เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 ... 3 4 [5] 6 7 ... 9
  พิมพ์  
อ่าน: 51219 สาวน้อยใจถึง
pipat
แขกเรือน
นิลพัท
*******
ตอบ: 1802


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 60  เมื่อ 23 เม.ย. 08, 13:47

หึหึ...ยังหาสาวน้อยเกาะเสา คนที่ 3 ไม่เจอครับ
เล่นรูปเก่า สนุกก็ตรงตามหาส่วนที่ขาด
หาพิรุธได้ แต่กว่าจะได้ส่วนที่ไขความลับ บางทีสิบปีผ่านไปโดยไม่ได้อะไรเลย

สองรูปข้างล่าง อยู่ในคลังสะสมบริษัทเวลลคัมแห่งอังกฤษ  ที่บอกว่าซื้อมาจากตอมสั้นโดยตรง
ผมเชื่อว่า เป็นรูปชุดเดียวกันกับที่เป็นลายเส้นในมูโอต์ แต่ยังไม่มีหลักฐานชี้ชัดมากกว่านี้
ที่คิดอย่างนั้น ก็เพราะความคล้ายคลึงกันของรูป เช่นการจัดองค์ประกอบ ท่าทีที่แบบมองกล้อง
ขนาด สัดส่วนของคนซึ่งเป็นผลมาจากการเลือกเลนส์ เรียกทางเทคนิคว่าเปอร์สะเป๊คตีพของเลนส์
แต่ละตัวจะมีลายมือเฉพาะ
เป็นเรื่องยากมาก ที่รูปโบราณจากช่างภาพสองรุ่น จะออกมาคล้ายกัน

ทีนี้จะบอกถึงความลับในการถ่ายรูปโบราณสักหน่อย
ทุกวันนี้ เวลาเราไปที่ไกลๆ และเราชอบถ่ายรูป รับประกันว่า 1-200 รูปไม่พอเราถ่าย
แต่ย้อนกลับไปสมัยที่ยังใช้ฟิล์มอยู่ อย่างมากเราก็ถ่ายครั้งละม้วน หรือสองม้วน
เว้นแต่ตากล้องมืออาชีพ นั่นจะมีกระเป๋าฟิล์มอีกหนึ่งใบติดกายตลอดเวลา

สมัยมูโอต์ เรื่องยิ่งยุ่งยากกว่านั้น...มากมาย
สมมติคุณจ้างลูกหาบห้าคนไปด้วย เข้าถึงเมืองร้าง คุณก็ต้องเดินป่าเข้าไป
เอาละ ถึงปราสาทโบราณ คุณตั้งกล้องลงมือเก็บรูป
ถามว่า ถ่ายได้วันละกี่รูป

ตอบว่า อาจจะได้ถึงสิบ ถ้าแดดดี
อ้าว ไหงเป็นงั้นล่ะ ถ่ายรูปหนึ่งชิ้นอย่างมากก็ห้านาที เห็นเขาถ่ายกันใช้ความเร็วหน้ากล้อง หนึ่งในหกสิบวินาที
ยังบอกกันว่าสปีดต่ำเลย
งานแต่งงานครั้งหนึ่งๆ สองสามร้อยรูป เขายิงกันไม่กี่ชั่วโมงเอง

ตอบว่า เทคโนโลยีไม่เหมือนกันนี่ท่าน
สมัยนายจิตทำงาน แดดเปรี้ยงๆ แกยังเปิดหน้ากล้องถึง 10 นาที แดดไม่เปรี้ยง ก็ไม่ต้องถ่าย....55555
วันหนึ่ง วันหนึ่ง จะถ่ายรูปได้ถึงแปดเก้ารูป ต้องถือว่าเบื้องบนเป็นใจ
เพราะคุณจะมีเวลาทำงานเพียง ห้า-หก ชั่วโมงเท่านั้น คือสิบโมงเช้า ถึงสี่โมงเย็น
เจ้าตอมสั้น ลงทุนมหาศาล เพื่อจะเข้าไปถ่ายนครวัด เข้าไปทำงานนานหลายเดือน
ได้รูปออกมากี่ชิ้น ทราบใหมครับ

60 ครับ


บันทึกการเข้า
pipat
แขกเรือน
นิลพัท
*******
ตอบ: 1802


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 61  เมื่อ 23 เม.ย. 08, 14:51

