ติบอ
|
ความคิดเห็นที่ 105 เมื่อ 13 ก.พ. 08, 10:14
|
|
ใบเสมาจากวัดเดิมครับ ประดับรักและกระจกเกรียบ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
ติบอ
|
ความคิดเห็นที่ 106 เมื่อ 13 ก.พ. 08, 10:16
|
|
ชุดเดียวกันอีกซักใบครับ แต่หน้าตาไม่เหมือนกัน
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
ติบอ
|
ความคิดเห็นที่ 107 เมื่อ 13 ก.พ. 08, 10:20
|
|
จะครบรอบวัดแลวมั้ยเนี่ยะ... เหอ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
ติบอ
|
ความคิดเห็นที่ 108 เมื่อ 13 ก.พ. 08, 10:21
|
|
ใบนี้อยู่ทางผนังด้านสะกัดหลังของพระอุโบสถ เขาคือคราย.... อ่ะงับ คุณpipat
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
ติบอ
|
ความคิดเห็นที่ 109 เมื่อ 13 ก.พ. 08, 10:23
|
|
ของแถมครับ อิอิ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
pipat
|
ความคิดเห็นที่ 110 เมื่อ 13 ก.พ. 08, 11:35
|
|
ได้รูปถูกใจดีแท้ พระอุโบสถวัดสระบัว แห่งเมืองพริบพรีนี้ เป็นแบบแผนที่น่าศึกษาและจดจำครับ เป็นอาคารขนาดเล็ก ขนาด 5 ห้อง (เดี๋ยวต้องมีคนถามเรื่องห้องแน่ๆ ....) คือมีห้าช่วงเสา หรือสร้างด้วยเสา 7 ต้นไงครับ ถือว่าเล็กสุดที่จะสร้างได้ และมีที่พอใช้งาน
จะสร้างเล็กเพียง 4 ห้องก็ไม่ผิดกติกาดอก แต่ในแง่การออกแบบ มีปัญหาแน่ เพราะจะวางหลังคาให้งามได้ยาก ถ้าห้องเป็นเลขคู่
ทำไมอุโบสถต้องเล็ก ต้องไปถามเจ้าอาวาสครับ ถ้าท่านเห็นว่าวัดของท่าน มีภิกษุจำพรรษาเพียงเจ็ดแปดรูป ท่านก็ไม่สร้างใหญ่ดอก ศรัทธาไม่ถึงอ่ะครับ พอเป็นหลังเล็ก ก็เกิดเป็นของน่าสนใจ เพราะเหมาะแก่การประกอบพิธีต่างๆ คือพระพุทธศาสนาเราในครั้งโบราณนั้น ท่านไม่เล่นเรื่องการตลาดหรือประชานิยม ท่านเน้นเรื่องความสมบูรณ์แบบ ทำพิธีในพื้นที่วงเล็ก ก็ย่อมจะทำได้ครบถ้วนตามคติ เกิดความสมบูรณ์เพียบพร้อม
โบสถ์อย่างนี้ จึงกลายเป็นของดี เรียกว่าโบสถ์มหาอุด คือมีทางเข้าทางเดียว หน้าต่างน้อย เชื่อว่าขลังนัก
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
ติบอ
|
ความคิดเห็นที่ 111 เมื่อ 13 ก.พ. 08, 11:51
|
|
คุณ pipat ครับ.... มหาอุด ไม่ใช่ไม่มีหน้าต่างเลยอย่างวัดปราสาท นนทบุรี วัด ใหญ่สุวรรณาราม เพชรบุรี หรือวัดช่องนนทรีย์ กรุงเทพ หรือครับ ?
ภาพประกอบ อุโบสถวัดปราสาท นนทบุรี
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
ติบอ
|
ความคิดเห็นที่ 112 เมื่อ 13 ก.พ. 08, 12:07
|
|
ของแถมครับ
กุฏิจากวัดเดียวกัน
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
|
pipat
|
ความคิดเห็นที่ 114 เมื่อ 13 ก.พ. 08, 15:02
|
|
โบสถ์วัดสระบัว เป็นมหาอุดเหมือนกันครับ ทางวัดยังใช้ทำพิธีทางพุทธไสย์
เรื่องเจดีย์ในน้องวิกิ เป็นเรื่องยาว ผมไม่อยากอวดรู้ไปแก้ของเขา แต่ผมมิได้เข้าใจอย่างที่เขาเล่าไว้ครับ มีผิดเพี้ยนไปบ้าง
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
Oam
แขกเรือน
ชมพูพาน
  
ตอบ: 168
|
ความคิดเห็นที่ 115 เมื่อ 13 ก.พ. 08, 15:29
|
|
อืมมมมมมมมมม ถามจากสิ่งที่เห็น อย่างที่วัดจุฬามณี เขาเอาเสมาเก่าวางไว้รอบอุโบสถเก่า ส่วนอุโบสถใหม่ก็ผูกเสมาใหม่เรียบร้อยแล้ว อย่างนี้จะถือว่ามี ๒ อุโบสถไหมครับ หรือว่าก่อนจะผูกอันใหม่ เขาต้องมีพิธีถอนอันเก่าก่อนหรือเปล่า ??
