เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 ... 3 4 [5] 6 7 ... 14
  พิมพ์  
อ่าน: 41978 " รุ่งเรือง.. เมืองศิลป 2"
กุ้งแห้งเยอรมัน
แขกเรือน
สุครีพ
******
ตอบ: 1573



ความคิดเห็นที่ 60  เมื่อ 07 ก.พ. 08, 07:01

วันนี้จะไปเจอวัดโพธิ์เดินได้ แล้วจะมาเล่าเรื่องเบื้องหลังให้ฟังในกระทู้รุ่งเรือง..เมืองศิลปนะคะ สำหรับผู้สันทัดกรณีทั้งหลาย และผู้ที่อ่านลูกเดียว อดใจรอค่ะ
บันทึกการเข้า
Kurukula
สุครีพ
******
ตอบ: 1303



ความคิดเห็นที่ 61  เมื่อ 07 ก.พ. 08, 10:15

ยังไม่ได้ตอบคุณกุ้งเรื่องพระพุทธรูปนาคปรกเลยครับ

ที่ถามเรื่องทำไมถึงคิดว่าพระองค์นี้เดิมไม่มีนาคปรก

คือ ต้องขอกล่าวก่อนครับว่า พระพุทธรูปนาคปรกนั้น เกิดขึ้นในพุทธประวัติ เป็นเหตุการณ์หนึ่งหลังจากการตรัสรู้

พระพุทธองค์ทรงเสวยวิมุติสุข คือทรงดื่มด่ำในสิ่งที่ทรงตรัสรู้นั้น เป็นเวลา 7 สัปดาห์

และในเวลา 7 สัปดาห์นั้น ทรงประทับอยู่ ณ สถานที่ต่างๆกัน เรียกว่า สัตตมหาสถาน

โดยในสัปดาห์ที่ 6 ได้ประทับอยู่ริมสระมุจลินทร์ เผอิญมีฝนตกลงมา พญานาคที่อยู่ในสระ จึงขึ้นมาแผ่พังพานบังฝนให้

เป็นที่มาของพระพุทธรูปนาคปรกครับ


แน่นอนว่าการเสวยวิมุติสุข ย่อมแสดงออกด้วยการเข้าสมาธิ ดังนั้น พระหัตถ์ทั้งสองข้าง จึงวางอยู่เหนือพระเพลา เราเรียกการทำพระหัตถ์ลักษณะนี้ว่า

"ธยานมุทรา"

ซึ่งเป็นมุทรา หรือท่าทางของการทำสมาธิ ซึ่งแตกต่างไปจาก การวางพระหัตถ์ลงบนแผ่นดิน หรือ ภูมิศปรมุทรา

หรือที่รู้จักกันดีว่า ปางมารวิชัย นั่นเอง พระอิริยาบถนี้เป็นท่าทางของการชนะมาร ในเหตุการณ์มารผจญครับ


ดังนั้น พระพุทธรูปที่กระทำปางมารวิชัย จึงมีตัวอย่างน้อยมากที่จะแสดงนาคปรก

และพระพุทธรูปนาคปรก ก็มีตัวอย่างน้อยมากในศิลปะสุโขทัย เท่าที่เห็นมา ทั้งหมดแสดงด้วยปางสมาธิครับ


พระพุทธรูปที่วัดโพธิ์องค์นี้เป็นศิลปะสุโขทัยครับ เป็นงานช่างศิลป์ของไทยที่นิยมสร้างพระปางมารวิชัยถึง 90 เปอร์เซ็นต์
บันทึกการเข้า
ติบอ
นิลพัท
*******
ตอบ: 1906


Smile though your heart is aching.


ความคิดเห็นที่ 62  เมื่อ 07 ก.พ. 08, 21:00

เข้ามาเตือนไม่ทัน ว่าพี่กุ้งฯ อย่าลืมร่มนะครับ
(เพราะฝนตกไปตั้งแต่บ่ายซะแล้ว)


ดูแลสุขภาพด้วยนะครับพี่
บันทึกการเข้า
กุ้งแห้งเยอรมัน
แขกเรือน
สุครีพ
******
ตอบ: 1573



