pakun2k1d
|
ความคิดเห็นที่ 150 เมื่อ 17 ก.พ. 08, 08:05
|
|
คุณพพ.ค่ะ ไม่เข้าใจรูปประกอบ คห.146 ค่ะ จากรูปจตุรัสเล็ก เป็นผืนผ้าโดยการเพิ่มอีกครึ่งหนึ่งของจตุรัส แล้วย่อเก็จต่อมา มาจากไหนล่ะคะ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
pipat
|
ความคิดเห็นที่ 151 เมื่อ 17 ก.พ. 08, 09:53
|
|
ถ้าแบ่งเป็น (9x9) 81 ช่อง จะได้การย่อมุมมาโดยตัวตารางนั้นเอง (ในรูปนี้ ผมซอยหนึ่งช่อง ออกเป็น 4 ดังนั้น 81 บาท จะมี 324 อนุบาท) ยังมีอีกวิธีคือการทาบวงกลมลงไป เส้นรอบวงตัดมุมปุ๊ป ก็เลือกทำย่อมุมจากจุดนั้น
ถ้าต้องการทราบสูตรของฮินดู ผมคงต้องหาตำราให้อ่านเองละครับ ปล. สูตรเหล่านี้ ผมยังไม่เคยนำมาใช้กับสถาปัตยกรรมไทย เพราะต้องใช้เงินมาก คือต้องทำรังวัดผังเป้าหมาย และทำการวิเคราะห์อย่างประณีต จากนั้นก็หาสูตรที่เหมาะสมมาเทียบเคียง
เป็นงานวิจัยระดับช้างสาร
แต่มีญี่ปุ่นเข้ามาทำแล้วครับ....
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
pakun2k1d
|
ความคิดเห็นที่ 152 เมื่อ 17 ก.พ. 08, 10:16
|
|
เข้าใจแล้ว ขอบคุณค่ะ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
pipat
|
ความคิดเห็นที่ 153 เมื่อ 17 ก.พ. 08, 13:11
|
|
จากการหาย่อมุมเช่นนี้ คงนึกต่อไปได้ว่า ครึ่งหนึ่งของความหนาของหนึ่งย่อมุม อาจจะกลายเป็นย่อเก็จ......
แล้วถ้า หนึ่งในสี่ล่ะ มิยิ่งเก็จไปใหญ่หรือ
การย่อทั้งสองแบบ จึงมาจากความจำเป็นทางคติความเชื่อ ไม่ใช่ความจำเป็นบนกระดานเขียนแบบ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
pipat
|
ความคิดเห็นที่ 154 เมื่อ 18 ก.พ. 08, 17:55
|
|
ไพที ลองพิจารณาคำนี้ดู ที่คุณป้ากุนอธิบายไว้นั้น เป็นความหมายที่ใช้กันในปัจจุบัน ไม่ตรงกับกับที่ผมเรียนมาครับ
ที่ผมเรียนมานั้น ไพทีไม่จำเป็นต้องมีหลายอาคารอยู่บนนั้น แค่เจดีย์องค์เดียว เราก็เรียกยกชั้นที่ทำอย่างดี มีทางขึ้นลงหลายด้านว่า ไพที ยังไม่เคยคิดถึงรากศัพท์ของคำนี้มาก่อน
บางทีจะมาจาก "เวทิกา" ได้ใหม
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
    
ตอบ: 33477
ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม
|
ความคิดเห็นที่ 155 เมื่อ 18 ก.พ. 08, 20:39
|
|
ไพที มาจากรากศัพท์เดิม คือ เวที ตรงกันทั้งบาลีและสันสกฤต เวทิกา ก็ เวที นั่นแหละค่ะ
"รอยอิน" ให้คำจำกัดความว่า
ไพที น. ที่รอง, แท่น, ขอบชายคา คือ ที่สุดชายคาชั้นบนต่อกับชายคา ชั้นล่าง; ฐานบัวควํ่าบัวหงายที่พระเจดีย์. (ป., ส. เวที).
