เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 ... 10 11 [12] 13 14 ... 20
  พิมพ์  
อ่าน: 64948 ศัพทาภิธานศิลปะ
pakun2k1d
พาลี
****
ตอบ: 285


ความคิดเห็นที่ 165  เมื่อ 20 ก.พ. 08, 00:40

คุณ(ครู)พพ.ค่ะ  เจติยะ หรือไจตะ เท่าที่อ่านพบจะอธิบายใกล้เคียงกับที่ดิฉันยกมา  ยังไม่เคยเจอนิยามเหมือนคุณพพ.ค่ะ  ไม่ได้แปลว่าของใครผิดหรือถูกนะคะ 

ปรางค์  ในบทความเดียวกันก็อธิบายต่างกันแล้วค่ะ  นิยามแรก  ปรางค์เป็นสถาปัตยกรรมไทยที่พัฒนามาจากขอม  เป็นรูปแบบหนึ่งของเจดีย์  โดยพัฒนาการยุคแรกช่วงต้นอยุธยาเป็น ปรางค์ทรงงาเนียม คือ สั้น ๆ ป้อม ๆ(เท่าที่อ่านเหมือนว่าจะเริ่มมาตั้งแต่สุโขทัย แต่มีไม่มาก)  มาช่วงรัตนโกสินทร์ทรงชลูดเพรียวขึ้นเหมือนฝักข้าวโพด เรียก ปรางค์ทรงฝักข้าวโพด  ตามนิยามนี้  ดิฉันก็จะมีข้อสงสัยว่า แล้วปรางค์สามยอดที่ลพบุรีล่ะค่ะ  เป็นเจดีย์หรือค่ะ  แต่ถ้าเป็นนิยามอันหลัง  ขอแย้งคุณพพ.แบบศรีธนชัยว่า  ก็เป็นคำไทยใช้เรียกสถาปัตยกรรมขอม ได้ไหมค่ะ

คุณติบอยุ่งหรือเปล่า   จะพอมีเวลาหาภาพปราสาทตามคำอธิบายของคุณพพ.บ้างไหมค่ะ

ตอนนี้ก็พอมีเค้าแยกแยะ  สถูป เจดีย์ ปรางค์ ปราสาท บ้างแล้วค่ะ  ก็เหลือ มณฑป วิหาร หอ ศาลาราย และอื่น ๆ (ถ้ามี)ค่ะ
บันทึกการเข้า
Bana
องคต
*****
ตอบ: 439



ความคิดเห็นที่ 166  เมื่อ 20 ก.พ. 08, 01:19

ผมเคยได้ยินคำว่า  เจดีย์ยอดปรางค์  เค้าเรียกกันถูกหรือเปล่าครับ  มีลักษณะแบบไหนครับ

คุณป้ากุนเป็นนักเรียนที่ขยันค้นคว้าดีครับ  ดังนั้นผมขอโหวตให้เป็น หัวหน้าห้องเลยครับ................ ยิ้มเท่ห์
บันทึกการเข้า
elvisbhu
แขกเรือน
พาลี
****
ตอบ: 215

เป็นคนเขียนรูป


ความคิดเห็นที่ 167  เมื่อ 20 ก.พ. 08, 07:11

นักเรียนหลังห้องมาสนับสนุนคุณbanaครับ
บันทึกการเข้า
pakun2k1d
พาลี
****
ตอบ: 285


ความคิดเห็นที่ 168  เมื่อ 21 ก.พ. 08, 14:57

คุณBanaคิดดีแล้วนะ  หัวหน้าห้องมีหน้าที่ตามเพื่อน ๆ มาเข้าชั้นเรียนด้วยไหมค่ะ  จะได้เริ่มเช็คชื่อกันเลย  ระหว่างไล่เช็คชื่อดิฉันส่งการบ้านให้คุณ(ครู)พพ.ก่อน