ทำไมน้อยนักล่ะ
ตอบว่า แค่นี้ก็มากเกินจะขนแล้ว...ลองนึกจำลองเหตุการณ์ต่อไปนะครับ
รูป 60 ชิ้น จะเก็บอย่างไรในเมื่อเป็นฟิล์มกระจก
ดูรูปประกอบแล้ว ท่านอาจจะนึกออก

แต่....มีมากกว่านั้นครับ
ท่านจะพกกระจกเข้าไปได้สักกี่แผ่นกันล่ะ

ในวันนั้น ช่างภาพทุกคน ที่ออกภาคสนาม จะต้องพกห้องมืดติดตัวไปด้วย
ของหลักๆ ที่จะต้องมี ก็คือกระโจมห้องมืดแบบครึ่งตัว ใช้ทำกระจกให้กลายเป็นแผ่นไวแสง
นั่นแปลว่า ท่านจะต้องมีน้ำยาเคมีไปอีกหลายขวดใหญ่ มีอ่างรองรับน้ำยา มีคีมคีบ มีถุงมือ ผ้า และอะไรอีกจิปาถะ
ทั้งหมดต้องพร้อมใช้งาน เพราะสมมติว่า เดินป่าเข้าไป 3 วัน แล้วดันลืมนำยาไฮโป งานของกร่อยไม่เป็นสับปะรส
แต่ในบันดาของทั้งหมด กระจกจึงเป็นหัวใจครับ

ท่านต้องมีกล่องไม้เก็บกระจกเหล่านี้ ขนไปได้กี่กล่อง ก็คือดัชนีชี้ว่า งานนี้ถ่ายได้เท่าไร
สมัยที่นายจิตรับพระบรมราชโองการเข้าไปถ่ายรูปปราสาทหินพิมาย
เจ้าพระยาจักรี ต้องมีหมายให้ถือติดตัว ไปถึงเมืองใหนก็ยื่น เพื่อให้เจ้าเมืองจัดกองกำลัง พาหนะ เครื่องถางป่า
และนำเข้าไปยังจุดหมายปลายทาง

กรณีตอมสั้น กระจก 60 แผ่น อย่างน้อยก็ต้องมีกล่องไม้ 3 หีบใหญ่ จุกล่องละ 20 สำหรับเก็บผลงานล้ำค่า
แต่ละใบคงไม่เล็กไปกว่าตู้เซฟหัวเตียงของปัจจุบัน


คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
นงนภัส
อสุรผัด
*
ตอบ: 11


ความคิดเห็นที่ 62  เมื่อ 23 เม.ย. 08, 17:24

เฉลยว่า ช่างภาพที่สิงคโปร์ G R Lambert
http://babatov.coolpage.biz/ppp.html


หรือคลิกไปที่ คริสตี้ ตามลิ้งค์ด้านล่าง
http://www.christies.com/LotFinder/lot_details.aspx?from=searchresults&intObjectID=4548364

บันทึกการเข้า
ติบอ
นิลพัท
*******
ตอบ: 1906


Smile though your heart is aching.


ความคิดเห็นที่ 63  เมื่อ 23 เม.ย. 08, 18:03

ขอบพระคุณ คุณพิพัฒน์สำหรับการแก้ข้อมูลครับ
ผมก็ทราบมาแค่งูๆปลาๆ เรื่องภาพพิมพ์
วันนี้ได้ความรู้มากขึ้น ก็ดีใจครับ



ปล. ผมคิดไปเองว่าความเชื่อในข้อมูลที่หยิบยกมา
ก่อนจะพูดออกไป หรือตีพิมพ์เผยแพร่ ย่อมต้องใช้วิจารณญานส่วนบุคคล
ซึ่งแตกต่างกันไปตามแต่ต้นทุนทางสังคมของบุคคลนั้นๆ

สำหรับผมขอยกขึ้นมาแค่ประเด็ดเดียวที่จะพูดถึง
คือ ผมคิดว่าคนที่เขียนเลขไทยนำหน้าภาษาอังกฤษ
น่าจะเป็นคนที่นับเลขว่า "หนึ่ง สอง สาม" อยู่ในอนุสติของเขา
ประเด็นนี้ผมขอยกมือให้คุณพิพัฒน์นะครับ
บันทึกการเข้า
pipat
แขกเรือน
นิลพัท
*******
ตอบ: 1802


