เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 ... 8 9 [10] 11 12 ... 20
  พิมพ์  
อ่าน: 64944 ศัพทาภิธานศิลปะ
pipat
แขกเรือน
นิลพัท
*******
ตอบ: 1802


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 135  เมื่อ 15 ก.พ. 08, 11:18

ช่วยอธิบายนัยยะทางการเมืองที่ทำให้มีพระปรางค์องค์ใหญ่ อยู่ที่เชลียงด้วย

ผมยกเรื่องกบฏชาวบ้าน เพราะคุณกุรุกุลาอ้างว่า
ผู้ปกครองคนใหม่เป็นคนแปลกหน้าในรัฐที่ตนเองครอง เกรงความกระด้างกระเดื่อง
ผมเข้าใจว่า คำนี้ กินความไปถึงอาณาประชาราษฎ์ด้วย แต่ถ้าไม่กินความกว้างขวางขนาดนั้น
ก็ขอถอนเรื่องอาณาประชาราษฎ์ลุกฮือขับไล่ผู้ปกครองทิ้งไป

แต่ผมก็ยังนึกไม่ออกว่า การสร้างพระศรีรัตนมหาธาตุ เป็นความชอบธรรมตรงใหน
แนวคิดนี้ ออกแนวนิธิ-ศรีศักดิ์ มากไปหน่อย
ทั้งประวัติศาสตร์นั้น เราเจอกรณีขัดแย้งกันระหว่างเจ้านายไม่รู้กี่ครั้ง
นับย้อนขึ้นไปตั้งแต่วังหน้ารัชกาลที่ 1 ไปจนถึงพระราเมศวรต้องยกเมืองให้ขุนหลวงพะงั่ว
ไม่มีครั้งใด ที่มีการสร้างพระปรางค์เพื่อเหตุอะไรแบบที่คุณกุกรุกุลาว่า

หรือว่า พระปรางค์ทุกองค์ที่เห็น เป็นคัทเอ้าท์ทางการเมืองไปซะงั้น
อันนี้เป็นทฤษฎีที่พิลึกอยู่
-------------------
สำเนาของคุณมนัส ความสำคัญอยู่ที่เนื้อหาที่ครบถ้วน
ดูเหมือนที่อาจารย์คงเดชแปล จะไม่ครบ ...แต่ข้อนี้ต้องไปค้นเอกสารใหม่
อ่านไว้นานจนลืมแล้ว....ครับ
บันทึกการเข้า
Kurukula
สุครีพ
******
ตอบ: 1303



ความคิดเห็นที่ 136  เมื่อ 15 ก.พ. 08, 20:05

ผมเองก็ไม่ทราบเรื่องราวของวัดมหาธาตุ เชลียงมากนัก รู้แต่ว่าเป็นปรางค์ที่อยู่เหนือสุดของประเทศ เข้าไปในดินแดนของสุโขทัย ซึ่งข้างในน่าจะสร้างครอบมหาธาตุทรงพุ่มข้าวบิณฑ์แบบสุโขทัย คุณพิพัฒน์ช่วยอธิบายดีกว่าครับ



ผมคิดว่ามันอาจไม่ได้มีหลักฐานบอกตรงๆว่า ปรางค์หรือมหาธาตุรูปแบบต่างๆเป็นคัทเอาท์ทางการเมือง แต่ถ้า...สมมตินะครับ เอาเรื่องใกล้ๆตัวที่เพิ่งพูดกันไป สมมติว่าเราเชื่อว่า ปรางค์วัดมหาธาตุ สุพรรณบุรี สร้างสมัยต้นรัชกาลเจ้าสามพระยา

มันมีเหตุผลอะไรที่จะต้องซ่อมสมัยพระบรมไตรโลกนาถ แล้วเป็นปีแรกๆในรัชกาลสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ (พ.ศ.1991 - 2031) ด้วย มันจะชำรุดอย่างในจารึกว่าจริงหรือ

ของใหญ่ของโตพระมหากษัตริย์สร้าง ไม่น่าชำรุดทรุดโทรมลงในเวลาแค่ 16 ปี (เจ้าสามพระยาครองราชย์ 16 ปี พ.ศ.1967 - 1991 ) 


