เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 2 [3] 4 5 ... 20
  พิมพ์  
อ่าน: 64921 ศัพทาภิธานศิลปะ
pakun2k1d
พาลี
****
ตอบ: 285


ความคิดเห็นที่ 30  เมื่อ 06 ก.พ. 08, 16:55

ขอบคุณคุณพพ.ค่ะ  ตอบข้อสงสัยชัดแจ้ง  จากคำอธิบายนี้ก็จะเกิดความรู้เพิ่มเติมว่า  เขียงบน และล่างไม่จำเป็นต้องเท่ากันแล้ว  ยังมีทั้งรูปเหลี่ยม กลม และมีลายด้วย  ส่วนบัวคว่ำกับหงาย  ท้องไม้  จากเจดีย์วัดอุโมงค์นี้ถ้าไม่บอกก็ดูไม่ออกค่ะ จากคำอธิบายนี้การเรียงลำดับของฐานก็ยังเป็น เขียงล่าง บัว ท้องไม้ บัว เขียงบน  การเรียงลำดับเป็นแบบแผนอย่างนี้เสมอไปไหมค่ะ  ตอนนี้ดิฉันก็รู้จัก ฐานปัทม์ซึ่งจะใช้เรียกฐานสี่เหลี่ยมเท่านั้น ฐานบัว ฐานย่อไม้ 12 มุม แลัวยังมีฐานอย่างอื่นอีกไหมค่ะ  อย่างฐานอาคารกุบโยกจีรูปตาม คห.18 จะใช้วิธีเรียกแบบเดียวกับฐานเจดีย์ไหมค่ะ

ตอนนี้ขอเรียนรู้เรื่องฐานเจดีย์ก่อนนะคะ  เรื่องอื่น ๆ จะค่อย ๆ ซักไปให้แตกฉาน  รบกวนท่านผู้รู้ทุกท่านด้วยนะคะ  ดิฉันจะเป็นตัวแทนของนักเรียน ประเภทเรียนช้า ช่างสงสัยค่ะ
บันทึกการเข้า
pipat
แขกเรือน
นิลพัท
*******
ตอบ: 1802


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 31  เมื่อ 06 ก.พ. 08, 18:30

สรุปได้เยี่ยม

เรื่องฐาน อาจจะต้องแยกย่อยให้เห็นหลักๆ เสียก่อน
เราใช้ฐานเพื่อบ่งบอกศักดิ์ของสิ่งต่างๆ นอกเหนือจากเพื่อยึดรูปเหล่านั้น ให้แข็งแรง
เดวิด เธอยืนเปลือยอยู่บนดินที่เธอเหยียบ....เท่านั้น

ในระยะแรก รูปบุคคลในศิลปะอินเดีย ก็อาจจะไม่มีฐานรองรับเช่นกัน
ตัวอย่างเช่นรูปสตรีเหนี่ยวกิ่งไม่ ศาละภัญชิกะ ซึ่งเป็นท่าทางตามขนบนิยม
แล้วทางพุทธศิลปะ นำมาใช้ในเหตุการตอนประสูติมหาบุรุษ ที่ป่ากวาง อิสิปตนะ
นั่น ก็เป็นรูปบุคคล ยืนบนพื้นโลกเหมือนกัน

แต่ในสถาปัตยกรรม มีเงื่อนไขต่างออกไป
ลองดูรูปนี้ก่อนนะครับ


บันทึกการเข้า
pipat
แขกเรือน
นิลพัท
*******
ตอบ: 1802


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 32  เมื่อ 06 ก.พ. 08, 18:38

มิใช่แท่นรับเหรียญในกีฬาแห่งชาตินะครับ
รูปแบบนี้ มีมาแล้วตั้งแต่ยุคก่อนอินเดีย รุ่นโมเหนจาเดโร หรือที่เมโสโปเตเมีย

ใช้เป็นใบเสมากำแพงเป็นต้น


บันทึกการเข้า
pipat
แขกเรือน
นิลพัท
*******
ตอบ: 1802


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 33  เมื่อ 06 ก.พ. 08, 18:46