ความคิดเห็นที่ 63  เมื่อ 08 ก.พ. 08, 07:13

ขอบคุณค่ะ ฝนตกจริงๆด้วย ติดอยู่ในพระอุโบสถกันนานทีเดียว บริเวณวัดโพธิ์ด้านในน้ำท่วมค่ะ ลมแรงมาก
...
วัดโพธิ์มีต้นสาละ สองต้น ท่านเจ้าอาวาสนำมาจากอินเดียหรือลังกานี่หละ ต้นหนึ่งกำลังออกดอกงดงาม..ด้านใต้ของพระอุโบสถ ตรงสวนฤาษีด้ดตน เลยถ่ายภาพดอกมาให้ดูค่ะ
เป็นต้นไม้ขนาดกลางถึง ใหญ่ไม่ผลัดใบ อยู่ในสกุล (Genus) ไม้สยา (Shorea) วงศ์ (Family) ไม้ยาง (Dipterocarpaceae) ลำต้นเปลาตรง เปลือกสีเทา แตกเป็นร่องเป็นสะเก็ดทั่วไป เรือนยอดเป็นพุ่มทึบรูปเจดีย์หรือรูปไข่ เรือนพุ่มประมาณ 2/3 ของ ความสูงของต้น ปลายกิ่งห้อยลู่ลง ใบดกหนา กิ่งอ่อนเกลี้ยง ไม่มีขน ใบรูปไข่กว้าง โคนใบหยักเว้าเข้า ปลายใบหยักเป็นติ่งแหลมสั้น ๆ ผิวใบเป็นมันเกลี้ยง พื้นใบมักเป็นคลื่น รูปทรงทั่ว ๆ ไป คล้ายใบรังของไทย ดอกสีเหลืองอ่อน ออกรวมกันเป็นช่อสั้น ๆ ตามปลายกิ่งและง่ามใบ กลีบดอกและกลีบรองกลีบดอกมีอย่างละ 5 กลีบ ผลแข็ง มีปีก 5 ปีก ในจำนวนนี้จะยาว 3 ปีก และสั้น 2 ปีก แต่ละปีกมีเส้นตามยาวปีก 10 – 15 เส้น


บันทึกการเข้า
กุ้งแห้งเยอรมัน
แขกเรือน
สุครีพ
******
ตอบ: 1573



ความคิดเห็นที่ 64  เมื่อ 08 ก.พ. 08, 07:27

ทวารบาลตามซุ้มประตู มีชื่อกันทั้งนั้น บางคน(ตัว,ตน)เป็นนักรบ บางคน(ตัว)ก็เป็นปุโรหิต ทุกตัว(คน)มีประวัติเรื่องราวหมด มีหนังสือที่เขียนเล่มหนาปึ้กถึงตุ๊กตาจีนเหล่านี้ที่เป็นอับเฉามากับเรือสมัยเราค้าสำเภากับจีน ถ่ายภาพได้สวยงามมาก เล่มละสองพันแน่ะค่ะ ทราบว่า คุณพพ.มีอยู่เล่มหนึ่ง คงจะเขียนถึงได้ดีกว่า


บันทึกการเข้า
pipat
แขกเรือน
นิลพัท
*******
ตอบ: 1802


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 65  เมื่อ 08 ก.พ. 08, 10:07

ได้มาก็วางไว้....อยู่ตรงใหนต้องไปหาอีกทีครับ
เรื่องศิลาจีนนี้ เกินปัญญาผมจะรับรู้

ชอบรูปดอกสาละครับ โชคดีจริงๆ ที่ได้เห็น
บันทึกการเข้า
กุ้งแห้งเยอรมัน
แขกเรือน
สุครีพ
******
ตอบ: 1573



