เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: [1] 2
  พิมพ์  
อ่าน: 8715 ก.ศ.ร. กุหลาบ ผู้เกรียงไกรไร้เทียมทาน
Wandee
หนุมาน
********
ตอบ: 4006


 เมื่อ 02 ธ.ค. 07, 17:39

ขออนุญาตแยกกระทู้   มาจากกระทู้กระทรวงวัง ๒๔๗๔  คคหที่ ๑๑
เพราะมีเรื่องที่น่าสนใจ  หลายประเด็น 


"...............หนังสือตากุได้ไปจดทะเบียน  พระยาศรีสุนทรส่งมาได้เห็น
จะส่งไปให้กรมหลวงดำรงอ่านถึงต้องบอกให้เตรียมยาควินินไ้้ว้ อาจจะจับไข้ขึ้นมาได้ในการที่อ่าน

เล่มเล็กเงินตราแผ่นดินต่างๆในกรุงเก่า ๓๔ แผ่นดิน  แกไม่ให้ทำเงินอยู่ ๓ แผ่นดินเท่านั้น 
นอกนั้นบอกไม่ได้ว่าแผ่นดินตรานั้น   ใช่แต่สุโขทัยอีก ๔๖ แผ่นดินก็บอกตราได้
แผ่นดินพระนารายน์มีธนบัตร
มันเจ็บแสบอยู่ที่เงินและธนบัตรเหล่านี้มีอยู่พร้อมที่ตัวแก  จะดูเมื่อไรก็ดูได้


เรื่อง.....................นั้นเลวมาก  ปดเท่าที่เขาจับกันแล้วในหนังสือพิมพ์ เป็นของที่คนกลางตลาดจะจับได้
แต่ยังมีคนกลางตลาดที่ไม่รู้  คือจีนแต่ก่อนเรียกว่าจาม  กรมอาสาจามว่าตกปราบ
เจ้าแผ่นดินให้แขกไปปราบเจ๊ก  จึงให้ชื่อว่าปราบจาม
แกไม่รู้จักชาติมนุษย์ชาติหนึ่ง ซึ่งเป็นเจ้าของประเทศถิ่นฐานเหล่านี้  และเป็นชาติหนึ่ง
ซึ่งมีนับด้วยล้านอยู่เต็มไปตั้งแต่อินเดียจนตลอดมากระทั่งถึงฟาเธอร์อินเดียทั่วทุกแห่ง 
คือพวกพระยาราชวังสรรค์นี้เอง  เป็นเรื่องที่หลงแล้วโกหกต่อ

ปฎิเสธจนกองอาสาญี่ปุ่น  ก็ว่าไทยสำหรับปราบญี่ปุ่น  หาใช่กองทหารญี่ปุ่นไม่

ความจริงแกดูพงษาวดารไม่เข้าใจตลอด
ฤๅอ่านแต่ที่ชอบใจจะอ่านโดยไม่มีความรู้อะไรเลยในทางฝรั่ง
แต่ถ้าได้อ่านพงษาวดารโดยความเข้าใจแจ่มแจ้ง  แล้วจะคิดเห็นผิดเช่นนี้ไม่ได้เลย

รวบรวมใจความของเล่มใหญ่นั้น มีบอกเนื้อความอยู่ในนั้น
ก็เพียงอยากว่าข้าเจ้าเป็นลูกหลานเจ๊กเท่านั้น  เพราะความประสงค์แกไม่อยากพูดอื่น
ยิ่งกว่าท่านก๋งทำอุบอิบขมิบขมุบไปเสเอามาตั้งที่แท้มันอยากชี้ข้าพเจ้าเอง"



พระราชหัตถ์เลขาส่วนพระองค์พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ลงวันที่ ๒๔ สิงหาคม ร.ศ. ๑๒๙
ทรงที่บ้านปืน  เมืองเพ็ชรบุรี  ถึง เจ้าพระยายมราช(ปั้น สุขุม)
หนังสือพิมพ์แจกในงานพระราชทานเพลิงศพเจ้าพระยา(ปั้น สุขุม)
เมื่อ วันที่ ๑๐ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๒    ณ เมรุวัดเทพศิรินทราวาส            หน้า ๒๔๙

บันทึกการเข้า
Wandee
หนุมาน
********
ตอบ: 4006


ความคิดเห็นที่ 1  เมื่อ 02 ธ.ค. 07, 19:15

ก.ศ.ร. กุหลาบ โดนไ่ต่สวนเรื่องแต่งหนังสือเท็จในรัชกาลที่ ๕  สี่ครั้ง


ครั้งแรกคือเรื่องพระปิ่นเกษ และ พระจุลปิ่นเกษ  ลงพิมพ์ในสยามประเภท


ครั้งที่สอง ใน พ.ศ. ๒๔๔๓   อธิบายเรื่องระเบียบการพระราชทานเพลิงพระศพ เมื่องานเมรุสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิรุณหิศ 
อ้างแบบแผนโบราณในการถวายพระเพลิง
เมื่อเรียกตัวมาสอบสวน  ก็ไม่มีตำหรับตำรา  แค่คิดขึ้นแต่งอวดผู้อื่น
เมื่อการไต่สวนเสร็จสิ้นลง  โปรดฯให้ประกาศในหนังสือราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ ๑๗ หน้า ๕๓ ออกเมื้อวันที่ ๓๑ มีนาคม ร.ศ. ๑๑๙
 