ถ้าเราเรียกรูปนี้ว่าปิรามิดขั้นบันได
ทุกคนก็จะร้องอ๋อ....ว่าม่ายรู้เรื่องฮ่า

นี่คือการลดรูปของภูเขาครับ
แต่ลดรูปขนาดนี้ ให้ฉลาดยังไง บางทีก็นึกไม่ออก
ตรงนี้ละครับ จึงเกิดความจำเป็นที่จะต้องหาทางทำให้รูปทรงพื้นฐาน กลายเป็นรูปทรงพิศดาร
เพื่อรองรับเรื่องราว คติความเชื่อที่พิศดารพอกัน

ทางหนึ่งในการ ทำให้ปิระมิดขั้นบันได กลายเป็นของสำคัญ ก็คือการตกแต่ง
ถึงจุดนี้ รูปแบบของฐาน ก็เกิดขึ้น
เพื่อทำให้รูปทั่วไป กลายเป็นรูปจำเพาะ


บันทึกการเข้า
Oam
แขกเรือน
ชมพูพาน
***
ตอบ: 168



ความคิดเห็นที่ 34  เมื่อ 06 ก.พ. 08, 20:38

"พ่างพื้นที่ฐานบัตร เป็นครุฑอัดอุราผาย"

ฐานบัตร เกี่ยวกับ ฐานปัทม์หรือไม่?

พวกยักษ์แบก ลิงแบก ใช่ลูกเล่นที่ใส่เข้าไปในท้องไม้หรือไม่?

ใบเสมาบนกำแพง บางทีเรียก วิหลั่นใช่หรือไม่?

 ฮืม ฮืม ฮืม ฮืม ฮืม ฮืม
บันทึกการเข้า
Kurukula
สุครีพ
******
ตอบ: 1303



ความคิดเห็นที่ 35  เมื่อ 06 ก.พ. 08, 20:48

ตอบคุณโอมมั่งครับ

ยักษ์แบก ลิงแบก เป็นลูกเล่นที่ใส่เข้าไปในฐานจริงๆ เหมือนกับทำให้ฐานนั้นสูงศักดิ์ขึ้นด้วย (มีคติแฝงตามที่อาจารย์ Pipat เกริ่นไว้ในเรื่องของการลดรูปภูเขา)

ฐานบริเวณที่มียักษ์แบก ครุฑแบก เทวดาแบกนั้น จะทำให้โค้งเข้าไป เพื่อให้มีที่วางประติมากรรมแบก เรียกส่วนโค้งนั้นว่า "เอวขัน" ครับ


ส่วนใบเสมาที่เรียกว่า วิหลั่นนั้น ต้องเป็นใบเสมาทรงสี่เหลี่ยม เชื่อว่ารับรูปแบบมาจากตะวันตก จึงเรียก เสมาเหล่านี้ว่า เสมาวิหลั่น คือ เสมาวิลันดานั่นเอง
บันทึกการเข้า
pipat
แขกเรือน
นิลพัท
*******
ตอบ: 1802


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 36  เมื่อ 06 ก.พ. 08, 22:02

รีบแก้ก่อนเตลิด.....
เอวขัน ครูผมสอนว่า มาจากเอวขันธ์ คือหมายเอาร่างกายเป็นตัวเปรียบ
แต่ครูผม มิได้สอนว่า ตรงที่เอา"ตัวภาพ" แบกเข้าไปนั้นเรียกเอวขันธ์
ท่านสอนว่า ให้ดูที่ฐานตกท้องช้าง หรือฐานอาคารที่เป็นโค้งสำเภา
ตรงที่โค้งนั้น เรียกเอวขันธ์ครับ

ครูของของคุณกุรุกุลา ท่านว่ามาอย่างไรครับ

ส่วนคำนี้
"ยักษ์แบก ลิงแบก เป็นลูกเล่น"
ขอเถียงแหลกว่ามิใช่ลูกเล่นครับ เป็นองค์ประกอบเชิงคติที่โดดเด่น

ถึงเวลา ถ้าไม่ลืม จะมาขยายขี้เท่อครับ"
บันทึกการเข้า
pakun2k1d
พาลี
****
ตอบ: 285


