เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 2 [3] 4 5 ... 14
  พิมพ์  
อ่าน: 41955 " รุ่งเรือง.. เมืองศิลป 2"
กุ้งแห้งเยอรมัน
แขกเรือน
สุครีพ
******
ตอบ: 1573



ความคิดเห็นที่ 30  เมื่อ 05 ก.พ. 08, 03:48

ดิฉันเห็นคนส่วนใหญ่มาวัดโพธิ์เพียงขอให้ได้เห็นพระนอนเท่านั้น ก็เป็นบุญตากลับไปอิ่มอกอิ่มใจได้ โดยเฉพาะพวกต่างชาติไม่ว่าจะเป็นแขก จีน หรือฝรั่ง .. ด้านหน้าวิหาร นั่งพักกันเต็มไปหมด
รัชกาลที่สามท่านโปรดให้สร้าง เป็นสัญลักษณ์ให้เห็นถึงยุคแห่งความสงบ รุ่งเรือง เฟื่องฟูทางด้านศิลปะ เพื่อพระพุทธศาสนา
พระพักตร์พระนอนหันไปทางด้านเหนือ คือพระบรมมหาราชวัง
สูง ๑๕ เมตร ยาว๔๖ เมตร สร้างด้วยปูนและซีเมนต์ แล้วลงรักปิดทอง ลายพระบาทประดับมุก มีสัญลักษณ์ ๑๐๘ รูป
แม้จะมีที่กั้นและป้ายเตือนไม่ให้จับ คนจีนคนแขกก็ไม่สน ขอให้ได้ลูบได้คลำเท้าก็ถือว่าเป็นมงคล สำหรับตัว
ที่ไปยืนดู เห็นฝรั่งที่เคารพกติกาเท่านั้นเอง
พระนอนเป็นไฮไลท์ของทริปการมาไหว้พระที่เมืองไทยของคนจีน ต้องไหว้พระแก้วมรกตและพระสุโขทัยไตรมิตรให้ครบสามองค์
ลายจิตรกรรมฝาผนัง บานประตูหน้าต่างที่งดงาม ในวัด ถูกความใหญ่โต อร่ามงามขององค์พระดึงดูดเสียสิ้น
น่าเสียดายที่บางส่วนอนุรักษ์ดิบดีจนดูใหม่เกินไป


บันทึกการเข้า
กุ้งแห้งเยอรมัน
แขกเรือน
สุครีพ
******
ตอบ: 1573



ความคิดเห็นที่ 31  เมื่อ 05 ก.พ. 08, 04:43

ขอกลับไปด้านนอก เรื่องของพระเจดีย์รอบๆวัด ตามผังวัด มีทั้งหมดสามจุดด้วยกัน คือ เจดีย์สี่รัชกาล
เจดีย์รายรอบพระอุโบสถ สร้างในรัชกาลที่ ๓
และเจดีย์หมู่ห้าองค์บนฐานเดียว
เจดีย์หมู่ห้าองค์บนฐานเดียวนี้ สร้างในรัชกาลที่๑ ค่ะ ภายในบรรจุพระบรมสารีริกธาตุ พระเจดีย์หมู่ห้าฐานเดียว ประดิษฐานอยู่ตรงมุมพระวิหารคดทั้งสี่ด้าน ประกอบด้วยพระเจดีย์ใหญ่ ตรงกลางล้อมรอบด้วยพระเจดีย์เล็กสี่องค์ รวมห้าองค์อยู่บนฐานเดียวกัน เป็นสถาปัตยกรรมเจดีย์ย่อไม้สิบสองและเจดีย์แบบไม้สิบสองเพิ่มมุม
ประดับด้วยกระเบื้องสีสันกอร์ดี้ที่เสปนมาเห็นกลับบ้านไปเลย..


บันทึกการเข้า
กุ้งแห้งเยอรมัน
แขกเรือน
สุครีพ
******
ตอบ: 1573



ความคิดเห็นที่ 32  เมื่อ 05 ก.พ. 08, 04:44

 รูดซิบปาก รูดซิบปาก รูดซิบปาก


บันทึกการเข้า
กุ้งแห้งเยอรมัน
แขกเรือน
สุครีพ
******
ตอบ: 1573



ความคิดเห็นที่ 33  เมื่อ 05 ก.พ. 08, 06:41

ขอบคุณ คุณกุ้งแห้งสำหรับรูปสวยๆ

ซากวัง ใช้ ซ เป็นตัวต้นค่ะ
ไม่ใช่ทรากวัง
ขอบคุณนะคะ ที่ท้วงมา
บันทึกการเข้า
กุ้งแห้งเยอรมัน
แขกเรือน
สุครีพ
******
ตอบ: 1573



