เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: [1] 2 3 4
  พิมพ์  
อ่าน: 24666 พระสมุทรเจดีย์ เมื่อพระมหาเจดีย์ไม่อยู่กลางน้ำ
ปากน้ำเจ้าพระยา
มัจฉานุ
**
ตอบ: 163


เว็บไซต์
 เมื่อ 15 ม.ค. 08, 05:08

           ตั้งแต่เริ่มก่อสร้างกรุงรัตนโกสินทร์ เจ้าเมืองญวน ชื่อ อาต๋ากง ได้เร่งทำการขุดคลองลัดจากทะเลสาบเขมร ออกไปจนถึงเมืองบันทายมาศ ใกล้เขตแดนไทยเข้ามาทุกที  จนถึงแผ่นดินพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย จึงมีพระราชดำริว่า กองทัพญวนอาจจะยกทัพมารุกรานไทยได้ จึงทรงเห็นว่าเราควรที่จะสถาปนาเมืองสมุทรปราการขึ้นใหม่ หลังจากที่ต้องกลายเป็นเมืองร้างคราวเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่ ๒
   
   ได้สร้างป้อมขึ้นทางฝั่งตะวันออกตรงปากแม่น้ำเจ้าพระยา ๔ ป้อม  ที่เกาะกลางปากแม่น้ำอีก ๑ ป้อม คือ เกาะป้อมผีเสื้อสมุทร ข้างปากแม่น้ำฝั่งตะวันตกสร้างอีก ๑ ป้อม ชื่อ ป้อมนาคราช
 
           “…….อนึ่ง ข้างเหนือเกาะป้อมผีเสื้อสมุทร มีหาดทรายเกิดขึ้นกลางน้ำ ทรงพระราชดำริว่าจะสร้างพระเจดีย์ขึ้นที่หาดทรายนั้น ไว้เป็นที่สักการะบูชาเพื่อป้องกันอกุศลภัย อันเกิดจากจิตของพุทธศาสนิกชนทั้งปวงอันได้สัญจรไปมาในทางนี้ เมื่อได้เห็นได้บูชาพระมหาเจดีย์ จะได้เลื่อมใสเกิดกุศลจิตเป็นเครื่องบรรเทาเบาบางจากปรโลกยภัยลงได้บ้าง……"

   พระราชทานนามพระมหาเจดีย์นี้ว่า  “พระสมุทรเจดีย์” ด้วยมีพระราชประสงค์เพื่อให้เป็นศาสนสถานอันเป็น พระมหาเจดีย์คู่เมืองสมุทรปราการ และ เป็นเครื่องระลึกถึงพระราชกรณีย์กิจให้ปรากฏเป็นพระเกียรติยศในการบูรณะปรับปรุงเมืองสมุทรปราการจนแล้วเสร็จ แต่ก็เป็นที่น่าเสียดายที่เมื่อเริ่มถมศิลาเพิ่มฐานและขนาดของเกาะแล้วเสร็จ ยังไม่ทันได้เริ่มก่อสร้าง รัชกาลที่ ๒ ก็เสด็จสวรรคตเสียก่อน พระสมุทรเจดีย์ในยุคแรกดำเนินการก่อสร้างต่อจนเสร็จสมบูรณ์ในสมัยรัชกาลที่ ๓ ปี พ.ศ. ๒๓๗๑ 
บันทึกการเข้า
ปากน้ำเจ้าพระยา
มัจฉานุ
**
ตอบ: 163


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 1  เมื่อ 15 ม.ค. 08, 05:15

การก่อสร้างเกาะป้อมผีเสื้อสมุทร เหนือป้อมมีเกาะขนาดเล็กฐานเป็นหาดทราย
(ภาพจิตรกรรมบนฝาผนัง ศาลาห้าห้องทรงยุโรป บนเกาะพระสมุทรเจดีย์)



