เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 2 3 [4]
  พิมพ์  
อ่าน: 24662 พระสมุทรเจดีย์ เมื่อพระมหาเจดีย์ไม่อยู่กลางน้ำ
ปากน้ำเจ้าพระยา
มัจฉานุ
**
ตอบ: 163


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 45  เมื่อ 05 ก.พ. 08, 12:57

เรื่องพระบรมสารีริกธาตุที่หายไป

   ผมมีคำถามที่คาใจมานาน แต่ดูเหมือนจะมีบันทึกไว้ผ่านๆ และสั้นๆ ว่า

 “….หลังจากที่ได้มีการก่อสร้างพระสมุทรเจดีย์ แล้วเสร็จ ในสมัยรัชกาลที่ ๓ พร้อมกับมีงานสมโภชกันใหญ่โต ต่อมา พระบรมสารีริกธาตุก็ถูกคนร้ายแอบปีนขึ้นไปขุดเจาะ และขโมยออกไป…..”
 
    ตามบันทึกในประวัติศาสตร์และในแบบเรียนนั้นได้กล่าวไว้ค่อนข้างน้อยมาก จนเกิดข้อสงสัยขึ้นมาเหมือนกันว่าเกิดอะไรขึ้นกับพระบรมสารีริกธาตุชุดแรกที่หายไปในสมัยรับกาลที่ ๓ กันแน่
บันทึกการเข้า
ปากน้ำเจ้าพระยา
มัจฉานุ
**
ตอบ: 163


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 46  เมื่อ 05 ก.พ. 08, 13:03

ยิ่งทำการค้นคว้า ก็ยิ่งมีผู้รู้ให้ความอนุเคราะห์ ผมได้รับบันทึกเป็นหนังสือเล่มหนึ่งที่จัดทำ และเรียบเรียงโดยจังหวัดสมุทรปราการ พิมพ์แจกเมื่อคราวพิธีเปิดอาคารองค์การบริหารส่วนจังหวัดหลังใหม่ในปี ๒๕๒๑ มีการขยายความเกี่ยวกับพระบรมสาริกธาตุชุดที่ ๑ โดยนายชวลิต เอี่ยมโอภาส เอาไว้ว่า

   ในประวัติศาสตร์งานนมัสการพระสมุทรเจดีย์ สมัยรัชกาลที่ ๓ ตอนปลายนั้น ชาวเมืองปากน้ำ สมุทรปราการ ต่างก็ร่ำลือกันมานานแล้วว่า องค์พระเจดีย์ที่ชาวบ้านต่างไปกราบไหว้กันในขณะนั้น เป็นองค์พระเจดีย์ว่าง ที่ไม่มีพระบรมสารีริกธาตุบรรจุอยู่ ทั้งนี้เพราะปรากฏว่า มีคนร้ายได้ลอบปีนขึ้นไปขุดเจาะและขโมยเอาพระบรมสารีริกธาตุ กับพระพุทธรูปออกไปแล้ว แต่ด้วยความเกรงกลัวพระราชอาญาของนายทหารรักษาการณ์ที่เฝ้าอยู่รอบองค์พระสมุทรเจดีย์ จึงได้มีการปีนขึ้นไปใช้ปูนโบกทับแล้วทาสีทับไว้ดังเดิม ชาวบ้านที่ร่ำลือกันต่างก็ไม่มีใครกล้าขึ้นไปเจาะพิสูจน์ ด้วยกลัวจะเป็นเรื่องใหญ่ที่ไม่มีใครอยากจะไปขัดใจกัน กับพวกทหารรักษาการณ์ พระสมุทรเจดีย์จึงถูกปล่อยไว้โดยไม่มีพระบรมสารีริกธาตุบรรจุ เป็นเวลานานนับ ๑๐ ปี

   ความเพิ่งจะมาทราบถึงพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ในสมัยรัชกาลที่ ๔ เมื่อมีชาวบ้านเข้าแจ้งความดังกล่าวต่อเจ้าพระยารวิวงศ์มหาโกษาธิบดี จนท่านเจ้าพระยาได้เข้ากราบทูลให้ทรงทราบ ด้วยเห็นจังหวะในระหว่างครั้งเมื่อรัชกาลที่ ๔ เสด็จมาในงานกฐินหลวงที่วัดกลางวรวิหารในปี พ.ศ.๒๔๐๑ กระทั่งเป็นที่มาของการโปรดเกล้าฯ ให้บูรณปฏิสังขรณ์ครั้งใหญ่พร้อมกับการสร้างพระมหาเจดีย์ใหญ่ ครอบองค์เดิม ก่อสร้างวิหาร พร้อมหล่อพระพุทธรูปปางห้ามสมุทร สิ่งต่างๆรอบองค์พระเจดีย์ และได้พระราชทานพระบรมสารีริกธาตุชุดใหม่จำนวน ๑๒ องค์จากพระบรมมหาราชวัง มาประดิษฐานไว้ ณ บริเวณคอระฆังองค์พระสมุทรเจดีย์ใหม่ เพื่อเป็นการปลอบขวัญให้ชาวสมุทรปราการได้กราบไหว้กันจนถึงปัจจุบัน
บันทึกการเข้า
ปากน้ำเจ้าพระยา
มัจฉานุ
**
ตอบ: 163


