เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 [2] 3 4 ... 7
  พิมพ์  
อ่าน: 35778 เริ่มต้นเป็นนักเขียน
กุ้งแห้งเยอรมัน
แขกเรือน
สุครีพ
******
ตอบ: 1573



ความคิดเห็นที่ 15  เมื่อ 10 ก.พ. 08, 14:11

ผัด กับผลัด ..เรียกหัวหน้าชั้นและผู้สมคบมาแล้ว อาจารย์เก็บตัวเสียนี่ ลงทะเบียนไม่เสียค่าใช้จ่าย อาจารย์อย่าปล่อยให้นักเรียนถกกันนานนะคะ คนอยากเป็นนักเขียนนิยาย นักเขียนสารคดีแบบดรามาไทซ์ นักเขียนโรคจิต นักเขียนท่องเที่ยว นักถ่ายรูปมือเซียน นักกลอน นักประวัติศาสตร์ศิลปปากคม ฯลฯรออยู่
บันทึกการเข้า
Bana
องคต
*****
ตอบ: 439



ความคิดเห็นที่ 16  เมื่อ 10 ก.พ. 08, 22:29

ปัญหาใหญ่ที่สุดของผมในการเขียนก็คือ  หลักและการใช้ภาษาครับ  ดังนั้นผมว่าเรื่องภาษาน่าจะเป็นพื้นฐานสำคัญที่สุดสำหรับผู้ที่จะเป็นนักเขียนน่ะครับ..... เศร้า
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 17  เมื่อ 11 ก.พ. 08, 12:48

ตอบคุณโอม  - คุณโอมแกล้งงง      มาช่วยดิฉันตอบคำถามท่านอื่นๆดีกว่า แบ่งเบาภาระไปบ้าง
ตอบคุณศิลา  - ประสบการณ์เป็นสิ่งเสริมจินตนาการให้สมจริงยิ่งขึ้นค่ะ
ตอบคุณกุ้งแห้ง   - ทางออกคือเขียนให้จบเรื่องแล้วค่อยส่งไปลงพิมพ์    อย่าวางมือจนกว่าจะจบเรื่องลงได้   ถ้าให้ดีก็อย่าเขียนอะไรที่ยาวนัก เพราะจะเบื่อเสียก่อนจบ
                     -    เฮมิงเวย์ฝึกตัวเองให้เขียนทุกวัน  วันหนึ่งให้ได้ความยาวตามเงื่อนไข   ถ้าไปเที่ยวไหน  ไม่มีเวลาเขียน  วันต่อมาต้องเขียนชดเชยวันที่ขาดไปด้วย
                      -   ดิฉันเอาวิธีนี้มาใช้ตอนทำวิทยานิพนธ์  คือบังคับตัวเองให้เขียนได้อย่างน้อยวันละหนึ่งบรรทัด หรือหนึ่งย่อหน้า    ห้ามปล่อยกระดาษไว้เฉยๆข้ามวัน  เพราะถ้าไม่ใช้วิธีนี้ก็ไม่จบค่ะ

คนที่จะเป็นนักเขียนได้ตลอดรอดฝั่ง มักมีพลังอย่างหนึ่งมาผลักดันในใจ  โดยไม่รู้ที่มาที่ไป 
พลังนั้นคือความรู้สึกว่า "ไม่เขียนไม่ได้แล้ว"   

มาฟังวาทะของ Ruth Rendell กันดีกว่า  เธอเป็นนักเขียนเรื่องลึกลับมีชื่อเสียงของอังกฤษ   ได้สมญาว่าเป็นผู้สืบเนื่องจากคุณย่าอกาธา คริสตี้ ผู้สร้างนักสืบแอร์คูล ปัวโรต์และมิสเจน มาร์เปิล

'I get a lot of letters from people.  They say "I want to be a writer.  What should I do?"  I tell them to stop writing to me and to get on with it.'  ~Ruth Rendell
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 18  เมื่อ 11 ก.พ. 08, 12:56

ตอบคุณ Bana  -  ภาษาเป็นพื้นฐานจำเป็นสำหรับนักเขียน เหมือนสุขภาพแข็งแรงจำเป็นสำหรับนักกีฬาค่ะ
ถ้าใครยังใช้ภาษาไม่ได้ดี  หรือไม่รู้จะใช้ภาษาแบบไหนยังไงถึงจะสื่อสารกับคนอื่นได้ตามที่ตัวเองต้องการ ก็ยังเป็นนักเขียนไม่ได้
บันทึกการเข้า
Bana
องคต
*****
ตอบ: 439



