เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 ... 4 5 [6] 7 8 9
  พิมพ์  
อ่าน: 31736 " รุ่งเรือง.. เมืองศิลป "
Oam
แขกเรือน
ชมพูพาน
***
ตอบ: 168



ความคิดเห็นที่ 75  เมื่อ 01 ก.พ. 08, 09:45

ชอบที่คุณ elvisbhu เขียนครับ

ตอนแรกว่าจะแอบชมหลังไมค์ แต่มีคนบอกว่า ชมออกหน้าเวทีไปเลย

ไม่รู้จะใช้คำชมว่าอย่างไรดี เอาเป็นว่า

ชอบมากกกกกกกกกกกกก

เขียนมาอีกนะครับ จะรออ่าน

ลงชื่อ แควนคลับ ยิ้ม
บันทึกการเข้า
elvisbhu
แขกเรือน
พาลี
****
ตอบ: 215

เป็นคนเขียนรูป


ความคิดเห็นที่ 76  เมื่อ 01 ก.พ. 08, 10:16

ขอบคุณครับคุณ Oam
เสียวอยู่เหมือนกัน ...เพื่อนๆ เขียนเชิงวิชาการกันอยู่ดีๆ
สมาชิกอีกคน บ๊องเข้ารกเข้าพงไปซะแล้ว

บันทึกการเข้า
pipat
แขกเรือน
นิลพัท
*******
ตอบ: 1802


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 77  เมื่อ 01 ก.พ. 08, 10:31

กฏมณเฑียรบาลกำหนดว่า
พระเจ้าอยู่หัวเสด็จสู่ถ้ำหรือคูหาปรางค์ใดๆ ก็ดี
ให้เจ้าพนักงานตรวจค้นหนึ่งรอบ แล้วค้นอีกหนึ่งรอบ จนแน่ใจว่าปลอดภัย
จึงเชิญเสด็จ

ไม่แน่ใจว่า ทั้งแผ่นดิน มีกี่คนที่ได้ขึ้นบันไดแก้วทอดยาวสู่คูหาศักดิสิทธิ์
เราไม่ขึ้นไปเพื่อชมทัศนียภาพนะครับคุณกุ้งแห้ง ....พระมหาสถูปมิใช่หอไอเฟล
เราขึ้นไปเพื่อเข้าถึงสิ่งสูงส่งที่เราศรัทธาขนาดอุทิศแผ่นดินถวายได้

การเข้าบูชา "ภายใน" ของอนุสรณ์สถาน
ปฏิบัติกันมาตั้งแต่ที่อาชันตาแล้วครับ ราวๆ พศ.800-1000
คนยุคนั้น เคารพภูเขาศักดิสิทธิ์
หากภูเขานั้น มีสิ่งสำคัญอยู่ภายใน ยิ่งเคารพเป็นทวีคูณ
เมืองใดมีภูเขาเป็นหลัก จึงเป็นเมืองที่สมบูรณ์แบบตามอุดมการ
หากไม่มีภูเขา ...สร้างจำลองขึ้น ก็ไม่แปลก

คงคุ้นกันนะครับว่าภูเขาในตำนานพระพุทธศาสนา และในลัทธิพราหมณ์นั้น
สำคัญอย่างไร
บันทึกการเข้า
กุ้งแห้งเยอรมัน
แขกเรือน
สุครีพ
******
ตอบ: 1573



ความคิดเห็นที่ 78  เมื่อ 01 ก.พ. 08, 10:37

มิได้ค่ะ คุณพพ. มิใช่ไว้ให้ข้าแผ่นดิน เช่นพ่อมีแม่บัวชมวิว
เป็นที่ประกอบพิธีจะสงฆ์ หรือยามศึก ก็หอดูข้าศึก
ยามน้ำหลาก น้ำท่วม ก็ไว้ดูทุกข์สุขของราษฎรค่ะ
บันทึกการเข้า
ติบอ
นิลพัท
*******
ตอบ: 1906


Smile though your heart is aching.


