ติบอ
|
ความคิดเห็นที่ 75 เมื่อ 09 ก.พ. 08, 21:30
|
|
เอาปูนปั้นมาฝากคุณโอมครับ ชุดนี้ผมถ่ายมานานแล้วจากวัดมหาธาตุ, อยุธยา ตอนนี้ได้กล้องดีกว่าตัวเก่า อยากกลับไปถ่ายใหม่อีกรอบ เพราะของเดิมท่านปั้นไว้แต่ละช่วงแต่ละชั้นลายไม่ซ้ำกันเลยทีเดียว หลุดไปคงเสียดายครับ
.
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
ติบอ
|
ความคิดเห็นที่ 76 เมื่อ 09 ก.พ. 08, 21:34
|
|
.
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
ติบอ
|
ความคิดเห็นที่ 77 เมื่อ 09 ก.พ. 08, 21:35
|
|
.
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
ติบอ
|
ความคิดเห็นที่ 78 เมื่อ 09 ก.พ. 08, 21:37
|
|
.
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
ติบอ
|
ความคิดเห็นที่ 79 เมื่อ 09 ก.พ. 08, 21:40
|
|
ปิดท้ายด้วยหงส์ครับ รูปที่ตั้งใจจะถ่ายหงส์ดันเบลอ เลยต้องทนใช้รูปนี้ไปก่อนนะครับ แหะๆ
.
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
pipat
|
ความคิดเห็นที่ 80 เมื่อ 09 ก.พ. 08, 23:11
|
|
ผังแบบบรมพุทโธนั้น ไม่เข้าสูตรย่อมุมของช่างไทย น่าจะเรียกเป็นการยกกระเปาะ
เพราะมุมที่เกิดขึ้นนั้น ความหนาไม่เท่ากัน ใครมาเรียกการฟันไม้แบบนี้ว่าย่อมุม ผมอาจจะเผลอฟันปากเข้าให้....ฮือๆๆๆๆ
การยกกระเปาะแบบนี้ เป็นมณฑลอย่างหนึ่ง ทางมหายาน ท่านวางสูตรเอาไว้ซับซ้อน เพื่อแข่งกับทางฮินดู
จะเรียกว่าเป็นระบบภูมิลักษณ์แข่งกับฮวงจุ้ยของจีนก็พออนุโลม เพียงแต่ว่า การกำหนดขนาด และสัดส่วนนั้น อาจจะมีปัจจัยมากกว่าตำแหน่งดวงดาวที่จีนเขาก็ใช้
ผมไม่มีความรู้มากพอจะอธิบายมณฑลได้ ต้องยกให้คุณครูท่านอื่นครับ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
Bana
|
ความคิดเห็นที่ 81 เมื่อ 10 ก.พ. 08, 00:38
|
|
งงแน่นอนขอรับท่านติบอ.....เอาล่ะผมทำงานปูนงานไม้ได้พอสมควร แล้วก็ได้ทำมาบ้างตามช่างสิมแต่ก็เป็นช่างชาวบ้านน่ะครับ แต่ก็ได้ยินมาบ้าง 2 คำ คือย่อเก็จ กับ ย่อมุม แต่เพิ่มมุมไม่เคยได้ยินจริงๆครับ แล้วตามที่ได้รับฟังตามที่ช่างท่านบอก ถ้ามุมเสมอคือเท่ากันหมด เรียกย่อมุมครับ แต่ถ้ามีใหญ่อยู่กลางมีมุมเล็กลงมาหน่อยประกอบ เรียกย่อเก็จ อันนี้จริงเท็จตามหลักวิชาเป็นอย่างไร อยากให้ท่านพิพัฒน์ช่วยอธิบายหน่อยครับ หรือที่ผมเข้าใจมาตลอดผิดหรือถูก เรื่องบัวนี่ผมสนใจมากครับ แต่ที่ได้อ่านที่นี่ได้มาอีกบัวนึงแล้ว บัวถลา แล้วมีบัวอื่นอีกไม๊ครับ อย่างบัวยาวๆที่เค้ามักใช้ประดับหัวเสา เรียกบัวหรือเปล่าครับ ถ้าเรียกจะเรียกว่าบัวอะไรครับ........  ขอบพระคุณมากครับ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
