เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 [2] 3 4 ... 20
  พิมพ์  
อ่าน: 64698 ศัพทาภิธานศิลปะ
pipat
แขกเรือน
นิลพัท
*******
ตอบ: 1802


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 15  เมื่อ 03 ก.พ. 08, 13:23

สรุปแบบอินสะแต้นท์นะครับ
ฐานบัทม์ มีโครงสร้างคือ
มีเขียง มีบัว มีท้องไม้

เขียงมีสองคือบนและล่าง
บัวมีสอง คือบัวคว่ำ และบัวหงาย

ตรงกลางของเขียงและบัว เรียกท้องไม้ ยืดหดขนาดได้
ยืดมากก็ต้องหาอะไรมาคั่น เรียกว่าลูกแก้วครับ
บันทึกการเข้า
ติบอ
นิลพัท
*******
ตอบ: 1906


Smile though your heart is aching.


ความคิดเห็นที่ 16  เมื่อ 03 ก.พ. 08, 17:10

ตายล่ะ ข้าน้อยสมควรตาย
ข้าน้อยทำผิดใหญ่หลวงนัก
ที่ลากกระทู้เข้ารกเข้าพง และทำให้พี่กุ้งฯงงเป็นไก่ตาระเบิด



ในฐานะคนที่รบกวนคุณพิพัฒน์ให้เปิดกระทู้
ข้าน้อยขออนุญาตทำการเล่าแจ้งแถลงไขไถ่โทษเสียก่อน
เพื่อท่านผู้อ่านกระทู้นี้....



ท่านอ่านกระทู้นี้กันมา อยากถามนายติบอว่า
"ทำไมต้องมาชวนคุยเรื่องลวดบัววิทยา ?" มั้ยครับ


อย่างที่คุณ pipat เล่าไปแล้วครับ
ว่าลวดบัวคือส่วนประกอบเล็กๆที่คั่นอยู่ในบัวคว่ำ และบัวหงาย
เป็นส่วนประกอบชิ้นหนึ่งของฐานสถาปัตยกรรมต่างๆ
ซึ่งฐานนี่แหละครับ ที่จะ "เหลือ" มาถึงคนในยุคเรามากที่สุด


ลวดบัววิทยา ก็เลยเป็นวิชาว่าด้วยการศึกษาสถาปัตยกรรมแขนงหนึ่ง
ที่ศึกษาฐานรูปแบบต่างๆที่แปรเปลี่ยนไปตามแต่ละสมัย
คอยดูวิวัฒนาการที่เกิดขึ้นกับชุดฐานง่ายๆ ที่ค่อยๆซับซ้อนขึ้นทีละเล็กทีละน้อย
ซึ่งชุดฐานเหล่านี้จะบอกเราได้ถึงที่มาและที่ไปของฐานที่ว่า

เช่น ถ้าวิธีการเอาลวดบัวมาผูกขึ้นเป็นรูปแบบใหม่รูปแบบหนึ่งเกิดขึ้นในประเทศ ก.
และมีคนมาอ้างกับเราว่าประเทศ ข. รับรูปแบบอารยธรรมจากประเทศ ก. เข้ามา
รูปแบบฐานอาคารแบบพิเศษในประเทศ ข. ที่เหมือนกับ ฐานอาคารในประเทศ ก.
ก็จะเป็นหลักฐานชั้นดีที่ยืนยันกับเราได้ว่าการรับอารยธรรมที่ว่านี่เกิดขึ้นจริง
ไม่ใช่แค่การติดต่อค้าขายแลกเปลี่ยนสินค้ากันเฉยๆ

เพราะอย่าลืมว่าบันทึก หรืองานเขียนทุกชนิดในโลก
เป็นวาทกรรมอย่างหนึ่ง ซึ่งผู้สร้างอาจจะรู้ หรือ ไม่รู้จริง ก็ได้
หรือแม้กระทั่ง...... เขียนอะไรขึ้นโดยยกเมฆ ก็มี
บางทีเราก็ต้องการหลักฐานที่จับต้องได้อื่นๆมาช่วยยืนยันครับ
บันทึกการเข้า
pakun2k1d
พาลี
****
ตอบ: 285


