เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 [2]
  พิมพ์  
อ่าน: 8702 ก.ศ.ร. กุหลาบ ผู้เกรียงไกรไร้เทียมทาน
Wandee
หนุมาน
********
ตอบ: 4006


ความคิดเห็นที่ 15  เมื่อ 08 ธ.ค. 07, 00:04

ขอเฉไฉออกนอกเรื่องสักนิด   เพื่อเล่าเรื่องย่อๆหนังสือบางกอกรีคอเดอ ราคา  และสามัญสมาชิก

ในปีพ.ศ. ๒๔๐๘   โรงพิมพ์บลัดเลอยู่ริมป้อมปากคลองบางกอกใหญ่  หลังวังกรมหลวงวงษา
เริ่มแยกฉบับออกมาจากจดหมายเหตุที่เป็นภาษาอังกฤษ พิมพ์เป็นสี่ใบกระดาษแปดหน้า  ออกในวันกลางเดือน และวันสิ้นเดือน

เสนอความว่าด้วยการบ้านเมือง ความรู้รอบตัว ศิลปวิชาการ การค้าและข่าวที่เกิดขึ้นในบ้านเมือง

ราคาคิดปีละ ๕ บาท
เมื่อจำนวนพิมพ์แค่ ๒๐๐ - ๓๐๐ เล่ม   ราคาจึงเป็น ๕ บาท
ถ้าจำนวนสมาชิกเพิ่มเป็นหนึ่งพันราย   ราคาก็จะลดลงเหลือปีละสองบาท
ถ้าได้ลูกค้าสองพันคน  ราคาก็จะเหลือหกสลึงต่อปี

หมอบลัดเลยังเสนอว่าถ้าใครหาสมาชิกมาได้ ๕ คน  จะได้เป็นสมาชิกฟรีหนึ่งปี

คุณภาพของบทความนั้น  ลอกมาจากภาษาอังกฤษยืดยาว  เช่นในฉบับแรกมีเรื่อง ตำราไฟฟ้า ปาเข้าไปสามคอลัมน์ 
มีข่าวจากสิงคโปร์หนึ่งคอลัมน์  ตามมาด้วยตำราขี้ผึ้งปิดแผลทั้งปวง  เกือบสองคอลัมน์เต็มๆ  จบด้วยราคาสินค้าครึ่งหน้า

สมาชิกนอกจากเจ้านายและขุนนางระดับสูงแล้วยังมีผู้ที่น่าสนใจดังต่อไปนี้

หม่อมราโชทัย
นายเผือกมหาดเล็ก บ้านดินสอ
นายจิด บ้านกดีจีน
นายดิด  บ้านอยู่สำเหร่
จมื่นศักดิ์บริบาล  บ้านอยู่ตพานเล่าเอีย
ขุนอิน  อยู่หลังวัดพระยาญาติ
พันเทพราช บ้านอยู่ถนนศาลเจ้าคุรส(รักษาตัวสะกดเดิม)

พระภาษีสมบัติบริบูรณ์  คนนี้น่าสนใจ

คุณสรรวิไชย  อยู่บ้านสมเด็จเจ้าพระยาพระองค์ใหญ่
หลวงพิไชยวารี  บ้านอยู่เหนือกัปตันฉุน

นายแดง  อยู่วังกรมหมื่นมเหศวร
นายเวรหมี  อยู่วังกรมหมื่นมเหศวร

จีนเสง  แพอยู่หน้าวัดเชิงเลน
จีนสือ เป็นหลวงพิศาลศุภผล
นายทัด บ้านอยู่ในคลองตพานหัน

นายบุน โรงพิมพ์
นายทิม  โรงพิมพ์
หมอสมิท  อยู่บ้านคอกควาย

สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์
คุณเทียนฤๅ วัณณโภ  วัดบวรนิเวศ
พระสมุห์เทียน  อยู่วัดบวรนิเวศ
พระปลัดเพชรบุรี