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 47  เมื่อ 05 ก.พ. 08, 13:09

ภาพ บนฝาผนังศาลาทรงยุโรป เกาะพระสมุทรเจดีย์

พระเจดีย์เดิมที่สร้างสมัยรัชกาลที่ ๓ รูปทรงพระเจดีย์ไม่สูง ฐานเป็นขั้น ทำให้ง่ายต่อการปีน
จนถูกโจรขึ้นไปเจาะแล้วขโมยพระบรมสารีริกธาตุออกไป



บันทึกการเข้า
ปากน้ำเจ้าพระยา
มัจฉานุ
**
ตอบ: 163


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 48  เมื่อ 05 ก.พ. 08, 13:15

ภาพ พระสมุทรเจดีย์ หลังการบูรณะปฏิสังขรณ์สมัยรัชกาลที่ ๔
โปรดเกล้าฯ ให้ก่อสร้างพระเจดีย์สูง ๑๙ วา ๒ ศอก (สูงและกว้างเพื่อป้องกันการปีนขึ้นโดยง่าย)ครอบองค์พระเจดีย์เดิม



บันทึกการเข้า
ปากน้ำเจ้าพระยา
มัจฉานุ
**
ตอบ: 163


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 49  เมื่อ 05 ก.พ. 08, 13:39

ครอบครัว ”รุ่งแจ้ง” ผู้ปีนขึ้นห่มผ้าแดงองค์พระเจดีย์
   
   ในการจัดงานนมัสการองค์พระสมุทรเจดีย์ วัตถุประสงค์หลักของงานก็คือ การแห่ผ้าแดง นอกจากการห่มผ้าแดงรอบบริเวณที่ประดิษฐานองค์พระบรมสารีริกธาตุแล้ว เป้าหมายอีกอย่างตามพระราชดำริของพระผู้ดำเนินการก่อสร้าง ก็เพื่อต้องการให้ชาวต่างชาติที่เดินเรือเข้ามาทางปากแม่น้ำเจ้าพระยา จะได้เห็นผ้าแดงดั่งธงชาติสยามขนาดใหญ่ รอบพระสมุทรเจดีย์เด่นเป็นสง่าอยู่บนเกาะกลางแม่น้ำเจ้าพระยาอีกด้วย
    
   แต่หลังการบูรณะครั้งใหญ่ในสมัยรัชกาลที่ ๔ พระเจดีย์องค์ใหม่ที่ทั้งกว้างใหญ่ และสูงขึ้น เพื่อป้องกันการปีนของพวกหัวขโมย เมื่อถึงวันงานเจดีย์กลับกลายเป็นอุปสรรค์ในการปีนขึ้นไปห่มผ้าแดง ไม่ว่าจะบังคับขู่เข็นอย่างไรก็ไม่มีใครกล้าที่จะเสี่ยงปีน จนแล้วจนรอดก็ไม่สามารถหาคนมาทำการขึ้นไปห่มผ้าแดงองค์พระสมุทรเจดีย์ได้ พิธีการสมโภชองค์พระสมุทรเจดีย์ครั้งนั้น เห็นทีจะไม่สามารถสำเร็จสมบูรณ์ได้ ถ้าไม่มีการห่มผ้าแดงที่ชาวบ้านอุตส่าห์ร่วมมือร่วมใจกันเย็บแล้วแห่ข้ามแม่น้ำมา ในที่สุดก็เกิดผู้กล้าอาสาปีนขึ้นไป ทราบชื่อว่านายรอด รุ่งแจ้ง  นายรอด คือ ชาวบ้านคนแรกที่ได้ปีนขึ้นไปบนองค์พระสมุทรเจดีย์ และทำการห่มผ้าแดงองค์พระเจดีย์จนสำเร็จ

