เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 [2]
  พิมพ์  
อ่าน: 14853 ขอภาพ กรมหลวงวงศาธิราชสนิท
CrazyHOrse
แขกเรือน
นิลพัท
*******
ตอบ: 1899



เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 15  เมื่อ 14 ก.พ. 08, 14:16

ปัญหามันอยู่ที่ว่า เมื่อ Stallman จะขอ Symbolics ใช้ส่วนที่ได้ปรับปรุงเพิ่มขึ้นมาบ้าง Symbolics กลับปฏิเสธ
ผมเห็นว่า Stallman มองโลกมุมเดียว คือมุมตัวเอง

ถูกต้องครับ นี่คือมุมมองของ Stallman เป็นหนึ่งในมุมมองที่หลากหลาย ภายใต้ระบบกฎหมายลิขสิทธิ์ มีทางเลือกให้กับผู้รังสรรค์ ผู้ผลิตซอฟท์แวร์บางรายเปิดทางเลือกให้ผู้นำไปใช้ต่อหลายเงื่อนไข เพราะแต่ละคนย่อมมีความคิดเห็นที่แตกต่างกัน และมีวัตถุประสงค์ที่ต่างกันได้

ระบบลิขสิทธิ์ก็ดีอย่างนี้เองนะครับ  ยิงฟันยิ้ม
บันทึกการเข้า

"Postel's Law": "be conservative in what you do, be liberal in what you accept from others"
V_Mee
สุครีพ
******
ตอบ: 1436


ความคิดเห็นที่ 16  เมื่อ 19 ก.พ. 08, 08:30

ขออนุญาตแสดงความเห็นแย้งกับความเห็นที่ ๑๒ ของคุณ Pipat ที่ว่า

"สิ่งประดิษฐ์ใดก็ตาม รวมไปถึงงานสร้างสรรค์เช่นศิลปกรรม หรือคำประพันธ์
กฏหมายลิขสิทธิ์ส่วนใหญ่ รวมถึงของไทยด้วย ให้ความคุ้มครอง 50 ปี นับจากงานนั้น เผยแพร่เป็นครั้งแรก"

เรื่อง ๕๐ ปีนั้นถูกต้องแล้วครับ  แต่พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ของไทยนั้นเริ่มนับอายุลิขสิทธิ์นับแต่ผู้สร้างสรรงานอันมีลิขสิทธิ์สร้างสรรงานนั้นแล้วเส็จ  และลิขสิทธิ์นั้นตงเป็นของผู้สร้างสรรไปจนตลอดชีวิตของผู้สร้างสรร  และกฎหมายยังคุ้มครองต่อไปอรก ๕๐ ปี นับแต่ผู้สร้างสรรงานอันมีลิขสิทธิ์นั้นถึงแก่กรรมลง  จากนั้นลิขสิทธิ์จึงจะตกเป็นของแผ่นดิน  แต่ในกรณีที่มีการขายลิขสิทธิ์ให้แก่นิติบุคคลหรือบุคคลอื่นตั้งแต่ผู้สร้างสรรงานยังมีชีวิตนั้น  ผมไม่แน่ใจว่ากฎหมายบัญญัติไว้อย่างไร  คงต้องศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมเป็นกรณีไปครับ
บันทึกการเข้า
pipat
แขกเรือน
นิลพัท
*******
ตอบ: 1802


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 17  เมื่อ 19 ก.พ. 08, 09:48

คุณวีคงจะรีบ พิมพ์เพี้ยนหลายคำ
(ปกติไม่เคยเห็นมากขนาดนี้ ...กล่าวเพื่อยืนยันว่าเป็นผู้ติดตามข้อเขียนอย่างเกาะติดนะครับ...ฮิฮิ)
และลิขสิทธิ์ที่พ้น 50 ปีแล้ว ไม่ตกเป็นของใครทั้งสิ้น แม้แต่แผ่นดิน
เป็นของสาธารณะครับ

แต่บางทีรายละเอียดของกฏหมายอาจจะดิ้นได้
ผมจำได้ว่าลิขสิทธิ์ในผลงานนั้น เป็นของเกิดโดยอัตโนมัติ เจ้าของได้มาโดยไม่ต้องประกาศ
ข้อนี้บอกเพื่อให้ทราบกันทั่วว่า แม้เขาไม่แจ้งสงวนลิขสิทธิ์ เราก็ไม่มีสิทธิ์นำมาใช้

