เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 ... 7 8 [9]
  พิมพ์  
อ่าน: 51149 สาวน้อยใจถึง
pipat
แขกเรือน
นิลพัท
*******
ตอบ: 1802


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 120  เมื่อ 21 ก.ค. 08, 00:35

คราวนี้ จะย้อนมาพิจารณาความเห็นของคุณคล๊อดต่อสักเล็กน้อย

ผมได้คัดค้านแล้วว่า พระบรมรูปรัชกาลที่ 4 ทรงฉายกับเครื่องราชบรรณาการนั้น จะถ่ายโดยโรสซิเย่ร์ไม่ได้
พระบรมรูปอีกพระองค์ในนิทรรศการ คือพระบรมรูปพระปิ่นเกล้า ก็มิใช่เช่นกัน
โชคร้ายที่ไม่สามารถเชิญพระรูปมาแสดงในเวบได้

ปรากฏว่า ช่างตรวจปรูฟประจำตัวผม คือคุณบาบาตอฟ เมตตาทำให้ ขอนำมาใช้ต่อก็แล้วกันนะครับ
โชคดีจริงๆ ที่มีคนสนใจการค้นคว้าของผม ติดตามไกล้ชิดโดยไม่ต้องจ้างวาน หาไม่ได้อีกแล้ว


บันทึกการเข้า
pipat
แขกเรือน
นิลพัท
*******
ตอบ: 1802


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 121  เมื่อ 21 ก.ค. 08, 00:36

ข้างบนคือรูปที่แสดงในนิทรรศการ งานนี้ห้ามถ่ายรูป การได้รูปมาจึงต้องถือว่าเป็นวงในล้ำลึก
-------------------
เราได้ทราบเหตุผลแล้ว ว่าในการระบุชื่อช่างภาพนั้น คุณคล๊อดใช้วิธีประเมินเอา เมื่อไปพบพระรูปอยู่ในกลุ่มที่คล้ายกับผลงานของโรสซิเย่ร์
จึงเขียนคำอธิบายไว้อย่างนั้น วิธีนี้ผมก็ใช้นะครับ ไม่ใช่เรื่องเสียหายอะไร เรื่องก่อนเกิดใครจะไปรู้ไปหมด ใช่ใหมครับ

พระรูปนี้ พบแพร่หลาย เท่าที่เคยเห็นผ่านตาก็มีที่คลังรูปของ MEP Missions Entrangeres de Paris
อาจารย์ศักดาเชิญมาลงหนังสือของท่าน ขอลงชื่อหนังสือด้วยละกัน กษัตริย์ & กล้อง 2535 เดี๋ยวจะหาไม่เจออีก
แต่ที่พบเก่าแก่สุดก็คือในหนังสือมูโอต์

ทีนี้ ถ้าท่านช่างสังเกตสักนิด จะเห็นว่าพระรูปนั้นเหมือนกันทุกอย่าง จะไม่เหมือนก็คือองค์หนึ่งทรงเหรียญตรามากว่าเท่านั้น นับว่าน่าสงสัย
เอาละ ใช้หลักเจอที่ใหน ที่นั่นถ่าย ก็จะได้ช่างภาพ 3 คนเข้าไปละ คือคุณคล๊อดระบุและมีคนไทยที่เชื่อฝรั่ง เชื่อว่าเป็นฝีมือโรสซิเย่ร์
สองคือบาทหลวงลาร์นอร์ดี ตามที่อาจารย์ศักดาท่านระบุเพราะพบในคลังรูปของคณะนักบวชต้นสังกัดของท่านผู้นี้
และสามคือใครสักคน ที่ผมมั่วระบุว่า เป็นนายจิตอีกหนึ่ง


คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
pipat
แขกเรือน
นิลพัท
*******
ตอบ: 1802


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 122  เมื่อ 21 ก.ค. 08, 01:01

พระรูปในนิทรรศการทั้งสององค์ มีข้อน่าสงสัยก็คือ เป็นรูปที่ตัดส่วนออกมาอีกที
การที่พบรูปถูกตัดส่วนเช่นนี้ ทำให้น้ำหนักของการเป็นเจ้ามือ หายไปหลายขีด
รูปในสมัยนั้น มักจะแสดงเต็มทั้งชิ้น หากจะคร๊อบ ก็มักจะทำให้เข้ากับกรอบตกแต่ง อย่างเช่นพระรูปองค์ขวาสุด
แต่....ตรงนี้ต้องย้ำหน่อย คร๊อบอย่างที่เชิญมาแสดงเช่นนี้ ถือว่าผิดปกติ อาจจะเป็นการทำซ้ำออกมาอีกต่อหนึ่ง หรือหลายต่อ
แต่.....คร๊อบแค่นี้ ยังไม่สำคัญเท่ากับ การเจออีกสำเนาหนึ่ง คราวนี้มียี่ห้อช่างภาพอะดิครับ

