เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 2 3 [4] 5 6 ... 9
  พิมพ์  
อ่าน: 31656 " รุ่งเรือง.. เมืองศิลป "
pipat
แขกเรือน
นิลพัท
*******
ตอบ: 1802


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 45  เมื่อ 30 ม.ค. 08, 01:04

เอาละ มาจำลองเหตุการณ์กัน

ปี 1893 ท้าวอู่ทอง ท่านมาเนรมิตเมืองขึ้นตรงคุ้งน้ำแห่งความอุดมสมบูรณ์
เป็นที่ซึ่งแม่น้ำหลายสายมาเจ๊อะกัน
ถามว่า ที่ดีๆ ทำเลทองอย่างนั้น....ทำไมต้องรอท้าวอู่ทองมาสร้างเมืองล่ะ
ในเมื่อก่อนหน้านั้นตั้ง 26 ปี มีของใหญ่ๆ ตั้งประดิษฐานอยู่หลายแห่ง
เขาจะยอมให้ละหรือ ถ้าเป็นกษัตริย์มาจากถิ่นอื่น

ถามต่อว่า แล้วสร้างพระนครสำเร็จ เมืองใหม่กับเมืองเก่า สัมพันธ์กันอย่างไร
เอ้า...ใหนๆ ก้อถามนัก เอาไปอีกข้อหนึ่ง

สองเมืองนี่ ถือศาสนาต่างกันใหม ถ้าเป็นพุทธ เป็นพุทธแบบใด
อย่างน้อยในปีแถวๆ นั้น ที่สุโขทัย เขาก็ถกเถียงกันแทบเป็นแทบตาย ว่าพุทธใดจึงเป็นของแท้
ตำนานเก่าๆ เช่นมูลศาสนากับชินกาลมาลีปกรณ์ ต่างก็เล่าเรื่องความขัดแย้งทางคตินี้ไว้ ไม่ปิดบัง

พระเจ้าอู่ทอง ปฐมกษัตริย์แห่งอยุธยา ท่านยกนิกายใดขึ้นเป็นประธานเล่า

ถามมากจนหนุ่มโอมอาจจะสติแตก
แต่เรื่องเช่นนี้ หลอกล่อจินตนาการออกจากสไปนั่ล ขอร์ด ....อุปส์ มิใช่สิ
ออกจากคลังปัญญาดีนักแล

คิดดูสิ กษัตริย์หนุ่ม มาสร้างเมืองใหม่ ในดงศาสนสถานขนาดมโหฬาร
เอ.....ท่านจะให้สร้างสถูปแบบวัดใหญ่ไชยมงคลด้วยไม้น๊า.......
บันทึกการเข้า
pipat
แขกเรือน
นิลพัท
*******
ตอบ: 1802


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 46  เมื่อ 30 ม.ค. 08, 01:25

นำหนึ่งรูป มาปักหมุด
สถูปบันจุพระบรมสารีริกธาตุ ในกรุพระปรางค์วัดราชบูรณะ
ปีสร้างพระปรางค์นี้ อาจจะไม่แน่นอนขนาดระบุวันเดือนปีที่แท้จริงได้

แต่สร้างในรัชกาลเจ้าสามพระยา ...ข้อนี้ คงไม่ต้องเถียง
นี่จึงเป็นศิลปะวัตถุอันกำหนดอายุสมัยที่แน่ชัดมากที่สุด ชิ้นหนึ่ง

ถามว่า เหมือน หรือไม่เหมือนพระมหาสถูปแห่งวัดใหญ่ไชยมงคล

ใครจะลองวางวินิจฉัยดูถี....อยากทราบอ่ะครับ


บันทึกการเข้า
Kurukula
สุครีพ
******
ตอบ: 1303



ความคิดเห็นที่ 47  เมื่อ 30 ม.ค. 08, 19:54

ครับ


บันทึกการเข้า
Kurukula
สุครีพ
******
ตอบ: 1303



ความคิดเห็นที่ 48  เมื่อ 30 ม.ค. 08, 20:04

ผมคิดว่าเจดีย์ที่คุณ Pipat อัญเชิญขึ้นมาจากกรุพระปรางค์วัดราชบูรณะคงคล้ายๆตัวอย่างนี้น่ะครับ

