เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: [1] 2
  พิมพ์  
อ่าน: 9032 กระทรวงวัง ๒๔๗๔
Wandee
หนุมาน
********
ตอบ: 4006


 เมื่อ 13 พ.ย. 07, 17:24

(พิพิธภัณฑ์สัพพะสยามกิจ  ศักราช ๒๔๗๔  หน้า ๗๓๗ - ๗๔๐)

กรมบัญชาการ
เสนาบดี            ม.ส.อ. เจ้าพระยาวรพงศ์พิพัฒน์
ปลัดทูลฉลอง      ม.ส.ต. พระยาบำเรอภักดิ์
เลขานุการ         ส.ท. พระบริหารสาราลักษณ์
เสมียนตรา         ส.ต. พระวิจารณ์ราชกิจ

แผนกพระธรรมนูญ   ส.อ. พระยาศรีวิกรมาทิตย์

แผนกรักษาวัดพระศรีรัตนศาสดาราม
ผู้อำนวยการ          ส.อ. พระยารัตนพิมพาภิบาล

กรมบัญชีพระราชสำนัก
เจ้ากรม               ส.อ. พระยาศรีศักดิ์ธำรง

กรมพระราชพิธี
กองบังคับการ
สมุหพระราชพิธี       ม.ส.ต. พระยาเทวาธิราช

กองพระราชพิธี
เจ้าพนักงานใหญ่     ส.ต. พระอักษรสมบูรณ์

กรมสนมพลเรือน
เจ้ากรม               ส.ท. พระยาประสานพิธีกร

กองพระราชกุศล
เจ้าพนักงานใหญ่     ส.ต. พระศุภรัตกาษายานุกิจ

กรมภูษามาลา
เจ้ากรม               ม.ส.ต. พระยาเทวะวงศาภรณภูษิต


กรมวัง
กองบังคับการ
สมุหพระราชมเทียร     ม.ส.ต. พระยาสุรวงศ์วิวัฒน์
ปลัดพระราชมณเทียร   ส.อ. พระยาอนุรักษ์ราชมณเทียร

กรมวังสมเด็จพระบรมราชินี
เจ้ากรม                  (ว่าง)


กรมพระตำรวจหลวงรักษาพระองค์
พระตำรวจซ้าย
เจ้ากรมในซ้าย            ข.ต.อ. พระมหาเทพ
เจ้ากรมใหญ่ซ้าย          ข.ต.อ. พระพิเรนทรเทพ
เจ้ากรมนอกซ้าย          ข.ต.อ. พระอินทรเดช
เจ้ากรมสนมซ้าย          ข.ต.ท. พระสุริยภักดี

พระตำรวจขวา
เจ้ากรมในขวา             ข.ต.อ. พระมหามนตรี
เจ้ากรมใหญ่ขวา           ข.ต.อ. พระอิทรเทพ
เจ้ากรมนอกขวา           ข.ต.ต. พระราชวรินทร์
เจ้ากรมสนมขวา           ข.ต.ท. พระพรหมบริรักษ์


กรมวังนอก
กองบังคับการ
เจ้ากรม                    ส.อ. พระยาอิศรพงศ์พิพัฒน์
บันทึกการเข้า
Wandee
หนุมาน
********
ตอบ: 4006


ความคิดเห็นที่ 1  เมื่อ 13 พ.ย. 07, 17:42

กรมทหารรักษาวังของพระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว
ผู้บังคับการพิเศษ                จอมพล พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว

กองบังคับการ
ผู้บังคับการ                       พ.อ. พระยาราชวัลลภานุสิษฐ์
ปลัดกรม                         พ.ท. หลวงศารสุรไกร
สมุหบัญชี                        พ.ต. หลวงคณิตบรรณสาร
ผู้บังคับกองพันที่ ๑              พ.ท. จมื่นวัชรเสนี
ผู้บังคับการกองพันที่ ๒          ร.อ. จมื่นรณภพพิชิต


กรมมหาดเล็กหลวง
กองบังคับการ
จางวาง                           ม.ส.ต. พระยาอิศราธิราชเสวี
ปลัดจางวาง                      ส.ต. หม่อมเจ้าอุปลีสาณ  ชุมพล


มหาดเล็กสมเด็จพระบรมราชินี
จางวาง                           ม.ส.ต. พระยาไพชยนต์เทพ


กรมพระราชพาหนะ
กองบังคับการ
จางวาง                           ม.ส.ต. พระยาชาติเดชอุดม
ปลัดจางวาง                      ส.อ. พระปราบพลแสน


กรมพัสดุ
เจ้ากรม                           ส.อ. พระยาพิพิธไอสูรย์


กรมปี่พาทย์และโขนหลวง
กองกลาง
ผู้กำกับการ                       ส.อ. พระยานัฏกานุรักษ์


กองเครื่องสายฝรั่งหลวง
ปลัดกรม                          ส.ท. พระเจนดุริยางค์

กองรักษาวังไกลกังวล
กองอำนวยการ
ผู้อำนวยการ                       ส.ท. พระยาราชพัสดุ์อภิมัณฑน์(ทำการในตำแหน่ง)

บันทึกการเข้า
Wandee
หนุมาน
********
ตอบ: 4006


ความคิดเห็นที่ 2  เมื่อ 13 พ.ย. 07, 18:14

ต่อด้วย อักขรานุกรมขุนนาง(หน้า ๘๐๑ -  ๑๔๓๔)

เลือกเฉพาะ บรรดาศักดิ์ นาย  เพื่อสนับสนุนคุณเทาชมพู ที่ว่า บรรดาศักดิ์นี้ ขึ้นอยู่กับกระทรวงวัง

หน้า ๘๐๔
กล้าณรงค์ราญ,   นาย   (ปาน  เกสะรานนท์)  นายร้อยโท ประจำกองพันที่ ๒  กรมทหารรักษาวัง  ว.ป.ร.