เรื่องใหญ่ละท่าน ตกลงต้องเพิ่มช่างภาพเข้าไปอีกหนึ่ง เป็นสี่
พระรูปนี้ สหายจากแดนไกลส่งมาให้ชื่นชม เจ้าตัวภูมิใจมาก บอกว่าทรงเสด็จไปถ่ายถึงสิงค์โปร์
แต่ช่างภาพหรือใครสักคนเขียนสลักหลังผิด บอกว่าเป็นพระเจ้าแผ่นดินที่หนึ่ง ยังดีที่โลโก้จะผิดไม่ได้ คือห้องภาพ A Sachtler

ผมรีบคัดค้านสหายในทันทีว่า ช้าก่อนประเพณีไทยนั้น เจ้านายชั้นสูงไม่เคยออกนอกประเทศ เพิ่งยกเลิกเมื่อรัชกาลที่ 5 นี้เอง
ดังนั้น เป็นไปได้มากสุดคือ ห้องภาพแซคเล่อร์นี้ เข้ามาฉายพระรูป

กรณีพระบรมรูปชิ้นนี้ เราจะลงความเห็นว่าเป็นฝีมือผู้ใดดีล่ะ ท่าน


บันทึกการเข้า
pipat
แขกเรือน
นิลพัท
*******
ตอบ: 1802


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 123  เมื่อ 21 ก.ค. 08, 02:39

ขอปิดท้ายเรื่องนี้ ด้วยปัญหาความไม่แน่นอนของกระดาษอัดรูปที่มีตราประทับ
เป็นอุทาหรณ์ให้กับคนที่ริจะเข้ามาวินิจฉัยรูปเก่า พึงระวังความยอกย้อนของหลักฐาน
การที่ไม่รู้ว่าข้อความอะไรอยู่ในเอกสารเรื่องอะไร แล้วมาร้องถามปาวๆ นั้น ก็น่าสังเวชอยู่แล้ว
การที่มีรูปอยู่ในมือ แล้วไม่รู้ว่ารูปเหล่านั้น แผงเงื่อนงำอะไรไว้บ้าง ยิ่งน่าสงสารกว่า
แต่การเที่ยวป่าวประกาศว่าฉันจะแก้โง่ชาวบ้านนั้น ทำได้ก็ดีกับตัว อย่าให้เป็นตรงข้ามละกัน
อันนี้สิ ทำแล้วลบไม่ได้เสียด้วย

รูปที่แสดงไว้นี้ เป็นคาร์ดเดอวิสิท CDV หรืออาจจะเรียกว่ารูปนามบัตรก็ได้ ตีตรานูน GR Lambert
อยู่ในการประมูลของคริสตี้ส์กรุงเทพ the treasure of siam 7 august 1999 lot 246 ในคู่มือประมูล ระบุปี 1868 หรือ พ.ศ. 2412
เห็นๆ กันอยู่ว่าการระบุนี้มีปัญหา เพราะรูปนี้ อยู่ในหนังสือมูโอต์เช่นกัน
คุณนงนภัสในความเห็นที่ 62 ข้างบนอุตส่าห์มาบอกว่า "เฉลยว่า ช่างภาพที่สิงคโปร์ G R Lambert "
มีลิ้งค์ให้เข้าไปอ่านต่อ ตามไปแล้วเจอการโต้ตอบอย่างน่าตื่นเต้นว่า
AA says: คู่พระคู่นาง โทรหาหน่อย พระทั้งคู่นะบอกแล้ว ของ G.R. Lambert 1866(ตรงนีผิดนะครับ ขอแก้ไข ต้อง 1868)
หนังเสือกับเสื่อ นี่แหละ จะเป็นเบาะแส
....บล่าๆๆๆๆๆๆๆ........

แล้วก็มีการยกรูปต่อเนื่องออกมาอีกชุดใหญ่ โดยที่มีอาการอมภูมิ หรืออมอะไรสักอย่างว่า
เป็นคลังรูปของตน มีมากมายใหญ่โตมโหฬารพันลึก แต่ติดนู่นติดนี่เอาให้ดูไม่ได้ คนดูก็อารมณ์ค้างสิครับ
ความจริงก็แค่บอกไปตรงๆ ว่าอาศัยก๊อปมาจากเวบของคอแนลเขาเท่านั้นเอง ทำเป็นลึกลับ หึหึ
http://dlxs.library.cornell.edu/s/sea/

นำมาให้ดูไปทีเดียว ลายเส้นจากมูโอต์ รูปคู่มาจากการประมูล และรูปถ่ายสองรูปล่าง มาจากคอแนล


บันทึกการเข้า
pipat
แขกเรือน
นิลพัท
*******
ตอบ: 1802


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 124  เมื่อ 21 ก.ค. 08, 02:51