เป็นเจดีย์ลพบุรีสมัยพุทธศตวรรษที่ 18 ก่อนอยุธยาศตวรรษกว่าๆ

คิดว่ามีอะไรหลายอย่างที่เหมือนน่ะครับ เช่นเครื่องยอดที่ไม่ทำปล้องไฉนเป็นปล้องๆถี่ๆ เหมือนอยุธยา

หรือบัลลังก์กลม

ที่เหมือนขึ้นไปอีกน่าจะเป็นฐานรองรับองค์ระฆังที่เป็นกลีบบัวคว่ำบัวหงาย

ตัวอย่างในกรุวัดราชบูรณะน่าจะมาจาก เจดีย์เขมร ผสม องค์ระฆังกลมที่เอวไม่คอด แบบสุโขทัย

ซึ่งก็มีเรื่องซุบซิบเป็นพงศาวดารว่า เจ้าสามพระยามีสัมพันธ์กับกรุงสุโขทัยอยู่แล้ว



อีกตัวอย่างหนึ่งครับ เป็นเจดีย์ทรงปราสาทยอดที่หน้าตาเหมือนสุโขทัย แต่อยู่ที่วัดมหาธาตุอยุธยา


บันทึกการเข้า
Oam
แขกเรือน
ชมพูพาน
***
ตอบ: 168



ความคิดเห็นที่ 49  เมื่อ 30 ม.ค. 08, 20:11

ด้วยสายตาของผู้ไม่เชี่ยวชาญเรื่องสถูปเจดีย์

ผมเห็นว่าไม่เหมียนกันครับ

สถูปวัดใหญ่ออกจะสูงชะลูด สถูปจำลองดูป้อมๆ เห็นแล้วนึกถึงพระปฐมเจดีย์

(ปักหมุดถอนง่าย รอว่าเมื่อไรจะมีรายการคุณพิพัฒน์ตอกเสาเข็มเสียที) ยิ้มเท่ห์
บันทึกการเข้า
elvisbhu
แขกเรือน
พาลี
****
ตอบ: 215

เป็นคนเขียนรูป


ความคิดเห็นที่ 50  เมื่อ 30 ม.ค. 08, 21:20

ยิ้มเท่ห์ ปักได้ ก็ถอนได้นะขอรับ


บันทึกการเข้า
Oam
แขกเรือน
ชมพูพาน
***
ตอบ: 168



ความคิดเห็นที่ 51  เมื่อ 30 ม.ค. 08, 21:33

ข้าน้อยขอคารวะ
คิดอยากทำอย่างคุณ elvisbhu
คิดเป็น แต่ไร้ฝีมือที่จะทำ ขอบคุณครับ
บันทึกการเข้า
CrazyHOrse
แขกเรือน
นิลพัท
*******
ตอบ: 1899



เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 52  เมื่อ 30 ม.ค. 08, 22:36

ยังคาใจเรื่องวัดฝั่งตะวันออกของเกาะเมืองอยู่ครับ นั่งดูแม่น้ำมาชั่วโมงนึงแล้ว ยังงงๆอยู่เลยว่าเกิดอะไรขึ้น  ลังเล
บันทึกการเข้า

"Postel's Law": "be conservative in what you do, be liberal in what you accept from others"
กุ้งแห้งเยอรมัน
แขกเรือน
สุครีพ
******
ตอบ: 1573