ความคิดเห็นที่ 79  เมื่อ 01 ก.พ. 08, 13:05

โดยส่วนตัวผมยังไม่คิด ว่าการใช้งานคูหาเจดีย์
หรือครรภคฤหของปรางค์จะทำขึ้นเพื่อจุดประสงค์อย่างพี่กุ้งฯว่ามาครับ

ลองพูดถึงพระปรางค์ที่เก่าที่สุดองค์หนึ่งของกรุงเทพทวารวดีศรีอยุธยา
อย่างพระปรางค์วัดพระรามดู...... ทำไมผมต้องพูดถึงที่นี่
เพราะที่นั่นมีจิตรกรรมยุคอยุธยาตอนต้นที่ค่อนข้างสมบูรณ์มากอยู่ครับ
จิตรกรรมสีสันสดใสสวยงาม บนพื้นภาพขาว และแต่งแต้มด้วยสีสารพัด
ชนิดที่เรียกว่าตำรานักเรียนมัธยมที่สอนเราว่า
จิตรกรรมสมัยอยุธยาตอนต้นนิยมสีเอกรงค์ต้องม้วนเสื่อกลับบ้านกันไปเลยทีเดียว

แต่จิตรกรรมที่นั่นยังคงสภาพได้ดีมากครับ......
ถ้าคนขึ้นไปกันมาก ความงามของจิตรกรรมคงไม่เหลือเท่าที่เห็นทุกวันนี้ไปนานแล้ว
แต่นี่อดีตพุทธแผงใหญ่สวยงามยังรอเทศนาโปรดผู้ไปเยือนทุกคนมาจนถึงปัจจุบันนี้





อีกประการหนึ่งคือผมเข้าใจว่าพื้นฐานทางความคิดของคนแต่ละยุค มีไม่เท่ากันครับ
เหมือนที่ครั้งหนึ่งพระพิมพ์มีเอาไว้บรรจุกรุเพื่อบ่งบอกมนุษย์เมื่อสิ้นศาสนาแล้วว่า
ในอดีตกาลนั้น คำสอนของพระพุทธองค์เป็นที่เคารพบูชายิ่ง
แต่ในอีกยุคถัดมา พระพิมพ์ดันกลายเป็นเครื่องรางของขลัง ถูกนำมาห้อยคอ กรุต่างๆถูกทุบทำลาย
เพื่อขุดคุ้ยสมบัติคนตายมาไว้ในครอบครอง..... เพราะวิธีคิดมันเปลี่ยนไปครับ

เจดียสถานเองก็คงไม่ต่างกัน ที่เมื่อศรัทธายังเป็นจารีตของคนอยู่
การจะป่ายปีนขึ้นไปคงไม่ใช่เรื่องเหมาะสมนักนะครับ



ปล. ตามหาผู้เชี่ยวชาญด้านฟิสิกส์อยู่ครับ
ในเรือนไทยสมัยยังขึ้นเป็นตำบลหนึ่งของแขวงเมืองวิชาการจุดคอมพ์ผมจำได้ว่าเคยเห็นมีอยู่หลายท่าน
แต่ปัจจุบันพอแยกตัวเป็นแขวงเมืองเรือนไทย ก็ไม่ค่อยเห็นชื่อท่านเข้ามาตอบคำถามกัน
(ไม่ทราบจะมีท่านไหนว่างพอจะมาเห็นข้อความของผมมั้ยนี่ ?)

