เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 2 3 [4] 5 6 ... 20
  พิมพ์  
อ่าน: 64920 ศัพทาภิธานศิลปะ
pipat
แขกเรือน
นิลพัท
*******
ตอบ: 1802


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 45  เมื่อ 07 ก.พ. 08, 14:28

ใครจะเรียกใครเป็นครูเป็นนักเรียน
ผมว่าคุณสมบัติหนึ่งข้อ ที่มีตรงกันก็คือ ไม่รู้แต่ยอมรับในความไม่รู้ของตน
ผมเอง ใช้ศัพท์พวกนี้มานาน ส่วนมากก็ใช้อย่างไม่รู้ครับ
บางคำคิดว่ารู้แระ อ้าว ...ค้นไปค้นมา ตายจริง นี่เราไม่รู้นี่หว่า.....
บอกไว้เพื่อไม่ต้องมาโทษผมในภายภาคหน้านะคะรับ

ป้ากุนนี่เป็นจอมย่อย และประกอบใหม่ ผมจะเดินตามทางที่วางไว้นะครับ คิดว่าชัดเจนดี
แต่อยากจะวางหลักที่กว้างที่สุดก่อน เผื่อพลาดพลั้งยังกลับมาสางง่าย
คือฐานทั้งปวงนั้น พึงแยกเป็นฐาน ณที่ตั้ง และฐานยกลอย หรือฐานที่โยกย้ายได้
ฐานแบบแรกเป็นฐานถาวร หมายเอาฐานอาคาร หรือฐานสถาปัตยกรรมเป็นหลัก
ฐานอย่างที่สอง คือฐานรูปเคารพ หรือฐานประติมากรรม
และอาจจะอนุโลมรวมฐานอื่นๆไว้ด้วย ก็ไม่น่าจะรังเกียจกันนะครับ

จากนั้น ผมขอให้แยกพิจารณาฐานสองประเภทไปเลยแต่บัดนี้ เพราะฐานอาคารนั้นเข้าใจง่ายกว่า
เนื่องจากมีน้อยแบบ น้อยประเภท
และ ขอจำกัดวงที่พุทธศิลปะเป็นหลักนะครับ ศิลปะอื่น อ้างถึงเมื่อหมดทางหากิน....หึหึ

คำถามกวนอารมณ์
เคยเห็นสถาปัตยกรรมที่ไร้ฐานใหมครับ
บันทึกการเข้า
pakun2k1d
พาลี
****
ตอบ: 285


ความคิดเห็นที่ 46  เมื่อ 07 ก.พ. 08, 16:22

ค้นไปค้นมาพบรูปที่เหมาะจะมาใช้เป็นบทเรียนของชาวเราพอดีค่ะ  ขอยืมเขามาก่อน  พอได้ความรู้แล้วจะส่งความรู้ไปให้แทนคำขอบคุณ

เป็นรูปฐานพระที่นั่งสรรเพชญ์ปราสาทที่เมืองโบราณค่ะ ศึกษาทฤษฎีแล้วลองทำข้อสอบดู  ถูกผิดอย่างไรอรรถาธิบายด้วยนะคะ  ฐานรูปแบบนี้เรียกได้ว่าฐานปัทม์ 1 ชุดฐานได้ไหมค่ะ  แล้วดิฉันก็อ่านพบว่าบางบอกว่าฐานปัทม์หรือฐานบัว  ซึ่งเข้าใจเอาเองว่าเพราะมีฐานบัวเป็นส่วนประกอบอยู่ด้วย  แต่เป็นฐานบัวที่เป็นรูปเหลี่ยมก็เลยใช้แทนกันได้  ถ้าเรียกฐานบัวก็เน้นที่ว่ามีบัวเป็นส่วนประกอบของฐานแต่ไม่บอกทรง  ถ้าเรียกฐานปัทม์ก็เน้นที่ว่าเป็นทรงเหลี่ยมแต่ไม่บอกลาย เข้าใจอย่างนี้ใช้ได้ไหมค่ะ


บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 47  เมื่อ 07 ก.พ. 08, 17:13

ยอมรับว่าไม่รู้ เต็มร้อย
เข้ามาเพื่อแสวงหาความรู้ แต่ถ้าออกนอกทางบ้างก็ขออภัยด้วยค่ะ

สถาปัตยกรรมที่ไร้ฐาน  ถ้าหมายถึงวัดไทย ไม่รู้    แต่ถ้าหมายถึงสิ่งก่อสร้างอะไรก็ได้
เอารูปนี้มาถาม
ว่าบ้านสามหลังในรูปนี้ มีฐานหรือเปล่าคะ


บันทึกการเข้า
pipat
แขกเรือน
นิลพัท
*******
ตอบ: 1802


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 48  เมื่อ 07 ก.พ. 08, 18:44

ผิดนิดเดียวครับ บัวคว่ำนั้น รองรับด้วยลวดบัวสองชั้นครับ
ป้ากุนจึงเรียกลวดบัวเส้นล่าง เป็นเขียง เท่านั้นเอง
(ขอชมว่า พลิกแพลงเรียกลวดรัดอกไก่ได้ โดยไม่ต้องบอก.....เจ๋ง)

ทีนี้ เวลาเราจะเรียกพระมหาปราสาทจำลองหลังนี้
เราจะบอกว่า เป็นอาคารจตุรมุขทรงจั่ว มุขข้างสั้น มุขหน้าเป็นมุขประเจิดทั้งสองด้าน
ฐานอาคารเป็นท้องสำเภา(หรือตกท้องช้าง) ขนาด /// ช่องหน้าต่าง
เป็นฐานบัทม์ชนิดลูกแก้วอกไก่ชั้นเดียว ไม่ตกแต่ง
(ผมคิดว่าของจริงน่าจะทำเป็นฐานบัทม์ทรงเครื่องมากกว่า...)

ศัพท์ใหม่คือ
1 พระมหาปราสาท
2 มุข จตุรมุข มุขข้าง มุขประเจิด
3 ท้องสำเภา
4 ฐานบัทม์ทรงเครื่อง

ติดหนี้ไว้ก่อนนะครับ โอย...กระทู้นี้หนี้บานตะไทเลย
แต่พวกคำทั้งหลาย ในชีวิตประจำวัน ก็มิได้เรียกกันละเอียดอย่างนี้นะครับ
เว้นแต่เป็นคำประพันธ์ ลองไปอ่านจดหมายเหตุเรื่องสร้างวัดพระแก้วครั้งรัชกาลที่ 3
ของพระศรีภูริปรีชา หรือจดหมายเหตุพระบรมศพเจ้าฟ้าโยธาทิพ
จะเจอยาขมหนึ่งตุ่มทีเดียว....เฮ้อ
---------------
อาจารย์เทา ส่งคำตอบได้กวนกว่าคำถามหลายขีด....ฮิฮิ
ลองฟังฟามเห็นท่านอื่นก่อน
บันทึกการเข้า
ติบอ
นิลพัท
*******
ตอบ: 1906


Smile though your heart is aching.


ความคิดเห็นที่ 49  เมื่อ 07 ก.พ. 08, 20:18

คำถามกวนอารมณ์
เคยเห็นสถาปัตยกรรมที่ไร้ฐานใหมครับ



ขออนุญาตเข้ามาตอบคำถามชิงรางวัลก่อนนะครับ คุรพิพัฒน์
ถ้าผมเอาชื่อ "เรือนไทย" มาตอบเนี่ยะ..... จะกวนอารมณ์อีกหลายขีดมั้ยครับ แหะๆ



ปล. เพราะเรือนไทยของผมเป็นเวบไซต์ครับ
เป็นสถาปัตยกรรมยังไงก็ม่ะมีฐานอยู่แย๊ว ฮิ๊ว......
บันทึกการเข้า
ติบอ
นิลพัท
*******
ตอบ: 1906


Smile though your heart is aching.