ความคิดเห็นที่ 17  เมื่อ 03 ก.พ. 08, 21:51

คุณพพ.ตอบได้ตรงใจเลยค่ะ  เพราะกำลังสงสัยอยู่ว่า หนึ่งชั้น หนึ่งชุดนี่จบกันตรงไหน  แต่ขอทวนนะคะว่าดิฉันเข้าใจคำอธิบายของคุณพพ.หรือเปล่า 

ส่วนสีฟ้าที่คุณพพ.ว่าเป็นของใหม่นั่นเรียกว่า ฐานบัวหรือฐานปัทม์ ซึ่งเริ่มมามีในสมัยทวารวดี  รวมถึงการยืดท้องไม้ แล้วเพิ่มลูกแก้ว ก็เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นใหม่ในยุคทวารวดีด้วยใช่ไหมค่ะ
บันทึกการเข้า
ติบอ
นิลพัท
*******
ตอบ: 1906


Smile though your heart is aching.


ความคิดเห็นที่ 18  เมื่อ 04 ก.พ. 08, 00:35

คำถามของคุณป้ากุน ผมรอคุณพิพัฒน์มาตอบดีกว่า
เพราะโดยส่วนตัว ถ้าผมตอบเองกลัวจะไม่สั้นนัก (แหะๆ)



เอาภาพมาฝากคุณพิพัฒน์ครับ
ฐานอาคารของกุบโยกจี
อยู่ที่พุกามครับ ยังรักษารูปแบบของกุมภกลศไว้ทุกประการ
น่าจะพอเข้ากับที่คุณพิพัฒน์เล่าอยู่นะครับ แหะๆ


บันทึกการเข้า
Bana
องคต
*****
ตอบ: 439



ความคิดเห็นที่ 19  เมื่อ 04 ก.พ. 08, 01:02

ขอบพระคุณท่านพิพัฒน์มากครับ  พอดีผมกำลังจะทำธาตุที่บรรจุอัฐิของคุณย่า  ส่วนมากผมจะทำตามรูปหรือตามแบบที่พบเห็น  โดยไม่รู้ว่าเรียกยังไงแต่ก็ก่ออิฐฉาบปูนตัดพิมพ์ขูดบัวบนบัวล่างทำเป็นฐาน  ส่วนตรงที่ท่านเรียกท้องไม้ผมกะจะทำเป็นสันสามเหลี่ยม(ไม่รู้เรียกอกไก่หรือปล่าว)  แถบบ้านผมไม่ค่อยนิยมระฆังคว่ำแต่จะนิยมแบบพระธาตุพนม  ลายก็จะเป็นลายพิมพ์หล่อปูนแล้วนำมาติด  หลังๆมีการใช้เซรามิคหรือแม้แต่เรซิน  เห็นได้ชัดคือเจดีย์มหามงคลที่จังหวัดร้อยเอ็ด  ลายจะใช้หล่อเรซินแล้วทาสีทองทับสวยดีอีกแบบครับ

ลวดบัว  ตามความเข้าใจของผม  หมายถึงลายเส้นใช่ไม๊ครับ  ซึ่งมีประกอบในงานศิลป์ต่างๆ  ........อิอิ  ท่านติบอมาหลายคำเลย  ปล้องไฉน,หยาดน้ำค้าง,ฉัตร,ฉัตรวลี แล้วยังมี กุมภกลด  อีก   อันนี้ข้าน้อยงงครับท่านแต่จะค่อยๆพยายามศึกษาตามประสาคนที่จบด้านเกษตรอย่างผมจะรับได้  ขอบพระคุณล่วงหน้าครับ......... ยิงฟันยิ้ม
บันทึกการเข้า
Oam
แขกเรือน
ชมพูพาน
***
ตอบ: 168



ความคิดเห็นที่ 20  เมื่อ 04 ก.พ. 08, 08:29

งง-งง-งง
โอเช ฐานปัทม์ 1 ชุด มีเขียง บัว ท้อง
แล้วอย่างรูปในความคิดเห็นที่ 11 นี่ ถือว่ามีฐานปัทม์มากกว่า 1 ชุด หรือเปล่าครับ ฮืม หรือนับเฉพาะฐานล่างสุดเป็นฐานปัทม์ ชั้นถัดไปมีชื่อเฉพาะอีก???

