เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 2 3 [4] 5 6 ... 9
  พิมพ์  
อ่าน: 51193 สาวน้อยใจถึง
pipat
แขกเรือน
นิลพัท
*******
ตอบ: 1802


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 45  เมื่อ 22 เม.ย. 08, 02:31

ทิ้งท้ายคำตอบที่รูป สองชิ้น
มีใครเห็นอะไรน่าสนใจใหมครับ
บันทึกการเข้า
ติบอ
นิลพัท
*******
ตอบ: 1906


Smile though your heart is aching.


ความคิดเห็นที่ 46  เมื่อ 22 เม.ย. 08, 09:14

ฟังจากคุณพิพัฒน์พูด.... ดูเหมือนจะมีคนเชื่อแคตตาลอกการประมูลของพวกฝรั่งอยู่ ฮืม
กรรมเวร.....
เวรกรรมจริงๆ

นี่มันปี 2008 แล้วนา..... ผมว่าการยึดเอาขี้ปากฝรั่ง
เรื่องเกี่ยวกับศิลปะวัตถุในดินแดนเล็กกระจิ๋วหลิวเกือบสุดปลายบูรพทิศ
อย่างประเทศไทยนี่.... เป็นมรณกรรมอย่างหนึ่งในแวดวงประวัติศาสตร์ศิลป์นะครับ



ผมอาจจะเขียนภาษาไทยไม่แตก ฟังภาษาอังกฤษไม่กระดิกหู
ไม่เคยไปศึกษาศิลปะวิทยาการมาจากต่างประเทศ
อ่านงานเขียนเชิงวิชาการมาน้อย คุยกับผู้รู้ก็ไม่มาก
แต่อย่างน้อยผมก็รู้มาล่ะว่า เครื่องสังคโลกปลอม
นอกจากเขาจะทำขายให้พิพิธภัณฑ์เอกชนบ้องไม่ลึก
ที่เป็นคนไทยแท้ๆ แต่ดันไปจ้างฝรั่งมาซื้อของปลอมให้.......
ทางปล่อยอีกทางหนึ่งก็ผ่านการประมูลต่างชาตินี่แหละ เหอๆ

แล้วข้อมูลของของที่ดูยากกว่าสังคโลก อย่างรูปถ่าย..... มันจะเชื่อได้เราะ ฮืม





ปล. รูปคุณพิพัฒน์ 2 ชิ้น
ถ่ายคนละวัน คนละเวลากันนี่ครับ รูปบนที่เป็นภาพพิมพ์แกะไม้
ถ้าดูจากเงาของใบกล้วย หรือกองไม้รวกที่อยู่หลังเรือนแพลำแรก
ดูเหมือนว่าแดดจะจัด และเงาตกเกือบตรง
(ขออนุญาตเดาอย่างคนรู้น้อย) ว่าน่าจะถ่ายช่วง 11.00 - 13.30 น. โดยประมาณ

ส่วนภาพด้านล่างที่เป็นรูปถ่ายกองไม้รวกหายไปแล้ว
หลังคาของเรือนแพลำใหญ่ที่ดูเหมือนจะยังมุงไม่เรียบร้อยในรูปบน
ก็มุงได้เรียบร้อยดีแล้ว แต่เรือประทุนที่ผูกไว้อีกฝั่งคลอง
ยังผูกในทิศเดิม มุมเดิมอยู่ เหมือนเรือที่ผูกไว้ฝั่งนี้ที่ยังไม่ต่างจากเดิมนัก...
แต่ด้านหลังเรือประทุนที่อยู่ฝั่งฟากขะโน้น.... ดันมีเพิงอะไรม่ะรุ ก่อขึ้นมาแระ

