เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 ... 3 4 [5] 6 7 ... 9
  พิมพ์  
อ่าน: 31753 " รุ่งเรือง.. เมืองศิลป "
Kurukula
สุครีพ
******
ตอบ: 1303



ความคิดเห็นที่ 60  เมื่อ 31 ม.ค. 08, 11:42

คิดอย่างที่คุณกุ้งแห้งบอกน่ะครับ

ว่าเชื้อสายก็มีส่วนสำคัญเหมือนกัน พระนเรศวร มีเชื้อสายสุโขทัย ย่อมควรสร้างอะไรตาม "พระราชนิยม" ตามสายตระกูล

แต่ก็คิดต่างออกไปบ้างนะครับ

คือ คิดว่าคนเราไม่จำเป็น จะต้องสร้างอะไรที่ย้อนกลับไปไกลแสนไกล

อย่างถึงเราจะเป็นอาตี๋อาหมวยเชื้อสายจีนทุกวันนี้ ก็คงไม่ย้อนกลับไปไว้ผมเปียหรอก

อยากมากก็แต่งตัวคล้ายๆ ที่พ่อเราแต่ง ไม่ก็ทันสมัยขึ้นมาเป็นยุคของเรา


ทีนี้เรามาดูกันว่า ใครคือ สมเด็จพระราชบิดา ของพระนเรศวรมหาราช

นั่นก็คือ สมเด็จพระมหาจักรพรรดิ์นั่นเอง


มาดูตัวอย่างเจดีย์ที่ พระมหาจักรพรรดิ์ทรงสร้าง กันดีไหมครับ

ที่ทราบกันดี ก็คือ เจดีย์ศรีสุริโยทัย ที่วัดสวนหลวงสบสวรรค์ นั่นเอง

(อย่าเพิ่งถามนะครับ ว่าของปลอมหรือเปล่า สร้างสมัย ร.6 หรือเปล่า สร้างหลังพระมหาจักรพรรดิ์หรือเปล่า เพราะตอนนี้ส่วนตัวผมเชื่อสนิทใจแล้วครับว่าสร้างสมัยสมเด็จพระมหาจักรพรรดิ์)
บันทึกการเข้า
Kurukula
สุครีพ
******
ตอบ: 1303



ความคิดเห็นที่ 61  เมื่อ 31 ม.ค. 08, 11:49

นี่ครับ เจดีย์ศรีสุริโยทัย สร้างสมัยสมเด็จพระมหาจักรพรรดิ์

รูปมาจากเวป http://www.dhammajak.net/gallery/displayimage.php?album=topn&cat=-4&pos=10 ครับ


เห็นได้ชัดว่าเจดีย์สมัยอยุธยาตอนกลางเช่นนี้ นิยมสร้างเจดีย์ที่จับย่อมุมที่องค์ระฆังแล้ว

(ย่อมุมก็คือทำให้มุม รูปสี่เหลี่ยม กลายเป็น หยักๆๆๆๆ จากเจดีย์ทรงกลม ก็จะกลายเป็นสี่เหลี่ยม มีมุมหยักๆ)


ย่อมต่างกับเจดีย์ทรงกลมพอสมควร การย่อมุมทำให้เจดีย์ผอมขึ้น สูงขึ้น แต่ดูเล็กลง



เจดีย์ย่อมุมแบบนี้ นิยมต่อมามากๆๆๆๆๆ จนถึงสมัยอยุธยาตอนปลาย และรัตนโกสินทร์ จนเจดีย์ที่องค์ระฆังกลมๆ น่ารักๆ แทบจะหายไปเลย


เจดีย์ภูเขาทอง ที่"เชื่อ"ว่าสร้างสมัยสมเด็จพระนเรศวร ก็หน้าตาคล้ายๆ อย่างนี้ครับ แต่ผอมขึ้นอีก ตามสไตล์ศิลปะไทย ที่ยิ่งผ่านไปยิ่งชอบผอมๆ

เหมือนเด็กสมัยนี้เลยครับ เอะอะอะไรก็ผอมไว้ก่อน นางแบบนี่เหลือแต่ก้างและ ก็ยังนิยมกันว่าสวยว่างาม