ตีให้อย่างมากก็ 20 ปี (ไม่น่าเกินนี้ครับ เพราะลานทองตั้งสมณศักดิ์ทั้ง 2 แผ่น ระบุศักราชท้ายๆรัชกาลเจ้าสามพระยา ถ้าซ่อมกลางรัชกาลหรือปลายรัชกาลพระบรมไตรโลกนาถ หลวงพ่อท่านคงลืม หรือเอาใส่กรอบโชว์ไว้ในกุฏีแล้ว คงไม่เอามาบรรจุใหม่หรอกครับ)

หรือถ้าซ่อมในระยะเวลากลางหรือปลายรัชกาล มันน่าจะมีจารึกลานทองอื่นที่ระบุศักราชภายในช่วงเวลาที่สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถครองราชย์ มิใช่มีเฉพาะช่วงเวลาในรัชกาลเจ้าสามพระยา


จารึกก็บอกอีกด้วยว่าก่อใหม่ให้ใหญ่กว่าเก่า ทำไมต้องทำยังงั้นกับของที่จนทุกวันนี้มันก็ยังไม่พัง

นอกจากสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ ท่านจะต้องการประกาศว่า ท่านเป็นกษัตริย์แห่งอโยธยาแล้วนะ ถึงพระองค์จะมีเชื้อสุโขทัย พระองค์ก็ญาติดีกับพวกสุพรรณนะ ถึงได้มาซ่อมที่นี่

ออกทะเลแล้วครับ.......
บันทึกการเข้า
pipat
แขกเรือน
นิลพัท
*******
ตอบ: 1802


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 137  เมื่อ 15 ก.พ. 08, 22:19

ทะเลลึกเสียด้วยซีน้องเรา
เอาฟะ ลองออกเรือหากุ้งหอยปูปลาสักวัน

ผมจะลองเดาสุ่มแบบนักวิชาการทั้งหลายชอบทำ
จารึกบอกว่า พ่อสร้าง เวลาผ่านไปของก็ผุพัง ลูกจึงมาซ่อม ระบุด้วยว่า พ่อยอด แต่ลูกเยี่ยมกว่า
จับคู่พ่อลูกผู้ครองอยุธยา มีพ่อลูกคู่ใหนที่เข้าเกณฑ์นี้
อู่ทอง-ราเมศวร
ขุนหลวงพะงั่ว-ทองลัน
ราเมศวร-รามราชาธิราช
พระนครินทร์-เจ้าสามพระยา
เจ้าสามพระยา-บรมไตรโลกนาถ

ดูยังไงก็มีแต่คู่ เจ้าสามพระยา-บรมไตรโลกนาถ มีช่วงเวลาครอบคลุมปีที่ปรากฏในลานทอง

แล้วลานทองคืออะไร อาจจะนอกเรื่องศัพท์ศิลปะสักหน่อย คงพอทนนะครับ
ลานทองนั้น สำคัญหนักหนา
ในยุคที่ตัวตนของบุคคล ยังมิยอมให้ก้ำกรายโดยเฉพาะทางด้านจิตวิญญานอย่างเมื่อปี 2000 +/-
ชื่อคน เป็นความลับ วันเดือนปีเกิดเป็นความลับ สัดส่วน น้ำหนัก แม้แต่เศษอวัยวะ ยังต้องปกปักรักษา
คงนึกออกว่า พระเกศาพระเจ้าแผ่นดิน จะไม่มีผู้ใดได้ไปเป็นอันขาด ทั้งหมดอยู่ใต้ความกลัวกฤติยาคม

ลานทอง จึงเป็นตัวตนอย่างหนึ่งของบุคคล ใส่ที่ใด ก็หมายความประมาณว่ายอมมอบกายเป็นพลีกรรม
หาได้ทำขึ้นมาเพื่อแขวนกระติก....เอ้ย แขวนกระติอย่างน้องกุรุแซวดอก
บางทีท่านหรือทายาท อาจจะตั้งใจถวายด้วยความนอบน้อมถึงที่สุด
ท่านน่ะเป็นถึงอาจารย์พระเจ้าแผ่นดิน ผมเชื่อว่า คงเป็นใหญ่ในพิธีสงฆ์เมื่อพระบรมไตรออกบวชด้วยแหละ
(หมายถึงเจ้านิตรยรัตน ที่ได้เลื่อนเป็นเจ้ารัตนโมลีศรีไตรโลกย 1986)
ทั้งหมดที่ว่ามา ยังไม่เห็นเค้าเงื่อนทางการเมืองตรงใหนเลย