นายติบอขออนุญาตเดาเอาว่ารูปบนถ่ายหลังรูปล่างครับ
น่าจะหลายวันอยู่เหมือนกันอ่ะคับ แหะๆ
แต่อาจจะใช้บริเวณที่ตั้งกล้องบริเวณเดิม
(ถ้าดูจากการครอปภาพ เดาว่ารูปบนถ่ายไกลกว่ารูปล่างนิดส์นึง
เพราะเก็บมุมกล้องได้กว้างกว่า....)
นึกออกแค่นี้.... อ. พิพัฒน์ อย่าดุอย่าตีนะคับ ป๋มกัวแย๊ว.... งุงิ
บันทึกการเข้า
pipat
แขกเรือน
นิลพัท
*******
ตอบ: 1802


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 47  เมื่อ 22 เม.ย. 08, 11:01

คนตาดี คงเห็นชัดว่าสองรูปนี้ คือสถานที่เดียวกัน ถ่ายห่างวันกัน น่าจะไม่เกินนับนิ้วมือหนึ่ง
แต่ฝาหรั่ง(บังเกิดเกล้าของใครไม่รู้) บอกว่า อายุห่างกัน 3-4 ปี
ไม่ใช่ฝรั่งขี้นกด้วยหนาคุณ มีชื่อเสียงเป็นออธอริตี้เรื่องภาพถ่ายของนายตัมสั้น
มีหนังสือเล่มอย่างดี โดยสำนักพิมพ์เธมส์และฮัดสันประกอบนิทรรศการระดับโลก
เอาว่า คริสตี้ส์ของคุณอะไรนั่น ต้องอ้างเขาละกัน....เขาชื่อนายไวท์
ผมก็เคยอ้างครับ สมัยก่อน แต่เดี๋ยวนี้ .โทษที..... ขอสอบก่อน

คุณขาวคนนี้ เขาบอกว่ารูปถ่าย(ล่าง)น่ะ ฝีมือตัมสั้น ก็แปลว่าถ่ายเมื่อ 2409 ปีที่เจ้าหมอนี่ เข้ามาบางกอก
แต่ลายเส้นข้างบนน่ะ พิมพ์ในหนังสือของมูโอต์ 2405 โน่น.......
เอาละซี ฝรั่งกัดกัน คุณจะเข้าข้างใครดีล่ะ โน่นก็ที่เคารพ นี่ก็ที่นับถือ

ตัวผมเอง เชื่อหลักฐานฮ่า ไม่เชื่อแม้แต่ตัวเอง
แปลกเสียจริง ที่รูปถ่ายนี้ มีอยู่ในหอจดหมายเหตุท่าวาสุกรีด้วย คนที่เคยเห็นเขาบอกไว้ เสียดายผมไม่ได้ทำสำเนาออกมา
จึงกลายเป็นว่า รูปชุดนี้ เจอเข้าไปสามประเทศ สามยุค ยุ่งใหมล่ะ
ถ้าผมเป็นคนเห่อฝรั่ง ก็คงตัดรำคาญด้วยการเชื่อใครสักคนที่ตัวเองอยากจะเชื่อ จบ
แล้วเอาความเชื่อนั้น มาด่าคนอื่น ที่เขาเชื่อไม่เหมือนเรา ด่าๆๆๆๆๆๆๆ....โดยไม่ต้องแถลงหลักฐาน
แค่เขาไม่เชื่อฝรั่ง บังอาจค้านฝรั่ง แค่นี้ก็ผิดวายป่วงแล้วละ (ไม่นับที่ข้าเกลียดเอ็งอีกตะหาก....ฮึ)

ก็ในเมื่อผมไม่เชื่อว่ามูโอต์ใช้กล้องถ่ายรูป
ไม่เชื่อว่าติมสั้นเป็นเจ้าของรูปที่เขาลงชื่อไว้
และไม่เชื่อฝาหรั่ง.......ผมก็ต้องมั่วเดาเอาแหละครับ ว่ามีคนไทยถ่ายรูปเหล่านี้ไว้

เพราะผมเชื่อว่า มีแต่คนไทย ที่ได้รับพระบรมราชานุญาต มีทุนรอน เวลา และความสามารถเท่านั้น
ที่จะตามถ่ายรูปเมืองสยามเอาไว้
ตั้งแต่เมื่อบาทหลวงปาเลกัวส์ สั่งให้บาทหลวงลานอร์ดี นำกล้องถ่ายรูปตัวแรกเข้ามาในสยาม
แล้วขายให้ให้เจ้านายพระองค์หนึ่ง หลังจากใช้มาแล้วสองปี
เจ้านายพระองค์นั้น คงไม่ซื้อไปดูเล่นแน่ๆ

