เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 [2] 3 4
  พิมพ์  
อ่าน: 24738 พระสมุทรเจดีย์ เมื่อพระมหาเจดีย์ไม่อยู่กลางน้ำ
ปากน้ำเจ้าพระยา
มัจฉานุ
**
ตอบ: 163


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 15  เมื่อ 19 ม.ค. 08, 07:38

ปี พ.ศ. ๒๔๗๑ มีการบูรณะสิ่งก่อสร้างบนเกาะองค์พระสมุทรเจดียครั้งใหญ่ (สมัยนี้ยังเป็นเกาะอยู่)
โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อให้คู่ควรกับความยิ่งใหญ่ของพระสมุทรเจดีย์

ทั้งนี้เพราะภาพพระสมุทรเจดีย์ ได้รับการคัดเลือกให้ปรากฏลงด้านหลังธนบัตรฉบับใบละ ๑ บาท ๕ บาท ๑๐ บาท และ ๒๐ บาท โดยด้านหน้าเป็นพระบรมสาทิสลักษณ์รัชกาลที่ ๗



บันทึกการเข้า
ปากน้ำเจ้าพระยา
มัจฉานุ
**
ตอบ: 163


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 16  เมื่อ 19 ม.ค. 08, 07:40

ด้านหลัง



บันทึกการเข้า
ปากน้ำเจ้าพระยา
มัจฉานุ
**
ตอบ: 163


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 17  เมื่อ 19 ม.ค. 08, 07:48

ทันใช้ธนบัตรรุ่นนี้มั้ยครับ
หลายคนอาจคาดไม่ถึงว่า ด้านข้างองค์พระบรมสาทิสลักษณ์รัชกาลที่ ๙ ไม่ใช่วัดพระแก้วนะครับ
แท้จริงก็คือ ภาพพระสมุทรเจดีย์



บันทึกการเข้า
ปากน้ำเจ้าพระยา
มัจฉานุ
**
ตอบ: 163


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 18  เมื่อ 19 ม.ค. 08, 08:03

ปีใหม่ที่ผ่านมา มีโอกาสได้ไปเที่ยวพม่า
ไปแม่น้ำย่างกุ้ง เมืองสิเรียม เพื่อข้ามไปกราบพระเจดีย์กลางน้ำ
ทำให้รู้สึกเสียดายว่า ที่บ้านผมก็เคยมี (อันเป็นที่มาของการนำกระทู้นี้มาเสนอครับ)

 


บันทึกการเข้า
pipat
แขกเรือน
นิลพัท
*******
ตอบ: 1802


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 19  เมื่อ 19 ม.ค. 08, 10:39

ขอบคุณครับ อ่านสนุกได้สาระดีจริงๆ
บันทึกการเข้า
Bana
องคต
*****
ตอบ: 439



ความคิดเห็นที่ 20  เมื่อ 20 ม.ค. 08, 02:45

ขอบคุณมากครับ... ยิ้ม
บันทึกการเข้า
ปากน้ำเจ้าพระยา
มัจฉานุ
**
ตอบ: 163


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 21  เมื่อ 21 ม.ค. 08, 16:12

งานนมัสการพระสมุทรเจดีย์ (งานเจดีย์)

           เมืองสมุทรปราการ เป็นแหล่งรวมของชุมชนหลายเชื้อชาติ
 
-   ที่ปากแม่น้ำเจ้าพระยา และตลาดในตัวเมืองจะเป็นที่อยู่ของชาวจีน ที่ชำนาญด้านการประมงและค้าขาย
-   ที่พระประแดงเป็นที่อยู่ชาวมอญ
-   ชาวสยามชอบที่จะอาศัยอยู่ภายในคลองตั้งแต่คลองปากน้ำ ลึกไปถึงคลองสำโรงที่บางพลี

           เมื่อถึงหน้ากฐินสมัยที่ยังมีคลองติดต่อกัน จะปรากฏงานประจำปีที่เชื่อมความสัมพันธ์ระหว่าง ๓ เชื้อชาติ ตามลำดับ คือ งานโยนบัวรับบัว งานบุญพระประแดง และงานเจดีย์ ทั้งสามงานจะประสานความเป็นมิตรต่อกัน ด้วยเหตุที่ปากแม่น้ำเจ้าพระยาตั้งแต่เมืองพระประแดงลงไป เป็นพื้นที่น้ำกร่อย ไม่มีแหล่งดอกบัวที่จะนำไปบูชาในงานวัด  เมื่อถึงหน้างานบุญ ชาวมอญจะต้องพากันแจวเรือเข้าไปในคลองสำโรงเพื่อเก็บดอกบัว