ส่งรูปมาหลังคาวัดทางเหนือมาให้ดูค่ะ  อย่างนี้ใช่หลังคาทรงปราสาทไหมค่ะ


บันทึกการเข้า
Kurukula
สุครีพ
******
ตอบ: 1303



ความคิดเห็นที่ 169  เมื่อ 21 ก.พ. 08, 19:49

อยากทราบชื่อวัดของคุณป้ากุนครับ ไม่ค่อยได้ไปเที่ยวทางเหนือเลย

วัดนี้มีหลังคาเป็นทรงปราสาทครับ ในภาษาพม่าเรียกว่า ปยาทาด หรือบางคนเรียกว่า "พญาธาตุ" ซึ่งมาจากคำว่า ปราสาท (ภาษาพม่าออกเสียง ส เป็น ท ครับ)

ในภาพเป็นปยาทาดที่ได้รับอิทธิพลมาจากศิลปะอังกฤษครับ
บันทึกการเข้า
pakun2k1d
พาลี
****
ตอบ: 285


ความคิดเห็นที่ 170  เมื่อ 21 ก.พ. 08, 20:22

เสียใจด้วยค่ะคุณKurukula  ดิฉันไปเก็บมาจากweb  คนถ่ายไม่ได้บอกรายละเอียดอะไรไว้เลยค่ะ  ที่บอกว่าทางเหนือ  ดิฉันเดาจากประสบการณ์ค่ะ  หลังคาแบบนี้จะเห็นแถวแม่ฮ่องสอน  ไม่ก็ข้ามไปพม่า 

คุณKurukulaค่ะ  แล้วแบบนี้ดูอย่างไรค่ะถึงบอกว่าได้รับอิทธิพลจากศิลปะอังกฤษ
บันทึกการเข้า
Bana
องคต
*****
ตอบ: 439



ความคิดเห็นที่ 171  เมื่อ 22 ก.พ. 08, 00:11

เด็กชายกล้วยมาแว้ววค๊าบหัวหน้า

โดมคล้ายแถวท่าพระจันทร์นะครับ  แต่รูปอาคารอีกหลังที่มีหลังคาน้อยๆซ้อนกัน  คล้ายอาคารของไทลื้อ  มีให้เห็นแถบหลวงพระบางและสิบสองปันนาครับ.. เจ๋ง
บันทึกการเข้า
pakun2k1d
พาลี
****
ตอบ: 285


ความคิดเห็นที่ 172  เมื่อ 22 ก.พ. 08, 22:33

เพื่อน ๆ ค่ะ  ลองไปอ่านอันนี้ดูนะคะ  อ่านแล้วเข้าใจมากน้อยแค่ไหน  เรามาถกกันเล่น ๆ ระหว่างรอคุณครูเข้าห้องดีไหมค่ะ
http://kanchanapisek.or.th/kp6/BOOK28/chapter1/t28-1-l2.htm
บันทึกการเข้า
ติบอ
นิลพัท
*******
ตอบ: 1906


Smile though your heart is aching.


ความคิดเห็นที่ 173  เมื่อ 23 ก.พ. 08, 00:51

ปราสาทพม่ามีมาหลายยุคหลายสมัยครับ
อย่างน้อยในจิตรกรรมสมัยพุกาม
พี่ม่านแกก็เขียนอาคารรูปร่างแบบนี้เกลื่อนกลาดในจิตรกรรมฝาผนังแล้ว

ถัดเข้ามาสมัยราชวงศ์ถัดๆมา การสร้างเรือนยอดลักษณะนี้ก็ยังคงสืบประเพณีมาเรื่อยๆ
และแก้ไขปรับปรุงไปหลายยุคหลายสมัย
เช่นในสมัยที่อังกฤษเข้ายึดครงอพม่าใต้
จนพระเจ้าสีป่อ กับแม่เจ้าศุภยาต้องมาชีช้ำระกำใจตัดต่อรูปตัวเองกับซุ้มประตูที่ชเวดากงให้คนพม่าดู.....
ปราสาทพม่าก็ได้รับอิทธิพลอังกฤษเข้าไปหลายอย่างครับ
เช่น..... สีสัน (ที่บางทีก็ดูฝรั่งจ๋าๆ) หรือหลังคาทรงโดมอย่างวัดกลางตลาดที่แม่ฮ่องสอน
ที่คุณป้ากุลกรุณานำรูปมาให้เราชมกันวัดนี้ล่ะครับ