การที่ประเทศสยาม มีพระรูปถ่ายพระเจ้าอยู่หัว ส่งไปวอชิงตันและลอนดอนตั้งแต่ต้นรัชกาล
และส่งออกไปต่อเนื่อง นับจำนวนไม่ถ้วน ต้องจ้างฝรั่งเข้ามาทำงานให้หรือ
แล้วการที่นายจิตลงโฆษณาในหนังสือพิมพ์ บอกว่าตนเองมีรูปถ่ายจำหน่าย และรับจ้างถ่ายรูปนอกสถานที่
การที่เจ้าเมืองเพชรบุรี มาว่าจ้างนายจิต ถ่ายรูปผู้ใหญ่ของตระกูลเอาไว้หมด
และพระเจ้าอยู่หัว ทรงเล่าว่า ได้ช่วยกำกับการถ่ายรูปที่ส่งให้ฝรั่ง

เหล่านี้ ยกเมฆทั้งนั้น
เป็นผลงานของฝรั่งทั้งนั้น......เฮ้อ
เอาเข้าไป
บันทึกการเข้า
นงนภัส
อสุรผัด
*
ตอบ: 11


ความคิดเห็นที่ 48  เมื่อ 22 เม.ย. 08, 12:45

ขอเรียนถามว่า source ของภาพถ่ายเปลือยอก และคณะละครนั้น
ี้อยู่ที่ใดคะ อยากชมบ้างค่ะ
บันทึกการเข้า
pipat
แขกเรือน
นิลพัท
*******
ตอบ: 1802


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 49  เมื่อ 22 เม.ย. 08, 13:53

เชิญรู้จักมูโอต์ได้ที่นี่ครับ
http://en.wikipedia.org/wiki/Henri_Mouhot

หนังสือของเขา เล่มที่สนองสันดานล่าอาณานิคมของชาวปารีเซียง ชื่อ
Travels in the Central Parts of Indo-China (Siam), Cambodia, and Laos During the Years 1858, 1859, and 1860
คุณเอนก นาวิกมูลเคยนำรูปในเล่มนี้มาพิมพ์อธิบาย ชื่อว่า ภาพสยามของอองรี มูโอต์ ....หรืออะไรประมาณนี้ครับ
ส่วนกรมศิลปากร เคยแปลและพิมพ็เฉพาะตอนที่เกี่ยวกับประเทศสยาม อยู่ในรวมเรื่องแปล.....เล่มที่เท่าไรก็ลืมเหมือนกัน
ถ้าต้องการทราบจริงๆ จะพยายามไปหาชื่อมาให้อีกทีนะครับ
แต่เล่มที่ควรอ่านไม่แพ้เล่มแรก คือหนังสือบันทึกประจำวันของมูโอต์ ซึ่งเพิ่งพิมพ์เมื่อไม่กี่ปีมานี้เอง
วิกิให้รายการที่จำเป็นไว้ครบถ้วนแล้ว ตามรอยไป ก็น่าจะได้ความรู้ที่สำคัญตามแต่กำลังใครจะไขว่คว้ามาได้

ควรจะเน้นว่า เพราะหนังสือของเขานี่เอง ที่กระตุ้นพวกเหยี่ยวในสภาฝรั่งเศสให้รีบจัดการยึดเขมรมาเป็นของตน
ผมจึงขอยกย่องว่า เป็นหนังสือที่ก่อเกิดหายนะภัยแก่สยามและเพื่อนบ้านในระดับที่มิอาจประเมินได้
ถ้านับรวมตั้งแต่กองเรือฝรั่งเศสเริ่มมากล้ำกรายอ่าวตังเกี๋ย จนถึงวันที่พวกนี้แพ้หางจุกก้นออกจากนรกที่เดียนเบียนฟู
ก็กินเวลาเป็นร้อยปี มีคนตายไปไม่รู้กี่ล้าน ถ้านับถึงสมัยเขมรแดงต่อมาอีกครึ่งศตวรรษ จะยิ่งวายวอดอีกเท่าไร
เครื่องคิดเลขที่บ้าน คิดไม่ออกครับ มันมากมายเกินจินตนาการ