Bana
|
ความคิดเห็นที่ 82 เมื่อ 10 ก.พ. 08, 00:58
|
|
ผมพยายามวาดแต่อาจไม่ชัดเจนนัก วาดในคอมนี่ยากชะมัด แต่ท่านพิพัฒน์คงมองออกนะครับ ขอบพระคุณมากครับ
|
 คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
pipat
|
ความคิดเห็นที่ 83 เมื่อ 10 ก.พ. 08, 01:42
|
|
ที่อธิบายเรื่องย่อมุมและย่อเก็จนั้น ตรงกับที่ผมเรียนมาครับ ผมทำรูปย่อเก็จให้ดูอีกวิธีหนึ่ง ไม่ทราบว่าจะคิดตรงกับผมหรือไม่
รูปที่คุณบานาทำมานั้น ไม่ใช่ย่อเก็จครับและไม่ใช่ย่อมุมด้วย ดูเหมือนจะเป็นย่อมุมที่แหว่งน่ะครับ....หึหึ เดาว่า คงจะพยายามทำให้ง่าย เพียงแต่ไม่ได้เข้าสัดส่วน
จึงยังไม่เป็นย่อมุมครับ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
pakun2k1d
|
ความคิดเห็นที่ 84 เมื่อ 10 ก.พ. 08, 14:49
|
|
ว่าไปที่ละเรื่องที่ละประเด็น จะพยายามเก็บเล็กเก็บน้อยมาให้หมดนะคะ
เรื่องแต่ละค่าย แต่ละสำนัก เรียก และสอนอะไรมาไม่เหมือนกัน ถ้าเราจะศึกษาเรื่องไทย ๆ ทั้งหลาย ดิฉันว่าต้องเข้าใจ และยอมรับค่ะ เพราะถ้าไม่ยอมรับแล้วจะพยายามทำให้เหมือนกัน หรือมุ่งชี้ถูกชี้ผิดแล้วละก็ รับรองได้ว่า ทำอะไรก็ไม่ได้ ไปก็ไม่ถึงไหน เพราะฉนั้นสำหรับนักเรียนอย่างดิฉัน รู้เท่าหางอึ่ง พึ่งทำความเข้าใจและเรียนรู้ให้มากที่สุด อย่างคุณติบอ และคุณพพ.ที่ชี้ให้เห็นที่มาที่ไปของคำ นักเรียนก็ต้องฟังให้ครบค่ะ จะได้เลือกใช้อย่างเข้าใจ และมีเหตุผลด้วย ฉะนั้นเชิญผู้รู้ทุกท่านมาร่วมแสดงความรู้กันเยอะ ๆ ได้เลยค่ะ นักเรียนห้องเรียนเรือนไทยจะได้รอบรู้ และการใช้วิจารณญานอย่างมีเหตุมีผลด้วย จบส่วนของความคิดเห็นค่ะ ขอไปว่าต่อด้วยเรื่องเนื้อหา
ย่อมุม เพิ่มมุม เท่าที่อ่านพบทั้ง 2 คำค่ะ แต่พบคำว่า ย่อมุม มากกว่า เพิ่มมุม มากค่ะ ไม่ทันสังเกตว่าใครใช้คำว่าเพิ่มมุม อ่านแล้วก็เข้าใจแต่ไม่มั่นใจว่า 2 คำนี้มีความหมายเดียวกัน แบบใช้แทนกันได้ 100%เลยหรือเปล่า(ดิฉันอยู่สำนักเรือนไทยค่ะ ไม่มีฐาน ตัวตนที่ต้องยึดมั่นถือมั่น) แต่ข้อสังเกตของคุณพิพัฒน์ก็น่าสนใจนะคะว่า เพิ่มมุม มีแต่งานอิฐงานปูน ในฐานะนักเรียนขอสรุปอย่างนี้ได้ไหมค่ะว่า 2 คำนี้มีความหมายเดียวกัน ต่างกันที่คนใช้ซึ่งมองที่มาของคำต่างกัน
ยกเก็จ กับย่อเก็จ ก็มีความหมายเดียวกัน
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
pakun2k1d
|
ความคิดเห็นที่ 85 เมื่อ 10 ก.พ. 08, 15:33
|
|
คำถามของคุณติบอ คห.61 ว่าฐานด้านบนของเจดีย์บริวารวัดสวนดอก ดิฉันเป็นตัวแทนตอบไปแล้วนา คุณครูยังไม่ตรวจต่างหาก แต่ที่ตอบได้แค่นั้นเพราะภาพของครูติบอไม่ชัด ความรู้ของนักเรียนก็ไม่ชัดด้วยค่า