ความคิดเห็นที่ 37  เมื่อ 06 ก.พ. 08, 22:54

มาเข้าชั้นเรียนต่อค่ะ  สรุปว่า ฐานมีเพื่อบ่งบอกศักดิ์ของสิ่งที่ตั้งอยู่บนฐาน  ซึ่งมีทั้งฐานที่เป็นงานสถาปัตยกรรมอย่าง ฐานอาคาร ฐานเจดีย์ ฐานบุษบก และฐานของรูปเคารพต่าง ๆ จากคำอธิบายเหมือนการออกแบบฐานจะเริ่มต้นมาจากการจำลองรูปของภูเขา  แล้วพัฒนารูปแบบและรายละเอียดต่าง ๆ เข้าไปตามคติความเชื่อ  และการจำลองแบบของภูเขานี้มีมาแล้วตั้งแต่ยุคเมโสโปเตเมีย  แต่การนำมาใช้เป็นฐานเริ่มเมื่อไหร่ก็ต้องติดตามตอนต่อไป 

ศัพท์เรื่องฐาน ก็พอรู้จักศัพท์หลัก ๆ ที่เป็นโครงสร้างอย่าง เขียง บัว ท้องไม้ ส่วนตกแต่งก็รู้จัก ลวด ลวดบัว ลูกแก้ว ลูกแก้วอกไก่ แล้วค่ะ อาจารย์ติบอค่ะ  ขอข้อสอบซักรูปดีไหมค่ะ

ไปอ่านคห.ต้น ๆ ก็จะเจอ ฐานเขียง ฐานสิงห์  ขอเดานะคะว่า ฐานเขียงเป็นการนำเขียงมาเรียงเป็นชั้น ๆ (ฟังแล้วไม่รู้สึกว่าสิ่งที่ตั้งอยู่บนฐานเขียงจะน่าเคารพเลยนะคะ)  ส่วนฐานสิงห์ก็ต้องมีส่วนประกอบของรูปสิงห์ซิค่ะ 

ศัพท์ใหม่อีกแล้วค่ะ เอวชัน หรือเอวขันธ์  ก็จะรออรรถาธิบายที่ชัดเจนต่อไปค่ะ 
บันทึกการเข้า
Bana
องคต
*****
ตอบ: 439



ความคิดเห็นที่ 38  เมื่อ 07 ก.พ. 08, 00:26

แอวขัน  หรือ เอวขัน  เป็นคำที่ผมคุ้นที่สุดครับ  ได้ยินมาตั้งแต่เด็กที่อิสานบ้านผมนะครับ  เค้าจะเรียกฐานบัวทุกชนิดไม่ว่าจะเป็นฐานสิม  ฐานชุกชี ที่มีลักษณะลดหลั่นว่าแอวขัน  แน่นอนครับฐานสิมหรือฐานโบสถ์จะต้องตกท้องช้างนิดหน่อย  แล้วเสาก็ไม่ดิ่งเป๊ะปลายจะเข้าหากันนิดหน่อย  ตัวฐานสิมนี่หละผมนึกดูคล้ายๆเรือนะครับ

ขออนุญาตเอารูปของคุณกุ้งจากอีกกระทู้มาดูเพื่อศึกษารูปขวา  ฐานอาคารนี้เรียกว่า "ฐานสิงห์" ใช่ไม๊ครับ  ลวดบัวสองชั้น  และเขียงล่างกับเขียงบนก็ไม่เท่ากันแบบป้ากุนว่า  ถูกผิดอย่างไรเชิญท่านพิพัฒน์ครับ 

จากนักเรียนภาคดึก... ฮืม


บันทึกการเข้า
ติบอ
นิลพัท
*******
ตอบ: 1906


Smile though your heart is aching.


ความคิดเห็นที่ 39  เมื่อ 07 ก.พ. 08, 02:03

เข้ามาติดตามอ่านครับ
วันนี้ให้อาจารย์pipat กับอาจารย์กุรุกุลา สอนก่อนนะครับ

นายติบอขอเป็นลูกศิษย์ด้วยคน คริคริ





ปล. ผมเป็นลูกเจ๊กครับ ไม่ได้ถือคริสต์
ที่บ้านเขาห้ามทำงานไปอีกหลายวันครับ หิหิ
บันทึกการเข้า
กุ้งแห้งเยอรมัน
แขกเรือน
สุครีพ
******
ตอบ: 1573



