Kurukula
|
ความคิดเห็นที่ 45 เมื่อ 06 ก.พ. 08, 21:00
|
|
ขอตอบคุณ pakun2k1d ก่อนนะครับ
กระเบื้องที่ผมกล่าวถึงในวัดกระเบื้องเคลือบ หรือวัดบรมพุทธาราม หมายถึงกระเบื้องมุงหลังคาครับ ไม่ใช่กระเบื้องประดับหลายสีประดับพระเจดีย์อย่างในวัดโพธิ์
กระเบื้องเหล่านี้จะจุ่มสีลงไปเพียงบางส่วน (ไม่ใช่ทั้งอัน) เพื่อประหยัดเคลือบ ส่วนที่เหลื่อมกันก็จะโดนอันอื่นปิดทับบริเวณที่ไม่ได้เคลือบไว้
เช่นเดียวกับกระเบื้องโบสถ์ทั่วไปครับ
ส่วนกระเบื้องประดับนั้น บางส่วนตัดมาจากชิ้นส่วนถ้วยชาม ที่สั่งเข้ามาจากเมืองจีน บางครั้งก็ใช้ทั้งใบประดับเข้าไปเลย
จะเคลือบเองก็ลงทุนเกินไปครับ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
กุ้งแห้งเยอรมัน
|
ความคิดเห็นที่ 46 เมื่อ 06 ก.พ. 08, 21:14
|
|
ภาพนี้สำหรับผู้ชื่นชอบกระเบื้องเคลือบค่ะ มองจากเจดีย์รัชกาลที่๓ สีเหลือง ไปยังองค์กลางสีเขียว รัชกาลที่๑ และองค์ขาว รัชกาลที่๒
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
กุ้งแห้งเยอรมัน
|
ความคิดเห็นที่ 47 เมื่อ 06 ก.พ. 08, 22:01
|
|
ไม่ใช่งานง่าย และไม่ธรรมดาค่ะ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
pakun2k1d
|
ความคิดเห็นที่ 48 เมื่อ 06 ก.พ. 08, 22:02
|
|
ขอบคุณคุณกุรุกุลาค่ะ งั้นแสดงว่าความจำดิฉันถูกต้อง แล้วเทคนิคการประดับกระเบื้องอย่างนี้มีความเป็นมาอย่างไรค่ะ น่าสนใจจังค่ะ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
|
|
|
กุ้งแห้งเยอรมัน
|
ความคิดเห็นที่ 52 เมื่อ 06 ก.พ. 08, 22:20
|
|
ช่างกำลังซ่อมกระเบื้องเคลือบบางส่วนพอดี วิธีทำคือลงปูนขาวก่อน แล้วค่อยติดกระเบื้อง .. แตวิธีทำย้อนไปสองร้อยปี ก็เหมือนการทำงานศิลปะ คือต้องวางโครงดีไซน์ก่อน แล้วจึงวางสี เพื่อมาเลือกตัดกระเบื้องให้ตรงกับขนาดและมุมที่จะใช้ ไม่ว่าจะโค้งจะเว้าอย่างไร หรือบางส่วนก็ใช้แจกันทั้งใบวาง หรือวางถ้วยเป็นเกสรของดอกทั้งดอก ส่วนกลีบดอกไม้ หรือเกล็ดมังกรก็ต้องวางให้เกิดมิติ.. ดิฉันอยากจะขอฟังคนเขียนรูปมาเล่าให้ฟังบ้างค่ะ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
กุ้งแห้งเยอรมัน
|
ความคิดเห็นที่ 53 เมื่อ 06 ก.พ. 08, 22:27
|
|