ตั้วโผพุก  บ้านอยู่ตลาดน้อย
จีนนิ่ม อยู่แพหน้าวัดเลียบ
นายหรุ่น  บ้านริมวัดนางชี
นายว่าง  บ้านอยู่คลองมอญ

ที่เก็บความมาดังกล่าว  เห็นว่าเป็นผู้ก้าวหน้าสั่งหนังสือพิมพ์อ่าน ราคาปีละ ๕ บาท

้อ้อ  ลูกเจ้าเมืองเพชรชื่อวอลเตอร์เลาวี
ลูกพระปลัดเมืองเพชรชื่อ เฟรดริกวิลเลียม  เป็นสมาชิกด้วย 
ทั้งสองอยู่ในกลุ่ม ๕๓ รายที่จ่ายเงินค่าบำรุงแล้ว  สมาชิกมีประมาณ  ๑๐๐ คนในตอนนั้น

บันทึกการเข้า
Wandee
หนุมาน
********
ตอบ: 4006


ความคิดเห็นที่ 16  เมื่อ 08 ธ.ค. 07, 14:17

พ.ศ. ๒๓๐๘   หนังสือที่โฆษณาีขายที่โรงพิมพ์หมอบลัดเล  ตั้งอยู่ที่ริมป้อมปากคลองบางกอกใหญ่
หลังวังกรมหลวงวงษาธิราช มี

หนังสือหัดพูดภาษาอังกฤษ  จบละ                        ๘ สลึง

จินดามณีเล่มละ                                   ๑ บาท

หนังสือกฎหมาย ๒เล่ม จบละ                  ๑๓  บาท  ๑ สลึง
(พิมพ์จาก ๕๕ สมุดไทย  พิมพ์ครั้งแรก ๒๔๐๖)

พระราชพวศาวดารไทย ๒ เล่ม จบละ
(พิมพ์จาก ๔๒ สมุดไทย)                     ๑๐  บาท  ๒ สลึง
พงศาวดารฝรั่งเศสฉบับย่อ                                 ๒ สลึง

บันทึกการเข้า
Wandee
หนุมาน
********
ตอบ: 4006


ความคิดเห็นที่ 17  เมื่อ 08 ธ.ค. 07, 15:39

สี่เดือนต่อมา  พระมหาพรผู้บวชอยู่วัดแห่งหนึ่งในฉะเชิงเทรา เขียนจดหมายมาขอเปลื้องโทษตน

สรุปความว่า      เดิมได้ยืมหนังสือพงศาวดารสองเล่มมาจริงยังไม่ได้ส่ง   
พระมหาพรและพระสงฆ์ในวัดชนะสงครามต้องคดีเล่นการพนันในวัด  ติดชำระอยู่ช้านาน
จึงสึก  แล้วถวายตัวกับพระเจ้าลูกเธอพระองค์เจ้า้้้้่คัคนางค์
รอฟังความคืบหน้าของคดีอยู่สองเดือน  ยังมีความอาลัยในสมณเพศอยู่จึงไปบวชที่ฉะเชิงเทรา
เพราะเข้าใจว่าเปรียญสึกแล้วจะบวชที่วัดหลวงไม่ได้

ได้รับหนังสือรับสั่งพระเจ้าลูกเธอพระองค์เจ้าคัคนางค์  ให้ข้าในกรมถือออกไปให้
ว่ามีผู้ไปลงหนังสือพิมพ์ว่า มหาพรยืมหนังสือนายจิดมายังไม่ได้คืน

มหาพรร้อนใจรีบเข้ามาซื้อหนังสือพระราชพงศา่วดารนำไปใช้นายจิดเรียบร้อยแล้ว

"ข้าพเจ้าจะได้ตั้งใจว่าจะฉ้อหนังสือสองเล่มของนายจิตนั้นหามิได้  แต่ลืมไป
เป็นความจริงของข้าพเจ้าดังนี้"