บันทึกการเข้า
ปากน้ำเจ้าพระยา
มัจฉานุ
**
ตอบ: 163


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 2  เมื่อ 15 ม.ค. 08, 05:20

รัชกาลที่ ๒ ทรงมีพระบรมราชโองการดำรัสสั่งให้กรมพระราชวังบวรมหาศักดิ์พลเสพ ซึ่งครั้งนั้นยังดำรงพระยศเป็นกรมหมื่นศักดิ์พลเสพ กับ พระยาเพชรพิชัย (เกด) ซึ่งในเวลานั้นเป็นพระยาราชสงคราม ให้เขียนแผนผังรูปพระมหาเจดีย์ถวาย ได้ทอดพระเนตร และทรงปรับแต่งจนเป็นที่พอพระราชหฤทัย



บันทึกการเข้า
ปากน้ำเจ้าพระยา
มัจฉานุ
**
ตอบ: 163


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 3  เมื่อ 15 ม.ค. 08, 05:30

แผนที่เมืองสมุทรปราการ สมัยรัชกาลที่ ๒
(สำรวจโดย มิสเตอร์จอร์น คลอเฟิต ชาวอังกฤษที่เข้ามาสอดแนมพื้นที่สยาม)
สังเกตุ เกาะป้อมผีเสื้อสมุทร และเกาะองค์พระสมุทรเจดีย์ มีฐานร่วมกันใต้แม่น้ำเจ้าพระยา
สีแดงบนฝั่งสองข้างแม่น้ำ คือ แนวป้อมปราการเมืองสมุทรปราการ



บันทึกการเข้า
ปากน้ำเจ้าพระยา
มัจฉานุ
**
ตอบ: 163


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 4  เมื่อ 15 ม.ค. 08, 05:32

แผนที่เมืองสมุทรปราการ กรมแผนที่ทหารสำรวจเมื่อปี พ.ศ. ๒๔๕๕



บันทึกการเข้า
ปากน้ำเจ้าพระยา
มัจฉานุ
**
ตอบ: 163


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 5  เมื่อ 15 ม.ค. 08, 09:30

สมัยรัชกาลที่ ๔ เกิดเหตุให้ต้องมีการปรับปรุงพระสมุทรเจดีย์ครั้งใหญ่ เมื่อมีโจรใจบาปปีนขึ้นไปบนพระเจดีย์ และเจาะเอาพระบรมสารีริกธาตุที่บรรจุไว้ออกไป พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว จึงโปรดเกล้าฯ ให้ก่อสร้างองค์พระเจดีย์ที่ใหญ่และสูงขึ้นครอบองค์พระเจดีย์เดิม เพิ่อไม่ให้เกิดการปีนขึ้นไปบนพระเจดีย์ได้อีก พระสมุทรเจดีย์ในสมัยต่อมา จึงมีลักษณะที่เด่นและงดงามสมบูรณ์ขึ้น

ภาพพระสมุทรเจดีย์ ในสมัยรัฃกาลที่ ๕ ที่มีผู้นำไปทำ ส.ค.ส.




บันทึกการเข้า
ปากน้ำเจ้าพระยา
มัจฉานุ
**
ตอบ: 163


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 6  เมื่อ 15 ม.ค. 08, 09:46

          ปัจจุบัน ไม่ปรากฏว่าพระสมุทรเจดีย์ หมดสภาพความเป็นเกาะไปเมื่อใด แต่จากภาพที่มีผู้ถ่ายไว้ในปี พ.ศ. ๒๕๐๘ "พระเจดีย์กลางน้ำ" ที่ชาวบ้านเคยเรียกกัน ก็ปรากฏกลายสภาพเป็นเหมือนวัดที่ตั้งอยู่ริมแม่น้ำเจ้าพระยาไป ทำให้เด็กรุ่นใหม่ แม้แต่ผมเองก็เริ่มสงสัยในประวัติ และวิวัฒนาการขององค์ศาสนสถานแห่งนี้ ว่าเกิดอะไรขึ้น