ความคิดเห็นที่ 34  เมื่อ 05 ก.พ. 08, 06:57

ตรงข้ามเจดีย์สี่รัชกาล มีวิหารตะวันตกของพระอุโบสถค่ะ ปกติไม่เห็นเปิด แต่วันนั้นเปิด ผู้ที่เกิดวันเสาร์จึงรู้สึกว่าโชคดีได้ไหว้พระประจำวันเกิด เพราะเป็นพระนาคปรก
พระองค์นี้ อัญเชิญมาประดิษฐานตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ ๑
จากจังหวัดสุโขทัย ชื่อว่าพระพุทธชินศรีปางนาคปรก
หน้าตักกว้าง ๒.๗๕ เมตร
มีครอบครัวฝรั่งชาวเดนมาร์ก ลูกสาวสอง กำลังไหว้พระอยู่
ด้วยความไม่รู้ วางธูปไว้ด้านใน คนเฝ้าพยายามบอก แต่พวกเขาไม่เข้าใจ
ดิฉันจึงอธิบายว่า ธูป ๓ ดอกหมายถึงพระรัตนตรัย เทียนหมายถึงปัญญา ความรู้ ไม่ได้อธิบายดอกบัวว่าหมายถึงอะไร เพราะจะยาว และควรจะอธิษฐานด้วย ส่วนธูปนั้น อนุญาตให้ออกมาปักด้านนอกเท่านั้นเพราะควัน
ทั้งสามคนแม่ลูกจึงตั้งจิต
อย่างน้อยก็เป็นคุณทันตาหละ เพราะคุณแม่ลืมกระเป๋ากล้องไว้ในวิหาร เราต้องเรียกถามว่า มีใครลืมอะไรไว้ไหม ตอนแรก ทั้งหมดปฏิเสธ แต่พอเราชูกระเป๋าให้ดู ก็ร้อง..โอ๊ว..ของเราเอง ขอบคุณ ๆๆ



บันทึกการเข้า
pipat
แขกเรือน
นิลพัท
*******
ตอบ: 1802


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 35  เมื่อ 05 ก.พ. 08, 10:03

คุณกุ้งแห้งเรา อยู่สำนักเพิ่มมุมด้วยแฮะ
เดี๋ยวจะขอให้อธิบายให้เข็ด.....หึหึ
บันทึกการเข้า
Kurukula
สุครีพ
******
ตอบ: 1303



ความคิดเห็นที่ 36  เมื่อ 05 ก.พ. 08, 11:05

พระที่อยู่หน้าพระอุโบสถเดิม ที่ตอนนี้เป็นศาลาการเปรียญ นั้น ไม่แน่ใจว่าเป็นปางเปิดโลกหรือเปล่าครับ

(แต่ท่านก็แบพระหัตถ์มากไปหน่อย)

ไปวัดโพธิ์ทีไรก็ได้เจออะไรใหม่ๆทุกที เรียกได้ว่าเป็นแหล่งความรู้ที่กอบโกยได้ไม่หมด ได้เห็นได้เจอ อะไรที่ชวนสังเกตตลอดเวลา

อย่างเช่น พระนาคปรกที่คุณกุ้งแห้งนำมาให้ชม ก็เป็นพระนาคปรกไม่กี่องค์ ที่ทำปางมารวิชัยไปด้วย

คิดว่าเมื่อก่อนตอนที่ท่านอยู่เมืองเหนือท่านคงไม่ได้มีนาคปรกหรอกครับ
บันทึกการเข้า
Kurukula
สุครีพ
******
ตอบ: 1303



ความคิดเห็นที่ 37  เมื่อ 05 ก.พ. 08, 11:14

พระนอนองค์นี้ น่าจะเป็นพระนอนสุโขทัยสำริดขนาดใหญ่ ซึ่งไม่ค่อยได้พบเห็นกันมากนัก แต่มาซ่อมเพิ่มในสมัยรัตนโกสินทร์โดยมีพระสาวกมานั่งนวดเฟ้นให้ด้วย

ท่าทางไม่ผิดเพี้ยนจากพระไสยาสน์ที่วัดบวรนิเวศเท่าใดนัก ลักษณะการวางพระพาหาก็อ่อนช้อย มิได้ตั้งเกือบฉากแบบพระนอนอยุธยาหรือพระนอนกรุงเทพ



ท่าทางท่านจะสบายดีเหลือเกิน


บันทึกการเข้า
Kurukula
สุครีพ
******
ตอบ: 1303



ความคิดเห็นที่ 38  เมื่อ 05 ก.พ. 08, 11:23

อีกองค์ครับ พระนอนอีกรูปแบบหนึ่งซึ่งหาชมได้ยาก ไม่น่าเชื่อว่าในกทม.ก็มีให้ชมแบบใกล้ๆตัว

