|
ติบอ
|
ความคิดเห็นที่ 31 เมื่อ 28 ม.ค. 08, 23:10
|
|
คอมเจ๊ง รูปไปพม่าหายหมดเลยครับ
อย่างน้อยในฮิฟิที่ upload ไว้ก็พอเหลือน่า สู้ๆเว๊ย คุณเพื่อน!!!
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
pipat
|
ความคิดเห็นที่ 32 เมื่อ 29 ม.ค. 08, 10:38
|
|
รูปหายไม่เป็นไร เรื่องอย่าหายเป็นใช้ได้
เล่าต่อนะครับ.....คนรอตรึม
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
CrazyHOrse
|
ความคิดเห็นที่ 33 เมื่อ 29 ม.ค. 08, 13:00
|
|
คอมเจ๊ง ใจเย็นๆครับ ฮาร์ดดิสก์อาจจะไม่เจ๊ง ถอดไปต่อกับเครื่องอื่น เอาข้อมูลออกมาดีกว่าครับ
เสียดาย
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
"Postel's Law": "be conservative in what you do, be liberal in what you accept from others"
|
|
|
ศศิศ
|
ความคิดเห็นที่ 34 เมื่อ 29 ม.ค. 08, 14:49
|
|
สรีสวัสสดีครับผม
ภาวนาให้ข้อมุลยังคงอยู่นะครับผม แหม!! การไปแอ่วเมืองม่านนี้เป็นสิ่งที่ผมหวังไว้เหมือนกันว่าสักวันหนึ่งจะไปตะลุยเมืองม่าน ขึ้นไปถึงเมืองไต เลย
แต่ตอนนี้ รอดูรูปไปก่อนครับ 
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
- ศศิศ -
|
|
|
|
ศศิศ
|
ความคิดเห็นที่ 36 เมื่อ 29 ม.ค. 08, 17:45
|
|
สวัสดีครับผม
เห็นรูปวัดอุโมงค์ที่เชียงใหม่แล้ว ก็นึกไปถึงวัดต้นแบบของวัดนี้ ที่พุกาม
ไม่ทราบว่าคุณติบอได้ไปเห็นต้นแบบวัดอุโมงค์ที่พุกามไหมครับผม
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
- ศศิศ -
|
|
|
Kurukula
|
ความคิดเห็นที่ 37 เมื่อ 29 ม.ค. 08, 21:51
|
|
เฮ่อออ........ในที่สุดก็กู้โลก เอ๊ย กู้รูปกลับมาได้แล้วครับ สยองเล็กๆ
เจดีย์ฉปัฏด้านบนครับ คุณศศิศ ที่คนไทยถือเป็นอนุสติเลยว่าเป็นต้นแบบของเจดีย์วัดอุโมงค์
แต่ถ้าสังเกตดีๆก็ยังมีความแตกต่าง เช่น
ฉปัฎ วัดอุโมงค์เถรจันทร์
ไม่มีรัดอกแบบลังกา องค์ระฆังมีรัดอก เป็นแบบพม่าแท้
ก้านฉัตรไม่มีรูปบุคคลแทนที่เสาหาน ก้านฉัตรมีรูปบุคคล ตรงกับเทวาตาโกฏุวะของลังกา (แต่อาจซ่อม)
มีลานประทักษิณขนาดใหญ่ ไม่มีลานประทักษิณ เพราะอยู่บนลานเหนืออุโมงค์
ชุดฐานมี 2 ชุด ชุดฐานเจาะช่องท้องไม้ มี 3 ชุด
เหนือชุดฐานไม่มีกลีบบัว เหนือชุดฐานมีกลีบบัว ลักษณะคล้ายฐานแบบพม่าแท้
ยังไม่เคยเข้าไปดูในกรุวัดอุโมงค์เลยครับ อยากให้คุณ Pipat ที่น่าจะเคยเห็นเคยชมเข้ามาเล่าให้ฟังเกี่ยวกับจิตรกรรมข้างในบ้าง