แต่ลิขสิทธิ์นั้น นับอายุต่างกัน คือ
ถ้างานนั้นเผยแพร่แล้ว ให้นับ 50 ปีจากวันที่งานปรากฏแก่สาธารณะ
ถ้างานนั้น ไม่เคยเผยแพร่ เช่นเขียนแล้วซุกไว้ในหีบ ไม่เคยมีการเผยแพร่เลย
การนับ 50 ปี จะเริ่มอย่างช้าที่สุด เพื่อให้ประโยชน์แก่ผู้ทรงสิทธิ์นานที่สุด
คือนับวันที่ 1 เมื่อผู้สร้างเสียชีวิต

เคยทราบกรณีหนึ่ง คือหนังสือความไม่พยาบาท ที่ครูเหลี่ยมแต่ง พิมพ์เมื่อ 2457(ถ้าจำไม่ผิดนะครับ)
สำนักพิมพ์แห่งหนึ่งนำมาพิมพ์ใหม่ โดยขออนุญาตทายาท
ผมกลับมีความเห็นว่า งานชิ้นนี้ เป็น public domain คือปลอดลิขสิทธิ์ ตั้งแต่พ.ศ. 2507 แล้ว
แต่สำนักพิมพ์ไปยึดว่าครูเหลี่ยมเสียชีวิตเมื่อไม่ถึง 50 ปีมานี้ จึงเป็นงานที่ยังมีลิขสิทธิ์คุ้มครอง
(กรณีนี้ ผมขอยกย่องในความใจกว้างของสำนักพิมพ์)

ส่วนคนทำงาน ที่กินเงินเดือน ลิขสิทธิ์เป็นของผู้จ่ายเงินเดือนครับ
อย่างน้อยราชการก็คิดเช่นนั้น จะสั่งเกตได้ว่า การจัดซื้อนั้น มีสองแบบ คือจัดซื้อ และจัดจ้าง
การจัดซื้อ ไม่ได้ลิขสิทธิ์ครับ แต่การจัดจ้าง รัฐได้ลิขสิทธิ์

ใครมีความรู้ เห็นว่าความเห็นของผมผิดพลาด โปรดแก้ไขด้วยครับ
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 18  เมื่อ 19 ก.พ. 08, 11:00

ไม่ใช่ค่ะคุณพพ.
ลิขสิทธิ์ที่มีผู้สร้างสรรค์ อย่างนวนิยายของดิฉัน   คุ้มครองไปอีก ๕๐ ปีหลังดิฉันตายค่ะ  ถึงจะกลายเป็นของสาธารณะที่ใครๆเอาไปพิมพ์ก็ได้

กฎหมายระบุว่า

อายุแห่งการคุ้มครองลิขสิทธิ์

มาตรา ๑๙ ภายใต้บังคับมาตรา ๒๑ และมาตรา ๒๒     ลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัตินี้ให้มีอยู่ตลอดอายุของผู้สร้างสรรค์ และมีอยู่ต่อไปอีกเป็นเวลา ห้าสิบปี นับแต่ผู้สร้างสรรค์ถึงแก่ความตาย
บันทึกการเข้า
V_Mee
สุครีพ
******
ตอบ: 1436


ความคิดเห็นที่ 19  เมื่อ 19 ก.พ. 08, 11:45

ขอสับสนุนความเห็นของท่านอาจารย์เทาชมพูครับ

เพราะสมัยหนึ่งพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้รวบรวมค่าลิขสิทธิ์บทพระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว  แล้วพระราชทานให้โรงเรียนวชิราวุธวิทยาลัย ไปสร้างตึกนอนนักเรียนได้ ๑ หลัง เมื่อ พ.ศ. ๒๕๐๗  ซึ่งนับดูก็เป็นเวลเกือบ ๔๐ ปีนับแต่ล้นเกล้าฯ เสด็จสวรรคต  ฉะนั้นผลของการคุ้มครองจึงน่าจะยืนยาวถึง ๕๐ ปี นับแต่ผู้สร้างสรรงานประพันธ์เสียชีวิตดังที่ท่านอาจารย์กล่าวไว้ครับ
บันทึกการเข้า
CrazyHOrse
แขกเรือน
นิลพัท
*******
ตอบ: 1899



เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 20  เมื่อ 19 ก.พ. 08, 13:01