ความคิดเห็นที่ 40  เมื่อ 07 ก.พ. 08, 07:04

ยินดีที่สนใจค่ะ คุณ Bana กำลังติดตามกระทู้นี้อยู่เหมือนกัน
บันทึกการเข้า
Oam
แขกเรือน
ชมพูพาน
***
ตอบ: 168



ความคิดเห็นที่ 41  เมื่อ 07 ก.พ. 08, 08:27

ขอบคุณ คุณ Kurukula ครับ ห้องเรียนนี้เด็กนักเรียนน้อยกว่าอาจารย์ ดีจัง
บันทึกการเข้า
pipat
แขกเรือน
นิลพัท
*******
ตอบ: 1802


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 42  เมื่อ 07 ก.พ. 08, 08:53

เข้าใจว่าครูผม ท่านคงเทียบเอว กับการตกท้องช้าง
คือโค้งอวบๆ....ฮิฮิ
ข้อมูลจากคุณบานา ช่วยวางแนวเทียบได้อีกสายหนึ่ง
(ความรู้ไม่เกี่ยงเวลาครับ ขอบคุณ)

มาเล่านิทานให้นักเรียนป้ากุนต่อ
---------------------
ที่ยกการแปรรูปภูเขามาเป็นแท่น เพราะเป็นวิธีที่ปรีมีถีป คือเข้าใจง่ายๆ
ประมาณว่า ท่านที่นั่งภูเขาน่ะ ต้องบิ๊กแน่ๆ บ่มิต้องสงสัย
แต่เมื่อวิวัฒนาการขั้นต่อๆ ไป อะไรๆ ไม่ง่ายอย่างนั้นแล้วนะครับ

ลองดูที่ประติมากรรมก่อน
พระพุทธองค์ประทับนั่ง ต่างยุค (อย่าเพิ่งสนใจเรื่องอายุ หรือแบบศิลปะนะครับ)
องค์หนึ่ง มีดอกบัวรองรับ องค์หนึ่ง ไม่มี
แต่ทั้งสององค์ มีเรื่องเล่า อยู่ใต้องค์พระลงไป

คำถามคือ เรื่องเล่านั้น เป็นส่วนหนึ่งของฐานหรือไม่
เพียงเท่านี้ ก็จะเห็นว่าวิธีแสดงออก อาจพาเราไปเจอทางตันเรื่องฐานรองรับเสียแล้ว
เพราะเป็นเรื่องต่างคิดต่างทำแท้ๆ....แม้ว่า จะพอสาวคติกลับไปสู่ต้นกำเนิดได้
----------------------
กลับไปที่รูปคุณบานา ที่ยืมคุณกุ้งแห้งมาอีกที
ฐานแบบนี้แหละครับ ที่สมัยเรียน เราต้องเพียรเหลาดินสอให้แหลมเปี๊ยบ
ค่อยๆ ลากเส้น บดลายให้โค้งเท่ากัน โดยที่เส้นต้องหนักเท่ากันตลอด
ยากสุด ก็ตรงส่วนเท้า เพราะเรามักจะเขียนแล้วดูไม่มีแรง ไม่เหมือนที่ครูท่านทำไว้บนกระดาน
รูปนี้คือ ฐานสิงห์แบบรัตนโกสินทร์แท้ๆ เป็นฐานบัทม์ที่ผสมองค์ประกอบของเท้าสิงห์เข้ามา
ต้นแบบก็มาจากเท้าของตู้พระธรรมอยุธยา ที่เราไปแปลงมาจากเครื่องเรือนของจีน
บวกกับลวดลายดั้งเดิมที่ทำเป็นขาสัตว์จริงๆ ผสมกันไปมา เห็นจะหลายศตวรรษ
สุดท้าย กลายเป็นองค์ประกอบสถาปัตยกรรมส่วนฐาน ที่ลงตัวอย่างไม่น่าเชื่อ

กระทู้นี้ เหมือนรถไฟเหาะตีลังกา วิ่งไปวนมา
รบกวนป้ากุนถอดรหัสเป็นสูตรเข้าใจง่ายๆ ด้วยครับ