ความคิดเห็นที่ 66  เมื่อ 08 ก.พ. 08, 14:26

 ยิ้มเท่ห์ ; ขอเฉลยก่อนตรงนี้ค่ะ ว่าวัดโพธิ์เดินได้ เป็นคอนเน็คชั่นที่ดิฉันได้จากคุณพิพัฒน์แห่งเว็บเรือนไทยนี่เอง ทำให้เที่ยวหลังสุดที่ไปวัดโพธิ์มีชีวิตชีวาอย่างที่สุด ชื่อทวารบาล จำได้แม่น พ.ศ.อะไร เกิดอะไร จำได้ดี มีแต่ชื่อคนบางคนเท่านั้นที่ลืมเลือนไปบ้าง เพราะอายุก็เทียบชั้นผ่านหนุ่มใหญ่ มาหลายปี
อยู่วัดโพธิ์ เป็นเด็กวัดวิ่งไปมาตามกุฏิ ตามศาลา ตำหนักพระสังฆราช พระอุโบสถ จนถึงวิหารทิศ วันดีคืนดี วิ่งเล่นกันอยู่ที่ลานวัดดีๆ หน้าพระที่เรียงรายอยู่ จู่ๆ ก็หันไปเห็นหน้าพระพุทธรูป องค์หนึ่งหลุดลอกออก อุ๊บส์.. วิ่งแจ้นไปบอกพระผู้ใหญ่
ท่านมาดู ปรากฎว่า ปูนที่พอกพระพักตร์นั้น คลุมเนื้อสัมฤทธิ์ด้านใน ซึ่งงาม ไม่มีตำหนิ
เนื้อพระองค์นั้น ก็เลยไม่ต้องปิดทองด้วยประการฉะนี้
...
ชมทวารบาลจีนชื่อยาวสี่ห้าพยางค์ เกินจำ ผู้เป็นนักรบที่ห้าวหาญ ประวัติและชื่อ โปรดติดตามตอนต่อไปค่ะ


คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
ติบอ
นิลพัท
*******
ตอบ: 1906


Smile though your heart is aching.


ความคิดเห็นที่ 67  เมื่อ 08 ก.พ. 08, 16:19

เป็นต้นไม้ขนาดกลางถึง ใหญ่ไม่ผลัดใบ อยู่ในสกุล (Genus) ไม้สยา (Shorea) วงศ์ (Family) ไม้ยาง (Dipterocarpaceae) ลำต้นเปลาตรง เปลือกสีเทา แตกเป็นร่องเป็นสะเก็ดทั่วไป เรือนยอดเป็นพุ่มทึบรูปเจดีย์หรือรูปไข่ เรือนพุ่มประมาณ 2/3 ของ ความสูงของต้น ปลายกิ่งห้อยลู่ลง ใบดกหนา กิ่งอ่อนเกลี้ยง ไม่มีขน ใบรูปไข่กว้าง โคนใบหยักเว้าเข้า ปลายใบหยักเป็นติ่งแหลมสั้น ๆ ผิวใบเป็นมันเกลี้ยง พื้นใบมักเป็นคลื่น รูปทรงทั่ว ๆ ไป คล้ายใบรังของไทย ดอกสีเหลืองอ่อน ออกรวมกันเป็นช่อสั้น ๆ ตามปลายกิ่งและง่ามใบ กลีบดอกและกลีบรองกลีบดอกมีอย่างละ 5 กลีบ ผลแข็ง มีปีก 5 ปีก ในจำนวนนี้จะยาว 3 ปีก และสั้น 2 ปีก แต่ละปีกมีเส้นตามยาวปีก 10 – 15 เส้น


Cannonball กับสาละเป็นพรรณไม้คนละชนิดกันครับ

สาละ ในสาละวโนทยาน เป็นไม้สกุลเดียวกับ รัง หรือ ยาง
มีถิ่นกำเนิดในทวีปเอเชีย ใบเดี่ยวรูปไข่ ดอกขนาดไม่ใหญ่นักสีเหลือง
คำอธิบายของพี่กุ้งแห้งเป็นสาละชนิดนั้น



แต่ Cannonball เป็นพรรณไม้จากอาฟริกา
ดอกสีชมพู มีผลขนาดใหญ่คล้ายลูกปืนใหญ่ จึงมีชื่อสามัญว่า Cannon ball
เคยมีผู้ใหญ่ท่านนึงเล่าให้ผมฟังว่าโปรตุเกสนำไม้ชนิดนี้มาปลูกไว้ตามศาสนสถานในศรีลังกา
เพื่อให้ศาสนสถานถล่ม เนื่องจากระบบรากของพรรณไม้ชนิดนี้ทรงพลังมาก

แต่คนไทย(โดยเฉพาะพระ) ไปลังกากันทีไร
ก็ชอบเอาพรรณไม้ชนิดนี้มาปลูกกันทุกที
ผมเข้าใจว่าเพราะเรียกกันว่า "สาละลังกา" หรือเรียกสั้นๆว่า "สาละ"
ซึ่งชื่อไปพ้องกับชื่อของพรรณไม้สำคัญอีกชนิดในพุทธประวัติครับ