อ่อ.... ถ้าจำไม่ผิด จุดสังเกตสำคัญอีกเรื่อง สำหรับพญาธาตุอังกฤษ
คือ "DENTAL" ครับ (อันนี้รบกวนถามคุณพิพัฒน์ดีกว่า ว่าแปลว่าจะไดอ้าย




ปล. ขอโทษคุณป้ากุนด้วยครับ
ช่วงนี้ผมงานยุ่งเล็กน้อยครับผม แหะๆ
บันทึกการเข้า
pipat
แขกเรือน
นิลพัท
*******
ตอบ: 1802


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 174  เมื่อ 23 ก.พ. 08, 00:51

ป้ากุนโยนระเบิดลูกเบ้อเริ่มเข้าห้องเรียน
แล้วมาบังคับให้พวกเราถอดสลัก........กัวๆๆๆๆ

บทความที่ยกมานั้น อ่านยากยิ่งกว่าพระอภิธรรมเสียอีก
แล้วรูปปลากรอบก็ไม่มีให้ขบเคี้ยว

โอย กว่าผมจะอ่านจบ ถึงตาลายครับ

ขอติงเรื่องการจำแนกแบบสถาปัตยกรรมก่อน
เกี่ยวกับเจดีย์ บทความท่านให้ไว้สองแบบ คือเจดีย์กลมมีองค์ระฆังกลมแบบลังกา
กับเจดีย์เหลี่ยมย่อมุม
ผมเสนออีกแบบหนึ่ง ซึ่งคุณบานาจะต้องชูมือรับรอง คือแบบพระธาตุพนม
ไม่เป็นทั้งเจดีย์กลม ไม่เป็นทั้งย่อมุม แต่เป็นลีเหลี่ยม  ทั้งภาคอิสาน เห็นจะมีร่วมร้อยองค์

ติงเรื่องที่สอง คือการอธิบายเรื่องชั้นซ้อนในพระปรางค์ ว่าลอกแบบอาคารไม้
อันนี้พูดได้ครับ แต่อย่าไปเชื่อ อาจจะมิเป็นเช่นนั้น
จริงอยู่ ดูเผินๆ อาคารหิน หรือก่ออิฐ มีการวางรูปคล้ายอาคารไม้
แต่ถ้าดูที่เทคนิคก่อสร้างอย่างพินิจพิเคราะห์แล้ว
การสร้างชั้นซ้อน มาจากการประกอบหินขึ้นไป มิใช่สร้างเรือนไม้ที่เล็กลงๆ ซ้อนกันขึ้นไป
ยิ่งกว่านั้นนะครับ ไม้เป็นวัสดุก่อสร้างที่มีลำดับศักดิ์ต่ำมากในตำราฮินดู

เขายกให้หินเหนือกว่า รองลงมาจึงเป็นอิฐ
ดังนั้น สิ่งก่อสร้างชั้นเอกอุ ย่อมไม่สุงสิงกับของต้อยต่ำเช่นไม้
เว้นแต่ไม้จันทร์หอม ในกิจพิธีบางประการเท่านั้น

ลองดูรูปนี้สักเล็กน้อย
จะเห็นว่า การก่อสถูปกลมนั้น ไม่มีอะไรที่ชวนให้นึกถึงไม้เลย แม้แต่ต้นเดียว
พูนดิน หรือโค้งครอบฟ้านั้น ต่อง "ก่อ" เท่านั้นครับ
ส่วนบัลลังก์เหนือครอบฟ้านั้น เห็นชัดว่าเป็นเทคนิคเหลื่อมหิน
มิใช่เทคนิคประกอบกล่องแบบงานไม้แม้สักนิดเดียว

