เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 [2] 3 4 ... 9
  พิมพ์  
อ่าน: 31654 " รุ่งเรือง.. เมืองศิลป "
กุ้งแห้งเยอรมัน
แขกเรือน
สุครีพ
******
ตอบ: 1573



ความคิดเห็นที่ 15  เมื่อ 26 ม.ค. 08, 07:34

ดิฉันถามอาจารย์พิพัฒน์ว่า "วัดนี้ ณ อยุธยาที่เห็นมีพระพุทธรูปหลายสไตล์ พระนอนก็หน้าแบบหนึ่ง พระนั่งก็อีกหลายๆแบบ ไม่ทราบคติ หรือปรัชญา กว่าที่จะมาเป็นวันนี้ในรัตนโกสินทร์น่ะ ใครรู้บ้างว่าองค์ไหนมาก่อน มาหลัง มาเพิ่ม แล้วยังที่อยู่ในพระอุโบสถอีก
แต่นั่นไม่สำคัญเท่าอยากรู้จริงๆว่า วัดใหญ่ชัยมงคล หลวงพ่อองค์ไหนกันแน่ที่คู่วัด ที่เราเรียกได้ว่าเป็นหลวงพ่อออริจินัลน่ะค่ะ สำคัญยุคพอๆกับการสร้างเจดีย์"
นี่คือคำตอบค่ะ
"ที่วัดใหญ่ ของแท้ไปหมดแล้วครับ
ทั้งอยุธยา ของแท้ก็ไปหมดเหมือนกัน ไม่เว้นแม้แต่ที่สุโขทัย หรือที่อื่นๆ
มีเพียงในภาคเหนือ พอมีองค์แท้จริงติดก้นวัดบ้าง
ที่ตกหล่นอยู่ตามมุมต่างๆ นั้น ส่วนมากเป็นชิ้นส่วนที่ไร้ค่า
แต่สำคัญ เพราะอย่างน้อย ก็ทำให้เราทราบว่า ลักษณะของพระขนง ของพระนาสิก
ลายขมวดก้นหอยของพระเกษา ความลาดของพระนลาต
หรือการจำหลักร่องรอย ลวดลายต่างๆ ลักษณะเด่น เป็นอย่างไร
ยังมีอีกข้อหนึ่งก้อคือ บันดาพระศิลาทั้งหลายนั้น เมื่อสมบูาณ์ จะเคลือบรัก ปิดทอง
หรือตีแผ่นทองสัมฤทธิ์หุ้มอีกที
ลักษณะ ก็จะต่างออกไปอีก
เคยเห็นว่าด้านใน เป็นหินจำหลักดูเข้มแข็งแบบอู่ทอง แต่ส่วนที่เป็นผิวสมบูรณ์ กลับอ่อนหวาน
ทำให้งุนงงสงสัยเหลือประมาณ"
นี่คือเสน่ห์ของประวัติศาสตร์นะคะ คุณติบอ หมายความว่า เราก็ยังต้องศึกษา ตีความกันต่อไป เพราะวันนี้ เราน่าจะยกเลิกการท่องจำแล้ว มาคิด มาถาม หาคำตอบกันดีกว่า..
จากพระพุทธรูปที่เป็นความสงสัยของดิฉัน ยังต้องวกกลับมาที่พระเจดีย์ใหญ่ของวัดกันต่อค่ะ


บันทึกการเข้า
pipat
แขกเรือน
นิลพัท
*******
ตอบ: 1802


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 16  เมื่อ 26 ม.ค. 08, 10:36

คำถามเรื่องพระพุทธรูปองค์ใดหนอ ที่ "เคย" อยู่คู่วัดใหญ่ไชยมงคลนั้น เป็นคำถามสำคัญ
พูดแบบนี้ คุณกุ้งแห้งคงจะค้อนเสียหนึ่งวง ก่อนจะบอกว่า
แน่ล่ะซี ไม่สำคัญจะถามรึ