ผมอยากได้คำอธิบายทฤษฎีของคุณเอลวิสจังครับ
เพราะโดยส่วนตัวผมรู้สึกเหมือนว่ามันจะเป็นไปได้ยาก
ที่เสียงสาธยามนต์หลายเสียงที่สะท้อนอยู่ในองค์ระฆังจะลอยออกมาชัดเป็นถ้อยเป็นคำน่ะครับ
มันน่าจะออกมาคล้ายๆเวลาเราได้ยินเสียงแขกสวดมนต์ที่มัสยิตมากกว่า

แล้วถ้าเสียงจะสะท้อนออกมาได้ ความหนาแน่นของอากาศเมื่อเวลาต่างกันที่มีอุณหภูมิต่างกัน
จะมีผลต่อเสียงที่สะท้อนลงมายังพื้นราบต่างกันมั้ย ?? เวลาไหนจะดีที่สุดครับ ??
(ถามมากจัง น่าปวดหัวเนาะ)ฮืม
บันทึกการเข้า
pipat
แขกเรือน
นิลพัท
*******
ตอบ: 1802


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 80  เมื่อ 01 ก.พ. 08, 13:34

เออ.....เอากะเขาดิ
คุยเรื่องสถูปเจดีย์อยู่แป๊ปๆ....กลายเป็นเรื่องโฮมเธียรเตอร์ซะแระ

ในสมัยรัชกาลที่ 5 เมื่อประทับ ณหัวเมืองใด จะโปรดฟังเสียงพระทำวัตร
แม้มิได้เสด็จไปที่พระอุโบสถ แต่เสียงสวดย่อมลอยมาตามอากาส
วัดใดสวดไพเราะ จะทรงพระราชทานรางวัล

ข้อนี้เห็นได้ว่า อำนาจความถี่เสียง จากคณะสงฆ์ในพระอุโบสถ ย่อมเดินทางไปทั่วอาณาบริเวณ
นับเป็นกิโลเมตร (ใครอยู่ตจว. คงทราบข้อนี้ดี)
เพราะเมื่อร้อยปีย้อนลงไป เมืองไทยไม่มีขยะเสียง มีแต่ความสงัด สงบ และมีแต่เสียงไม่ไร นกหนูปูปลา
หามีเสียงทีวี หรือทรานซิสเตอร์อันใดไม่ไม่
จำได้ว่าเมื่อยังหนุ่ม กำลังรังวัดปราสาทปูมิโพน ได้ยินเสียงร้องเพลงดังมาแว่วๆ แต่ชัดมาก
อีหนูร้องอยู่ห่างไปตั้งหลายร้อยเมตร

ดังนั้น เราจึงไม่ต้องอาศัยลำโพงแบบคูหาปรางค์หรือสถูป เพื่อช่วยเสริมกำลังเสียง
อ้อ....อิสลามท่านก็ใช้หอสูงโดดเดี่ยว กระจายเสียงครอบคลุมอาณาบริเวณ
โดยไม่มีระบบอะคูสติค นอกจากลำคอและริมฝีปากเท่านั้น

แต่ในแง่สุนทรียะแล้ว
เสียงสวดมนตร์ที่มีมหาสถูปเป็นฉากหลัง ถือว่าอลังการณ์งานสร้าง โน้มน้าวศรัทธายิ่งนัก
และน่าจะเป็นบรรยากาศที่ชาวอยุธยาคุ้นเคย จวบจนสิ้นกรุง
บันทึกการเข้า
Oam
แขกเรือน
ชมพูพาน
***
ตอบ: 168



ความคิดเห็นที่ 81  เมื่อ 01 ก.พ. 08, 14:18

น่าสนใจครับ เจดีย์ (อาจจะรวมถึงพีระมิด) ก็เป็นเหมือน Time Capsule เก็บข้าวของ ของคนโบราณ ส่งไปให้คนในอนาคตดู
เคยเห็น botanical garden บางแห่ง ใส่เมล็ดพืชไว้ในแคปซูล เผื่อให้ลูกหลานในอนาคตปลูกกิน (ถ้ายังมีที่ดินอุดมสมบูรณ์ให้ปลูก)

เลี้ยวกลับมาเรื่องคันศีรษะ ที่คุณพิพัฒน์พูดว่าเจดีย์วัดใหญ่นั้นทำเพื่อให้เข้าไปบูชาข้างใน หมายถึงพิธีทางพุทธอย่างนั้นหรือครับ???
เพราะถ้ามีโบสถ์อยู่ข้างล่างแล้ว จะถ่อปีนกระไดขึ้นไปทำอะไรบนนั้น แล้วถ้าจะทำพุทธกิจ พระสงฆ์องค์เจ้าไม่ต้องเหาะกันจีวรปลิวขึ้นไปบนนั้นด้วยหรือ???
บันทึกการเข้า
elvisbhu
แขกเรือน
พาลี
****
ตอบ: 215