เดาล้วนๆ ว่า พ่อคือสามพระยาปีรัชกาล 24 ปี (1967-1991)
ลูกคือบรมไตร อีก 40 รวมกัน 64 ปี นานพอที่อะไรก็พังได้ครับ

ลานทองดังกล่าว ย่อมไม่ใช่ของในปีซ่อม ท่านคงไม่วิ่งเต้นให้ได้เลื่อนสมณศักดิ์ เพื่อจ้างช่างตีแผ่นทอง ทันบันจุกรุกระมัง
บอกอายุ่ได้เพียงว่า พระปรางค์ต้องไม่สร้างก่อนปีในลาน เท่านั้นเอง

ลานทองนี้ ทำแต้มอาจารย์น. ณ ปากน้ำติดลบไปจมเลย
ทฤษฎีก่ออิฐที่ง่อนแง่นของอนุวิทย์ ล้มโครมตามไปด้วย
ใครจะไปกับสองท่านบ้าง....แต่คงไม่มีใครตามทันพี่คงเดชดอก

ท่านบอกว่าพระพุทธยอดฟ้าสร้าง พระพุทธเลิศหล้าซ่อม....เออ พี่เขาแต่งอะไรไว้บ้าง ต้องรีบหามาดูแล่ว
บันทึกการเข้า
Kurukula
สุครีพ
******
ตอบ: 1303



ความคิดเห็นที่ 138  เมื่อ 15 ก.พ. 08, 23:01

อา...ขอโทษครับ ผมผิดเอง เจ้าสามพระยาครองราชย์ 24 ปี ออกทะเลอีกแล้ว

ส่วนตัวคิดว่า อย่างไรสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถก็คงต้อง"ซ่อม" (อันที่จริงน่าจะเรียกว่าสร้างใหม่) ในช่วงต้นรัชกาล

เพราะถ้าเปรียบเทียบลวดลายปูนปั้นแล้ว คล้ายกับวัดจุฬามณีที่พิษณุโลกมาก (วัดจุฬามณีสร้างปีพ.ศ.2007) ดังนั้นวัดมหาธาตุสุพรรณ ควรซ่อมในเวลาใกล้เคียงกัน ถ้าเป็นปลายรัชกาลแล้ว รสนิยมคงแปลกออกไปอีก (เวลาครองราชย์ของพระบรมไตรโลกนาถตั้ง 40 ปี)

ลายที่ว่าคือ ลายหัวหลูอี่ ตามที่รศ.ดร.สันติว่าไว้ ก็คือลายบัวคอเสื้อแบบจีนนั่นเอง

ปีที่ระบุในลานทองไม่น่าใช่ปีที่ซ่อม และปี 1990 ก็เป็นปีสุดท้ายในรัชกาลเจ้าสามพระยา ดังนั้น ถ้าจะเอาใส่ลงไปในกรุ เวลาควรจะล่วงเลยไปสักหน่อย เป็นตอนซ่อมในรัชกาลถัดมาคือพระบรมไตรโลกนาถมากกว่า


บันทึกการเข้า
Kurukula
สุครีพ
******
ตอบ: 1303



ความคิดเห็นที่ 139  เมื่อ 15 ก.พ. 08, 23:17

อ.คงเดช ประพัฒน์ทอง ท่านก็อาศัยรูปอักษรกำหนดอายุครับ

ท่านเห็นว่ามันคล้ายกับอักษรขอมรัตนโกสินทร์ พุทธศตวรรษที่ 24 เท่านั้นเอง ถึงได้กำหนดว่าร.1 สร้าง และร.2 ทรงซ่อม

ซึ่งผมว่าแค่เวลา 10 ปี สร้างแล้วปรางค์ยังไม่ทันพังเลย จะซ่อมทำไม แล้วขนาดสุนทรภู่แต่งนิราศสุพรรณ ตอนนั้นสุพรรณยังเป็นป่าอยู่เลย ท่านจะไปสร้างปรางค์ใหญ่โตไว้ทำไมกลางเมืองที่พม่าเพิ่งเผา