ความคิดเห็นที่ 50  เมื่อ 07 ก.พ. 08, 20:48

ส่งการบ้านเรื่องภาพของคุณพิพัฒน์อีกครับ
ส่วนเรื่อง ข้าน้อยยังโง่นัก มิบังอาจแตะต้องได้
(บอกก่อนว่ารูปแอบไปแฮบเวบอื่นมานะครับ แหะๆ)



พระมหาปราสาท.... พระที่นั่งจักรีมหาปราสาท, พระบรมหาราชวัง






มุข - มุขข้าง... พระที่นั่งอาภรณ์ภิโมกข์ปราสาท, พระบรมหาราชวัง






จตุรมุข..... พระที่นั่งดุสิตมหาปราสาท, พระบรมหาราชวัง






มุขประเจิด.... พระที่นั่งราชกรัณยสภา, พระบรมหาราชวัง






ท้องสำเภา..... พระอุโบสถ, วัดสุวรรณดาราราม, จ.พระนครศรีอยุธยา






ฐานบัทม์ทรงเครื่อง..... อุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดาราม, พระบรมหาราชวัง






แล้วก็ขออีก 4 คำก่อนคุณพิพัฒน์จะ "หมดมุข" ครับ

- มุขเด็จ
- มุขกระสัน
- มุขใต้ขื่อ
- มุขเหนือขื่อ


แล้วถ้าคุณpipat จะกรุณาแก่สัตว์โลกตัวน้อยๆ(พุงใหญ่ๆ) อย่างนายติบอ
นายติบอขอนอกประเด็นอีก 4 คำครับ

- จั่วปิด
- จั่วเปิด
- จั่นหับ
- ล่อจา

ผมขอมากไปหรือเปล่าครับนี่.... แหะๆ
บันทึกการเข้า
ติบอ
นิลพัท
*******
ตอบ: 1906


Smile though your heart is aching.


ความคิดเห็นที่ 51  เมื่อ 07 ก.พ. 08, 20:57




ส่วนภาพนี้พิเศษสำหรับคุณป้ากุนครับ
เจดีย์บริวารที่วัดสวนดอก

ฐานอะไรเป็นฐานอะไร อาจจะแอบงงนิดนึงครับ
บันทึกการเข้า
pipat
แขกเรือน
นิลพัท
*******
ตอบ: 1802


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 52  เมื่อ 07 ก.พ. 08, 22:13

พระที่นั่งจักรีมหาปราสาทนั้น หากถือเคร่งแล้ว ยังไม่ครบองค์ประกอบแห่งพระมหาปราสาท
แม้จะมีพระที่นั่งพุตตานและพระนพปฎลมหาเศวตฉัตรประดิษฐาน

องค์ประกอบของพระมหาปราสาทนั้น
ต้องมีพระปรัศว์ ซ้าย-ขวา
มีศาลาเข้าเฝ้า ที่เรียกว่าทิมลุกขุน
และต้องมีมุขเด็จออกมหาสมาคม

เป็นอย่างน้อย

(อันนี้ก็ครูสอนอีกแหละครับ ท่านคงสรุปจากข้อมูลต่างๆ ขึ้นมา ผมก็เห็นตามท่าน)
---------------------
จั่วปิด / จั่วเปิด / จั่นหับ / ล่อจา
ครูกระผมมิได้สอนมา ต้องรอครูติบอเฉลย

สุดท้าย ป้ากุนต้องตอบปัญหานานาฐานแห่งวัดสวนดอกไม้ ได้แน่นอน......ชิลล์ๆ
บันทึกการเข้า
pakun2k1d
พาลี
****
ตอบ: 285


ความคิดเห็นที่ 53  เมื่อ 08 ก.พ. 08, 16:32

ต้องขอน้อมรับความผิดพลาดไว้ล่วงหน้านะคะ  ดังที่ได้ออกตัวไว้แล้วว่า  นักเรียนคนนี้เรียนช้าค่ะ  ที่ได้ความรู้อาศัยความเมตตาของครูบาอาจารย์ และความขยันอดทนทั้งของครูและตัวเราเป็นที่ตั้งค่ะ  ลองตอบข้อสอบของครูติบอดูนะคะ 