-   ชาวสยาม จะจัดเตรียมงานโยนบัว เพื่อให้ชาวมอญรับบัวบนเรือนั้น (ฉลอง ๓ วัน)
-   ชาวมอญ จะตระเตรียมดอกไม้ทั้งหมด เพื่อคอยต้อนรับชาวปากน้ำที่พระประแดง (๑ วัน)
-   ชาวปากน้ำ จะจัดขบวนเรือแห่ผ้าแดง แจวเรือไปเมืองพระประแดง ชาวมอญจะให้การต้อนรับ มีเลี้ยงกลางวัน แล้วรับดอกบัวจากชาวมอญ เพื่อนำมาใช้ในงานนมัสการองค์พระสมุทรเจดีย์ (ปัจจุบัน ฉลองงานกัน ๑๐ วัน ๑๐ คืน)
บันทึกการเข้า
ปากน้ำเจ้าพระยา
มัจฉานุ
**
ตอบ: 163


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 22  เมื่อ 21 ม.ค. 08, 17:41

มหรสพกลางแม่น้ำเจ้าพระยา
   
   ปี พ.ศ. ๒๓๗๑ พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวได้เสด็จจากพระบรมมหาราชวังโดยทางชลมารค พร้อมด้วยข้าราชบริพาร ข้าราชการน้อยใหญ่ เถรานุเถระนำด้วยขบวนแห่พระบรมสารีริกธาตุ และพระไตรปิฎก (ต่อมาถูกโจรขโมยไป) มาบรรจุไว้ตรงบริเวณคอระฆังคว่ำขององค์พระเจดีย์ ทรงบำเพ็ญพระราชกุศลทำการสมโภชครั้งนั้นอย่างยิ่งใหญ่ พระองค์ได้ทรงตั้งสัตยาธิฐานในการที่ได้ทรงก่อสร้างองค์พระสมุทรเจดีย์ในครั้งนี้แล้วเสร็จ ตามพระประสงค์ของพระราชบิดา (รัชกาลที่ ๒)

           จากภาพจิตรกรรมฝาผนัง ณ ศาลาทรงยุโรปบนเกาะองค์พระสมุทรเจดีย์ เป็นการจัดงานมหรสพ (งานเจดีย์) ครั้งแรกในสมัยรัชกาลที่ ๓ กลางแม่น้ำเจ้าพระยา ทางฝั่งเกาะองค์พระสมุทรเจดีย์ ซึ่งเป็นพื้นที่ผิวน้ำสงบนิ่ง ราษฎรที่เข้ามาร่วมสมโภชงาน หลังจากเข้านมัสการองค์พระสมุทรเจดีย์แล้ว ต่างแจวเรือเข้าเที่ยวแวะชมการแสดงต่างๆที่จัดบนเวทีเรือนแพ กลางลำแม่น้ำตามใจชอบ ครั้งนั้น มีการจัดงานกันถึง ๕ วัน ๕ คืน




บันทึกการเข้า
ปากน้ำเจ้าพระยา
มัจฉานุ
**
ตอบ: 163


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 23  เมื่อ 21 ม.ค. 08, 17:43

ประกาศงานพระสมุทรเจดีย์
 รศ. ๑๒๙ (พ.ศ. ๒๔๕๓)
   
   มีประกาศการจัดเตรียมงานสมโภช นมัสการพระสมุทรเจดีย์ ประจำปี รศ. ๑๒๙ กำหนดวันที่ ๒๕ – ๒๖ ตุลาคม ดังมีรายละเอียดดังต่อไปนี้