แต่....มันสำคัญอย่างไรกันหรือ
สำหรับผม เห็นว่าสำคัญ เพราะผมเห็นว่าพระพุทธรูปไม่มีความสำคัญที่วัดนี่....น่าซี

อ้าว....เป็นงั้นไป

เรื่องความสำคัญของพระพุทธรูปนี่ เป็นเรื่องสำคัญจริงๆ นะครับ
ไปวัดหลวงพ่อโต คือวัดพระเจ้าพแนงเชิงสิครับ หรือวัดมงคลบพิตรก็ได้
จะเห็นความสำคัญของพระพุทธรูปอย่างไร้เสียซึ่งข้อกังขา
เพราะเหตุว่า ทั้งวัด มีแต่พระพุทธรูปที่โดดเด่นเป็นสง่า พระมหาเจดีย์ไม่มีครับ

แล้วสร้างวัด ไม่สร้างเจดีย์ได้ด้วยหรือ....ได้สิครับ
ถ้าเช่นนั้น สร้างเจดีย์ แต่ไม่สร้างพระพุทธรูป(เพื่อเป็นพระประธาน) ก็ทำได้มั้ง
นีคือปมปัญหาที่ผมจะไขในเวลาข้างหน้า
บันทึกการเข้า
Kurukula
สุครีพ
******
ตอบ: 1303



ความคิดเห็นที่ 17  เมื่อ 26 ม.ค. 08, 18:07

เข้ามาชมครับ

ไม่ได้ไปวัดใหญ่ชัยมงคลมานานมากแล้ว ชักจะลืมเลือนไปว่าหน้าตายังไง ขอบคุณที่นำรูปมาให้ชมกันนะครับ

บันทึกการเข้า
กุ้งแห้งเยอรมัน
แขกเรือน
สุครีพ
******
ตอบ: 1573



ความคิดเห็นที่ 18  เมื่อ 27 ม.ค. 08, 09:47

ไหนๆก็เอ่ยถึงเจดีย์ มาดูทรงของเจดีย์วัดพระศรีสรรเพชญ์ อยุธยากันค่ะ สามองค์เรียงรายอยู่ในทรากเมืองอยุธยา ข้างๆวัดมงคลบพิตร


บันทึกการเข้า
กุ้งแห้งเยอรมัน
แขกเรือน
สุครีพ
******
ตอบ: 1573



ความคิดเห็นที่ 19  เมื่อ 27 ม.ค. 08, 10:03

มุมเสมอตา จุดที่คณะยืนอยู่มองเข้าไปหาบริเวณวัดพระศรีสรรเพชญ์ มุมนี้ค่ะ ที่อาจารย์หยิบดอกไม้ดอกเล็กๆเท่ามะลิลา ซึ่งร่วงอยู่ตามพื้นอิฐและหญ้าขึ้นมาชม เป็นดอกไม้ก้านสีแสด หอมอ่อนๆ สวยมาก ก้านราวดอกไม้ปลอม แต่จริง อาจารย์บอกว่าน่าจะเป็นดอกกรรณิการ์
กรรณิการ์นี้ ยังนำมาใช้ย้อมสีไหมด้วย น่าแปลก ที่ดอกขาว ก้านแสดนี้ ย้อมออกมาเมื่อต้องการสีเหลืองทองค่ะ


