เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: [1]
  พิมพ์  
อ่าน: 6249 ใครมีข้อมูลของสกุล โบษกรนัฎ กับอินทรนัฎ บ้างครับ
ballwarut
อสุรผัด
*
ตอบ: 5


 เมื่อ 30 ม.ค. 08, 16:29

พอดีเป็นสกุลเก่าของคุณยายผม และท่านเล่าเรื่องที่เป็นเกร็ดของทั้ง 2 สกุลนี้ให้ฟังนิดหน่อยดังนี้

คือ เป็นนามสกุลพระราชทาน แก่พวกที่เล่นโขนถวาย
  โดยเดิมที รัชกาลที่ 6 พระราชทาน สกุล โบษกรนัฎ ให้ก่อน  และต่อมาจึงเข้าไปขอพระราชทานอีกนามสกุล  คือ นามสกุลอินทรนัฎ
  เนื่องจาก รัชการที่ 6 เห็นว่า รำเป็นอินทรชิตสวยจึงพระราชทานให้เป็นอินทรนัฎ

  แต่ผมอยากรู้รายละเอียดมากกว่านี้จึงหาข้อมูลในเนตแต่ไม่มีข้อมูลอะไรมากไปกว่านี้  ถ้าใครมีแนะนำด้วยนะครับ
บันทึกการเข้า
bookaholic
ชมพูพาน
***
ตอบ: 145


ความคิดเห็นที่ 1  เมื่อ 30 ม.ค. 08, 16:48

http://www.amed.go.th/AboutUs/palace/sur_order.htm
ค้นนามสกุลพระราชทาน มีทั้ง 2 นามสกุล   ค้นที่ บ  และ อ
มากกว่านี้ต้องรอสมาชิกชื่อ คุณวีมี ครับ
บันทึกการเข้า
V_Mee
สุครีพ
******
ตอบ: 1436


ความคิดเห็นที่ 2  เมื่อ 01 ก.พ. 08, 18:03

นามสกุลพระราชทานในรัชกาลที่ ๖ ที่ลงท้ายว่า นัฏ นั้นบอกให้ทราบว่า ท่านที่ได้รับพระราชทานนามสกุลนี้ล้วนรับราชการในกรมโขนหลวง  สังกัดกรมมหรสพ  ซึ่งเป็นส่วนราชการในสังกัดกรมมหาดเล็ก

อ่านแล่วคงจะงง  ขออะบายเพิ่มเติมดังนี้ครับ
กรมมหาดเล็กนั้นเป็นส่วนราชการในพระองค์  เป็นกรมใหญ่เทียบเท่ากระทรวง  มีผู้สำเร็จราชการมหาดเล็ก เทียบเท่าเสนาบดีเป็นผู้บังคับบัญชาสูงสุด
มีส่วนราชการระดับกราม  ที่ขึ้นตรงกับผู้สำเร็จราชการมหาดเล็ก คือ กรมมหาดเล็ก  กรมชาวที่  กรมมหรสพ  กรมพระอัศวราช  กรมโรงเรียนในพระบรมราชูปถัมภ์
กรมมหาดเล็ก มีอธิบดีเป็นผู้บังคับบัญชารับผิดชอบหน่วยงานในสังกัด คือ กองมหาดเล็กตั้งเครื่อง  กองห้องพระบรรทม  กองราชเลขานุการ ฯลฯ
กรมชาวที่  มีอธิบดีเป็นผู้บังคับบัญชารับผิดชอบหน่วยงานในสังกัด คือ กรมสวนหลวง  กรมรักษาพระราชวังบางปะอิน
กรมรักษาพระราชวังสนามจันทร์ รวมทั่งงานบำรุงรักษาพระที่นั่ง พระตำหนักและพระราชอุทยาน  งานไฟฟ้า ประปา
กรมมหรสพ  มีอธิบดีเป็นผู้บังคับบัญชารับผิดชอบหน่วยงานในสังกัด คือ กรมโขนหลวง  กรมพิณพาทย์หลวง  กองเครื่องสายฝรั่งหลวง 
กรมพระอัศวราช  มีอธิบดีเป็นผู้บังคับบัญชารับผิดชอบหน่วยงานในสังกัด คือ กรมอัควราช ดูแลเรื่องม้าและรถม้า  กรมรถยนต์  กรมเรือยนต์
กรมโรงเรียนในพระบรมราชูปถัมภ์  มีผู้อำนวยการโรงเรียนในพระบรมราชูปถัมภ์เป็นผู้บังคับบัญชา  มีหย่วยงานในสังกัด คือ โรงเรียนมหาดเล็กหลวง  โรงเรียนราชวิทยาลัย  โรงเรียนมหาดเล็กหลวงเชียงใหม่  โรงเรียนพรานหลวง

