เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 2 [3] 4 5 ... 9
  พิมพ์  
อ่าน: 31655 " รุ่งเรือง.. เมืองศิลป "
pipat
แขกเรือน
นิลพัท
*******
ตอบ: 1802


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 30  เมื่อ 28 ม.ค. 08, 10:07

วัดใหญ่ไชยมงคลเคย "งาม" กว่านี้มากครับ
มาถูกท่านผู้เชี่ยวชาญทำให้สวยอย่างทุกวันนี้ไปเสียฉิบ....
บันทึกการเข้า
Oam
แขกเรือน
ชมพูพาน
***
ตอบ: 168



ความคิดเห็นที่ 31  เมื่อ 28 ม.ค. 08, 20:54

เสียดายท่านผู้เชี่ยวชาญกว่า ไปห้ามท่านผู้เชี่ยวชาญไม่ทัน รูดซิบปาก

๑. วัดใหญ่ชัยมงคล บางคนบอกว่าเดิมเป็นวัดป่าแก้ว บางคนก็บอกว่าวัดป่าแก้ว มันต้องวัดวรเชษฐโน่น ไม่รู้จะเชื่อใครดี
๒. ต้องลากให้วัดใหญ่ฯ เป็นวัดป่าแก้ว จะได้เกี่ยวข้องกับเรื่องยุทธหัตถีของพระนเรศวร แล้วก็โยงต่อเรื่องการสร้างมหาเจดีย์ฉลอง
๓. ถ้าวัดใหญ่เป็นวัดป่าแก้วจริง และเกี่ยวข้องกับพระพนรัตน์จริง ก็ไม่เห็นเคยอ่านเจอว่าพระนเรศวรให้สร้างเจดีย์ฉลอง เป็นแต่ให้พวกข้าราชบริพารไปตีเมืองทวายตะนาวศรีเป็นการแก้ตัวด้วยซ้ำ โทษฐานตามอารักขาไม่ทัน
๕. ถ้าถามใจผม ผมว่าอย่างมากพระนเรศวรก็สร้างเพียงเจดีย์องค์ย่อมๆ องค์แรกที่เจอตอนเดินเข้าไปในวัด องค์ใหญ่นั่นน่าจะเป็นของเดิมมาแต่ไหนแต่ไร
๖. วัดใหญ่ฯ อาจเป็นวัดป่าแก้ว แล้วก็มีอะไรเกี่ยวข้องกับ ป่าแก้ว ในโคลง "ปางเมื่อเสด็จไป ป่าแก้ว"  ยิงฟันยิ้ม
บันทึกการเข้า
pipat
แขกเรือน
นิลพัท
*******
ตอบ: 1802


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 32  เมื่อ 28 ม.ค. 08, 21:30

ก่อนเป็นวัดป่าแก้ว บางคนบอกว่าวัดนี้ชื่อวัดเจ้าพระยาไท(หรือพญาไท)
ที่อยู่ในพระราชพงศาวดารรัชกาลพระเจ้าอู่ทอง

และถ้าอ้างพระราชพงศาวดารกันจริงๆ ในนั้นก็ไม่มีตอนใดที่พอจะโยงมาสู่การสร้างมหาสถูปนอกเมืองเลย
แล้วทีนี้ ถ้าเป็นมหาสถูปจริงๆ ....ก็เป็นจริงน่ะสิ คุณโอมต้องนึกคันอะไรบางอย่างอยู่ในใจ
ถ้าเป็นมหาสถูปนะครับ

เราก็ข้ามมาพิจารณากันที่แนวความคิดเกี่ยวกับการสร้างพระมหาสถูปเจดีย์ในสมัยอยุธยาได้ล่ะกระมัง
(ขออนุญาตเตือนก่อนนะครับ ว่าที่คิดและเขียนมานี้ เดาล้วนๆครับ)
บันทึกการเข้า
Oam
แขกเรือน
ชมพูพาน
***
ตอบ: 168



ความคิดเห็นที่ 33  เมื่อ 28 ม.ค. 08, 22:06

เรียนเภสัชอ่ะครับ ถ้าบอกว่าเห็นคนถือไซริงก์กับอินซูลินแล้วนึกถึงอะไร ก็จะบอกว่าคนนี้เป็นเบาหวาน