ความคิดเห็นที่ 53  เมื่อ 30 ม.ค. 08, 23:46

ดูต่อไปค่ะ คุณเครซี่ฮอร์ส เผื่อจะได้ความคิดอะไรใหม่ๆมาแลกเปลี่ยนกัน..
สวัสดีค่ะ คุณโอม ตกลงหมุดเอียงไหมคะ
มิงคลาบา คุณติบอและคุณกุรุกุลา ไปพม่าหลายครั้ง ไม่เคยไกลกว่าย่างกุ้งเลย ข้ามแม่น้ำเอยาวดีไปเที่ยวสวนบอนไซและรีสอร์ทเล็กๆเท่านั้น แต่เข้าพิพิธภัณฑ์สองครั้งภายในเวลาห่างกันแค่หนึ่งปี ภายในพิพิธภัณฑ์ก็เปลี่ยนแปลง..
ไปทีก็ครึ่งวันค่ะ อักษรพม่าคล้ายๆไทยมาก ชื่อดิฉันเขียนไปเขียนมา เหมือนภาษาไทยจริงๆ
ชเวดากอง มองจากห้องพักทุกวัน ส่วนเจดีย์ทองอีกองค์ใกล้ๆ ดิฉันว่าสวยกว่า
...
บองซัวร์ เมอสิเออร์พิพัฒน์ และเฮลโล่ เอลวิสภู คุณสองคนเป็นปี่เป็นขลุ่ยกันมากเลยนะคะ ไม่เคยคิดว่า ฝาครอบพระธาตุ (ทางการเรียกสถูป)ที่ขุดได้จากพระปรางค์ กรุวัดราชบูรณะจะเหมาะเหม็งกับเจดีย์วัดใหญ่เล้ย..
การลองของของคุณเอลวิสภู ทำให้ตาสว่างขึ้นมาอีก
ตกลงที่คุณผู้ชายทั้งหลายสันนิษฐานกันไปกันมาน่ะ  .. เน้นรูปทรงองค์เอวเป็นหลัก ดิฉันก็ได้เพิ่มสติปัญญาไปด้วย
สำหรับดิฉัน พระนเรศวรท่านชอบรบค่ะ รบคืองาน อิสระภาพของไทยคือเป้าหมาย ท่านจะมีเวลาบัญชาช่างและคนงานตั้งเป็นโขยงมาก่อสร้างเจดีย์ใหญ่ยักษ์อลังการงานสร้างคงไม่น่าเป็นไปได้ แล้วแรงงานชายตอนนั้น ย่อมเน้นการทหารเป็นหลัก
จับสีจับภู่กัน ปั้นดินเหนียว ผสมอิฐไม่ใช่ง่ายๆ ทำๆอยู่ดีๆ อ้าว เจ้าเหนือหัวเรียกไปฝึกอาวุธอีกแล้ว ..
ถ้ารบเสร็จ ท่านจะสร้างกุศลในฐานะที่เสียไพร่พลล้มตายไปมาก ด้วยการสร้างเจดีย์ฉลอง จะเน้นความใหญ่โตเชียวหรือ..
ทำให้ดิฉันนึกถึงพระมหาธรรมราชาลิไทค่ะ
สมัยที่พระพุทธศาสนารุ่งเรืองที่สุดทั้งทางการศึกษาธรรม ปรัชญาคติ การเมืองสงบ เป็นช่วงที่งานก่อสร้างสวยๆ ใหญ่ๆ น่าจะทำได้มากกว่ายามรบ กู้ชาติสร้างแผ่นดิน บำรุงขวัญนะคะ


บันทึกการเข้า
กุ้งแห้งเยอรมัน
แขกเรือน
สุครีพ
******
ตอบ: 1573



ความคิดเห็นที่ 54  เมื่อ 31 ม.ค. 08, 00:28

และอีกอย่างหนึ่งที่ดิฉันอยากจะตั้งข้อสังเกตคือ เชื้อสายค่ะ
เจ้าทางอยุธยาตอนต้นนั้น มีสามสาย
อู่ทอง สุพรรณภูมิ และสุโขทัย(พระร่วง)
พระนเรศวรเป็นเจ้ามาจากสองแคว..ราชวงศ์สุโขทัย ท่านจะสร้างพระเจดีย์ทั้งที
ท่านจะสร้างสไตล์อู่ทองไปทำไม
ท่านน่าจะรับอิทธิพลสุโขทัยมากกว่า
เรื่องของความภาคภูมิใจ ดิฉันว่า สำคัญนะคะ
จะบอกว่าหาช่างที่อยุธยาที่สันทัดสไตล์สุโขทัยไม่ได้
ไม่น่าจะใช่..
บันทึกการเข้า
pipat
แขกเรือน
นิลพัท
*******
ตอบ: 1802


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 55  เมื่อ 31 ม.ค. 08, 00:56

อย่าเพิ่งไปไกลเกินข้อมูลครับ
กลับมาก่อน มาตั้งหลักก่อน

ผมอ้างสถูปครอบพระบรมสารีริกธาตุ เพื่อให้ลองเทียบกับสถูปวัดใหญ่
คุณกุรุกุลาเอาสถูปสัมฤทธิ์ของเขมร ที่เก่าขึ้นไปอีก มาแข่ง นับว่าตรงใจ