บันทึกการเข้า
ปากน้ำเจ้าพระยา
มัจฉานุ
**
ตอบ: 163


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 7  เมื่อ 15 ม.ค. 08, 21:23

          เหตุใด ความเป็นเกาะหรือไม่เป็นเกาะขององค์พระสมุทรเจดีย์จึงมีความสำคัญ

          แหม่มแอนนา ลีโอโนเวน ผู้ซึ่งมีบันทึกว่า เคยถูกเชิญเข้ามาเป็นครูสอนภาษาอังกฤษในพระราชสำนักช่วงปี พ.ศ. ๒๔๐๕ ถึง พ.ศ. ๒๔๑๐ แหม่มแอนนาถือเป็นฝรั่งชาวอังกฤษคนเดียวในขณะนั้นที่ได้ทำการบันทึกเรื่องราวเกี่ยวกับความงาม และ ความยิ่งใหญ่ของเกาะองค์พระสมุทรเจดีย์หลังการปรับปรุงครั้งใหญ่ ระหว่างที่เธอนั่งเรือจากสันดอนปากอ่าวสยาม ผ่านเข้ามาทางเมืองสมุทรปราการ เป็นบันทึกลงวันที่ ๑๕ มีนาคม ๒๔๐๕ (๑ ปี หลังการปฏิสังขรณ์ครั้งใหญ่ สมัยรัชกาลที่ ๔)

“…..กลางแม่น้ำ ที่หน้าเมือง มีเกาะกลางอยู่ ๒ เกาะ เกาะแรกมีป้อมปราการ รอบเกาะเขียวไปด้วยต้นไม้…อีกเกาะหนึ่งเป็น เกาะเล็กกว่า มีวัดพุทธศาสนาก่อสร้างไว้อย่างสวยงาม และแปลกตาเป็นเอกลักษณ์เฉพาะเมืองสยามที่จัดสร้างไว้อย่างยิ่งใหญ่ เปรียบได้ราวกับการสร้างปิรามิตที่อียิปเลยทีเดียว ชาวสยามเรียกว่า พระเจดีย์ (แหม่มแอนนา เขียนเป็น Phra Cha Dei) …..บนฝั่งแม่น้ำ ตรงข้ามเกาะทั้งสอง มีตึกที่ก่อสร้างพิเศษดูแตกต่างจากสภาพบ้านเรือนทั่วไปของเมืองสยาม ทราบภายหลังว่าเป็น พระราชวังฤดูร้อน ของพระเจ้าแผ่นดิน….”

-   ที่หน้าเมือง หมายถึง ศาลาว่าการเมืองสมุทรปราการ
-   เกาะแรกมีป้อมปราการ คือ เกาะป้อมผีเสื้อสมุทร
-   เกาะเล็กกว่า ก็คือ  เกาะองค์พระสมุทรเจดีย์ (แหม่มแอนนา เข้าใจผิดว่าเป็นวัด)
-   พระราชวังฤดูร้อน ก็คือ พระราชวังสมุทรปราการ สร้างในสมัยรัชกาลที่ ๔
 
   แหม่มแอนนายังให้ความสนใจถึงความพยายาม และความศรัทธาของคณะผู้ก่อสร้างพระสมุทรเจดีย์ตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ ๒ ว่าจะต้องใช้วิธีการที่ยากลำบากเพียงใด ในการขนย้ายอิฐหินดินทราย ลำต้นตาล และ ศิลาขนาดใหญ่ ท่ามกลางกระแสน้ำที่ไหลเชี่ยวและลึกตรงปากแม่น้ำเจ้าพระยา เพื่อข้ามไปทำการถมอัด และก่อฐานเกาะหาดทรายขนาดเล็กที่โผล่เพียงเนินออกมา จนกลายสภาพเป็นเกาะองค์พระสมุทรเจดีย์อันสง่างาม คู่เมืองสมุทรปราการ และเคียงคู่เกาะป้อมผีเสื้อสมุทร
บันทึกการเข้า
ปากน้ำเจ้าพระยา
มัจฉานุ
**
ตอบ: 163


