เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: [1] 2 3 ... 20
  พิมพ์  
อ่าน: 64699 ศัพทาภิธานศิลปะ
pipat
แขกเรือน
นิลพัท
*******
ตอบ: 1802


เว็บไซต์
 เมื่อ 31 ม.ค. 08, 01:13

คุณติบอปรึกษามา....
ซึ่งอันที่จริงก็คือสั่งนั่นแหละครับ ว่า
คุยกันเรื่องศิลปะโบราณมากๆ เข้า เกิดศัพท์จำเพาะหลายตัว ที่คนพูดรู้อยู่คนเดียว
คนอื่นไม่รู้ด้วยฮ่า

อธิบายด้วยดิ

ผมรับคำสั่งพร้อมทำคอย่นว่าได้คร๊าบ...จัดให้
แต่ไม่ใช่ว่าผมจะรู้ดอกนะครับ รู้เท่าๆ กับพวกเรานั่นแหละ
จึงขอเชิญทุกท่านที่เห็นชอบ มาช่วยกันอธิบายถ้อยคำที่ใช้ให้อยู่กะร่องกะรอย

เผื่อจะทะเลาะตบตีกัน จะได้แน่ใจว่าตีกันถูกคำ....5555
เอ....เริ่มที่คำว่าอะไรดีหล่ะ
บันทึกการเข้า
ติบอ
นิลพัท
*******
ตอบ: 1906


Smile though your heart is aching.


ความคิดเห็นที่ 1  เมื่อ 31 ม.ค. 08, 01:37

ง่ะ.... ข้าน้อยสมควรตาย


ผมมิกล้ารบกวนคุณพิพัฒน์ถึงเพียงนั้นครับ



ปัญหาที่ปวดขมองอยู่ คือเรื่องลวดบัววิทยา


เอาล่ะ คำแรกก็มาแล้ว "ลวดบัว" คืออะไร



แต่ก่อนจะไปไหน ขออนุญาตยกศัพท์มาเรียนถามสมาชิกอีกหลายท่านก่อนครับ


ว่าใครเข้าใจคำพวกนี้บ้าง


ฐานเขียง
ฐานปัทม์
ฐานสิงห์



เอาแค่ 3 คำก่อนครับ
อ่อ ถ้ารวมกับคำว่า "ลวดบัว" ด้วยก็จะเป็น 4 คำ




ทั่นทั้งหลายเข้าใจว่าแปลว่าอะไร รบกวนตอบด้วยครับพ๊ม
บันทึกการเข้า
Bana
องคต
*****
ตอบ: 439



ความคิดเห็นที่ 2  เมื่อ 31 ม.ค. 08, 02:45

ง่ะท่านติบอดันมาถามก่อน  ว่าจะถามเรื่อง "บัว" ในเชิงศิลปะทางสถาปัตยกรรมประติมากรรมไทยซะหน่อย  เอาล่ะท่านพิพัฒน์คงเป็นคนละเรื่องเดียวกันนะขอรับ...... ยิ้ม
บันทึกการเข้า
Kurukula
สุครีพ
******
ตอบ: 1303



ความคิดเห็นที่ 3  เมื่อ 31 ม.ค. 08, 11:52

คุณติบอตั้งเลยครับ
บันทึกการเข้า
pipat
แขกเรือน
นิลพัท
*******
ตอบ: 1802


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 4  เมื่อ 31 ม.ค. 08, 13:47

ลวดบัวนี่ เข้าใจง่ายที่สุดแล้วนา....

ลวดนั้น เรามีไว้เพื่อรัด มัด สิ่งของเข้าด้วยกัน
ลวดจึงต้องขนานกับผิวโลก ลวดบัวก็เป็นไปดังนั้น
ลวดเป็นสิ่งของที่เล็ก (แต่ก็คงไม่เล็กเหมือนปัจจุบันนิ)
ลวดบัวจึงเป็นลวดลายที่เล็ก
เส้นลวด ก็เล็กจนแทบจะมองไม่เห็น ลวดบัวจึงมักจะเป็นเส้นเรียบๆ
น้อยครั้งที่จะตกแต่งได้ เว้นแต่จะขยายลวดบัวให้หนาขึ้น
แต่พอหนา หรือกว้างมากขึ้น ลวดบัวก็จะเป็นหน้ากระดานไปเสียอีก