ทฤษฎีที่ว่า ไม้มาก่อนหินนั้น จึงมาจากการใช้สามัญสำนึก เพราะคิดว่าต้องทำของง่ายก่อนของยาก
แต่ศิลปินแท้ๆ นั้น ทำของยากก่อนเสมอ

chaitya hall ที่ Karla


คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
pipat
แขกเรือน
นิลพัท
*******
ตอบ: 1802


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 175  เมื่อ 23 ก.พ. 08, 01:00

ติงสุดท้าย เรื่องพระปรางค์สามองค์ องค์เดียว
ท่านอธิบายง่ายไปหน่อย และอาจจะไม่มีวิวัฒนาการอย่างที่แสดงมา
แต่จะเป็นอย่างใหน อาจจะต้องเล่ายาวเป็นพรวน....เฮ้อเหนื่อย

เอาเป็นว่า ผมไม่คิดว่าเราควรใช้คำว่า "มุขกระสัน" กับตำแหน่งที่ท่านอ้าง
ผมเห็นว่า ศัพท์นี้ เป็นของพระมหาปราสาทไทย
และมุข ก็หมายถึงหน้า ซึ่งสมควรที่จะมีการใช้สอยที่สมควรกับความหมาย

เช่นมีมุขเด็จ....ก็เดาว่ามาจากมุขเสด็จออกมหาสมาคม
แต่พระปรางนั้น มีแต่ซุ้มประตู ประตูปลอม

ไม่เห็นว่าจะมีมุขคร๊าบ.....

ยังมีอื่นๆ อีกมากมายที่คุยได้ไม่รู้จบ ตามประสานักมั่ว
อ่านไปคิดไปนะครับ ผมไม่รู้อะไรถ่องแท้นักดอก แต่ชอบแย้ง
บันทึกการเข้า
Bana
องคต
*****
ตอบ: 439



ความคิดเห็นที่ 176  เมื่อ 23 ก.พ. 08, 02:00

ผมขอสนับสนุนท่านพิพัฒน์ครับ  ผมเชื่อว่างานหินเป็นงานสถาปัตยกรรมที่ยิ่งใหญ่  และเป็นจุดเริ่มของการวิวัฒนาการ  แต่ขออภัยครับที่ไม่มีหลักฐานอ้างอิงเป็นลายลักษณ์  แต่ที่ได้ยินคือคำบอกเล่าจากผู้อาวุโสท่านหนึ่งที่เป้นช่างมาตลอดชีวิต  ท่านว่างานพระปรางค์ หรือปราสาท  มีต้นแบบมาจากเขมรครับ  เวลาไปดูที่พิมายหรือที่อื่นๆ  ผมเห็นตามนั้นครับเพราะความรู้สึกมันยิ่งใหญ่จริงๆครับ  กับเทคโนโลยีที่มีจำกัดกับการก่อสร้างที่ต้องใช้ศิลปะและความเพียรที่ยิ่งใหญ่  โดยมีศรัทธาเป็นพื้นฐาน........... ยิ้มเท่ห์
บันทึกการเข้า
Bana
องคต
*****
ตอบ: 439



ความคิดเห็นที่ 177  เมื่อ 23 ก.พ. 08, 02:10

พอดีอ่านเจอคำนี้  ความจริงเทวสถานพวกปรางค์ปราสาทเหล่านี้ ไม่จัดว่าเป็นมรดกทางวัฒนธรรมของคนไทยโดยตรง เพราะพื้นที่บริเวณนี้เดิมเคยเป็นส่วนหนึ่งของอารยธรรมขอมมาก่อน    
ในเวบนี้ครับ   http://elearning.su.ac.th/elearning-uploads2/libs/html/16231/c2/c2-buddhawas/c2-2/chapter2-2.htm