พระองค์เจ้าคัคนางคยุคล  ในขณะนั้นพระชนม์เพียง ๑๐ พระชันษา
ต่อมาพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้สถาปนาเฉลิมพระยศเป็นพระเจ้าน้องยาเธอ กรมหลวงพิชิตปรีชากร
โปรดเกล้าฯให้ทรงเป็นเสนาบดีกระทรวงยุติธรรม
(อ้างอิง บรรเจิด  อินทุจันทร์ยง  ราชสกุลพระบรมราชวงศ์จักรี  คุรุสภา ๒๕๓๙)






บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 18  เมื่อ 08 ธ.ค. 07, 20:12

*พระภาษีสมบัติบริบูรณ์  คนนี้น่าสนใจ*
ส่งข้อความแล้วมาเห็นทีหลังว่าไม่ไป  ขอส่งใหม่ค่ะ

เรื่องราวเจ้าสัวยิ้ม  พิศลยบุตร น่าสนใจจริงอย่างที่คุณวันดีว่า    แยกออกเป็นกระทู้ใหม่ต่างหากได้เลยค่ะคุณวันดี

เรื่องสามชายและพระอีกสี่ห้ารูป  จบลงยังไงคะ 
เป็นอันว่ามหาพร ยืมหนังสือนายจิตไปจริงและยังไม่คืนจริงๆ  คงจะทำหายถึงต้องซื้อใหม่มาให้
เคารพบุคคลสำคัญสมัยก่อน   ท่านไม่นิ่งนอนใจ แม้แต่เรื่องเล็กน้อย
อ้างถึง
ได้รับหนังสือรับสั่งพระเจ้าลูกเธอพระองค์เจ้าคัคนางค์  ให้ข้าในกรมถือออกไปให้
ว่ามีผู้ไปลงหนังสือพิมพ์ว่า มหาพรยืมหนังสือนายจิดมายังไม่ได้คืน

บันทึกการเข้า
Wandee
หนุมาน
********
ตอบ: 4006


ความคิดเห็นที่ 19  เมื่อ 08 ธ.ค. 07, 21:48

หมอบลัดเลหลังจากแพ้ความโอบาเรแล้วไม่นานก็ประกาศเลิกทำหนังสือบางกอกรีคอเดอ
เพราะขาดทุนมากลำบากใจ


"ขอแจ้งความกับท่านทั้งปวงที่ได้ซื้อหนังสือพิมพ์ว่า   คนที่ซื้อหนังสือบางกอกรีคอเดอเปนภาษาไทยน้อยนัก
ไม่ถึง ๑๔๐ คน   มีผู้รับแต่เพียงนั้น   ขาดทุนจะทำต่อไปไม่ได้"

"ข้าพเจ้าด้วยใจรักกรุงเทพฯ  ปรารถนาแต่ที่จะให้กรุุงเทพฯดีขึ้นทุกอย่าง
ที่ข้าพเจ้าทำไม่ได้ต่อไปก็เสียใจ
ตั้งแต่นี้จะลาท่านทั้งปวงออกจากที่เอดิเตอร์   ขอให้ท่านทั้งหลายอยู่เป็นสุขเถิด"


บลัดเลทรนงตนมาก  อดนิยมไม่ได้  เมื่อแพ้คดีได้เขียนว่า

"เราได้ยินว่ากงศุลฝรั่งเศสชอบใจด้วยกงศุลอเมริกาตัดสินให้ได้ชนะ
ท่านกงศุลว่าเราไม่ต้องการเงินร้อยเหรียญที่ปรับหมายนั้น
เราจะยกให้กับจำเลย  เพราะท่านเป็นผู้ยากจนมีครอบครัวใหญ่