แต่เจดีย์ดอกบัวตูมของสุโขทัยนั้น อย่าเพิ่งเอ่ยถึง
เดี๋ยวยุ่งอีรุงตุงนัง สางไม่ออกจะยุ่งนา
หลักสังเกตุก็คือ ถ้าองค์ระฆังเป็นส่วนสำคัญ
รูปแบบของสถูปครอบพระธาตุ และมหาสถูปแห่งวัดพระศรีสรรเพชญ
(มิใช่จากรูปทุเรียนพันธุ์ฆอเคซอยรูปนั้นนา....)
ก็น่าจะเพียงพอ

แต่ทำไมของวัดใหญ่ ท่านจะต้องทำทางเข้าสู่ข้างในของพระสถูปให้ยุ่งยากด้วยเล่า
ลองไปสังเกตสถูปในละแวกนี้ดู ที่ภาคเหนือ ที่พม่า มอญ แม้กระทั่งลงใต้ไปนครศรีธรรมราช
หรือแวะสุโขทัยอีกทีก็ได้
เอ้า แถมบรมพุทโธไปด้วยเลย

ล้วนแต่เป็นองค์ทึบตัน นั่นคือเดินแนวลังกา

ดังนั้น การที่ลำบากลำบน ทำทางขึ้นสูงชันเท่าตึกสี่ห้าชั้น เพื่อเข้าไปประกอบพิธีในห้องกลางพระสถูป
จึงน่าจะบ่งบอกอะไรแก่เราได้บ้างกระมัง
บันทึกการเข้า
กุ้งแห้งเยอรมัน
แขกเรือน
สุครีพ
******
ตอบ: 1573



ความคิดเห็นที่ 56  เมื่อ 31 ม.ค. 08, 01:16

ก็พี่ท่าน มาเรือเกลือนี่คะ เลยคิดว่าเราไปอุโมงค์มหัศจรรย์..
ยังค่ะ ยังไม่ไปสุโขทัย ยังอยู่ที่เดิมค่ะ
เชิญวิเคราะห์ต่อค่ะ
บันทึกการเข้า
elvisbhu
แขกเรือน
พาลี
****
ตอบ: 215

เป็นคนเขียนรูป


ความคิดเห็นที่ 57  เมื่อ 31 ม.ค. 08, 01:24



ดังนั้น การที่ลำบากลำบน ทำทางขึ้นสูงชันเท่าตึกสี่ห้าชั้น เพื่อเข้าไปประกอบพิธีในห้องกลางพระสถูป
จึงน่าจะบ่งบอกอะไรแก่เราได้บ้างกระมัง

บ่งบอกได้ตรับว่า ขาสั่น...ใจหวิว จะขึ้นก็เสียว จะลงก็หวิว กล้องก็สั่น ลงดีกว่าครับ วัยรุ่นมาก
บันทึกการเข้า
ติบอ
นิลพัท
*******
ตอบ: 1906


Smile though your heart is aching.


ความคิดเห็นที่ 58  เมื่อ 31 ม.ค. 08, 02:01

ก่อนจะตอบกระทู้กันไปอีกยาวไกล ผมขอแจงชี้ และชี้แจงก่อนครับ ว่า
โดยส่วนตัวผมคิดว่ารูปแบบของศิลปะเป็นเรื่องของสมัยนิยมครับ
โดยเฉพาะศิลปะทางศาสนา ภายใต้การอุปถัมภ์ของราชสำนัก
เพราะศิลปะยิ่งมี "พระราชนิยม" เป็นตัวกำหนดมากขึ้นเท่าใด
ก็ยิ่งเปลี่ยนแปรไปตามสมัยนิยมมากขึ้นเท่านั้น

เนื่องจากว่าศิลปินต้องทำงานตามกรอบกว้างๆที่ความคิดของเจ้านายวางไว้
จะคิดใหม่ทำใหม่ ขัดครู ขัดใจเจ้านาย เหมือนศิลปินบ้าๆสมัยนี้
ที่กล้าลุกขึ้นมาเขียนกระหนกหยิกหยอยปลายแหลม
แล้วเอามาอวดอ้างตีไข่ใส่สี ร่ายพระอภิธรรมพอเป็นพิธี แล้วก็พลิกลิ้นซะเองว่าเป็นของดีก็คงไม่ได้
เพราะถ้าเจ้านายไม่ชอบ หรือไม่ได้บอกว่า "เออ ของเอ็งมันดีจริง" ไอ้ของที่ทำขึ้นมามันก็ไม่ได้มีค่าอะไรเลย