แต่ยังไงต้องขอขอบพระคุณท่านหัวหน้าห้องเป็นอย่างยิ่งครับ  ผมเข้าใจเรื่องวิหาร ระเบียง และ โบสถ์เยอะเลยครับ  เห็นไม๊หัวหน้าห้องเราเยี่ยมจริงๆ  ท่านอาจารย์จะพิจารณาให้เกียรตินิยมไม๊เนี่ย

รูปปราสาทพิมายครับ


บันทึกการเข้า
pakun2k1d
พาลี
****
ตอบ: 285


ความคิดเห็นที่ 178  เมื่อ 23 ก.พ. 08, 16:04

คุณบานาค่ะ  ตามไปอ่านแล้วค่ะ  ปรางค์ที่ไม่ถือว่าเป็นมรดกไทยนั้น  หมายถึง ปรางค์ทรงศิขร  อย่างนครวัด หรือปราสาทหินพนมรุ้ง ซึ่งหลายตำราก็บอกว่าเป็นต้นแบบที่ช่างไทยนำมาประยุกต์เป็นพระปรางค์เจดีย์    เริ่มต้นก็เป็น ปรางค์ทรงงาเนียมในสมัยอยุธยาตอนต้น  ตรงนี้บอกตรงกันหลายตำราค่ะ  แล้วพระปรางค์เจดีย์นี่แหละค่ะที่เป็นสถาปัตยกรรมไทย  เพราะเขมร และขอมไม่มี ไม่ทำ ด้วยวัตถุประสงค์การใช้งาน  และคติที่ใช้เป็นฐานในการสร้างต่างกัน  อย่างนั้นหรือเปล่าค่ะคุณ(ครู)พพ.

ไหน ๆ ก็ยกให้เป็นหัวหน้าห้องแล้ว  แอบใช้อำนาจแทนคุณครูหน่อยนะคะ  ใครว่าเข้าใจ  ลองตอบซิว่า  โบสถ์ วิหาร ศาลา และมณฑป นี่ต่างกันอย่างไร

ส่วนกับระเบิดที่วางไว้  ตั้งใจจะให้นักเรียนส่งเสียงเจี้ยวจ้าวกวนใจคุณครูออกมาดู  คุณครูเล่นรู้ทัน  ออกมาตัดไฟแต่ต้นลมซะนี่  นี่ขนาดระดับครูยังอ่านยาก  แล้วระดับเยาวชนจะอ่านรู้เรื่องหรือค่ะ  แล้วศิลปะเรื่องไทย ๆ ทั้งหลายนี่เยาวชนจะสนใจได้อย่างไรค่ะ  ขนาดสารานุกรมฉบับเยาวชนนะเนี่ย  สมมุติว่าครูไทยซักคนอยากจะสอนเรื่องอย่างนี้โดยไม่มีความรู้มาก่อน  จะทำอย่างไรกันล่ะคะ  เวรกรรมประวัติศาสตร์ชาติไทยค่ะ
บันทึกการเข้า
ติบอ
นิลพัท
*******
ตอบ: 1906


Smile though your heart is aching.


ความคิดเห็นที่ 179  เมื่อ 23 ก.พ. 08, 23:04

รูดซิบปาก รูดซิบปาก รูดซิบปาก รูดซิบปาก รูดซิบปาก รูดซิบปาก รูดซิบปาก รูดซิบปาก รูดซิบปาก รูดซิบปาก รูดซิบปาก
ปรางค์ที่ไหนเกี่ยวข้องกับศิขรด้วยอ่ะครับ
นายติบองงเต็กปัยหมดแย๊ว..... แง๊วๆ...
รูดซิบปาก รูดซิบปาก รูดซิบปาก รูดซิบปาก รูดซิบปาก รูดซิบปาก รูดซิบปาก รูดซิบปาก รูดซิบปาก รูดซิบปาก รูดซิบปาก
บันทึกการเข้า
หน้า: 1 ... 10 11 [12] 13 14 ... 20
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.236 วินาที กับ 19 คำสั่ง