เป็นคนเขียนรูป


ความคิดเห็นที่ 82  เมื่อ 01 ก.พ. 08, 16:47

คุณติบอจะต้องไปหาผชช.ทางฟิส่งฟิสิกค์มาทำไม เอาง่ายๆ ผมเจอมากะตัวเอง ตกเย็น เดินตามตลาด ในดูไบ ไปตามตรอกซอกซอย เสียงสวดมนต์กระหึ่ม ฟังแล้วพุทธยังขนลุก โดยไม่ต้องมีเครื่องขยายเสียง
คนๆเดียว สวดมนต์ดังจากมัสยิดไหนไม่ทราบ
แล้วลองนึกภาพ วันพิเศษที่เจดีย์วัดใหญ่ชัยมงคลวันหนึ่ง อาสาฬหะ หรือมาฆะ หรือวิสาขะก้ได้ พระสงฆ์สองร้อยกว่ารูปสวดมนตร์พร้อมๆกัน พุทธัง สรณัง คัจฉามิ...
เพื่อนสนิทผมเล่าว่า พลังของการสวดพร้อมๆกัน ของคนจำนวนมากหน้าสระน้ำแห่งหนึ่ง ทำให้มวลในน้ำในสระเรียงโมเลกุลกันตรงแหนว กลายเป็นน้ำบริสุทธิ์ที่รักษาโรคได้
แล้วอุตส่าห์สร้างเจดีย์ใหญ่ไว้เงยหน้ามองโดยไม่ใช้งาน
ปปมด.ครับ..
................. ขยิบตา
จินตนาการผมครับ อย่าคิดมาก
บันทึกการเข้า
Kurukula
สุครีพ
******
ตอบ: 1303



ความคิดเห็นที่ 83  เมื่อ 01 ก.พ. 08, 18:08

เคยไปถ้ำอชันต้าครั้งหนึ่งในอินเดีย

ปรากฏว่ามีคณะป้าๆแสวงบุญ นำโดยหลวงพ่อสักองค์หนึ่ง ซึ่งยังมีเรี่ยวแรงปีนบันไดหินขึ้นมาได้

หลวงพ่อก็นำชมกันสักพัก แล้วก็เริ่มต้นสวดมนตร์กันในถ้ำวิหาร ซึ่งมีสายตาของพระโพธิสัตว์ขนาดมหึมาจับจ้องอยู่รอบตัว


เสียงสวดมนตร์ก็เหมือนบทสวดทั่วๆไปในประเทศไทย แต่ว่ามันทรงพลังกังวานก้องกระหึ่มกาหล สะท้อนสะท้านไปทั่วทั้งมณฑล


ไม่น่าเชื่อว่าแค่เสียงสวดมนต์ที่ฟังไม่รู้เรื่องจะให้ผลทางจิตใจถึงขนาดนี้


ส่วนเจดีย์ชัยมงคลนั้น จะเป็นสถานที่สวดมนต์หรือไม่ ก็มิอาจรู้ได้

ผมทราบเพียงว่า หากจะทำสังฆกรรม ย่อมต้องทำให้พระอุโบสถที่มีการผูกพัทธสีมาเรียบร้อยแล้ว


คูหาเจดีย์นั้น อาจเกิดขึ้นเพื่อการอื่นมากกว่า
บันทึกการเข้า
pipat
แขกเรือน
นิลพัท
*******
ตอบ: 1802


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 84  เมื่อ 01 ก.พ. 08, 20:11

โอ้...สนุกหลาย
มีคนเล่าว่า เพียงพระแก่รูปเดียว เสียงสวดมนต์ของท่าน ทำกระเบื้องหลังคาสั่น แล้วร่วงลงมาได้
พลานุภาพแห่งเสียงนั้น ไม่ต้องสงสัยครับ และใช้แม้ในการบำบัดรักษาด้วยซ้ำไป