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 8  เมื่อ 16 ม.ค. 08, 23:02

         ในสมัยที่ยังไม่มีเครื่องบินใช้ การเดินทางเข้าออกประเทศไทยนิยมเดินทางโดยทางเรือ และเมื่อเดินทางจากทะเลอ่าวไทยเข้าสู่ปากน้ำเจ้าพระยา สิ่งแรกที่ทุกคนจะต้องเห็นก็คือ เกาะองค์พระสมุทรเจดีย์ ซึ่งชาวเรือทุกคนต่างก็มีความศรัทธาต้องแวะทอดเรือเพื่อ นมัสการองค์พระสมุทรเจดีย์ทุกครั้งเพื่อความเป็นสิริมงคล

          แม้ในหนังสือจดหมายเหตุ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ในช่วงเสด็จประภาสเมืองจันทบุรี รศ. ๙๕ (พ.ศ. ๒๔๑๙) ก็ยังมีบันทึกไว้ตอนหนึ่ง (ตัวสะกดตามอักษรเดิม) ว่า

“….เรือผ่านหน้าป้อมเสือซ่อนเล็บ มาทอดตรงพระสมุทเจดีย์ พระสมุทมาหาได้พูดกันด้วยเรื่องโทรเลขปากน้ำ แล้วมอบ เทียนไปบูชาพระสมุทเจดีย์ ๘ เล่ม เพราะจะไปทะเลแต่เดิมมา ก็ยังไม่เคยขาดเลยสักครั้งหนึ่ง ต้องบูชาทุกเที่ยว…..”

(พระสมุท ในที่นี้เป็นราชทินนามย่อของ พระสมุทบุรานุรักษ์ (เนตร) ผู้ว่าราชการจังหวัดคนแรกของเมืองสมุทรปราการ )

   การเสด็จอีกครั้งนึง เป็นความในจดหมายเหตุ ภายหลังเสด็จพระราชดำเนินกลับจากการประทับ ณ เกาะสีชัง ได้เสด็จโดยเรือพระที่นั่งเข้าสู่ปากแม่น้ำเจ้าพระยา เมืองสมุทรปราการ ในวันพฤหัสบดีที่ ๒๐ ตุลาคม ๒๔๓๐ มีพระราชนิพนธ์ จดหมายเหตุพระราชกิจรายวันพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ภาคที่ ๒๔ บันทึกไว้ ความว่า

“...…วันพฤหัสบดี ขึ้น ๔ ค่ำเดือน ๑๒ ปีกุล นพศก ศักราช ๑๒๔๙ เวลาเช้า ๒ โมงครึ่ง เรือพระที่นั่งถึงสมุทรปราการ ทอดเรือพระที่นั่งตรงพระสมุทรเจดีย์ นมัสการพระสถูปและพระปฏิมาในพระวิหาร ทอดพระเนตรการต่างๆ…....”
 
           นับจากปี พ.ศ. ๒๔๑๙ ถึงปี พ.ศ. ๒๔๓๐ เป็นเวลา ๑๑ ปี จะเห็นว่าขบวนเรือพระที่นั่ง เมื่อเข้าสู่ปากน้ำเจ้าพระยา จะต้องทอดเรือเพื่อทรงสักการะบูชาองค์พระสมุทรเจดีย์อยู่เสมอมิเคยขาด
บันทึกการเข้า
V_Mee
สุครีพ
******
ตอบ: 1436


ความคิดเห็นที่ 9  เมื่อ 16 ม.ค. 08, 23:58

ข้อความนี้คัดจากราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๔  วันที่  ๘  พฤศจิกายน  จ.ศ. ๑๒๕๐ (พ.ศ. ๒๔๓๑)

