เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 ... 3 4 [5] 6 7 ... 20
  พิมพ์  
อ่าน: 64945 ศัพทาภิธานศิลปะ
Bana
องคต
*****
ตอบ: 439



ความคิดเห็นที่ 60  เมื่อ 09 ก.พ. 08, 02:28

รูปสิอีสาน (โบสถ์สถาปัตยกรรมแบบอีสาน)  ที่วัดป่าแสงอรุณ  จังหวัดขอนแก่นครับ  ผมไปชมมาแล้ว  อลังการงานสร้างมากเลยครับ  รูปจากเวปรถไฟไทย


บันทึกการเข้า
ติบอ
นิลพัท
*******
ตอบ: 1906


Smile though your heart is aching.


ความคิดเห็นที่ 61  เมื่อ 09 ก.พ. 08, 02:41

เหตุเกิดเพราะช่างไทยหมดความสามารถครับ

เจดีย์พวกนี้เดิมใหญ่ และ กลวง
ของเดิมเป็นเจติยวิหาร บางแห่งมีทางเดินซับซ้อนหลายชั้นในผนังก็มี
แต่พอเข้ามาถึงบ้านเราเมืองเรา
นอกจากวัดในสุโขทัยไม่กี่แห่งที่ยังเหลือทางเดินอย่างว่านี่แล้ว
จะมีเหลืออย่างมากก็ไม่เกินครรภคฤหปรางค์ หรือเรือนธาตุเล็กๆที่พอจะทำได้
เจติยวิหารก็เลยกลายเป็นเจดีย์ทรงปราสาทยอดไป

(ใครนึกม่ะออก ลองนึกถึงวัดเจดีย์หลวงที่เชียงใหม่ดูครับ)



วิวัฒนาการขั้นถัดไปจากเจดีย์ทรงปราสาทยอด
คือการเอาเจดีย์ทรงเดิมๆมาผูกกับเรือนธาตุ
แล้วก็ทำการย่อ ขยาย เฉือน ปะ ตัด แปะ ส่วนประกอบทางสถาปัตยกรรมอีกหลายชิ้น
จนงอกเงยขึ้นมาเป็นเจดีย์ทรงแปลกๆอีกมากมาย
ผมขออนุญาตยกให้เป็นลูกเป็นหลานของเจดีย์ทรงปราสาทยอดไปแล้วกันนะครับ



อย่างเจดีย์บริวารที่วัดสวนดอกผมอนุโลมให้
เป็นรูปแบบที่เกิดจาก "ความพยายาม" ในการสร้างเจดีย์ทรงปราสาทยอด แบบหนึ่งครับ
ชุดฐานเริ่มจากฐานเขียงสี่เหลี่ยม 1 ชั้น
ตามด้วยฐานเขียงยกเก็จ 3 ชั้น

แล้วต่อด้วยชุดฐาน combo set ชุดใหญ่ 1 ชุด
(ที่พอจะอนุโลมให้เป็นเรือนธาตุของเจดีย์ทรงปราสาทยอดได้)
ไล่ส่วนประกอบจากล่างขึ้นบนจะเริ่มต้นด้วย
ฐานบัวที่ทำบัวคว่ำใหญ่กว่าบัวหงาย และเติมเส้นลวดเข้าไปที่บัวคว่ำ
คั่นด้วยท้องไม้ แล้วปิดด้านบนด้วยฐานบัว
(ฐานบนก็ทำบัวหงายใหญ่กว่าบัวคว่ำ และเติมลวดเข้าไปเพื่อล้อกับฐานบัวล่างครับ)

ที่ช่างท่านทำเช่นนี้ ก็เหมือนเป็นลูกเล่นใหม่ๆที่คล้ายกับของเดิม
คือมองไกลๆ ชุดฐานชุดนี้ก็ยังดูละม้ายคล้ายคลึง
และให้ความรู้สึกไม่ต่างจากฐานปัทม์ยืดท้องไม้สูงเท่าไหร่นัก
แต่มองใกล้ๆ ก็จะเข้าใจได้ว่าเป็นฐานซับซ้อน ที่ประกอบกันขึ้นจากฐานหลายฐาน