คว้ากล้องคู่ใจไปมาเมื่อวาน ฝากเพื่อนๆเรือนไทยค่ะ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
กุ้งแห้งเยอรมัน
|
ความคิดเห็นที่ 54 เมื่อ 06 ก.พ. 08, 22:48
|
|
ทีนี้มาดูของรัชกาลที่๔ บ้างค่ะ เป็นสีขาบ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
กุ้งแห้งเยอรมัน
|
ความคิดเห็นที่ 55 เมื่อ 06 ก.พ. 08, 22:52
|
|
สไตล์เจดีย์มีเมตตามาก มีบันไดให้ขึ้นและเดินรอบฐาน มองลงมา มองขึ้นไป ต้องไม่กลัวความสูงค่ะ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
pakun2k1d
|
ความคิดเห็นที่ 56 เมื่อ 06 ก.พ. 08, 23:16
|
|
เห็นภาพของคุณกุ้งฯ แล้ว ดิฉันนึกถึงหนังสือของฝรั่งที่เขารวบรวมลายโมเสคศิลปะของประเทศแถบเมดิเตอร์เรเนียนอย่างโมรอคโคไว้ ของเราจะมีใครรวบรวมศึกษาไว้บ้างไหมนะ นี่ถ้าเราทำเป็นรายการทีวี สาธิตให้เห็นตั้งแต่การออกแบบ แล้วตัดกระเบื้องทีละชิ้น ๆ ค่อย ๆ มาติดทีละช่อง ทีละลาย คิดดูซิว่า เจดีย์ 1 องค์มีกี่ลาย ต้องตัดกระเบื้องกี่ชิ้น ใช้ถ้วยชามไปกี่ใบ ใช้เวลากี่วัน คนกี่คน จะมีใครทำไหมนี่
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
elvisbhu
แขกเรือน
พาลี
   
ตอบ: 215
เป็นคนเขียนรูป
|
ความคิดเห็นที่ 57 เมื่อ 06 ก.พ. 08, 23:26
|
|
น่าสนใจ ...จะเป็นการวิเคราะห์และเก็บหลักฐานสุดยอดงานศิลปกรรมยุครัตนโกสินท์ชิ้นหนึ่งตรับ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
Bana
|
ความคิดเห็นที่ 58 เมื่อ 07 ก.พ. 08, 00:31
|
|
ผมว่าดูแล้วสีสันคล้ายๆไปทางจีนนะครับ เซรามิคพวกนี้คงซื้อจาก ตปท ไม่ทราบว่าตอนนั้นได้มีการนำเข้าจากยุโรปหรือเปล่า ถ้าไทยเราเผาเองก็ถือว่าสุดยอด จากรูปคุณกุ้งทำให้ต้องหาโอกาสเก็บตังค์ไปเที่ยว กทม ซะหน่อยจะไปดูแต่วัดโพธิ์อย่างเดียวเลยอ่ะครับ 
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
ติบอ
|
ความคิดเห็นที่ 59 เมื่อ 07 ก.พ. 08, 02:20
|
|
เครื่องเคลือบสีเดียวเป็นของดีอย่างหนึ่งในช่วงราชซงศ์ชิงตอนปลายครับ พี่แกผลิตส่งขายไปทั่วโลก ปรับหน้าตาและรูปร่างเอาใจลูกค้าได้ตามคำสั่ง ไม่แพ้ผ้าแขก เมืองไทยก็เลยได้เข้ามาใช้เยอะเหมือนกัน ผมเคยเห็นเศษๆ อยู่ในหลุมขุดค้นที่คณะโบราณฯ ไปขุดกระทรวงพาณิชย์อยู่หลายสีเหมือนกันครับ
