เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: [1] 2
  พิมพ์  
อ่าน: 6779 สวัสดีปีใหม่ไทย - ไต (ย้อนหลัง) ครับ
ศศิศ
พาลี
****
ตอบ: 326


อหังการ์ ล้านนาประเทศ


เว็บไซต์
 เมื่อ 11 ธ.ค. 07, 17:41

 ยิงฟันยิ้ม สวัสดีปีใหม่ครับผม

มาช้าหนึ่งวัน อย่างไรก็ขอโทษด้วยนะครับผม

ปีใหม่ไทย - ไต ขึ้น ๑ ค่ำ เดือน อ้าย   

อย่างไรก็ขอให้มีความสุขกันมาก ๆ นะครับ ขึ้นใหญ่ใหม่สูง อยู่ดีกินหวานนะครับผม  ยิงฟันยิ้ม
บันทึกการเข้า

- ศศิศ -
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 1  เมื่อ 11 ก.พ. 15, 11:31

ขออนุญาตยกคำถามของคุณนวรัตนจากกระทู้ เครื่องแบบทหารบกไทย มาตอบให้กระทู้นี้ เผื่อว่าจะมีการอภิปรายกันยืดยาว จะได้ไม่เป็นการรบกวนกระทู้เดิม

ช่วยเชคอีกทีเถิดครับว่า ๒๓๒๔ มาจากฐานการคำนวณใด
รัตนโกสินทร์ศก เริ่มนับตั้งแต่ปีที่ก่อตั้งกรุงรัตนโกสินทร์เป็นปีแรก คือ  พ.ศ. ๒๓๒๕ = ร.ศ. ๑ ดังนั้น พ.ศ. จึง = ร.ศ. + ๒๓๒๔  ซ.ต.พ.
ในร.ศ.๑ นั้น สมเด็จพระพุทธยอดฟ้าฯท่านให้เริ่มต้นนับปีในวันที่ ๑ มกราคม หรือ ณ วันสงกรานต์ในเดือนเมษายนปีนั้น ครับ
ถ้าไม่ใช่ ๑ มกราคม ก็จะซ.ต.พ.มิได้

จากหลักฐานความใน จดหมายเหตุของบาทหลวง เดอชวาสี ได้บันทึกไว้เมื่อคราวเดินทางมาในประเทศไทยในตำแหน่งผู้ช่วยทูตของ มองสิเออร์ เดอ เชอวาเลีย เมื่อ พ.ศ. ๒๒๒๗-๒๒๒๙ ในแผ่นดินสมเด็จพระนารายณ์มหาราช มีความตอนหนึ่งว่า

คราวนี้เราได้พากันไปดูประทีปโคมไฟที่ช่องหน้าต่างตามบ้านเรือนของราษฎร.....พระเจ้าแผ่นดินสยามเสด็จออกประทับช่องพระแกลให้ข้าราชการเฝ้า และพระราชทานเสื้อกั๊กหลายชนิดให้แก่ข้าราชการตามลำดับยศ บรรดาภรรยาข้าราชการทั้งหลายพากันไปเฝ้าสมเด็จเจ้าฟ้าหญิง พระราชธิดาทำนองเดียวกันกับสามีของตน พระราชพิธีนี้เคยกระทำกันมาทุก ๆ ปี ในวันขึ้น ๑ ค่ำเดือนอ้าย ซึ่งมักตกอยู่ในเดือนพฤศจิกายนเสมอ วันนี้แหละจึงเป็นวันขึ้นปีใหม่ของไทย แต่จงจำไว้ด้วยคนไทยจะเถลิงศกต่อเมื่อถึงเดือน ๕ ขึ้น ๑ ค่ำ ซึ่งมักตกอยู่ในราวเดือนมีนาคม ดังอุทธาหรณ์ในเวลานี้ คนไทยยังใช้ศักราช ๒๒๒๙ อยู่ ศักราชนี้ตั้งต้นมาแต่แรกสถาปนาพระศาสนา เมื่อเดือน ๕ ขึ้น ๑ ค่ำ ในเดือนมีนาคม จึงเป็นศักราช ๒๒๓๐ ต่อไป การคิดคำนวณวันเดือนปีของชาวสยามนั้นเป็นไปตามจันทรคติ และปีใดมีพระจันทร์วันเพ็ญ ๑๓ ครั้ง ในระหว่างเส้นวิถันดรเหนือใต้อันได้รับแสงสว่างเท่ากันแล้ว (Les Deux’ Equinoxs De Mar) ปีนี้นมี ๓๘๔ วัน แต่ตามปกติแล้วมักจะมีวันเพ็ญเพียง ๑๒ ครั้ง และในปีนั้นก็มีเพียง ๓๕๔ วัน

ในสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าฯ ท่านยังทรงใช้จุลศักราชอยู่ หากยังคงธรรมเนียมการเถลิงศกเช่นเดียวกับในสมัยสมเด็จพระนารายณ์แล้ว วันเริ่มต้นนับศักราชใหม่จะเป็นวันขึ้น ๑ ค่ำ เดือน ๕ ประมาณเดือนมีนาคม-เดือนเมษายนนั่นแล  ยิงฟันยิ้ม

บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 2  เมื่อ 11 ก.พ. 15, 11:53

การใช้รัตนโกสินทร์ศกถูกบัญญัติในสมัยรัชกาลที่ ๕ เป็นศักราชที่นับว่ากรุงรัตนโกสินทร์ดำรงสถาพรอยู่ยั่งยืนยงมาแล้วกี่ปี และเมื่อทรงมีพระราชกำหนดให้ตั้ง "รัตนโกสินทร์ศก" แล้วให้มีผลเรียกย้อนหลังไปถึงแผ่นดินรัชกาลที่ ๑ ได้ แต่ไม่ใคร่เรียกกัน
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 3  เมื่อ 11 ก.พ. 15, 12:31

การใช้รัตนโกสินทรศกเป็นไปตาม ประกาศให้ใช้วันอย่างใหม่ ประกาศมา ณ วันพฤหัสบดี แรม ๑๒ ค่ำ เดือน ๔ ปีชวดสัมฤทฺธิศก จุลศักราช ๑๒๕๐ และบังคับใช้ตั้งแต่วันจันทร์ ขึ้น ๑ ค่ำ เดือน ๕ ปีฉลูยังเป็นสัมฤทธิศก จุลศักราช ๑๒๕๐ ตรงกับวันที่ ๑ เมษายน รัตนโกสินทรศก ๑๐๘ (พุทธศักราช ๒๔๓๒)


บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 4  เมื่อ 11 ก.พ. 15, 12:48

โปรดสังเกตตรงนี้

ประกาศมา ณ วันพฤหัสบดี แรม ๑๒ ค่ำ เดือน ๔ ปีชวดสัมฤทฺธิศก จุลศักราช ๑๒๕๐ และบังคับใช้ตั้งแต่วันจันทร์ ขึ้น ๑ ค่ำ เดือน ๕ ปีฉลูยังเป็นสัมฤทธิศก จุลศักราช ๑๒๕๐

ระยะหลังนี้การกำหนดวันขึ้นปีใหม่ของไทยค่อนข้างยุ่งยาก กล่าวคือเรากำหนดสองครั้งสองตอน คือครั้งแรกกำหนดเอาวันขึ้น ๑ ค่ำ เดือน ๕ (วันตรุษ) เป็นวันขึ้นปีใหม่ แต่ก็เป็นวันเปลี่ยนปีนักษัตร (คือนับเป็นปีชวด ฉลู ฯลฯ) เท่านั้น ยังไม่เปลี่ยนศักราช เพราะพระอาทิตย์ยังไม่ยกขึ้นสู่ราศีเมษ จนวันสงกรานต์จึงเปลี่ยนศก คือวันที่ ๑๕ เมษายน เรียกว่าวันเถลิงศก วันขึ้นปีใหม่ทั้งสองนี้ ตามปกติจะห่างกัน ๑๕ วัน แต่ก็ไม่แน่นอน ถ้าห่างกันเพียง ๒-๓ วันหรือติดต่อกันพอดีก็มีการทำบุญแล้วเฉลิมฉลองติดต่อกันเป็นงานเดียว แต่ถ้าห่างกันหลายวัน วันตรุษก็เป็นแต่เพียงทำบุญทำทานพอเป็นพิธี จะมีการเฉลิมฉลองกันอย่างเอิกเกริกในวันสงกรานต์