จาก http://www.moc.go.th/opscenter/am/fileser/fileA/lic1.htm
หัวข้อที่ ๗  อายุแห่งการคุ้มครองลิขสิทธิ์
โดยทั่วๆ ไป การคุ้มครองลิขสิทธิ์ จะมีผลเกิดขึ้นโดยทันทีที่มีการสร้างสรรค์ผลงาน โดยความคุ้มครองนี้จะมีผลตลอดอายุของผู้สร้างสรรค์ และจะคุ้มครองต้อไปอีก 50 ปี นับตั้งแต่ผู้สร้างสรรค์เสียชีวิต หากแต่มีงานบางประเภทจะมีการคุ้มครองที่แตกต่างกันไป โดยสรุปดังนี้
1. ในงานทั่วไป ลิขสิทธิ์ จะมีอยู่ตลอดอายุของผู้สร้างสรรค์ และจะมีต่อไปอีก 50 ปี นับตั้งแต่ผู้สร้างสรรถึงแก่ความตาย
กรณีเป็นผู้สร้างสรรค์ร่วม ก็ให้นับจากผู้สร้างสรรค์คนสุดท้านถึงแก่ความตาย
กรณีเป็นนิติบุคคล ลิขสิทธิ์จะมีอายุ 50 ปี นับตั้งแต่ที่ได้สร้างสรรค์งานนั้นขึ้น
กรณีผู้สร้างสรรค์ใช้นามแฝง หรือไม่ปรากฏชื่อผู้สร้างสรรค ลิขสิทธิ์มีอายุ 50 ปี นับตั้งแต่ได้สร้างสรรค์งานนั้นขึ้น
2. งานภาพถ่าย โสตทัศนวัสดุ ภาพยนตร์ หรืองานแพร่เสียงแพร่ภาพ ลิขสิทธิ์มีอายุ 50 ปี นับแต่ได้สร้างสรรค์งานขึ้น
3. งานที่สร้างสรรค์โดยการว่าจ้าง หรือตามคำสั่ง ให้มีอายุ 50 ปี นับแต่ได้สร้างสรรค์งานขึ้น
4. งานศิลปะประยุกต์ ลิขสิทธิ์จะมีอายุ 25 ปี นับแต่ได้สร้างสรรค์งานขึ้น
กรณีที่ได้มีการโฆษณางานเหล่านั้น ในระหว่างระยะเวลาดังกล่าว ให้ลิขสิทธิ์มีอายุต่อไปอีก 50 ปี นับตั้งแต่โฆษณาครั้งแรก ยกเว้นในกรณีงานศิลปประยุกต์ ให้ลิขสิทธิ์มีอายุต่อไปอีก 25 ปี นับแต่โฆษณาครั้งแรก


เพิ่มเติมที่นี่
http://www.fpmconsultant.com/htm/advocate_dtl.php?id=841
ข้อ ๓ ค
ในงานสร้างสรรค์ที่ผู้สร้างสรรค์ใช้นามแฝง  หรือไม่ปรากฏตัวผู้สร้างสรรค์นี้  หากต่อมาทราบตัวผู้สร้างสรรค์  ให้กลับไปใช้อายุแห่งการคุ้มครอง ลิขสิทธิ์ตามข้อ 1) (อายุลิขสิทธิ์ทั่วไป)


นั่นคือถ้าใช้นามแฝง แต่ทราบว่าเจ้าของนามแฝงคือใคร ให้คุ้มครองประหนึ่งว่าใช้นามจริงครับ
บันทึกการเข้า

"Postel's Law": "be conservative in what you do, be liberal in what you accept from others"
pipat
แขกเรือน
นิลพัท
*******
ตอบ: 1802


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 21  เมื่อ 19 ก.พ. 08, 13:09