   ต่อมานายรอด รุ่งแจ้ง ได้ฝึกผู้ช่วยอาสาสมัครที่เป็นลูกชายอีก ๒ คน คือนายบาง รุ่งแจ้ง และนายจำรัส รุ่งแจ้ง ทั้ง ๓ ท่านผู้กล้าหาญนี้ได้ใช้ความสามารถในการร่วมกันเป็นทีมม้วนผ้าแดง แล้วปีนขึ้นไปทำการห่มรอบองค์พระเจดีย์จนสำเร็จทุกครั้ง ได้รับความเคารพนับถือจากชาว ๒ ฝั่งปากแม่น้ำเจ้าพระยาเป็นอย่างมาก และตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา ครอบครัวรุ่งแจ้ง ก็จะได้รับเกียรติในการทำพิธีขึ้นห่มผ้าแดงรอบองค์พระสมุทรเจดีย์ตั้งแต่ครั้งนั้นเป็นต้นมา ก่อนนายรอด นายบาง และนายจำรัส รุ่งแจ้ง เสียชีวิต ก็ได้ฝึกฝนทาญาติรุ่นหลานและเหลนของนายรอด รุ่งแจ้ง กระทำการแทนจนเป็นประเพณีของงานเจดีย์ในปัจจุบัน
บันทึกการเข้า
ปากน้ำเจ้าพระยา
มัจฉานุ
**
ตอบ: 163


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 50  เมื่อ 05 ก.พ. 08, 13:43

ภาพ โดยเจ้ากาวิลวงศ์ ณ เชียงใหม่ งานเจดีย์ปี พ.ศ.๒๕๐๕
ครอบครัวรุ่งแจ้งกำลังทำพิธีห่มผ้าแดงรอบองค์พระเจดีย์



บันทึกการเข้า
ปากน้ำเจ้าพระยา
มัจฉานุ
**
ตอบ: 163


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 51  เมื่อ 05 ก.พ. 08, 13:51

พระสมุทรเจดีย์ หลังการห่มผ้าแดง (ปี พ.ศ.๒๔๙๖)แล้วเสร็จ ก็เป็นอันเริ่มการฉลองงาน
ภาพจากหอจดหมายเหตุแห่งชาติ



บันทึกการเข้า
ปากน้ำเจ้าพระยา
มัจฉานุ
**
ตอบ: 163


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 52  เมื่อ 05 ก.พ. 08, 14:01

เมื่อพระมหาเจดีย์ ไม่อยู่กลางน้ำ



บันทึกการเข้า
ลุงไก่
สุครีพ
******
ตอบ: 1281



ความคิดเห็นที่ 53  เมื่อ 23 ต.ค. 10, 08:03

เมื่อวันก่อนไปดูระดับน้ำหน้าศาลากลางกับในตลาดสด ก็ยังไม่วิกฤตนัก พิจารณาว่าพอจะรับน้ำเหนือไหวอยู่
ประมาณว่าอีกสามสิบเซนติเมตรน้ำถึงจะล้นเข้าพื้นที่ตลาด มองพระสมุทรเจดีย์ฝั่งตรงข้ามนึกขึ้นได้ว่ากระทู้นี้อยู่ เลยเข้ามาอ่านซ้ำเพื่อทวนความรู้ครับ





บันทึกการเข้า
Ruamrudee
องคต
*****
ตอบ: 627



ความคิดเห็นที่ 54  เมื่อ 23 ต.ค. 10, 09:18

เอารูปปัจุบันมาให้ได้ดูกันค่ะ เวลานี้ คนปากน้ำจะมาพระสมุทรเจดีย์จะต้องนั่งเรือข้ามฝากเข้่าคลองเล็ก ๆ ข้างพระสมุทรเจดีย์ ไปขึ้นที่ท่าหน้าวัดค่ะ แต่ดิฉันใช้วิธีขับรถขึ้นสะพานกาญจนาภิเษก สดวกกว่ากันมากค่ะ และวิวบนสะพานก็สวยทีเดียว




บันทึกการเข้า
ลุงไก่
สุครีพ
******
ตอบ: 1281



ความคิดเห็นที่ 55  เมื่อ 23 ต.ค. 10, 09:52

ถ่ายภาพไว้เมื่อต้นปีนี้ อาคารฝั่งตรงข้ามแม่น้ำโน้น .. โรงเรียนนายเรือ

เทียบกับที่ระบุในแผนที่เก่าที่เขียนว่าโรงเรียนทหารเรือที่ ๔ ข้างวัดมหาวงศ์ คือโรงเรียนนายเรือในปัจจุบัน







บันทึกการเข้า
หน้า: 1 2 3 [4]
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.043 วินาที กับ 19 คำสั่ง