ตำแหน่งที่พบ ก็ต้องอยู่กับฐานบัทม์ หรือฐานปัทม์ หรือฐานบัว
คำว่าฐานบัวนั้น โบราณเขาไม่เรียกแต่คนสมัยใหม่เรียก ถือว่าง่ายดี
เอา....ง่ายก็ง่าย

ที่มาก็คือดัดแปลงจากดอกบัว เพราะดอกบัว เป็นไม้ศักดิ์สิทธิ์มาตั้งแต่มนุษย์รู้จักการตกแต่ง
เจอตั้งแต่สมัยเมโสโปเตเมีย (แต่ไม่ยักเจอในจีนดึกดำบรรพ์)
บัวนั้นเป็นไม้น้ำที่มีลักษณะพิเศษ คืองดงามนัก บานออกมาจากดอกตูมที่ปราศจากความงาม
งอกขึ้นมาจากเปือกตมที่ไร้ค่า เมื่อบานเต็มที่ มีลักษณะกลีบที่เป็นรัศมี มีระเบียบจับต้องได้
การที่พุทธใช้ดอกบัวเป็นเครื่องเปรียบถึงการตื่น การเปลี่ยนสภาวะ หรือการสู่ความสมบูรณ์
จึงเหมาะสม และเป็นคตินิยมที่โดดเด่น

อันว่าดอกบัวนั้น ในศิละ นำมาใช้ทั้งรูปที่มองจากด้านบน
และมองจากด้านข้าง
รูปดอกบัวบาน อาจจะใช้เป็นฉากหลังของพระพุทธรูป แทนการตรัสรู้
หรือทำเป็นดาวเพดาน แทนดอกไม้ปฐมแห่งภัทรกัปป์
รูปแบบเช่นนี้ ไม่มีส่วนประดับที่เรียกว่า ลวด หรือลวดบัว
(ยังไม่จบคร๊าบ....)
-----------------------
พยายามเอามือเขี่ยรูปมาปรากอบ ทนดูหน่อยนะครับ


บันทึกการเข้า
pipat
แขกเรือน
นิลพัท
*******
ตอบ: 1802


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 5  เมื่อ 31 ม.ค. 08, 16:57

ตรงที่ทำลูกศรชี้ คือส่วนที่ยืดขึ้น จากฐานเตี้ย กลายเป็นฐานสูง
ส่วนที่ถูกยืดนี้ เรียกกันว่า "ท้องไม้"

ในรูปซ้าย เป็นฐานกลม มักจะใช้รองรับรูปเคาระ ศิลปะมหายานนิยมมาก โดยเฉพาะแถบภาคใต้ของไทย
เป็นคนละแนวความคิดกับแบบขวา ซึ่งเป็นฐานอาคาร
หรืออย่างน้อยก็เป็นแท่นขนาดใหญ รองรับสิ่งของที่เล็กกว่า สูงศักดิ์กว่า หรือต้องการเน้นให้เด่นขึ้น
ฐานชนิดนี้ เป็นฐานสี่เหลี่ยม

จากฐานสี่เหลี่ยม เมื่อเพิ่มการบากมุมเข้าไป มุมเดียวก็จะกลายเป็นสองมุม
คูณกันสี่ด้านก็จะหลายเป็นมีแปดมุม(ไม่ใช่แปดเหลี่ยมนะครบ)
ฟันเพิ่มอีกหนึ่งหยัก จะกลายเป็นสิบสองมุม

ศัพท์ช่างเรียกฐานเหล่านี้ว่า ฐานย่อมุม เรียกตามการฟันไม้ ก็จะกลายเป็นย่อมุมไม้แปด ไม้สิบสอง ไม้สิบหก....
ปัจจุบันนี้ มีผู้รู้ท่านหนึ่ง คิดศัพท์เรียกการย่อมุมเช่นนี้ว่า เพิ่มมุม
ผมไม่เห็นด้วย แต่ไม่รู้จะคัดค้านไปทำไม