ยกตัวบทมาให้อ่านกันดีกว่า
http://th.wikisource.org/wiki/%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%8A%E0%B8%9A%E0%B8%B1%E0%B8%8D%E0%B8%8D%E0%B8%B1%E0%B8%95%E0%B8%B4%E0%B8%A5%E0%B8%B4%E0%B8%82%E0%B8%AA%E0%B8%B4%E0%B8%97%E0%B8%98%E0%B8%B4%E0%B9%8C_%E0%B8%9E.%E0%B8%A8._%E0%B9%92%E0%B9%95%E0%B9%93%E0%B9%97
-------------------
มาตรา ๑๙
ภายใต้บังคับมาตรา ๒๑ และมาตรา ๒๒
ลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัตินี้ให้มีอยู่ตลอดอายุของผู้สร้างสรรค์ และมีอยู่ต่อไปอีกเป็นเวลาห้าสิบปี นับแต่ผู้สร้างสรรค์ถึงแก่ความตาย
ในกรณีที่มีผู้สร้างสรรค์ร่วม ลิขสิทธิ์ในงานดังกล่าวให้มีอยู่ตลอดอายุของผู้สร้างสรรค์ร่วม และมีอยู่ต่อไปอีกเป็นเวลาห้าสิบปี
นับแต่ผู้สร้างสรรค์ร่วมคนสุดท้ายถึงแก่ความตาย
ถ้าผู้สร้างสรรค์หรือผู้สร้างสรรค์ร่วมทุกคนถึงแก่ความตายก่อนที่ได้มีการโฆษณางานนั้น
ให้ลิขสิทธิ์ดังกล่าวมีอายุห้าสิบปีนับแต่ได้มีการโฆษณาเป็นครั้งแรก
ในกรณีที่ผู้สร้างสรรค์เป็นนิติบุคคล ให้ลิขสิทธิ์มีอายุห้าสิบปีนับแต่ผู้สร้างสรรค์ได้สร้างสรรค์ขึ้น
แต่ถ้าได้มีการโฆษณางานนั้นในระหว่างระยะเวลาดังกล่าว ให้ลิขสิทธิ์มีอายุห้าสิบปีนับแต่ได้มีการโฆษณาเป็นครั้งแรก

มาตรา ๒๐
งานอันมีลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัตินี้ที่ได้สร้างสรรค์ขึ้นโดยผู้สร้างสรรค์ใช้นามแฝงหรือไม่ปรากฏชื่อผู้สร้างสรรค์
ให้ลิขสิทธิ์มีอายุห้าสิบปีนับแต่ได้สร้างสรรค์งานนั้นขึ้น
แต่ถ้าได้มีการโฆษณางานนั้นในระหว่างระยะเวลาดังกล่าว
ให้ลิขสิทธิ์มีอายุห้าสิบปีนับแต่ได้มีการโฆษณาเป็นครั้งแรก
ในกรณีที่รู้ตัวผู้สร้างสรรค์ ให้นำมาตรา ๑๙ มาใช้บังคับโดยอนุโลม

มาตรา ๒๑
ลิขสิทธิ์ในงานภาพถ่าย โสตทัศนวัสดุ ภาพยนตร์ สิ่งบันทึกเสียงหรืองานแพร่เสียงแพร่ภาพให้มีอายุห้าสิบปี
นับแต่ได้สร้างสรรค์งานนั้นขึ้น
แต่ถ้าได้มีการโฆษณางานนั้นในระหว่างระยะเวลาดังกล่าว ให้ลิขสิทธิ์มีอายุห้าสิบปีนับแต่ได้มีการโฆษณาเป็นครั้งแรก
-------------------------
ผมสงสัยมากว่าท่านเขียนทำไมให้ข้อความแย้งกัน
มาตรา 19 นั้นชัดเจนว่า ลิขสิทธิ์มีอายุเท่าชีวิตผู้สร้าง บวกไปอีก 50 ปี ตามที่อาจารย์เทายกมา
แต่มาตรา 20 และ 21 ซึ่งเป็นที่มาของการบังคับใช้ ระบุการคุ้มครองแบบที่ผมยึดถือ

นักกฏหมายช่วยด้วย.....
บันทึกการเข้า
CrazyHOrse
แขกเรือน
นิลพัท
*******
ตอบ: 1899



เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 22  เมื่อ 19 ก.พ. 08, 13:28

ผมคิดว่าที่อาจารย์เทาชมพูและคุณพิพัฒน์กล่าวมา ถูกต้องทั้งคู่ครับ

อาจรย์เทาชมพูพิจารณาเฉพาะในส่วนที่ท่านคุ้นเคยคืองานประพันธ์ ซึ่งบังคับโดยมาตรา ๑๙ และ ๒๐ ท่านสร้างสรรค์งานโดยใช้นามจริงและนามแฝง แต่เปิดเผยว่าเป็นนามแฝงของท่าน จึงบังคับใช้ตามมาตรา ๑๙
คุณพิพัฒน์คุ้นเคยกับงานภาพุ่ายที่เข้าเกณฑ์มาตรา ๒๑ ก็ถูกต้องเช่นเดียวกัน เพราะบังคับใช้ต่างกัน เป็นกรณีเฉพาะอย่างที่เว็บกระทรวงพาณิชย์สรุปไว้แล้วผมยกมาให้ดูก่อนหน้านี้ครับ

ว่าแต่ทำไมต้องต่างกันด้วยหนอ?
บันทึกการเข้า

"Postel's Law": "be conservative in what you do, be liberal in what you accept from others"
หน้า: 1 [2]
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.064 วินาที กับ 19 คำสั่ง