กวด   นาย   (โต  สุจริตกุล) รองเสวกเอก  กระทรวงวัง  ศึกษาต่อต่างประเทศ

กวด   นายรอง   (ถนอม  จารุศุกร) รองเสวกโท  มหารเล็กเวรฤทธิ์


หน้า ๘๐๖
กัณฐัศวราข   นาย   (เขื้อ  ตุมราศวิน)  รองเววกเอก  นายเวร  กรมบัญชาการกระทรวงวัง


หน้า ๘๑๘
แกว่นพลล้าน   นาย   (ยง จุฑามิต) นายร้อยโท ประจำกองพันที่ ๑  กรมทหารรักษาวัง  ว.ป.ร.

หน้า ๘๑๙
แก้วภักดี   นาย   (สุด  คชนันท์)  นายตำรวจตรี สังกัดกรมพระตำรวจหลางรักษาพระองค์   
บันทึกการเข้า
Wandee
หนุมาน
********
ตอบ: 4006


ความคิดเห็นที่ 3  เมื่อ 13 พ.ย. 07, 19:08

หน้า ๘๒๐
ไกรพลแสน   นาย   (กลิ่น  ยมาภัย)  นายร้อยโท ประจำกองพันที่ ๑ กรมทหารรักษาวัง ว.ป.ร.
ไกรพาชี   นาย   (จรูญ รัตโนดม) รองเสวกเอก สังกัดกระทรวงวัง

๘๒๘
ขัน   หุ้มแพร   นาย( ม.ร.ว. มานพ เกษมสันต์) รองเสวกเอก  นายเวรกรมพระราชพิธี กระทรวงวัง
ขัน   นายรอง   (เพ็ง รัตนผัสสะ)รองเสวกโท นายรองมหาดเล็กเวรเดช กระทรวงวัง

๘๔๙
จำนงราชกิจ   นาย   (จรัญ บุณยรัตพันธุ์) รองเสวกเอก  นายเวรสารบรรณกรมราชเลขานุการในพระองค์

๘๕๕
จิตรปรีชา   นาย   (ม.ล. จุ่น  นรินทรกุล)สังกัดกระทรวงวัง

๘๖๕
ฉัน หุ้มแพร   นาย   (ทัศน์  สุจริตกุล)รองเสวกเอก มหาดเล็กเวรศักดิ์
๘๖๖
ฉัน   นายรอง   (เป้า  เอนกนันต์) รองเสวกโท  มหาดเล็กเวรศักดิ์

๘๙๔
ชิด หุ้มแพร   นาย   (ม.ร.ว. สล้าง ลดาวัลย์)รองเสวกเอก  มหาดเล็กต้นเชือกเวรสิทธิ์
ชิด    นายรอง   (จ้าย  กองสาร) รองเสวกโท  มหาดเล็กเวรสิทธิ์

๙๒๒
ศรทรงฤทธิ์   นาย   (สวัสดิ์ สวัสดิโยธิน) นายร้อยเอก ประจำกองพันที่ ๒ กรมทหารรักษาวัง  ว.ป.ร.

๙๖๐
นราภิบาล   นาย   (ศิล์ป  เทศะแพทย์) รองเสวกโท  เลขานุการในพระองค์ สมเด็จพระเจ้าพี่ยาเธอ เจ้าฟ้ากรมพระนครสวรรค์วรพินิต

๙๖๑
นรินทร์ธิเบศร นาย   (นพ  ปูคะวนัช)รองเสวกโท  สังกัดกระทรวงวัง

๙๖๒
นเรศรธิรักษ์   นาย   (แสวง  ชาตรูปะวณิช)  รองเสวกเอก  นายเวรกรมบัญชาการ  กระทรวงวัง

๙๗๑
นิกรอัศวเดช   นาย   (ฮวด  หุตาศวิน)รองเสวกโท  นายสารถีในกรมราชพาหนะ  กระทรวงวัง
บันทึกการเข้า
Wandee
หนุมาน
********
ตอบ: 4006


ความคิดเห็นที่ 4  เมื่อ 13 พ.ย. 07, 19:30

หน้า ๑๐๐๖
บำรุงราชบทมาลย์   นาย   (คลอ  คชนันท์) รองเสวกเอก  หุ้มแพร  มหาดเล็กเวรศักดิ์
บำรุงราชบทมาลย์   นารอง   (ประเสริฐ  สมิตินันทน์)รองเสวกโท  มหาดเล็กเวรศักดิ์

๑๐๐๘
บำเรอบรมบาท   นายรอง   (กุน  พึ่งบารมี) รองเสวกโท  มหาดเล็กเวรศักดิ์

๑๐๖๕
ปรีดาราช   นาย   (สุภาค  ชุณหโสภาค)รองเสวกโท  สังกัดกระทรวงวัง

๑๐๘๔
พลพัน หุ้มแพร   นาย   (เก็บ จันทรบุบผา) รองเสวกเอก สังกัดกระทรวงวัง
พลพ่าห์  หุ้มแพร   นายผมาศ  บุนนาค) รองเสวกเอก นายเวรกรมมหาดเล็กหลวง