ได้แต่ชมว่าท่านเข้าใจคิด แต่ผมขอไม่ใช้ครับ


บันทึกการเข้า
Kurukula
สุครีพ
******
ตอบ: 1303



ความคิดเห็นที่ 6  เมื่อ 31 ม.ค. 08, 20:42

รอให้มีปัญญาซื้อโฟโตชอปมาลงก่อนครับ จะได้วาดรูปเล่นกับคุณ Pipat

ปัญหาการเรียกผิดเรียกถูกผมเองก็ไม่ค่อยเข้าใจเหมือนกัน แต่รู้สึกว่า เรียกยังไงเราก็เข้าใจตรงกัน

ไม่ว่าจะเป็นย่อมุม เพิ่มมุม ยกเก็จ

ดูวุ่นวายดีแท้ครับ

ทุกวันนี้ผมก็พอใจจะเรียก เจดีย์ย่อมุม ตามศัพท์ช่างที่ท่านเรียกต่อๆกันมาดีกว่า
บันทึกการเข้า
ติบอ
นิลพัท
*******
ตอบ: 1906


Smile though your heart is aching.


ความคิดเห็นที่ 7  เมื่อ 31 ม.ค. 08, 23:39

ปัญหาการเรียกผิดเรียกถูกผมเองก็ไม่ค่อยเข้าใจเหมือนกัน แต่รู้สึกว่า เรียกยังไงเราก็เข้าใจตรงกัน

ไม่ว่าจะเป็นย่อมุม เพิ่มมุม ยกเก็จ





ชอบคำพูดประโยคนี้ของคุณกุรุกุลาจัง
เพราะเป็นจุดประสงค์หลักของผมในการขอร้องคุณPipat ในการเปิดกระทู้นี้ครับ

"เรา" ของคุณกุรุกุลา น่าจะหมายถึง
"เรา.... เหล่านักศึกษาวิชาทหาร..." เอ๊ย!!!
ม่ะใช่ดิ "เรา เหล่านัประวัติศาสตร์ศิลป์" มากกว่าครับ

แต่ "เรา" ที่เป็นผู้อ่านบอร์ดอีกหลายท่าน คงยังไม่เข้าใจในศิลปศาสตร์แขนงนี้
พอมาอ่านกระทู้ด้านนี้เข้าก็อาจจะถูกชื่อเหล่านี้พาให้งงเอาได้ง่ายๆ
ผมก็เลยต้องเรียนเชิญท่านอาจารย์ pipat (ที่ผมยกให้เป็นศาสตราภิชาญด้านประวัติศาสตร์ศิลป์ประจำบอร์ด)
กรุณาเปิดกระทู้ด้านนี้ขึ้นมาทีครับ เดี๋ยวนายติบอกับนายกุรุกุลาแจมเองครับผม
บันทึกการเข้า
Bana
องคต
*****
ตอบ: 439



ความคิดเห็นที่ 8  เมื่อ 02 ก.พ. 08, 22:34

ขอเดาครับ  ฐานที่ท่านพิพัฒน์แสดงใน คห 4  เรียกว่าฐานปัทม์  ใช่ไม๊ครับ....... เศร้า
บันทึกการเข้า
pipat
แขกเรือน
นิลพัท
*******
ตอบ: 1802


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 9  เมื่อ 02 ก.พ. 08, 22:44

คุณติบอนี่ เอาอะไรมาสุมใส่หัวผม ก้อม่ายรุ
คนรู้จักเรียกผมว่านาย....สนิทหน่อยก็เรียกไอ้ ครับ
มิได้เป็นหม่อม หามิได้
สัตวาภิธานนี่จำได้ว่าเป็นชื่อสมุดเล่มนึงนี่นา......ฮิฮิ

เป็นฐานบัทม์ ถูกต้องแล้วครับ
ฐานชนิดนี้ ในประเทศไทยพบตั้งแต่ในสถาปัตยกรรมทวารวดีลงมา
มีการเปลี่ยนแปลงพอประมาณ แต่ก็เห็นชัดว่าเดินแนวเดียวกัน

ผมคงต้องหากล้องถ่ายรูปสักตัวละ ถ้าจะทำกระทู้นี้ต่อไป
ท่านอื่นที่เคยหลอกผมว่ามีรูป ตอนนี้เลิกหลอกได้แล้วนา......
บันทึกการเข้า
ติบอ
นิลพัท
*******
ตอบ: 1906


Smile though your heart is aching.