จาก บทความเรื่อง "กว่าจะมาเป็น.....วันปีใหม่ไทย" ของ คุณอ้อมใจ วงษ์มณฑา

สรุปว่า ในสมัยรัชกาลที่ ๕ แต่เดิม วันขึ้น ๑ ค่ำเดือน ๕ เป็นเพียงวันเปลี่ยนปีนักษัตรเท่านั้น ยังไม่เปลี่ยนจุลศักราช จนกว่าจะถึงวันสงกรานต์  ยิงฟันยิ้ม
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 5  เมื่อ 12 ก.พ. 15, 12:02

ดังนั้น การเทียบร.ศ.ตั้งแต่ประกาศในรัชกาลที่๕ เป็นพ.ศ.ในปัจจุบัน ต้องสังเกตุว่า วันนั้นอยู่ก่อนหรือหลังวันที่ ๑๕ เมษายน
ถ้าก่อนก็ใช้ร.ศ. + ๒๓๒๕  ถ้าหลัง ก็ใช้ร.ศ. + ๒๓๒๔

ส่วนย้อนหลังจากประกาศไปจนรัชกาลที่ ๑ ถ้าเอามั่วๆคร่าวๆก็ได้อยู่ แต่จะให้แม่นเป็ะต้องเปิดปฏิทิน ๑๐๐ ปีของโหร จึงจะทราบวันเถลิงศก หรือวันขึ้นปีใหม่ของแต่ละปี นำมาบวกลบกับตัวเลขมาตรฐาน คือ ๒๓๒๔

ขอบคุณคุณเพ็ญสำหรับการค้นข้อมูลมาให้ดูกันครับ

บันทึกการเข้า
นางมารน้อย
พาลี
****
ตอบ: 306


ทำงานแล้วค่ะ


ความคิดเห็นที่ 6  เมื่อ 12 ก.พ. 15, 13:41

ใหม่สูงค่า เจ้า ยิงฟันยิ้ม
บันทึกการเข้า

สวัสดีทุกๆท่านค่ะ
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 7  เมื่อ 12 ก.พ. 15, 15:00

เอาครับ กันงง


บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 8  เมื่อ 13 ก.พ. 15, 15:11

เอาครับ กันงง

ดูแล้วยิ่งงง  

ดังได้กล่าวไว้แล้วว่าวันขึ้นปีใหม่ของเรา ได้กำหนดเป็นสองครั้ง และเลื่อนไปเลื่อนมาไม่แน่นอน พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงเห็นความสับสนนี้ และเมื่อเรามีการติดต่อกับต่างประเทศมากขึ้น ก็ยิ่งทวีความลำบากในเรื่องที่ไทยเรามีวันขึ้นปีใหม่ไม่แน่นอน แต่พระองค์ก็ยังทรงหาหนทางขจัดปัญหานี้ไม่ได้ เผอิญ ร.ศ. ๑๐๘ (พ.ศ. ๒๔๓๒) วันขึ้นหนึ่งค่ำเดือนห้า (ตรุษ) มาตรงกับวันที่ ๑ เมษายนพอดี จึงได้ทรงประกาศพระบรมราชโอกาส ให้ถือเอาวันที่ ๑ เมษายน เป็นวันขึ้นปีใหม่ตั้งแต่นั้นมา