เดาได้ไหมครับ คือสถูปเนี่ยปกติเขาก่อมากลบพวกอัฐิ ถ้ามหาสถูปก็คงสร้างไว้สำหรับอัฐิของมหาบุรุษ

แต่ผมนึกถึงกรุสมบัติมากกว่า คนข้างบ้านเขาเล่าว่า ข้างในเจดีย์องค์ใหญ่นั้นกลวงหลวงพ่อจรัญ วัดอัมพวัน เคยปีนลงไป ได้คาถาพาหุงมหากาฯมาจากในองค์เจดีย์ของวัดใหญ่แห่งนี้ เขาจะทำกลวงทำไมถ้าไม่ใช้เก็บของ คงไม่ใช่ว่าต้องการประหยัดอิฐ

ถ้าเจดีย์วัดนี้เก่ามาก พ้นอยุธยาไป ก็ไม่รู้แล้วครับว่าสมบัติของใคร แต่ปู่โสมในละคร คงไม่ได้อยู่วัดนี้ เพราะท่านนั้นเพิ่งเริ่มเฝ้าทรัพย์เมื่อสมัยเสียกรุงครั้งที่ ๒  ฮืม
บันทึกการเข้า
Kurukula
สุครีพ
******
ตอบ: 1303



ความคิดเห็นที่ 34  เมื่อ 28 ม.ค. 08, 22:25

ถ้าถามผม เจดีย์กลวงในสมัยอยุธยาตอนต้นก็มีมากมายครับ แต่คิดว่าในส่วนที่เข้าไปได้ ก็คือ ฐานรูปทรงแปดเหลี่ยมมากกว่า

ลักษณะเช่นนี้คล้ายคลึงกับระบบ เจติยวิหาร ของพุกามครับ

คือ ด้านล่างเป็นวิหารประดิษฐานพระพุทธรูป (แต่ที่วัดใหญ่นี้ไม่มีพระประดิษฐานข้างใน)

ด้านบนของวิหารก็จะใส่สถูปให้เป็นยอดเอาไว้

แต่ระบบของไทยมิได้สร้างให้มีพื้นที่ใช้สอยจำนวนมาก ดังนั้น จึงไม่ต้องการแกนกลางรับน้ำหนักอย่างของพุกาม

ที่แปลกกว่าเจติยวิหารของพุกามก็คือ การยกฐานสูง ซึ่งพุกามจะมีฐานเตี้ยๆ เพื่อให้คนเข้าไปใช้ประโยชน์ได้ง่าย (ไม่ต้องไต่กะได)
บันทึกการเข้า
ติบอ
นิลพัท
*******
ตอบ: 1906


Smile though your heart is aching.


ความคิดเห็นที่ 35  เมื่อ 28 ม.ค. 08, 23:06

พ่อคุณข้างบนนี่จะไปไต่ไต ไต่กะไดที่ไหนล่ะครับ



โดยความคิดเห็นส่วนตัวผมนะครับ
เจดีย์ของพุกามโดยทั่วไปมี 2 ชนิด

- แบบแรกเจดีย์ปิด ยกลานประทักษิณ 2 - 3 ชั้น หรือจะ 4 ชั้นก็พอจะมี
บางครั้งเป็นการยกหลอก เพราะมันเดินขึ้นไปจริงๆม่ะได้อ่ะ
ยอดอาจจะเป็นทรงลังกา พม่าแท้ ปาละ หรือปาละผสมก็ได้

- กับแบบที่ 2 เจติยวิหารที่สามารถเข้าไปได้ฐานเตี้ย วิ่งเข้าวิ่งออกไม่ยากนักอย่างคุณกุรุกกุ๊กๆว่ามา
(แต่ผมว่ามันก็มีบางที่เหมือนกันนา ที่ยกฐานซะสูงพอดูเลยอ่ะ)


ถ้าวัดใหญ่ชัยมงคลเป็นลูกผสมของเจดีย์ทั้ง 2 แบบ
ที่ถูกจับมายำกันเองในเขตประเทศไทย จะเป็นไปได้ไหมครับ ??