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 64  เมื่อ 23 เม.ย. 08, 19:11

ขอบคุณ คุณนงนภัสที่บอกลิงค์ครับ
ดีใจที่คุณบ้าตอบ หาอะไรที่เป็นชิ้นเป็นอันมาเสนอประชาชนบ้าง.....แม้จะต้องรับต่อมาจากคนอื่นก็เหอะ
ขอแก้คำผิดก่อน เรื่องเพชรบุรี อันนี้ยอมรับผิด ต่อไปจะแก้ให้ถูกครับ

คราวนี้มาดูสิ่งที่คุณตอฟเธอจี้มา
บอกก่อนว่า พยายามอ่าน แต่อ่านไม่รู้เรื่อง วันหลังน่าจะหาน้ำท่ามาอยู่ไกล้ๆ ดื่มดับอารมณ์เสียก่อน
คนอื่นเขาจะได้ปรบมือเฮ.......ว่าเจ๋ง

เท่าที่อ่านรู้เรื่อง คุณตอฟเธออ้างคริสตีส์ว่า ช่างภาพคือ
G.R. LAMBERT (PHOTOGRPAHERS).
[Court Actors, circa 1868]. Albumen print carte-de-visite (94 x 59mm) on card mount (106 x 62mm),
photographer's stamp on verso of mount G.R. Lambert and Co. Singapore.
The image shows the actors in costume as characters from a Thai epic.
The photograph is very reminiscent of the plate facing page 176 in the above work
(and see also lot 134 for this Singapore commercial photographers' work)

โดยที่นักอ่านภาพของคริสตีส์ นำรูปไปเทียบกับหนังสือของยัยแอนนา และให้ปีถ่ายไว้ที่ 1868 ตรงกับ 2411
เลขศักราชนี้ ที่ปรึกษาของคุณตอฟ ก็สังเกตเห็นว่ามันไม่ตรงกับปีพิมพ์หนังสือของมูโอต์ ห่างกันตั้ง 5 - 6 ปี
แล้วจะสรุปยังไงล่ะ
ถ้าถือฝรั่งเป็นพระเจ้า พระเจ้าสององค์ก็ทรงตีกันอยู่ คนไม่มีต้นทุนความรู้ คงต้องรอพระเจ้าตาน้ำข้าวอีกองค์ มาตัดสิน
แล้วเอามาป่าวประกาศอีกที

ผมไม่สนฝรั่ง ผมสอบเองก็ได้
แลมเบิร์ตผู้นี้ คนที่เล่นรูปเก่าเป็นต้องรู้จัก และจะระวัง เมื่อต้องอ้างชื่อนี้ เพราะเขาไม่ใช่คนครับ
เขาเป็นบริษัท มีที่ทำการพร้อมกันทั้งที่ปัตตาเวีย สิงค์โปร์ และบางกอก
ทีนี้ แลมเบิร์ตนี่ มาเกี่ยวข้องกับสยามครั้งใหน ถ้ารู้ ก็จะร้องอ๋อ และเข้าใจต่อว่า เกี่ยวกับสยามอย่างไร

แต่บอกได้อย่างหนึ่งละครับ ว่ารูปที่คุณตอฟ แปะไว้ และบอกว่า "G.R. Lambert เขาเคลมว่าของเขา ลุงพิ"
ทั้งสองรูป เป็นลายเส้น ดูเหมือนที่ปรึกษาคุณ เขาจะเตือนแล้วว่า ชิ้นหนึ่งเป็นฝีมือ โบกูร์
ผมก็จะบอกว่า อีกชิ้นหนึ่งก็เป็นลายเส้นเหมือนกัน จากหนังสืออีกเล่ม

ฮิฮิ....คุณรู้หรือไม่ว่า แลมเบิร์ต ไม่เคยทำผลงานเป็นลายเส้น
คนอื่นมาเอารูปถ่ายของเขาไปทำ นั่นละใช่
แต่รูปสองนั่นมันเมืองเขมร ไม่เคยทราบว่า ยี่ห้อนี้ เขาเข้าเขมรด้วยแฮะ