ส่วนทฤษฎีของ อาจารย์ น.ณ ปากน้ำ ท่านว่าไว้ว่า เดิมเคยเชื่อว่าสร้างสมัยอยุธยา ไปๆมาๆท่านก็เบนเข้าหาอโยธยาอีก  ท่านว่าปรางค์ที่นี่คล้ายฝักข้าวโพด ปลายแหลม โคนใหญ่ ส่วนยอดคล้ายถอดแบบมาจากปรางค์กู่ของขอม และว่าการก่ออิฐที่นี่สืบทอดมาจากทวาราวดี คือไม่สอปูน แต่สอด้วยมโนศิลา (รอคุณพิพัฒน์ชี้แจงครับ อะไรคือมโนศิลา อาจารย์น. แกว่าคือหินอ่อนบดผสมยางไม้)


ส่วนอาจารย์อนุวิทย์ ก็ว่ามันไม่ใช่ก่ออิฐแบบทวาราวดี แต่เป็นแบบอิงลิชบอนด์  (ศัพท์เทคนิคชวนปวดหัวอีกแล้วครับ) ส่วนการเรียงอิฐของทวาราวดีเป็นแบบเฟลมมิช (อย่าเพิ่งงงครับ ผมก็อ้างท่านมาเหมือนกัน)

ท่านว่าชั้นในสุดของปรางค์ก่ออิฐแบบนี้ ซึ่งเชื่อว่าเป็นแบบอโยธยา-สุพรรณภูมิ  แต่ส่วนนอกก่อปูนซึ่งเป็นงานซ่อมสมัยอยุธยา


แล้วแต่ว่าจะเลือกเชื่อท่านใดครับ ยังมีอีกหลายทฤษฎีเลยที่ยังไม่ได้กล่าวโดยละเอียด แต่ผมว่าแค่นี้ก็งงแทบตายแล้วกับปรางค์องค์เดียว
บันทึกการเข้า
Bana
องคต
*****
ตอบ: 439



ความคิดเห็นที่ 140  เมื่อ 16 ก.พ. 08, 00:41

.อิอิ  งงด้วย  ว่าต่อเลยครับ ท่านกูรู กับ ท่านพิพัฒน์  ประเทืองปัญญาผมดีแท้.....รออ่านต่อครับ ยิ้ม
บันทึกการเข้า
pipat
แขกเรือน
นิลพัท
*******
ตอบ: 1802


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 141  เมื่อ 16 ก.พ. 08, 01:11

ทฤษฎีก่ออิฐนั้น อย่าไปสนใจเลยครับ ขนาดอิฐ และเนื้ออิฐ อาจจะบอกอะไรได้บ้าง
ส่วนระเบียบการก่ออิฐ แม้แต่เจ้าตัวก็เลิกใช้ไปแล้ว(....กระมัง)

ให้ดู 3 แบบก่อน มีวิธีก่อเป็นสิบๆ แบบครับ ง่ายๆ ก็คืออิฐมีด้านหัว กับด้านข้าง
ถ้าก่อแบบมักง่าย ก็เอาด้านข้างเรียงกันไป กำแพงจะหนาเท่าหัวอิฐหนึ่งแผ่น

ถ้าก่อแบบพิถีพิถันหน่อย ก็ก่อแถวแรกหันข้างทั้งหมด
ก่อแถวที่สองหันหัวอิฐออกหมด
กำแพงจะหนาเท่ากับด้านข้างของอิฐ

อีกแบบนี่คิดมากขึ้น แผ่นที่ 1 หันหัวออก แผ่นต่อมาหันข้าง ทำสลับกัน
พอก่อแถวที่สองก็เรียงให้เหลื่อมกัน คือแผ่นที่ 1 หันข้างออก แผ่นที่ 2 หันหัวออก สลับกัน
สรุปว่า ถ้างานที่มีการคำนวณอย่างเข้มงวด ระบบก่ออิฐมีความจำเป็นมาก
อาคารที่ว่าคือพวกที่ต้องสร้างกลวง และสูง มีช่องเจาะมากมาย เช่นโบสถ์โกธิคของยุโรป

ในประเทศไทย ไม่มีระเบียบตายตัวอย่างนั้น ในอาคารหนึ่งหลัง ก่อหลายระบบก็มี
แต่ส่วนมากจะเป็นแบบแรกครับ
จะเรียกบอนด์อะไรก็อย่าไปจำเลยครับ ผมเคยบ้าตามข้อมูลอยู่พักหนึ่ง
ไปเจอวัดพระศรีรัตนมหาธาตุ ลพบุรีวัดเดียว เกือบจะมีครบทุกแบบ....หึหึ