ครั้งที่สาม ร.ศ. ๑๑๙  เป็นเรื่องการแต่งประวัติสมเด็จพระสังฆราช
น่าเสียดายที่ไม่มีหนังสือที่ ก.ศ.ร. แต่ง   มีแต่รายงานการสอบสวน
หนังสือที่เรียกให้นายกุหลาบส่งมาพิสูจน์ ก็คืนนายกุหลาบไป
ยึดไว้แต่หนังสือปฐมวงศ์ และ มหามุขมาตยานุกูลวงศ์


ครั้งที่สี่  ร.ศ. ๑๒๗
นายกุหลาบค้นพบต้นฉบับกฏหมายแผ่นดินพระเจ้าท้ายสระ จ.ศ. ๑๑๐๖
มีตราพระราชสีห์ ตราคชสีห์ และตราบัวแก้วประทับ
มีรอยแก้ที่ ตัวเลข  ลบเลข ๖ เขียนเป็น ๐
ที่จริงเป็นกฏหมายฉบับหลวงในสมัยรัชกาลที่ ๑


รายละเอียดของคดี ยังพอจะสนทนาได้อีกมาก
โดยเฉพาะ กฎหมายพระเจ้าท้ายสระ มีตีพิมพ์หลายครั้ง

หนังสือเรื่องปฐมวงศ์นั้นได้รับการตีพิมพ์ใหม่   แต่ มหามุขมาตยานุกูลวงศ์ ที่พิมพ์โดยนายกุหลาบเองถึงสี่ครั้ง  จัดเป็นหนังสือหายาก


บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 2  เมื่อ 02 ธ.ค. 07, 21:09

กระทู้เก่าที่พูดถึงนายกุหลาบ อ่านได้ที่นี่ค่ะ

http://www.reurnthai.com/index.php?topic=351.msg5801;topicseen#msg5801
บันทึกการเข้า
Wandee
หนุมาน
********
ตอบ: 4006


ความคิดเห็นที่ 3  เมื่อ 03 ธ.ค. 07, 07:18

ขอบคุณค่ะ    เคารพในความคิดเห็นกว้างขวางของคุณเทาชมพู


ในงานแสดงสินค้าพื้นเมืองไทย ในพระราชพิธีสมโภชพระนครครบร้อยปี พ.ศ. ๒๔๒๕
นาย ก.ศ.ร.กุหลาบ มีหนังสือนำมาแสดง เป็นหนังสือไทยชุบเส้นหมึก  ๑๒๖ เรื่อง
หนังสือไทยตีพิมพ์ว่าด้วยข้อราชการ อีก ๒๔ เรื่อง

เมื่อคิดว่าในเวลานั้น สามัญชนที่เก็บเอกสารโบราณ ถึงระดับนี้ก็คงไม่มี

คณะกรรมการไต่สวนนายกุหลาบเรื่องประวัติสมเด็จพระสังฆราช ประกอบด้วย กรมหมื่นวชิรญาณวโรรส  กรมหลวงนเรศวรฤทธิ  พระยาศรีสุนทรโวหาร
มีความเห็นว่า

"หนังสือที่นายกุหลาบอวดอ้างไว้ในสยามประเภทนั้นไม่มีจริงอย่างว่า  แลนายกุหลาบเป็นคนไม่สัจซื่อในการรักษาหนังสือที่ผู้อื่นแต่ง
กล่าวคือเขียนถ้อยคำของตนแซมเข้าไว้ในนั้น  แล้วแลปล่อยให้ต้นฉบับเดิมสูญเสีย
ด้วยนายกุหลาบสิแสดงว่าตนเปนคนเจ้าตำรา  น่าจะรักหนังสือยิ่งกว่าเครื่องอาภรณ์ที่ประดับรัตน"

เสียดายข้อมูลที่นายกุหลาบได้เขียนไว้ และที่คณะกรรมการยอมรับ อันมี
ลำดับวงศ์เจ้าพระยาชำนาญบริรักษ์ หรือเจ้าพระยาวิไชยชำนาญยุทธ
ตระกูลเจ้าสัวเงิน
การใช้คำนำพระนามกรมสมเด็จพระปรมานุชิตชิโนรส
ข้อที่นับสมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ ๓ เป็นพระเจ้าแผ่นดินที่ ๓๓
ลำดับวงศ์สมเด็จพระสังฆราช
การโยงวงศ์สมเด็จพระสังฆราชกับวงศ์เจ้าพระยาชำนาญบริรักษ์
สมเด็จพระสังฆราชเรียนพระปริยัติธรรมในสำนักอาจารย์อ้น
สมเด็จพระสังฆราชสึกจากสามเณรกลับไปอยู่บ้านเดิมบางไผ่ใหญ่
ข้อที่ว่าบวชเณรใหม่ถืออุปัชฌาย์ในสำนักพระพิมลธรรม(พร)
ข้อที่ว่าสมเด็จพระสังฆราชเรียนพระปริยัติธรรมในสำนักอาจารย์อ่อน
ข้อที่ว่าด้วยการถวายตัวสมเด็จพระสังฆราชแก่พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว

ในเวลานั้น ก.ศ.ร.กุหลาบ อายุ ๖๘ ปี
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 4  เมื่อ 03 ธ.ค. 07, 18:33

อยากฟังคุณวันดีต่ออีกค่ะ  ข้อมูลของคุณ ดิฉันไม่เคยอ่านมาก่อน  ถ้ามาลงในกระทู้นี้ก็จะได้ภาพของนายกุหลาบ กว้างขวางขึ้นอีก
ให้คนอ่านได้ตัดสินเองว่า  เป็นอะไรกันแน่ ระหว่างปัญญาชนล้ำยุค  หรือว่านักปลอมแปลงประวัติศาสตร์
หรือว่าทั้งสองอย่าง
บันทึกการเข้า
Wandee
หนุมาน
********
ตอบ: 4006


ความคิดเห็นที่ 5  เมื่อ 03 ธ.ค. 07, 20:48

งานแสดงนิทรรศการสินค้าพื้นเมืองไทย ในพระราชพิธีสมโภชพระนครครบร้อยปี
สำนักพิมพ์ต้นฉบับ ของคุณธงชัย  ลิขิตพรสวรรค์นำมาพิมพ์ถอดแบบ เมื่อ พ.ศ. ๒๕๔๓  จำนวน  ๑,๐๐๐ ฉบับ
ต้นฉบับนั้นพิมพ์ครั้งแรกเมื่อ จ.ศ. ๑๒๔๔(พ.ศ. ๒๔๒๕)  หนังสือราคา ๑๒๐ บาท
เข้าใจว่าคุณธงชัยคงจะลดราคาให้สำหรับท่านที่สนใจ ถ้ายังมีหนังสือเหลือ


จดหมายเหตุ เรื่อไต่สวนนายกุหลาบ ซึ่งแต่งประวัติสมเด็จพระสังฆราชขึ้นทูลเกล้าถวาย
พิมพ์เมื่อวันที่ ๒๖ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๗๒
โรงพิมพ์โสภณพิพรรฒธนากร


หนังสือพระประวัติสมเด็จพระสังฆราช(สา)นั้น  เท่าทีมีจำหน่ายในปัจจุบัน 
ดูแห้งแล้งไม่มีรายละเอียดใดๆให้น่าจดจำ  ประวัติสกุลงศ์ของท่านผู้ทำประโยชน์ให้กับแผ่นดินจะปล่อยให้สูญไปง่ายๆกระนั้นหรือ
น่าที่จะค้นหาต้นฉบับของก.ศ.ร.กุหลาบในส่วนที่คณะกรรมการได้ไต่สวนแล้วลงความเห็นว่าใช้ได้ มาใช้เป็นประโยชน์
ตระกูลเจ้าขรัวเงิน    ท่านคือใครกันหนอ
วงศ์เจ้าพระยาชำนาญบริรักษ์  ที่ก.ศ.ร.โยงเข้าด้วยกัน  คงจะน่าอ่านมาก 
หนังสือฉบับนี้ผ่านการตรวจสอบพิจารณาจากคณะกรรมการร่วมสมัยแล้ว  น่าเสียดายใคความรู้ที่ค้นคว้าจากตำราหลายสิบเล่ม

ดิฉันไม่เดยเห็นหนังสือเล่มดังกล่าวค่ะ  คงสถิตอยู่ในตู้ๆหนึ่ง(จัดไว้ต่างหาก)ในหอพระสมุดวชิรญาณ
ติดป้ายห้ามยืม
แล้วหนังสือก็คงสูญไป

บันทึกการเข้า
Wandee
หนุมาน
********
ตอบ: 4006


ความคิดเห็นที่ 6  เมื่อ 03 ธ.ค. 07, 21:26

ขออนุญาตคัดลอกตามหนังสือ จดหมายเหตุเรื่องการไต่สวน




ในดคีนี้ นายกุหลาบอ้างพยาน คือ นายเทียนวรรณ  หลวงเทพสมบัติ(สุ่น) กับนายพลอยจ่าศาลเมืองลพบุรี

เมื่อเทียนวรรณมาเบิกพยาน  ก็ไม่สมคำนายกุหลาบอ้าง
พยานเบิกความเป็นปฏิปักษ์แก่คำของนายกุหลาบบ้าง  เบิกความไม่ถึงบ้าง
นายกุหลาบก็มิได้ซักให้กรรมการเห็นว่าพยานพิรุธ
ข้อนี้จะให้กรรมการเข้าใจว่ากะไร  นอกจากนายกุหลาบจงใจกล่าวเท็จ
(รักษาตัวสะกดเดิม)