ไม่อยากจะบอกเลยครับ ว่าการอ้างคำอธิบายของคริสตี้ส์เล่มนั้นให้อ่านน่ะ ยิ่งกว่าขายสวนให้ลูกมะพร้าว
ผมอาจจะบอกได้ด้วยซ้ำไปว่า ขณะที่คนทำคำอธิบายกำลังพิมพ์ข้อความอยู่ เขาใส่เสื้อสีอะไร กินกาแฟยี่ห้ออะไร ใส่น้ำตาลกี่ก้อน...5555
และเขาเอาปีที่ระบุนั่น มาจากใหน   ......แต่ช่างเถอะ ไม่ใช่ประเด็นที่ควรใส่ใจ

ประเด็นมันอยู่ตรงที่ว่า แน่หรือที่ช่างภาพคือแลมเบิร์ต

ตอนมูโอต์คนน้องกำลังแพครูปนี้ลงหีบจะกลับปารีสน่ะ จีอาร์ แลมเบิร์ต ยังเดินเล่นอยู่เดรสเดนเล้ย
"G.R. Lambert, from Dresden, arrived in Singapore in 1875".......(ลองพิมพ์ G.R. Lambert แล้วให้น้องกุ๊กหาดู ก็จะเจอข้อความที่ผมยกมา)
แปลง่ายๆ ว่า จนหนังสือพิมพ์เสร็จ จนตอมสั้นมาหากินจนพ่อนี่ไปลอนด้อน จนพ่อวิลเฮล์ม เบอร์เจอร์เข้ามากรุงสยาม จนกลับไปใหนๆ
พ่อแลมเบิร์ตจึงยกห้างมาตั้งที่สิงคโปร์ ในปี 2418
เพราะฉะนั้น การสะเปะสะปะอ้างอิงข้อมูลต่างๆ นั้น ข้อมูลทำพิษเอาไม่รู้ตัว
การเชื่อคริสตี้ส์ สักแต่ว่าเขาเป็นฝรั่ง (ฮิฮิ เชาคนนั้นเลือดผสมสี่ชาติครับ) หรือเชื่อคุณคล๊อดที่บอกว่าเดา
แม้กระทั้งเชื่อคอแนล ล้วนแต่พาตกเหว
คงจำได้ว่า คอแนลให้อายุรูปชุดนี้ไว้ 1909 หรือพ.ศ. 2452

ถ้าเชื่อตามคุณนกรู้ บอกว่าช่างภาพคือโรสซิเย่ร์ ก็แปลว่า แลมเบิร์ตไปเจอกับเขาที่ยุโรป วันหนึ่งวันใดก่อนปี 1875
สวิสเซอร์แลนด์กับเดรสเดนนี่ ห่างกันแค่ใหนก็ไม่รู้ แต่ถ้าไปเจอกันได้ ทำมะไรแลมเบิร์ตมักน้อยจัง ได้มาแค่รูปนี้ กับอีกไม่กี่รูป
ทำไมไม่ยกคอลเลคชั่นมาเลย ที่ว่ากี่ร้อยรูปน่ะ ฮึ

ไม่อยากสอบต่อแล้วละครับ ฉงฉานคนเชี่ยวชาญที่จะชำระงานให้ฝรั่ง
ความจริงยังต้องสรุปประเด็นเรื่องกล้องสองตาอีก แต่ไม่ไหวละครับ
เพื่อนมาชวนอยู่เหย็งๆ จะไปหัดสีซอ .....ขออำลาแต่เพียงเท่านี้

คุณน้องติบออ่านมาถึงตรงนี้ คงถอนหายใจโล่งอก จบเสียทีทั้งที่ยังไม่จบ
อยากศึกษาประวัติศาสตร์ภาพถ่าย ขอเชิญหลังจอมาคุยได้ครับ

จะได้มีเพื่อนช่วยกันชุ่-บั-ซ- เพิ่ม
บันทึกการเข้า
ติบอ
นิลพัท
*******
ตอบ: 1906


Smile though your heart is aching.


ความคิดเห็นที่ 125  เมื่อ 25 ก.ค. 08, 23:53

งั้นเอาประเด็นใหม่มาเปิดกระทู้ใหม่เข้าขบวนการ ชบซ. เพิ่มดีกว่าครับ
มีนักวิชาการบางท่าน.... อธิบายว่า "มูโอต์ทำจารกรรมข้อมูลให้ฝรั่งเศส" ครับ
เอามาชวนกัน ชบซ. นิดหน่อยพอขำๆครับ.... เผื่อจะอธิบายได้ว่าที่มูโอต์ทุ่มเทเหลือเกิน
เพราะแกมาจารกรรมข้อมูล..... คงเหมาะกับคนคลั่งฝรั่งนะครับ  แลบลิ้น
บันทึกการเข้า
หน้า: 1 ... 7 8 [9]
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.069 วินาที กับ 20 คำสั่ง