เห็นรูปง่าย ๆ นะคะ  งงก่อนเลยค่ะ  เอ....  แยกฐานกับองค์เจดีย์ตรงไหนนี่  เดามาเป็น 2 แบบค่ะ  พอตัดสินใจแยกฐานกับองค์เจดีย์ได้แล้วก็มาจัดชุดฐาน  ด้วยความที่ชุดฐานนี้พลิกแพลงไปจากทฤษฎีเบื้องต้นที่เรียนค่ะ  คุณครูคงอยากให้นักเรียนฝึกวิเคราะห์  ก็ลองดูค่ะ  ผิดคุณครูจะได้รู้ว่านักเรียนยังไม่รู้  คุณครูช่วยซ่อมเสริมด้วยนะคะ



บันทึกการเข้า
Oam
แขกเรือน
ชมพูพาน
***
ตอบ: 168



ความคิดเห็นที่ 54  เมื่อ 08 ก.พ. 08, 18:26

ตรงที่คุณป้ากุนบอกว่าอะไรไม่รู้ ผมขออนุญาตเดาว่าเป็นท้องไม้
คือเจดีย์นี้เขาย่อมุม ๒๐
มุมละ ๕ เลยทำฐานเป็น ๕ ชั้น ตรงชั้นที่ ๕ นับเป็นเขียงได้ไหมหนอ ?

ยังกะเคยได้ยินว่าทางเหนือมีวัดเจดีย์ซาว สงสัยคนเหนือจะชอบเลข ๒๐
บันทึกการเข้า
pipat
แขกเรือน
นิลพัท
*******
ตอบ: 1802


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 55  เมื่อ 08 ก.พ. 08, 18:54

มาเสริมครับ
ถ้าแบ่งแบบนี้ จะง่ายกว่า คือ หั่น 3 ท่อน ไม่ต้องคิดมาก
1 ฐานเขียง
2 ชุดฐานบัทม์แบบแปลก....เดี๋ยวจะเจาะข้อมูลตรงนี้ต่อ
3 องค์เจดีย์

1 และ 3 เข้าใจง่าย คือช่างท่านนี้ ทำเขียง 3 ชั้น น่าจะเพื่อส่งรูปทรงให้ชลูดงามระหง
ส่วนองค์เจดีย์นั้น ท่านวางไว้บน เป็นอันไม่ต้องนำมาปนกับชุดฐาน
ปัญหาเหลือแค่ 2 ซึ่งมีองค์ประกอบที่คุ้นตาว่าเป็นบัวคว่ำบัวหงาย
แต่.....เอ ทำไมบัวหงายที่อยู่ตอนบน มีเส้นลวด หรือการวางชั้นประดับลวดลาย
ต่างจากบัวคว่ำข้างล่างหนอ

แอ่น แอ๊น...นี่เป็นของใหม่ครับ
ฐานบัทม์แบบนี้ เราไม่เรียกว่าฐานอีกแล้วครับ
เราเรียกเรือนธาตุ ซึ่งเป็นระบบรองรับองค์เจดีที่วิวัฒน์ขึ้นมาจากฐานบัวคว่ำบัวหงายแบบเบสิค
หรือจะพูดอีกอย่างก็ได้ ว่าเป็นฐานที่ "น่าจะ" เข้าสู่ภายในได้
แต่เจดีย์องค์นี้ ท่านเป็นรุ่นหลังมากๆ จึงต่อไม่ติดกับต้นตระกูล แถวๆ วัดเจ็ดยอด หรือเชียงแสน

คือท่านเล่นยืมรูปแบบเก่า เอามาทำใหม่
เรือนธาตุซึ่งปกติมักจะมีซุ้มสี่ด้าน ด้านหนึ่งเจาะเป็นช่องเข้าไปประกอบพิธีกรรมได้
ก็กลายเป็นแท่งทึบตัน
ทำเอามึนตาว่า เอ...นี่ฐานแบบใหนกัลล์