๑๓๓๙
สนิท   นายรอง   (สวาท โชติกเสถียร) รองเสวกโท  นายรองมหาดเล็กเวรศักดิ์

๑๓๙๙
สุดจำลอง   นาย   (กวงหงวน  สาทิสสะรัต)รองเสวกเอกพิเศษ  กระทรวงวัง  เจ้าของห้าง ฉายาลักษณ์ ตลาดน้อย  บ้านในตรอกกัปตันบุษ(รักษาตัสสะกดเดิม) พระนคร

๑๔๒๑
เสถียรรักษา   นาย   (ม.ร.ว.เฉลิม ทินกร)รองเสวกเอก  ปลัดกรมวังซ้าย


๑๔๒๙
โสภณอัศดร   นาย   (เง็ก  ศาตะมัย)รองเสวกเอก ปลัดอำเภอลับแล  จังหวัดอุตรดิตถ

๑๔๓๐
หัศบำเรอ   นาย   (บุศย์ สุทธสินธุ์)รองอำมาตย์เอก  สังกัดกระทรวงยุตติธรรม

๑๔๓๑
หาญณรงค์รอน   นาย   (บัว  อินทรสถิตย์)นายร้อยโท  ประจำกองพันที่ ๒  กรมทหารรักษาวัง ว.ป.ร.

๑๔๓๕
องค์อัศดร   นาย   (นพ นวาศสิน)รองเสวกตรี  นายสารถี กรมพระราชพาหนะ กระทรวงวัง


จบแล้วค่ะ  ผิดพลาดประการใดขออภัยเพราะอ่านเพลิน  พิมพ์ช้ากว่าสายตา

บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 5  เมื่อ 13 พ.ย. 07, 19:45

ขอบคุณคุณวันดีที่อุตสาหะหลังขดหลังแข็งพิมพ์มาให้อ่านกัน
บางชื่อคุ้นๆว่าผ่านตามาค่ะ
แล้วจะมาเล่ารายละเอียดต่อนะคะ
บันทึกการเข้า
Wandee
หนุมาน
********
ตอบ: 4006


ความคิดเห็นที่ 6  เมื่อ 13 พ.ย. 07, 21:22

นั่งคอยอาจารย์อยู่ท้ายห้องอย่างมีความหวังค่ะ
ไม่กล้าจะรบกวนจนเกินเลยไป

เจ้าพระยา ทราบประวัติเพราะมีหนังสือประวัติเจ้าพระยาในประเทศไทย
พระยานั้น พอแว่วราชทินนาม  นอกนั้นต่อไม่ติดเลยค่ะ

ถ้าเป็นสายบุนนาค หรือ  อมาตยกุล ก็เปิดหนังสือตระกูลอ่านได้เพราะหนังสือทำไว้ดีมาก อ่านง่ายและน่าอ่านเป็นที่สุด

บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 7  เมื่อ 13 พ.ย. 07, 21:40

เคยเขียนบทความ "บรรดาศักดิ์มหาดเล็ก"ไว้ เมื่อปี 2547  เอามาลงในนี้อีกครั้งค่ะ
ฝากคุณวันดี เผื่อยังไม่เคยอ่าน

ในสมัยสมบูรณาญาสิทธิราชย์ ตำแหน่งงานมหาดเล็กในพระบรมมหาราชวัง ถือเป็นบันไดสำคัญขั้นแรกในหมู่ชายหนุ่มลูกผู้ดีเมื่อเข้าสู่ราชการ เนื่องจากจะมีโอกาสอยู่ใกล้ชิดพระเจ้าแผ่นดินให้ทรงใช้สอย และมีโอกาสรู้เห็นการงานสำคัญๆของบ้านเมือง ถ้าหากว่าทำตัวดีมีความสามารถจนเป็นที่ไว้วางพระราชหฤทัย ต่อไปก็จะโปรดเกล้าฯให้เลื่อนไปสู่ตำแหน่งสูงๆได้ง่ายกว่าข้าราชการสังกัดอื่นๆ

บรรดาศักดิ์มหาดเล็กมีหลายระดับ เริ่มต้นตั้งแต่เป็นเด็กหนุ่มวัยรุ่นเข้าเป็นมหาดเล็กธรรมดาเสียก่อน แล้วก็เลื่อนขึ้นเป็นมหาดเล็กชั้นรองหุ้มแพร มีคำนำหน้าว่า "รอง" นำหน้า ต่อจากนั้นก็คือ "มหาดเล็กหุ้มแพร"

คำว่า "มหาดเล็กหุ้มแพร" มีผู้อธิบายกันไปหลายทาง ในที่นี้ขอใช้คำอธิบายของพระมหาเทพกษัตรสมุห มหาดเล็กในรัชกาลที่ ๖ ว่าเป็นตำแหน่งมหาดเล็กที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯแต่งตั้ง โดยพระราชทานพระแสงดาบที่ใช้แพรสีแดงหุ้มที่ฝักดาบ มีปลอกเงินรัดเป็นเปลาะ ทำนองเดียวกับธรรมเนียมการแต่งตั้งแม่ทัพนายกองมาตั้งแต่สมัยอยุธยาจนรัตนโกสินทร์  มหาดเล็กหุ้มแพรมักจะมีวัยตั้งแต่ ๒๐ ปีขึ้นไป กำลังหนุ่มแน่นทำงานได้คล่องแคล่ว เดิมมีบรรดาศักดิ์อยู่ ๑๒ ชื่อคล้องจองกันคือ