ที่เฉลยมาอีกรอบนี่.... คุณพิพัฒน์เฉลยไปแล้ว 1 รอบ
ผมเลยขออนุญาตถามคนอ่านกระทู้อีกรอบครับ
ว่าส่วนประกอบฐานของเจดีย์ที่อยู่ด้านบน.... มีอะไรอีกมั่งครับ
(อันนี้ง่ายกว่าเยอะ ไม่ยากเท่าชุดฐานล่างครับ)





ปล. ถึงคุณพิพัฒน์ ฐาน combo set แบบนี้ในพุกามก็เริ่มทำแล้วครับ

ปล.2 ถึงคุณพิพัฒน์อีกเช่นกันครับ
ขออนุญาตเดาคำตอบครับ
ว่าฐานก็อยู่ในภาพครับ แค่ไม่ได้เกิดจากมนุษย์สร้างก็เท่านั้นแล

ปล.3 ถึงคนอ่านกระทู้ครับ
รบกวนถามคุณpipat แทนผมเรื่องคำว่า "ยกเก็จ" ด้วยนะครับ
จะถือเป็นพระคุณจากทั้งผู้อ่านกระทู้และคุณpipat ที่กรุณาแก่ผมเป็นอย่างสูงครับผม

ปล.4 หาภาพมาฝากกันอีกภาพครับ
เจดีย์แบบปาละองค์นี้ในพุกามองค์เล็กกระจิ๋วเดียว
แต่สวยเสียจนต้องหยุดรถลงไปถ่ายภาพกัน

ถามคนอ่านกระทู้อีกเช่นเคยครับ ว่าคุณรู้จักอะไรมั่งครับ ฮืม


บันทึกการเข้า
Oam
แขกเรือน
ชมพูพาน
***
ตอบ: 168



ความคิดเห็นที่ 62  เมื่อ 09 ก.พ. 08, 09:56

เมื่อเช้าเอากล้องใส่กระเป๋ากางเกง ไปถ่ายรูปที่วัดจุฬามณี เอาของท้องถิ่นพิษณุโลกมาแลกเปลี่ยนกันดู คุณภาพรูปตามคุณภาพกล้องนะครับ


บันทึกการเข้า
Oam
แขกเรือน
ชมพูพาน
***
ตอบ: 168



ความคิดเห็นที่ 63  เมื่อ 09 ก.พ. 08, 09:59

ขาเอย...ขาสิงห์?


บันทึกการเข้า
Oam
แขกเรือน
ชมพูพาน
***
ตอบ: 168



ความคิดเห็นที่ 64  เมื่อ 09 ก.พ. 08, 10:03

มาวัดนี้ต้องถ่ายรูปหงส์ไว้ด้วย เป็นของแถม


บันทึกการเข้า
Oam
แขกเรือน
ชมพูพาน
***
ตอบ: 168



ความคิดเห็นที่ 65  เมื่อ 09 ก.พ. 08, 10:22

ตอบคุณติบอ ถามว่ารู้จักอะไรบ้าง คุ้นๆ ว่าต้นไม้ข้างหลัง เป็นต้นตาลครับ  อายจัง
แต่ถ้าจะถามว่ารู้จักส่วนไหนของเจดีย์บ้าง เดี๋ยวคุณป้ากุนคงมาตอบ

ลองเปิดความหมายคำว่าเก็จ เขาบอกว่า แก้วประดับ หรือพื้นที่ยกเป็นรูปสี่เหลี่ยม

ยกเก็จนี่คือยกพื้นเป็นฐานสี่เหลี่ยมหรือเปล่าครับ คุณพิพัฒน์? 
บันทึกการเข้า
pakun2k1d
พาลี
****
ตอบ: 285


ความคิดเห็นที่ 66  เมื่อ 09 ก.พ. 08, 10:27

วิชานี้งานหนักขึ้นเรื่อย ๆ นะคะ  เรื่องราวเยอะแยะ กระจัดกระจายเชียวค่ะ  ก็จะคอยไล่ตามเก็บนะคะ

ไปพบคำอธิบายลายฐานสิงห์ของวัดสระบัว  อธิบายเยอะแยะแต่ไม่มีรูปให้ดู(เจอแบบนี้ทั้งนั้น เฮ้อ....)  เลยเก็บคำศัพท์เขามา  ผิดพลาดประการใดก็ชี้แนะด้วยนะคะ