สำหรับใบสอ ยิ่งเลื่อนลอยเข้าไปอีก
ทางฝรั่งเศษ เคยส่งตรวจ ปรากฏว่าเก่าเกินไป ส่วนผสมสลายตัวหมด
อาจารย์มานิตก็เคยจดไว้ ส่วนอาจารย์ยูรนั้น ท่านไม่ยอมบอกที่มา เราก็ได้แต่เสียดาย
ใช้ประโยชน์อะไรไม่ได้

ท่านจะคิดเองหรือเปล่า มีใครกล้ายืนยัน


บันทึกการเข้า
Oam
แขกเรือน
ชมพูพาน
***
ตอบ: 168



ความคิดเห็นที่ 142  เมื่อ 16 ก.พ. 08, 14:07

พอดีไปเจอบทความนี้ ยังไม่ได้อ่าน ใครสนใจเชิญตามไปดูครับ

http://www.royin.go.th/upload/336/FileUpload/1332_9487.pdf
บันทึกการเข้า
pakun2k1d
พาลี
****
ตอบ: 285


ความคิดเห็นที่ 143  เมื่อ 16 ก.พ. 08, 14:21

ระหว่างที่สมาชิกหลายท่านไปติดอยู่ที่พระปรางค์  ดิฉันก็ตามไปด้วยแหละค่ะ  ความที่รู้บ้างไม่รู้บ้าง  ได้แต่รับอย่างเดียวเลยมีเวลากลับมาเก็บรายละเอียดเรื่องเก่าอีก  ตามไปอ่านเรื่อง ย่อเก็จ-ย่อมุม ของ อาจารย์พิเศษ เจียจันท์พงษ์ ที่คุณพพ.แนะนำ  มีข้อสรุป ข้อสงสัย และข้อคิดเห็นดังนี้ค่ะ

1  อาจารย์พิเศษ ได้อธิบายสรุปง่าย ๆ ว่า ย่อเก็จ เป็นการทำด้านให้เล็กลง  ส่วน ย่อมุมเป็นการกระทำมุมให้เล็กลง  ในแง่ที่เราเป็นผู้ดู และศึกษาเพื่อจำแนกแยกแยะว่าอะไรเป็นอะไร  คำอธิบายอย่างนี้ก็ช่วยให้จำ และเข้าใจง่ายค่ะ  แต่ไม่รู้นะคะว่าถูกหรือผิด  แล้วก็ไม่รู้ด้วยว่า  คำอธิบายอย่างนี้มีผลให้เกิดความเข้าใจผิดอื่น ๆ ตามมาหรือเปล่า เช่น วิธีการ  วัตถุประสงค์ของการย่อเก็จ ย่อมุม  ซึ่งแม้ว่าอาจารย์พิเศษจะมีอธิบายไว้บ้าง  คำอธิบายเหล่านี้ก็เป็นการคาดคะเนจากหลักฐานที่ปรากฏมากกว่ามีข้อมูลที่ชัดเจน

2  ยุคสมัยของ ย่อเก็จ และย่อมุม  อาจารย์พิเศษบอกว่า  ก่อนหน้านี้มีแนวความคิดว่า ย่อเก็จ มีมาก่อน ย่อมุม  และเหมือนย่อมุมจะพัฒนามาจากการย่อเก็จ  แต่โดยความคิดเห็นของอาจารย์พิเศษ  อาจารย์คิดว่า  ย่อเก็จ และย่อมุม  ต่างคนต่างเกิด  อย่างที่อธิบายไว้ว่า ย่อมุมเป็นการกระทำต่อมุม ย่อเก็จเป็นการกระทำต่อด้าน แล้วมีคนประยุกต์นำมาใช้ร่วมกัน 

สรุปว่านักเรียนอย่างเราก็คงต้องหาความรู้ให้มากกว่านี้  ไม่อย่างนั้นก็ได้แต่มองตาปริบ ๆ จะเถียงก็ไม่กล้า จะเชื่อก็ไม่เชิง
บันทึกการเข้า
pipat
แขกเรือน
นิลพัท
*******
ตอบ: 1802