๑)นายสนิท ๒)นายเสน่ห์ ๓)นายเล่ห์อาวุธ
๔)นายสุดจินดา ๕)นายพลพ่าย (มาถึงรัชกาลที่ ๖ ทรงเปลี่ยนเป็นนายพลพ่าห์) ๖)นายพลพัน   ๗)นายชัยขรรค์ ๘)นายสรรค์วิชัย ๙)นายพินัยราชกิจ
๑๐)นายพินิจราชการ ๑๑)นายพิจิตร์สรรพการ ๑๒)นายพิจารณ์สรรพกิจ

นายสุดจินดาคนที่มีชื่อเสียงอยู่ในพงศาวดารเป็นมหาดเล็กสมัยพระเจ้าเอกทัศกษัตริย์องค์สุดท้ายของอยุธยา หนีรอดตายเมื่อครั้งเสียกรุงไปได้ เข้ารับราชการจนได้เป็นเจ้าพระยาสุรสีห์สมัยธนบุรี ต่อมาในรัชกาลที่ ๑ คือกรมพระราชวังบวรมหาสุรสีหนาท

มหาดเล็กรับใช้ทั้งหมดแบ่งการทำงานออกเป็น ๔ เวร คือเวรศักดิ์ เวรสิทธิ์ เวรฤทธิ์ เวรเดช แต่ละเวรมีการทำงานแตกต่างกันไป

เวรศักดิ์ อยู่เวรยามเฝ้าเครื่อง,รับใช้ตลอดเวลาที่พระมหากษัตริย์มิได้ประทับอยู่ฝ่ายใน และเชิญเครื่องตามเสด็จทั่วไป มีหลวงนายศักดิ์ หรือหลวงศักดิ์นายเวร เป็นหัวหน้าเวร

คุณเปรม พระเอกสี่แผ่นดิน ตอนเปิดตัวออกโรงเป็นครั้งแรก อายุ ๒๓ ปี เป็นมหาดเล็กเวรศักดิ์

เวรสิทธิ์ ดูแลรับผิดชอบพระราชทรัพย์สิ่งของเครื่องใช้ต่างๆ ตลอดจนพระที่นั่ง และบริเวณพระราชวัง มีหลวงนายสิทธิ์หรือหลวงสิทธิ์นายเวร เป็นหัวหน้าเวร

ประมาณ ๑๐ กว่าปีก่อน เรามีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยคนหนึ่งชื่อพลเอกสิทธิ์ จิรโรจน์ หนังสือพิมพ์มติชนเรียกท่านอย่างล้อๆว่า "หลวงนายสิทธิ์" ก็เอาชื่อมาจากมหาดเล็กนายเวรนี่แหละค่ะ

เวรฤทธิ์ ดูแลรับผิดชอบพระราชยานพาหนะ ไม่ว่าจะเป็นช้าง ม้า เรือ รถ ต้องรับผิดชอบให้อยู่ในสภาพที่พร้อมเมื่อทรงใช้ทุกเมื่อ หลวงนายฤทธิ์หรือหลวงฤทธิ์นายเวร เป็นหัวหน้าเวร

พลายชุมพลเมื่อปราบจระเข้เถรขวาดได้แล้ว พระพันวษาก็รับเข้าวังไปใช้สอยไว้วางพระทัย จนได้เลื่อนขึ้นเป็นหลวงนายฤทธิ์ มีบทบาทอยู่ในขุนช้างขุนแผนตอนพลายเพชรพลายบัวออกศึก (ทั้งสองลูกชายพระไวยหลานปู่ขุนแผน) แต่เป็นตอนที่ไม่มีอยู่ในเสภาฉบับหอพระสมุด

เวรเดช มีหน้าที่ฝึกหัดอบรมมหาดเล็กใหม่ ทางด้านงาน กิริยา วาจามารยาทและการใช้ราชาศัพท์ ตลอดจนรับผิดชอบเรื่องหนังสือเข้าออกต่างๆ ถ้าหากว่าพระมหากษัตริย์จะทรงใช้มหาดเล็กออกไปติดต่องาน ต่างพระเนตรพระกรรณภายนอกก็จะทรงใช้มหาดเล็กเวรนี้ หลวงนายเดชหรือหลวงเดชนายเวร เป็นหัวหน้าเวร

สูงขึ้นไปจากนายเวร คือหัวหมื่นมหาดเล็ก มี ๔ บรรดาศักดิ์คือ จมื่นสรรเพชญภักดี จมื่นเสมอใจราช จมื่นไวยวรนารถ และจมื่นศรีสรรักษ์ เดิมเรียกว่า "จมื่น" มาเปลี่ยนเป็น " เจ้าหมื่น" ในรัชกาลที่ ๖ นี้เอง

บุคคลเหล่านี้เรียกกันอย่างไม่เป็นทางการว่า "คุณพระนาย" ไม่เรียก "คุณจมื่น" หรือ "คุณเจ้าหมื่น"