๕ ห้อง ก็มีเสาด้านละ ๖ ต้น รวมสองด้าน ๑๒ ต้น หรือเปล่าครับคุณพิพัฒน์
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
pakun2k1d
|
ความคิดเห็นที่ 116 เมื่อ 13 ก.พ. 08, 15:36
|
|
พระปรางค์ ตัดทอนมาจากข้อเขียนของ อาจารย์ศรศักร์ วัลลิโภดม ดังนี้ค่ะ พระปรางค์เป็นพระสถูปรูปแบบหนึ่งในทางพุทธเถรวาท ที่เกิดจากการนำเอารูปปรางค์หรือศิขรของปราสาทขอมแต่สมัยลพบุรีอันเป็นศาสนสถานฝ่ายฮินดูและพุทธมหายาน มาสร้างให้เกิดรูปแบบใหม่ขึ้นราวพุทธศตวรรษที่ ๑๘ ลงมา พระปรางค์ต่างจากพระสถูปแบบอื่นโดยเฉพาะสถูปทรงกลมในลักษณะที่ว่า สถูปทรงกลมมีวิวัฒนาการมาจากพูนดินหรือเนินดินที่ฝังศพและอัฐิธาตุ แต่พระปรางค์มาจากศิขรหรือยอดเขาสูงซึ่งเชื่อกันว่าเป็นที่สถิตของเทพเจ้า โดยที่หน้าที่ความสำคัญของปรางค์ก็เช่นเดียวกันกับสถูปทรงกลมนั่นเอง คือเป็นที่บรรจุพระบรมธาตุ ต่างจากปราสาทอันเป็นที่ประดิษฐานรูปเคารพ เช่น ศิวลึงค์ เทวรูป หรือพระพุทธรูป แต่โดยระบบสัญลักษณ์ ทั้งพระสถูปที่บรรจุพระบรมธาตุและปราสาทที่ประดิษฐานรูปเคารพต่างก็เปรียบเสมือนเขาพระสุเมรุมาศ อันเป็นศูนย์กลางจักรวาลของฮินดู - พุทธ เช่นกัน พระปรางค์นับเป็นอัตลักษณ์ทางศิลปสถาปัตยกรรมของกรุงศรีอยุธยาโดยตรง เพราะมีสร้างมากกว่าเมืองอื่นๆ โดยเฉพาะในสมัยอยุธยาตอนต้น ที่เห็นได้จากปรางค์วัดมหาธาตุ วัดพระราม วัดราชบูรณะ มาแผ่วไปบ้างในสมัยอยุธยาตอนกลางที่มีพระสถูปทรงกลมมากกว่า แต่พอถึงสมัยอยุธยาตอนปลาย คือรัชกาลสมเด็จพระเจ้าปราสาททองลงมา ความนิยมในการสร้างพระปรางค์ก็กลับมาอีก แม้ว่าจะมีรูปแบบแตกต่างไปจากสมัยแรกๆ ก็ตาม มักนิยมสร้างคละไปกับบรรดาเจดีย์ทรงกลมที่ย่อไม้สิบสองหรือยี่สิบ มีทั้งสร้างเป็นปรางค์ประธานและปรางค์ราย ที่มาของเรื่อง http://www.dvthai2.com/story05.htmที่มาของรูป http://elearning.su.ac.th/elearning-uploads2/libs/html/16231/c3/c3-28/chapter3-28.htm
|
 คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
Natalee
อสุรผัด

ตอบ: 37
|
ความคิดเห็นที่ 117 เมื่อ 13 ก.พ. 08, 16:03
|
|
นี่จะเรียกว่าสถูปทรงกลมได้ไหมคะ? จับเจดีย์ทรงลังกามาเข้าแถวเปรียบเทียบกัน พบว่ามุมตรงลูกศรชี้ไม่เท่ากัน
ของหมายเลข 1 ที่เก่าแก่สุด แทบจะเป็นมุมฉาก ไม่ทราบว่ามุมพวกนี้สามารถบอกอะไรเราได้บ้าง
หมายเลข 1 ที่นครฯ หมายเลข 2 ที่เชลียง หมายเลข 3 ที่ชากังราว
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
pipat
|
ความคิดเห็นที่ 118 เมื่อ 13 ก.พ. 08, 16:16
|
|
