เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 ... 5 6 [7] 8 9 ... 20
  พิมพ์  
อ่าน: 64928 ศัพทาภิธานศิลปะ
Bana
องคต
*****
ตอบ: 439



ความคิดเห็นที่ 90  เมื่อ 10 ก.พ. 08, 22:18

ต้องขออภัยท่านพิพัฒน์อย่างแรงครับ  คือผมวาดยากแต่เพียงอยากวาดให้มุมเท่ากันน่ะครับ  ....อิอิ  มีปัญหาอีกอ่ะครับ  คือผมเคยทำแบบย่อด้านเข้าในแบบในรูป  พ่อใหญ่ช่างก็พาผมเรียกว่าย่อเก็จเหมือนกันอ่ะครับ  แต่ท่านบอกว่าย่อแบบเข้าข้างใน  อันนี้ไม่ทราบถูกตามหลักวิชาหรือปล่าวครับ  รูปก็ประมาณที่ผมแสดงอ่ะครับ.... ฮืม  ขอบคุณมากครับ


คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
pipat
แขกเรือน
นิลพัท
*******
ตอบ: 1802


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 91  เมื่อ 11 ก.พ. 08, 00:08

คุณนัตลีได้รูปมาสวยสมใจจริงๆ
ผมอยากได้รูปเจดีย์วัดพระแก้วเมืองสรรค์เพื่อใช้อธิบายรูปแบบของวัดใหญ่ไชยมงคลมานาน
ขออนุญาตนำไปใช้ครับ

ส่วนรูปในคคห.88 คุณป้ากุนจะต้องชอบ เพราะได้ศัพท์ใหม่มาอีกคำ
คือ "บัวปากระฆัง" มี 3 ชั้น เป็นแบบที่สกุลช่างกำแพงเพชรท่านนิยมกัน
(ผมทำน้ำหนักให้เห็นเด่นขึ้น)
หมายถึงการจบองค์ระฆัง ด้วยการขลิบปากระฆังให้ได้ความประณีต
ปกติก็มักจะจบด้วยบัวที่คล้ายอกไก่ คือช้อนปลายเหมือนปลายลิ้นของสัตว์บางชนิด
แต่เจดีย์องค์นี้ วาง 3 ชั้นอลังการไปเลย

ต่ำลงจากบัวปากระฆัง คือส่วนที่เรียกว่า เรือนธาตุ ที่นี่เป็นเรือนธาตุกลม
คล้ายกับรูปใหน คงนึกออก (ไม่บอกนะครับ หลอกให้ย้อนไปหาดูเอง)
และยังไม่อธิบายรายละเอียดด้วย เพราะเรายังน่าจะสนุกกับการแยกแยะแต่ละชิ้นส่วนกันอยู่

สำหรับฐานที่คุณบานานำเสนอ เป็นฐานที่ออกจะเก่า ผมเห็นในศิลปะทวารวดี
คือเท่ากับว่า มีเสาปิดมุมฐานทั้ง 4 มุม สะท้อนการเลียนแบบเครื่องไม้เห็นชัดเจน

ที่นักปราชญ์ท่านคิดคำว่า "เพิ่มมุม" ออกมา
ถ้าใช้กับรูปแบบนี้ ผมจะตีมือหนับหนุนอย่างแข็งขันเลยทีเดียว
แต่จะเรียกอย่างไร ผมถือว่า การย่อมุมมี 3 วิธีใหญ่ๆ เพื่อนำไปใช้ช่วยจำแบบแผนอาคารได้
เป็นใช้ได้
คือย่อมุมใหญ่ ชนิดที่ด้านตั้งฉากกับด้านขนาน ขนาดเท่ากัน
(ขอแถมศัพท์ไว้ตรงนี้ละกัน เมื่อยืนหันหน้าหาฐาน
ย่อมุมที่ขนานตัวเราท่านเรียกด้านรี อีกด้านก็เรียกด้านขวาง
หรือด้านขวางนี้ จะเรียกด้านอัด ก็ได้นะครับ
อ้อ ด้านขวางหรืออัดนี่ ถ้าเป็นอาคารระดับพระอุโบสถ ท่านเรียกหุ้มกลองครับ
คู่กับด้านหุ้มกลอง ก็คือด้านแป ซึ่งหมายความว่าหุ้มกล้องก็คือด้านขื่อ นั่นเอง)