เอาภาพผลสาละของจริงมาฝาก
หน้าตาเหมือนลูกยางป่าที่เด็กๆชอบไปเก็บมาเล่นกันครับ


ใครสนใจอ่านเพิ่มเติมลองดูที่ link ด้านล่างได้ครับ


สาละ vs สาละลังกา
บันทึกการเข้า
กุ้งแห้งเยอรมัน
แขกเรือน
สุครีพ
******
ตอบ: 1573



ความคิดเห็นที่ 68  เมื่อ 08 ก.พ. 08, 16:40

คุณติบอคะ ตามลิงค์สาละของคุณติบอไปแล้วค่ะ เผอิญดิฉันไม่ใช่ผู้รู้เรื่องพรรณไม้พอที่จะกล้าเรียกได้ว่า สาละของจริงหรือของไม่จริงเสียด้วยสิคะ ที่แน่ๆคือสาละที่นำมาปลูกในวัดโพธิ์ดอกสวยมาก..
ถ้าเขานำต้นที่คุณติบอบอกว่าจริงมาปลูกกันตามวัด ดิฉันว่า คนก็คงไม่ตื่นเต้นกับดอกสาละนักหรอกค่ะ
 ยิ้มเท่ห์
เป็นความคิดเห็นส่วนตัวนะคะ
บันทึกการเข้า
กุ้งแห้งเยอรมัน
แขกเรือน
สุครีพ
******
ตอบ: 1573



ความคิดเห็นที่ 69  เมื่อ 09 ก.พ. 08, 00:58

ที่หัวมุมด้านหนึ่งของซอยตรงข้ามวัดโพธิ์ บริเวณท่าเตียน
มีซอยกว้าง ชื่อเพราะเชียวค่ะ ว่า ซอยประตูนกยูง
สังเกตง่าย มีธนาคารกรุงไทยอยู่ข้างหน้า เดินเข้าไปสุด จะเป็นร้านอาหารที่มองเห็นวัดอรุณได้ถนัดตา ฃื่อว่าเดอะเดค ถามชาวบ้านว่า ชายผู้รู้เรื่องวัดโพธิ์ เลือดวัดโพธิ์ อยู่ไหน มีหรือจะไม่รู้จัก
หมาตัวอ้วนเท่าสิงโต วิ่งแทบทรงตัวไม่อยู่ลุยมารับหน้าด้วยเสียงอันดัง ไม่ค่อยเป็นมิตรเท่าไหร่ ผสมกับหมาตัวเล็กๆยั้วเยี้ย.. ลุงออกมาต้อนรับเพราะดิฉันส่งเสียงไปก่อนแล้วทั้งทางมือถือก่อนนั้น และระยะห่างห้าเมตรเห็นจะได้
อย่าคิดนะว่าจะเจอฃายชรา ยังค่ะ ลุงแค่หกสิบกว่าเท่านั้น เสียงดัง แข็งแรง ความจำอยู่ในเกณฑ์เกินเฉลี่ย
โต๊ะทำงานของลุง อยู่ริมน้ำ มองออกไปเป็นกล้วยไม้ช้างกระ ที่ส่งกลิ่นหอม ผสมกับยานัตถุ์ของลุง แสงแดดส่องผ่านใบไม้ที่ลุงปลูกตามประสาคนบ้านชายน้ำ คือปลูกในกระถาง ใส..เขียว สว่าง
สักครู่ตามเวลาที่กำหนด เราจะแปลกใจที่จู่ๆ ท่อน้ำที่ลุงวางไว้ด้านบน มันก็จะฉีดน้ำลงมาบนกระถางกล้วยไม้ที่ห้อยชายคาเป็นแถว ละอองน้ำทำให้อากาศร้อน ละลายไปสิ้น..
นี่หละค่ะ ลุงจุ่น.. วัดโพธิ์เดินได้ที่ดิฉันเกริ่น
ลุงจุ่น ท่าเตียน ฟังแล้ว โก้ไหมล่ะ


บันทึกการเข้า
ติบอ
นิลพัท
*******
ตอบ: 1906


Smile though your heart is aching.