เอารูปเซตานาจีมาฝากครับ องค์นี้เป็นมหาเจดีย์องค์หนึ่งของอาณาจักรพุกาม
ยกฐานเจาะช่องท้องไม้เป็นลานประทักษิณหลอก 4 ชั้น ตั้งสถูปิกะตามมุมด้วย
ส่วนฐานชั้นล่างสุดล้อมด้วยช้างหมอบสลับกับเสารูปหม้อ
ฉัตรวลีเดิมเป็นทรงลังกา แต่ถล่มไปหลายปีแล้ว คนซ่อมเลยซ่อมผิดซะแปลกๆไปเลย

เสียดายของ สุโขทัยแย่ยังไง อารยธรรมแม่แบบก็ไม่แพ้กัน.... เฮ่อ
จะเจดีย์ระดะแซงเสียดฟ้าเป็นป่าใหญ่แค่ไหน ก็อดมรดกโลกก็คราวนี้ล่ะเนาะ




ปล. ถ้าฐานเจาะช่องท้องไม้ถูกยืดดดดดดด ขึ้น
(เหมือนนายติบอไปผ่าตัดยืดความสูง อ่ะคับ)
มันจะกลายเป็นเสาหลอกของพี่กุ้งแห้งได้มั้ยอ่ะคับ ฮืม


บันทึกการเข้า
pipat
แขกเรือน
นิลพัท
*******
ตอบ: 1802


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 36  เมื่อ 29 ม.ค. 08, 10:33

การก่อกลวง เป็นความสำเร็จเชิงวิศวกรรมที่สำคัญมาก
นอกจากประหยัดทรัพยากรลงมากถึงหนึ่งในสาม
ยังช่วยให้สร้างอาคารได้สูงขึ้นกว่าการก่อตัน เมื่อมีฐานกว้างเท่ากัน

ข้อนี้บ่งบอกอะไรได้อยู่
ในมหาสถูปแห่งวัดพระศรีสรรเพชญ์นั้น
ท่านก่อทึบ เพราะท่านไม่มีงานตกแต่งมากมาย
แต่มหาสถูปวัดใหญ่ไชยมงคล ท่านมีเหตุจำเป็นต้องทำเรื่องราวประดับฐาน
แม้แต่เหนือฐานยกชั้นขึ้นไป ท่านก็ยังต้องการวางสถูปน้อยไว้ตรงมุมทั้งสี่
เพื่อให้ร่วมฐานเดียวกับมหาสถูปองค์กลาง

หมายความว่าในเชิงประติมาณวิทยานั้น
สถูปทึบ และสถูปกลวง อาจจะแทนสาระที่ต่างกันอยู่บ้างกระมัง
บันทึกการเข้า
ติบอ
นิลพัท
*******
ตอบ: 1906


Smile though your heart is aching.


ความคิดเห็นที่ 37  เมื่อ 29 ม.ค. 08, 17:32

เอ๋ ผมเข้าใจว่ามหาสถูปองค์กลางของวัดพระศรีสรรเพชญ์ก่อกลวงนะครับ คุณพิพัฒน์

จำได้ว่าด้านในมีเจดีย์ทรงปราสาทยอดสมัยอยุธยาตอนกลางองค์หนึ่งซ่อนอยู่ที่นั่น
ที่ใครไม่แบกไฟฉายดีๆปีนขึ้นไป.... ก็ไม่มีวันได้เห็น เพราะอุโมงค์มืดมาก และเต็มไปด้วยสัตว์น่ากลัวหลายชนิด

ส่วนเจดีย์องค์ริมอีก 2 องค์ก็มีอุโมงค์เตี้ยๆกลวงๆ อยู่ด้านในครับ
บันทึกการเข้า
pipat
แขกเรือน
นิลพัท
*******
ตอบ: 1802


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 38  เมื่อ 29 ม.ค. 08, 18:47

คูหาแค่นั้น ไม่เรียกว่ากลวงครับ
ต้องอย่างวัดกระซ้ายครับ ก่ออิฐล้อมเป็นท่อกลวงขึ้นไปถึงยอด
น้ำหนักหายไปครึ่งๆ

อย่างวัดพระศรีสรรเพชญนี่ คงลดน้ำหนักได้เพียงหนึ่งส่วนเท่านั้น....กระมัง
บันทึกการเข้า
elvisbhu
แขกเรือน
พาลี
****
ตอบ: 215