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
Kurukula
|
ความคิดเห็นที่ 38 เมื่อ 29 ม.ค. 08, 22:15
|
|
เอาเรื่องพระฉปัฏมาเล่าให้ฟังบ้างครับ
เนื้อความปรากฏในจารึกกัลยาณีสีมา กรุงหงสาวดี เล่าถึงการประดิษฐานพระสงฆ์ลังกาวงศ์ในพม่า
พระฉปัฏเป็นศิษย์พระอุตตราชีวมหาเถระ ซึ่งออกไปยังลังกาสมัยพระเจ้านรปติสิทธุ เหตุการณ์ในลังกาตรงกับรัชสมัยพระเจ้าปรากรมพาหุที่ 1 แห่งกรุงโปลนนารุวะ
“และที่ชนทั้งหลายเรียกสามเณรว่าฉปฏสามเณรนั้น เพราะว่าสามเณรนั้นเป็นบุตรของชาวบ้านฉปฏคาม ซึ่งมีอยู่ในแคว้นกุสิมราษฏร์ (เมืองพะสิม)
“แม้เมื่อพระอุตตราชีวมหาเถระขึ้นสู่นาวาไปถึงลังกาทวีปแล้ว ในกาลนั้นพระมหาเถระชาวลังกาทวีปทั้งหลาย ก็ชักชวนกันมาสนทนาซักถามในข้อธรรมิกถา”
พระอุตตรชีวเถร และภิกษุชาวลังกาล้วนมีความรักใคร่กลมเกลียวกันดี เนื่องจากภิกษุพม่าก็ถือว่าตนเองสืบศาสนวงศ์มาจากพระโสณเถรและพระอุตตระ ซึ่งเป็นผู้ประดิษฐานพระศาสนาไว้ในสุวรรณภูมิ ขณะที่พระสงฆ์ลังกาเป็นเชื้อสายพระมหินทเถระ
“เหตุดังนั้น เราทั้งหลายทั้งปวง เปนผู้มีสมานสังวาสเสมอกัน จงกระทำสังฆกรรมร่วมกันเถิด ครั้งกล่าวดังนี้แล้ว จึงกระทำอุปสมบทฉปฏสามเณร ผู้มีอายุครบ 20 ปี เป็นภิกขุภาพในพุทธศาสนา”
เมื่อพระอุตตรชีวเถรนมัสการเจติยสถานในกรุงลังกาครบถ้วน และกระทำกิจต่างๆสำเร็จแล้ว ก็เดินทางกลับกรุงพุกาม ขณะที่พระฉปัฏขออยู่ศึกษาธรรมะต่อไปอีก จนมีพรรษาได้ 10 พรรษา ก็เดินทางกลับพุกาม
แต่พระฉปัฏก็ยังมีความกังวลใจว่า ตนเองเป็นลัทธิลังกาวงศ์ ถ้ากลับไปพุกามแต่ผู้เดียว แล้วหากพระอุตตรชีวเถรไม่อยู่เสียแล้ว ตนก็ไม่ปรารถนาจะทำสังฆกรรมกับผู้ใด
คิดดังนั้นแล้วจึงชวนเพื่อนภิกษุลังกาวงศ์ได้ 4 รูป คือ
“พระสิวลีเถระเป็นบุตรชาวตามลิตถิคาม (ตามรลิปติในอินเดียใต้) พระตามลินทเถระ เป็นพระราชโอรสของพระเจ้ากัมโพช (เซเดส์ เชื่อว่าเป็นพระโอรสพระเจ้าชัยวรมันที่ 7) พระอานันทเถระ ชาวกาญจีปุรัมในอินเดียใต้ และพระราหุล ชาวลังกา”
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
ติบอ
|
ความคิดเห็นที่ 39 เมื่อ 29 ม.ค. 08, 22:35
|
|
โอว เซียนตัวจริงประทับทรง คิคิ
ปล. ลืมบอกไปคับ ข้อมูลผมเรื่องพระฉปัฏ credit วิทยานิพนธ์ของคุณความคิดเห็นข้างบนนี่ล่ะครับ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