บันทึกการเข้า
กุ้งแห้งเยอรมัน
แขกเรือน
สุครีพ
******
ตอบ: 1573



ความคิดเห็นที่ 20  เมื่อ 27 ม.ค. 08, 10:29

ไกด์กิตติมศักดิ์เห็นเข้าแนะว่า ที่ฐานพระด้านบนมีลานที่จัดให้ไหว้พระ น่าจะเก็บรวบรวมไปไหว้ที่นั่น แล้วก็จริงค่ะ
กลีบก้านที่ร่วงหล่น ที่คนมองไม่เห็นค่า มีค่าทางความรู้สึกสำหรับเรา เมื่อขึ้นไปถึงฐานพระ แล้วเห็นพานดอกไม้ ที่จัดไว้..ว่างเปล่า
และเมื่อวางกลีบดอกอันสมบูรณ์ที่คัดมา ..
สวย และอิ่มใจ
ขอบคุณผู้ที่ให้ไอเดีย
ขอบคุณอาจารย์ที่ตาแหลมเห็นดอกไม้..ซึ่งเราอาจมองแค่ผ่านๆไป



บันทึกการเข้า
กุ้งแห้งเยอรมัน
แขกเรือน
สุครีพ
******
ตอบ: 1573



ความคิดเห็นที่ 21  เมื่อ 27 ม.ค. 08, 17:23

พามาดูเจดีย์วัดพระศรีสรรเพชญ์แล้ว กลับไปที่เจดีย์วัดใหญ่นะคะ
คุณpipat ตั้งข้อสังเกตว่า "รัชกาลพระนเรศวรนั้น ตรงกับ 2133-2148 เพียง 15 ปี
ในรัชกาลสั้นๆ นี้ ทรงทำศึกใหญ่ตลอดเวลา
2135 ยุทธหัตถี
2136 ศึกเขมร
2137 ศึกพระเจ้าแปร
2138-41 ศึกหงสาวดีครั้งที่ 1 และ 2
2147 ศึกเชียงใหม่-อังวะ
จะมีเวลามาสร้างพระมหาสถูประดับนี้ ได้อย่างไร
อย่างมากที่สุด ก็เห็นจะทรงปฏิสังขรณ์บ้างเท่านั้น"
และยังแนะให้ไปดูวัดวรเชษฐาราม
http://www.geocities.com/RainForest/7153/thai/ayut/way_wocet.htm
ซึ่งเป็นวัดที่สมเด็จพระเอกาทศรถ ทรงสถาปนาต่อจากงานพระเมรุสมเด็จพระนเรศวร
ลักษณะเป็นเจดีย์แบบองค์ระฆัง ฐานเตี้ย รูปทรงคล้ายกับเจดีย์อยุธยากลางทั้งหลาย
อีกวัดหนึ่งตือวัดวังชัย สร้างสมัยพระมหาจักรพรรดิ ยกบ้านเป็นวัด
http://academicdev.aru.ac.th/content/view/28/8/
ข้อมูลสองส่วนนี้ ล้อมกรอบไม่ให้สถาปัตยกรรมสมัยพระนเรศวร หนีไปทางใหนได้ไกลนัก
บันทึกการเข้า
กุ้งแห้งเยอรมัน
แขกเรือน
สุครีพ
******
ตอบ: 1573



ความคิดเห็นที่ 22  เมื่อ 27 ม.ค. 08, 17:28

จากการล้อมกรอบหน้า/หลัง
ทำให้เราพบว่า พระมหาสถูปแห่งวัดชัยมงคลนี้ แปลกสมัยชอบกลจริงๆ
วัดของพระมหาจักรพรรดิ เป็นวัดไม่ใหญ่ วัดที่พระเอกาทศรถสร้าง ก็ไม่ใหญ่
ต่างเป็นเจดีย์ฐานต่ำ องค์ระฆังเรียบๆ รูปทรงอวบ คล้ายกับพระเจดีย์ในช่วงนั้น
ไม่ได้ผิดแปลกกันเลย