แต่ของในวัดนี้คงซ่อมใหม่หลายครั้งแล้วล่ะครับ กว่าจะมาถึงเวลาที่พวกเราได้ไปดู ถ้าคุณกุ้งแห้งฯ อยากดูอะไรที่เก่าและยังสวยกว่านี้ ผมแนะนำให้ข้ามเรือไปอีกฝั่งของแม่น้ำเจ้าพระยาครับ อีกวัดนึง ที่ฟากขะนู้นเขายังสวยกว่ามาก (ถึงจะใช้จานชามรุ่นหลังราชวงศ์ชิงมาแต่งบ้าง แต่โดยรวมไม่ได้ดูใหม่จ๋าอย่างวัดโพธิ์ครับ)
ปล. ผมพูดถึงวัดไหน ขออนุญาตไม่เฉลยครับ ให้เซียนวัดไปเดินหากันเองก่อน (ใบ้ว่าไม่ได้อยู่ที่พรปรางค์วัดแจ้งครับ หิหิ)
ปล.2 กระเบื้องลายดอกไม้ที่ซ่อมใหม่หลายครั้งทำไม่เหมือนของเก่าครับ พวกดอกใหญ่ๆ เมื่อก่อนเคยใช้พู่กันเขียนลายเส้นคมกริบ เดี๋ยวนี้กรมศิลป์แกกลัวจะไม่เดิ้ลลลล พอ ต้องเอาแอร์บรัชมาเขียนซะลายเลอะเทอะขอบพร่าไปหมด ดูตัวอย่างได้ที่วัดเฉลิมพระเกียรติ (ที่ถ่ายหนังจักรๆวงศ์ๆบ่อยๆ)
หรือพวกกระเบื้อตัดชิ้นเล็กๆ ที่เขาว่ามันงามที่เส้นขาวของเนื้อกระเบื้องชั้นเลิศ ตัดกับสีสดของเคลือบสี เดี๋ยวนี้พี่แกก็กลัวจะผิดธรรมชาติดอกไม้ ปั้นกระเบื้องเป็นกลีบๆ ใบๆแล้วเอาไปชุบน้ำเคลือบจนไม่เหลือขอบขาวก็บ่อย
ส่วนไอ้กระเบื้องลายดอกไม้ร่วงแบบที่พี่กุ้งฯถ่ายมา....... ผมว่าถ้าเอาของใหม่ไปเทียบกับของโบราณท่านทำแล้วหน้าตาเหมาะเอาไปติดห้องน้ำตามสปาไฮโซมากกว่าผนังวัดครับ เห็นแล้วอยากร้องไห้พอๆกับความรู้สึกของใครซักคนที่อุตส่าห์ถ่อสังขารไปถึงวัดแจ้ง เพื่อดูจิตรกรรมลายดอกไม้ร่วงเพราะได้ยินคนโบราณชมว่างามหนักหนาน่ะแหละครับ เหอๆ
ปล.3 รุ่นพี่คนไทยที่ผมรู้จักคนหนึ่งแกหนีไปอยู่ต่างประเทศตั้งแต่เมื่อ พ.ศ. 2523 ก่อนจะบูรณะกรุงเทพกัน แล้วก็ไมได้กลับมาเยี่ยมถิ่นฐานบ้านเก่าเลยเพราะได้เมียแหม่มไปแล้ว..... ปีที่แล้วแกแวะกลับมา เราก็เลยไปกราบไหว้สิ่งศักดิ์สิทธิ์แถวสนามหลวงกันเพราะถือว่าเป็นกลางเมือง คำถามแรกที่แกถามขึ้นมาตอนรถผ่านวัดโพธิ์ทำเอาผมสะอึกอยู่จนถึงทุกวันนี้ เพราะแกถามผมว่า "เขาทำอะไรกันน่ะ วัดพวกนี้ซ่อมทีไรดูสวยน้อยลงไปทุกที"
แต่ไอ้ที่น่าสะอึกที่สุด..... ก็เมื่อเราไปเดินผ่านหอระฆังของวัดหนึ่งแถวนั้น ซึ่งประดับกระเบื้องสีเหลือง น้ำเงิน เขียว และแดงสดสลับกันอย่างน่ากลัว เพราะแกถามผมว่า "ทำไมวัสดุมันเหมือนไอ้ที่เอาไว้ทำส้วมตามวัดบ้านนอกตอนสมัยพี่เป็นเด็กเลยวะ ?"
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
|