บันทึกการเข้า
Oam
แขกเรือน
ชมพูพาน
***
ตอบ: 168



ความคิดเห็นที่ 62  เมื่อ 31 ม.ค. 08, 12:04

รวบรัดตัดความ สรุปว่าพระนเรศวรไม่ได้สร้างเจดีย์ที่วัดใหญ่แน่ๆ
แต่ใครสร้าง สร้างสมัยไหน คือประเด็นที่คุณพิพัฒน์จะนำเสนอต่อไปใช่ไหมครับ

เมื่อคืนพระเจ้าอู่ทองไม่ได้มาเข้าฝันผม แต่ผมเชื่อว่า หากท่านจะเข้ามาตั้งตัวแถวนี้
ถ้าไม่ปราบพวกเดิมให้เหี้ยน ก็ควรจะฝากเนื้อฝากตัวให้รักใคร่กัน
ถามว่าจะมาสร้างเจดีย์แข่งไหม? คิดว่าไม่
มหาเจดีย์นี้น่าจะเก่าแก่มากๆ

เห็นด้วยกับคุณ Bana ว่าถ้าตั้งใจทำให้กลวง อาจจะเพื่อพิธีกรรม...ซึ่งน่าจะหนักไปทางเขมร เกี่ยวข้องกับเทพเจ้า มากกว่าพระพุทธเจ้าครับ
บันทึกการเข้า
pipat
แขกเรือน
นิลพัท
*******
ตอบ: 1802


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 63  เมื่อ 31 ม.ค. 08, 13:44

ท้วงน้องกุรุก่อน
พ่อพระองค์ดำคือมหาธรรมราชา มหาจักรพรรดิ์นั้นเป็นพระเจ้าตาครับ

แล้วท่านเชื่อสนิทใจในพระเจดีย์องค์นี้ เพราะเหตุใดฤษ

วานบอก
(ผมได้เชื่อตาม)

อ้อ ทู้นี้สนุกครับ อย่าเร่งให้รีบร้อน การมั่วที่ดี คือต้องมั่วอย่างหนอนไต่ใบไม้
ให้ทรมานใจเล่น
บันทึกการเข้า
Kurukula
สุครีพ
******
ตอบ: 1303



ความคิดเห็นที่ 64  เมื่อ 31 ม.ค. 08, 20:22

มั่วเสียเลยนะครับ ผมเนี่ย

หุหุหุ ขอประทานโทษอย่างสูงนะครับ ผิดพลาดจรืงๆด้วย

ขอกลับไปแก้ไขข้อความในกระทู้เดิมดีกว่าครับ
บันทึกการเข้า
Kurukula
สุครีพ
******
ตอบ: 1303



ความคิดเห็นที่ 65  เมื่อ 31 ม.ค. 08, 20:34

ไม่มีรูปมหาเจดีย์สี่รัชกาลที่วัดโพธิ์เสียด้วยครับ

เหตุผลที่ผมเชื่อนะครับคุณ Pipat ว่าเจดีย์องค์นี้คือ "เจดีย์ศรีสุริโยทัย" จริงๆ

เพราะในวัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม หรือวัดโพธิ์ท่าเตียน

มีพระเจดีย์องค์หนึ่ง ที่สร้างโดยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4

พระองค์ท่านโปรดให้จำลองพระเจดีย์สวนหลวงสบสวรรค์มาสร้างเป็นเจดีย์ประจำรัชกาล


สีฟ้า ดูเผินๆ ก็นึกว่าเหมือนจดีย์ทรงเครื่องอีกสามองค์ข้างหน้า ซึ่งประจำรัชกาลที่ 1 2 และ 3

จริงๆมีความแตกต่างกัน ย่อมุมก็มิได้เท่า

ใครๆก็เรียกเจดีย์องค์นี้ว่า เจดีย์ศรีสุริโยทัย

ก็ไม่ทราบเหมือนกันว่า ชื่อนี้เรียกขึ้นมาตั้งแต่รัชกาลที่ 4 จริงหรือไม่

ถ้าจริง แปลว่า ชาวบ้านแถบกรุงเก่า ก็รับรู้กันมานานแล้ว ว่าเจดีย์ที่วัดสวนหลวงสบสวรรค์ องค์นั้น