เขียงบนกับเขียงล่างต้องมีขนาดเท่ากันใช่ไหมครับ หรือว่าไม่จำเป็น
บันทึกการเข้า
pakun2k1d
พาลี
****
ตอบ: 285


ความคิดเห็นที่ 21  เมื่อ 04 ก.พ. 08, 10:37

อาจารย์พิพัฒน์จะว่าอะไรไหมนี่  ลูกศิษย์คนนี้เจอรูปภาพของอาจารย์ติบอแล้วไม่กล้าตอบซักอย่างว่าตรงไหนชื่ออะไร อย่างนี้ก็สอบตกแน่ ๆ เลย  รบกวนอาจารย์พิพัฒน์เฉลยพร้อมอรรถาธิบายอีกซักรอบเถอะค่ะ
บันทึกการเข้า
Kurukula
สุครีพ
******
ตอบ: 1303



ความคิดเห็นที่ 22  เมื่อ 04 ก.พ. 08, 19:41

อ่านอาจารย์ติบอแล้วงงๆจังเลยอะครับ

ฐานอะไรก็ไม่รู้ ช่างซับซ้อนเกินกำลังปัญญา

พอได้คอนเซปอยู่อย่าง คือคิดว่า ฐานปัทม์ หรือฐานบัวคว่ำบัวหงาย เมื่อก่อนมันต้องเป็นอย่างนี้แน่ๆเลย


บันทึกการเข้า
Kurukula
สุครีพ
******
ตอบ: 1303



ความคิดเห็นที่ 23  เมื่อ 04 ก.พ. 08, 19:43

ดูเป็นบัวคว่ำบัวหงายที่ไม่ต้องใช้จินตนาการ แปลความตรงๆตัวเลย บัวเป็นบัว กลีบเป็นกลีบ

ความเห็นข้างบนนี่เป็นพระอินเดียใต้ครับ สักพักมันจะเป็นอย่างนี้ (พระอู่ทอง) ไม่ได้มีความใกล้ชิดกัน แต่เห็นการเปลี่ยนแปลงของบัวได้ชัดเจน


กลีบบัวหายไปแล้ว แต่เหลือร่องรอยว่าเมื่อก่อนมันเคยเป็นกลีบบัวที่คว่ำ และกลีบบัวที่หงาย

ใช้คอนเซปเดียวกันครับ ไม่ว่าจะเป็นสถาปัตยกรรมหรือประติมากรรม


บันทึกการเข้า
pipat
แขกเรือน
นิลพัท
*******
ตอบ: 1802


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 24  เมื่อ 04 ก.พ. 08, 20:41

เรียกจาน....งอนครับ
ตอบคุณป้ากุนก่อนว่า ลูกแก้วอกไก่ ที่ผมเขียนลายเส้นยึกยือไว้นั้น อยุธยาท่านทำขึ้นครับ
ปรุงจึ้นให้สอดคล้องกับธรรมชาติของไม้ ให้หวานสบัด เพิ่มเสน่ห์ยิ่งขึ้น
ของดั้งเดิมแบบทวารวดีนั้น เป็นลูกแก้วกลม ขนาบด้วยเส้นลวดบนล่างเท่านั้น
เพราะฐานทวารวดีเป็นศิลาแลง ฟันยังไงก็ไม่หวานครับ ออกตุ่ยๆ แบบจืดๆ พอกล้อมแกล้ม

ส่วนรูปที่คุณหลานโอมอ้างถึงนั้น
ผมยังไม่อยากนำเข้าตำราเรียกชื่อ เพราะมีลักษณะกึ๊กกึ๋ยหลายประการ
โดยเฉพาะอย่างยิ่งคือฐานกลม ที่ตั้งอยู่บนกลีบบัว .....อันนี้จัดเป็นของแปลก