ความคิดเห็นที่ 70  เมื่อ 09 ก.พ. 08, 16:42

พี่กุ้งแห้งครับ ประตูนกยูง ฉนวนน้ำ ศาลาแจกแกง ฯลฯ
เคยเป็นส่วนหนึ่งของที่ดินของวัดพระเชตุพนหรือเปล่าครับ ฮืม
บันทึกการเข้า
กุ้งแห้งเยอรมัน
แขกเรือน
สุครีพ
******
ตอบ: 1573



ความคิดเห็นที่ 71  เมื่อ 10 ก.พ. 08, 06:37

หลังจากการถามเอาความรู้หลายเรื่องจากลุง ได้เวลาอาหารกลางวัน ดิฉันและคุณพอลก็ออกเดินหาของอร่อยท่าเตียนกันโดยมีไกด์กิตติมศักดิ์คือลุงจุ่น น่าเสียดายที่เป็นช่วงตรุษจีน ร้านอร่อยๆของลุงปิดไปเยอะ เราผ่านโรงเก็บเรือของสมเด็จพระสังฆราชซึ่งปัจจุบันเป็นโกดังเก็บสินค้า ศาลาแจกแกงที่คุณติบอถามหาก็ยังอยู่ตรงนี้ค่ะ กลายเป็นตึกเก่าๆ ฉนวนน้ำก็คงเป็นตึกเช่นกัน ที่ดินแถวนั้นที่เป็นของวัดยังเป็นของวัด เดิมไม่มี เราสามารถเห็นวัดได้โล่งๆจากแม่น้ำ แต่หลังจากประพาสชวา รัชกาลที่ ๕ ท่านก็โปรดให้สร้างตึกแถวสวยงามที่ท่าเตียน เก็บค่าเช่าแค่เดือนละเฟื้อง ให้พวกฑูตต่างชาติมาอยู่กัน  ซึ่งตึกส่วนหนึ่งยังอยู่ทุกวันนี้ นอกจากที่ดินของวัดยังมีที่ส่วนพระองค์ของต้นราชกลุลเพ็ญพัฒน์ ซึ่งขายไปแล้ว รวมถึงเจ้าพระยามหิธรฯด้วย ขายไปแล้วเช่นกัน ก่อนจะถึงวังจักรพงษ์ ลุงพาดิฉันและคุณพอลเดินไปที่ตึกแถวที่สร้างตั้งแต่สมัยรัชกาลที่สาม และยังอยู่ เป็นตึกชั้นเดียว น้ำท่วมทุกปี แต่ชาวบ้านร้านช่องบ่นไปก็อยู่ไป บ้านแรกที่ลุงชี้ ขายข้าวแกงอร่อยมากอยู่ริมฟุตบาธ เราได้นั่งโจ้มื้อเที่ยงกันด้วย อร่อยสมกับที่เป็นมืออาชีพทั้งกุ้งทอดกระเทียม แกงเขียวหวานไก่ ทอดมัน และพะโล้ ร้านอื่นๆคนเต็ม คิวยาว เราโชคดีได้หนึ่งโต๊ะตรงนั้น