คือพระเจดีย์ศรีสุริโยทัย


ก่อนการรับรู้ของพระยาโบราณราชธานินทร์ หรือ ใครต่อใครอีกหลายท่าน ซึ่งบันทึกความทรงจำกันมา ว่า มีเจดีย์แฝดทรงกลมอยู่คู่กัน

ที่น่าจะบรรจุพระบรมอัฐิของสมเด็จพระศรีสุริโยทัย และสมเด็จพระเจ้าลูกเธอที่ออกต่อรบด้วยพม่าจนสิ้นพระชนม์

แต่ปัจจุบันถูกรื้อทิ้งไปแล้ว
บันทึกการเข้า
Oam
แขกเรือน
ชมพูพาน
***
ตอบ: 168



ความคิดเห็นที่ 66  เมื่อ 31 ม.ค. 08, 20:47

วันนี้นั่งรถผ่านวัดราชบูรณะ จังหวัดพิษณุโลก เกิดนิมิตว่าคล้ายวัดใหญ่ชัยมงคล เลยลองหารูปจากเว็บมาให้ดู อาจจะไม่ค่อยชัด

เหมือนมั้ยเนี่ย???


บันทึกการเข้า
pipat
แขกเรือน
นิลพัท
*******
ตอบ: 1802


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 67  เมื่อ 31 ม.ค. 08, 22:08

ต้วอย่างจากคุณโอมนี่ดีแท้
แสดงถึงการสร้างอนุสรณ์สถาน เพื่อการปฏิบัติบูชา "จากภายนอก"

นี้เป็นพิธีกรรมที่ต่างจากการเข้าสู่ "ข้างใน"
ของมหาสถูปวัดใหญ่ไชยมงคลครับ
บันทึกการเข้า
pipat
แขกเรือน
นิลพัท
*******
ตอบ: 1802


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 68  เมื่อ 31 ม.ค. 08, 22:19

รูปจากคุณโอม แสดงถึงการบูชา จาก"ภายนอก"
ไม่ใช่การบูชาจาก"ภายใน"

ขอบคุณครับ เห็นการเปรียบเทียบที่ชัดเจนยิ่งขึ้น
บันทึกการเข้า
ติบอ
นิลพัท
*******
ตอบ: 1906


Smile though your heart is aching.


ความคิดเห็นที่ 69  เมื่อ 31 ม.ค. 08, 23:28




ผมขออนุญาตถือวิสาสะเอาภาพของพี่กุ้งแห้งฯมาแปะใหม่อีกรอบครับ
อยากให้ผู้ดูกระทู้ลองสังเกตดูเปรียบเทียบกับภาพของคุณ Oam


เทียบด้วยตา จินตนาการด้วยความรู้สึกพอนะครับ
ใครไปอ่านกระทู้ศัพทาภิธานศิลปะมาอย่าเพิ่งร้อนวิชาครับ
ยังไม่ต้องไปเพ่งรายละเอียดยิบๆย่อยๆ หาฐานบัว ฐานเขียง ฐานสิงห์ หรือท้องไม้อะไร

เพราะที่ผมอยากให้เห็นจินตนาการอย่างแรก
ว่าคุณกำลังเดินขึ้นไปบนฐานสูงๆของเจดีย์วัดราชบูรณะของคุณ Oam
คุณจะเห็นฐานกว้างออกไปมาก และยอดเจดีย์องค์สมส่วนอยู่ด้านบน
มีสถูปิกะ (แปลว่าเจดีย์จำลองเล็กๆ) ตั้งประดับอยู่ตามมุมระเบียง
ความรู้สึกที่ได้เป็นความรู้สึกอย่างไร

กับอย่างที่ 2 ลองนึกดูว่าถ้าคุณเดินขึ้นไปบนเจดีย์วัดใหญ่ฯ ของพี่กุ้งฯ
คุณจะถูกกำแพงสองด้านบังวิสัยทัศน์ทางด้านซ้าย-ขวาไปส่วนหนึ่ง
และมองเห็นเจดีย์องค์โต บนฐานยกท้องไม้สูง จนต้องแหงนหน้าเกือบ 90 องศาเพื่อมองยอดพระสถูป
ความรู้สึกที่ได้เป็นความรู้สึกอย่างไร แบบไหนดูสงบกว่า และแบบไหนดูศักดิ์สิทธิ์กว่า