หนังสือของมูโอต์พิมพ์สองครั้งติดๆ กัน ถ้าจะเดา ผมคิดว่าต้นฉบับของเขาคงเป็นภาษาฝรั่งเศส
เมื่อตาย ผู้ช่วยชาวเขมร(กระมัง) เก็บรวบรวมทรัพย์สินของเขา นำเข้ามากรุงเทพ มอบให้น้องชาย
ซึ่งนำกลับไปปารีส ดำเนินการพิมพ์โดยมอบให้สำนักพิมพ์ใหญ่ของฝรั่งเศสพิมพ์ก่อน เป็นภาษาฝรั่งเศส
เล่มโตมาก ขนาดเท่ามติชนรายสัปดาห์หรือสยามรัฐ
ในขณะเดียวกัน ก็แปลเป็นอังกฤษ มอบให้อีกสำนัก พิมพ์เป็นเล่มปกแข็งขนาดแปดหน้ายก
แต่รูปประกอบนั้น ตรงกัน ขนาดเท่ากัน

รูปประกอบแบ่งเป็นสามกลุ่ม กลุ่มแรก ถอดลายเส้นออกจากรูปถ่าย
กลุ่มที่สองถอดลายเส้นออกจากงานสเก็ตช์ของมูโอต์(ฝีมือเขียนรูปของมูโอต์ ดีมาก)
กลุ่มสุดท้าย เป็นพวกแผนที่ และแผนผัง ซึ่งมูโอต์เห็นจะต้องจ้างคนพื้นเมืองช่วยรังวัด โดยเขาเป็นผู้อำนวยการ

ด้วยหนังสือนี้เล่มเดียว ประเทศใดก็ได้ ที่งกจัด สามารถใช้เป็นคู่มือยึดครองประเทศอ่อนแออย่างสารขัณฑ์ได้ ซำบายบรื๋อออ....
ในคำนำหนังสือ ให้ข้อมูลสำคัญหลายอย่าง อย่างหนึ่งก็คือจดหมายของเซอร์รอเบิร์ต จอมเบิร์ก ฑูตอังกฤษในปีนั้น
สรรเสริญผลงานนี้ไว้เลิศหรู และบอกว่า ได้รับพระราชทานพระรูป ที่เชิญประดับเปิดเล่ม
แต่สิ่งที่หนังสือไม่ได้บอกก็คือ เหตุใด รูปประกอบในภาคที่เกี่ยวกับเขมร จึงไม่มีที่มาจากต้นฉบับรูปถ่ายเลย
ไม่ว่าจะเป็นรูปบุคคล หรือรูปสถาปัตยกรรม

ผมขอเชิญชมลายเส้นชิ้นหนึ่ง ที่มาจากเสก็ตช์ของมูโอต์ เป็นรูปที่ซับซ้อนมาก เพราะเขียนพระพุทธบาททั้งอาณาบริเวณ
แสดงถึงความแม่นยำในฝีมือร่างรูปอย่างพิเศษ ....แม้กระนั้น ก็ยังเขียนผิดพลาดมากมาย
นี่ขนาดมานั่งเขียนหน้าของจริงนะครับ....แล้วพวกช่างแกะ ที่นี่งอยู่ปารีส จะรู้ซึ้งถึงรายละเอียดต่างๆ ได้อย่างไร
ถ้าไม่ใชเพราะรูปถ่ายต้นฉบับ มีคุณภาพสูงมากๆๆๆๆๆ มากจนแค่ลากเส้นทับ ก็ได้ความจริงออกมา