บรรดาศักดิ์พงศาวดารสมัยอยุธยาบันทึกชื่อจมื่นศรีสรรักษ์ พี่ชายของเจ้าจอมเพ็งและเจ้าจอมแมนพระสนมคนโปรดในพระเจ้าเอกทัศ จมื่นศรีฯคนนี้อาศัยบารมีน้องสาวฉ้อราษฎร์บังหลวงให้ราษฎรเดือดร้อน จนพระเจ้าอุทุมพรเมื่อสึกออกมารบกับพม่า ทรงทนไม่ได้ ขอตัวจากพระเชษฐาไปลงโทษโบยและเอาตัวเข้าคุกเสียพักใหญ่ กว่าพระเจ้าเอกทัศจะไปขอตัวให้รอดออกจากคุกมาได้

ส่วนจมื่นศรีสรรักษ์ในวรรณคดี มีบทอยู่ในขุนช้างขุนแผน เป็นผู้เกื้อกูลอุปถัมภ์พลายงามจนกระทั่งได้ถวายตัวรับราชการ และจมื่นศรีฯคนนี้เองก็ร่วมมือกับพลายชุมพลปราบเถรขวาดในตอนจับเสน่ห์นางสร้อยฟ้า

จมื่นไวยวรนารถคือบรรดาศักดิ์ใหม่ของพลายงามเมื่อเสร็จจากทำศึกเชียงใหม่ มีความดีความชอบมากก็ได้เลื่อนรวดเดียวขึ้นเป็นหัวหมื่นมหาดเล็กคู่กับจมื่นศรีฯ ไม่ต้องผ่านตามลำดับขั้นอย่างคนอื่นๆ

ส่วนมหาดเล็กวังหน้ามีระเบียบการบังคับบัญชาแบบเดียวกับมหาดเล็กวังหลวง แต่มีชื่อและบรรดาศักดิ์เรียกแยกออกไปโดยเฉพาะ หนึ่งในมหาดเล็กหุ้มแพรวังหน้าสมัยต้นรัตนโกสินทร์คือกวีเอกของไทยชื่อนายนรินทรธิเบศร์(อิน) เจ้าของ "นิราศนรินทร์" อันได้ชื่อว่าเป็นยอดโคลงสี่สุภาพไม่มีบทกวีประเภทเดียวกันเทียบได้มาจนทุกวันนี้
บันทึกการเข้า
Wandee
หนุมาน
********
ตอบ: 4006


ความคิดเห็นที่ 8  เมื่อ 14 พ.ย. 07, 07:53

อ่านหนังสือมาร้อยเล่มไม่เท่ากับพบผู้อธิบายความได้กระจ่างเพียงครั้งเดียว

ไม่เข้าใจความหมายของ มหาดเล็กหุ้มแพร มาก่อน  อ่านข้ามไปทุกที
เรื่องพลายชุมพลเป็นหลวงนายฤทธิ์  จำได้ค่ะ

พูดถึงแล้วอยากเรียนเชิญคุณเทาชมพูอธิบายความที่น่าสนใจใน ขุนช้างขุนแผน ตั้งแต่ตอน นางสร้อยฟ้าให้ฆ่านางศรีมาลาไม่ตาย
พลายเพชรพลายบัวตามไป

เคยเล่าเรื่องตำแหน่งที่ขุนแผนซ่อนดาบฟ้าฟื้นให้เพื่อนๆหลายคนฟัง  มีคนไม่ทราบอีกมากค่ะ

                                     
................................                       ดาบของปู่เล่มหนึ่งนั้นถึงดี
ให้ชื่อเทพศักดาฟ้าฟื้น                                กินคนกว่าหมื่นไม่นับผี
เอาออกอ่านฟ้าก็ผ่ามาทุกที                          ซ่อนไว้ที่เขาใหญ่ในโพรงรัก
ปากถ้ำข้างทิศบูรพา                                  เร่งไปพิจารณาให้จงหนัก
ไม่ไกลกันกับกาญจนบุรีนัก                          เอาไว้เมื่อใกล้จักรมรณา
ครั้นจะให้กับลูกเต้าทั้งปวงไว้                         บาปจะติดตัวไปเมื่อภายหน้า
กระซิบบอกออกให้แต่มารดา                         ครั้งลูกยาเจ้ายังอยู่ในครรภ์

มีเรื่องถามคุณเทาชมพูอีกหลายข้อเลยค่ะ
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 9  เมื่อ 02 ธ.ค. 07, 08:24

อ้างถึง
ขุนช้างขุนแผน ตั้งแต่ตอน นางสร้อยฟ้าให้ฆ่านางศรีมาลาไม่ตาย
พลายเพชรพลายบัวตามไป