เขียนเอง งงเอง


บันทึกการเข้า
Kurukula
สุครีพ
******
ตอบ: 1303



ความคิดเห็นที่ 43  เมื่อ 07 ก.พ. 08, 10:31

ผมยังสับสนอยู่ครับ ตอนเขียน ว่าควรจะใช้ ขันธ์ หรือ ขัน ดี

แต่สุดท้ายก็เลือกจะใช้ ขัน ครับ

อย่างที่คุณ pipat ว่า เอวขันธ์ คือเอาร่างกายเป็นที่เปรียบ (อตฺตานํ อุปมํ กเร)

ผมก็เลยคิดถึง รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ที่ตีนเขา บนยอดนั้นอาจจะเป็นอะไรที่พ้นจาก เวทนา ไปแล้วก็ได้ โดยเฉพาะถ้าเป็นเขาพระสุเมรุ

คิดถึงบทไหว้ครูในขุนช้างขุนแผนครับ

          คงคายมนามาเป็นเกณฑ์
          พระสุเมรุหลักโลกสูงระหง
          ดินน้ำลมไฟอันมั่นคง
          จึงดำรงได้รอดมาเป็นกาย


หรือ อาจจะเปรียบเทียบ ยอดเขานั้นกับ เขาคิฌชกูฏ ซึ่งบนยอดนั้นมีพระพุทธเจ้าประทับเทศนาอยู่ตลอดเวลาก็ได้เช่นกัน


ส่วนคำว่าขันนั้น ผมคิดแค่ง่ายๆครับ ว่ามันน่าจะแปลว่า คอด หรือ รัด จนคอดมากกว่า
บันทึกการเข้า
pakun2k1d
พาลี
****
ตอบ: 285


ความคิดเห็นที่ 44  เมื่อ 07 ก.พ. 08, 14:07

ถึงแม้ว่ากระทู้นี้คุณครูจะมากกว่านักเรียน  แต่ดูคุณครูจะงานหนักค่ะ  เพราะนักเรียนคนนี้จะเล่นคว้าอย่างเดียว  กลัวคุณครูจะอ่อนใจกับลูกศิษย์เสียก่อน  เลยต้องกระตือรือร้นไปค้น แล้วก็สรุปรวบรวมตามที่ครูพพ.มอบหมายค่ะ

ว่าด้วยคำว่า ฐาน..... ก่อนนะคะ  ตามความเข้าใจ ดิฉันแบ่งศัพท์คำว่า ฐาน....  เป็น 2 กลุ่มนะคะ 

กลุ่มที่ 1 คือ ฐานที่บอกว่าสิ่งที่ตั้งอยู่บนฐานเป็นอะไร เช่น ฐานเจดีย์ ฐานมณฑป ฐานพระที่นั่ง ฯ ที่ไม่รู้แล้วไปค้นคว้าเพิ่มเติมมา มีดังนี้ค่ะ
            ฐานสิม  สิมเป็นภาษาอีสาน แปลว่า โบสถ์ หรืออุโบสถ ดังนั้นสิ่งที่ตั้งอยู่บนฐานสิมคือโบสถ์  ฐานสิมก็คือฐานโบสถ์นั่นเอง  ส่วนรูปแบบ และลวดลายตกแต่งจะเป็นอย่างไรก็ขึ้นอยู่กับแบบสถาปัตยกรรมของโบสถ์นั้น ๆ อาจจะเป็นแบบฐานปัทม์ ฐานบัว หรือฐานเขียง ฯ ก็แล้วแต่ ตรงนี้ขอถามคุณครูว่า  เราใช้คำว่า ฐานสิมกับโบสถ์ทางอีสานเท่านั้นหรือเปล่าค่ะ
            ฐานชุกชี(อ่านว่า ชุก-กะ-ชี  บอกไว้เผื่อมีเด็ก ๆ มาอ่านนะคะ)  ที่ไปค้นมาเขาบอกว่า ชุกชีเป็นภาษาเปอร์เซียแปลว่า ที่นั่ง  สิ่งที่อยู่บนฐานชุกชีก็เลยเป็นพระพุทธรูปค่ะ(ดิฉันไม่ค่อยมั่นใจกับตรรกะนี้เลยค่ะ  สิ่งที่อยู่บนฐานชุกชีนอกจากพระพุทธรูปแล้วมีอย่างอื่นอีกไหมค่ะ)  ส่วนรูปแบบของฐานก็ขึ้นอยู่กับศิลปะของแต่ละยุคสมัย
           