กระบวนการถ่ายทอดนี้ ยังคุยได้อีกยาวเชียวนะครับ


บันทึกการเข้า
pipat
แขกเรือน
นิลพัท
*******
ตอบ: 1802


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 50  เมื่อ 22 เม.ย. 08, 13:55

เชิญชมรูปสามัญชน ในหนังสือของมูโอต์ครับ



บันทึกการเข้า
นงนภัส
อสุรผัด
*
ตอบ: 11


ความคิดเห็นที่ 51  เมื่อ 22 เม.ย. 08, 17:52

ขอบคุณสำหรับลิ้งค์ที่น่าสนใจ

อยากทราบว่าภาพไทยโบราณ ชุดเปลือยอกใน คคห 33 ปัจจุบันแสดงอยู่ที่ใดคะ
อยากไปชมบ้างค่ะ
บันทึกการเข้า
pipat
แขกเรือน
นิลพัท
*******
ตอบ: 1802


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 52  เมื่อ 22 เม.ย. 08, 21:29

เท่าที่พอนึกได้
ห้องสมุดของคอรแนลล์
คลังสะสมของบริษัทกระดาษกิลแมน
สองแห่งอยู่อเมริกาครับ

ที่อังกฤษมีวิคตอเรียอัลเบิร์ตมิวเซียม
บริติชไลแบรรี่
คลังสะสมของบริษัทเวลลคัม

ปกติรูปจำพวกนี้ เขาไม่จัดแสดงกันครับ เพราะวัสดุไม่คงทนต่อแสงสว่าง ความชื้นและฝุ่นละออง
นานๆ ที จึงอาจจะจัดเป็นนิทรรศการพิเศษสักครั้ง
อย่างเช่นที่โรงแรมคอนราดเคยจัดเมื่อหลายปีก่อน ยังมีการพูดถึงในกระทู้หนึ่งของที่นี่

รูปสาวเปลือยอกนี้ ผู้นำมาอวด บอกว่ามาจากการประมูลของคริสตีส์
ผมจะสอบถามเจ้าหน้าที่ของบริษัทนี้ว่า ประมูลที่ใหน เมื่อไร

ถ้าโชคดี เขาน่าจะสอบให้ได้ครับ
บันทึกการเข้า
pipat
แขกเรือน
นิลพัท
*******
ตอบ: 1802


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 53  เมื่อ 22 เม.ย. 08, 21:45

ลักษณะของผลงาน ที่นำมาประมูล
มักจะจัดเป็นชุด พยายามสร้างเนื้อหาขึ้นมาเพื่อให้น่าเป็นเจ้าของ
อาจจะมาจากเจ้าของเดียว หรือหลายๆ เจ้าของ


บันทึกการเข้า
pipat
แขกเรือน
นิลพัท
*******
ตอบ: 1802


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 54  เมื่อ 23 เม.ย. 08, 00:36

ย้อนกลับไปที่ลายเส้นของมูโอต์ต่อ

ทีนี้จะตามรอยไปทีละน้อยนะครับ ขอให้ดูรูปถ่ายชิ้นนี้ก่อน ว่าตรงกับรูปของมูโอต์เพียงใหน
คุณติบอ ถ้าว่าง ช่วยมาให้รายละเอียดเรื่องผ้และการแต่งกายด้วย
กระผมเอง ไม่มีฟามรู้ทางสังคม เศรษฐศาสตร์ วิญญานศาสตร์ กระยาศาสตร์
หรือลางสาด

ทำได้แต่ก๊อปปี้แล้วแปะ
หากินกับชาวบ้านไปวันๆ ความรู้ย่อมจะไม่มีอยู่แล้ว ที่มีมากคือความไม่รู้...หึหึ


บันทึกการเข้า
pipat
แขกเรือน
นิลพัท
*******
ตอบ: 1802


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 55  เมื่อ 23 เม.ย. 08, 00:41

เมื่อเทียบกัน จะเห็นว่า มีอะไรที่ประหลาดมากมายพอดู
ประการแรก คือรูปมันกลับกัน ตรงนี้เป็นไปตามความเคยชินของช่างแกะบล๊อครุ่นนั้น อันหมายฟามต่อได้ว่า
รูปในมูโอต์ จะกลับซ้ายขวากี่รูปก็ไม่รู้

