ติบอ
|
ความคิดเห็นที่ 270 เมื่อ 04 พ.ค. 08, 21:21
|
|
ถ้าคุณป้ากุนจะอรรถาธิบายอย่างนั้น นายติบอขออนุญาตเรียนถามฎีกา จากพระครูพิพัฒน์ด้วยนะขอรับ ว่าในสยามประเทศนี้มีสถูปอยู่ ณ แห่งหนไหนบ้างขอรับ ??
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
pipat
|
ความคิดเห็นที่ 271 เมื่อ 04 พ.ค. 08, 21:45
|
|
พระราชพงศาวดารนั้น ท่านเข้าใจเรื่องนี้ดีครับ ท่านจึงจดว่า สิ่งก่อสร้างที่เป็นประธานของวัดพระศรีสรรเพชญ์
คือ พระมหาสถูป
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
pakun2k1d
|
ความคิดเห็นที่ 272 เมื่อ 04 พ.ค. 08, 22:31
|
|
ถ้านิยาม "สถูป" ของวิกีพีเดียถูกต้อง อาจารย์พิพัฒน์ย่อมนับสถูปในประเทศนี้ได้ไม่ถ้วนแน่ค่ะคุณติบอ เพราะใคร ๆ ก็สร้างสถูปไว้บรรจุกระดูกของบุคคลในครอบครัวได้
ถือโอกาสถามต่อค่ะว่า มีคำเฉพาะเจาะจงสำหรับสถูปของถูปารหบุคคลไหมค่ะ อย่างคำว่า มหาสถูป ที่เป็นประธานของวัดพระศรีสรรเพชญ์ที่อาจารย์ว่า เป็นสถูปของถูปารหบุคคลประเภทใดค่ะ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
pipat
|
ความคิดเห็นที่ 273 เมื่อ 04 พ.ค. 08, 23:41
|
|
บุคคลผู้ควรแก่สถูปนั้น นับแล้วมีเพียง 3 นะครับ คือ พระอรหันต์ เทวดา และพระมหากษัตริย์
อากงอาม่า ตาสียายสา หรือพะณะหัวเจ้าท่านที่ใหญ่โตคับบ้านคับเมือง หาใช่บุคคลผู้สมควรแกสถูปไม่
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
pakun2k1d
|
ความคิดเห็นที่ 274 เมื่อ 05 พ.ค. 08, 05:22
|
|
วิกีฯ บอกต่อไว้อย่างนี้ค่ะ
"ถือกันว่ามีบุคคลที่ควรบรรจุอัฐิธาตุไว้ในสถูปเพื่อเป็นที่สักการะของมหาชนอยู่เพียง 4 พวก เรียกว่า ถูปารหบุคคล ได้แก่ พระสัมมาสัมพุทธเจ้า พระปัจเจกพุทธเจ้า พระอรหันตสาวก และพระเจ้าจักรพรรดิ์"
สงสัยถามต่อค่ะว่า ถ้าเราสร้างสถูปไว้สำหรับบรรพบุรุษเรา เพื่อเป็นที่เคารพกันในครอบครัวได้ไหมค่ะ ถ้าทำจะถือว่าเป็นอุตริวิตถาร ทำการอันไม่สมควรหรือเปล่าค่ะ หรือถ้าทำต้องเรียกเป็นอย่างอื่นค่ะ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
pipat
|
ความคิดเห็นที่ 275 เมื่อ 05 พ.ค. 08, 11:03
|
|
ตามวิกี้นะครับ ผมไม่ได้สอบ...อายจัง .................. อย่าเรียกสถูปก็ไม่ถือว่าอุตริแล้วครับ เปรียบไปก็เหมือนว่ามีพระราชามากมายในโลก นับไม่ถ้วน แต่ที่จะเป็นมหาราชนั้น นับพระนามได้
ทหารก็มีเป็นล้าน แต่วีรบุรุษมีเพียงหยิบมือ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
Kurukula
|
ความคิดเห็นที่ 276 เมื่อ 05 พ.ค. 08, 19:11
|
|
สวัสดีครับ หายไปนานเลย เข้ามาฟังสัมมนาต่อดีไม๊?