กลุ่มที่ 2 คือ ฐาน..... ที่บอกลักษณะรูปแบบ และส่วนประดับตกแต่งของฐาน  เช่น
            ฐานปัทม์ หมายให้รู้ตรงกันว่า  เป็นฐานทรงเหลี่ยม ขอถามคุณครูทั้งหลายให้ชัดเจนอีกหน่อยนะคะว่า  สี่เหลี่ยมเท่านั้นหรือเปล่าค่ะ  เป็น หกเหลี่ยม แปดเหลี่ยมได้ไหม เอ...ว่าแต่ฐานหกเหลี่ยม แปดเหลี่ยมนี่มีไหมค่ะ  ส่วนสิ่งที่อยู่บนฐานปัทม์เท่าที่อ่านพบก็จะเป็นฐานอาคาร อย่างเจดีย์ โบสถ์ เป็นต้น
            ฐานเขียง  ยังรู้ไม่พอสรุปค่ะ  เพราะเกิดคำถามขึ้นมาว่า  ฐานเขียงกับฐานปัทม์ต่างกันอย่างไรค่ะ  เท่าที่รู้ก็คือ รูปแบบของเขียงเป็นแบบกลมได้  แต่ฐานปัทม์ต้องเหลี่ยมเท่านั้น  เท่าที่อ่านสิ่งที่อยู่บนฐานเขียงก็เหมือนกับฐานปัทม์ค่ะ
            ฐานสิงห์ เป็นฐานที่มีลายขาสิงห์ประดับตกแต่งอยู่ตามมุม  สิ่งที่อยู่บนฐานสิงห์  รอตอนต่อไปนะคะ
            ฐานบัว  เป็นรูปแบบฐานที่มีลายบัวประกอบอยู่  สิ่งที่อยู่บนฐานบัว ต้องติดตามค่ะ
            ฐานไพที  มีคำอธิบายไว้ 2 อย่างค่ะ  คือ ฐานรูปบัวคว่ำ บัวหงาย  ใช้รองรับเจดีย์  กับที่อาจารย์สันติ  เล็กสุขุม อธิบายไว้ว่า เป็นฐานที่ใช้รองรับสิ่งก่อสร้างหลาย ๆ อย่างรวมกัน

ยังมีชื่อฐานอย่างอื่น ๆ อีกนะคะ  อย่างฐานบัวลูกแก้วอกไก่ ฐานบัวลูกฟัก ฯ ซึ่งถ้าผู้อ่านมีความรู้เรื่องชื่อลวดลายต่าง ๆ ก็พอจะนึกภาพออก เข้าใจได้  แต่ถ้าไม่รู้ก็ย่อมงงเป็นธรรมดา  ที่ชวนสับสนปนเปก็เพราะรูปแบบของฐานแต่ละที่มีลวดลายผสมผสานกันไป  อย่างเป็นฐานทรงเหลี่ยม ส่วนประกอบตกแต่งมีทั้งลายสิงห์ บัว ลูกแก้ว แล้วจะให้เรียกฐานที่มีส่วนประกอบอย่างนี้ว่าอย่างไรล่ะคะ  มิน่า  อาจารย์พพ.ถึงว่าอย่างไปยึดติดกับชื่อมาก

พบชื่อฐานอีกกลุ่มหนึ่ง เป็นกลุ่มที่ 3 ค่ะ  คือ ฐานที่เป็นชื่อเรียกตามการใช้งาน เช่น
             ฐานประทักษิณ  หมายถึงฐานที่มีพื้นที่เป็นลานสำหรับเดินเวียนประทักษิณ คือเดินเวียนขวานมัสการเจดีย์ (อ้างอิงจาก สันติ เล็กสุขุม, เจดีย์ ความเป็นมาและคำศัพท์เรียกองค์ประกอบเจดีย์ในประเทศไทย (กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์มติชน, 2538)

ส่งการบ้านค่ะ  ผิดพลาดประการใด  คุณครูอาจารย์ทั้งหลายชี้แนะด้วยนะคะ
บันทึกการเข้า
หน้า: 1 2 [3] 4 5 ... 20
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.064 วินาที กับ 19 คำสั่ง