ความคิดเห็นที่ 19  เมื่อ 11 ก.พ. 08, 23:44

ครับเราบันทึกภาพและเรื่องราวต่างๆได้ด้วยกล้องถ่ายรูปและความทรงจำ  อาจเขียนได้บ้างเล็กๆน้อยๆในเชิงของไดอารี่  แต่พอจะเอามาเรียงร้อยยาวๆให้น่าอ่านมันยากจริงๆครับ  ส่วนมากคงจะเสียดายรายละเอียดแบบที่ท่านอาจารย์ว่า  เลยลืมความสวยงามของสำนวนและความละเมียดละไมชวนอ่านไป  ผมชอบเขียนในเชิงสารคดีครับ  แบบอยากเล่าเรื่องราวของวิถีชีวิตของชนต่างๆตามสถานที่ต่างๆที่เราไปสัมผัสมา  ส่วนมากพอเขียนไปได้สักหน่อยพอเห็นไม่เข้าท่าก็พาลเลิก  คงด้วยการงานแบบงานเขียนเป็นงานอดิเรก  แต่ก็จะพยายามต่อไปครับ  หวังว่าจะได้รับสิ่งดีดีสำหรับวิธีการเขียนที่ดี  หรือได้รับแรงบันดาลใจให้เขียนได้สำเร็จสักเรื่องครับ  ขอบพระคุณสำหรับกระทู้นี้มากครับ....... ยิ้มเท่ห์
บันทึกการเข้า
pipat
แขกเรือน
นิลพัท
*******
ตอบ: 1802


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 20  เมื่อ 12 ก.พ. 08, 00:35

เชิญเขียนให้ลองอ่านมั่งดิ
อย่างมากก็โดนแซว แต่การแพร่ความรู้ เป็นบุญกุศลนะครับ
ใครปากไม่ดี ก็กรรมตามสนองเอง

ตอนพูดประโยคนี้ นึกถึงตัวเองยืนหน้ากระจกเงา.....ฮิฮิ
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 21  เมื่อ 12 ก.พ. 08, 16:03

ถ้าคุณ Bana ถนัดในการเขียนแบบเขียนไดอารี่  ก็ลองบันทึกการท่องเที่ยวแบบไดอารี่ดูบ้างซิคะ
เขียนสบายๆ เก็บความทรงจำดีๆจากการท่องเที่ยวเอาไว้   ทุกครั้ง  แล้วลองมาอ่านดู
ก่อนอื่นเขียนให้จบเสียก่อน
บันทึกการเข้า
Oam
แขกเรือน
ชมพูพาน
***
ตอบ: 168



ความคิดเห็นที่ 22  เมื่อ 12 ก.พ. 08, 16:50

การเริ่มต้นเรื่องเป็นสิ่งสำคัญ ผมยอมเสียเงินซื้อหนังสือเล่มหนึ่ง เพราะพลิกๆ ไปอ่านตอนเริ่มต้นของเรื่องสั้นเรื่องหนึ่งแล้วอยากรู้เรื่องราวที่เกิดขึ้นต่อ

ไม่มีฉบับแปลเป็นภาษาไทยอยู่ในมือ เลยลองค้นต้นฉบับภาษาอังกฤษในเน็ตมาให้

A Rose for Emily
by William Faulkner

I

WHEN Miss Emily Grierson died, our whole town went to her funeral: the men through a sort of respectful affection for a fallen monument, the women mostly out of curiosity to see the inside of her house, which no one save an old man-servant--a combined gardener and cook--had seen in at least ten years.
บันทึกการเข้า
Natalee
อสุรผัด
*
ตอบ: 37



ความคิดเห็นที่ 23  เมื่อ 12 ก.พ. 08, 17:18

นักเขียนอาชีพแบ่งแยกความรู้สึกได้อย่างไรหนา หากสัปดาห์หนึ่งๆ ต้องเขียนสองสามเรื่อง
ดิฉันกังวลแทนค่ะ ว่าตัวละครจะพันกันยุ่ง คาเเรกเตอร์สับกัน
เช่นจากบทเผ็ดร้อนของตัวละครหนึ่ง มาเป็นเย็นชาเฉยเมยของอีกเรื่องหนึ่ง
บันทึกการเข้า
Bana
องคต
*****
ตอบ: 439



ความคิดเห็นที่ 24  เมื่อ 13 ก.พ. 08, 00:59

ขอบพระคุณมากครับท่าอาจารย์  จะพยายามเขียนวันละเล็กวันละน้อยให้เสร็จให้ได้  ผมเขียนคล้ายบันทึกน่ะครับแบบเล่าให้น้องสาวฟังเวลาไปไหน  สำนวนคงออกมาประมาณนั้น  ที่จริงผมทึ่งในความสามารถผู้เขียนนวนิยายมากครับ  เขียนจากจินตนาการได้เป็นเรื่องราวจนจบ  อ่านแล้วให้ความรู้สึกได้ต่างๆนานา  ผมเขียนจากเรื่องจริงแท้ๆยากชะมัดเลยครับ  แม้แต่ขึ้นต้นแบบองคุณโอมยังลำบากเลย