เคยเล่าเรื่องตำแหน่งที่ขุนแผนซ่อนดาบฟ้าฟื้นให้เพื่อนๆหลายคนฟัง  มีคนไม่ทราบอีกมากค่ะ
ขุนช้างขุนแผนตอนที่คุณวันดีถาม   เป็นฉบับที่ไม่ได้รวมอยู่ในฉบับหอพระสมุด   
สมเด็จกรมพระยาดำรงฯ ไม่ได้ทรงรวบรวมไว้ด้วยกัน  แต่กรมศิลปากรพิมพ์ไว้   ดิฉันเคยอ่าน
เป็นเหตุการณ์ในรุ่นหลานของขุนแผน  เมื่อขุนแผนถึงแก่กรรมไปตามอายุขัย  ส่วนพระไวยทั้งที่อายุยังไม่ถึงวัยชรา  ก็ถึงแก่กรรมไปแล้วในตอนนั้น    นางศรีมาลามีฐานะยากจนลง  อยู่กับลูกชายที่โตเป็นหนุ่ม ๒ คน ชื่อพลายเพชรกับพลายบัว
นางสร้อยฟ้ายังคิดแค้นเรื่องเดิมไม่หาย  ส่งคนมาฆ่านางศรีมาลา แต่นางไม่ถึงกับตาย    พลายเพชรกับพลายบัวจะเดินทางไปเชียงใหม่  เพื่อไปสู้กับพลายยงลูกชายนางสร้อยฟ้าที่เกิดจากพระไวย  ผ่านบ้านหลวงนายฤทธิ์ผู้เป็นอา   แต่ไม่รู้จักกัน
พลายเพชรไปลอบรักกับนางบัวแก้วลูกสาวหลวงนายฤทธิ์...จำได้แค่นี้
ละครกรมศิลปฯ นำมาเป็นละคร ในตอนนี้ ชื่อ พลายเพชรพลายบัวออกศึก   จำได้แค่นี้ละค่ะ   

ขุนช้างขุนแผนช่วงที่ขุนแผนตายไปแล้วกลายเป็นนายผี   อ่านไม่ค่อยสนุกเท่าไร  สำนวนกลอนก็ไม่เพราะเท่าตอนต้นๆ   เนื้อเรื่องเยิ่นเย้อและไม่ค่อยปะติดปะต่อกัน   อ่านแล้วเลยจำได้แค่นี้เองค่ะ ขออภัยด้วย
บันทึกการเข้า
Wandee
หนุมาน
********
ตอบ: 4006


ความคิดเห็นที่ 10  เมื่อ 02 ธ.ค. 07, 10:28

ขอบคุณ คุณเทาชมพูค่ะ

มีหนังสือ  ที่ปกหน้าเขียนไว้ว่า  เป็นประวัติย่อ ชื่อ ตามลำดับตำแหน่งยศ
อรรคมหาเสนาบดี และ เสนาบดีจตุสดมภ์ หรือ อธิบดี และผู้รั้งตำแหน่งเสนาบดีกรม หรือกระทรวง ๖ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์
ในระหว่าง ๑๓๘ ปี มี ๑๑๓ ตำแหน่ง
พิมพ์ พ.ศ. ๒๔๖๓
ของก.ศ.ร. กุหลาบ  กฤษณานนท์(น่าจะเป็นตฤษณานนท์)
เป็นหนังสือ พิมพ์แจกในงานประชุมเพลิง ขุนขจรภารา(พลอย สุคนธชาติ) ณ เมรุวัดดวงแข พ.ศ. ๒๔๘๒

หน้า ๙ - หน้า ๑๑  เป็นเรื่องของ จัตุสดมภ์เสนาบดีี และ ผู้รั้งกรมวัง  อย่างย่อๆดังนี้

ในรัชกาลที่ ๑ มี ๓ ท่านคือ
เจ้าพระยาธรรมา(บุญรอด)  เป็นเสนาบดีแล้วถูกถอด
เมื่อชราได้เป็นเจ้าพระยาศรีธรรมาธิราช ผู้ช่วยกรมวัง  ท่านผู้นี้เป็นเจ้าตำรา

เจ้าพระยาธรรมาฯ(ทองดี)
เป็นเสนาบดีจนชรามาก

เจ้าพระยาธรรมาฯ(ซด) ก.ศ.ร. ยืนยันว่าชื่อ ซด ไม่ใช่ สด


รัชกาลที่ ๒  มี ๒ ท่าน
เจ้าพระยาธรรมาฯ(เทด)

กรมหลวงพิทักษ์มนตรี(เจ้าฟ้าจุ้ย)


รัชกาลที่ ๓
เจ้าพระยาธรรมา(สมบูรณ์)

พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงรักษ์รณเรศร์(พระองค์เจ้าไกรสร)เป็นผู้รั้ง
(ถูกถอดเป็นหม่อมไกรสรแล้วสำเร็จโทษ)

รัชกาลที่ ๔ มี ๓ ท่าน
เจ้าพระยาธรรมา(เสือ)

เจ้าพระยาธรรมา(บุญศรี)

สมเด็จพระเจ้าน้องเธอ เจ้าฟ้ามหามาลา กรมขุนบำราบปรปักษ์


รัชกาลที่ ๕    มี ๖ ท่าน
เจ้าพระยาธรรมาฯ(ละมั่ง)

พระเจ้าน้องเธอ กรมหมื่นประจักษ์ศิลปาคม (พระองค์เจ้าทองกองก้อนใหญ่)

พระเจ้าน้องเธอ กรมหมื่นมหิศรราชหฤทัย(พระองค์เจ้าไชยันต์มงคล)

พระเจ้าน้องยาเธอ กรมขุนพิทยลาภพฤติธาดา(พระองค์เจ้าโสณบัณฑิตย์)

สมเด็จพระเจ้าน้องเธอ เจ้าฟ้ากรมหลวงนริศรานุวัตติวงศ์(เจ้าฟ้าจิตต์เจริญ)

พระเจ้าน้องยาเธอ กรมขุนสรรพสิทธิประสงค์(พระองค์เจ้า ชุมพลสมโภช)