"แต่ทำไมเจดีย์วัดใหญ่ชัยมงคล จึงใหญ่โตมโหฬารปานนั้น
มิหนำซ้ำ เป็นเจดีย์กลม ยกฐานสูง มีเจดีย์บริวารบนฐานยกชั้น ทั้งสี่มุม
สิ่งที่พึงสังเกตอย่างยิ่ง ก็คือ การทำเสาอิงประกบฐาน เรียงรายเป็นห้องๆ
นี้เป็นระเบียบทางสถาปัตยกรรมที่แปลกยุคจริงๆ
อันว่ามหาสถูปบนยกชั้นสูงอย่างนี้ เป็นคติที่ออกจะเก่าแก่กว่าสมัยพระนเรศวรอยู่เป็นอันมาก
ย้อนไปไกลถึงพระประโทนเจดีย์แห่งสมัยทวารวดีทีเดียว
ใหม่มาหน่อยก็คือพระบรมธาตุแห่งเมืองนคร
และที่อยู่ไกล้อยุธยาที่สุดนั้น ก็คือมหาสถูปแห่งเมืองสรรค์ ที่วัดพระแก้วเมืองสรรค์
มีระเบียบทางสถาปัตยกรรมที่เป็นชุดเดียวกัน...



บันทึกการเข้า
กุ้งแห้งเยอรมัน
แขกเรือน
สุครีพ
******
ตอบ: 1573



ความคิดเห็นที่ 23  เมื่อ 27 ม.ค. 08, 17:33

รูปที่  3 นั้น เป็นมุมสำคัญ
คือแสดงให้เห็นทางขึ้นทอดยามขึ้นสู่คูหาเรือนธาตุ
หมายความว่า มหาสถูปองค์นี้ กลวงข้างในครับ
ตรงนี้เป็นเงื่อนงำสำคัญทางช่าง
เพราะไปดูมหาสถูปแห่งวัดพระศรีสรรเพชญ์ ที่เรียงกันสามองค์ มหึมา
เทียบไปแล้วก็ยังเล็กกว่ามากมาย
แต่ไม่มีปัญญาสร้างกลวงขอรับ ทึบตันทั้งองค์ คูหาเรือธาตุก็เล็กมาก
พื้นที่เท่าลิฟต์ขนาด 12 คน
แต่ของวัดใหญ่ชัยมงคล ใหญ่สมชื่อ ทำเป็นห้องบรรยายได้เลย
เทคโนโลยี่ก่อกลวงอย่างนี้ เห็นการสิ้นสุดอยู่แถวๆ รัชกาลเจ้าสามพระยา
คือปรากฏครั้งสุดท้ายที่พระศรีรัตนมหาธาตุแห่งวัดราชบูรณะ หลังจากนี้ อาคารจะเป็นแท่งตันหมดแล่ว
หลานท่าน คือบรมไตรโลกนาถ ห่างมาไม่กี่ปี ก็ทำไม่เป็นแล้ว
แล้วพระนเรศวร ห่างออกมาอีกร้อยกว่าปี จะสร้างได้ฤา


บันทึกการเข้า
กุ้งแห้งเยอรมัน
แขกเรือน
สุครีพ
******
ตอบ: 1573



ความคิดเห็นที่ 24  เมื่อ 27 ม.ค. 08, 17:38

landmarkของอยุธยา  กับlandmarkของย่างกุ้งค่ะ(ภาพจากวิกิ)


บันทึกการเข้า
Kurukula
สุครีพ
******
ตอบ: 1303



ความคิดเห็นที่ 25  เมื่อ 27 ม.ค. 08, 18:11

คิดเห็นอย่างที่คุณกุ้งแห้งเยอรมันว่าจริงๆครับ

วัดใหญ่ชัยมงคลมีขนาดอันมหึมาเช่นนั้น มิควรสร้างสมัยพระนเรศวรแน่ๆ

1.แผนผังของวัด มีเจดีย์เป็นประธาน ด้านตะวันออกเป็นพระอุโบสถ ด้านตะวันตกเป็นพระวิหารหลวง 

           การวางผังเป็นแนวยาวเช่นนี้ เป็นลักษณะของผังอยุธยาตอนต้น ถ้าเปรียบเทียบกับวัดในสมัยอยุธยาตอนกลาง เช่นวัดวรเชษฐาราม ไม่ว่าจะเป็นวัดวรเชษฐ์ที่อยู่ในเมืองหรือนอกเมือง ผังตามแนวยาวเช่นนี้ก็ไม่ปรากฏแล้ว