ไม่ต้องถ่อไปถึงวัดพระนอนที่สุพรรณ มีอีกองค์หนึ่งเท่าที่ทราบ คือวัดราชคฤห์ ฝั่งธน

แถมองค์นี้มีโลงใส่ดูเรียบร้อยนัยน์ตา ด้านพระบาทมีพระมหากัสสปะมหาเถรกำลังประคองอัญชลีมุทรา ถวายนมัสการเป็นครั้งสุดท้าย ก่อนจะถวายพระเพลิง

โดยมีพระบาทยื่นออกมาจากโลงตามตำราเป๊ะๆ


ทั้งสองภาพมาจากวัดโพธิ์ครับ เป็นวิหารคดที่มักจะปิดไว้เก็บเสื่อเก็บพรม บางทีก็เป็นที่พักคนงานเวลาเขามาซ่อมวัด แต่หลังใดทิศใดผมก็จำไม่ได้แล้ว


บันทึกการเข้า
pakun2k1d
พาลี
****
ตอบ: 285


ความคิดเห็นที่ 39  เมื่อ 05 ก.พ. 08, 13:17

ศิลปะการประดับกระเบื้องเป็นเรื่องที่ดิฉันซาบซึ้งและทึ่งในความพากเพียรอดทนของบรรพบุรุษเราเป็นอย่างมาก  ตอนเป็นนักเรียนจำได้ว่าครูพาไปทัศนศึกษาแล้ววิทยากรบรรยายว่ากระเบื้องแต่ละชิ้นได้มาจากการค่อย ๆ ตัดกระเบื้องจากชิ้นใหญ่ทีละชิ้นแล้วค่อย ๆ นำมาติด  วันหนึ่ง ๆ จะทำได้สักกี่ชิ้น  หลังคดหลังแข็งกันขนาดไหน  สิ่งที่คิดก็คือ  จะทำอย่างไรให้เยาวชนของเราเข้าใจ และซาบซึ้งในคุณค่าของสิ่งเหล่านี้  เอาแบบจริงจังนะคะ  ไม่ใช่แบบฉาบฉวยตามตำราท่องเป็นสูตรว่า  อันนี้เป็นสมบัติของชาติต้องรักษา  ดิฉันว่าอันนี้น่าจะเป็นสมบัติของโลกด้วยซ้ำ  เวลานี้ใครจะทำได้  จะต้องเงินมหาศาลขนาดไหน
บันทึกการเข้า
Kurukula
สุครีพ
******
ตอบ: 1303



ความคิดเห็นที่ 40  เมื่อ 05 ก.พ. 08, 19:26

เห็นด้วยกับคุณ pakun2k1d ครับ งานประดับกระเบื้องเคลือบของวัดโพธิ์ถือว่าเป็นระดับยอดฝีมือทีเดียว โดยเฉพาะการที่นำกระเบื้องมาเคลือบเป็นสีๆ สีเขียว สีแดง บาดตานัก เวลาต้องแดดเมืองร้อน

คิดว่าในสมัยอยุธยา เราก็มีการประดับกระเบื้องเคลือบเหล่านี้แล้วเช่นกัน แต่คงเป็นพวกเครื่องลายครามมากกว่า (เท่าที่เห็น) ที่มีเคลือบสีๆ จำได้อยู่วัดเดียว คือวัดกระเบื้องเคลือบ ชื่อจริงๆของเขาก็คือ วัดบรมพุทธาราม เป็นวัดแรกที่มีหลักฐานปรากฏว่านำกระเบื้องเคลือบสีเหลืองมามุมหลังคา

นอกนั้นคงมุงด้วยกระเบื้องดินเผาธรรมดา

อา.....ขอแทรกรูปนิดนึงครับ รูปถวายพระเพลิงเมื่อกระทู้ก่อน บอกว่ามีพระมหากัสสป หลายคนอาจเถียงว่าไม่เห็นมีเลย

เป็นความผิดของช่างกล้องเองครับ ที่ถ่ายไม่ติด อิอิ


บันทึกการเข้า
Oam
แขกเรือน
ชมพูพาน
***
ตอบ: 168



ความคิดเห็นที่ 41  เมื่อ 05 ก.พ. 08, 21:10

ที่วัดใหญ่ฯ พิษณุโลก มีพระปางถวายพระเพลิงครับ แต่โลงทึบ มองไม่เห็นองค์พระพุทธรูปข้างใน เห็นแต่พระบาทโผล่ออกมาครับ เห็นชาวบ้านเรียกว่าพระพุทธเจ้าเข้านิพพาน
บันทึกการเข้า
กุ้งแห้งเยอรมัน
แขกเรือน
สุครีพ
******
ตอบ: 1573