บ่าย วันที่ ๒๔ ตุลาคม   เชิญผ้าสำหรับห่มองค์พระเจดีย์ลงเรือแห่ ผู้มีศรัทธาดังเคย ให้นำเรือมาโยงเรือผ้า ณ. ที่พักผู้ว่าราชการเมือง แห่เข้าคลองปากน้ำแล้วย้อนกลับเข้ามา แห่ไปห่มพระสมุทรเจดีย์ต่อไป
บ่าย วันที่ ๒๕ ตุลาคม   ตรงกับวันแรม ๗ ค่ำ เดือน ๑๑ มีการละเล่นต่างๆ ช่วงบ่าย
-   เด็กผู้ชายนุ่งกระสอบวิ่งแข่ง
-   ขึ้นเสาน้ำมันเอาสิ่งของ
-   ก้มหน้างมสิ่งของในอ่างแป้ง
-   เด็กผู้ชายปิดตาชกมวย
-   เด็กผู้ชายผูกบั้นเอว ๓ คนพวงหนึ่ง ยื้อแย่งเงิน
-   ปล่อยบอลลูน (ลูกโป่ง) ขึ้นอากาศ
การละเล่นในช่วงค่ำ
-   ที่หน้าเมือง (ศาลากลาง) ออกร้านขายสิ่งของ
-   ที่หน้าเมืองมียี่เกแต่งตัว
-   ที่วัดกลางมีเพลง และออกร้านขายสิ่งของ
-   บนเกาะพระเจดีย์มีเครื่องสาย และกลองยาว
สมควรจุดดอกไม้เพลิงต่างๆ ที่พระสมุทรเจดีย์ (กลับบ้าน)

รุ่งขึ้น ๒๖ ตุลาคม      มีการละเล่นเวลาย่ำรุ่งดังนี้
-   แข่งเรือพายหลายคน
-   แข่งเรือแจวตอนหัวเรือลำละ ๑ คน
-   แข่งเรือพายหัวเรือใส่หัวโขนลำละ ๑ คน
-   ไต่ราวไม่ไผ่ไม่ให้ตกน้ำ
-   ว่ายน้ำแข่งทาง ๑๕ วา
-   ปล่อยบอลลูน (ลูกโปร่ง) ปิดงาน

   ผู้ใดจะนำเรือมาแข่งขันหรือจะสมัครมาแข่งขันดังกล่าวแล้ว ก็ให้เตรียมเรือไปที่เรือทุ่นเจ้าพนักงานต่อไป เป็นการเสร็จในงานประชุมนมัสการพระสมุทรเจดีย์

                     ผู้รั้งเมืองสมุทรปราการ

อนึ่ง   เงินรายได้ ด้วยมีบริษัท รถไฟปากน้ำ  ออก ๓๐๐ บาท และจะเก็บรายได้จากค่าเช่าร้าน แผงลอย ค่าเรือจ้างอีกราว ๑๐๐ บาท ก็จะคิดเฉลี่ยให้เป็นการเพียงพอให้สนุกครึกครื้นต่อไป
 
คัดย่อ และ ปรับข้อความให้พอเข้าใจตามสมัย จากหอจดหมายเหตุแห่งชาติ
บันทึกการเข้า
ปากน้ำเจ้าพระยา
มัจฉานุ
**
ตอบ: 163


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 24  เมื่อ 21 ม.ค. 08, 17:47

         เชิญผ้าสำหรับห่มองค์พระเจดีย์ลงเรือแห่ ผู้มีศรัทธาดังเคย ให้นำเรือมาโยงเรือผ้า ณ. ที่พักผู้ว่าราชการเมือง แห่เข้าคลองปากน้ำแล้วย้อนกลับเข้ามา แห่ไปห่มพระสมุทรเจดีย์ต่อไป (แห่ผ้า ปี พ.ศ. ๒๔๖๙)



บันทึกการเข้า
ปากน้ำเจ้าพระยา
มัจฉานุ
**
ตอบ: 163


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 25  เมื่อ 21 ม.ค. 08, 17:50

 มีการละเล่นเวลาย่ำรุ่งดังนี้

-   แข่งเรือพายหลายคน
-   แข่งเรือแจวตอนหัวเรือลำละ ๑ คน
-   แข่งเรือพายหัวเรือใส่หัวโขนลำละ ๑ คน
-   ไต่ราวไม่ไผ่ไม่ให้ตกน้ำ
-   ว่ายน้ำแข่งทาง ๑๕ วา
-   ปล่อยบอลลูน (ลูกโปร่ง) ปิดงาน



บันทึกการเข้า
ปากน้ำเจ้าพระยา
มัจฉานุ
**
ตอบ: 163


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 26  เมื่อ 21 ม.ค. 08, 18:06

ผ้าแดงที่ร่วมใจกันแห่ จะถูกนำขึ้นห่มบริเวณรอบคอระฆังคว่ำ บนพระเจดีย์อันเป็นที่ประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุ
เป็นอันเสร็จพิธี จากนั้นก็เริ่มการฉลองงาน