2. ลักษณะของพระเจดีย์ ฐานสี่เหลี่ยมยกเก็จทรงสูง คล้ายคลึงกับวัดขุนเมืองใจอันสร้างขึ้นในสมัยอยุธยาตอนต้น ถัดขึ้นไปเป็นฐาน 8 เหลี่ยม

          เจดีย์ที่มีฐานรองรับองค์ระฆังทรงแปดเหลี่ยม บัลลังก์ก็เป็นทรงแปดเหลี่ยม นิยมอยู่ในช่วงอยุธยาตอนต้นครับ เช่นที่คุณกุ้งแห้งเยอรมันยกตัวอย่างมา วัดพระแก้วเมืองสรรค์ วัดพระรูปที่สุพรรณบุรี วัดกระช้าย วัดสามปลื้ม เจดีย์เหล่านี้นิยมค่อนข้างมากในเมืองแถบตะวันตก ขณะที่ระยะเวลาร่วมสมัยกันในเมืองหลวง กลับนิยมสร้างปรางค์


3. การประดับเจดีย์บริวารบนฐานแปดเหลี่ยม และการเล่นระดับฐานที่เพิ่มเหลี่ยมขึ้นเรื่อยๆ จากสี่เหลี่ยม เป็นแปดเหลี่ยม และเป็น ทรงกลม คล้ายคลึงกับวัดพระแก้วเมืองสรรค์

แต่ก็ทำให้ผมนึกถึงเจดีย์สมัยเมืองพุกามขึ้นมาเช่นกัน
บันทึกการเข้า
Kurukula
สุครีพ
******
ตอบ: 1303



ความคิดเห็นที่ 26  เมื่อ 27 ม.ค. 08, 18:21

เจดีย์ชเวสิกง เมืองพุกามครับ เป็นเจดีย์แบบพม่าแท้ สังเกตดูว่าฐานล่างสุดเป็นสี่เหลี่ยมยกเก็จเช่นกัน

ถัดขึ้นมาเป็นฐานแปดเหลี่ยม รองรับองค์ระฆังทรงกลมครับ

และยังมีเจดีย์จำลองหรือ สถูปิกะ ขนาดเล็กประดับด้านบนของฐานสี่เหลี่ยมอีกด้วย


คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
กุ้งแห้งเยอรมัน
แขกเรือน
สุครีพ
******
ตอบ: 1573



ความคิดเห็นที่ 27  เมื่อ 27 ม.ค. 08, 21:31

คิดเห็นอย่างที่คุณกุ้งแห้งเยอรมันว่าจริงๆครับ

วัดใหญ่ชัยมงคลมีขนาดอันมหึมาเช่นนั้น มิควรสร้างสมัยพระนเรศวรแน่ๆ ...ฯลฯ

เป็นความคิดของคุณPipatค่ะ คุณกุรุกุลา จากการคุยกัน ดิฉันถ่ายทอดมาอีกที

ภาพเจดีย์ชเวสิกงยามค่ำ เป็นผลงานถ่ายภาพของคุณหรือเปล่าคะ
..อย่าลืมมาเล่าต่อนะคะ อยากฟังค่ะ
บันทึกการเข้า
pipat
แขกเรือน
นิลพัท
*******
ตอบ: 1802


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 28  เมื่อ 27 ม.ค. 08, 23:48