ในกรมโขนหลวงยังซอยย่อยเป็นพวกโขน  พวกละคร  พวกทำฉากอีกหลายหน่วยงานครับ

พวกตระกูล "นัฏ" ทั้งหลายนี้ส่วนหนึ่งยังคงรับราชการกันอยู่ที่สำนักการสังคีต  กรมศิลปากร  แต่ก็มีบางส่วนที่คงรับราชการอยู่ในพระราชฐานชั้นในสำหรับคุณสุภาพสตรี  ส่วนบุรุษนั้นก็มีรับราชการในกองพระราชพิธี กองวัง  และกองชาวที่อยู่ไม่น้อย 

นามสกุลที่ลงท้ายด้วย "นัฏ" เท่าที่จำได้ก็มี สุครีวกนัฏ  เป็นตัวสุครีพ และยังมีอีกหลายสกุลครับ  แต่พอดียังหาคู่มือที่ทำไว้ไม่พบครับ  ข้อที่น่าสังเกตคือ พวกที่ทำงานในพระราชสำนักนี้มักจะสมรสกันในหมู่ข้าราชสำนักด้วยกัน  อาจจะเป็นเพราะต้องอุทิศเวลาเพื่อรับใช้พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว  ไม่มีเวลาได้ไปพบปะผู้คนภายนอก  จึงมักจะสมรสกันในหมู่ที่รับราชการในพระราชสำนักด้วยกัน  ถ้าสนใจจริงๆ ลองตามหาญาติที่รับราชการฝ่ายในดู  คงจะสามารถสืบหาต้นสกุลที่เกี่ยวดองกันได้ครับ


บันทึกการเข้า
pipat
แขกเรือน
นิลพัท
*******
ตอบ: 1802


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 3  เมื่อ 02 ก.พ. 08, 01:10

คำตอบคุณวี กระตุ้นต่อมอยากรู้ขึ้นมาตะหงิดๆ......
ขอเรียนถามตามน้ำ เพื่อระงับความไม่รู้ว่า
พอจะให้รายนามขุนนางคนสำคัญในกรมนี้สักหน่อยได้หรือไม่ครับ
บันทึกการเข้า
Wandee
หนุมาน
********
ตอบ: 4006


ความคิดเห็นที่ 4  เมื่อ 02 ก.พ. 08, 07:25

อ้างอิง หนังสือ พิพิธภัณฑ์สัพพะสยามกิจ ศักราช ๒๔๗๔  หน้า ๗๔๐

กรมปี่พาทย์และโขนหลวง
     กองกลาง
     ผู้กำกับการ     ส.อ. พระยานัฏกานุรักษ์

     กองเครื่องสายฝรั่งหลวง
     ปลัดกรม     ส.ท. พระเจนดุริยางค์



บันทึกการเข้า
pipat
แขกเรือน
นิลพัท
*******
ตอบ: 1802


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 5  เมื่อ 02 ก.พ. 08, 10:32

ขอบคุณครับ
เพียงสองชื่อ ก็ชวนทึ่งแล้วครับ ล้วนเป็นปรมาจารย์ทางนาฏดนตรี

ส.อ คงไม่ใช่สิบเอกกระมัง ท่านเป็นตั้งพระยา
คงหมายถึงเสวกเอก

ตำแหน่งนี้เป็นพระราชนิยมในรัชกาลที่ 6 มีที่มาอย่างไร
ต้องรบกวนผู้รู้อีกหน่อยละครับ
บันทึกการเข้า
Wandee
หนุมาน
********
ตอบ: 4006


ความคิดเห็นที่ 6  เมื่อ 02 ก.พ. 08, 17:07

พลิกไปที่อักขรานุกรมขุนนาง  หน้า ๘๕๙

เจนดุริยางค์  พระ(ปีเตอร์ ไฟท์  วาทะยากร)  เสวกโท
ปลัดกรมกองเครื่องสายฝรั่ง กระทรวงวัง

ตามไปอ่าน  ตามรอยเชลโลพระเจนดุริยางค์  ของคุณอานันท์ นาคคง ที่  http://www.pantown.com/board.php?id=1771&area=3&name=board3&topic=12&action=view

ติดใจที่เล่าว่า จันดเลชวนบิดาของคุณพระ Jacob  Feit  มาเมืองไทย
อ่านเรื่องเชลโลกับไวโอลินแล้วก็มีความรู้สึกว่าความกตัญญูของคนไทยช่างเป็นเรื่องที่สวยงามประทับใจ

อีกวันสองวันอาจจะหาขอมูลมาเสริมได้อีกค่ะ  หนังสือไปเที่ยวตอนนี้
บันทึกการเข้า
SILA
หนุมาน
********
ตอบ: 6362