บันทึกการเข้า
Kurukula
สุครีพ
******
ตอบ: 1303



ความคิดเห็นที่ 67  เมื่อ 09 ก.พ. 08, 10:51

ฐานสิงห์ของคุณโอมดูต่างจากฐานสิงห์ที่คุณป้ากุนเอามาให้ชมกันนะครับ

เป็นผม ผมจะเดาว่า มันเก่ากว่าฐานสิงห์แข้งแหลมๆ เยอะเลย

ถ้าให้เดาก็คงคิดว่าเป็นฐานสิงห์สมัย "ต้น" ของอยุธยาตอนปลายนะครับ

นานๆจะได้เห็นแปลกๆเสียทีครับ
บันทึกการเข้า
pakun2k1d
พาลี
****
ตอบ: 285


ความคิดเห็นที่ 68  เมื่อ 09 ก.พ. 08, 11:03

ขอลองตอบเรื่องยกเก็จ กับย่อมุม หน่อยนะคะ

ย่อมุม 8  12  16 หรือ 20  เป็นการบากมุมไม้เข้าไป ถ้ามุมละ 1 หยัก 4 มุมก็เป็น 8 ถ้ามุมละ 2 หยัก 4 มุมก็เป็น 12 ถ้ามุมละ 3 หยัก 4 มุมก็เป็น 16 ไปเรื่อย ๆ

ยกเก็จ หลักการน่าจะเป็นการเพิ่มชั้นไม้เข้าไป แต่มีการลดหลั่นความยาวของหน้าไม้ ซึ่งจะทำให้เกิดมุมคล้ายกับย่อมุม  ความต่างอยู่ตรงที่สัดส่วนของมุม หน้าไม้  ถ้าเป็นย่อมุม มุมที่เกิดขึ้นก็จะเท่า ๆ กัน  แต่ถ้าเป็นยกเก็จ มุมก็จะไม่เท่ากัน ขึ้นอยู่กับความหนา และการลดหลั่นของความยาวไม้  ขออนุญาตแสดงฝีมือวาดภาพประกอบตามความสามารถที่มีนะคะ  ความเข้าใจถูกต้องประการใด  ช่วยเฉลยด้วยค่ะ 

ฐานบัวกับฐานปัทม์  อ่านพบหลายที่จะอธิบายว่า ฐานบัวหรือฐานปัทม์ แต่ห้องเรียนนี้จะไม่ใช้อย่างนั้น  ขออธิบายละเอียดตามความเข้าใจอย่างนี้ค่ะ ฐานบัวและฐานปัทม์เหมือนกันที่มีบัวเป็นส่วนประกอบ  แต่ฐานปัทม์บอกละเอียดลึกลงไปอีกว่า เป็นฐานบัวที่เป็นเหลี่ยม เข้าใจอย่างนี้ใช้ได้ครอบคลุมกับคำอธิบายที่ใช้ ๆ กันอยู่ทั่วไปไหมค่ะ  ผู้รู้กว่าวานบอกค่ะ

คำตอบอื่น ๆ ก็ตอนต่อไปค่ะ 


บันทึกการเข้า
pipat
แขกเรือน
นิลพัท
*******
ตอบ: 1802


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 69  เมื่อ 09 ก.พ. 08, 14:25

หงส์ที่ ความเห็น 64 นั้น
เป็นยอดของวิชาตกแต่งภายนอกแห่งอารยธรรมไทย
น้องเราเอามาเป็นของแถมซะแล่ว.....เดี๋ยวปั๊ด

ให้แก้ตัว ด้วยการไปถ่ายเพิ่มมาหลายๆ มุม
----------------------------
ทีนี้มาดูการย่อมุม
รูปซ้ายคือไม่ย่อ แท่นสี่เหลี่ยมก็เป็นแค่สี่มุมเกลี้ยงๆ

โบราณท่านเรียกการย่อมุมว่า "ฟันไม้"
ท่านคงหมายเอาอาการที่ช่างใหญ่ หยิบมีดมาฟันมุมให้หนึ่งมุม กลายเป็นสองมุม
ท่านก็เรียกว่าย่อมุมไม้แปด มาจากสี่ด้านคุณด้วย 2
หรือย่อมุมไม้สิบสอง....มาจากสี่ด้านคูณ 3

หลักของการย่อมุมก็คือ แต่ละมุม ต้องเท่ากัน
ฟันเส้นดิ่งไปหนึ่งศอก ก็ต้องฟันเส้นนอนออกหนึ่งศอก จึงจะเกิดระเบียบการย่อ ที่งามตา
เส้นที่ฟันทิ้งนั้น ก็ต้องตั้งฉาก เพื่อให้เข้มแข็ง มั่นคง

