมือนเรื่องสมจริง เวลาอ่านแล้วสมจริง มีการแสดงอภินิหาร อยู่ๆ มีชีวิต นี้คือเรื่องเหนือจริง ที่เราหาคำตอบไม่ได้ อย่างท่อนแขนนางรำก็ สยองขวัญ
       อีกประเภทหนึ่งคือ ใครที่เป็นเจ้าของพื้นที่ท้องถิ่น ตำนาน นิทาน เวลาเอามาผูกบางทีอาจจะไม่สมจริงสะท้อนตามความเป็นจริง อย่างเรื่องคุณหญิงหอยกับคุณนายหอย ของอังคาร กัลป์ยาณพงศ์เหมือนเป็นตำนาน นิทาน แต่ว่าเยาะเย้ยเสียดสีไฮโซ
        เรื่องสั้นที่เราได้ยินบ่อย คือเรื่องสั้นเพื่อชีวิต จะต้องชี้ทางออกให้สังคม ต้องเปิดโปงความเลวร้ายสังคมชั้นสูง จะต้องอยู่ข้างกรรมกร มีเงื่อนไขเยอะมาก ถ้าอ่านตอนนี้มาเขียนตอนนี้สังคมจะงง แต่บางเรื่องยังอ่านได้ เช่น อ. ชัยวรสิงห์ เรื่องเทพธิดาที่ท่านาง เป็นเรื่องสั้นเพื่อชีวิตที่แท้เลย เรื่องของศรีบูรพา แต่ปัจจุบันเราก็เขียนตามปกติ ไม่ต้องแสดงความกดขี่อะไรชัดเจน
        ต่อมาคือเรื่องสั้นประวัติศาสตร์ คนเขียนน้อยมากเพราะว่า มันไม่พอ แต่บางคนอาจจะเขียน เช่นตัดตอนที่ญี่ปุ่นมาเมืองกาญจน์ ชาวบ้านที่เคยเจอญี่ปุ่น ตัดประเด็นแค่นั้น ก็เป็นเรื่องสั้นได้
        ส่วนเทคนิค กลวิธี ที่เห็นบ่อยจนปกติ คือเรื่องหักมุมจบ จะหักหรือไม่หักก็ได้ การหักมุมเป็นการจบที่เราคาดไม่ถึง แต่ถ้าเขียนขาวกับดำมาตลอดเรื่องชัดเจน อันนี้ไม่หักมุมจบ เทคนิคใหม่ๆ เราสร้างได้ตลอด ต้องเกิดขึ้นตลอดเวลา เรื่องการถอดเทป ถ้าถอดตั้งแต่ต้นจนจบไม่ใช่เรื่องสั้น แต่ถ้าเราจะแกล้งทำเป็นถอดเทปตรงไหนบ้าง ทำให้เป็นเรื่องสั้น บางคนใช้การสนทนาตลอดเรื่อง เป็นเรื่องสั้นได้