ความคิดเห็นที่ 7  เมื่อ 03 ก.พ. 08, 10:18

        ขอบคุณคุณ Wandee ครับ
และ อ่านแล้วชวนให้นึกถึงหนังเรื่อง The Red Violin ที่เล่าเรื่องราวการเดินทางอันยาวนานนับร้อยๆ ปี
และ ยาวไกล - ข้ามทวีป,ข้ามมหาสมุทร ของไวโอลินสีแดง จากช่างฝีมือคนทำสู่นักดนตรี คนแล้วคนเล่า
 


บันทึกการเข้า
Wandee
หนุมาน
********
ตอบ: 4006


ความคิดเห็นที่ 8  เมื่อ 04 ก.พ. 08, 09:45

หนังสือ อนุสรณ์ "ศุกรหัศน์" เดินทางกลับมาสู่อ้อมกอดเรียบร้อยแล้วค่ะ ห่อปกอย่างสวยงามมาด้วย  จึงขอคัดมาตามที่ปรากฏ
หน้า ๘๔ - ๘๘

ข้อมูลเรื่องสกุล อินทรนัฏในหน้า ๘๖

ครูพระ
วิลาศวงงาม(หร่ำ  อินทรนัฏ)  หลวง
ภายหลังเป็น จมื่นสมุหพิมาน  เป็นครูโขนอยู่ในแผนกนาฏศิลป  กองการสังคีต  กรมศิลปากร


โบษกรนัฏ  หน้า ๘๗
ครูรำโคม
ประภารำร่าย(ฉอ้อน  โบษกรนัฏ)  ขุน



ตามที่คุณ V_Mee  ได้เล่าไว้เรื่อง สกุล สุครีวกนัฏ  ข้อมูลในหน้า ๘๕ มีว่า
ครูลิง
เชิดกรประจง(ไปล่  สุครีวะนัฏ)  ขุน


ขุนนางคนสำคัญ ตามที่คุณ pipat ถาม  มี
ครูผู้ใหญ่

ครูยักษ์
ระบำภาษา(ทองใบ  สุวรรณภารต)  พระ  แล้วเป็น พระยาพรหมภิบาล

ครูพระ
นัฏกานุรักษ์(ทองดี  สุวรรณภารต)  พระยา

ครู
สุนทรระบำเทพ(เปลี่ยน  สุนทรนัฏ) พระยา

ดำรงวิธีรำ(พวง  วัชรเสวี)  พระยา




ตระกูลนัฏ  มีดังต่อไปนี้
สุนทรนัฏ     สุมนนัฏ     สายะนัฏ     สมรรคนัฏ     จารุนัฏ     รามนัฏ
สุครีวะนัฏ     อรุณะนัฏ     ลักษมณนัฏ     กานตะนัฏ     อินทรนัฏ     มงคลนัฏ
ภีมะนัฏ     วิบุลยนัฏ     กฤษณนัฏ     โบษกรนัฏ     โชตินัฏ


บันทึกการเข้า
pipat
แขกเรือน
นิลพัท
*******
ตอบ: 1802


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 9  เมื่อ 04 ก.พ. 08, 22:01

อ่านเจอในสกุลไทย
http://www.sakulthai.com/DSakulcolumndetail.asp?stcolumnid=254&stissueid=2400&stcolcatid=2&stauthorid=9
ท่าระบุราชทินนามครูเปลี่ยนว่า สุนทรเทพระบำ ดังนี้ครับ

คุณครูส่องชาติ ชื่นศิริเป็นคนกรุงเทพโดยกำเนิด ท่านเกิดเมื่อวันที่ ๕ กรกฎาคม พุทธศักราช ๒๔๖๑ ปัจจุบันอายุ ๘๒ ปี
ท่านได้รับการศึกษาที่โรงเรียนดุสิตดรุณจนถึงชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๑ จากนั้นบิดาของท่านได้พาไปเรียนการรำกับ
พระยาสุนทรเทพระบำ (เปลี่ยนสุนทรนัฏ)
-------------------------
ขอบคุณอีกครั้ง ที่นำข้อมูลมาแบ่งปันครับ
บันทึกการเข้า
V_Mee
สุครีพ
******
ตอบ: 1436


ความคิดเห็นที่ 10  เมื่อ 06 ก.พ. 08, 08:20

ขอบพระคุณ คุณ Wandee ที่กรุณามาเพิ่มเติมให้สมบูรณ์ครับ
มีหลายท่านมาร่วมวงเสริมความรู้อย่างนี้สนุกครับ

แต่ขอนนุญาตแก้ไขและเพิ่มเติมดังนี้ครับ
ครูยักษ์
ระบำภาษา(ทองใบ  สุวรรณภารต)  พระ  แล้วเป็น พระยาพรหมภิบาล