ได้ตรวจสอบข้อมูลจากหนังสือ เรื่องตั้งเจ้าพระยาในกรุงรัตนโกสินทร์ ของกรมศิลปากร
เห็นสะกดแตกต่างเล็กน้อย
ซด เป็น สด
เทด เป็น เทศ
สมบูรณ์  เป็น สมบุญ
ละมั่ง เป็น มั่ง


รายละเอียดของประวัติสกุลของเสนาบดีและผู้รั้งกรมวังนั้น มีอยู่ใน หน้า ๔๐ - ๔๖
มีที่มาของบรรพบุรุษยืดยาวมาก ยกเว้น กรมวังในรัชกาลที่ ๕ และ ที่ ๖


นำมาเรียนคุณเทา และ ท่านผู้รู้ เพื่อขอฟังความคิดเห็น
ทราบว่าข้อมูลบางประการของ ก.ศ.ร. กุหลาบ ในช่วงปัจฉิมวัย คลาดเคลื่อน

อ่านหนังสือคนเดียวรู้สึกคับแคบแอบอุดอู้ค่ะ
บันทึกการเข้า
pipat
แขกเรือน
นิลพัท
*******
ตอบ: 1802


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 11  เมื่อ 02 ธ.ค. 07, 12:53

เป็นเรื่องยากที่จะประเมินความถูกต้องของนิพนธ์แห่งนายกุหลาบ
เจ้าตัว เป็นศิษย์วัดพระเชตุพน รับใช้ไกล้ชิดต่อกรมสมเด็จพระปรมานุชิตชิโนรส
ห้องนอนอยู่หน้าตำหนัก
ท่านจึงน่าจะได้ผ่านตาเอกสารสำคัญมานับจำนวนไม่ถ้วน


แต่สิ่งที่เขียน จะเชื่อได้ ก็โดยการชั่งน้ำหนักอย่างละเอียด
เหมือนกับที่ชั่งน้ำหนักพระนิพนธ์ของสมเด็จกรมพระยาดำรงฯ และท่านอื่นๆ
นี้ว่าไปตามหลักการ

ถ้าว่าตามหลักกู...เอ้ยหลักข้าพเจ้า
ก็เห็นว่า ยิ่งท่านเขียนละเอียดก็ยิ่งน่าสงสัย ดังที่นายเลอเม เจอเอง
นายเลอเม เป็นกงศุลอังกฤษประจำเชียงใหม่ ยามว่างก็เก็บของเก่า โดยเฉพาะเงินตราต่างๆ
มีคู่มือคือตำนานเงินตราของนายกุหลาบ
เก็บๆ ไปก็เลิกเชื่อ เพราะของจริง กับที่นายกุหลาบว่าไว้ ห่างกันไกล

สมัยรัชกาลที่ 6 เมื่อนายกุหลาบพ้นโทษ มาทำโรงพิมพ์
และออกหนังสือสยามประเภท ท่านก็ทำตัวเหมือนคุณลัดดาปัจจุบัน
คือรอบรู้เรื่องเจ้า และแถมด้วยคุณสุจิตต์ รอบรู้เรื่องโบราณ....ฯลฯ
ถามอะไรไป เป็นตอบได้หมด

ผมก็เลยเชื่อนายกุหลาบ น้อยกว่าเชื่อสมเด็จครับ

แต่ในฐานะที่สนใจเรื่องเก่าๆ ข้อมูลสารพัดเท่าที่เอื้อมถึง ย่อมมีค่าทั้งนั้น
อยู่ที่ใช้อย่างรอบคอบเพียงใด
อันนี้ผิดอยู่ที่เรา เพราะท่านมิได้จับมือเราเขียน(นี่นา...)
บันทึกการเข้า
พระยาสุเรนทร์
มัจฉานุ
**
ตอบ: 71


ความคิดเห็นที่ 12  เมื่อ 25 ธ.ค. 07, 16:41

มีรายชื่อข้าราชการกระทรวงวังก่อนปี ๒๔๗๐ หรือไม่ครับ
เพราะคุณทวดผม รองเสวกโท หลวงวิจารณ์ภัณฑกิจ (แจ๋ว บุนนาค) รู้สึกว่าจะเป็นผู้ช่วยหัวหน้าแผนกรักษาวังปารุสกวัน ฯลฯ
ถ้าจำไม่ผิดท่านถูกดุนเมื่อปี ๒๔๗๐ เลยไม่มีชื่อท่านในปี ๒๔๗๔
แต่มีชื่อพี่ภรรยาของท่าน คือ ส.อ. พระยาศรีวิกรมาทิตย์ หัวหน้าแผนกพระธรรมนูญ (ท่านผู้นี้เป็นต้นตระกูลศรีวิกรม์ ศ่วนน้องสาวท่านที่แต่งกับคุณทวด คือ ธารี เทศรักษ์)

อยากทราบว่ายศและตำแหน่งของคุณทวดที่ผมทราบมานั้นถูกต้องหรือไม่
บันทึกการเข้า
Wandee
หนุมาน
********
ตอบ: 4006


ความคิดเห็นที่ 13  เมื่อ 26 ธ.ค. 07, 00:26

สวัสดีค่ะ เจ้าคุณ
(ขอประทานโทษที่ไม่เอ่ยชื่อ เพราะธรรมเนียมโบราณไม่เอ่ยชื่อท่านผู้สนทนาด้วย  เด็กสมัยนี้คงไม่ทราบ)