นายกุหลาบอ้างตำรา  กรรมการได้ให้นายกุหลาบส่งตำรามาพิสูจน์
ตำราก็กลับเป็นปฎิปักษ์แก่คำของนายกุหลาบ
จะให้กรรมการเข้าใจว่ากะไร  นอกจากนายกุหลาบจงใจกล่าวเท็จ


เรื่องตำรามหามุขมาตยานุกูลวงศ์  ที่อ้างว่าต้นฉบับเดิมเป็นของเจ้าพระยาศรีธรรมาธิราช(บุญรอด)ถวายแก่
พระเจ้าอัยกาเธอ กรมสมเด็จพระปรมานุชิตชิโนรสนั้น   สอบแล้วไม่มีตำราอยู่จริง
กรรมการขอให้นายกุหลาบนำหนังสือมาพิสูจน์   
นายกุหลาบได้ส่งหนังสือที่ตนเองตั้งชื่อว่า ต้นเหตุข้าราชการผู้น้อยได้รับพระราชทานเครื่องราชอิศริยยศ
อ้างว่าคัดข้อความมา

ในหนังสือสยามประเภทเล่ม ๒ ตอนที่ ๔ หน้า ๑๘๓  อ้างว่า กรมสมเด็จพระปรมานุชิตชิโนรสทรงเรียง
แต่  ในหนังสือสยามประเภทเล่ม ๔ ตอน ๑๐ หน้า ๓๓๗ กับ ๓๓๘ ติดต่อกัน  อ้างว่า หนังสือเล่มนี้เจ้าพระยาธรรมาธิราชถวายกรมสมเด็จพระปรมานุชิตชิโนรส

ประวัติสมเด็จพระสังฆราชในสมุดพิมพ์ที่นายกุหลาบทูลเกล้าฯถวาย กับในสยามประเภท  หาเหมือนกันเป็นแบบเดียวไม่
บันทึกการเข้า
Wandee
หนุมาน
********
ตอบ: 4006


ความคิดเห็นที่ 7  เมื่อ 03 ธ.ค. 07, 21:54

เรื่องที่อ้างว่ากรมสมเด็จพระปรมานุชิตชิโนรส เป็นพระอุปัชฌาย์ของนายกุหลาบหรือไม่  ยังเป็นเรื่องที่สนทนาโต้แย้งกันอยู่ในกลุ่มนักอ่าน

คณะกรรมการได้ไต่สวนพระอัพภันตริกามาตย์  ผู้เคยเป็นจางวางของกรมสมเด็จพระปรมานุชิตชิโนรส แลอยู่ใกล้ท่านมาตลอดพระชนม์ชีพ
ไม่ได้ความจริงว่านายกุหลาบได้อยู่ในสำนักของกรมสมเด็จพระปรมานุชิตชิโนรสมา  ไม่ต้องกล่าวถึงว่าไดีรับบรรพชาจากท่าน
นายกุหลายเองก็กล่าวว่าไม่รู้จักพระอัพภันตริกามาตย์


เรื่องโยมผู้หญิงของพระสังฆราชนั้น  นายกุหลาบให้การว่า  ไม่ได้รู้ด้วยตนเอง  ถามและทราบมาจากเทียนวรรณ
เทียนวรรณเบิกความสมโดยมาก   จำชื่อผิดกันบ้าง
นายกุหลาบว่าน้องร่วมบิดามารดากับโยมพระสังฆราชชื่อเดช    เทียนวรรณบอกว่าชื่ออ้น
ญาติผู้ใหญ่ของเทียนวรรณที่อยู่อำเภอบางไผ่ให้การไม่ตรงกันเรื่องลำดับวงศ์ญาติ
เถียงกันไปมาิ  สรุบว่าเทียนวรรณรู้จักวงศ์ญาติน้อยกว่าอำแดงอ่วม


เรื่องชื่อช้างก็ผิด  กุหลาบกับเทียนวรรณให้การไม่ตรงกัน
กุหลาบอ้างว่าตอนแรกตนเขียนว่า ในรัชกาลที่ ๔  เทียนวรรณมาบอกให้แก้  จึงแก้เป็น รัชกาลที่ ๕
เทียนวรรณบอก กุหลาบเขียนรัชกาลที่ ๓  ตนจึงบอกให้แก้


เรื่องที่สอบกันไปมาพัลวันคือ ชื่อบุคคล  ใครเป็นบุตรท่านผู้ใด  มาจากไหน  แต่งไปกับสายไหน  สายนั้นๆบรรพบุรุษชื่ออะไรบ้าง
กินความ ๕ หน้าเต็มๆ


เรื่องทั้งหมดก็มีประมาณนี้ค่ะอาจารย์
บันทึกการเข้า
Wandee
หนุมาน
********
ตอบ: 4006