        คุณชมัยพรบอกว่า เรื่องที่เจะอามาเขียนต้องประทบใจสุดๆ มีแรงปรารถนามากที่สุด ถามตัวเองว่าตั้งแต่มีชีวิตมา อ่านชีวิตรอบๆ ตัว ทำข่าว ที่หาข้อมูลมาทั้งหมด มีเรื่องอะไรกระทบใจสุด อยากเขียนมากที่สุด อะไรที่ร้ายแรง เศร้าที่สุดในชีวิตเรา ความตายครั้งแรกทีเรารู้จัก ของเหล่านี้กระตุ้นเรา เป็นกุญแจสำคัญที่จะไข ชีวิตเรา
      เวลาที่เราจะเลือกเรื่องมาเขียน ดูว่าประเด็นเรามีอะไร ถ้าประเด็นใหญ่ มีพวงมากๆ จะเป็นนวนิยาย ถ้าเราเลือก ประเด็นเล็กๆ เป็นเรื่องสั้น
     นอกจากนี้คุณชมัยพร ยังให้ความรู้เกี่ยวกับความต่างของนวนิยายกับนิยาย ว่านิยายไม่มีบทสนทนา ไม่มีการยกข้อความขึ้นมา ไม่มีเครื่องหมายคำพูด จะเป็นลักษณะของนิทาน ตำนาน เป็นเรื่องเล่า ส่วนนวนิยายมีบทสนทนาแยกมาต่างหาก เพราะเป็นศาสตร์ใหม่ตามฝรั่ง นอกจากนี้เรื่องสั้นนั้นที่ดีควรมีตัวละครไม่เยอะมาก 5-6 ก็คน ดูความจำเป็นของเรื่อง ดูที่บริบทของเรื่อง ส่วนภาษาเราต้องหาภาษาของตัวเองให้เจอ สร้างขึ้นมา เป็นภาษาเฉพาะ แม้ว่าแรกๆ อ่านหนังสือบางเล่ม แล้วติดภาษามา ก็เป็นเรื่องธรรมดา เพราะการอ่านทำให้เราเห็นรูปแบบ ไม่ต้องกลัววิธีการเขียนจะติดมา เพราะมันเป็นเรื่องธรรมดา เราสามารถหนีภาษาได้ ถ้าเรารู้ว่าเราติดก็หนีได้แล้ว
       นายกสมาคมนักเขียนแห่งประเทศไทย สรุปทิ้งท้ายว่า ถ้าเราจะเขียนเรื่อง ถ้าสร้างโครงเรื่องแล้ว ให้เรานึกถึงตัวละครใกล้ๆ ที่เราอยากให้เป็นแบบ ใส่รายละเอียดของคนนั้นไปเลย ต้องช่างสังเกต มีความละเอียดอ่อนในการถ่ายทอด จะทำยังไงให้มีทุกกระเบียดนิ้ว เราเลือกว่าอะไรกระทบอารมณ์ที่สุด ใช้อารมณ์ จินตนาการ ใช้สิ่งที่เป็นภาพรวมมากกว่าข้อมูลดิบและรายละเอียดทั้งหมด ถ้านิยายสามารถใส่รายละเอียดได้ แต่ถ้าเยอะไปจะกลายเป็นสารคดีไป

http://www.bloggang.com/mainblog.php?id=home-where-is-nothing&month=19-05-2010&group=1&gblog=5
บันทึกการเข้า
สีสวาด
อสุรผัด
*
ตอบ: 9


ความคิดเห็นที่ 76  เมื่อ 20 พ.ค. 10, 20:58

ขอบพระคุณอาจารย์มากครับ หลังจากได้ความรู้จากการโต้ตอบ ไปนอนคิดนั่งคิดตามทั้งคืน แต่คงหัวทึบ หรืออาจจะเป็นบัวในโคลนจึงไม่รู้แจ้งนัก
วันนี้มีข้อสงสัยจะมาถามอีกแล้วครับ โชคดีจังที่ได้มาอ่านบทความที่ท่านนำมาโพสต์ ของคุณ ชมัยพร ซึ่งท่านเคยเป็นอาจารย์พิเศษที่มหาวิทยาลัย
สอนการเขียนเรื่องสั้นด้วย แต่สมัยนั้นตัวเองไม่ได้ลงเรียน ได้ฟังจากเพื่อนๆ มาบ้าง แอบติดใจ อยากรู้หลักการสอนของท่านพอดี ก็ปะเหมาะที่
อาจารย์นำบทความของท่านมาให้อ่าน ได้ข้อแคลงใจไปหลายกระทงความ แต่ที่ยังคาใจจนต้องเรียนถามเพิ่มคือ

เมื่อเราได้ Theme แล้ว มีวิธีทำอย่างไรที่จะนำมันมาสร้าง Plot หลักของนวนิยาย และอย่างที่คุณ ชมัยพรท่านกล่าวว่า
 นวนิยายก็ควรนำเสนอแง่คิดย่อยลงมาเป็นพวงด้วย แง่คิดที่ว่าเป็นพวงนี้ อาจสร้างเสริมมาจาก Needs ที่สอง สาม ของ
Main Character ใช่ไหมครับ