ในระยะนั้น การขึ้นปีใหม่ก็เป็นแต่เพียงขึ้นรัตนโกสินทร์ศกเท่านั้น พุทธศักราชก็ยังไม่เปลี่ยน พระที่เทศน์บอกศักราชจะเปลี่ยนพุทธศักราชเมื่อแรมหนึ่งค่ำเดือนหก เพราะเป็นวันวิสาขะที่เป็นเกณฑ์นับปีเกี่ยวกับการปรินิพพานของพระพุทธเจ้า แต่ในระยะนั้นไม่มีปัญหาเกิดขึ้น เพราะทางราชการยังใช้รัตนโกสินทร์ศกอยู่ ครั้ง พ.ศ. ๒๔๕๓ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้าฯ ให้เลิกใช้รัตนโกสินทร์ศก ให้ใช้พุทธศักราชแทน จึงเกิดปัญหาขึ้น พระองค์จึงทรงโปรดเกล้าฯ ให้ถือวันที่ ๑ เมษายนเป็นวันเปลี่ยนพุทธศักราชด้วย ต่อมาไทยเราเปลี่ยนวันขึ้นปีใหม่อีก โดยเปลี่ยนเป็นวันที่ ๑ มกราคม


จาก บทความเรื่อง "กว่าจะมาเป็น.....วันปีใหม่ไทย" ของ คุณอ้อมใจ วงษ์มณฑา

ในสมัยรัชกาลที่ ๕ พุทธศักราชใช้เพียงในการพระศาสนาเท่านั้น มาใช้เป็นทางการในรัชกาลที่ ๖ รูปแบบการเปลี่ยนพุทธศักราช น่าจะเป็นดังข้างล่างนี้




คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 9  เมื่อ 14 ก.พ. 15, 07:18

สรุปก็คือ

การเทียบ รศ เป็น พศ ในยุคสมัยรัชกาลที่ ๕ แม้จริงๆแล้วจะเปลี่ยนปีในวันที่ ๑ เมษายน ก็ต้องคำนึงถึงหลักปัจจุบันที่เรานับการเปลี่ยนปีในวันที่ ๑ มกราคม ด้วย มิฉะนั้นเหตุการณ์ที่เกิดในปีนั้นๆ บวกเลขผิดจะกลายเป็นเกิดคนละปี

เวลาเขียนเรื่องราวในประวัติศาสตร์ จึงต้องเรียบเรียงเหตุการณ์ตาม time line ไว้ก่อน จึงจะไม่พลาดในการลำดับไม่ว่าจะ รศ หรือ คศ มาเป็น พศ

ขออนุญาตแก้ตารางของคุณเพ็ญนิดนึงครับ


คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 10  เมื่อ 16 ก.พ. 15, 10:17

อยากทราบเหตุผลที่คุณนวรัตนแก้ตารางเทียบการนับ ร.ศ. และ พ.ศ. ในรัชกาลที่ ๕   ฮืม


คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 11  เมื่อ 16 ก.พ. 15, 10:33

มันผิดกันตรงไหนหรือครับ
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 12  เมื่อ 16 ก.พ. 15, 10:50



ในตารางข้างบน วันที่ ๑ เมษายน (วันขึ้น ๑ ค่ำ เดือน ๕) เป็นวันเปลี่ยนรัตนโกสินทร์ศกเป็น ร.ศ. ๑๐๘ แทนจุลศักราช ๑๒๕๐ ส่วนพุทธศักราชยังคงเป็น พ.ศ. ๒๔๓๑ อยู่ ต่อเมื่อวันแรม ๑ ค่ำ เดือน ๖ อันเป็นวันหลังวันวิสาขบูชาซึ่งถือเป็นวันปรินิพพานของพระพุทธเจ้า ๑ วัน พระสงฆ์จึงประกาศเปลี่ยนพุทธศักราชเป็น พ.ศ. ๒๔๓๑ ซึ่งเป็นเรื่องของศาสนาจักรไม่เกี่ยวข้องกับอาณาจักร ในปีต่อ ๆ มา การนับพุทธศักราชก็ถือตามหลักนี้จวบจนสิ้นรัชกาลที่ ๕