พิจารณาทีละข้อนะครับ
1 ทำเลที่ตั้ง
แถวๆ นั้น เป็นแหล่งข้อมูลยุคใหน มีวัดสมัยใหนมาก อาจจะช่วยบ่งชี้ได้พอสมควร
คำตอบก็คือวัดที่ไกล้สุด พระเจ้าพแนงเชิง มีระบุในพงศาวดารฉบับหลวงประเสริฐ(ฉบับเดียว)
ว่า สถาปนาปี 1867 ก่อนสถาปนากรุงศรีอยุธยา 1893 ถึง 26 ปี
จะแปลว่ากระไรดีล่ะ 26 ปีนี้ ไม่ใช่เวลาเล็กน้อย คิดเฉลี่ยก็ตกหนึ่งรัชกาล
แปลว่าเมื่อพระเจ้าอู่ทองเริ่มสร้างกรุงศรีอยุธยานั้น แถวนี้ก็เป็นเมืองไม่เล็กแล้ว
กำลังผู้คนที่จะสร้างพระโตขนาด 7 วา 10 นิ้ว สูงตลอดรัศมี 9 วา 2 ศอก เช่นนี้ ต้องมีเป็นพันๆ คนเป็นอย่างน้อย
ลองเทียบจากการสร้างวัดโพธิ์ครั้งรัชกาลที่ 1 ก็พอจะเดาออก เพราะโปรดให้ถมดิน แล้วทิ้งให้ยุบตัว 2 ปี
รวมเวลาสร้างถึงเจ็ดปีครึ่ง

แล้วพระพุทธรูปขนาดสูงถึง 20 เมตรเช่นนี้ (เท่ากับตึก 6 ชั้น) ค่าปิดทองทั้งองค์ จะมากมายมหาศาลเพียงใหน
ด้วยกำลังคนและความร่ำรวยขนาดนี้ จะสร้างพระมหาสถูปอีกสักองค์ จะมิได้เชียวหรือ

มีข้อสังเกตุอีกอย่างก็คือ นอกเกาะเมืองอยุธยาด้านนี้(ด้านทางรถไฟ) วัดที่เรียงราย มีสร้างเป็นพระปรางค์ใหญ่เพียงวัดเดียว
นอกนั้นเป็นสถูปรูปองค์ระฆังทั้งสิ้น ข้อนี้ อาจจะแสดงยุคสมัยได้พอสมควร
คือเมื่อเข้าสู่ยุคที่การสร้างวัดนิยมสร้างพระปรางค์เป็นหลักของสถานที่ (จะองค์เล็กหรือองค์ใหญ่ก็ตาม)
ท่านไม่ได้มาสนใจท้องที่แถบนี้เลย

แปลว่าวัดทั้งหลายด้านนี้ สร้างในสมัยปลอดพระปรางค์
ก็คือไม่ต้นอยุธยา ก็ปลายไปเลยหรืออย่างไร
บันทึกการเข้า
กุ้งแห้งเยอรมัน
แขกเรือน
สุครีพ
******
ตอบ: 1573



ความคิดเห็นที่ 29  เมื่อ 28 ม.ค. 08, 09:54

ระหว่างรอการค้นคว้าต่อของคุณpipat ดิฉันใช้เวลาพิศดูเจดีย์วัดใหญ่ชัยมงคลไปพลางๆ งามค่ะ งาม ทรวดทรงองค์เอว ไม่ต้องปิดทอง จับเทียบคู่มหาเจดีย์ชเวดากอง ก็บอกความเป็นไทย เมืองศิลปที่รุ่งเรืองชัดเจน
รูปพระเจดีย์ที่นครปฐม ที่นำมาลงเป็นฝีมือของคุณพอล ถ่ายจากภาพเขียนที่ในพระอุโบสถวัดเบญจมบพิตรเมื่อเร็วๆนี้เอง
เสียดายที่ไม่มีรูปเจดีย์ศิลปะสุโขทัยมาเปรียบเทียบ แค่วัดใหญ่วัดเดียว เราก็ต้องศึกษาข้อสันนิษฐานก่อน
บันทึกการเข้า
หน้า: 1 [2] 3 4 ... 9
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.054 วินาที กับ 20 คำสั่ง