เอ....สรุปว่าอย่างไรดีล่ะ
สรุปว่า อันใหนชี้ข้อผิดผมได้ ก็ขอบคุณ อันใหนที่ยังไม่รู้เรื่อง ก็รอที่ปรึกษาอ่านที่ผมพิมพ์ ปรึกษากันให้แน่ๆ
สอบปี สอบเหตุการณ์ให้ลงรอยกัน ค่อยมาแย้ง ไม่ต้องรีบครับ ผมไม่หนีไปใหน
มาแย้งที่นี่ก็ได้ จะได้ไม่ต้องไปเปิดโน่นนี่ เสียค่าไฟ


บันทึกการเข้า
pipat
แขกเรือน
นิลพัท
*******
ตอบ: 1802


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 65  เมื่อ 23 เม.ย. 08, 19:16

ภาพนี้ไปถ่ายทำที่ลานวัดแห่งหนึ่ง ดูลักษณะพื้นสิเป็นลานหิน ใช่อิฐตัวหนอนมาเรียงนะจ๊ะ
--------------
คุณตอฟเธอคงตาถั่วกว่าผมเสียอีก พื้นที่เห็นนั่น ไม่ใช่อิฐตัวหนอน
ผมตามรอยจนมั่นใจว่า รู้สถานที่แล้ว แต่บอกตรงนี้ก่อน ว่าเป็นพื้นปูแผ่นศิลา
ไม่น่าจะใช่วัด


คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
pipat
แขกเรือน
นิลพัท
*******
ตอบ: 1802


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 66  เมื่อ 23 เม.ย. 08, 19:24

แล้วภาพนี้ลุงว่ามูโอต์เอามาจากภาพ sketch หรือภาพถ่ายล่ะ?
---------------------
ผมไม่เชื่อฝรั่ง แม้เขาจะเขียนไว้ชัดเจนว่า เป็นฝีมือโบกูร์จากรูปถ่ายของมูโอต์
และไม่ใส่ลายเส้นนี้ ในหนังสือที่ผมรวบรวมด้วย
เพราะในปี 2404+....นั้น กล้องถ่ายรูป ที่ดีที่สุด ยังไม่สามารถถ่ายรูปในถ้ำได้
ตรงนี้ คุณต้องไปสอบประวัติศาสตร์ภาพถ่ายเสียหน่อย ว่าการถ่ายรูปในอุโมงค์ ซึ่งก็คือสถานการณ์เดียวกับถ้ำน่ะ
เกิดเมื่อไร โดยใคร

ตามสายตาช่างเขียน จะเห็นชัดว่า ลายเส้นนี้ ไม่ได้แสดงข้อเท็จจริงของรูปถ่าย
เป็นลายเส้นจากการเสก็ตช์อีกที
มุมมองตามรูปนั้น ไม่มีเลนส์ตัวใหนในปี 2400+ จะทำได้ครับ


บันทึกการเข้า
pipat
แขกเรือน
นิลพัท
*******
ตอบ: 1802


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 67  เมื่อ 23 เม.ย. 08, 19:30

ส่วนอันนี้ ขอโวยหน่อยนะ
คุณบอกว่า รูปซ้าย จากหนังสือมูโอต์....ขอโทษ
จากผมครับ จากความเห็นที่ 16 ในกระทู้นี้เองแหละ
ส่วนลายเส้นจากมูโอต์น่ะ คือรูปก่อนหน้าจะถึงรูปนี้....ซึ่ง ขอโทษอีกทีเถอะ

ก๊อปจากผมอีกนั่นแหละ


บันทึกการเข้า
pipat
แขกเรือน
นิลพัท
*******
ตอบ: 1802


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 68  เมื่อ 23 เม.ย. 08, 20:07

ฝีมือการถ่ายภาพตามตำราบอกว่าเป็นฝรั่งใกล้ๆ
ก็น่าเชื่อเพราะฝีมือถ่ายละครชาย (ภาพคนแก่บนๆ) สู้ท่าน  F. Chit ไม่ได้

------------------
ปิดท้ายด้วยความงง ตกลงในรูปที่คุณตอฟเอามาอวดนี่
มีที่เป็นฝีมือ F Chit ด้วยละหรือ