ส่วนในตารางข้างล่างที่คุณนวรัตนแก้ไข เมื่อเริ่มวันที่ ๑ เมษายน ร.ศ. ๑๐๘ จนถึง ๓๑ ธันวาคม เป็น พ.ศ. ๒๔๓๑

สรุปที่ต่างกันคือ ในตารางข้างบน ร.ศ. ๑๐๘ ตั้งแต่วันแรม ๑ ค่ำ เดือน ๖  จนถึง ๓๑ ธันวาคม นับเป็น พ.ศ. ๒๔๓๒  ส่วนตารางข้างล่างนับเป็น พ.ศ. ๒๔๓๑ และปีต่อ ๆ มาก็นับในลักษณะเดียวกัน ซึ่งไม่ถูกต้อง
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 13  เมื่อ 16 ก.พ. 15, 11:56

ตารางข้างบนของคุณเพ็ญชมพู วันที่ ๑ เมษายน (วันขึ้น ๑ ค่ำ เดือน ๕) เป็นวันเปลี่ยนรัตนโกสินทร์ศกเป็น ร.ศ. ๑๐๘ แทนจุลศักราช ๑๒๕๐ ส่วนพุทธศักราชยังคงเป็น พ.ศ. ๒๔๓๑ อยู่ ต่อเมื่อวันแรม ๑ ค่ำ เดือน ๖ อันเป็นวันหลังวันวิสาขบูชาซึ่งถือเป็นวันปรินิพพานของพระพุทธเจ้า ๑ วัน พระสงฆ์จึงประกาศเปลี่ยนพุทธศักราชเป็น พ.ศ. ๒๔๓๑ ซึ่งเป็นเรื่องของศาสนาจักรไม่เกี่ยวข้องกับอาณาจักร ในปีต่อ ๆ มา การนับพุทธศักราชก็ถือตามหลักนี้จวบจนสิ้นรัชกาลที่ ๕  

ถูกต้องตามนั้น ในสมัยรัชกาลที่๕จริงๆไม่มีใครใช้พุทธศักราช นอกจากในวงการพระพุทธศาสนา

ส่วนในตารางข้างล่างที่ผมแก้ไข เมื่อเริ่มวันที่ ๑ เมษายน ร.ศ. ๑๐๘ จนถึง ๓๑ ธันวาคม เป็น พ.ศ. ๒๔๓๑ เป็นพุทธศักราชเวลาที่คนสมัยนี้ใช้อ้างอิงในเหตุการณ์สมัยรัชกาลที่ห้า

ยกตัวอย่างดังคคห.ของคุณตองฮอคุโรบุตะ
อ้างถึง
เครื่องแบบนักเรียนนายร้อย ยุคปี ๒๔๕๑ ครับ จะเห็นว่าเป็นเครื่องแบบที่เป็นสีเทาสอดคล้องกับเครื่องแบบทหารบกในช่วงยุคนั้นแล้ว
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 14  เมื่อ 16 ก.พ. 15, 13:49

ส่วนในตารางข้างล่างที่ผมแก้ไข เมื่อเริ่มวันที่ ๑ เมษายน ร.ศ. ๑๐๘ จนถึง ๓๑ ธันวาคม เป็น พ.ศ. ๒๔๓๑ เป็นพุทธศักราชเวลาที่คนสมัยนี้ใช้อ้างอิงในเหตุการณ์สมัยรัชกาลที่ห้า

ถ้าเป็นพุทธศักราชที่คนสมัยนี้ใช้อ้างอิงเหตุการณ์ในสมัยรัชกาลที่ ๕  ๑ เมษายน ร.ศ. ๑๐๘ ถึง ๓๑ ธันวาคม ร.ศ. ๑๐๘ ก็ต้องเป็น พ.ศ. ๒๔๓๒ และ ๑ มกราคม ร.ศ ๑๐๘ ถึง ๓๑ ธันวาคม ร.ศ. ๑๐๙ อยู่ใน พ.ศ. ๒๔๓๓ ดังตารางของคุณนวรัตนข้างล่าง


บันทึกการเข้า
หน้า: [1] 2
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.056 วินาที กับ 20 คำสั่ง