ขอบพระคุณมากครับในความกรุณา
อาจจะถามจนดูเหมือนจับจด เพราะไม่ยอมเขียนเสียที
แต่ผมเป็นคนที่ถ้าทำความเข้าใจไม่หมดจด ก็จะทำสิ่งต่างๆ ไม่ได้น่ะครับ
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 77  เมื่อ 20 พ.ค. 10, 21:17

อ้างถึง
เมื่อเราได้ Theme แล้ว มีวิธีทำอย่างไรที่จะนำมันมาสร้าง Plot หลักของนวนิยาย


ถามเอาแทบจนมุม  เพราะเวลาเขียนหนังสือ  การตีความ theme ออกเป็นพล็อต มันจะขยายออกมาโดยอัตโนมัติ  
ถ้าคิด theme แล้วแต่ยังตีความเป็นพล็อตไม่ได้    ก็ต้องปิดไฟล์ต้นฉบับไว้แค่นั้นจนกว่าจะตีได้
คุณถามว่ามีวิธียังไง   มันไม่มีวิธีค่ะ  มันต้องเก็บไปคิดเอาเอง  จนกระทั่งคิดออก   ถ้าคิดไม่ออกก็เริ่มงานไม่ได้

ถ้าดิฉันให้ดินคุณก้อนหนึ่ง  แล้วบอกว่าเอาไปปั้นเป็นภาชนะ  เอามาส่งเป็นการบ้าน
คุณถามว่า มีวิธีไหนช่วยให้ผมคิดออก  ว่ามันควรเป็นแจกัน เป็นจาน เป็นชาม  หรือเป็นถ้วย  ดีล่ะ
ดิฉันก็คงต้องตอบว่า ไปคิดมาให้ได้ก็แล้วกัน
ถ้าหากว่ามันมีสูตรตายตัว เช่นดินสีขาวต้องปั้นเป็นถ้วย  ดินสีเขียวเป็นจาน  ดินสีดำเป็นแจกัน   งานนั้นก็จะไม่สร้างสรรค์   

การเขียนนวนิยาย มีกรอบหรือแนวทางคร่าวๆ  แต่ไม่มีสูตรสำเร็จ   คนอยากเขียนต้องคิดเองทำเอง

อ้างถึง
นวนิยายก็ควรนำเสนอแง่คิดย่อยลงมาเป็นพวงด้วย แง่คิดที่ว่าเป็นพวงนี้ อาจสร้างเสริมมาจาก Needs ที่สอง สาม ของ Main Character ใช่ไหมครับ
ไม่จำเป็นค่ะ   แง่คิดมาจากอะไรก็ได้  เหตุการณ์ พฤติกรรม บทสนทนา  ตัวละคร ได้ทั้งนั้น

อ้างถึง
แต่ผมเป็นคนที่ถ้าทำความเข้าใจไม่หมดจด ก็จะทำสิ่งต่างๆ ไม่ได้น่ะครับ
คุณรู้ไหมคะ  ว่า ดิฉันอายุจนปูนนี้แล้วก็ยังไม่เคยเข้าใจวิธีเขียนนวนิยายได้หมดจดเลย    ที่ตอบคุณได้ก็เพราะอาศัยประสบการณ์ที่ลงมือทำงานเขียนมาหลายสิบปี
บันทึกการเข้า
สีสวาด
อสุรผัด
*
ตอบ: 9


ความคิดเห็นที่ 78  เมื่อ 20 พ.ค. 10, 22:28

ขอบพระคุณมากครับ สำหรับทุกคำตอบ
บันทึกการเข้า
สีสวาด
อสุรผัด
*
ตอบ: 9


ความคิดเห็นที่ 79  เมื่อ 21 พ.ค. 10, 22:56

เรียนถามอาจารย์ครับว่า การวางพลอตเรื่อง เป็นเรื่องของการใช้จินตนาการ หรือว่าหลักการ
ซึ่งผมคิดว่าน่าจะเป็นการใช้ทั้งสองอย่างประกอบกัน แต่ถ้าสมมุติว่า เราไม่มีจินตนาการขยายเรื่อง
สร้างโครงได้จาก Theme เราสามารถใช้วิธีการที่เป็นหลักการคิดได้ไหมครับ แต่ถึงใช้หลักการ
ผมก็ยังไม่ทราบว่าจะไปหาหลักการจากไหนเลยครับ