แต่นั่นยังไม่น่าสนใจเท่า ทำมะรัย ลายเส้นมี 3 คนหว่า
เพิ่มคนยืนมาอีกหนึ่ง เพิ่มเสาให้เกาะมาอีกหนึ่ง
และ
ข้อสุดท้าย รูปถ่ายจากหนังสือของดือห์ริงนี้ ใช้เทคนิคทำฉากหลังให้เทาลง
เพื่อเน้นแบบทั้งสาม

อันนี้เป็นเทคนิคใหม่รุ่นรัชกาลที่ 6 เพราะหนังสือน่ะพิมพ์รุ่นนั้น


อ้าว....ทำไมรูปถูกพิมพ์ห่างกันตั้ง 2 รัชกาลล่ะ


บันทึกการเข้า
ติบอ
นิลพัท
*******
ตอบ: 1906


Smile though your heart is aching.


ความคิดเห็นที่ 56  เมื่อ 23 เม.ย. 08, 01:17

ดูจากผ้าซิ่นทั้งลาย ทั้งวิธีนุ่ง
ตอบได้อย่างเดียวครับ ว่าเป็นรูปของชาวไทยทรงดำ


แล้วถ้าย้อนเวลาไปอีกนิดนึง....
ไทยทรงดำยุคแรกๆในไทย
(เท่าที่นายติบอเข้าใจ - ไม่รู้ว่าผิดหรือเปล่านะครับ)
ในเขตภาคกลางมี 2 กลุ่ม
คือที่ จ. เพชรบุรี
และ จ. นครปฐม


แต่ดูจากรูปอีกน่ะแหละ เดามั่วว่าเป็นกลุ่มใน จ. เพชรบุรีแล้วกัน
เพราะกลุ่มที่อยู่ใน จ. นครปฐมลายผ้านุ่งมักจะต่างกับในรูปนิดหน่อย





ที่เหลือ รอสมาชิกท่านอื่นช่วยอธิบายดีกว่าครับ แหะๆ
บันทึกการเข้า
pipat
แขกเรือน
นิลพัท
*******
ตอบ: 1802


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 57  เมื่อ 23 เม.ย. 08, 03:00

จะเป็นนครปฐม หรือเพชรบุรี ผมก้อม่ายสนครับ

เพราะตามปากคำของมูโอต์เอง เขาไม่ได้แวะสองเมืองนี้ครับ
เขาไปพระบาท และไปเที่ยวกรุงเก่า...ระหว่างรอใบสำคัญเข้าประเทศเขมร
(วันนั้น เขมรเป็นเมืองประเทศราชของสยามครับ) ได้มาก็รีบเข้าเขมรเลย

ดังนั้น พ่อมูโอต์ (จะคนพี่ หรือคนน้อง ก็ช่าง) ไปถ่ายรูปมาได้อย่างไรล่ะเนี่ยะ
คนเชื่อคริสตี้ส์ คงตะแบงออกไปได้ว่า ก็เขาให้คนอื่นถ่ายไม่ได้รึงัย
มิเช่นนั้นก็ เขาคงหามาเติมทีหลังน่าซิ

ผมก็ขออำนวยพรให้ยึดมั่นในตาน้ำข้าวต่อไปละกัน
เพราะผมยังเจอรูปคล้ายกันนี้ ในคลังรูปที่อ้างว่าเป็นของตอมสั้นอีก
หมายความว่า รูปชุดนี้ เริ่มที่มูโอต์ ต่อไปที่ตอมสั้น แล้วไปเจอกับดือห์ริง....กินเวลากว่าครึ่งศตวรรษ
คนอย่างผม ที่"ยกเมฆบัดซบ อุตริซะไม่มี"
ทำได้แต่ตาปริบๆ ไม่รู้จะวิเคราะห์คอเคซอยที่เคารพของคุณคนนั้นอย่างไรดี
จึงจะย้อนศรกลับเข้าฝั่ง หลังออกทะเลนานโข ว่า