ความคิดเห็นที่ 8  เมื่อ 04 ธ.ค. 07, 04:53

อีกตอนที่คัดมา   

ในสยามประเภทเล่ม ๔ ตอนที่ ๑๓ หน้า ๗   นายกุหลาบอวดอ้างว่าชำนาญภาษาละตินและรู้สันกฤต
ครั้นจะให้แปลหรือแม้แต่เพียงอ่านให้ฟังต่อหน้า  นายกุหลาบก็ไม่สามารถจะรับได้  กล่าวว่าไม่ได้เรียน  เปนแต่รู้บางคำ
เช่นนี้จะเรียกว่าชำนาญได้อย่างไร
คนจงใจเท็จเห็นปานนี้  จะเปนคลังที่เก็บรักษาเหตุการณ์ไว้ให้คนภายหลังให้ถ่องแท้ได้อย่างไร
บันทึกการเข้า
Wandee
หนุมาน
********
ตอบ: 4006


ความคิดเห็นที่ 9  เมื่อ 06 ธ.ค. 07, 23:35

เรื่องราวของก.ศ.ร.กุหลาบและเทียนวรรณ  หาอ่านได้ไม่ง่ายนัก  ข้อมูลซ้ำ  จึงนำข้อมูลเก่าที่ผู้คนไม่รู้จักมาเล่าพอเพลิดเพลิน



ขอเล่าเรื่อง ก.ศ.ร.กุหลาบจอมจุ้น  นายจิดช่างถ่ายรูปใจดี(ฟรันซิสจิตร)   คุณเทียนวรรณาโภ(เทียนวรรณ)ผู้กล้าหาญออกมาปกป้องพระสงฆ์  เรียกคุณเพราะขณะนั้นท่านบวชอยู่อายู ๒๔ ปี

วันดีคืนดีประมาณเดือนสิงหาคม พ.ศ. ๒๔๐๙  ก.ศ.ร.กุหลาบผู้กว้างขวาง ได้ลงบทความสรรเสริญ ฟรันซิสจิตรในหนังสือจดหมายเหตุบางกอกเรคอดเดอร์ของบลัดเล
ตอนนั้น กุหลาบอายุ ๓๑ ปี   นายจิด(ตามที่นายกุหลาบสะกด)อายุ ๓๖ ปีเปิดร้านถ่ายรูปได้ไม่นาน


รายงานข่าวซึ่งในตอนนั้นไม่ปรากฏชื่อผู้รายงานทราบภายหลังว่าเป็น นายกุหลาบ  กล่าวชมนายจิตช่างถ่ายรูปว่าโดนพระภิกษุองค์หนึ่งที่วัดบุบผารามมาถ่ายรูป 
แล้วไม่มารับปล่อยเวลาช้านานอยู่สองเดือนเศษ  นายจิดก็ไม่โกรธ

พระสงฆ์อีกองค์ชื่อพระทับอยู่วัดบวรนิเวศ  มาสั่งถ่ายรูปอย่างกลางราคา ๖ บาท  ค่าจ้างก็ไม่ให้  รูปก็ไม่มารับ  นายจิดก็ขาดทุนค่าน้ำยา

พระมหาพรอยู่วัดชนะสงครามได้มายืมหนังสือพิมพ์พระราชพงษาวดารกรุงเก่าไปสองเล่ม  เกือบปีแล้วไม่นำมาคืน  นายจิตเขียนจดหมายไปทวงแล้วก็ไม่ได้รับคำตอบ

พระอีกหนึ่งองค์ชื่อพระมหาเนตรอยู่วัดโสมนัสวิหาร วานนายจิดให้ไปช่วยซื้อดิกชันนาเร(รักษาตัวสะกดเดิม) ของบลัดเลให้เล่มหนึ่ง  นายกุหลาบบรรยายว่า พระมหาเนตรพูดอวดตัวว่าชำนิชำนาญภาษาอังกฤษและรู้หนังสืออังกฤษมากมาย
ค่าหนังสือให้นายจิดออกไปก่อน
นายจิตซื้อแล้วฝากไปให้  พระมหาเนตรกลับบอกว่าไม่ได้สั่งให้ซื้อ  ไม่รับหนังสือไว้  นายจิดก็ต้องออกค่าหนังสือ

นายกุหลาบบรรยายต่อไปอย่างคล่องแคล่วน่าฟังว่านายจิดไม่ได้เสียใจหรอก  ที่เปิดร้า้่นถ่ายรูปก็คิดราคาตามสมควร  ใครที่ถูกอัธยาไศรยมาขอรูปอะไรก็ให้ไปบ้าง

(ราคาทองในตอนนั้น เปิดดูในรวมเล่มบางกอก เรคอดเดอร์   ทองหนึ่งบาทราคา ๑๖ บาท สองสลึง/วันดี)
บันทึกการเข้า
Wandee
หนุมาน
********
ตอบ: 4006