ใหนว่าเป็นฝีมือฝรั่งงัยล่ะ
บันทึกการเข้า
pipat
แขกเรือน
นิลพัท
*******
ตอบ: 1802


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 69  เมื่อ 23 เม.ย. 08, 21:00

เกี่ยวกับแลมเบิร์ต มีหนังสือเล่มหนึ่งที่น่าสนใจนัก

A Vision of the Past
A History of Early Photography in Singapore and Malaya
The Photographs of G.R. Lambert & Co., 1880-1910
John Falconer; Times Edition 1987

กรุณาสังเกตนะครับ ว่าเขาลงปีต่อท้ายไว้อย่างไร
1880-1910 ตรงกับ 2423-2463
เทียบก็คือ ต้นรัชกาลที่ 5 ลงมา ถึงปีที่ไกล้จะเกิดสงครามยุโรป
ทำไมใหม่อย่างนั้นล่ะ

ถ้าคุณค้นต่อไปดีๆ เขายังบอกอีกว่า
G.R. Lambert from Dresden opens photographic studio at 1 High Street, Singapore, 10April 1867.
เทียบวันเดือนปีนะครับ เขาเปิดกิจการที่สิงค์โปร์ ตรงกับ พ.ศ. 2410 แต่รูปชนิดที่เป็นชิ้นเป็นอันน่ะ ต้องรออีกสิบกว่าปี
แม้กระนั้น วันแรกที่เขาเปิดห้าง มูโอต์ก็ตายไปตั้งกี่ปีแล้ว....นับเลขดูเถิด
ลองคิดต่อดีๆ ด้วยว่า ปีที่น้องชายมูโอต์ กำลังจัดการต้นฉบับให้พี่ชายอยู่
แลมเบิร์ตอยู่ใหนเอ่ย...อยู่เอเซียรึยัง

เรื่องง่ายๆ แค่นี้ คิดออกอยู่แล้ว
(อ้อ หลักฐานที่ผมอ้าง มาจากพระเจ้าตาน้ำข้าว คงจะน่าเชื่ออยู่นะ)


บันทึกการเข้า
pipat
แขกเรือน
นิลพัท
*******
ตอบ: 1802


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 70  เมื่อ 23 เม.ย. 08, 21:24

เด็ดสุด ก็คืออันนี้ฮ่า.......
ที่ปรึกษาคุณ อ้างแคตะล๊อคคริสตี้ส์ ที่ชื่อ treasure of siam 1999

วานไปถามคนที่ตั้งชื่องานประมูลครั้งนี้ ถึงชื่อผมหน่อยเถอะนะ


บันทึกการเข้า
CrazyHOrse
แขกเรือน
นิลพัท
*******
ตอบ: 1899



เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 71  เมื่อ 23 เม.ย. 08, 21:46

เทคโนโลยีภาพถ่ายในยุคมูโอต์นั้นยังเป็นช่วงตั้งไข่ กว่าโกดักจะทำฟิล์ม Ektachrome รุ่นแรกออกมาก็เป็นทศวรรษ 1930 แล้ว โดยฟิล์มรุ่นนั้นมีค่าความไวแสง ASA 6 ที่เดี๋ยวนี้นิยมใช้ว่า ISO 6 ย้อนหลังไปถึงยุคแผ่นกระจก ความไวแสงนั้นต่ำมาก ผมยังหาตัวเลขเป็นหลักฐานไม่ได้ แต่ ISO น้อยกว่า 1 อยู่หลายเท่าแน่นอน

นั่นหมายความว่าการถ่ายภาพในสภาพที่แสงน้อยมากอย่างในถ้ำ ต้องเปิดช่องรับแสงเป็นเวลานานมาก อาจจะต้องนานเป็นวัน ซึ่งสภาพแบบนั้น noise จะมากจนภาพไม่เป็นภาพเลยครับ ยิ่งพิจารณารูปใน #66 จะเห็นได้ว่าบางส่วนของภาพจะเป็นบริเวณนอกถ้ำซึ่งได้รับแสงธรรมชาติ เห็นได้ชัดว่าผิดธรรมชาติ ถ้าเป็นภาพถ่ายจริง หากมองเห็นรายละเอียดส่วนมืดได้ขนาดนี้ ส่วนสว่างจะกลายเป็นสีขาวโพลน ไม่สามารถมองเห็นรายละเอียดได้

มีอุปกรณ์รับภาพเพียงอย่างเดียวที่สามารถเก็บภาพแบบนี้ได้ นั่นคือ...