พยายามหาอ่านทั้งในเว็บไซต์ของไทย และต่างประเทศบ้าง ก็เข้าใจคร่าวๆ น่ะครับ
แต่ก็คิดว่า จะลองเอาความเข้าใจคร่าวๆ นี้มาลองพลอตโครงดูก่อน
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 80  เมื่อ 22 พ.ค. 10, 09:55

เห็นด้วยว่าควรลองพล็อตเรื่องดูก่อน  จากนั้น ลงมือเขียนเลยค่ะ   จะผิดจะถูก  จะได้ตลอดรอดฝั่งหรือจนมุมแค่บทที่ ๑  คุณก็จะรู้ได้ด้วยตัวเอง
ว่าปัญหาอยู่ตรงไหน
จากนั้นคุณก็ค่อยค้นคิดวิธีแก้ปัญหาด้วยตัวเอง      หาคำตอบด้วยตัวเองให้ได้  คุณจะได้เดินหน้าต่อไปได้ด้วยตัวเอง 
วิธีเป็นนักเขียน เริ่มต้นมีอย่างเดียวคือลงมือเขียน ค่ะ
บันทึกการเข้า
onelifeonelove
อสุรผัด
*
ตอบ: 16


ความคิดเห็นที่ 81  เมื่อ 05 ธ.ค. 10, 04:05

อาจารย์ขา

มาลัยสามชายสนุกมากค่ะ(นิยาย)

ตอนแรกไม่อยากอ่านเพราะขัดกับอุดมคติอย่างแรงค่ะ

แต่ตอนนี้ต้องอ่านซ้ำ และเข้าใจลอออร

ในพันทิปนี่กลายเป็นข้อถกเถียงเพราะบางฝ่ายอยากให้หยุดใจไว้ที่พี่เทพ

ความเหงาในหัวใจ แห้งแล้ง บางคนก็ไปตีความทางอย่างนั้นด้านเดียว

แต่หนูคิดว่า แห้งแล้งหมายถึง การที่เราไม่มีใครที่สามารถร่วมทุกข์สุขพูดคุยได้ทุกเรื่อง


ลอออร เมื่อเล็กก็ขาดความอบอุ่น เมื่อโตมาย่อมโหยหาที่พักใจมากกว่า เหงาลึกกว่า

อาจารย์เขียนได้ลึกมากๆค่ะ ยิ่งแม่เศษทอง บางครั้งอ่านดูได้ข้อคิดชีวิตคู่อีก

คนอย่างนางทอง หนูว่ามีนะคะ

ขอบพระคุณอาจารย์ค่ะ
บันทึกการเข้า
Ruamrudee
องคต
*****
ตอบ: 627



ความคิดเห็นที่ 82  เมื่อ 05 ธ.ค. 10, 14:05

วันนี้มาพบกระทู้นี้โดยบังเอิญ มีสาระประโยชน์ดีมากค่ะ

แต่มีคำถามค่ะ.....

เคยได้ยินคุณปองพล อดิเรกสาร เล่าไว้ในรายการ Talk Showทาง TV นานมากแล้ว
ท่านเล่าว่า หนังสือของท่าน หลังจากเขียนเสร็จ จะส่งไปที่สหรัฐอเมริกา(เพราะท่านแต่งเป็นภาษาอังกฤษ)
 
ที่นั่นมีบริษัทรับจ้างตรวจเรื่องที่เขียน และเสนอแนะ พร้อมแก้ไขสิ่งที่ผิดพลาด เช่น
การสะกดคำ  ศัพท์ที่เหมาะสม ไวยกรณ์ รวมทั้งเรื่องที่เขาแนะนำว่าต้องแก้ไขปรับปรุง