เราก็เลยสามารถเอา "สมัยนิยม" ของการสร้างมาแบ่งอายุศิลปะได้
เหมือนกับการแบ่งอายุเสื้อผ้าที่เปลี่ยนไปแต่ละยุค
เช่นเดียวกับที่เราเห็นสามารถบอกเราได้ตั้งแต่แรกเห็นในทันทีว่า
เสื้อแขนหมูแฮมพองๆ ถ้าจับคู่มากับโจงกระเบนผ้ายกลายละเอียดๆ "ต้องยุครัชกาลที่ 5 แน่ๆ"



(พูดมาถึงตรงนี้ หลายท่านอาจจะโวยผมในใจ ว่า "แล้วชุดละครในสี่แผ่นดินล่ะ ติบอ ?")



ผมก็ขออนุญาตตอบเพิ่มว่า
นอกจากสมัยนิยมแล้ว เทคนิควิทยาการในการผลิตก็เป็นอีกจุดหนึ่งที่เราจะละเลยไม่ได้ครับ
ขั้นตอนกรรมวธีในการผลิต หรือแม้แต่วิธีการประดับตกแต่งเล็กๆน้อยๆมักจะแตกต่างไปในแต่ละยุค

เหมือนที่เสื้อในยุครัชกาลที่ 5 แขนพองๆ ส่วนมากมักจะตัดจากผ้าลูกไม้นำเข้าราคาแพง
เย็บผ้า 2 ชิ้นติดเข้าหากันด้วยตะเข็บเข้าถ้ำ หรือล้มตะเข็บ
ในขณะที่ของปัจจุบันหาตัวไหนราคาผ้าเกิน 500 บาทได้ยากเต็มที เพราะของละครใช้ทั้งนั้น
บางตัวก็เก็บริมผ้าด้วยจักรสำหรับโพล้ง หรือไม่ก็ไม่เก็บริมผ้าเลยก็มี
เมื่อเราเอาเสื้อมาเทียบกัน เราก็จะเห็นความแตกต่างในลักษณะวิธีการเย็บ หรือวัสดุที่ผลิตไงครับ






การกำหนดอายุของเจดีย์แต่ละแบบว่าอยู่ในรุ่นราวคราวไหน ผมก็เลยเข้าใจเองว่า
เราสามารถใช้สมัยนิยม และเทคนิควิธีการสร้างมาร่วมกันกำหนดได้ไม่ยากนักครับ
วิธีแบ่งอายุเจดีย์ก็ใช้วิธีดูจากรายละเอียดเล็กๆน้อยๆของสถาปัตยกรรม
ที่ค่อยๆแปรเปลี่ยนไปทีละนิดทีละน้อยตามสมัยนิยม กับวิธีการก่อสร้างนี่ล่ะครับ
บันทึกการเข้า
Bana
องคต
*****
ตอบ: 439



ความคิดเห็นที่ 59  เมื่อ 31 ม.ค. 08, 02:43

อิอิ.......คิดในแง่คุณกุ้งก็น่าคิด  หมุดท่านพิพัฒน์ก็น่าติดตาม  สถูปหรือเจดีย์หรืออะไรก็ตามแต่ทรงนี้ที่กลวงเหมือนมีห้องโถงใหญ่ๆนอกจากคิดในเชิงวิศวกรรมแบบท่านพิพัฒน์ว่าไว้  ผมกลับคิดถึงเรื่องที่ทำไว้สำหรับเข้าไปประกอบพิธี  คล้ายๆกับที่ยุคขอมเรืองอำนาจเวลาสร้างอะไรก็ทำที่สำหรับประกอบพิธีกรรมด้วยอ่ะครับ  เป็นความคิดเห็นของกระผมเองล้วนๆ  ผิดพลาดต้องขออำภัย........ ยิงฟันยิ้ม
บันทึกการเข้า
หน้า: 1 2 3 [4] 5 6 ... 9
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.071 วินาที กับ 19 คำสั่ง