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
pakun2k1d
|
ความคิดเห็นที่ 277 เมื่อ 05 พ.ค. 08, 21:06
|
|
ฟังเฉย ๆ ไม่ได้แล้วค่ะ คุณKurukula ช่วยทำการบ้านด้วย "สังโยค" ค่ะ ยังไม่มีใครทำได้ มีแต่ทำเงียบค่ะ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
Kurukula
|
ความคิดเห็นที่ 278 เมื่อ 05 พ.ค. 08, 21:17
|
|
อธิบายตามความเข้าใจละกันครับ เกี่ยวกับเรื่องของสถูป กับเจดีย์
เหมือนกับว่าเจดีย์ไม่จำเป็นต้องเป็น สถาปัตยกรรม ก็ได้อะไรก็เป็นเจดีย์ได้ เหมือนบริโภคเจดีย์ อุเทสิกเจดีย์ ธรรมเจดีย์ ธาตุเจดีย์
แต่สถูปเป็นสถาปัตยกรรมเนินดินฝังศพครับ คนโบราณนิยมสร้างไว้ตามสี่แยก
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
ติบอ
|
ความคิดเห็นที่ 279 เมื่อ 05 พ.ค. 08, 23:50
|
|
ยังงงอยู่ครับ คุณป้ากุน
เพราะจากความคิดเห็นที่ 269"เจดีย์ หมายถึงสิ่งก่อสร้างหรือสิ่งของที่สร้างขึ้น เพื่อเป็นที่เคารพบูชาระลึกถึง สถูป หมายถึงสิ่งก่อสร้างเหนือหลุมฝังศพ หรือสร้างขึ้นเพื่อบรรจุอัฐิธาตุของผู้ที่ล่วงลับไปแล้ว เพื่อให้ลูกหลานและผู้เคารพนับถือได้สักการบูชา"
ส่วนความคิดเห็นที่ 272ถ้านิยาม "สถูป" ของวิกีพีเดียถูกต้อง อาจารย์พิพัฒน์ย่อมนับสถูปในประเทศนี้ได้ไม่ถ้วนแน่ค่ะคุณติบอ เพราะใคร ๆ ก็สร้างสถูปไว้บรรจุกระดูกของบุคคลในครอบครัวได้ ฟังแล้วคล้ายๆกับว่าคนไทยนิยมสร้างสิ่งก่อสร้างบนที่ดินที่ใช้ในการปลงศพ... ผมว่าไม่น่าจะเป็นอย่างนั้นนะครับ (หรือผมแปลผิดหว่า ชักสับสนตัวเอง แหะๆ)  แล้วถ้าฝังแค่อัฐิ แบบพวกไปเก็บเอาไว้ตามกำแพงวัด.... จะเป็นสถูปหรือเปล่าครับ 
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
pakun2k1d
|
ความคิดเห็นที่ 280 เมื่อ 06 พ.ค. 08, 04:48
|
|
อ้อ.... ก็ถ้าจะจบนิยามของวิกีฯ แค่นั้น อ่านแล้วเข้าใจว่า ใคร ๆ ก็สร้างสถูปขึ้นมาได้ ดิฉัน คุณติบอ คุณBana ฯ อยากสร้างสถูปเก็บกระดูกของบรรพบุรุษในครอบครัวเรา ทำได้ถ้ามีสตังค์ ที่นี้พอคุณติบอถามว่า ในประเทศไทยมีสถูปที่ไหนบ้าง ถ้าเป็นตามความเข้าใจนี้ ครูพิพัฒน์จะนับได้ถ้วนทั่วอย่างไร สถูปของครอบครัวนายมั่ง นายมี ที่ไหนก็สร้างได้ ซึ่งครูพิพัฒน์ได้ตอบมาแล้วค่ะว่า สถูปพึ่งสร้างให้เป็นที่เคารพ สักการะของมหาชน ซึ่งจะบรรจุอัฐของถูปารหบุคคลไว้ตามที่วิกีฯ บอกต่อมาค่ะ เรื่องของเรื่อง ดิฉันพยายามจะถาม เพื่อความเข้าใจที่ชัดเจน เพราะบางที่เราก็อยู่ในอาการที่โบราณท่านว่า "อ่านไม่แตก"
ยังหาเรื่อง "สังโยค" ไม่พบเลยเจ้าค่ะ คุณKurukula ไปเจดีย์กับสถูปแล้ว ตอนนี้เจอแต่ "สังโยค" ที่เกี่ยวกับรูปแบบของประโยคในภาษาไทย บาลี อะไรโน้นแน่ะ เพื่อน ๆ มีใครเจอบ้างหรือยังค่ะ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
pakun2k1d
|
ความคิดเห็นที่ 281 เมื่อ 06 พ.ค. 08, 05:44
|
|
นำรูปของคุณOamมาทบทวนเรื่องฐานกันบ้างดีกว่า เป็น ฐานปัทม์ (เพราะเป็นเหลี่ยม) ฐานปัทม์ย่อมุมไม้ 20 รายละอียดอื่น ๆ ตามรูปค่ะ น่าจะเป็นงานสมัยอยุธยาหรือเปล่าค่ะ เพราะขาสิงห์ และบัวอ่อนช้อย ประดิษฐ์ประดอยทีเดียว(เดาตามความรู้ที่มีค่ะ)
เรื่องฐานเท่าที่ไปอ่านทวน เราจะค้างกันไว้ว่า รูปแบบของฐานมาจากคติ ความเชื่อ เริ่มต้นจากฐานที่จำลองรูปมาจากเขาพระสุเมรุ เบื้องต้นก็เป็นแบบง่าย เป็นแบบแท่นรับรางวัล แล้วก็ค่อย ๆ ใส่รายละเอียดเล็ก ๆ น้อยลงไป ดัดแปลงจนกลายเป็นใบเสมา แล้วกระทู้เลี้ยวเปลี่ยนถนนไปไหนต่อไหน ตอนนี้เราจะกลับมาที่ถนนเรื่องฐานกันต่อดีไหมค่ะ จะได้เป็นเรื่อง ๆ ไป
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
ติบอ
|
ความคิดเห็นที่ 282 เมื่อ 06 พ.ค. 08, 14:03
|
|
มองไม่เห็นตัวหนังสือในภาพครับ แหะๆ สงสัยหน้าจอของผมจะเล็กไปหน่อย แงๆ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
Kurukula
|
ความคิดเห็นที่ 283 เมื่อ 06 พ.ค. 08, 19:29
|
|
ฐานของคุณ Oam ถ้าเขาสร้างใหม่ให้เหมือนของเดิมก็นับว่าเก่าแก่มากทีเดียว อาจจะถึงสมัยอยุธยาตอนกลางได้ครับ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
Oam
แขกเรือน
ชมพูพาน
  
ตอบ: 168
|
ความคิดเห็นที่ 284 เมื่อ 07 พ.ค. 08, 22:39
|
|
ฐานข้างบนนั้นจากวิหารมงคลบพิตรครับ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
|