ขอกลับมาที่แชมพูแก้รังแคของคุณโอมต่อ

อันที่จริงแล้ว ที่พวกเราขบคิดกันมานั้น น่าสนใจนักทีเดียว
เราไม่มีความรู้เลย ว่าพุทธพิธีในครั้งนั้นทำอย่างไร
เอกสารครั้งรัชกาลที่ 1 เล่าแต่เพียงว่า ในการฉลองกรุงรัตนโกสินทร์และวัดพระแก้ว
นิมนต์คณะสงฆ์ขึ้นเชิงเทินสีมาสวดรอบพระนคร
ช่างยิ่งใหญ่ลึกซึ้งเสียนี่กระไร

คูหาบนพระปรางค์ หรือในสถูปอย่างวัดใหญ่
ไม่ใหญ่ขนาดให้สงฆ์นั่งปรก ถ้านั่งก็คงทำอะไรมากกว่านั้นไม่ได้
พระเจ้าแผ่นดินต้องมาประทับคอยที่ตีนกระไดแก้วหรือ
ผมว่าน่าจะกลับกัน

คือการสวด คณะสงฆ์ เครื่องประกอบ เครื่องอลังการณ์....ฯลฯ
ต้องกระทำที่ลานด้านล่าง
บันทึกการเข้า
Bana
องคต
*****
ตอบ: 439



ความคิดเห็นที่ 85  เมื่อ 01 ก.พ. 08, 22:44

ถ้าวิเคราะห์ว่าพระเจดีย์องค์นี้เป็นกูฏาคาร  ซึ่งอาจเป็นอุโปสถาคารหรือเป็นหอสวด  ก็คงดูไม่ยากครับสำหรับผู้ที่เคยไป  ถ้าเป็นอุโปสถาคารก็ต้องมีเขตสีมาหรือร่องรอยให้เห็น  แต่ถ้าเป็นหอสวดหรือที่ประกอบพิธีอะไรก็ตามที่มีการสวด  ต้องมีช่องระบายเสียงครับ  แถบบ้านผมเรียกป่องเอี๊ยม  ถ้าสวดในที่ตันๆมีทางออกทางเดียวเสียงจะสะท้อนหลงกันครับ  แต่ถ้าจินตนาการเห็นหมู่สงฆ์เรียงแถวกันขึ้นตามบันใดพระเจดีย์ไปสวดมนต์ทุกวัน  ก็เป็นภาพที่สวยงามและน่าศรัทธา  และถ้าได้ฟังเสียงสวดมนต์ด้วยแล้ว  ได้ยินแน่ๆครับถ้าเป็นยุคก่อนๆที่ผู้คนยังหูไม่หนักและความหนาแน่นในอากาศน้อย(เห็นด้วยกับท่านพิพัฒน์)  เพราะที่บ้านผมเมื่อตอนผมเด็กๆเสียงหมอลำปากเปล่าไม่มีเครื่องขยายเสียง  ยังดังข้ามทุ่งได้ยินไกลหลายร้อยเมตรเลยครับ....... ยิ้มเท่ห์
บันทึกการเข้า
กุ้งแห้งเยอรมัน
แขกเรือน
สุครีพ
******
ตอบ: 1573