เด็กศิลป์ นับเลขผิด ถูกต้องตามที่คุณโอมทักครับ ขออำไพด้วย --------------- ลองถอดรหัสข้อความของอาจารย์ศรีศักดิ์ พบว่า เป็นของแท้ คือผมอ่านบทความท่านไม่ค่อยรู้เรื่องมาแต่เด็ก ปัจจุบันไกล้เกษียณ ยังไม่รู้เรื่องเหมือนเดิม.....เฮ้อ ไม่ฉลาดเอาเสียเล้ย....เรา
1 พระปรางค์เป็นพระสถูปรูปแบบหนึ่งในทางพุทธเถรวาท (แย้ง 1 พระปรางค์มิใช่สถูป เป็นอาคารเรือนยอดชนิดหนึ่ง มีห้องประกอบพิธีกรรมอยู่ในอาคาร ถ้าเป็นสถูป พิธีกรรมมักจะทำด้านนอก) 2 ที่เกิดจากการนำเอารูปปรางค์หรือศิขรของปราสาทขอมแต่สมัยลพบุรี 3 อันเป็นศาสนสถานฝ่ายฮินดูและพุทธมหายาน (เสริมการแย้ง 1 พระปรางแบบพุทธมหายานก็มีครับ อาจารย์ศรีศักดิ์ก็เพิ่งค้านตัวเองไป อย่างพระปรางค์สามยอดเป็นต้น)
4 มาสร้างให้เกิดรูปแบบใหม่ขึ้นราวพุทธศตวรรษที่ ๑๘ ลงมา (พระปรางค์ที่เกิดขึ้นรุ่นแรกๆ เรานับเอาพระปรางค์วัดพระศรีรัตนมหาธาตุแห่งลพบุรีเป็นเก่าสุด มิได้เกิดเป็นรูปแบบใหม่อันใดเลย แตกรูปร่าง แบบต่อเนื่องเป็นอันหนึ่งอันเดียวกับปรางค์สามยอดที่เก่ากว่าสักชั่วคนเดียวนั่นเอง)
5 พระปรางค์ต่างจากพระสถูปแบบอื่นโดยเฉพาะสถูปทรงกลมในลักษณะที่ว่า 6 สถูปทรงกลมมีวิวัฒนาการมาจากพูนดินหรือเนินดินที่ฝังศพและอัฐิธาตุ 7 แต่พระปรางค์มาจากศิขรหรือยอดเขาสูงซึ่งเชื่อกันว่าเป็นที่สถิตของเทพเจ้า (ประโยคนี้ ก็ค้านหมายเลข 1 และ 6, 7 เปรี้ยงเบ้อเริ่ม.... สถูปเอาไว้เก็บกระดูก สิขรเป็นที่อาศัย ในแง่ความหมายก็ต่างกันโขแล้ว)
8 โดยที่หน้าที่ความสำคัญของปรางค์ก็เช่นเดียวกันกับสถูปทรงกลมนั่นเอง คือเป็นที่บรรจุพระบรมธาตุ (แล้วก็ค้านตัวเองอีกครั้ง....เฮ้อ) 9 ต่างจากปราสาทอันเป็นที่ประดิษฐานรูปเคารพ เช่น ศิวลึงค์ เทวรูป หรือพระพุทธรูป (ตกลงปรางค์ไม่ใช่ปราสาทแล้วหรือ.....งง)
พอแค่นี้ก่อน ต้องไปหายางพารา....เอ้ยพารามาบำบัดตัวเองหน่อย
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
pipat
|
ความคิดเห็นที่ 119 เมื่อ 13 ก.พ. 08, 16:23
|
|
ลืมตอบเรื่องเสมา คำถามคุณโอม เป็นคำถามวิกฤติทางคติความเชื่อ เราคนธรรมดา อาจจะไม่ใส่ใจ แต่คณะสงฆ์มาเห็นอย่างนี้แล้ว ต้องชั่งใจครับ
ดีที่สุดก็คือถือว่าสีมาวิบัติ ห้ามใช้ทำกิจกรรม
ดังนั้น การสืบต่อพระศาสนา จึงเป็นเรื่องสำคัญ ถ้าเมืองร้างไป ศาสนาก็สูญครับ เว้นแต่คนเดิมมาสืบอายุ หาไม่ ก็ต้องเริ่มต้นใหม่
ส่วนคุณนัต เป็นคนตาแหลม เป็นนักประวัติศาสตร์ศิลป์ได้ รูปทรงของทุกสิ่ง บ่งบอกความคิดที่อยู่เบื้องหลัง ความคิดทุกอย่าง มีอายุสมัยรองรับ
เห็นความคิด ก็เห็นอายุครับ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
|