ความคิดเห็นที่ 10  เมื่อ 07 ธ.ค. 07, 00:42

ในหนังสือบางกอกเรคอดเดอร์ฉบับต่อมา  คุณวัณณาโภ  อยู่วัดบวรนิเวศ ออกมา
"ขอปลดเปลื้องโทษที่ไม่ควรจะมีแก่พระมหาเนตรวัดโสมนัสวิหาร และพระสงฆ์อีกองค์หนึ่งที่อยู่วัดบุปผาราม"

อ่านแล้วประทับใจในวาทะของผู้เขียนเป็นที่ยิ่ง  จนเมื่อเห็นชื่อตัวเล็กๆอยู่ท้ายจดหมายที่ยาวถึงหนึ่งหน้าครึ่งจึงถึงบางอ้อ

เทียนวรรณติเตียนนายกุหลาบอย่างกว้างขวางครอบคลุม

ท่านว่า 
"อย่าว่าเราเจ็บร้อนแทนเลย  ถึงผู้ใหญ่ก็ดูเหมือนจะขัดใจท่านอยู่หลายคน  เราก็อยู่วัดบวรนิเวศเหมือนกัน
และอาศัยที่ยังเป็นปุถุชนก็มีความหวั่นไหวบ้าง

เราว่าท่านยังไม่สมกับความผิดของท่าน  ท่านเร่งกลับใจเสียใหม่
ลงพิมพ์รับผิดเสีย  จะเป็นความอัศจรรย์มาก
ทั้งผู้ที่ขัดใจอยู่หลายคนก็กลับยินดี  ไม่คุมโทษท่าน

เราผู้แจ้งความนี้ชื่อวัณณาโภ  เตือนสติท่านด้วยเอ็นดู"


คำอธิบายของเทียนวรรณ

นายจิดเป็นคนใจดีอยู่แล้ว  ยอมรับว่าจริง

แต่เมื่อมาเขียนตำหนิพระสงฆ์จะให้เกิดแตกร้าวกับนายจิด  นายจิดไม่ชอบแน่

ที่เขียนสรรเสริญนายจิด  จุดประสงค์อยู่ที่จะตำหนิผู้อื่น
พระสงฆ์มาจ่ายเงินช้าเพราะมิได้ถือจับต้องเงินเอง  เมื่อมีผู้รับใช้แทนจึงบอกให้มาชำระให้ที่ร้านถ่ายรูป

พระทับที่วัดบวรสึกไปแล้ว  ไปไหนไม่ทราบ  แล้วก็ไม่ได้ชื่อทับ  ชื่อกลั่น
ตัวเทียนวรรณได้ไปหานายจิดที่ร้านถ่ายรูปขอซื้อรูปที่ทิ้งไว้  แต่จะทดแทนให้เงินหนึ่งบาท  นายจิดก็นิ่งอยู่  เทียนวรรณก็เกรงใจนายจิด
พระกลั่นนั้นเดิมไ่ม่้ได้เจตนาจะล่อลวงให้นายจิดเสียน้ำยา  แต่หลังจากถ่ายรูปแล้วโดนโจรย่องเบาเสียทรัพย์ไปหลายอย่าง
ผ้าครองก็ไม่จะครอง  เมื่อหาผ้าครองได้แล้วจึงสึก


"ที่สรรเสริญนายจิดว่าใจดีชอบ   แต่ใจของผู้ไปลงพิมพ์นั้นดูเหมือนจะคิดว่า  หมู่ธรรมยุติกาเขาสรรเสริญว่าดีนัก 
ก็อยากจะชี้ให้เขาเห็นว่า  ก็ไม่ดีทีเดียวดอก
แล้วก็อยากจะให้คนเป็นอันมากเสื่อมถอยเชื่อถือธรรมยุติกา  แลอยากจะเยาะเย้ยผู้สรรเสริญธรรมยุติกา"


ที่ได้ติเตียนมหาเนตรว่าพูดอวดตัวว่าชำนิชำนาญในการหนังสืออังกฤษ    ดูว่าผู้เขียนมีสาเหตุโกรธเคืองกันมานาน  หาช่องทางจะทำให้เจ็บใจ
พระสงฆ์องค์อื่นๆไม่ใช่เป้าหมาย

เรื่องที่พระมหาเนตรวานนายจิดให้หาหนังสือให้นั้น จริง
แต่ไม่ใช่เล่มนี้  เล่มนี้มหาเนตรมีแล้ว  อยากได้เล่มใหญ่  พระมหาเนตรพูดง่ายๆไมถี่่ี่ถ้วน
ตัวเทียนวรรณเองรับซื้อไว้ด้วยความยินดีเพราะอยากได้อยู่แล้ว


เทียนวรรณสั่งสอนนายกุหลาบต่อไปว่า ไม่ควรจะเอาชื่อเสียงและนามวัดมาพิมพ์
รู้ตัวแล้วให้ไปขอลุแก่โษเสียด้วยการลงพิมพ์รับผิดแล้วจะสุขใจ