ย่อมุมอีกชนิดหนึ่ง คือย่อรัศมี
และสุดท้าย คือย่อเก็จ

ตำราผม มีแต่ "ย่อ" ไม่มีเพิ่มครับ


บันทึกการเข้า
pakun2k1d
พาลี
****
ตอบ: 285


ความคิดเห็นที่ 92  เมื่อ 11 ก.พ. 08, 01:27

สำนวน "หันรีหันขวาง" มาจากอันนี้นี่เอง

งั้นรูปของคุณbanaก็ไม่ใช่การย่อเก็จ  แต่เป็นเสาปิดมุม ใช่ไหมค่ะ  ถามย้ำอีกทีนะคะ

จากรูปนี้เกิดความเข้าใจขึ้นอีก 1 อย่างค่ะ  คำว่า ย่อมุม กับ เพิ่มมุม ใช้เกณฑ์ต่างกันอย่างนี้มั้งค่ะ  เพิ่มมุม  ใช้เกณฑ์จำนวนของมุมมาบัญญัติศัพท์  แต่ย่อมุมที่(น่าจะ)ใช้กันมาแต่ดั้งเดิมนั้น ใช้พื้นที่ หรือปริมาณของเนื้อวัสดุ(ไม้ อิฐ หรือปูนฯ)เป็นเกณฑ์

ขอบคุณ คุณพพ.ค่ะ  คิดว่า ย่อมุม ย่อมุมรัศมี กับยกเก็จ  เข้าใจชัดแล้วนะคะ  หรือครูติบอหารูปแหวกกฎมาทดสอบให้มั่นใจอีกทีก็ดี  คำว่า ด้านรี ด้านขวาง ด้านอัด ด้านหุ้มกลอง ก็เป็นการแตกหน่อคำศัพท์อย่างดีเลยค่ะ  ส่วนคำที่ความเข้าใจยังไม่ชัดก็รอผู้รู้ทั้งหลายมาช่วยกันทำให้กระจ่างแจ้งอยู่นะคะ  ใช่ไหมค่ะเพื่อน ๆ ร่วมชั้น
บันทึกการเข้า
Natalee
อสุรผัด
*
ตอบ: 37



ความคิดเห็นที่ 93  เมื่อ 11 ก.พ. 08, 09:31

อีกเจดีย์หนึ่ง


บันทึกการเข้า
Natalee
อสุรผัด
*
ตอบ: 37



ความคิดเห็นที่ 94  เมื่อ 11 ก.พ. 08, 09:40

วัดร้างที่กำแพงเพชร (วัดหนองลังกา)



บันทึกการเข้า
Natalee
อสุรผัด
*
ตอบ: 37



ความคิดเห็นที่ 95  เมื่อ 11 ก.พ. 08, 09:54

ตรงไหนคือมณฑปคะเนี่ย?



คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
pipat
แขกเรือน
นิลพัท
*******
ตอบ: 1802


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 96  เมื่อ 11 ก.พ. 08, 12:21

เจอบทความที่ควรอ่าน
แต่อ่านแล้วจะควรเชื่อหรือไม่อย่างไร....อันนี้ ตัวใครตัวมันคะร๊าบ ผู้น่อยมะเกี่ยว
ผมเอง ไม่เห็นด้วยตั้งแต่ผู้เขียน ท่านเริ่มการวินิจฉัยโดยอ้างคำในพจนานุกรมแล้วละครับ
จะเอาของใหม่ เช่นพจนานุกรม ซึ่งเพิ่งเกิดเมื่อไม่ถึงร้อยปีมานี่เอง
ไปรับรองของที่เก่ากว่าตั้งพันปีอย่างฐานสถาปัตยกรรมฮินดู....น่าจะเกินศักดิ์

ลองอ่านดูครับ
http://www.icomosthai.org/m_news/piset2.htm
บันทึกการเข้า
Bana
องคต
*****
ตอบ: 439



ความคิดเห็นที่ 97  เมื่อ 12 ก.พ. 08, 00:04

ตรงส่วนที่ศรชี้เราเรียกเรือนธาตุได้ไม๊ครับ  ด้านใต้ลงไปอีกก็คงเรียกเรือนธาตุเช่นกัน  ผมเข้าใจถูกหรือเปล่าครับ... ฮืม


บันทึกการเข้า
pipat
แขกเรือน
นิลพัท
*******
ตอบ: 1802


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 98  เมื่อ 12 ก.พ. 08, 00:18

สถูปแบบอิสานนั้น ปลียอด ทำเป็นรูปกลีบสี่เหลี่ยม
น่าจะแปลงออกมาจากยอดสถูปที่เก่าระดับทวารวดีตอนปลาย
ไม่มีอิทธิพลปล้องไฉนแบบลังกาวงศ์

ดังนั้น ที่ชี้ไว้จึงมิใช่เรือนธาตุคลับ เป็นปลียอด
เรือนธาตอยู่ต่อลงไป เป็นเรือนธาตุสองขั้นครับ
บันทึกการเข้า
pipat
แขกเรือน
นิลพัท
*******
ตอบ: 1802