ความคิดเห็นที่ 10  เมื่อ 03 ก.พ. 08, 00:14

ตายล่ะ นอกจากสุมหัวแก้หวัด.....
นายติบอยังเข้าข่ายหลอกลวงอาจารย์ pipat อีกเหรอเนี่ยะ

เดี๋ยวก็สุมหัว เดี๋ยวก็หลอกลวงทำคุณ pipat ร้องไห้น้ำตาไหล
นายติบอรู้สึกว่าตัวเองกลายเป็นหอมแดงไปยังไงไม่รู้แฮะ
แหะๆ



เมื่อวานแอบแวบไปทำธุระส่วนตัวมาครับ
เดี๋ยววันนี้ขอจัดการกับรูปก่อน
แล้วจะรีบเอามาลงให้ชมกันคับพ๊ม
บันทึกการเข้า
ติบอ
นิลพัท
*******
ตอบ: 1906


Smile though your heart is aching.


ความคิดเห็นที่ 11  เมื่อ 03 ก.พ. 08, 00:42

เริ่มกันที่รูปนี้ก่อนครับ... วัดอุโมงค์







ถ้าถามนายติบอว่า "ทำไมต้องวัดอุโมงค์"
ก็ขอตอบ ว่าเพราะเป็นเจดีย์แบบหนึ่งที่มีพื้นฐานอยู่ในศิลปะไทยมาก



เราเริ่มกันที่ลวดบัวชั้นล่างสุดก่อน


ฐานเขียงครับ


ที่นี่มีฐานเขียงบางๆ ซ้อนกัน 2 ชั้น
และถัดขึ้นมาเป็นฐานบัทม์ 3 ชั้น ก่อนจะถึงองค์ระฆัง

ระหว่างบัวคว่ำด้านล่าง กับบัวหงานด้านบนแต่ละชุด
มีอีกส่วนหนึ่งที่คุณpipat เล่าไว้แล้วว่าเรียกว่า "ท้องไม้" แทรกกลางอยู่
ที่นี่ท้องไม้แปลกนิดนึง คือ "เจาะช่อง" ครับ เป็นลักษณะพม่าแท้
ที่ล้านนารับผ่านพม่ามาอีกทีนึง



ปล. บัวคว่ำกับบัวหงายชุดนี้แปลกอยู่อย่างหนึ่ง
ใครตอบผมได้มั่ง แปลกยังไงเอ่ย...
บันทึกการเข้า
ติบอ
นิลพัท
*******
ตอบ: 1906


Smile though your heart is aching.


ความคิดเห็นที่ 12  เมื่อ 03 ก.พ. 08, 01:04




ตามมาด้วยเจดีย์บริวารที่เจดีย์ชเวสิกง
(อย่าเพิ่งดักคอนะครับ ว่ารูปชุดเดิมอีกแล้ว
-คราวนี้ไม่เอาฉปัฏมาให้ดูแล้วครับ คิคิ)


ที่นายติบออยากเอาองค์นี้มาให้ชม
เพราะองค์จริงทั้งองค์รวมฉัตรที่ยอดก็ยังสูงไม่ถึง 3 เมตร
แต่อัตราส่วนเป็นลังกาจ๋าอยู่ครับ


จะเห็นว่าเจดีย์องค์นี้มีองค์ระฆังใหญ่ (และไม่ค่อยเป็นรูประฆังเท่าไหร่)
เนื่องจากองค์ระฆังเป็นชิ้นส่วนที่พัฒนามาจากการถมเนินดินบนสถานที่ศักดิ์สิทธิ์
แล้วก็เลยกลายมาเป็นเจดีย์ทรงฟองน้ำ เหมือนสถูปที่สาญจี ทำบัลลังก์แล้วปักฉัตรเอาไว้ด้านบน
เมื่อเวลาผ่านไป เนินดินก็ถูกปรับรูปไปตามแต่ที่คนปรับจะเห็นว่างาม
บางที่ก็กลายเป็นรูปไข่มั่ง ระฆังมั่ง ลอมฟางมั่ง หรือจะเอวคอดซะอ้อนแอ้นก็มี
(อันนี้ยังไม่พูดถึงสาระบบย่อมุมนะครับ เดี๋ยวปวดหัวกันก่อน)