"ถ้าไม่คืนคำเสียแล้วความพินาศคงมีแก่ท่านเป็นแน่   ชั่วก็ชั่งชีดีก็ชั่งพระเป็นไร
เมื่อจะนับถือก็นับถือ       เมื่อจะไม่นับถือใครเขาจะกดคอท่านให้นับถือเล่า
อย่าทำซ่อนชื่อไปเลย  เขารู้จักตัวแล้ว...."
บันทึกการเข้า
Wandee
หนุมาน
********
ตอบ: 4006


ความคิดเห็นที่ 11  เมื่อ 07 ธ.ค. 07, 01:29

นายจิดอธิบายบ้าง

ความว่าด้วยพระสงฆ์วัดบุปผาราม วัดบวรนิเวศ วัดชนะสงคราม วัดโสมนัสวิหาร
นายกุหลาบบ้านอยู่ริมสามเสนเป็นผู้มาลงพิมพ์
พระสงฆ์ในวัดทั้งสี่มิได้ติดค้่างอะไรกับนายจิด

นายกุหลาบเป็นผู้โฉดเฉาเบาความ

นายจิตไม่ได้หาจ้างวานให้นำมาลงหนังสือพิมพ์เลย
นายกุหลาบรับว่าจะช่วยทวงหนังสือที่มหาพรยืมไปเท่านั้น   

นายกุหลาบไม่ชอบพระมหาเนตรวัดโสมนัสวิหารจึงนำชื่อนายจิตและคนอื่นๆมาประสมเพื่อกันสงสัย

นายกุหลาบมาออกชื่อบุคคลต่างๆผิดๆถูกๆ  ความอายน่าจะตกกับนายกุหลาบเองเป็นอันมาก
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 12  เมื่อ 07 ธ.ค. 07, 08:56

ขอบคุณสำหรับเกร็ดความรู้ที่นำมาให้อ่านค่ะ  มีสีสันดีมาก
อ่านแล้วรู้สึกว่า 
๑)ถ้าดิฉันเป็นนายจิต คงจะนั่งไม่ติด   เพราะอยู่ๆก็ถูกนายกุหลาบ   พาไปชนกับพระสงฆ์ต่างรูป ต่างวัด ต่างวาระ เสียยังงั้น
เผลอๆจะไปทำบุญที่วัดบวรนิเวศ    วัดบุปผาราม วัดโสมนัส และวัดชนะสงคราม ได้ยาก   เดินเข้าวัดพระสงฆ์อาจจะบอกต่อๆกันว่า...นี่ไง  นายคนนี้ ที่เอาหลวงพี่ในวัดไปประจานลงหนังสือพิมพ์
โยมทั้งหลายก็จะแห่กันมา ว่าใจบาป ไปพูดจาหาเรื่องล่วงเกินพระ  ตกนรกแน่ๆ
๒) เทียนวรรณ คงมองเห็นด้านนี้   เลยออกมาพูด
๓) ร้อนถึงนายจิตต้องมาแถลงบ้าง ว่าไม่มีส่วนรู้เห็นกับนายกุหลาบ    ประเด็นมีอยู่นิดเดียวและธรรมดาที่สุด นายกุหลาบขยายไปเสียใหญ่โต

แล้วความจริงเป็นยังไงล่ะคะ คุณวันดี  มีการชี้แจงตอบจากนายกุหลาบหรือเปล่า
บันทึกการเข้า
Wandee
หนุมาน
********
ตอบ: 4006


ความคิดเห็นที่ 13  เมื่อ 07 ธ.ค. 07, 09:39

มีค่ะอาจารย์   ลงพิมพ์ติดๆกันกับคำอธิบายของนายจิด   (หน้า๔๕๘ - ๔๕๙  จดหมายเหตุบางกอกรีกอเดอ เดือนเซบเตมเบอร์ วันที่ ๙  กฤษศักราช ๑๘๖๖)


ขอคัดลอกมาโดยเต็ม  เพื่อแสดงความคิดเห็นของนายกุหลาบ

"คำที่สรรเสริญนายจิดช่างถ่ายรูป  กับเตือนสติพระสงฆ์ที่ประพฤติการไม่สมควรมาให้ครั้งก่อนนั้น  ก็หมายว่าจะให้เป็นประโยชน์กับศาสนาสยามบ้าง
แลปรารถนาให้ท่านทั้งปวงทราบว่านายจิดเป็นคนใจแน่นอนดีมากๆ  ท่านทั้งหลายจะได้สรรเสริญด้วย 
การสรรเสริญนั้นกลับเป็นที่เคืองใจแห่งนายจิตเพราะว่านายจิตเป็นคนอาฌาคารวะสุภาพ(รักษาภาษาเดิม) 
จึงไม่ชอบคำที่สรรเสริญแล้วก็โกรธผู้ที่สรรเสริญด้วย