|
pipat
|
ความคิดเห็นที่ 41 เมื่อ 30 ม.ค. 08, 00:49
|
|
โอ้.....น้องเรา ซิ่งสบัดช่อ แป๊ปเดียว จะ 50 กระทู้แล้วหรือ
อุโมง ที่วัดอุโมงค์นั้น มีคนทำเวบอธิบายเป็นอย่างดี ขออภัยด้วย ที่หาลิ้งค์ไม่เจอ แต่ยอดฝีมือในการเล่นซ่อนหา คงหามาได้น่า
ผมเคยเข้าไปสมัยนู้น มีแต่แดดเป็นเครื่องนำทาง เห็นว่าเป็นการทำตามคตินิยมแบบพุกาม ที่ต้องการสร้างคูหาในภูเขา เพื่อจำลองสถานภาวนาของพระอรหันต์ ศาสนวงศ์มีเล่าไว้ คุณสามศ คงเล่าได้
ท่านขุดภูเขาเข้าไปผสมกับการก่อสร้างเสริม กลายเป็นทางเดินสั้นๆ (เมื่อสมบูรณ์ น่าจะทะลุถึงกัน แต่มาพังเหลือแค่ที่เข้าไปได้) เขียนสีไว้ พอเห็นร่องรอยเป็นเรื่องอดีตพุทธ หรืออาจจะเป็นหมู่อรหันต์ก็ไม่เห็นชัด แต่ต้นแบบนั้น มีหลายแห่งในพุกาม สองหนุ่มคงเจนตา แห่งหนึ่งเป็นปูนปั้น เรื่องชาดก
แต่ที่เป็นของจริงในชีวิตก็คือ มีพระเถระรูปหนึ้ง อยู่ในอุโมงค์มา 60 ปีแล้ว (เมื่อผมไปเยือน...สมัยคุณซูจียังอยู่ลอนดอน) ชาวบ้านนับถือว่าเป็นอรหันต์ ท่านติดต่อก็แต่กับศิษย์ที่นำอาหารไปส่ง บำเพ็ญเพียรไม่หยุดหย่อน คิดว่าป่านนี้ คงไปสู่นิพพานแล้ว....สาธุ
ความคิดเรื่องอุโมงค์นี่ ครอบงำสถาปนิกพม่ามาทั้งประวัติศาสตร์ ยิ่งใหญ่สุดก็อานันทเจดีย์
ที่นักปราชญ์ไทยคิดว่าเป็นแบบเดียวกับวัดพระเมรุ นครปฐม ได้ไปดมมาทั้งสองแห่ง คิดว่ามิใช่แนวคิดทางสถาปัตยกรรมเดียวกันครับ วัดอุโมงค์แหละ จึงใช่
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
|
ติบอ
|
ความคิดเห็นที่ 43 เมื่อ 30 ม.ค. 08, 08:49
|
|
ถึงคุณพิพัฒน์ครับ
ผมไม่กล้าปล่อยกระทู้ให้อืดเอื่อยเหมือนเมื่อก่อนแล้วครับ ตอนนี้แอบกลัวกระทู้อยุธยาจะแซงหน้าครับ
ส่วนคุณศศิศ ครับ
อุโมงค์ ในวัดอุโมงค์ เป็นสถาปัตยกรรมแบบหนึ่งที่พบในพุกามจริงๆ จิตรกรรมที่เหลืออยู่ที่นั่นยังเหลืออยู่มากกว่าเศษทรากของจิตรกรรมสมัยพุกามนัก เดี๋ยวผมขอเอาไว้พูดถึงตอนที่เดินทางไปถึงนะครับ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
Kurukula
|
ความคิดเห็นที่ 44 เมื่อ 30 ม.ค. 08, 19:41
|
|
อุโมงค์ในศิลปะพุกามมีมากมายเต็มไปหมดเลยครับ
ก็ไม่ทราบเหมือนกันว่าทำไมจึงหลุดเข้ามาในเมืองไทยที่เดียว
แล้วจิตรกรรมข้างในก็ค่อนข้างแตกต่างกัน ระหว่างไทย-พม่าด้วย
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
|