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
Bana
|
ความคิดเห็นที่ 156 เมื่อ 19 ก.พ. 08, 00:02
|
|
แล้วเป็นคำเดียวกับคำว่า "ไพรที" ด้วยหรือเปล่าครับท่านอาจารย์ ผู้อาวุโสท่านหนึ่งท่านเรียกแท่นบูชาว่า ไพรที น่ะครับ เป็นแท่นที่เราเห็นกันบริเวณตอนใต้ของลาวซึ่งเชื่อว่าเป็นของศาสนาฮินดูครับ.... 
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
Oam
แขกเรือน
ชมพูพาน
  
ตอบ: 168
|
ความคิดเห็นที่ 157 เมื่อ 19 ก.พ. 08, 10:58
|
|
มองอย่างคุณพิพัฒน์แล้วคล้ายๆ การปูอิฐปูกระเบื้อง อยู่ที่ว่าจะเลือกจำนวนอย่างไร
ไปเห็นหนังสือเรื่องซุ้มประตู หน้าต่าง เล่มละหลายร้อย ไม่มีตังค์ซื้อ เลยแวะมาแปะไว้ก่อนว่า ถ้าจบเรื่องเวที-ฐานแล้ว อย่าลืมหาโอกาสคุยกันเรื่องซุ้มบ้างนะครับ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
Kurukula
|
ความคิดเห็นที่ 158 เมื่อ 19 ก.พ. 08, 21:18
|
|
เวทิกาคือรั้วล้อมสถูปครับ เป็นรั้วหินที่เลียนแบบมาจากรั้วไม้ คือเสาตั้งและมีคานนอน สลักเป็นทวารบาลหรือพุทธประวัติก็แล้วแต่
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
pakun2k1d
|
ความคิดเห็นที่ 159 เมื่อ 19 ก.พ. 08, 21:42
|
|
พบคำอธิบายเรื่องปรางค์ จากที่นี้ค่ะ http://www.media.academic.chula.ac.th/arted/PROJECT/ARTICLE/History/his14_2.html ความสั้น ๆ ว่า ปรางค์ หมายถึงเจดีย์ที่มีลักษณะคล้ายดอกข้าวโพด ประกอบด้วยส่วนฐานรองรับส่วนกลางที่เรียกว่าเรือนธาตุ และส่วนยอดเป็นชั้นซ้อนลดหลั่นกันไป ลักษณะดังกล่าวนี้คลี่คลายมาจากรูปแบบของปราสาทขอม แต่เจดีย์ทรงปรางค์โปร่งเพรียวกว่าปราสาทแบบขอม รายละเอียดพัฒนาการของปรางค์เป็นมาอย่างไรลองตามไปอ่านดูนะคะ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
pipat
|
ความคิดเห็นที่ 160 เมื่อ 19 ก.พ. 08, 22:19
|
|
เห็นสาระแล้ว รู้ตัวว่าชาตินี้คงเรียนปริญญาไม่สำเร็จ เพราะมีความเข้าใจผิดไปจากเอกสารนี้ แทบจะทุกบันทัดเลย
ขอยกตัวอย่างเรื่องเล็กๆ แค่นี้พอครับ "21 เจดีย์ยอดบนหลังคาตรีมุข แสดงถึงการเกี่ยวข้องกับแหล่งบันดาลใจที่มีต้นฉบับสำคัญในศิลปะพุกาม" ท่านคงอ่านรูปแบบสถาปัตยกรรมผิดจากที่ผมรู้จัก
ตามรูปนั้น จุดที่เจดีย์ตั้งอยู่ครงศรชี้ ผมเรียกว่าจตุรมุข เพราะแยกหลังคาออกเป็นสี่ทิศ จริงอยู่ มุขที่เห็น อาจจะหลงนับเป็นสามได้ แต่นักศึกษา(หรือครูที่ตรวจงาน) ต้องรู้ว่ามุขที่ 4 นั้น เชื่อมกับองค์ปรางค์ กลายเป็นมุขฉนวน ซึ่งมีชื่อเรียก แต่ผมลืมไปแล้วว่าเรียกอะไร
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
Kurukula
|
ความคิดเห็นที่ 161 เมื่อ 19 ก.พ. 08, 22:33
|
|
ฉนวนนั้นเรียกว่าอันตระครับ แปลว่าระหว่าง เหมือนพระเวสันดรที่เกิดกลางตลาด
อันตระคงคล้ายๆมุขกระสันที่เชื่อมต่อตัวครรภคฤหะกับมณฑปครับ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
pakun2k1d
|
ความคิดเห็นที่ 162 เมื่อ 19 ก.พ. 08, 22:48
|
|
จากที่เดียวกันค่ะ แต่ดิฉันยกมาจากส่วนที่เป็นเชิงอรรถ นำมาฝาก ผิดพลาดอย่างไรก็เชิญทุกท่านมาแลกเปลี่ยนนะคะ รู้น้อยอย่างดิฉันจะได้รู้รอบ และรู้เพิ่มค่ะ
เจดีย์ มาจากคำว่าไจติยะหรือเจติยะ หมายถึงสิ่งของหรือสถานที่ที่สร้างขึ้นเพื่อเป็นที่เคารพบูชาระลึกถึง ดูที่ ณัฏฐภัทร จันทวิช, “ประวัติพุทธสถานในประเทศไทย” ใน วิวัฒนาการพุทธสถานไทย (กรุงเทพฯ : อมรินทร์พริ้นติ้งกรุ๊ฟ, 2533) , หน้า 25.