เปิดหน้า ๑๒๕๐  อักขรานุกรมขุนนาง อักษร ว.     มีชื่อที่ถาม

วิจารณ์ภัณฑกิจ  หลวง(แจ๋ว บุนนาค)  รองเสวกโท
หัวหน้าแผนกรักษาพิ้นที่ในบริเวณกำแพงวัดดุสิต


กลับไปดูที่กระทรวงวัง หน้า ๗๓๗ - ๗๔๐
ไม่มีรายชื่อค่ะ



บิดาของคุณหลวงคือ เจ้าพระยาสุรพันธุ์พิสุทธ์(เทศ)กับ หม่อมมอญ
ได้เป็นรองเสวกโท ผู้ช่วยหัวหน้าแผนกรักษาวังปารุสกวัน ท่าวาสุกรี สวนจิตรลดา สวนกุหลาบ และสนามหญ้านอกกำแพงพระราชวังดุสิต
บุตรธิดา ๑๓ คน
( สกุลบุนนาค เล่มเล็ก   หน้า ๑๔๖)


ไม่มีเอกสารทางพระยาศรีวิกรมาทิตย์ค่ะที่เล่าเรื่องวงศ์ญาติพี่น้อง  ได้ยินชื่อท่านอยู่บ้าง  ถ้าจำไม่ผิดบ้านท่านอยู่แถวพญาไท

ไม่แน่ใจว่าสกุลเดิมของท่าน ก่อนเปลี่ยนมาใช้ราชทินนามจะเป็น สิงคคะเนติหรือไม่
เอกสารในมือบอกว่า บ้านพระยาศรีวิกรมาทิตย์(สงวน  สิงคคะเนติ) เสวกเอก พระธรรมนูญ ที่ปรึกษากระทรวงวัง
บ้านอยู่ข้างตลาดหลวง บางรัก พระนคร
ถ้าเป็นอีกท่านหนึ่ง  ขออภัยด้วยค่ะ


ข้อมูลที่ดิฉันใช้คือ หนังสือ พิพิธภัณฑ์สัพพะสยามกิจ ออกมาในปี พ.ศ. ๒๔๗๔
เป็นหนังสือหายาก เพราะออกมาก็เปลี่ยนแปลงการปกครอง  จึงไม่มีผู้เก็บสะสมไว้
คงใกล้เคียงพอใช้
ยินดีืั้ที่สามารถใช้หนังสือเป็นประโยชน์

บันทึกการเข้า
V_Mee
สุครีพ
******
ตอบ: 1436


ความคิดเห็นที่ 14  เมื่อ 26 ธ.ค. 07, 23:11

เรื่องการดุลย์ข้าราชการในพระราชสำนัก  เท่าที่ฟังมาจากคุณเศวต  ธนประดิษฐ์  ซึ่งเริ่มรับราชการมาแต่ต้นตัชกาลที่ ๖  จนมาถึงแก่อนิจกรรมเมื่อไม่นานมานี้  โดยมีอายุยืนยาวและรับราชการสนองพระเดชพระคุณต่อเนื่องมาจนถึงอายุ ๙๗ ปี  เป็นบุคคลร่วมสมัยที่ได้รู้เห็นเรื่องดุลย์ข้าราชสำนักถึง ๓ ครั้งนั้น  ได้ลำดับเหตุการณ์การดุลย์แต่ละครั้งไว้ดังนี้
 
ครั้งแรกเมื่อสิ้นปี พ.ศ. ๒๔๖๘ คิอเมื่อถวายพระเพลิงพระบรมศพล้นเกล้าฯ รัชกาลที่ ๖  เมื่อวันที่ ๒๔  มีนาคม ๒๔๖๘ แล้ว  พอวันที่  ๓๑  มีนาคม  ท่านที่ถูกดุลย์ก็ต้องเก็บของกลับบ้าน

ครั้งที่สองเมื่อยุคเปลี่ยนแปลงการปกครอง  มีการดุลย์ครั้งใหญ่อีกครั้ง  เพราะท่านที่ดุลย์ออกไปนั้นเป็นพวกนิยมเจ้า  แล้วมีการแต่งตั้งคนของคณะราษฎร์เข้ามารับหน้าที่สำคัญ

ครั้งที่สามในรัชกาลปัจจุบัน  เมื่อทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้พลตรี หม่อมทวีวงศ์ถวับยศักดิ์ (ม.ร.ว.เฉลิมลาภ  ทวีวงศ์) มาดำรงตำแหน่ง้ลขาธิการพระราชวัง  เมื่อราว พ.ศ. ๒๔๙๐  ในครั้งนี้มีการปรับเปลี่ยนคนของคณะราษฎร์ออกจากตำแหน่ง  แล้วบรรจุข้าราชการเก่าๆ ครั้งรัชกาลที่ ๖ ที่ถูกดุลย์ออกไปเมื่อ พ.ศ. ๒๔๖๙ เข้ามารับราชการในตำแหน่งสำคัญเป็นจำนวนมาก  ท่านที่กลับเข้ามารับราชการในช่วงหลังนี้คือผู้ที่ได้ช่วยกันรักษาโบราณราชประเพณีในพระราชสำนักให้คงอยู่เป็นแบบแผนสืบมาจนทุกวันนี้
บันทึกการเข้า
หน้า: [1] 2
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.079 วินาที กับ 19 คำสั่ง