"เจอภาพถ่ายใด ไม่ทราบผู้แต่ง เป็นต้องมั่วว่าฝีมือนายจิตร ทุกครั้งไป
ใครยกครูให้คุณกัน ไม่สั่งสอนหรือว่าริจะเป็นนักวิชาการนั้น ต้องอย่ามั่ว"

ผมเองนั่งอ่านข้อมูลชุดนี้มาร่วมสิบปี
ทำได้แค่ที่เล่ามาข้างต้น
ส่วนคนที่ชอบคำว่าบัดซบ ไม่รู้จะไม่มั่วได้สักกี่ตัวอักษร
อยากอ่านจริงๆ.....

บันทึกการเข้า
pipat
แขกเรือน
นิลพัท
*******
ตอบ: 1802


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 58  เมื่อ 23 เม.ย. 08, 03:11

ปล. รูปคุณพิพัฒน์ 2 ชิ้น
ถ่ายคนละวัน คนละเวลากันนี่ครับ รูปบนที่เป็นภาพพิมพ์แกะไม้
------------------
ต้องท้วงคำอธิบายของคุณติบอสักหน่อย เดี๋ยวปากหอยๆ ปูๆ จะค่อนแคะเอาอีก

ผมเห็นว่า งานลายเส้นในหยังสือมูโอต์นั้น น่าจะไม่ใช่ภาพพิมพ์แกะไม้ครับ
เห็นว่าน่าจะเป็นแม่พิมพ์โลหะร่องลึก
ที่เป็นแกะไม้น่ะ ของท่านปาเลกัวส์ครับ

ระหว่างแม่พิมพ์แกะไม้ กับแม่พิมพ์โลหะร่องลึกนี่ ต้นทุนห่างกันสุดกู่ทีเดียว
เปรียบไปก็คือ มูโอต์ใช้เทคนิคสร้างแม่พิมพ์ระดับ"เกือบ"สุดยอดของยุคสมัย
แสดงว่า ต้นทุนการผลิตนั้นสูงนักหนา จะบอกไว้ไม่จำกัด ก็คงจะยกเมฆไปหน่อย
แต่ใครที่มีความรู้ และเป็นนักเล่นหนังสือโบราณ น่าจะรู้ดีว่า
หนังสือที่พิมพ์รูปประกอบด้วยแม่พิมพ์โลหะนั้น หายากเพียงใดก่อนปีค.ศ. 1880

แม่แอนนาเอง หนังสือหล่อนก็ยังเป็นแม่พิมพ์ไม้ครับ
อันนี้มิได้สู่รู้ พิสูจน์ทราบได้ง่าย ถ้าเป็นคนรู้จริง

ทั้งหมดเพื่อจะย้ำถามว่า
รวยขนาดนี้....ทำไมไม่ถ่ายรูปเมืองเขมรออกมาสักแม้แต่หนึ่งชิ้น...ฮึ
ปล่อยให้ผมสางประวัติ เพื่อจะเอารูปดีๆ ไปยัดใส่ประวัติของนายจิต
จนคนไทยที่เคารพฝรั่งทนไม่ได้ ทนไม่ด้ายยย.....

เฮ้อ
บันทึกการเข้า
Hotacunus
องคต
*****
ตอบ: 613


AD FRANCIAM


ความคิดเห็นที่ 59  เมื่อ 23 เม.ย. 08, 04:55

ความคิดเห็นที่ 55

โอ้ การ "ตัดต่อ" ยุคก่อน Photoshop ครองโลก  ยิงฟันยิ้ม

ผมคิดว่า น่าจะเป็นการนำภาพสองภาพมาจัดองค์ประกอบใหม่ คุณพิพัฒน์มีภาพถ่ายตัวเป็นๆ ของสาวน้อยเกาะเสาด้วยหรือเปล่าครับ ?
บันทึกการเข้า
หน้า: 1 2 3 [4] 5 6 ... 9
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.084 วินาที กับ 19 คำสั่ง