ปรางค์ เป็นปูชนียสถานทางศาสนาพราหมณ์ ใช้เรียกสถาปัตยกรรมขอมที่มีทรงสูงรูปคล้ายฝัก ข้าวโพดตั้ง ดูที่ โชติ กัลยาณมิตร, พจนานุกรมสถาปัตยกรรมและศิลปที่เกี่ยวเนื่อง (กรุงเทพฯ : ศิริมิตรการพิมพ์,2518) , หน้า 472.
ปราสาท หมายถึงรูปแบบของเรือนที่มีหลายชั้นซ้อนกัน หรือที่มีหลังคาลาดหลายชั้นซ้อนลดหลั่นกัน สำหรับเจดีย์ทรงปราสาทในประเทศไทยมีแบบที่แตกต่างกัน มีทั้งลักษณะเป็นชั้นซ้อน หรือหลังคาซ้อน ดูที่ สันติ เล็กสุขุม, เจดีย์ ความเป็นมาและคำศัพท์เรียกองค์ประกอบเจดีย์ในประเทศไทย (กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์มติชน, 2538) , หน้า 14-15.
ส่วนดิฉันขอเวลาไปย่อยหน่อยค่ะ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
pipat
|
ความคิดเห็นที่ 163 เมื่อ 19 ก.พ. 08, 23:34
|
|
เคยถูกสอนมาให้เรียก อันตราล ---------------- ร่วมสนุกกับป้ากุน ครับ เจดีย์ มาจากคำว่าไจติยะหรือเจติยะ หมายถึงสิ่งของหรือสถานที่ที่สร้างขึ้นเพื่อเป็นที่เคารพบูชาระลึกถึง ไจตะ ที่ผมรู้มา เก่าสุด หมายถึงสถานพลีกรรมนอกหมู่บ้าน เป็นที่ศักดิสิทธิ์และเป็นของกลาง มักจะมีเสา "ยูปะ" ปักกลางลาน
ปรางค์ เป็นปูชนียสถานทางศาสนาพราหมณ์ ใช้เรียกสถาปัตยกรรมขอมที่มีทรงสูงรูปคล้ายฝักข้าวโพดตั้ง ปรางค์เป็นคำไทย ไม่มีในตำรานอกประเทศ และไม่แน่ใจว่าจะเป็นของศาสนาอื่นนอกจากเถรวาทแบบอยุธยา
ปราสาท หมายถึงรูปแบบของเรือนที่มีหลายชั้นซ้อนกัน หรือที่มีหลังคาลาดหลายชั้นซ้อนลดหลั่นกัน สำหรับเจดีย์ทรงปราสาทในประเทศไทยมีแบบที่แตกต่างกัน มีทั้งลักษณะเป็นชั้นซ้อน หรือหลังคาซ้อน ปราสาท ในความหมายหนึ่งเป็นศัพท์เรียกสถาปัตยกรรมหลวง เป็นที่ตั้งแห่งพระที่นั่ง เรียกเต็มๆ ว่าพระมหาปราสาท ถ้าใช้เรียกแบบแผนทางสถาปัตยกรรม ปราสาทหมายถึงอาคารชั้นซ้อน ชั้นบนเลียนแบบชั้นล่าง แต่ย่อส่วนต่อๆ กันขึ้นไป หมายเอาปราสาทหินเขมรเป็นต้นแบบ ซึ่งมักจะซ้อน 4 หรือ 5 ชั้น เป็นมาตรฐาน ชั้นที่ซ้อนจะตั้งบนชั้นล่างเรียกว่าภูมิ บ่งชี้โดยกลีบขนุน ถ้าเป็นปราสาทไม้ แบบภาคเหนือ หรือพม่า จะมีระเบียบที่ต่างออกไป ไม่ขอสนใจเพราะไม่ได้สร้างวิวัฒนาการอันใดให้ศิลปะไทย ยกเว้นในจิตรกรรมฝาผนัง ซึ่งเป็นการจำลองรูปออกมาอย่างไม่เคร่งครัดต่อความเป็นจริง