รัตนบัลลังก์ที่เดิมเคยเป็นที่นั่งของสิ่งศักดิ์สิทธิ์
ก็ถูกแก้รูปให้กลมมั่ง แปดเหลี่ยมมั่งไปตามความเหมาะสม

ส่วนฉัตรอันเดียวนั่นก็กลายเป็นฉัตรวลี
หรือส่วนที่เกิดจากการรวมกันของปล้องไฉน และหยาดน้ำค้างไปตามระเบียบ
(อันนี้ยังไม่พูดถึงบัวทรงคลุ่ม อย่างเจดีย์ทรงเครื่อง
หรือเจดีย์ที่ซ่อมสมัยปลายกรุงศรีอยุธยาอย่างวัดกุฎีดาวนี่นะครับ)



ร่ายไปซะไกล
มีใครจะช่วยนายติบออธิบายเรื่อง "ฉัตร" บน "ฉัตรวลี" ในภาพได้มั่ง ฮืม


(ห้ามพวกมีวิชาอยู่แล้ว อย่างคุณPipat กะ นายกุรุกุลาไว้ก่อน 2 คน
เพราะคนเล่าอยากรู้ว่าคนอ่านคิดยังไงอยู่ครับ คิคิ)
บันทึกการเข้า
pipat
แขกเรือน
นิลพัท
*******
ตอบ: 1802


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 13  เมื่อ 03 ก.พ. 08, 01:56

ไปไกลเกินห้ามใจ...คุณน้องติบอพาผมเข้ารกเข้าพงไกลทีเดียว
หากจะนำรูปมาอธิบายศัพท์ช่างแล้วไซร้
อย่าเพิ่งเล่าวิวัฒนาการ...ยุ่งตายหองทีเดียว

ดูรูปอีกทีนะครับ ผมพยายามเขียนถึงฐานบัทม์แบบดั้งเดิมก่อน คือฐานแบบทวารวดี
สีแดงชี้ไปที่ส่วนบนและล่างซึ่งถือเป็นจุดเริ่มและจุดจบของฐานหนึ่งชุด
คือต้องมีเขียงบน และเขียงล่าง มักจะเป็นสี่เหลี่ยมง่ายๆ จึ่งเรียกว่า "เขียง" งัยครับ

เหนือเขียง และใต้เขียง จะเป็นบัว คือส่วนที่ถากให้โค้งเลียนแบบกลีบบัว
ชั้นกลีบบัวนี้ จะต้องมีเส้นจบ รัดบนและล่าง นี่ละครับ ที่เรียกกันว่า "ลวดบัว"
เส้นชนิดนี้ ไปอยู่ที่อื่นโดยไม่มีกลีบบัวตามไปด้วย เราก็เรียกว่า ลวด หรือเส้นลวดเฉยๆ

สีฟ้านี่ของใหม่ครับ
คือฐานของทวารวดีนั้น เมื่อท่านยืดท้องไม้ขึ้นแล้ว มักจะเพิ่มเส้นรัดท้องไม้ อีกสองเส้น บนและล่าง
เส้นรัดนี้ มาเป็นชุด คือนอกจากเส้นนูนกลมแล้ว จะต้องมีเส้นลวดประกอบ เป็นการบอกเขตสิ้นสุด
ภาษาช่างเรียกเส้นรัดนี้ว่า ลูกแก้ว
เพราะลักษณะกลม เปรียบได้ดังลูกแก้ว
พอกลายเป็นศิลปะไทยแท้ๆ ในยุคหลัง ท่านไม่ชอบลูกแก้วกลม ท่านก็ฟันให้กลายเป็นยอดแหลม
แล้วเรียก "ลูกแก้วอกไก่" เพราะตรงปลาย ท่านใส่ลูกเล่น ทำเป็นจงอยคล้ายอกไก่


บันทึกการเข้า
กุ้งแห้งเยอรมัน
แขกเรือน
สุครีพ
******
ตอบ: 1573



ความคิดเห็นที่ 14  เมื่อ 03 ก.พ. 08, 12:52

 เศร้า เศร้า เศร้า เอ้อ.. ขออ่านทำความเข้าใจสักสิบเที่ยวนะคะ ท่านทั้งสอง ร้องไห้
บันทึกการเข้า
หน้า: [1] 2 3 ... 20
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.059 วินาที กับ 19 คำสั่ง