แต่สมัยอยุธยาตอนปลาย
ท่านพลิกแพลงเส้นฉากนี้ ให้สอบ กลายเป็นย่อมุมพิเศษ เรียกว่าย่อมมุมรัศมี

ลงรูปให้คุ้นเคยกันก่อน


บันทึกการเข้า
pipat
แขกเรือน
นิลพัท
*******
ตอบ: 1802


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 70  เมื่อ 09 ก.พ. 08, 14:41

มาถึงการย่อเก็จ
ครูผมสอนว่า ให้เรียกยกเก็จ เพราะจะเข้าใจตรงตามปัญหา
หรือเรียกอย่างปิดความกังขาเลย ท่านเรียกว่ายกกระเปาะ

เพราะเป็นการพลิกแพลงจากฐานย่อมุมปกติ
เพิ่มกระเปาะเล็กๆ เข้าในแต่ละด้าน
กระเปาะนี้ จะเล็กกว่าย่อมุม อาจจะหนาครึ่งเดียว หรือน้อยกว่า
เมื่อยามแสงแดดตกกระทบ จะเกิดลีลาที่ซับซ้อน หลอกให้ชมได้นานขึ้น
แต่ก็ใช่ว่า จะเจอบ่อยนะครับ ส่วนมากท่านใช้กับฐานพระ

ฐานอาคาร ที่พบบ่อย เป็นแบบเขมรหรือแบบภาคเหนือ
ถ้าอยุยา ก็ยุคปลาย

แต่เก่าแก่ถึงศิลปะทวารวดี ก็พบเช่นกัน

การที่ยกกระเปาะออกมาเพียงเล็กน้อยนี้เอง น่าจะเป็นเหตุให้เรียกส่วนนี้ว่าเกล็ด
เพราะคล้ายการทับซ้อน ที่นูนขึ้นน้อยๆ ราวกับเกล็ดปลา
แล้วมาแต่งเป็นศัพท์ไพเราะว่า "เก็จ"

เอวังกมีดังนี้แล......


บันทึกการเข้า
ติบอ
นิลพัท
*******
ตอบ: 1906


Smile though your heart is aching.


ความคิดเห็นที่ 71  เมื่อ 09 ก.พ. 08, 16:39

ขอบคุณ คุณpipat สำหรับเรื่อง "ย่อมุม" และ "ยกเก็จ" ครับ


คำศัพท์ 4 คำ คือ
- ย่อมุม
- เพิ่มมุม
- ยกเก็จ
- ยกกระเปาะ


เป็นอะไรที่ทำเอาผมเกือบเลิกสนใจศิลปะไทยไปครั้งหนึ่งแล้ว
เพราะแต่ละค่าย แต่ละขุม เขาก็สอนกันมาไม่เหมือนกันเลย



เพื่อนคนนึงมาจากคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์
แปลคำว่าย่อมุม ว่าการย่อตัวมุมของผังรูปสี่เหลี่ยมจตุรัสเข้าไปเล็กน้อย
เหมือนอย่างฐานของบุโรพุทโธในภาพ เธอจะเรียกว่าย่อมุม








เธออ้างว่าทำต้องทำเช่นนี้เพื่อทำให้ผังของฐานซึ่งเป็นทรงสี่เหลี่ยม
ดูสอดคล้องกับเจดีย์ด้านบนซึ่งมีผังเป็นวงกลม

และเรียกส่วนเล็กๆที่โผล่ออกมาตรงกลาง
อย่างบันไดที่ฐานของบุโรพุทโธว่า "ยกกระเปาะ"


แล้วก็ไปเรียกการทำให้มุมของผังฐานลดลงไป
อย่างที่คุณพิพัฒน์ทำรูปดำๆมาให้ดูในความคิดเห็นที่ 69
ว่า "เพิ่มมุม" เพราะเธออ้างว่าเป็นการ "เพิ่มมุมของสี่เหลี่ยมให้ดูเป็นแปดเหลี่ยม"
แล้วอธิบายต่อไปว่าที่ทำอย่างนี้เพื่อนำมาแทนรูปแปดเหลี่ยมเดิม
ให้สอดคล้องกับผังของฐานเขียงด้านล่างที่เป็นสี่เหลี่ยม
และผังของฐานขององค์ระฆังด้านบนที่เป็นวงกลม
เนื่องจากการนำเอาแปดเหลี่ยมมาซ้อนบนสี่เหลี่ยม
ก่อนจะซ้อนด้วยวงกลมเข้าไป ดูแล้วมีความสอดคล้องกันของผังน้อยกว่า