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 99  เมื่อ 12 ก.พ. 08, 00:31

ตรงไหนคือมณฑปคะเนี่ย?ทั้งองค์เลยละครับ คือมณฑป

มณฑป หมายถึงอาคารที่มีห้องภายใน และมีหลังคาโปร่ง(เพื่อลดน้ำหนักกดทับ เพราะผนังบาง)
แต่การซ้อนของหลังคานั้น อาจจะเป็นรูปจั่ว เป็นเรือนยอด หรืออื่นๆ
ลองดูที่พระมณฑปพระพุทธบาท สระบุรีนะครับ นั่นเป็นมณฑปเครื่องยอดแบบอยุธยา
แต่มณฑปของสุโขทัย (และเมืองในเขตวัฒนธรรมนี้ เช่นศรีสัชนาลัย กำแพงเพชร)
จะเป็นแบบหลังคาจั่ว เพียงแต่แทนที่จะเป็นเครื่องไม้ ท่านเล่นก่อเป็นศิลาแลง
กลายเป็นหลังคาโค้ง (ที่บันจบกันเป็นยอดแหลม pointed arch) เลียนแบบระบบหน้าบัน
ลองดูรูปวัดสวนแก้วอุทยานน้อยครับ เป็นมณฑปแบบสุโขทัยที่งดงามสมบูรณ์มากที่สุดองค์หนึ่ง
(ขออภัยที่ลืมว่านำมาจากเวบใด ผมใช้คำค้นว่า ศรีสัชนาลัย หาเป็นรูปภาพ อยู่หน้าที่ 3 หรือ 4 ครับ)


บันทึกการเข้า
Bana
องคต
*****
ตอบ: 439



ความคิดเห็นที่ 100  เมื่อ 13 ก.พ. 08, 00:24

ขอนอกเรื่องนิดนึงครับ  ผมอยากทราบความแตกต่างระหว่าง  มณฑป-โบสถ์-วิหาร-ศาลา-ปราสาท-หอ  เราจะแยกแยะได้ไงครับมีหลักสังเกตุไม๊ครับ  แบบว่าเห็นแล้วทราบได้ว่าเป็นอะไรน่ะครับ..... ฮืม

สิมหลวงพระบางเมืองเชียงทองเดิม หรือหลวงพระบางในปัจจุบันครับ  เมืองลาวส่วนมากจะเป็นเครื่องไม้ทั้งหลังครับ  สวยดีครับ


บันทึกการเข้า
pipat
แขกเรือน
นิลพัท
*******
ตอบ: 1802


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 101  เมื่อ 13 ก.พ. 08, 01:24

เห็นจะไม่แค่นอกเรื่อง...จะนอกโลกเอาน่ะนา คุณบานา
ตอบเต็มรูปแบบคงเหนื่อย ขอตอบข้อง่ายก่อนครับ

โบสถ์
หรืออุโบสถ หรือพระอุโบสถ ซึ่งปัจจุบัน มีคนแก่ภาษาต่างด้าว เรียก อุโปสถาคาร
ทั้งหมด มีข้อบ่งชี้ง่ายสุดๆ ครับ
โบสถ์ บอกได้ด้วยสีมา ซึ่งมีพระวินัยกำกับตายตัว ดิ้นไม่หลุด
หากต้องการทราบรายละเอียด สมเด็จพระมหาสมณเจ้ากรมพระยาวชิรญาณวโรรส
ทรงอรรถาธิบายละเอียดไว้ใน วินัยมุย (เล่ม 3 กระมัง จำไม่แม่นแล้ว)

โบสถ์เป็นอาคารสำคัญยิ่งในพระพุทธศาสนา เพราะเป็นที่ประกอบสังฆกรรมจำเพาะหลายประการ
แต่ใช่ว่า ทุกวัดจะต้องมีโบสถ์นะครับ
สมัยก่อน ทางภาคเหนือ สี่ห้าวัดในละแวกไกล้กัน อาจจะร่วมใช้โบสถ์หลังเดียวเท่านั้น
ยกตัวอย่างก็ที่อำเภอแม่แจ่ม

โบสถ์นั้น ว่าตามพระวินัย ไม่ต้องมีอาคารก็ได้
บริเวณใดที่ทักสีมาได้ครบตามพระวินัย เป็นโบสถ์ได้ทั้งนั้น
อาจจะกว้างแค่สาดน้ำ หรือกว้างสามสี่ร้อยเมตร แล้วแต่เจตจำนง
และแล้วแต่ศักยภาพที่จะตีวงเสมาให้ครบการปิดล้อม