ผมเชื่อว่าบางครั้งสถาปัตยกรรมก็ถูกปรุง และแก้ไของค์ประกอบต่างๆให้เข้ากับรสนิยมของแต่ละชนชาติครับ
ช่างรุ่นครูท่านไม่ได้เล่นกับเราแค่ผัสสะง่ายๆอย่างสี แสง หรือบรรยากาศครับ
แต่รูปทรง รูปร่าง อย่างพื้นฐานที่สุดท่านก็ปรุงเอาไว้ให้เรารู้สึกได้ทันทีที่สัมผัสครับ




ปล. ทฤษฎีที่ว่านี่ผมก็ยืมเพื่อนชาวสถาปัตย์คนนึงมา
จะให้อธิบายไปไกลกว่านี้คงต้องรอเธอว่างงานมาตอบเองเสียแล้วล่ะครับ แหะๆ


ปล.2 ไม่รู้ว่าเพราะผมตาไม่ดีหรือเปล่า
แต่เห็นภาพของคุณ Oam แล้วรู้สึกว่าผังฐานมันไม่ได้เป็นสี่เหลี่ยมจตุรัสนะครับ
รบกวนคุณOam (หรือสมาชิกจากเมืองสองแควท่านอื่นก็ได้) ช่วยเชคให้นิดนึงได้มั้ยครับ
บันทึกการเข้า
Bana
องคต
*****
ตอบ: 439



ความคิดเห็นที่ 70  เมื่อ 01 ก.พ. 08, 00:36

อืมม  เจดีย์วัดใหญ่ฯข้างในกลวงการใช้สอยนะครับตามความคิดผม  อาจเรียกได้ว่าเป็นปราสาทเจดีย์แบบหนึ่ง  แต่จะทำเป็นอุโปสถาคารหรือเปล่าไม่แน่ใจ  การสร้างวัดโดยทั่วไปก็มักจะสร้างเรียงกันไปเป็นลำดับ โบสถ์-เจดีย์-วิหาร-ลานโพธิ์  แต่ก็มีหลายแห่งที่สร้างแบบทูอินวัน  ผมดันไม่เคยไปที่วัดนี้ซะด้วย  พยายามมองฐานรับปากระฆังแต่มองไม่ชัด  แต่เห็นซุ้มทางเข้าพาลคิดถึงทวารวดีแบบที่ฝ่ายเหนือเค้าชอบสร้างกัน
ขอถามประดับความรู้หน่อยครับ  สถูปิกะ หรือที่ผมชอบเรียกว่า "สถูปน้อย" เป็นอิทธิพลของพุกาม  หรือทวารวดีครับ  หรือจากยุคอื่นอีก  ขอบคุณครับ.... ฮืม
บันทึกการเข้า
ติบอ
นิลพัท
*******
ตอบ: 1906


Smile though your heart is aching.


ความคิดเห็นที่ 71  เมื่อ 01 ก.พ. 08, 03:10

อิทธิพลวิมานครับ
บันทึกการเข้า
Oam
แขกเรือน
ชมพูพาน
***
ตอบ: 168



ความคิดเห็นที่ 72  เมื่อ 01 ก.พ. 08, 07:56

จะหาโอกาสไปดูของจริงอีกครั้งครับ เพราะเพิ่งเห็นเหมือนคุณติบอว่าฐานน่าจะไม่ใช่ ๔ เหลี่ยม
บันทึกการเข้า
elvisbhu
แขกเรือน
พาลี
****
ตอบ: 215

เป็นคนเขียนรูป


ความคิดเห็นที่ 73  เมื่อ 01 ก.พ. 08, 08:36

......
ตามีผัวของยายบัวเคยเป็นทหารข้าแผ่นดิน  รบพม่ามาหลายศึก.. ตอนนี้ทำนา
พรรษานี้ต้องเตรียมเสบียงส่งวัง ที่เหลือเก็บไว้กินตลอดปี..
นาอยู่ห่างจากกรุงศรีอยุธยา ค่อนวันเดิน
เช้านี้..ฝนห่าใหญ่เพิ่งผ่านไปหมาดๆ อาทิตย์เริ่มทอแสงผ่านเมฆเทาบางๆ ที่เริ่มเคลื่อนตัวออกจากกัน