ส่วนเพื่อนอีกคนหนึ่งมาจากคณะโบราณคดี (ไม่ต้องบอกมหาวิทยาลัยแล้วกันนะครับ)
อ้างว่า ไม่มีคำว่า "ย่อมุม" เพราะ "เขาเรียกมาผิด" ที่จริงมันเกิดจากการ "เพิ่มมุม" ตะหาก
เพราะมุมมันเพิ่ม มันไม่ได้ลด จะเรียกว่า "ย่อ" ได้อย่างไร
แล้วก็เรียกลักษณะการย่อมุมที่ความยาวและความลึกของมุมไม่เท่ากัน อย่างวัดขุนเมืองใจในภาพข้างล่างนี่
หรือการย่อมุมที่มีมุมประธานอย่างปรางค์ที่วัดเชิงท่าว่า "ยกเก็จ"









ฟังแล้วงงครับ งงจริงๆ แหะๆ



ปล. ถ้าคุณป้ากุล คุณกล้วย หรือคุณโอม อ่านแล้วงง
ก็อย่าไปถือสาอะไรนะครับ แหะๆ มากหมอก็มากความน่ะครับ
บันทึกการเข้า
pipat
แขกเรือน
นิลพัท
*******
ตอบ: 1802


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 72  เมื่อ 09 ก.พ. 08, 20:14

ไม่อยากอ้างอะไรที่ไม่ได้ความ
ขอยกเพียงว่า มีคำเรียกพระโกศไม้สิบสอง มาแต่ค้นรัตนโกสินทร์
และสมเด็จทั้งสามพระองค์ เมื่อทรงนิพนธ์หนังสือตำนานพระโกศ ก็ทรงใช้ต่อมา

ผมยกคำว่า "ไม้สิบสอง" เพราะเห็นว่าคำว่า "ไม้" เป็นคำสำคัญ
เนื่องจากมีคำช่างที่รองรับกันออกมาว่า "ฟันไม้"
นั่นหมายถึงการ "เอาออก" คงไม่มีการฟันแล้วกลายเป็นการ "เพิ่ม" กระมัง

ดังนั้น ถ้าคำว่า "เพิ่มมุม" เป็นคำที่ถูกต้อง คำว่า "ฟันไม้" ก็ต้องลบทิ้ง
ลบแล้ว ก็น่าจะลบคำว่า "ไม้สิบสอง" ทิ้งไปด้วย
เพราะเห็นๆ อยู่ว่า ฐานย่อมุมน่ะ ปูนทั้งนั้น....หึหึ

โรคคนโบราณทำผิด คนปัจจุบันต้องทำให้ถูกนี่
ระบาดจากกรมพระคเณศงาหัก มาสู่โรงเรียนพระคเณศงากุดแล้วรึ
บันทึกการเข้า
Oam
แขกเรือน
ชมพูพาน
***
ตอบ: 168



ความคิดเห็นที่ 73  เมื่อ 09 ก.พ. 08, 20:34

อ่านแล้วไม่งงครับ งงว่าจะเถียงกันไปทำไมหรือจะไปแก้คำของคนโบราณทำไม สายไหนเรียกว่าอย่างไรก็เก็บไว้ให้หมด เป็นประโยชน์ดีออก

ผมชอบหางของหงส์ตัวนี้มากกว่า  ยิงฟันยิ้ม


บันทึกการเข้า
Oam
แขกเรือน
ชมพูพาน
***
ตอบ: 168



ความคิดเห็นที่ 74  เมื่อ 09 ก.พ. 08, 20:38

ขออีกรูป
วัดจุฬามณีฯก็เป็นวัดกษัตริย์สร้างเหมือนกันนะ เขาว่าเป็นวัดของพระบรมไตรโลกนาถครับ ทรงสร้างและผนวชที่วัดนี้


บันทึกการเข้า
หน้า: 1 ... 3 4 [5] 6 7 ... 20
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.094 วินาที กับ 19 คำสั่ง