เป็นคนเขียนรูป


ความคิดเห็นที่ 39  เมื่อ 29 ม.ค. 08, 19:21

ฝรั่งช่างภาพชื่อนายเจอรี่ แกนท์ หลงใหลอยุธยาเป็นพิเศษ เรียบเรียงเรื่องราวของวัดนี้ไว้จากเอกสารกรมศิลปากร ใน http://www.gerryganttphotography.com/ayutthaya.htm ว่า

Wat Phra Chao Phya-thai, also known as Wat Yai Chai-mongkol, is situated to the southeast of Ayutthaya.  The large chedi (stupa) there can be seen from a great distance.  This Monastery was built in 1357 A.D. by King U-Thong for monks who had returned from Ceylon (now Sri Lanka) after studying under a revered master.  This monastery was originally known as Wat Pa Kaeo.  After the king conferred the title of "Somdej Phra Vanarat" ("The Patriarch on the Right Hand Side") on the Vhead of the sect, the monastery was named Wat Chao Phya-thai which means "The Temple of the Supreme Patriarch".  A large chedi or stupa (Thai version of the Chinese pagoda) was built here by King Naresuen the Great to celebrate his victory over a Burmese leader in hand-to-hand combat on elephant back.  The king built a second chedi named Phra Chedi Chai-mongkol, or the Chedia of the Auspicious Victory, but it was popularly known as Phra Chedi Yai, or the Great Pagoda.  Later on Chao Phya-thai also came to be known as Wat Yai Chai-mongkol.
แปลว่า เอกสารกรมศิลป์บอกฝรั่งว่า แต่เดิมวัดสร้างในสมัยพระเจ้าอู๋ทอง เพื่อรับพระสงฆ์ไทยที่ไปศึกษาธรรมที่ศรีลังกา หลังจากที่แต่งตั้งพระสังฆราช คือพระวันรัต วัดนี้เลยกลายเป็นวัดเจ้าพระยาไทย หรือเจ้าพญาไท
...

บันทึกการเข้า
elvisbhu
แขกเรือน
พาลี
****
ตอบ: 215

เป็นคนเขียนรูป


ความคิดเห็นที่ 40  เมื่อ 29 ม.ค. 08, 19:34

ไม่ทราบค้นไปค้นมา ผมก็เจอฝรั่งดัทช์คนหนึ่ง เข้ามาค้าขายในกรุงศรีอยุธยาของเราและเขียนบรรยายจนผมอยากทำหนังน่ะครับ ให้คนไทยภาคภูมิใจในอยุธยา สายเลือดของเรา
นาย Jose Santen เขียนซะดีเลิศว่า

"Pra Nakorn Sri Ayutthaya is the capital city in which the king lives, and so do the nobles, officials, and all administrators.."
...........................................
The capital city is situated on a small island in Chao Praya River. Its surrounding area is a flat field. The stone wall was constructed to surround the city with 2 Dutch miles circumference. So it is a very big capital city. Its vicinity consists of many immediate Buddhist monasteries. The population is dense in the capital. There are long, wide and straight aligned roads. There are canals that are converted from Chao Praya River to the capital. So it is very convenient for transportation. Besides the roads and canals, there are also small ditches and alleyways. So, in the rainy season, people can easily travel to houses. The houses are built in Indian styles but roofed with tiles. Ayutthaya is therefore a luxurious city packed with over 300 Buddhist monasteries exquisitely built. There many are pagodas, topes, molded figures, and statues that are coated with gold brightening the whole area. The capital city situates on the riverbank and the city plan was orderly planned, so it is a very beautiful city. Its location is good, its population is dense, and it is a good trading area both domestic and foreign trade. As far as I am aware, there has not been any king in this region has ever reigned the beautiful and prosperous city as Ayutthaya. The city is on a very good location, regarding the militarily strategies, so it is very difficult for the enemy to impregnate because the surrounding area will be flooded for 6 months annually in the rainy season. The enemy cannot stay for a long time, so they will eventually retreat."