เสียงระฆังเคาะเป็นจังหวะ ๆ ดังกังวานก้องมาจากในเมืองกรุงศรีอยุธยาอันงดงามดั่งทองเมื่อต้องแสงตะวัน.....
สองตายายมองตามเสียง ไปที่เจดีย์ใหญ่สูงตระหง่านของวัดใหญ่ชัยมงคลที่หันหน้าสู่ทิศตะวันออกของเมืองเด่นเป็นสง่า
บนนั้น เห็นพระเดินเป็นแถวแนวสีเหลืองสว่างไสวมุ่งสู่ยอดเจดีย์นับร้อยๆองค์....
ได้ข่าววันนี้ พระเจ้าอยู่หัวประทับ เป็นประธานเรื่องใดไม่ทราบเป็นงานใหญ่ นับแต่มีพระกลุ่มใหญ่กลุ่มหนึ่งกลับจากลังกา.

นั่นหมายถึงเจ้าตัวเอก ลูกชายคนเดียวที่เพิ่งบวชเข้าพรรษา รวมอยู่ในเส้นเหลืองๆที่เห็นระยิบๆ แต่ไกล
ถึงตรงนี้ สองคนตายายมองหน้ากัน ทรุดเข่าลงพนมมือ น้ำตาไหล ปลื้มใจเหมือนได้เกาะชายผ้าเหลืองลูกชายขึ้นสวรรค์

สักครู่ก็ได้ยินพระสวดดังกึกก้องกังวานทั่วแผ่นดิน
จากเจดีย์ใหญองค์นั้น
............

"อันนี้ถ้าให้แปลง่ายๆ ในความกลวงของพระเจดีย์ใหญ่ ผมคิดเป็นเสมือนเครื่องกระจายเสียงขนาดยักษ์ชั้นดี แบบไม่ธรรมดาคล้ายๆของคุณ พพ ที่ฟังอยู่ที่บ้านครับ"





บันทึกการเข้า
กุ้งแห้งเยอรมัน
แขกเรือน
สุครีพ
******
ตอบ: 1573



ความคิดเห็นที่ 74  เมื่อ 01 ก.พ. 08, 09:09

ที่คุณเอลวิสภูเขียน น่าจะเป็นopening sceneที่ดีในการเปิดตัวพระเจดีย์ และจุดประสงค์การใช้งานของกษัตริย์ผู้สร้างนะคะ
ทำไมต้องขึ้นบันไดไปสูงขนาดนั้น ก็เพื่อให้ชนเบื้องล่างเห็นแต่ไกล
เบื้องบนก็ได้เห็นความรุ่งเรืองของผืนนาเบื้องล่าง ใช้เป็นหอเทเลสโคปธรรมชาติในตัว ข้าศึกมาก็ต้องเห็น หรือกลับจากทัพก็รู้ว่า กรุงศรีอยุธยานั้นอยู่ที่ไหน
ลานบนกว้าง คงไม่ได้มีเฉยๆแค่เป็นฐาน น่าจะเป็นที่ชุมนุมสวดของพระสงฆ์ระดับสูง
ซึ่งแน่นอนว่า หนึ่งในพระสงฆ์นั้น น่าจะเป็นประมุขสูงสุดทางศาสนาด้วย
...
และใครจะทราบ ลูกชายพ่อมีแม่บัวที่เพิ่งกลับจากศึกษาธรรมที่ลังกาไม่ใช่เพียงอัญเชิญพระบรมธาตุกลับมา แต่อาจจ่อคิวเป็นว่าที่พระสังฆราชของกรุงศรีฯก็ได้
..
เชิญฝ่ายถาปัดบรรเลงการวิเคราะห์เชิงนั้นต่อ
ในขณะที่ฝ่ายศิลป ก็จินตนาการฟังก์ชั่นนั้นๆเป็นเรื่องเป็นราวไป
คนอ่านหรือคะ.. กำไรลูกเดียวค่ะ
บันทึกการเข้า
หน้า: 1 ... 3 4 [5] 6 7 ... 9
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.061 วินาที กับ 20 คำสั่ง