หวังจะได้รับคำแนะนำดีดีต่อไปครับ...ขอบพระคุณมาก.. ยิงฟันยิ้ม
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 25  เมื่อ 13 ก.พ. 08, 12:49

อ้างถึง
นักเขียนอาชีพแบ่งแยกความรู้สึกได้อย่างไรหนา หากสัปดาห์หนึ่งๆ ต้องเขียนสองสามเรื่อง
ดิฉันกังวลแทนค่ะ ว่าตัวละครจะพันกันยุ่ง คาเเรกเตอร์สับกัน
เช่นจากบทเผ็ดร้อนของตัวละครหนึ่ง มาเป็นเย็นชาเฉยเมยของอีกเรื่องหนึ่ง

ตอบคุณนาตาลี 
เป็นเรื่องแปลกแต่จริงก็คือ การเขียนเรื่องที่แตกต่างกันโดยสิ้นเชิง พร้อมๆกันนั้นกลับง่ายกว่าเขียนเรื่องในแนวเดียวกัน
เหมือนที่เคยเขียน"รัตนโกสินทร์" พร้อม "วิมานมะพร้าว" พร้อมกัน ในสกุลไทย
ถ้าเทียบง่ายๆก็เหมือนกับตอบข้อสอบวิชาภาษาอังกฤษและคณิตศาสตร์   เราจะไม่มีทางเขียนคำตอบปนกันได้  เพราะลักษณะและเนื้อหาต่างกันคนละแบบ คนละเรื่อง 
สมองจะแยกออกว่าเรื่องไหนเป็นเรื่องไหน 
นิยายก็เช่นกัน   ตัวละคร ฉาก เหตุการณ์ก็จะคนละอย่าง   
แต่ถ้าเขียนเรื่องแนวเดียวกันพร้อมกันนี่สิคะ     อาจจะเผลอกำหนดรายละเอียดไปซ้ำแบบกันได้มากกว่า

ดิฉันถึงชอบเขียนอะไรที่ผิดแผกแตกต่าง    พร้อมๆกันมากกว่าค่ะ

คุณ Bana ลองเขียนวันละเล็กละน้อยไปจนจบนะคะ    เมื่อเสร็จชิ้นแรกแล้วชิ้นที่สองก็จะง่ายขึ้นค่ะ
บันทึกการเข้า
bookaholic
ชมพูพาน
***
ตอบ: 145


ความคิดเห็นที่ 26  เมื่อ 21 ก.พ. 08, 09:23

นักเขียนที่เขียนตัวละครพันกันยุ่ง คงเป็นนักเขียนอาชีพไม่ได้ครับ  เขียนเรื่องเดียวก็พังแล้ว

เข้ามาปั่นเรตติ้งครับ  อยากจะขอให้อาจารย์เล่าต่อ
บันทึกการเข้า
jaiya
อสุรผัด
*
ตอบ: 10


ความคิดเห็นที่ 27  เมื่อ 23 ก.พ. 08, 22:05

มีปัญหาจะถามค่ะ หลายคนที่เขียนนิยายหน้าใหม่อาจจะเคยประสบมาแล้วก็ได้
คือ พอเขียนเสร็จแล้ว ส่งให้สำนักพิมพ์พิจารณา นิยายกลับไม่ผ่าน ส่งหลายที่ก็ไม่ผ่าน (เรื่องเดียวกัน)
ควรจะทำอย่างไรคะ ระหว่าง

1. กลับมาแก้ไขข้อบกพร่องของนิยาย (อาจจะต้องรื้อใหม่ทั้งหมด)
2. ทิ้งไว้อย่างนั้นแล้วเขียนเรื่องใหม่ อย่างระมัดระวังมากขึ้น

บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 28  เมื่อ 24 ก.พ. 08, 21:42

แล้วแต่ค่ะ  ไม่มีกฎเกณฑ์ตายตัว
ถ้าเรื่องไหนไม่ผ่านบก. ควรถามบก.ว่าจุดอ่อนอยู่ที่โครงเรื่องหรือภาษา หรืออะไรกันแน่
ถ้าโครงเรื่องใช้ได้แต่ภาษาไม่ดี  ก็ไม่ต้องรื้อเรื่องทิ้ง  เอามาปรับภาษาใหม่จะง่ายกว่า
แต่ถ้าโครงเรื่องไม่ดีพอ  เขียนใหม่น่าจะดีกว่า 
บันทึกการเข้า
pum
แขกเรือน
อสุรผัด
*
ตอบ: 45


ความคิดเห็นที่ 29  เมื่อ 25 ก.พ. 08, 16:29

มาเข้าชั้นเรียนด้วยค่ะ  อ้าว.. มาเจอคุณโอมแถวนี้ด้วย  สวัสดีค่ะ  สบายดีมั้ยคะ? ยิงฟันยิ้ม
บันทึกการเข้า
หน้า: 1 [2] 3 4 ... 7
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.059 วินาที กับ 19 คำสั่ง