ความคิดเห็นที่ 42  เมื่อ 06 ก.พ. 08, 00:30

ถึงแม้เราจะอดชมพระศรีสรรเพชญ์ซึ่งถูกครอบอยู่ในพระมหาเจดีย์รัชกาลที่๑ ก็มาชมพระพุทธโลกนาถได้.. รัชกาลที่๑ ทรงให้อัญเชิญมาจากวัดพระศรีสรรเพชญ์ อยุธยา ประดิษฐานอยู่ที่วิหารด้านตะวันออก ตรงข้ามด้านหน้าพระอุโบสถ หันหน้าเข้าหาพระพุทธเทวปฏิมากรเลย
สูง ๑๐ เมตร นักโบราณคดีกล่าวว่า พระพุทธรูปสมัยอยุธยาตอนปลายได้รับอิทธิพลมาก
องค์นี้ เชื่อกันเป็นพิเศษว่า ในวาระสำคัญทางพุทธศาสนา คนที่อยากมีลูกแล้วยังไม่มี มาไหว้ท่าน ตั้งจิตอธิษฐานขอพรแล้วจะสำเร็จ
..


บันทึกการเข้า
กุ้งแห้งเยอรมัน
แขกเรือน
สุครีพ
******
ตอบ: 1573



ความคิดเห็นที่ 43  เมื่อ 06 ก.พ. 08, 00:44

วันนี้ไปวัดมาอีกครั้งหนึ่งค่ะ คุณป้ากุน แวะไปดูกระเบื้องเคลือบที่เจดีย์สี่รัชกาลมา แบบโคลสอัพเลย..โหลดแล้วจะได้ดูกันพรุ่งนี้ค่ะ
พระนอนหงาย ดิฉันไปดูที่สุพรรณมา เขาเรียกสไตล์กุสินารา ขอไม่ออกความเห็นค่ะ
คุณkurukulaคะ ไม่ทราบคุณมีข้อสังเกตอะไรคะ จึงสันนิษฐานว่าพระนาคปรกในวิหารตะวันตก นาคมาทำทีหลัง ช่วยเพิ่มเติมด้วยค่ะ
พระที่อยู่หน้าพระอุโบสถเดิม ที่ตอนนี้เป็นศาลาการเปรียญ นั้น ไม่แน่ใจว่าเป็นปางเปิดโลกหรือเปล่าครับ

(แต่ท่านก็แบพระหัตถ์มากไปหน่อย)

ไปวัดโพธิ์ทีไรก็ได้เจออะไรใหม่ๆทุกที เรียกได้ว่าเป็นแหล่งความรู้ที่กอบโกยได้ไม่หมด ได้เห็นได้เจอ อะไรที่ชวนสังเกตตลอดเวลา

อย่างเช่น พระนาคปรกที่คุณกุ้งแห้งนำมาให้ชม ก็เป็นพระนาคปรกไม่กี่องค์ ที่ทำปางมารวิชัยไปด้วย

คิดว่าเมื่อก่อนตอนที่ท่านอยู่เมืองเหนือท่านคงไม่ได้มีนาคปรกหรอกครับ

บันทึกการเข้า
pakun2k1d
พาลี
****
ตอบ: 285


ความคิดเห็นที่ 44  เมื่อ 06 ก.พ. 08, 17:16

ดิฉันเกิดข้อสงสัยในเรื่องการประดับกระเบื้องเคลือบเสียแล้วล่ะค่ะว่า  กระบวนการในการทำเป็นอย่างไร  อาศัยความทรงจำเดิมสมัยเป็นนักเรียนจะได้รับการบอกเล่าว่า  กระเบื้องแต่ละชิ้นเกิดจากการตัดจากกระเบื้องชิ้นใหญ่ที่ผ่านการเผาและเคลือบสีมาแล้ว  แต่ถ้าอ่านจากคุณกุรุกุลาการเคลือบสีจะเกิดขึ้นทีหลังจากการตัดเป็นชิ้น ๆ แล้ว  หรือกระเบื้องเหล่านี้ปั้นเป็นชิ้นตามแบบแล้วจึงไปเผาเคลือบ  อย่างที่เป็นดอกก็ปั้นเป็นดอกแล้วเผาเคลือบ  ซึ่งแต่ละวิธีมีความยากง่ายต่างกันนะคะ

อย่างหนึ่งดิฉันทราบจากคนญี่ปุ่นค่ะว่า  น้ำเคลือบสีแดงนั่นยากมากค่ะ  ส่วนใหญ่สีแดงจะเกิดจากการทาสีแล้วเผาเคลือบด้วยน้ำเคลือบธรรมดา  จากรูปดิฉันเห็นว่ามีสีแดงอยู่ด้วย  เลยเกิดข้อสงสัยค่ะ  ขออนุญาตเปิดประเด็นคำถามรบกวนท่านผู้รู้ด้วยค่ะ
บันทึกการเข้า
หน้า: 1 2 [3] 4 5 ... 14
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.072 วินาที กับ 19 คำสั่ง