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 144  เมื่อ 16 ก.พ. 08, 17:00

บทความของอาจารย์สันตินั้น ต้องมีภูมิต้านทานสูงยิ่ง จึงจะเข้าใจ
ผมเป็นคนอ่อนแอ....ม่ายรู้เรื่องฮ่า
---------------------------------------------
จะเว้นพี่พิเศษไว้สักท่านหนึ่ง ก็จะไม่ยุติธรรม
บทความของท่านนั้น อาจจะถูกต้องใช้ได้ดี ถ้าเราไม่สนใจเลยว่าสถาปัตยกรรมไทยนั้น
รากเง่ามาจากใหน

สูตรที่เสนอไว้ อาจจะช่วยให้นักเรียนสถาปัตย์สมัยใหม่
ออกแบบศาลพระภูมิได้ง่ายขึ้น สร้างปีรามิดแบบจตุกรรมรำเทพได้อย่างหยดย้อย
แต่เอาไปใช้เป็นคู่มือศึกษาแผนผังสถาปัตยกรรมโบราณสายฮินดู
ก็จะพาออกมรกตนครของระพินทร์ ไพรวัลย์ไปเสียนั่น ....คือหลงป่าครับ

การวางผังเป็นรูปสี่เหลี่ยม และวงกลมนั้น ไม่ได้มาจากความอยากได้ อยากเขียน
แต่มาจากความจำเป็นทางคติ
รูปทรงง่ายๆ เช่นสี่เหลี่ยมนั้น เป็นการลดทอนรูปทรงมาจากความซับซ้อนในคัมภีร์
ดังนั้น หากว่าต้องการลดความกว้างของแต่ละด้านลงมา
ก็ต้องไปถามคัมภีร์ว่า ทำได้หรือไม่ มีวิธีการอย่างไร

กฏเกณฑ์เหล่านี้ มีในคัมภีร์ย่อยเกี่ยวกับการสร้างรูปเคารพ เรียกง่ายๆ ว่าคัมภีร์ศิลปศาสตร์
ท่านให้หลักเริ่มต้นในการแบ่งรูปจัตุรัส เป็นสามกระบวล คือ
เอกบาท ทวิบาท และตรีบาท

หรือแบ่งแบบที่ผมเคยใช้บอกกับเพื่อนๆ เมื่อนานมาแล้วก็คือ เป็นระบบคู่ หรือระบบคี่


บันทึกการเข้า
pipat
แขกเรือน
นิลพัท
*******
ตอบ: 1802


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 145  เมื่อ 16 ก.พ. 08, 17:08

สมมติว่า จะลดรูปจัตุรัสลง เพื่อมุ่งหมายสะท้อนอะไรบางสิ่ง
ระบบตรีบาท จะให้ทางออกไว้แบบหนึ่ง
ระบบทวิบาทก็ให้ทางออกอีกแบบหนึ่ง
(ที่ทำให้ดูนี่ ไม่มีจริงนะครับ เป็นแค่แบบฝึกหัด)


บันทึกการเข้า
pipat
แขกเรือน
นิลพัท
*******
ตอบ: 1802


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 146  เมื่อ 16 ก.พ. 08, 21:10

เมื่อทราบแล้ว ว่าเราอาจแบ่งรูปจัตุรัสออกเป็นส่วนๆ
เราก็อาจนำจัตุรัสมาพลิกแพลงได้ คังเช่น บวกเข้าไปครึ่งจัตุรัส ได้รูปผืนผ้า
ถ้าซอยช่องให้ละเอียดขึ้น เช่น 9x9 = 81 ช่อง หรือ 81 บาท
เราจะได้การย่อมุมขึ้นมา
(ยังเป็นรูปสมมตินะครับ ทำให้ดูวิธีกำหนดตารางเท่านั้น)

ในตำราก่อสร้าง จำนวนช่อง หรือจำนวนบาท สัมพันธ์กับประธานแห่งสิ่งก่อสร้างนั้น
เทพแต่ละองค์ มีกำลังไม่เท่ากัน ผู้สร้าง และวันเดือนปีที่ทำพิธี ก็มีกำลังวันไม่เท่ากัน
ในงานค้นคว้าของนักวิชาการฝรั่งเศส สามารถพิสูจน์ที่มาของสัดส่วนทั้งหมดของแผนผังปราสาทนครวัด
ว่าเป็นอันหนึ่งอันเดียวกับเส้นทางโคจรของดวงดาว น่ามหัศจรรย์นัก