ข้าพเจ้าผู้จำเลยเห็นไม่ควรที่จะรับเงินที่กงศุลฝรั่งเศสยกให้นั้น
เพราะเป็นเงินที่เราเห็นว่าไม่ควรที่กงศุลจะได้   ถ้าเรารับไว้แล้ว
ดูเหมือนจะเป็นการยอมรับว่าการตัดสินนั้นถูกต้องกฎหมายและธรรมเนียม"


สามัญชนสามชายนั้นก็เดินทางเข้าสู่การเป็นตำนานที่จะเล่ากันได้อีกนานแสนนาน



อาจารย์คะ  ถ้าไม่ได้อ่านความเห็นเรื่องบาดหลวงดิป๋องของอาจารย์  ดิฉันคงหมุนเวียนอยู่ณ ที่นั้นอีกนาน

ข้อมูลเรื่องพระภาษีสมบัติบริบูรณ์ คงไม่สมบูรณ์เทียบเท่าที่ทายาทของสกุลท่านมีอยู่ได้
ไม่กล้านำมาแสดงให้อาจารย์อ่าน

ขอเวลาหยิบเรื่องที่มีประโยชน์ และสนุกนาน มาเล่าต่อไป และขอรับฟังความคิดเห็นของอาจารย์และท่านผู้รู้อื่นด้วยค่ะ



้   
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 20  เมื่อ 08 ธ.ค. 07, 22:32

เรื่องหลายเรื่อง  ถ้ามัวรอข้อมูลครบสมบูรณ์ คงจะไม่ได้ออกมาสู่สายตาประชาชน
ถ้าหากว่าเรื่องเจ้าสัวยิ้ม เท่าที่คุณวันดีมี  มีพอตั้งกระทู้ได้  ดิฉันก็จะมาร่วมวงด้วย      มีมากน้อยก็ไม่เป็นไรหรอกค่ะ
เผื่อมีผู้รู้ผ่านมา อาจจะนึกสนุกเข้ามาขยายความด้วยก็ได้ 
หรือถ้าไม่มี    ก็ทิ้งกระทู้ไว้เท่าที่เราหามาเล่ากันได้ก็พอ
บันทึกการเข้า
masadorn
อสุรผัด
*
ตอบ: 2


ความคิดเห็นที่ 21  เมื่อ 08 มี.ค. 09, 05:16

มีเกล็ดเพื่มเติม.... ขออนุญาตคัดลอกจากหนังสือ กรุงเทพเมื่อ ๗๐ ปีก่อนของขุนวิจิตรมาตรา "กาญจนาคพันธ์"   โรงพิมพ์ที่ออกหนังสือ"สยามประเภท" อยู่บนถนนเฟื่องนครตรงข้ามวัดราชบพิธ... ก.ศ.ร. กุหลาุบมีบุตรชายชื่อ ก.ห.ชายนับว่าเป็นคนหัวสมัยใหม่สำหรับยุคนั้นที่มีชื่อย่อนำหน้าตามแบบฝรั่ง  คำ ก.ศ.ร.ได้ยินว่ามีชื่อมาจาก "เกศโร" ตัวนายกุหลาบเวลาเย็นมักเอาเก้าอี้มาตั้งหน้าร้าน รูปร่างผอมเล็กๆคล้ายมหาตมคานธี นุ่งโสร่งใส่เสื้อยืด แจกหนังสือต่างๆให้คนไปมา(ฃึ่งเวลานั้นมีคนเดินไม่กี่คน)  ข้าพเจ้าเองเคยแวะไปรับหนังสือแจก ท่านให้เข้าไปนั่งข้างแท่นพิมพ์ หาหนังสือมาให้อ่านและให้เลยบ้าง เอาคืนเข้าตู้บ้าง ข้าพเจ้านึกแปลกที่ข้าพเจ้าอายุราว ๗-๘ ขวบไปนั่งคุยกับท่านฃึ่งอายุราว๘๐ หนังสือสยามประเภทของท่านแปลกๆและสนุกดี   ที่ตั้งโรงพิมพ์สยามประเภทนี้ ต่อมาอีกนานดูเหมือนสิ้นรัชกาลที่๖ จึงตั้งเป็นโรงพิมพ์ "ไทยเขษม"
บันทึกการเข้า
Wandee
หนุมาน
********
ตอบ: 4006