"วัน ๒ เดือน ๑๐ ขึ้น ๑๒ ค่ำ  ปีชวดสัมฤทธิศก  เวลาบ่ายโมง ๑  เรือพระที่นั่งข้ามสันดอนเข้ามาเวลาบ่าย ๒ โมง  ถึงพระสมุทเจดีย์  ทอดเรือพระที่นั่ง  แล้วเสด็จขึ้นบนเกาะพระสมุทเจดีย์  ทรงปิดทองพระพุทธรูปในวิหาร ๓ องค์  มีพิณพาทยประโคม  แล้วเสด็จกลับเรือพระที่นั้ง  เวลาบ่าย ๔ โมง  ๑๕  มินิต  เดินเรือพระที่นั่งมาจากเมืองสมุทปราการ..."

วัน ๒ เดือน ๑๐ ขึ้น ๑๒ ค่ำ  ปีชวดสัมฤทธิศก   คือวันจันทร์ที่  ๑๗  กันยายน  จุลศักราช ๑๒๕๐  (พ.ศ. ๒๔๓๑)
บันทึกการเข้า
ปากน้ำเจ้าพระยา
มัจฉานุ
**
ตอบ: 163


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 10  เมื่อ 17 ม.ค. 08, 15:56

โคลงพระราชทาน

         ในการเสด็จประพาสเมืองสมุทรปราการครั้งเดียวกัน ในช่วงเสด็จประภาสเมืองจันทบุรี รศ. ๙๕ (พ.ศ. ๒๔๑๙) นี้ รัชกาลที่ ๕ ได้ทรงเรียกหาปราชญ์ท้องถิ่น ที่เป็นข้าหลวงประจำการอยู่ที่ป้อมปืนปากน้ำผู้หนึ่ง ซึ่งได้เคยแต่งโคลงเฉลิมพระเกียรติรัชกาลที่ ๕ เอาไว้ คือ หลวงอินทรอาวุธ (เจ้ากรมทหารปืนใหญ่) เป็นโคลงที่ผู้แต่งบันทึกตั้งแนบไว้ในที่ลับ บังเอิญสมเด็จพระพุทธเจ้าหลวงได้ทอดพระเนตรเห็นเข้าพอดี ตั้งแต่การเสด็จมาปากน้ำครั้งก่อน สำนวนที่ทรงชื่นชอบและทรงจำได้มีอยู่ว่า

   “พระ บำรุงอยุทธเยศแม้น   เมืองอมร
   เดช  จบขจายจร      เจิดจ้า
   พระ  เลี้ยงรักราษฎร      ดลสุข ทั่วแฮ
   คุณ  พระผ่านภพหล้า   ปกเกล้าเหล่าทหาร
   
   อยู่  พึ่งพระเดชด้วย      บารมี
   เยน  ทั่วประชาชี      แช่มช้อย
   เปน ข้าละอองธุลี      ปวบาท พระยา
   ศุข  กระเษมใช่น้อย   รุ่งเรืองเริงใจ”
บันทึกการเข้า
ปากน้ำเจ้าพระยา
มัจฉานุ
**
ตอบ: 163


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 11  เมื่อ 17 ม.ค. 08, 16:11

(ต่อ)

          ครั้งนั้น ทรงพอพระทัยในการแต่งถวายโคลงนี้เป็นอย่างมาก จึงทรง (นึกสนุก) ตั้งกระทู้สดในการเสด็จมาปากน้ำครั้งนี้ด้วย จนเป็นที่มาของโคลงพระราชทาน พระพุทธเจ้าหลวงทรงตั้งกระทู้ว่า “พระสมุทรเจดีย์” หลวงอินทรอาวุธ ก็ได้แก้กระทู้ตอบ ถวายอย่างทันท่วงทีว่า

   “พระ  ผู้ผ่านภพเกล้า   กรุงทวาร วดี
   สมุทร ปราการนัดรา               แรกตั้ง
   เจ     สัวอิกนานา      ประเทศ อื่นเอย
   ดีย์    มโนทั่วทั้ง      ไพร่ฟ้าประชาชน”
   