ที่เหลือ ทั้งป้ากุนและลุงโอม ตีแตกซำบาย
----------------
เอ ไม่มีใครเล่นสืบหาสถาปัตยกรรมไร้ฐานให้ผมรึงัย


บันทึกการเข้า
pakun2k1d
พาลี
****
ตอบ: 285


ความคิดเห็นที่ 56  เมื่อ 08 ก.พ. 08, 19:43

ขอบคุณ คุณพพ.ค่ะ  มีคุณโอมเป็นเพื่อนเรียน และเดาได้เข้าเค้าอย่างนี้มีกำลังใจเรียนอย่างขมักเขม้นเลยค่ะ

ส่งรูปฐานมาเปิดประเด็นต่อค่ะว่า รูปนี้ใช่ฐานสิงห์ไหมค่ะ แล้ววิธีเรียกรายละเอียดของลายแตกต่างจากที่เรียนรู้มาไหมค่ะ

คุณกุรุกุลาค่ะ  ดิฉันยังค้นหาคำอธิบาย "เอวขัน" ที่ชัดเจนไม่ได้นะคะ  พยายามอยู่


บันทึกการเข้า
Oam
แขกเรือน
ชมพูพาน
***
ตอบ: 168



ความคิดเห็นที่ 57  เมื่อ 08 ก.พ. 08, 22:25

อยากให้มีตำราเรียนแบบนี้แหละครับ เรียนไปทำแบบฝึกหัดไป

เฉพาะเรื่องฐานชนิดต่างๆ นี่ สงสัยรวมได้เล่มหนาเท่าสมุดโทรศัพท์

เรื่องไร้ฐานนี่ไม่กล้าพูดครับ เจอความคิดเห็นของอาจารย์เทาชมพูแล้วไม่กล้า  รูดซิบปาก

แต่พวกตึกสี่เหลี่ยมนี่น่าจะเข้าข่ายไร้ฐานไหมเอ่ย
บันทึกการเข้า
pipat
แขกเรือน
นิลพัท
*******
ตอบ: 1802


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 58  เมื่อ 08 ก.พ. 08, 23:15

เอารูปมายั่วก่อน.....
ฐานอยู่ตรงใหน

มี รึมะมี


บันทึกการเข้า
Bana
องคต
*****
ตอบ: 439



ความคิดเห็นที่ 59  เมื่อ 09 ก.พ. 08, 02:15

อิอิ.......ป้ากุนเก่งครับเกทได้ไวกว่าผมเยอะ  ผมยังมานั่งนึกเรื่องฐานต่างๆอยู่เลย  รูปฐานสิงห์ที่เอามาให้ดูสวยแปลกตาดีครับ  แล้วฐานปัทม์กับฐานบัวมันอย่างเดียวกันหรือเปล่าครับ  เพราะปัทม์  ก็แปลว่าบัว ไม่ใช่หรือครับ

ส่วนสถาปัตยกรรมไทยที่ไม่มีฐานผมว่าไม่น่าจะมีครับ  รูปที่ท่านพิพัฒน์นำมาให้ดูไม่มีฐานครับ  แต่ดูไม่ออกว่าเป็นอาคารหรือสิ่งก่อสรางอะไรครับ  แล้วฐานปัทม์ที่รองด้วยเขียงย่อมุมไม้ยี่สิบที่ท่านพิพัฒน์เรียกเรือนธาตุ  เลยได้ศัพท์ใหม่อีกคำ  ถ้าไม่ติดเจดีย์ที่อยู่ด้านบน  น่าจะทำซุ้มจระนัมไว้ที่เรือนธาตุนะครับ  อิอิ(ดันไปออกแบบให้เค้าเสร็จ)......... ยิ้มกว้างๆ


ปล.เอารูปธาตุก่องข้าวน้อยมาให้ดูครับ


บันทึกการเข้า
หน้า: 1 2 3 [4] 5 6 ... 20
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.054 วินาที กับ 20 คำสั่ง