ภาพงานเจดีย์ ร.ศ. ๑๑๒ ศิลปินชาวฝรั่งเศส (มีเวลาว่างมาก หลังชนะไทยในการรบที่ปากน้ำ วิกฤติ ร.ศ.๑๑๒)





บันทึกการเข้า
ปากน้ำเจ้าพระยา
มัจฉานุ
**
ตอบ: 163


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 27  เมื่อ 22 ม.ค. 08, 17:20

ภาพ ช่วงการยิงต่อสู้กันที่ปากน้ำ ร.ศ. ๑๑๒ (พ.ศ. ๒๔๓๖)
พระสมุทรเจดีย์ โดดเด่นท่ามกลางห่ากระสุนระหว่างเรือรบฝรั่งเศสกับปืนป้อมผีเสื้อสมุทร

(ผ่านร้อนผ่านหนาว แม้ในสมัยสงครามโลกครั้งที่ ๒ อเมริกาใช้กำลังปิดปากอ่าวด้วยการวางทุ่นระเบิดตลอดแนวปากน้ำเจ้าพระยา)



บันทึกการเข้า
ปากน้ำเจ้าพระยา
มัจฉานุ
**
ตอบ: 163


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 28  เมื่อ 22 ม.ค. 08, 22:38

มีบทกวีหลายบทที่รวบรวมได้ในวันนี้ (หลังจากเซ็งๆเรื่องหุ้นตก)
เป็นพระราชนิพนธ์เกี่ยวกับการเสด็จเมืองสมุทรปราการ ของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว อีกบท

“เรือใบใช้จักรกว้าง      คือปาน ลมเฮย
ถึงสมุทรปราการ      ปากน้ำ
พระสมุทรเจดีย์      ที่นมัส การเฮย
ขอเดชพระช่วยค้ำ      คู่ค้ำ คืนครอง”       

นอกจากนี้ ก็มีพระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ที่ได้ทรงอุปถัมภ์องค์พระสมุทรเจดีย์ไว้ในกาพย์เห่เรือ แห่ชมระยะทางไปปากน้ำ ความตอนหนึ่งว่า

“.…ผีเสื้อสมุทรป้อม   หนึ่งนั้นย่อมดูแข็งขลัง
ยิงปืนครืนครืนดัง      คำนับองค์พระทรงศร
สมุทรเจดีย์      ปูชนีย์ประณมกร
เอี่ยมโอ่สโมสร      กลางวิมลชลธาร….”    

ในปี พ.ศ. ๒๔๙๖ มีผู้เขียนบทกลอนเกี่ยวกับองค์พระเจดีย์ ในนิราชเตหลี คือ พลเรือตรีจวบ หงสกุล มีใจความดั่งทหารหาญว่า

“เรือแล่นผ่านพระเจดีย์ที่เคารพ   ประนมนบจบศีรษ์เป็นที่หมาย
ช่วยคุ้มครองป้องกันอันตราย              ถึงตัวตายขอให้ชาติได้ปราศภัย”     

ท่านยังได้กล่าวถึงผู้ที่ฉ้อราษฎร์ ทรยศต่อชาติในสมัยนั้นอีกด้วยว่า

“ขอบนบานศาลกล่าวท่านเหล่านี้         พระเจดีย์ช่วยสดับตรัสสรรเสริญ
หากกลับตัวกลัวธรรมจงเจริญ      แม้นหมางเมินมิกลับให้ยับไป”
         
อ่านแล้วก็ให้คิดถึง ว่าสามารถนำมาใช้ในเหตุการณ์ปัจุบันได้เหมือนกัน

 
บันทึกการเข้า
ปากน้ำเจ้าพระยา
มัจฉานุ
**
ตอบ: 163


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 29  เมื่อ 24 ม.ค. 08, 14:53

เมื่อพระมหาเจดีย์ไม่อยู่กลางน้ำ

ปี พ.ศ. ๒๔๕๐ ในการเสด็จกลับจากยุโรปของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
ระหว่างที่ขบวนเสด็จทอดเรือ ณ เกาะสีชัง ขบวนข้าราชบริพารได้รีบเดินทางล่วงหน้าเพื่อตระเตรียมพิธีรับเสด็จที่กรุงเทพฯ
มีผู้ถ่ายภาพขบวนรับเสด็จ แลเห็นเกาะองค์พระสมุทรเจดีย์อยุ่ไกลๆ (เป็นภาพที่ชัดเจนที่สุด)



บันทึกการเข้า
หน้า: 1 [2] 3 4
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.076 วินาที กับ 19 คำสั่ง