   เจ้านายหลายท่านที่ร่วมถวายการต้อนรับอยู่ในขณะนั้น ต่างก็ฮือฮาต้องใจในความสามารถทางภาษา และการแก้กระทู้สดถวายของหลวงอินทรอาวุธเป็นอย่างมาก สมเด็จพระพุทธเจ้าหลวงทรงรับฟังแล้วก็พอพระทัย แต่ก็ทรงดำริแนะนำไว้เล็กน้อยว่า เนื้อความออกจะไม่เกี่ยวข้องกับสถานที่องค์พระสมุทรเจดีย์ที่ทรงดำริไว้ในพระทัย แต่ออกจะเป็นไปทางสรรเสริญเยินยอกันเสียมากกว่า จึงตรัสตอบว่า

          “ความยังไม่กินกระทู้  เป็นคนละทาง แต่ต้องยกโทษให้ เพราะเปนปัจจุบันจริงๆ”

(คำว่า เปนปัจจุบัน ก็คือ การโต้ตอบโดยทันที)
แล้วจึงทรงพระราชนิพนธ์โคลงแก้กระทู้ประวัติศาสตร์ แด่ชาวสมุทรปราการ อีกด้วยว่า
 
   “พระ  สถูปธิราชสร้าง   ในสฐาน
   สมุท  ปราการตรง              เกาะนี้
   เจ     ดีย์ทิศไพหาร              ทรงเพิ่ม ใหม่แฮ
   ดีย์    ลกพระเกียรติชี้   เชิดให้บูชา”

 (หนังสือจดหมายเหตุ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จประภาสเมืองจันทบุรี รศ. ๙๕)
บันทึกการเข้า
ปากน้ำเจ้าพระยา
มัจฉานุ
**
ตอบ: 163


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 12  เมื่อ 17 ม.ค. 08, 20:57

มีภาพพระสมุทรเจดีย์ ถ่ายโดย Mr. J. Antonio ฝรั่งผู้เข้ามาถ่ายภาพในเอเชียมากมายในสมัยรัชกาลที่ ๕
J. Antonio ได้คัดภาพพระสมุทรเจดีย์ที่งดงามที่สุด มาจัดทำเป็นไปรษณีย์บัตร คือภาพด้านล่างนี้



บันทึกการเข้า
ปากน้ำเจ้าพระยา
มัจฉานุ
**
ตอบ: 163


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 13  เมื่อ 17 ม.ค. 08, 21:07

ภาพนี้ สังเกตุดวงตราไปรษณีย์ลงวันที่ ๔-๒-๑๒๙ (ร.ศ. ๑๒๙ คือปี พ.ศ. ๒๔๕๓)
เอื้อเฟื้อภาพโดย คุณลุงเผด็จ ดาวเจริญ



บันทึกการเข้า
ปากน้ำเจ้าพระยา
มัจฉานุ
**
ตอบ: 163


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 14  เมื่อ 18 ม.ค. 08, 14:08

     ตั้งแต่จำความได้ ผมเห็นหลายบ้านในตลาดปากน้ำ ตั้งภาพนี้บูชา โดยที่ไม่มีใครตอบได้ว่ามีที่มาอย่างไร จนเมื่อได้เห็นภาพนี้จากหนังสือ “ไปรษณียบัตรเจ้าฟ้า” พระนิพนธ์โดยพระผู้เสด็จสู่สวรรคาลัย  สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ พวกเราก็ยิ่งเกิดความภาคภูมิใจ ด้วยเพราะพระองค์ท่านได้ทรงอธิบายถึงพระผู้จัดส่งภาพ คือ สมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก  และตัวอักษรที่ปรากฏบนภาพด้วยว่าหมายความถึงใคร อันเป็นความซาบซึ่งในพระมหากรุณาธิคุณอย่างหาที่สุดมิได้   

 


บันทึกการเข้า
หน้า: [1] 2 3 4
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.079 วินาที กับ 19 คำสั่ง