ความคิดเห็นที่ 22  เมื่อ 08 มี.ค. 09, 14:10

เรื่องที่ได้นำมาเล่านี้ก็ได้กรองจากสมบัติส่วนตัว  มิใช่จะพบเห็นได้โดยง่าย



ท่านสมาชิกนำแพรเนื้อดีจาก กาญจนาคพันธ์  ผ่านมาคลุมให้  เกรงว่าจะไม่เหมาะสม

เหมือนนำของสูงค่ามาย่ำยีเสียโดยไร้ประโยชน์
ส่วนผสมของอาหารนั้น  แม้จะผสมกันก็ต้องอาศัยแม่ครัวฝีมือดีเข้าใจส่วนผลมและสัดส่วนของอาหาร
แม่ครัวในเรือนของข้าพเจ้านั้น  ย่อมคุ้นเคยและทราบดีถึงส่วนปรุงของอาหารเรือนเรา

คุณ masadorn  ทราบหรือไม่ว่า เพียงเนื้อสัตว์ชิ้นเล็กๆในจานอาหารใบนี้ ก็ประกอบด้วยวิริยะ  อุตสาหะ และฉันทะของเนื้ออีกหลายอย่าง

ดอกไม้ในแจกันที่จัดไว้โดยสถานประมาณและถ่อมตัวนั้น  เมื่อนำกล้วยไม้เลอค่ามาเสียบปัก  ก็เสียสวย

ขอเชิญคุณ masadorn  ตั้งกระทู้ใหม่  และแสดงความคิดอ่านสืบไปเทอญ


บันทึกการเข้า
schecter
อสุรผัด
*
ตอบ: 5


ความคิดเห็นที่ 23  เมื่อ 22 เม.ย. 09, 18:38

 ยิ้มกว้างๆ
บันทึกการเข้า

Sompob
อสุรผัด
*
ตอบ: 9


ความคิดเห็นที่ 24  เมื่อ 24 เม.ย. 09, 02:38

 ยิงฟันยิ้ม
บันทึกการเข้า
Wandee
หนุมาน
********
ตอบ: 4006


ความคิดเห็นที่ 25  เมื่อ 24 เม.ย. 09, 07:27

สยามประเภท สุนทโรวาทพิเศษ ออกอยู่สิบปี  มีเรื่องราวที่น่าสนใจและประวัติขุนนางและเกร็ดประวัติศาตร์มากมาย
จดหมายจากผู้อ่าน ยิ่งน่าสนใจมาก เพราะมาจาก สังคมสมัยใหม่
หลายรายก็กระทบกระแทกถากถาง
บางรายก็ถามโดยสุภาพ แจ้งว่าเคยรับราชการเป็นมหาดเล็กไล่กามาพร้อมกับ "พ่อกุหลาบ"
มีอยู่รายหนึ่งเซ็นชื่อว่า  วังหน้า "รู้ภาษาอังกฤษ"  แสดงว่าท่านผู้ถามทราบดีว่านายกุหลาบภูมิใจกับการรู้ภาษาอังกฤษของตนเอง
ก็น่าภูมิใจอยู่  เพราะ เสมียนกุหลาบทำงานอยู่ห้างฝรั่ง ๕​ แห่งเป็นเวลา ๒๘ ปีเศษ

มีอยู่คำถามหนึ่ง  ก.ศ.ร. เอดิเตอร์  ตอบสั้นแต่ได้ใจความดี

พระยาพานทองบ้านตึกโบราณ เขียน ศักระวาท์ถามความมีจน

ลงใน สยามประเภท สุนทโรวาทพิเศษ  เล่ม ๓  ตอนที่ ๒๔   วันที่ ๒๐ กรกฎาคม  ร,ศ, ๑๑๙
บันทึกการเข้า
Wandee
หนุมาน
********
ตอบ: 4006