ผมจึงไม่ใคร่เห็นค่างานค้นคว้าของคุณพิเศษสักเท่าใดนัก

ในงานค้นคว้าส่วนตัวของผม พบว่าแผนผังวัดช้างล้อม ศรีสัชนาลัยนั้น
มาจากการประกอบวงกลมและจัตุรัสเข้าด้วยกัน กลายเป็นแผนผังที่บอกเหตุผลว่า บันใดควรยื่นออกเท่าไร
และวิหารต้องห่างจากซุ้มประตู เท่าใด

เสียดายที่เลิกทำงานแลกคะแนนเสียแล้ว งานจึงค้างอยู่ก้นลิ้นชัก
ฝุ่นจับจนมองไม่ออกแล้วว่าเจออะไรบ้าง


บันทึกการเข้า
Bana
องคต
*****
ตอบ: 439



ความคิดเห็นที่ 147  เมื่อ 17 ก.พ. 08, 00:32

ก่ออิฐแบบที่ 2  ผมเคยก่อผนังโบสถ์ครับความหนาก็ประมาณความยาวของอิฐมอญ  แบบที่หนึ่งก็เคยเห็นครับแต่เค้าจะก่อสองชั้นเว้นช่องไว้ตรงกลาง  แล้วกรอกปูนจืดๆลงไป  อันนี้ผมคิดว่าคงต้องการให้หนากว่าความยาวอิฐ  แต่ถ้าแบบโบราณแม้แต่ฝั่งซ้ายแม่น้ำโขงอิฐมอญ(ดินจี่) จะก้อนใหญ่มาก  เค้าจะก่อเรียงซ้อนเหลื่อมกันขึ้นไปเลย  เป็นคานอิฐที่ไม่มีเหล็กเสริมวัสดุที่ใช้เชื่อมอิฐก็ไม่ใช่ปูนซีเมนต์แบบที่เราใช้ในปัจจุบัน  เป็นยางไม้ผสมแป้งข้าวเหนียวผสมน้ำตาล  อาคารก็ทนทานดีครับน่าอัศจรรย์  แม้แต่พระพุทธรูปก็จะใช้ไม้ไผ่สานกันทำเป็นโครงแข็งๆแล้วใช้ปูนตำพอกด้านนอก  ฐานรากก็ใช้อิฐปูเป็นพื้น  แต่ก็อยู่ได้หลายปี  การแบ่งมุมของท่านพิพัฒน์ดูแล้วทำให้ผมตาสว่างขึ้นเยอะครับ  ตัวเลขและความหมายย่อมมีแน่นอนในคติความเชื่อในการสร้างสิ่งเคารพ  หรือมหาสถาน

ขอถามครับ  การย่อมุมนั้น  ตามประวัติแล้วเริ่มจากงานใดครับ  ศิลา  อิฐ  หรือ ไม้  ในฝั่งของยุโรปมีบ้างไหมครับ........ ฮืม ขอบคุณมากครับ
บันทึกการเข้า
pipat
แขกเรือน
นิลพัท
*******
ตอบ: 1802


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 148  เมื่อ 17 ก.พ. 08, 01:44

เสียใจที่ซู๊ดดด.....
ตอบข้อสงสัยคุณบานามิได้

ผมแทบจะไม่เคยย่างเท้าออกนอกบ้านเลยละครับ
อย่าว่าแต่จะออกนอกประเทศ เป็นกบในกะลาตัวจริง
บันทึกการเข้า
ติบอ
นิลพัท
*******
ตอบ: 1906


Smile though your heart is aching.


ความคิดเห็นที่ 149  เมื่อ 17 ก.พ. 08, 01:47

ความงงจากพระปรางค์ยังอ่านไม่ทันจะจบ...... ความอยากสลบจากเรื่องก่ออิฐก็เข้ามาแทนแล้วหรือนี่
แล้วจะมาตามอ่านกระทู้ครับผม
บันทึกการเข้า
หน้า: 1 ... 8 9 [10] 11 12 ... 20
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.049 วินาที กับ 19 คำสั่ง