วัดในเขตวัฒนธรรมสุโขทัย ไม่เน้นโบสถ์
อย่างวัดช้างล้อม ศรีสัชฯ นั้น มีโบสถ็เป็นอาคารเล็กๆ อยู่ข้างพระมหาสถูป เล็กกว่ามหาวิหารเป็นสิบเท่า
โบสถ์ มาทวีความสำคัญในเขตวัฒนธรรมอยุธยา
ยิ่งสมัยปลาย ก็ยิ่งสำคัญ

ที่วัดพระแก้ว ประธานแห่งอาณาบริเวณ คือพระอุโบสถ เพราะประดิษฐานพระแก้วมรกต
วิหารอยู่ห่างออกไปแทบไม่มีความโดเด่น

ต่อไปจะลองเล่าถึงวิหาร

เอ้า....แผนกรูปภาพ ขอสิ่งสวยงามประดับกระทู้ด้วยครับ
บันทึกการเข้า
ติบอ
นิลพัท
*******
ตอบ: 1906


Smile though your heart is aching.


ความคิดเห็นที่ 102  เมื่อ 13 ก.พ. 08, 02:22

อ่า.... เพิ่งมาเห็นเอาตอนดึกสงัด
กลัวความมืดอ่ะคับ
ไม่มีเวลาหาภาพ....




ขอรูปโบสถ์ไปก่อนรูปเดียวนะครับ
วัดกาลหว่าร์ครับ ยิงฟันยิ้ม







ปล. รักดอก จึงหยอกเล่นนะค๊าบบบบ


บันทึกการเข้า
pipat
แขกเรือน
นิลพัท
*******
ตอบ: 1802


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 103  เมื่อ 13 ก.พ. 08, 08:52

ถ้าอยู่ไกล้ละก้อ ท่านติบอคงโดนผมนวดซะเป็นแน่แท้

เพิ่งบอกข้างบนแหม็บๆ ว่าโบสถ์ "ต้อง"มีใบเสมา อันหมายถึงต้องมีพิธีกรรมในการฝังลูกนิมิตร และอื่นๆ อีกมากมาย
วัด(?) กัลหว่า เป็นโบสถ์ตรงใหน

ฮึ
------------------
เกี่ยวกับโบสถ์อีกนิดนะครับ
ข้อยึดถือเรื่องโบสถ์ที่สมบูรณ์เป็นอย่างไรนั้น
ทำให้เกิดข้อขัดแย้งทางคติความเชื่อ จนถึงพระภิกษุ ท่านไม่ร่วมสังฆกรรมกันมาแล้ว
เพราะติว่า สมมติสีมาที่วางไว้ ไม่บริสุทธิ์

ฝ่ายลังกาวงศ์นั้น ท่านถือว่า ประเทศตนเป็นเกาะ
การมีน้ำล้อม เป็นลักษณะเด่นแห่งความสมบูรณ์พร้อม
ประเทศอื่นไม่มีน้ำล้อม อยากจะอุปสมบทให้สมบูรณ์ จึงต้องประกอบบนแพขนาน

วานคุณบานา เล่าเรื่องพระมหาเถระแห่งภาคอิสานรูปหนึ่ง ซึ่งได้บวชบนอุทกสีมาเป็นท่านแรกเถิด
ส่วนคุณกุฯ น่าจะหาเรื่องในชินกาลมาลีปกรณ์มาเล่าได้

สำหรับน้องติบอ
ต้องหาทางถ่ายโทษเหมาะๆ....ฮึ่ม หาใบเสมาสวยๆ มาอวดละกัน

เย้...วันนี้การบ้านตรึม
ป้ากุน กะคุณหลานโอม อย่าน้อยใจนะครับ อ่านเล่นไปก่อน
บันทึกการเข้า
ติบอ
นิลพัท
*******
ตอบ: 1906


Smile though your heart is aching.


ความคิดเห็นที่ 104  เมื่อ 13 ก.พ. 08, 10:11

ก่อนจะโดนคุณพิพัฒน์นวดเอาจริงๆ
ผมขอเอารูปอุโบสถวัดสระบัวมาลงก่อนนะครับ แหะๆ



กลัวโดนนวดอ่า......
ยิ่งผมว่าจะไปถ่ายภาพวัดราชสิทธารามอยู่ด้วย
ถ้าถูกคุณพิพัฒน์นวด..... ผมคงกลายเป็นแป้งขนมปังแน่ๆเลยครับ แหะๆ


บันทึกการเข้า
หน้า: 1 ... 5 6 [7] 8 9 ... 20
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.058 วินาที กับ 19 คำสั่ง