ตามปกติแล้ว ฐานหนึ่งชุดขาดองค์ประกอบอย่างหนึ่งอย่างใด หรือเกินขึ้นมา ก็จะถือว่าพิการ
เจดีย์กลมองค์นี้ นับดูแล้ว แบ่งดังนี้ครับ

1 ชั้นกลีบบัว อยู่ติดพื้นทีเดียว เป็นแบบที่แปลกกว่าทางภาคกลาง
เพราะเป็นกลีบบัวสองชั้นแบบเดียวกับที่รองรับองค์พระพุทธรูป
ไม่มีช่องห่างระหว่างกลีบบนและล่าง
2 ฐานเขียงกลม ชั้นที่ 1
3 ฐานเขียงกลมชั้นที่ 2 ลดขนาด แต่รูปทรงเหมือน 2

1 2 และ 3 ถือว่าเป็นชุดฐานหนึ่งสำรับ
ต่อจากนั้น รูปแบบเปลียนไปเป็นกลีบบัวอีกชุดหนึ่งรองรับองค์เจดีย์

สรุปว่า เป็นเจดีย์ยกสูงบนฐานเขียงกลมสองชั้น
การวางจังหวะกลีบบัว ไม่ไคร่สมบูรณ์แบบ คือกลีบใหญ่ และกลีบแซมนั้น
มิได้สลับฟันปลาอย่างได้จังหวะ บอกลายมือว่าเป็นช่างพื้นบ้าน
ที่ทำเลียนแบบสถาปัตยกรรมที่เก่ากว่า และอาจจะเพิ่มเติมความคิดของตัวเองเข้าไป
ยิ่งไปพิจารณารูปทรงที่อยู่เหนือขึ้นไป จะยิ่งพบพิรุธยิ่งขึ้น

ตัวแบบสำหรับเจดีย์ภาคเหนือนั้น ควรใช้วัดเจดีย์เจ็ดยอด หรือเจดีย์เชียงยืน เชียงแสน
จึงจะมีหลักฐานควรแกการยกเป็นครูครับ

ศัพท์อื่นๆ นั้น จะว่าไปตามรูปที่มีนะครับ เดี๋ยวผู้มีพระคุณงงงงงง....จะเสียแฟนขลับโดยใช่เหตุ
จริงมะน้อง....

อ้อ ตัวอย่างของคุณกุรุกุลานั่น ยังไม่อนุโลมเป็นฐานบัวครับ
อันที่จริงเป็นความละเอียดของช่าง ที่จะสร้างฐานรองรับพระพุทธรูป
ให้ตรงกับคำว่า "ภูมิ" ที่แปลว่าแผ่นดิน
คงนึกออกว่า ปางที่ทรงชี้นิ้วแตะแผ่นดิน เรียกว่าอะไร
บันทึกการเข้า
Kurukula
สุครีพ
******
ตอบ: 1303



ความคิดเห็นที่ 25  เมื่อ 05 ก.พ. 08, 10:54

ก็ยังสงสัยเกี่ยวกับฐานพระพุทธรูปที่คุณ Pipat บอกว่ามิได้เป็นฐานบัวครับ


เนื่องจากพระพุทธรูปที่ประทับบนฐานบัวก็ไม่จำเป็นจะต้องกระทำ "ภูมิศปรมุทรา" หรือ พระหัตถ์แตะแผ่นดิน ทุกพระองค์


ดังตัวอย่างที่ยกมาก็เป็นปางสมาธิธรรมดา มิได้เป็น ปางมารวิชัย หรือ "ภูมิศปร" และเทพเจ้าอื่นๆแม้แต่เทพชั้นรอง ก็สามารถประทับบนฐานบัวนี้ได้เช่นกัน


เคยได้ยินนักมานุษยวิทยา ที่ทำวิจัยเรื่องลวดลายผ้า ท่านเรียก ลายรูปกากบาท ว่า "โบกคว่ำโบกหงาย"

แต่ไม่รู้ที่มาว่าคือลายอะไร

ไปถามคุณยาย คุณยายก็บอกว่า โบกคว่ำโบกหงาย คือ ชุดมงคลที่รองรับสิ่งศักดิ์สิทธิ์ แล้วคุณยายก็พาไปชี้ที่ฐานสิม (โบสถ์ในอีสาน)