เจดีย์ทรงปราสาท อันที่จริงมีไม่กี่องค์ เรียกกันในสมัยหลังด้วย รู้ไปก็งงเปล่าๆ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
pipat
|
ความคิดเห็นที่ 164 เมื่อ 20 ก.พ. 08, 00:04
|
|
ปล้องไฉน เรื่องนี้ยุ่งขิง แต่ก็อร่อยเหมือนน้ำขิง ถ้ารู้เรื่องนะครับ
ก่อนอื่นต้องเข้าใจก่อนว่า สถูปนั้น อาจมาจากหลายคติ ไม่จำเป็นต้องมาจากพูนดินที่ฝังศพ แต่สถูปรูปพูนดินนี้ จะกลายเป็นหลักใหญ่ที่ทางพุทธศาสนาพัฒนาต่อออกไป และมามีจุดหักเหถึงรูปแบบในประเทศไทยเมื่อลัทธิลังกาวงศ์ แพร่เข้ามา
ถ้านับจากการเข้ามาของลัทธิลังกาวงศ์แล้วละก้อ มีผลทำให้สถูปรูปโอคว่ำ กลายเป็นของยอดนิยม ตัวอย่างเช่นที่พระบรมธาตุ นครศรีธรรมราช ซึ่งเราถือว่าเป็นต้นแบบแห่งหนึ่ง ....เรื่อยมาถึงพระปฐมเจดีย์ ในสมัยรัชกาลที่ 4 ถือว่าเป็นสายวิวัฒนาการอันยาวนาน ร่วมๆ 6-700 ปีทีเดียว ทำเอาสถูปแบบที่เก่ากว่า ตกกระป๋อง บ่มีคนนิยม....ฮือๆๆๆๆ
สูปโอคว่ำแบบลังกาวงศ์นี้แหละ ที่ทำให้ปล้องไฉนยุ่งขิง เพราะมันมิได้มีหน้าตาเป็นฉัตรอีกแล้ว เป็นกรวยเหมือนไอติมโคนคว่ำลง แปลว่า สถูปแบบนี้ ลอกแบบของเก่ากว่า แต่ไม่เข้าใจนัยยะของสิ่งที่ซ่อนไว้แต่เดิมอะดิ แปลอีกทีว่า วันที่พระเจ้าปรักกรมพาหุ สนับสนุนพระศาสนาที่เกาะลังกานั้น ช่างของพระองค์ก็ไม่รู้แล้วแหละ ว่ากรวยกลมๆนี่ คืออะไร
ตำราฉัตราวลีที่คุณกุรุกุลายกมา จึงเป็นจริงแต่ในทางอักษรศาสตร์ ก่อสร้างศาสตร์ไม่รู้เลี้ยว....ว่างั้น
แต่เรายังพบตัวอย่างสถูปแบบมีฉัตราวลีครบถ้วน อยู่ในรูปจำหลัก และของเป็นๆ หักพังเป็นท่อนๆ ก็หาดูได้ไม่ยาก ที่เมืองไทยก็มากมาย ผมยังเคยจับมาซ้อนเล่น ที่บ้านคุณอนันต์ วัฒนานิกรที่เคารพ เมื่อนานมาแล้ว
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
|