ความคิดเห็นที่ 26  เมื่อ 24 เม.ย. 09, 07:41

ศักระวาท์ตั้งแต่รับประเภทสยาม          ไม่ได้ถามครูบามาสักหน          เพราะมีธุระราชกิจติดกังวล
ฉันสู้ทนรอมากว่าสองปี          แต่นั่งตรึกนึกตรองมองไม่เห็น          จึ่งได้เซ็นชื่อตรงมาตงนี้
เพราะท่านเคยได้ตอบเขาชาวธานี          อย่าว่าฉันจู้จี้ขี้คร้านดู          ด้วยจำเปนที่จะถามความสองประเภท
ไม่เห็นเหตุก็ต้องจนทนอดสู          ฉัยเชื่อแท้ว่าคงแปลไปให้ดู           เพราะท่านรู้ฤกซึ้งจึ่งถามเอย


ศักระวาท์ฉันขอถามความฉงน          อันความจนมาแต่ไหนใครให้หนอ          ขอท่านครูผู้รู้รอบตอบให้พอ
เพราะจอนจ่อคนเดียวเที่ยวโทงเทง          แต่ยังรักษาชื่อทางซื้อขาย          เพราะกลัวอายก็ไม่พ้นคนข่มเหง
ด้วยความจนฤาความกลัวของตัวเอง              เขาคุมเหงว่าผู้ใดจะให้ปัน


ขอท่านครูผู้จะแก้แต่ความเห็น            จงให้เปนข้อถามความกระศัลย์            เปนความจริงสิ่งที่ถามความมานั้น

ตอบให้ทันวิกหน้าอย่าช้าเอย
บันทึกการเข้า
Wandee
หนุมาน
********
ตอบ: 4006


ความคิดเห็นที่ 27  เมื่อ 24 เม.ย. 09, 07:50

ศักระวาท์ตอบความมีจน


ศักระวาท์ตอบความตามฉงน            เรื่องมีจนถามว่ามาแต่ไหน
เอดิเตอร์เห็นงามตามหลักไชย            ใช่อื่นไกลกุสะละอะกุสะลัง
เปนวิบากตามตนให้ผลชัด            เกิดโกสัชถอยซุดอุตสาหัง
เพราะโฉดเขลาตันอกตกหินัง            เสื่อมโภคังใครไม่เกรงข่มเหง      เอย


(เซ็น)  ก.​ศ.​ร.  กุหลาบเอดิเตอร์
บันทึกการเข้า
Sompob
อสุรผัด
*
ตอบ: 9


ความคิดเห็นที่ 28  เมื่อ 25 เม.ย. 09, 02:45

รอฟังต่อครับ
บันทึกการเข้า
Wandee
หนุมาน
********
ตอบ: 4006


ความคิดเห็นที่ 29  เมื่อ 25 เม.ย. 09, 06:36

เรื่องราวของ ก.ศ.ร. ยืดยาวมากมาย
ที่มีผู้เขียนและพิมพ์ไว้ก็หลายเล่ม  เช่น

ชีวิตและงานของ เทียนวรรณ และ ก.ศ.ร. กุหลาบ  ของ ดร. ชัยอนันต์  สมุทวานิช

ก.ส.ร. กุหลาบ  ของ มนันยา  ธนะภูมิ

ลายพระหัตถ์ สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ที่ทรงมีโต้ตอบกับพระยาอนุมานราชธน

นิทานโบราณคดี  พระราชนิพนธ์ สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ

หาอ่านได้ทั่วไป





บันทึกการเข้า
หน้า: 1 [2]
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.105 วินาที กับ 19 คำสั่ง