คุณนักมานุษยวิทยาคนนั้นก็เลยเข้าใจว่า โบกคว่ำโบกหงาย เป็นชื่อเรียกเฉพาะ หมายถึง เครื่องมงคลที่รองรับสิ่งศักดิ์สิทธิ์นั้นเอง
บันทึกการเข้า
pipat
แขกเรือน
นิลพัท
*******
ตอบ: 1802


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 26  เมื่อ 05 ก.พ. 08, 12:33

พระพุทธรูป ไม่จำเป็นต้องประทับนั่งบนดอกบัว ข้อนี้เราเห็นมาแต่ศิลปะคุปตะแล้ว
พระเจ้าห้อยพระบาทหลายองค์ ก็ไม่มีบัวรองรับ
(ยกเว้นที่พระบาท)

อันที่จริง ถ้าถือว่า พุทธประติมาทุกองค์ แทนพุทธประวัติ
(ซึ่งควรจะเป็นเช่นนั้น)
การชี้แผ่นดินเป็นพยาน ก็เป็นจุดเปลี่ยนครั้งสำคัญในการเป็นพุทธะ
เพราะหากทรงถูกพิชิตด้วยมาร ฉไนเราจักมีพุทธศาสนาเล่า

แต่คนรุ่นพันปีลงมา เริ่มไม่มองพระปฏิมาเป็นพุทธประวัติ มองเหมือนเป็นตรายาง
เช่นพระยืนแทนความมั่นคง พระนอนแทนความสงบ....ฯลฯ
แทนที่จะมองว่าพระยืนคือการเสด็จลงจากโปรดพุทธมารดา
และจะต้องประทับยืน ณโลกตำแหน่งเดียวกัน ในทุกพระองค์ที่ทรงตรัสรู้
พระนอนคือการเข้าสู่มหาปรินิพานอันเป็นสิ้นสุดของการเวียนว่ายตายเกิด

และพระปางสมาธิ ไม่มีในพุทธประวัติ เว้นแต่จะอ้างยมกปาฏิหารย์
เป็นหนึ่งในการปรากฏพระองค์ด้วยปาฏิหารย์ เพื่อทรมานพวกถือผิด
บันทึกการเข้า
pakun2k1d
พาลี
****
ตอบ: 285


ความคิดเห็นที่ 27  เมื่อ 05 ก.พ. 08, 12:51

พยายามทำความเข้าใจอีกที  ตามทฤษฎีเบื้องต้น ฐานปัทม์ 1 ชุดประกอบด้วย เขียง บัว ท้องไม้  ลูกแก้วเป็นส่วนตกแต่งเพิ่มเติมของท้องไม้ที่กว้างขี้น  ตรงนี้ดิฉันคงเข้าใจไม่ผิด  แต่ขอถามรายละเอียดเพื่อความแตกฉานของทฤษฎีอีกครั้งนะคะ การเรียงลำดับของฐานปัทม์ อาจไม่เป็นไปตามภาพลายเส้น คห.13 ของอาจารย์พพ. ก็ได้ใช่ไหมค่ะ  และเขียงบนกับเขียงล่างก็ไม่จำเป็นต้องเท่ากัน  แล้วที่อาจารย์พพ.บอกว่า เจดีย์วัดอุโมงค์ตั้งอยู่บนเขียงกลม 2 ชั้น  แล้วฐานชุดนี้เรียกว่าฐานปัทม์ได้ไหมค่ะ  แล้วแจ้าเขียงกลมตามรูปนี้ชั้นที่ 1 ชั้นที่ 2 เริ่มจากตรงไหนจบตรงไหนค่ะ  ลายเส้นยึกยือของอาจารย์ก็สื่อความเข้าใจได้ดีนะคะ  ถ้าจะกรุณาเพิ่มเติม