คุณกุ้งแห้งเยอรมันช่วยแปลหน่อยครับ อ่านแล้วเทียบกับกทม.ที่ผมอยู่แล้วจะช้ำใจตาย
บันทึกการเข้า
elvisbhu
แขกเรือน
พาลี
****
ตอบ: 215

เป็นคนเขียนรูป


ความคิดเห็นที่ 41  เมื่อ 29 ม.ค. 08, 20:36

 ขยิบตา เงอะ
ฝรั่งอีกคน ชาวออสซี่เอารูปเจดีย์สามองค์วัดพระศรีสรรเพชญ์ไปจินตนาการซะออกมาเป็นทุเรียนหมอนทองรับหัวใจวาเลนไทน์เลยฮับ
....kitsch!
พิเศษสำหรับคุณติบอกับคุณoam
 ยิงฟันยิ้ม


บันทึกการเข้า
Oam
แขกเรือน
ชมพูพาน
***
ตอบ: 168



ความคิดเห็นที่ 42  เมื่อ 29 ม.ค. 08, 20:52

รูปมหัศจรรย์ของคุณ elvisbhu ทำให้นึกไปถึงงานประกวดสัญลักษณ์สมัยนี้ ที่ใช้กราฟฟิก ดูแล้วคล้ายๆ กันไปหมด เอาตราสัญลักษณ์องค์กร มาแปะกับตัวเลข
งานกราฟฟิก กับ งานมือมีเสน่ห์ต่างกัน อีกหน่อยเขาต้องทำกราฟฟิกให้กลับมาดูเหมือนงานทำมือ
วงกลมวาดด้วยมือ กับ ใช้วงเวียนลากยังให้ความรู้สึกต่างกัน
เหมือนกับแบบตัวอักษร บางแบบทำให้เหมือนใช้ลายมือเขียน
อ้าว บ่นไปไกล

พระพิพัฒน์(ขยัก)สุนทรโวหาร มาปล่อยทีเด็ดทีละนิดทีละหน่อย ทรมานคนอ่าน ขอยาวๆ หน่อยครับ
บันทึกการเข้า
ติบอ
นิลพัท
*******
ตอบ: 1906


Smile though your heart is aching.


ความคิดเห็นที่ 43  เมื่อ 29 ม.ค. 08, 20:55

ขอบคุณ คุณelvisbhu มากครับ สำหรับทุเรียนหมอนทอง 3 ลูกหย่ายๆ
อิอิ



ที่น่าสงสารกว่าภาพ คือของจริงครับ
เจดีย์ 3 องค์นี้ถูกซ่อมมาชนิดที่เรียกว่าเหมือนโดนแปลงเพศ
แปลงเสร็จไม่พอ กลัวรู้ว่าซ่อมใหม่ เอาไฟสุมๆ รมควันให้มันดำๆซะอีก
ถ้าเป็นปลาแซลมอน หรือเนื้อคงอร่อยดี แต่เป็นเจดีย์นี่นายติบออยากร้องไห้

เอาเถอะ เรื่องอัปยศของชาติเรา เราอย่าไปพูดถึงดีกว่า
อยุธยาวสาน ยังมีอยู่ทุกเมื่อเชื่อวัน ไทยทำไทยมันเจ็บใจกว่าพม่าทำเยอะ





ปล. เอกสารฝรั่งบางทีก็ต้องฟังหูไว้หูครับ คุณelvisbhu
สมัยนู้นเขาไม่มีใบรับรองไกด์ ถ้าพี่แกไปได้องค์ความรู้ผิดๆมา
คนที่ศึกษาแต่ตัวบทของบันทึกก็พลาดเอาได้ครับ

เพราะหลักฐานทางสถาปัตยกรรมมันฟ้องกันอยู่เห็นๆ
ถ้าเชื่อฝรั่งซะหมด แบบที่เขาว่า เกี่ยอั่งม้อ จ่ออากง
เดี๋ยวจะกลายเป็น "ฮวงติงต๋ง" เอาม่ะรู้ตัวนา....

เหมือนใครน๊า.... ที่ไปเอาพระปรางค์อยุธยามาบอกว่าเป็นเจดีย์ทรงดอกบัวตู้มๆ น่ะ หิหิ




ปล. แอบฮาประโยคสุดท้ายคุณ Oam
บันทึกการเข้า
Kurukula
สุครีพ
******
ตอบ: 1303



ความคิดเห็นที่ 44  เมื่อ 29 ม.ค. 08, 21:55

อิอิ จำลองมณฑประหว่างเจดีย์เสียเป็นวิมานแบบอินเดียใต้ไปเลยนะครับ
บันทึกการเข้า
หน้า: 1 2 [3] 4 5 ... 9
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.045 วินาที กับ 19 คำสั่ง