ดูเหมือนอาชีพนี้ จะเรียกว่า"Book Doctor"

ท่านใดทราบไหมคะว่า มีคนทำงานอาชีพนี้ในประเทศไทยหรือไม่

เป็นอาชีพที่น่าจะทำเงินนะคะ
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 83  เมื่อ 13 ธ.ค. 10, 20:40

ลืมกระทู้  ไม่ได้เข้ามาดู เลยไม่ได้ตอบคุณร่วมฤดี  เพิ่งมาอ่านอีกครั้งวันนี้เองค่ะ

ไม่ทราบว่าเมืองไทยมี book doctor หรือเปล่า   รู้แต่ว่ามีแต่บรรณาธิการหรือ editor ทำหน้าที่นี้ให้กับนักเขียนที่พิมพ์กับสนพ. หรือนิตยสารของเขา
ส่วนดิฉันไม่มี book doctor ค่ะ
อีกอย่างหนึ่งที่เมืองฝรั่งมี คือ manager หรือ agent ของนักเขียน  ของเราไม่มี   เคยมีเพื่อนฝรั่งขอให้แนะนำ manager ให้เพราะเขาเขียนหนังสือเสร็จกำลังจะหาที่พิมพ์    ดิฉันตอบไปว่าไม่มี  นักเขียนไทยติดต่อกับบรรณาธิการโดยตรง
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 84  เมื่อ 13 ธ.ค. 10, 20:44

อาจารย์ขา

มาลัยสามชายสนุกมากค่ะ(นิยาย)

ตอนแรกไม่อยากอ่านเพราะขัดกับอุดมคติอย่างแรงค่ะ

แต่ตอนนี้ต้องอ่านซ้ำ และเข้าใจลอออร

ในพันทิปนี่กลายเป็นข้อถกเถียงเพราะบางฝ่ายอยากให้หยุดใจไว้ที่พี่เทพ

ความเหงาในหัวใจ แห้งแล้ง บางคนก็ไปตีความทางอย่างนั้นด้านเดียว

แต่หนูคิดว่า แห้งแล้งหมายถึง การที่เราไม่มีใครที่สามารถร่วมทุกข์สุขพูดคุยได้ทุกเรื่อง


ลอออร เมื่อเล็กก็ขาดความอบอุ่น เมื่อโตมาย่อมโหยหาที่พักใจมากกว่า เหงาลึกกว่า

อาจารย์เขียนได้ลึกมากๆค่ะ ยิ่งแม่เศษทอง บางครั้งอ่านดูได้ข้อคิดชีวิตคู่อีก

คนอย่างนางทอง หนูว่ามีนะคะ

ขอบพระคุณอาจารย์ค่ะ

ขอบคุณที่ติดตามอ่านค่ะ  ขอโทษที่ตอบช้าไปมากค่ะ


บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 85  เมื่อ 15 ธ.ค. 10, 22:06

ไปเจอบทความนี้เข้า ก็เลยลอกมาให้อ่านกัน เผื่อจะเป็นประโยชน์บ้าง

How to Easily and Naturally Write Best Selling Fiction
By George Hutton



There is one skill that separates those that only wish to write successful, bestselling novels, and those that actually follow through and make this dream come true. If you go to the bookstore and look in the "How To" section, you'll find plenty of books on how to write bestselling novels. There is no shortage of advice on how to create a believable characters, a fascinating plot that will grab readers as they feel compelled to read this story, even advice on how to design your own book cover.

You want to know a secret?

There is on quality that you need more than anything else to make your dreams come true. Don't get me wrong, I've read, and learned from several of those books on how to write novels. In fact when people ask, I usually tell them that is one of the reasons for the success of my own novels. But there is once piece of advice that will take you further than any literary technique you can glean from any seminar, or book, or free online article. (Wait a sec!)

Ready to know the secret?