ตาของมนุษย์เรานี่เองครับ

ภาพนี้เป็นภาพสเก็ตช์อย่างไม่ต้องสงสัยครับ
บันทึกการเข้า

"Postel's Law": "be conservative in what you do, be liberal in what you accept from others"
CrazyHOrse
แขกเรือน
นิลพัท
*******
ตอบ: 1899



เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 72  เมื่อ 23 เม.ย. 08, 21:52

ส่วนรูปล่างใน #64

ดูความเรียบร้อยของสถานที่ ต้องคิดให้ดีๆว่าวันที่มูโอต์เข้าไป เมืองพระนครเป็นเมืองร้างปกคลุมด้วยป่ารก สภาพควรจะเป็นอย่างไร?

ยิ่งดูรายละเอียดการเรียงหิน คนที่เคยไปเหยีบอังกอร์มา ถ้าไม่ได้ไปแบบจิ้มจุ่ม ควรตอบได้ทุกคนว่ามันไม่ได้เป็นแบบนี้

รูปนี้ก็มากจากรูปสเก็ตช์อีกเช่นกัน

ไม่ต้องสงสัยเลย
บันทึกการเข้า

"Postel's Law": "be conservative in what you do, be liberal in what you accept from others"
pipat
แขกเรือน
นิลพัท
*******
ตอบ: 1802


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 73  เมื่อ 24 เม.ย. 08, 00:33

ในการถ่ายรูปกลางวันแสกๆ เวลาประมาณก่อนเที่ยง
ผมพบว่า นายจิตต้องเปิดหน้ากล้องเป็นสิบนาที
รูปข้างล่างนี้ ถ่ายหลังการตายของมูโอต์ ประมาณ 4 ปี คือเมื่อปลายปี 2407
เห็นชัดว่า เข็มสั้นอยู่ที่เลขสิบกว่าๆ เข็มยาวกำลังเคลื่อนที่ เปิดหน้ากล้องนาน จนจับรายละเอียดไม่ได้
แต่รู้แน่ว่าอยู่ระหว่างเลขหนึ่งไปถึงเลขสาม เท่ากับสิบห้านาทีตามการเดินของนาฬิกา
นั่นคือกล้องกำลังบอกเราถึงเวลาที่ใช้ไปในการถ่ายรูปครั้งนี้ ประเมินว่า 10 นาที คงไม่ผิดไปกี่มากน้อย
ผมยังมีรูปภายในของโบสถ์วัดพระแก้ว ซึ่งสว่างกว่าถ้ำที่เพชรบุรีมากมายนัก
ยังต้องเปิดหน้ากล้องนานจนสามารถจับประกายระยิบระยับของแดดบนเครื่องโลหะ และลวดลายตกแต่ง
ทั้งๆ ที่ถ่ายหลังจากรูปนาฬิกานี้เสียอีก
ผมจึงไม่เชื่อว่า รูปในถ้ำที่เพชรบุรี จะมีกล้องอะไรไปถ่ายออกมาได้

ด้วยข้อมูลที่ว่ามานี้ ผมจึงไม่ยอมรับในคำของฝรั่งที่บอกว่าลายเส้นรูปถ้ำ ทำมาจากรูปถ่าย


บันทึกการเข้า
pipat
แขกเรือน
นิลพัท
*******
ตอบ: 1802


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 74  เมื่อ 24 เม.ย. 08, 00:47

สังเกตได้นะครับ ว่าพระพุทธรูปองค์เล็กในกรอบล่าง
ซึ่งเป็นการขยายขึ้นมาอย่างมาก
เป็นประกายวูบวาบราวกับท่านเคลื่อนไหว

แปลว่ากล้องจับการเดินของแสงสว่งในเวลาสิบนาทีขึ้นไป เอาไว้ได้
เทียบเหมือนทุกวันนี้ ถ่ายรูปถนนตอนกลางคืน
เห็นไฟท้ายรถเป็นสายสีแดง อย่างั้นเลยทีเดียว



บันทึกการเข้า
หน้า: 1 ... 3 4 [5] 6 7 ... 9
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.072 วินาที กับ 19 คำสั่ง