ฝ่ายพระสงฆ์ที่มีชื่อในหนังสือพิมพ์นั้น  ก็เห็นจะโกรธผู้ลงพิมพ์ด้วยเป็นแน่
แต่ว่าท่านผู้มีปัญญาอันมาก  ท่านจะเห็นว่าเป็นคุณประโยชน์บ้าง  เพราะว่าผู้ใดที่มักง่ายมักมีกิริยาไม่ตรง 
เป็นที่จะให้เขาทั้งหลายบูชานับถือทั้งนั้น  จะได้ระลึกถึงตัว  แล้วจะได้ตั้งตัวให้เป็นการสมควรในสมณจึ่งจะชอบ
ไม่ควรที่จะโกรธผู้ลงพิมพ์เลย     ถ้าการไม่เป็นดั่งนั้นใครเลยจะกล้าไปติเตียนท่าน

ถึงจะมีผู้มาติเตียนเป็นการไม่จริง  ก็ไม่ต้องจะร้อนใจ  ด้วยตัวดีอยู่แล้วไม่มีทุกข์
ถ้าพระสงฆ์องค์ใดโกรธกับผู้ลงพิมพ์  ก็เห็นว่าพระองค์นั้นจะไม่อยู่ในยุติธรรม จึงได้โกรธเพราะคำเหล่านี้
ชอบที่จะตั้งใจเสียใหม่ให้เป็นการดีบ้าง  แล้วจะเห็นว่าเป็นการดีต่อภายหลัง

แลท่านพระสงฆ์ทั้งหลายจะโกรธว่าเอาชื่อวัดทั้งนั้นไปลงพิมพ์   ท่านกลัวชื่อวัดจะเสียไปนั้น
ข้อนั้นท่านทั้งหลายอย่าวิตกเลย   วัดทั้งนั้นก็มีชื่อเป็นวัดดี  และพระที่ท่านปรนนิบัติเป็นการดี  ชื่อท่านก็คงดีอยู่
เห็นว่าท่านจะไม่โกรธเลย  ด้วยท่านมีปัญญามากอยู่

ประการหนึ่งเป็นธรรมดาแห่งคนที่ปลุกคนนอนหลับอยู่ในเรือนที่ไฟไหม้นั้น  ว่าเขากำลังนอนสบายอยู่
เขากลับจะปะเตะปะต่อยด่าว่ากับผู้ที่มาปลุกเสียอีก
ต่อรู้สึกตัวตื่นแล้วจึ่งได้เห็นคุณคนปลุกบ้าง"


ยังมีจดหมายจากมหาพรนักยืมข้ามปีอีกค่ะ
ดีใจที่อาจารย์ชอบ  และกรุณาคุยด้วย
อ่านงานแปลบางเรื่องที่เทียนวรรณขัดเกลา  แสดงความระมัดระวังรอบคอบ
สิ่งใดที่ท่านไม่แน่ใจ  ท่านเขียนไว้ชัดเลยค่ะ
บันทึกการเข้า
pipat
แขกเรือน
นิลพัท
*******
ตอบ: 1802


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 14  เมื่อ 07 ธ.ค. 07, 14:53

ผมเคยสรุปเรื่องนี้ไว้สั้นๆ จะขอมาขยายความเพิ่มอีกนิดหน่อยนะครับ
กรณีที่เกิดนี้เอง ที่ทำให้ผมไม่ค่อยสนิทใจในบทบาทของหมอปลัดเลสักเท่าใดนัก
ก่อนหน้านี้ ท่านก็พิมพ์ข่าวตอมสันช่างชักรูปจะเข้ามาเมืองไทย
เนื้อหาข่าวนั้น หากพูดภาษาปัจจุบัน ก็เรียกว่า "ข่าวประชาสัมพันธ์"
เช่นนักร้องเอาดอกไม้มาให้กองบอกอ หรือนางงามมาขอบคุณที่ทำข่าว....

มาเจอเรื่องนายกุหลาบเต้าข่าวครั้งนี้อีก ท่านก็แก้ตัวว่า มีข่าวก็พิมพ์ไป ไม่รู้เรื่องด้วยและ

จึงคิดว่า ที่เราเรียกหมอปลัดเลว่าเป็นนักหนังสือพิมพ์นั้น อาจจะสูงเกินไป
ท่านถนัดในทางหาข่าวมาหากินมากกว่าการหวังดีต่อสยาม หรืออาจจะพอๆ กัน
ตอนหม่อมราโชทัย ท่านก็ตีข่าวว่าถูกดีดตกกระไดบ้านกงศุลฝรั่งเศส
พระเจ้าอยู่หัวต้องมาทรงแก้ข่าว
และคงจำได้ที่มีประกาศห้ามคนเชื่อเรื่องที่ส่งหนังสือตีพิมพ์
(อันเป็นที่มาของชื่อเรียก"หนังสือพิมพ์")

อยู่มาถึงปัจจุบัน ท่านอาจจะเป็นบอกอ ก๊อสสิบรายวันก็ได้
บันทึกการเข้า
หน้า: [1] 2
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.07 วินาที กับ 19 คำสั่ง