ยังมีความไม่เข้าใจอีกเยอะเลยค่ะ  สารพัดศัพท์ที่ยิ่งอธิบายยิ่งงอก  แต่จะเพียรศึกษาติดตามค่ะ  อาจารย์ติบอก็ช่างส่งบททดสอบยาก ๆ เสียด้วยซิ
บันทึกการเข้า
pipat
แขกเรือน
นิลพัท
*******
ตอบ: 1802


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 28  เมื่อ 05 ก.พ. 08, 22:38

น้องติบอนี่ ป่วนโหด
ของเก่ายังไม่รู้เรื่อง พี่แกเล่นส่งกับระเบิดมาดักหน้าอีกแระ

เจดีย์วัดอุโมงค์ตั้งอยู่บนเขียงกลม 2 ชั้น  แล้วฐานชุดนี้เรียกว่าฐานปัทม์ได้ไหมค่ะ 
ตามตำรา เราเรียกฐานปัทม์กับฐานสี่เหลี่ยมเท่านั้น
ถ้าอนุโลมเรียกฐานชุดนี้ว่าฐานบัวก็อาจจะช่วยแยกแยะละเอียดขึ้น
ระเบียบของฐานชุดนี้ ผมถอดออกมาได้ 6 ส่วนครับ นับจากล่างขึ้นมานะครับ
6 เขียงล่าง แทนที่จะเป็นแท่นเกลี้ยง ท่านทำเป็นหน้ากระดานกลีบบัวสองชั้น เป็นบัวคว่ำบัวหงาย   
5 บัวคว่ำ ลาดเทมาก เราเรียกบัวที่ลาดขนาดนี้ว่า "บัวถลา"
ทางเหนือนิยมมาก เพื่อแยกหน้าตาออกจากบัวหงาย
4 ท้องไม้ มีลูกแก้วสองเส้น แต่ไม่เหมือนกัน ผมแยกรูปร่างไม่ออก เพราะมีผ้าคลุม
แต่เป็นวิธีเน้นท้องไม้ ที่ต่างจากภาคกลาง เป็นวิธีของทางเหนือเช่นกัน
3 บัวหงาย ก็ยังทำเส้นชันมาก เป็นคตินิยมของภาคนี้เหมือนกัน
2 เขียงบน ตำราภาคกลางเรียกหน้ากระดานฐานเขียง
1 บัวปากฐาน ตรงนี้เป็นลูกเล่นเฉพาะถิ่น เป็นลายกลีบบัวเพิ่มขึ้นมา เพื่อจะเน้นว่าสิ่งที่ตนเองรองรับนั้น สูงศักดิ์

เรื่องศัพท์ช่างนั้น อย่าเข้มงวดจนเกินไปนะครับ หลักก็คือหาคำเรียกให้เข้าใจได้ร่วมกัน
ผมเรียนมาจากครูหนึ่ง อาจจะต่างจากครูอื่น
ไม่มีใครผิดใครถูก เว้นแต่จับได้ว่าคิดใหม่ ก็อาจจะงงงงเป็นธรรมดา

ขอให้คิดเสียว่า ศิลปะที่ซับซ้อนละเอียดอ่อน ย่อมต้องมียาขมแฝงอยู่
หลังขม มักจะหวานครับ
------------------------------


บันทึกการเข้า
ติบอ
นิลพัท
*******
ตอบ: 1906


Smile though your heart is aching.


ความคิดเห็นที่ 29  เมื่อ 06 ก.พ. 08, 00:57

มัวแต่ทำงานทั้งงานหลวง งานราษฎร์ และงานบ้าน
จนผมไม่มีเวลาเข้าบอร์ดมาหลายวันเลยครับ แหะๆ

ภาพของกระทู้พม่าผมก็ตัดกองๆไว้
เหลือแต่เรื่องยังไม่ได้เขียน (สองสามวันก่อนก็ลืมเขียนเตรียมไว้)




มาคราวนี้สัญญาว่าจะส่งภาพให้คุณpipat ก่อนเอามาลงกระทู้แล้วครับผม
สัญญาคร๊าบบบ
บันทึกการเข้า
หน้า: 1 [2] 3 4 ... 20
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.049 วินาที กับ 19 คำสั่ง