ส่วนภาพเจดีย์แบบปาละ คำตอบเดาล้วน ๆ โดยเทียบกับความรู้จากที่นี่ค่ะhttp://elearning.su.ac.th/elearning-uploads2/libs/html/16231/c3/c3-27/chapter3-27.htm ก็ถ้าไม่ตอบครูก็คงไม่เฉลย
ถามย้ำอีกนิดนะคะ ฐานปัทม์กับฐานบัวเหมือนกันหรือเปล่า ลวดกับเขียงถ้าเป็นเขียงที่ไม่มีลายจะเรียกว่าลวดหรือเขียงให้ดูจากขนาด หรือพิจารณาจากอย่างอื่นอีกไหมค่ะ อย่างที่ได้ออกตัวไปแล้วนะคะว่า ความรู้ของนักเรียนยังไม่ชัด ภาพไม่ชัด ก็เลยดูและเดาเอาบ้างค่ะ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
pakun2k1d
|
ความคิดเห็นที่ 86 เมื่อ 10 ก.พ. 08, 16:07
|
|
ย่อมุม กับยกเก็จ มีวิธีขึ้นงานที่ต่างกัน ทำให้ขนาดของมุมมีลักษณะที่ต่างกัน
ย่อมุม เป็นการฟันไม้(ใช้คำว่าบากไม้ได้ด้วยไหมค่ะ)เข้าไปทำให้เกิดมุมเพิ่มขึ้น(บางคนเลยเรียกว่าเพิ่มมุม)โดยขนาดของด้าน และมุมแต่ละมุมต้องเท่ากัน ตามภาพประกอบ คห.69 ของคุณพพ. ยกเก็จ เป็นการเพิ่มมุม หรือยกกระเปาะ ซึ่งมุมที่เพิ่มนี้จะมีขนาด สัดส่วนต่างจากการย่อมุม ภาพประกอบ คห.70
ในฐานะผู้ดูแล้วเรียกโดยไม่รู้เรื่องการขึ้นงาน จะเรียกอะไรก็ดูจากขนาดของสัดส่วนของมุม ถ้าขนาดด้าน และมุมเท่า ๆ กันทุกด้านก็เป็น ย่อมุม ถ้าสัดส่วนของด้านต่างกันก็ ยกเก็จ ดิฉันย่อยแล้วขึ้นรูปใหม่ ตรรกะนี้มีข้อผิดพลาดไหมค่ะ
ข้อสังเกต หนังสือที่คนไทยเขียนส่วนใหญ่เขียนแล้วคนอ่านที่ไม่เคยรู้เรื่องเลยไม่เข้าใจค่ะ ไม่ค่อยมีภาพประกอบ บางทีเรื่องไทย ๆ ต้องไปอ่านตำราที่ฝรั่งเขียนเสียนี่
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
Oam
แขกเรือน
ชมพูพาน
  
ตอบ: 168
|
ความคิดเห็นที่ 87 เมื่อ 10 ก.พ. 08, 16:17
|
|
ขอบคุณคุณติบอครับ ไม่รู้ว่ากลีบดอก ๘ กับ ๖ นี่มันบอกอะไรได้บ้างหรือเปล่า
คุณป้ากุนพูดขึ้นมาแล้วทำให้ผมนึกได้ว่า บางทีผู้ใหญ่ชอบว่าเด็กไม่สนใจเรื่องประวัติศาสตร์ อารยธรรมของชาติตนเอง แต่ถ้าเด็กสนใจจริงขึ้นมา ผมว่าเราก็ไม่มีแหล่งข้อมูล เอกสาร สื่อ ที่ดีพอ และเข้าถึงได้ง่าย ที่จะให้เด็กศึกษาเรียนรู้
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
Natalee
อสุรผัด

ตอบ: 37
|
ความคิดเห็นที่ 88 เมื่อ 10 ก.พ. 08, 16:30
|
|
เอาภาพเจดีย์แปลกๆเมืองกำแพง มาฝากค่ะ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
Natalee
อสุรผัด

ตอบ: 37
|
ความคิดเห็นที่ 89 เมื่อ 10 ก.พ. 08, 18:30
|
|
.
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
|