ความคิดเห็นที่ 86  เมื่อ 02 ก.พ. 08, 09:10

ดีเหมือนกันนะคะ ถ้าไปดูเจดีย์เก่าแก่ ซากปรักหักพังแบบไม่รู้ว่าทรงระฆังลังกาพม่าฮินดูหรือมอญ
หรือมีไว้เพื่อเก็บพระบรมสารีริกธาตุ พระธาตุ เขามีที่ให้นมัสการก็นมัสการไปด้วย
ไม่ดูที่ประวัติความเป็นมาและความสวยอย่างเดียว
แต่ไปแบบมีจินตนาการเสริมแบบละคร หนัง
เห็นภาพในอดีต ผู้คนขวักไขว่เหมือนไปงานวัด
ชีวิตผู้คนพลุกพล่านทุกสายอาชีพ เหมือนเป็นศูนย์รวมของคนที่ต้องไปเจอกัน
พบรัก จีบกัน ต่อยกันเพราะเขม่นแย่งสาว
ดูลิเก ลำตัด ละครรำ ละครร้องไปด้วย
ชีวิตไทยๆสมัยอู่ทอง อยุธยา ก็คงประมาณนั้น
วัดเป็นที่รวมทั้งไพร่กฎุมพี ขุนนาง ศิลปิน กวี พระและเจ้า..ในวันพิเศษ
วันธรรมดา เป็นโรงเรียน เป็นโรงหมอ ฯลฯ  (และโรงทาน???)
อย่างวัดพระเชตุพนฯที่ท่านจำลองทุกอย่างเท่าที่ทำได้ ของสมัยอยุธยามาให้ชม

..............
บันทึกการเข้า
กุ้งแห้งเยอรมัน
แขกเรือน
สุครีพ
******
ตอบ: 1573



ความคิดเห็นที่ 87  เมื่อ 02 ก.พ. 08, 09:31

นี่เป็นภาพจากเน็ตที่รวมวัดวรเชษฐาราม ที่พระเอกาทศรถสร้างให้พระนเรศวรค่ะ ไม่ได้ไปถ่ายเอง นำมาลงประกอบ ก่อนที่เราจะช่วยกันคิดต่อไป


บันทึกการเข้า
elvisbhu
แขกเรือน
พาลี
****
ตอบ: 215

เป็นคนเขียนรูป


ความคิดเห็นที่ 88  เมื่อ 02 ก.พ. 08, 11:52

ว่าด้วยเรื่องเสียงธรรมชาติ สถาปนิกไทยสมัยนั้น Creative มาก
ทฤษฎีเจดีย์กลวง น่าจะมาจาก Idea นี้
ผมลองทำผังเล่นๆให้ดูครับ


บันทึกการเข้า
pipat
แขกเรือน
นิลพัท
*******
ตอบ: 1802


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 89  เมื่อ 02 ก.พ. 08, 12:29

ไม่อยากค้านเลย แต่ไม่ค้านไม่ได้ครับ

1 เราไม่รู้ว่าพระท่านเข้าไปสวดในคูหาหรือไม่ จำนวนเท่าใด เสียงดังระดับใหน

2 ถ้าสวดในนั้นจริง เสียงจะวิ่งกระทบผนังคูหากระทบกันไปมา อาจจะหักล้างกัน หรือเสริมกัน
ในกรณีหลัง จะเกิดอาการส่งเสียงแบบป้องปากพูด เสียงจะมีโฟกัสและทิศทาง
ทำให้ไม่กระจายเสียงออกเหมือนทฤษฏีเคาะระฆังครับ

3 ส่วนการเคาะระฆังนั้น เสียงเกิดจากแรงกระทำต่อวัสดุที่เป็นโลหะ เกิดเป็นคลื่น
เกิดทั้งในระฆังและผิวระฆัง การกระจายเหมือนหย่อนหินลงบ่อน้ำ คือกระจาย 360 องศา ทิศทางไม่แน่นอน

4 มีข้อแตกต่างอย่างสิ้นเชิงระหว่างสองตัวอย่าง
คือเมื่อเคาะระฆัง เสียงเกิดจากโลหะคือองค์ระฆัง คุณภาพเสียงเป็นไปตามคุณภาพวัสดุ
แต่พระสวด เสียงมาจากมนุษย์ องค์ระฆังเป็นปูน ไม่อาจส่งเสียงครับ มีแต่ดูดเสียงเพราะมีรูพรุนทั้งองค์
บันทึกการเข้า
หน้า: 1 ... 4 5 [6] 7 8 9
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.052 วินาที กับ 19 คำสั่ง