บันทึกการเข้า
กุ้งแห้งเยอรมัน
แขกเรือน
สุครีพ
******
ตอบ: 1573



ความคิดเห็นที่ 72  เมื่อ 10 ก.พ. 08, 10:23

ลุงจุ่นมีภาพขาวดำดั้งเดิมของเจดีย์ที่สร้างเสร็จสมัยรัชกาลที่ ๔ ด้วย ปัจจุบันที่เราเห็นมีกระเบื้องใหม่เสียช่วงหนึ่ง ดิฉันและคุณพอลเก็บภาพมาฝากสมาชิกเรือนไทยที่สนใจด้วยนะคะ จะนำภาพลงเมื่อทำภาพเสร็จค่ะ
ลุงบอกว่า สมัยรัชกาลที่ ๑ เจดีย์องค์แรก ยังไม่ได้ประดับกระเบื้องเคลือบหรอก ตกมาถึงรัชกาลที่สาม จึงประดับ และให้สร้างเจดีย์เพิ่ม
วัสดุที่มีจากการค้าขายสำเภาตั้งแต่ท่านยังไม่ได้ขึ้นครองราชย์ก็เยอะ อย่าลืมว่า ผู้หลักผู้ใหญ่ในแผ่นดินเรียกท่านว่า เจ้าสัว..
น่าจะแปลได้ชัดเจนว่า ท่านทำมาค้าขายเก่ง มีโภคทรัพย์มากมาย
ลุงจุ่นเล่าว่า เดิมการค้าสำเภา มีพวกเจ้าพระยาตระกูลใหญ่ๆค้าขายกับจีน จนเจ้าพระยาพระคลังสิ้นลง ยกการค้าสำเภาให้ท่านตั้งแต่ก่อนเป็นกษัตริย์ จึงโปรดให้เก็บสะสมตุ๊กตาอับเฉา ตุ๊กตาจีน กระเบื้องถ้วยชาม แล้วนำมาประกอบกันเป็นส่วนต่างๆของวัด
แต่ไม่ใช่ว่าทำไปคิดไป มีการออกแบบเป็นขั้นเป็นตอน
ช่างจีนที่นำมาเป็นช่างก่อ ช่างฉาบ ไม่ใช่ว่ายกมาจากจีนทั้งดุ้น กระเบื้องที่เราเผาเองเป็นส่วนหนึ่ง ริมฝั่งท่าเตียนก่อนจะก่อสร้างตึก มีการตอกเสาเข็มลึดกลงไป ไปเจออิฐมากมาย ซึ่งเป็นเตาเผาอิฐ
คนไทยทำก่อสร้างเองเป็นตั้งแต่บรรพบุรุษ อาศัยเทคโนโลยีจากจีนมาช่วยเท่านั้นเอง
ลุงเล่าให้ฟังค่ะ


บันทึกการเข้า
กุ้งแห้งเยอรมัน
แขกเรือน
สุครีพ
******
ตอบ: 1573



ความคิดเห็นที่ 73  เมื่อ 10 ก.พ. 08, 15:04

นอกจากตุ๊กตาหินจีน นักรบ และทวารบาลในชื่อต่างๆแล้ว ที่เราสังเกตตลอดมาก็คือกำแพง วัดมีกำแพงไม่รู้กี่ชั้นต่อกี่ชั้น กำแพงจากศาลาการเปรียญ มองออกไปก็เจอกำแพงอีก เดินๆไปอ้าวเจอกำแพงอีก จุดประสงค์หนึ่งของผู้สร้างก็คือ การให้ลอดซุ้ม ซุ้มแต่ละซุ้มมีความหมาย ล้วนแต่เป็นสิริมงคลทั้งนั้น
เช่น ช่องสี่ช่อง แต่ละช่องมีลูกแตง
ช่องทั้งสี่ คือฤดูกาลของจีน
แตงก็หมายถึงลูกหลาน
สมัยจีนยังไม่มีการคุมจำนวนประชากร ลูกหลานดกถือว่าดี
อีกเหตุผลหนึ่งคือ วัดโพธิ์น้ำท่วมหกเดือน เพราะเมื่อน้ำแม่น้ำขึ้นสูง กำแพงแต่ละชั้นเป็นเครื่องกันน้ำอย่างดี วัดก็เพียงแต่กั้นตรงทางเข้าซุ้มแต่ละซุ้มเท่านั้น


บันทึกการเข้า
กุ้งแห้งเยอรมัน
แขกเรือน
สุครีพ
******
ตอบ: 1573



ความคิดเห็นที่ 74  เมื่อ 10 ก.พ. 08, 17:28

ลุงจุ่นเป็นเบื้องหลังของวัดโพธิ์วันนี้ ที่ทำงานร่วมกับบรรดาช่าง อาจารย์ และผู้บูรณะวัดโพธิ์ ไม่ใช่ฐานะคนจบสถาบันไหน ปริญญาโท หรือเอก แต่ในฐานะคนที่คลุกคลีสนใจจดจำเรื่องโบราณๆที่เห็นอยู่ทุกเมื่อเชื่อวัน
ภูมิปัญญาและคลังสมองท้องถิ่นค่ะ
ภาพน้เป็นเจดีย์รัชกาลที่๔ เดิม ก่อนบูรณะ
กระเบื้องเคลือบหายหกตกกร่อนไปกับเวลา
หากระเบื้องใหม่มายาลงบางส่วนได้ โดยอาศัยศึกษาจากรูปเก่านี้
หากใครจะมองเป็นแค่โมเสคห้องน้ำก็ช่วยไม่ได้
...


บันทึกการเข้า
หน้า: 1 ... 3 4 [5] 6 7 ... 14
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.068 วินาที กับ 20 คำสั่ง