ท่านนี้ราชทินนามเป็น พระยาพรหมาภิบาล ครับ

ดำรงวิธีรำ(พวง  วัชรเสวี)  พระยา
ท่านนี้นามเดิม คือ พ่วง ครับ
และโปรดสังเกตนามสกุลครับ  วัชร มาจาก วชิระ คือ วชิราวุธ  เสวี มาจาก เสวก 
รวมความแล้วคือ เสวกของท่านวชิราวุธ หรือข้าราชบริพารในพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว
ท่านผู้นี้เกิดในสกุลพ่อค้า และได้ถวายตัวเข้ารับราชการในพระองค์มาตั้งแต่งทรงเป็นสมเด็จพระยุพราช
บันทึกการเข้า
Wandee
หนุมาน
********
ตอบ: 4006


ความคิดเห็นที่ 11  เมื่อ 06 ก.พ. 08, 12:17

ขอบคุณ คุณ pipat  และคุณ  V_mee  ค่ะที่กรุณาแก้ไข

สนใจ เจ้าจอมและเจ้าจอมารดา ที่เป็นครูละครมานานแล้ว  แต่ไม่เห็นเอกสารแน่ชัด
สมัยก่อนก็รู้จักแค่ อัมพากัญจนา   วาดอิเหนา  เขียนอิเหนา  ไม่ทราบว่ามีแย้มอิเหนา ที่เรียกว่าคุณโตด้วย

อ่านไปเรื่อยๆ  ไปเจอ ท้าวศรีสุนทรนาฏไกรทอง  จำท่านได้ก็ตื่นเต้นดีอกดีใจ

วันหน้าลองรวบรวมไว้แล้วคุยกันอีกทีไหมคะ 
บันทึกการเข้า
ballwarut
อสุรผัด
*
ตอบ: 5


ความคิดเห็นที่ 12  เมื่อ 15 ก.พ. 08, 15:58

ผมมีเกร็ดเล็กๆ น้อยๆ ของ 2 ตระกูล โบษกรนัฎ กับอินทรนัฎ ฝากไว้เพิ่มเติมครับ
ซึ่งจากการที่ผมเข้าไปคุยกับคุณยายของผม (ตอนนี้อายุ 79 ปี)
ยายเล่าให้ฟังว่าเดิมทีมีสกุลเดียวคือ โบษกรนัฎ ซึ่งรับราชการอยู่กับพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่6
แต่ญาติ ๆ นั้นก็มีทั้งที่ชอบดื่มเหล้าและไม่ดื่มเหล้า มีวันหนึงเกิดทะเลาะกันเพราะเรื่องดื่มเหล้า
นี่แหล่ะครับ ด้วยญาติผู้ใหญ่ฝ่ายที่ไม่ดื่มเหล้า มาต่อว่าฝ่ายที่ดื่มเหล้าว่าทำให้เสื่อมเสีย
โบษกรนัฎกลายเป็นตระกูลที่ชอบดื่มเหล้า ขี้เหล้า  ฝ่ายที่โดนต่อว่าก็บอกว่าจะไปขอพระราชทาน
สกุลใหม่จากพระเจ้าอยู่หัวก็ได้  รัชกาลที่ 6 ทรงเห็นว่า รำเป็นอินทรชิตสวย จึงพระราชทาน
สกุลให้ฝ่ายที่ไปร้องขอสกุลใหม่ว่า "อินทรนัฎ" ครับ  ...คนแก่เขาเอามาเล่ากันขำขำครับ...


คุณยายยังบอกว่า สมัยที่ยังเด็กพ่อของคุณยายเป็นจมื่น คุณยายยังอยู่ในวังพญาไทอยู่เลย
ปัจจุบันนี้ทั้งสองตระกูล โบษกรนัฎ กับอินทรนัฎ ก็ยังไปมาหาสู่กันอยู่เสมอครับ
บันทึกการเข้า
pipat
แขกเรือน
นิลพัท
*******
ตอบ: 1802


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 13  เมื่อ 15 ก.พ. 08, 17:25

วันหน้าลองรวบรวมไว้แล้วคุยกันอีกทีไหมคะ

อยากให้คุณวันดีเริ่มต้นกระทู้เลยทีเดียว
ผมคิดว่าจะเป็นกระทู้สำคัญ
เราจะได้รู้ว่า นอกจากหน้าที่เจ้าจอมในการรับใช้พระเจ้าอยู่หัว
อันเป็นภาระงานที่คนมากมายดูแคลนว่า ......(คิดเอาเอง)

แท้ที่จริง ท่านเหล่านี้ ได้ทำสิ่งที่น่ายกย่องอย่างเงียบๆ
แต่คุณวันดีจะนำมาเปิดเผย ในมิช้า......เย้
บันทึกการเข้า
หน้า: [1]
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.04 วินาที กับ 19 คำสั่ง