Persistence. You have to sit there, in front of your computer (just like you are doing now,) and write. And write, and write some more. You need to set minimum number of words to write every single day. Regardless. Some say five hundred words is a good number, some write many more. Once you get into the habit, the solid, everyday habit of writing, something magical happens.

All those dreams and wonderful ideas that you have bottled up inside that creative mind of yours will start to come out. And sooner or later you will organize them into a cohesive story that many will pay to read. All the techniques, character development, plot development, all that will come naturally. Sure it helps to read about those techniques in your spare time. But the most important thing is to write.

Every single day. And that will separate you from all the millions of others who "have a story" inside them. By writing every single day, your story will get out, and be told, and be read. By millions. Get started. Now.
บันทึกการเข้า
onelifeonelove
อสุรผัด
*
ตอบ: 16


ความคิดเห็นที่ 86  เมื่อ 24 ธ.ค. 10, 17:36

เรียนอาจารย์

       อาจารย์คะ หนูมีปัญหาด้านการเขียนมาปรึกษาค่ะ

พอดีเขียนเล่มต่อ เป็นซีรี่ย์ ใช้บุรุษที่1 บรรยาย

เล่มแรกมือใหม่เขียนไปเรื่อยได้144 หน้าa4

เล่มที่2

หนูวางพล็อตไว้เรียบร้อย แต่พอเขียนเข้าจริงๆ

นี่เดินมาเลยครึ่งเรื่องมานิด ยังได้แต่47 หน้า ทวนแล้วทวนอีกก็คิดว่าดีแล้ว

ไม่ต้องเติมอะไร แต่ความยาวที่ถูกกำหนดนั้น 100 หน้าค่ะ

ตอนนี้กลุ้มใจมากค่ะ

เล่มนี้เขียนสนุกมือมากเลยค่ะ แต่มาติดที่สั้น

หนูจำทำอย่างไรดีคะ ระหว่างขยายพล็อต

กับเพิ่มในส่วนภาพประกอบ และคำอธิบาย(เป็นแฟนตาซีโรแมนติกค่ะ)


สุขสันต์วันปีใหม่นะคะอาจารย์ขอให้สุขภาพแข็งแรง

ขอบพระคุณค่ะ 
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 87  เมื่อ 25 ธ.ค. 10, 08:29

เขียนใหม่ สร้างพล็อตใหม่ค่ะ
บันทึกการเข้า
nakor
อสุรผัด
*
ตอบ: 25


ความคิดเห็นที่ 88  เมื่อ 05 ม.ค. 11, 07:59

ขอบคุณสำหรับความรู้ครับ
บันทึกการเข้า
Root
อสุรผัด
*
ตอบ: 1


ความคิดเห็นที่ 89  เมื่อ 05 มิ.ย. 15, 20:19

ผมเองก็อยากเขียน แต่ไม่กล้า รู้สึกเองว่าเรายังไม่พร้อม เริ่มต้นจริงๆ คือผมทำงานที่เกี่ยวกับนิยาย คือวาดภาพประกอบปกนิยายมาร่วม 20 ปี วาดให้แก้วเก้า และ ว วนิจฉัยกุล มามากมายหลายปก ด้วยความกรุณาและชื่นชอบภาพวาดของผมจากคุณหญิงวินิตา ก็เลยมีโอกาสได้อ่านงานเขียนของท่าน แต่วันหนึ่ง ผมตัดสินใจลองเขียน เริ่มจากที่คิดเอง ไม่รู้ว่าเริ่มยังไง  เขียนไปๆๆ จนจบ และโชคดีที่มีโอกาสได้ลงนิตยสารอีก ก็เลยรู้ว่า ถ้าเราไม่ลงมือ ความฝันก็ยังเป็นแค่ความฝัน และห่างไกลจากเราเหมือนเดิม ตอนนี้ก็พร้อม สำหรับคำติชม การแก้ไขทุกประการครับผม
บันทึกการเข้า
หน้า: 1 ... 4 5 [6] 7
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.074 วินาที กับ 20 คำสั่ง